ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วานนี้ (29 ส.ค.50) ว่า กนง.มีนโยบายให้คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้
ที่ร้อยละ 3.25 เพื่อติดตามผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป อีกทั้ง
รอดูการประเมินผลกระทบจากปัญหาซับไพร์ม และการกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ. ที่จะมีการประชุมในวันที่ 18 ก.ย.
นี้ด้วยว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมากน้อยเพียงใด (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, ไทยรัฐ,
บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ธปท.จัดโครงการรณรงค์ต่อต้านธนบัตรปลอมเชิงรุก 2550 ที่ จ.มหาสารคาม ผอ.ฝ่ายวางแผนและสนับสนุนการบริหาร
สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ธปท.เปิดโครงการรณรงค์ต่อต้านธนบัตรปลอมเชิงรุก
2550 ที่โรงแรมตักสิลา จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นโครงการที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยการเชิญครู อาจารย์ นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาใน
จ.มหาสารคาม เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีการตรวจสอบธนบัตรปลอม โดยจุดประสงค์ของโครงการดังกล่าวเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
ทราบวิธีสังเกตธนบัตรที่ถูกต้อง แยกความแตกต่างระหว่างธนบัตรปลอมกับธนบัตรรัฐบาลได้ นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมโครงการจะเป็นตัวแทน
ในการกระจายความรู้ไปสู่ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนในท้องถิ่นของตน ทั้งนี้ ในปี 50 ธปท.ได้จัดโครงการต่อต้านธนบัตรปลอมใน
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม 20 จังหวัด มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 600 แห่ง และมีแผนจะขยายผลให้ครอบคลุม
ทั่วประเทศภายในปี 50 เชื่อว่าจะช่วยลดการแพร่กระจายของธนบัตรปลอมที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย(ข่าวสด)
3. สศค.เผยภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน ก.ค.50 ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจ
การคลังประจำเดือน ก.ค.50 แสดงให้เห็นว่า การใช้จ่ายของรัฐบาลการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน
การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ขณะที่การส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว
ในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้ รายจ่าย งปม.ในเดือน ก.ค.สามารถเบิกจ่ายได้รวม 146,200 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.2 ต่อปี
ส่วนรายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลอยู่ที่ 87,100 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.2 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บภาษีฐานรายได้ขยายตัวสูง
ร้อยละ 12.8 ต่อปี สำหรับการบริโภคภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือน ก.ค.ขยายตัวกลับมาเป็นบวกที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี
จากที่หดตัวร้อยละ 0.5 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังคงปรับตัวลดลงมาอยู่
ที่ 70 จุด เนื่องจากผู้บริโภคยังกังวลจากการแข็งค่าของเงินบาท และความเสี่ยงจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต ด้านการลงทุน
ภาคเอกชนขยายตัวชะลอลง โดยเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในเดือน ก.ค.หดตัวลง
ร้อยละ 3.3 ต่อปี สำหรับมูลค่าการส่งออกขยายตัวในทิศทางชะลอตัวลงมาก โดยการส่งออกในเดือน ก.ค.มีมูลค่ารวม 11,800 ล้านดอลลาร์
สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือน ก.ค.ยังชะลอตัวต่อเนื่อง ตามการลงทุนภายในประเทศที่ชะลอลง โดย
มูลค่าการนำเข้าเดือน ก.ค.รวม 11,600 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี และดุลการค้าเกินดุล 211 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(มติชน, โพสต์ทูเดย์, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
4. AFTA Council รับรองแนวทางยกเลิก NTBs รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน
(AFTA Council) ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 23 ส.ค.50 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ว่า คณะมนตรีฯ รับรองแนวทาง (Modality) การยกเลิกมาตรการ
กีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยัง
รับทราบความคืบหน้าของความร่วมมือด้านศุลกากร โดยเฉพาะการใช้ระบบ ฮาร์โมไนซ์อาเซียน (AHTN) ฉบับปี 50 การปรับปรุงพิธีการศุลกากร
การยกร่างพิธีการแก้ไขกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกสินค้าผ่านแดน และการพัฒนาระบบศุลกากรผ่านแดน (Customs Transit
System) และที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบให้มีการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT)
ในรูปแบบการจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า (TIG) ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่อาเซียนได้ทำกับประเทศคู่เจรจาในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี
(ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ารายได้ส่วนบุคคลของสรอ. ในเดือน ก.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 50
ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 69 คนโดยรอยเตอร์คาดว่า รายได้ส่วนบุคคลในเดือน ก.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่ำกว่าที่ทำสถิติ
สูงสุดเมื่อเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.4 เนื่องจากค่าจ้างต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้น ส่วนดัชนีการใช้จ่ายผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดภาวะเงินเฟ้อ
ของ ธ.กลาง สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน มิ.ย. ที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบต่อเดือน และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบต่อปีซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบมากกว่า 3 ปีแต่ก็ยังอยู่ในเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธ.กลาง สรอ. ที่ร้อยละ 1 — 2
อย่างไรก็ตาม ธ.กลาง สรอ. เน้นว่าภาวะเงินเฟ้อยังคงเป็นนโยบายที่ทางการให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก แต่ปัจจุบันที่เกิดวิกฤติสินเชื่อ
อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของ สรอ. และปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงินทำให้ตลาดหันไปให้ความสนใจกับปัญหาดังกล่าวมากกว่าภาวะเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ ก.พาณิชย์ สรอ. มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลขรายได้ส่วนบุคคลและการใช้จ่ายผู้บริโภคในวันศุกร์นี้ เวลา 8.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น(รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมและยอดขายสินค้าสำหรับผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.50 เพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าที่คาดไว้ รายงานจาก
โซล เมื่อ 29 ส.ค.50 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นหลังปรับต้วเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 2.1 ต่อเดือนและร้อยละ 14.3 ต่อปี
ในเดือน ก.ค.50 สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเดือนและร้อยละ 12 ต่อปี โดยนับเป็นการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบต่อเดือน
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 45 และคาดว่าผลผลิตในเดือน ส.ค.50 จะขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีเช่นเดียวกัน แม้จะ
มีความวุ่นวายในตลาดการเงินจากผลกระทบของวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ใน สรอ.ก็ตาม เช่นเดียวกับยอดขายสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่สูงขึ้นหลัง
ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 1.6 ต่อเดือน หลังจากลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน มิ.ย.50 และหากเทียบต่อปีแล้ว ยอดขายสินค้าในเดือน
ก.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ต่อปี โดยคาดว่าในเดือน ส.ค.50 จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.5 ต่อปี สอดคล้องกับผลสำรวจความเห็นของ
ธุรกิจขนาดใหญ่ในเกาหลีใต้ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีสำหรับเดือน ก.ค.50 อยู่ในระดับสูงกว่า 100
เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ซึ่งพึ่งพาการส่งออกโดยมี สรอ.เป็นตลาดใหญ่จะรับผลกระทบเพียง
เล็กน้อยจากวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ใน สรอ.(รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 17 เดือน รายงานจากโซลเมื่อ
30 ส.ค.50 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.50 ว่า เพิ่มขึ้น
ที่ระดับ 95 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือนนับตั้งแต่เดือน เม.ย.49 และเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากระดับ 89
และ 86 ในช่วง 2 เดือนก่อนหน้าตามลำดับ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จาก ธ.กลางเกาหลีใต้ กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าความต้องการ
จะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือน ก.ย.50 เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลวันหยุด เช่นเดียวกับตัวเลขการส่งออกที่ยังคงมีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่อง
แต่ดัชนีอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 ซึ่งบ่งชี้ว่า ธุรกิจที่มีความเชื่อมั่นในแง่ดีมีสัดส่วนน้อยกว่าธุรกิจที่มีความเชื่อมั่นในแง่ไม่ดี อย่างไรก็ตาม จากการที่
ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ในช่วงต้นเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา หลังจากปรับเพิ่มครั้งล่าสุดเมื่อเดือน ก.ค.50
นับเป็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกันเป็นครั้งแรก เป็นสัญญาณแสดงถึงความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 5.7 รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 29 ส.ค.50
ธ.กลางมาเลเซีย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของมาเลเซียในไตรมาส 2 เทียบต่อปีขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 มูลค่า 136 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.5 โดยมั่นใจว่าการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการค้าในภูมิภาคที่ยังเติบโต
อย่างแข็งแกร่งจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้แม้ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์สินเชื่อด้อยคุณภาพของภาคอสังหาริมทรัพย์ใน สรอ. ที่สร้างความปั่นป่วน
ไปทั่วโลก ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อเศรษฐกิจของมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังได้ปรับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเทียบต่อปี
ในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.5 จากร้อยละ 5.3 ทั้งนี้ ธ.กลางมาเลเซียลดความกังวลเกี่ยวกับมุมมองด้านเศรษฐกิจที่มีสาเหตุจาก
ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. และไม่มีแผนการที่จะเพิ่มมาตรการใด ๆ เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดย ผู้ว่าการ
.กลางมาเลเซีย ยังคงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของมาเลเซียในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 6.0 แม้ว่าอาจจะมีผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศ
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ส.ค. 50 29 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.333 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.1465/34.4786 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37125 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 792.04/12.70 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.33 67.83 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วานนี้ (29 ส.ค.50) ว่า กนง.มีนโยบายให้คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้
ที่ร้อยละ 3.25 เพื่อติดตามผลกระทบจากปัญหาสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ต่อภาวะเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป อีกทั้ง
รอดูการประเมินผลกระทบจากปัญหาซับไพร์ม และการกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ยของ ธ.กลาง สรอ. ที่จะมีการประชุมในวันที่ 18 ก.ย.
นี้ด้วยว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงมากน้อยเพียงใด (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, ไทยรัฐ,
บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
2. ธปท.จัดโครงการรณรงค์ต่อต้านธนบัตรปลอมเชิงรุก 2550 ที่ จ.มหาสารคาม ผอ.ฝ่ายวางแผนและสนับสนุนการบริหาร
สายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ธปท.เปิดโครงการรณรงค์ต่อต้านธนบัตรปลอมเชิงรุก
2550 ที่โรงแรมตักสิลา จ.มหาสารคาม ซึ่งเป็นโครงการที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ด้วยการเชิญครู อาจารย์ นักเรียน ระดับมัธยมศึกษาใน
จ.มหาสารคาม เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีการตรวจสอบธนบัตรปลอม โดยจุดประสงค์ของโครงการดังกล่าวเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
ทราบวิธีสังเกตธนบัตรที่ถูกต้อง แยกความแตกต่างระหว่างธนบัตรปลอมกับธนบัตรรัฐบาลได้ นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมโครงการจะเป็นตัวแทน
ในการกระจายความรู้ไปสู่ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนในท้องถิ่นของตน ทั้งนี้ ในปี 50 ธปท.ได้จัดโครงการต่อต้านธนบัตรปลอมใน
ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวม 20 จังหวัด มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 600 แห่ง และมีแผนจะขยายผลให้ครอบคลุม
ทั่วประเทศภายในปี 50 เชื่อว่าจะช่วยลดการแพร่กระจายของธนบัตรปลอมที่สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย(ข่าวสด)
3. สศค.เผยภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน ก.ค.50 ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจ
การคลังประจำเดือน ก.ค.50 แสดงให้เห็นว่า การใช้จ่ายของรัฐบาลการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุน
การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ขณะที่การส่งออกซึ่งเป็นปัจจัยหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา และการลงทุนภาคเอกชนขยายตัว
ในอัตราที่ชะลอลง ทั้งนี้ รายจ่าย งปม.ในเดือน ก.ค.สามารถเบิกจ่ายได้รวม 146,200 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.2 ต่อปี
ส่วนรายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลอยู่ที่ 87,100 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.2 ต่อปี เนื่องจากการจัดเก็บภาษีฐานรายได้ขยายตัวสูง
ร้อยละ 12.8 ต่อปี สำหรับการบริโภคภาคเอกชนเริ่มปรับตัวดีขึ้น ภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือน ก.ค.ขยายตัวกลับมาเป็นบวกที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี
จากที่หดตัวร้อยละ 0.5 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมยังคงปรับตัวลดลงมาอยู่
ที่ 70 จุด เนื่องจากผู้บริโภคยังกังวลจากการแข็งค่าของเงินบาท และความเสี่ยงจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต ด้านการลงทุน
ภาคเอกชนขยายตัวชะลอลง โดยเครื่องชี้การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนในเดือน ก.ค.หดตัวลง
ร้อยละ 3.3 ต่อปี สำหรับมูลค่าการส่งออกขยายตัวในทิศทางชะลอตัวลงมาก โดยการส่งออกในเดือน ก.ค.มีมูลค่ารวม 11,800 ล้านดอลลาร์
สรอ. หรือขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี ขณะที่มูลค่าการนำเข้าเดือน ก.ค.ยังชะลอตัวต่อเนื่อง ตามการลงทุนภายในประเทศที่ชะลอลง โดย
มูลค่าการนำเข้าเดือน ก.ค.รวม 11,600 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี และดุลการค้าเกินดุล 211 ล้านดอลลาร์ สรอ.
(มติชน, โพสต์ทูเดย์, สยามรัฐ, แนวหน้า, ข่าวสด)
4. AFTA Council รับรองแนวทางยกเลิก NTBs รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน
(AFTA Council) ครั้งที่ 21 เมื่อวันที่ 23 ส.ค.50 ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ว่า คณะมนตรีฯ รับรองแนวทาง (Modality) การยกเลิกมาตรการ
กีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งในการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยัง
รับทราบความคืบหน้าของความร่วมมือด้านศุลกากร โดยเฉพาะการใช้ระบบ ฮาร์โมไนซ์อาเซียน (AHTN) ฉบับปี 50 การปรับปรุงพิธีการศุลกากร
การยกร่างพิธีการแก้ไขกรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกสินค้าผ่านแดน และการพัฒนาระบบศุลกากรผ่านแดน (Customs Transit
System) และที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบให้มีการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (CEPT)
ในรูปแบบการจัดทำความตกลงว่าด้วยการค้าสินค้า (TIG) ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่อาเซียนได้ทำกับประเทศคู่เจรจาในการจัดตั้งเขตการค้าเสรี
(ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ารายได้ส่วนบุคคลของสรอ. ในเดือน ก.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 29 ส.ค. 50
ผลการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์จำนวน 69 คนโดยรอยเตอร์คาดว่า รายได้ส่วนบุคคลในเดือน ก.ค. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ต่ำกว่าที่ทำสถิติ
สูงสุดเมื่อเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.4 เนื่องจากค่าจ้างต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้น ส่วนดัชนีการใช้จ่ายผู้บริโภคพื้นฐานซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดภาวะเงินเฟ้อ
ของ ธ.กลาง สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือน มิ.ย. ที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบต่อเดือน และ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบต่อปีซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดในรอบมากกว่า 3 ปีแต่ก็ยังอยู่ในเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธ.กลาง สรอ. ที่ร้อยละ 1 — 2
อย่างไรก็ตาม ธ.กลาง สรอ. เน้นว่าภาวะเงินเฟ้อยังคงเป็นนโยบายที่ทางการให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก แต่ปัจจุบันที่เกิดวิกฤติสินเชื่อ
อสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพของ สรอ. และปัญหาสภาพคล่องในระบบการเงินทำให้ตลาดหันไปให้ความสนใจกับปัญหาดังกล่าวมากกว่าภาวะเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ ก.พาณิชย์ สรอ. มีกำหนดจะเปิดเผยตัวเลขรายได้ส่วนบุคคลและการใช้จ่ายผู้บริโภคในวันศุกร์นี้ เวลา 8.30 น.ตามเวลาท้องถิ่น(รอยเตอร์)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมและยอดขายสินค้าสำหรับผู้บริโภคของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.50 เพิ่มสูงขึ้นเกินกว่าที่คาดไว้ รายงานจาก
โซล เมื่อ 29 ส.ค.50 ผลผลิตอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นหลังปรับต้วเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 2.1 ต่อเดือนและร้อยละ 14.3 ต่อปี
ในเดือน ก.ค.50 สูงกว่าที่รอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ต่อเดือนและร้อยละ 12 ต่อปี โดยนับเป็นการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบต่อเดือน
ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 45 และคาดว่าผลผลิตในเดือน ส.ค.50 จะขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดีเช่นเดียวกัน แม้จะ
มีความวุ่นวายในตลาดการเงินจากผลกระทบของวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ใน สรอ.ก็ตาม เช่นเดียวกับยอดขายสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่สูงขึ้นหลัง
ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้วร้อยละ 1.6 ต่อเดือน หลังจากลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน มิ.ย.50 และหากเทียบต่อปีแล้ว ยอดขายสินค้าในเดือน
ก.ค.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ต่อปี โดยคาดว่าในเดือน ส.ค.50 จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 4.5 ต่อปี สอดคล้องกับผลสำรวจความเห็นของ
ธุรกิจขนาดใหญ่ในเกาหลีใต้ซึ่งส่วนใหญ่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีสำหรับเดือน ก.ค.50 อยู่ในระดับสูงกว่า 100
เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน ทั้งนี้ ธ.กลางเกาหลีใต้คาดว่าเศรษฐกิจเกาหลีใต้ซึ่งพึ่งพาการส่งออกโดยมี สรอ.เป็นตลาดใหญ่จะรับผลกระทบเพียง
เล็กน้อยจากวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ใน สรอ.(รอยเตอร์)
3. ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.50 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 17 เดือน รายงานจากโซลเมื่อ
30 ส.ค.50 ธ.กลางเกาหลีใต้ เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมเกาหลีใต้ในเดือน ก.ย.50 ว่า เพิ่มขึ้น
ที่ระดับ 95 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 17 เดือนนับตั้งแต่เดือน เม.ย.49 และเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากระดับ 89
และ 86 ในช่วง 2 เดือนก่อนหน้าตามลำดับ ทั้งนี้ นักวิเคราะห์จาก ธ.กลางเกาหลีใต้ กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ว่าความต้องการ
จะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งในเดือน ก.ย.50 เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลวันหยุด เช่นเดียวกับตัวเลขการส่งออกที่ยังคงมีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่อง
แต่ดัชนีอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 ซึ่งบ่งชี้ว่า ธุรกิจที่มีความเชื่อมั่นในแง่ดีมีสัดส่วนน้อยกว่าธุรกิจที่มีความเชื่อมั่นในแง่ไม่ดี อย่างไรก็ตาม จากการที่
ธ.กลางเกาหลีใต้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 ในช่วงต้นเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา หลังจากปรับเพิ่มครั้งล่าสุดเมื่อเดือน ก.ค.50
นับเป็นการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องกันเป็นครั้งแรก เป็นสัญญาณแสดงถึงความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ (รอยเตอร์)
4. เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 5.7 รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 29 ส.ค.50
ธ.กลางมาเลเซีย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจของมาเลเซียในไตรมาส 2 เทียบต่อปีขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 มูลค่า 136 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.5 โดยมั่นใจว่าการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการค้าในภูมิภาคที่ยังเติบโต
อย่างแข็งแกร่งจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้แม้ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์สินเชื่อด้อยคุณภาพของภาคอสังหาริมทรัพย์ใน สรอ. ที่สร้างความปั่นป่วน
ไปทั่วโลก ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อเศรษฐกิจของมาเลเซีย นอกจากนี้ ยังได้ปรับตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจเทียบต่อปี
ในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.5 จากร้อยละ 5.3 ทั้งนี้ ธ.กลางมาเลเซียลดความกังวลเกี่ยวกับมุมมองด้านเศรษฐกิจที่มีสาเหตุจาก
ปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ของ สรอ. และไม่มีแผนการที่จะเพิ่มมาตรการใด ๆ เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว โดย ผู้ว่าการ
.กลางมาเลเซีย ยังคงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของมาเลเซียในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 6.0 แม้ว่าอาจจะมีผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศ
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ส.ค. 50 29 ส.ค. 50 29 ธ.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 34.333 36.044 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 34.1465/34.4786 35.8601/36.2308 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 3.37125 5.12813 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 792.04/12.70 679.84/9.22 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,750/10,850 10,700/10,800 10,750/10,650 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.33 67.83 56.48 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล(บาท) 28.39*/25.34* 28.39*/25.34* 26.49/23.34 ปตท.
* ปรับเลดสิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 9 ส.ค. 50
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--