รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายน 2550

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 3, 2007 11:46 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

                                                  สรุปประเด็นสำคัญ
ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนพฤษภาคม 2550
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) = 168.15 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 (151.15) ร้อยละ 11.25 และ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (162.07) ร้อยละ 3.75
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2550 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องจักร
สำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ การแปรรูป
และการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย = 67.56 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 (60.40) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปี
ก่อน (71.07)
ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2550
- อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะปรับตัวดีขึ้น เป็นผลจากการรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากค่าเงินบาทที่
แข็งค่าขึ้นเริ่มมีเสถียรภาพ ขณะที่การจำหน่ายสินค้าในประเทศมีแนวโน้มลดลงจากเดือนก่อนเนื่องจากประชาชนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากราคา
น้ำมันและอื่นๆ ที่ปรับราคาสูงขึ้น
- อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะขยายตัว
เพิ่มขึ้นตามกลไกการตลาด การส่งออกจะยังมีผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและการแข่งขันจากจีนและเวียดนาม ขณะที่
การจำหน่ายในประเทศมีการใช้จ่ายไม่มากนัก แต่คาดว่าผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์ด้านยอดขายในไตรมาสสุดท้ายหลังจาก
ที่มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ซึ่งจะกระตุ้นต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอไทยคือการลดภาษีเป็น
ร้อยละ 0 ทันทีที่จะเกิดขึ้นใน ช่วงเดือนตุลาคม 2550
- อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า สถานการณ์เหล็กในเดือนมิถุนายน คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยในส่วนของการผลิตเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะยังคงทรงตัว เนื่องจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่เกิดขึ้น ขณะที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ
ภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่ ขณะที่เหล็กทรงแบน คาดการณ์ว่าทรงตัวเช่นกัน จากตลาดภายในประเทศที่ยังคงชะลอตัวอยู่ จากภาวะทาง
เศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
- อุตสาหกรรมยานยนต์ ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2550 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การจำหน่ายในประเทศยังมีแนวโน้มที่ลดลงอยู่ และในขณะนี้สัดส่วนการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 50 และส่งออกร้อยละ 50
- อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม 2550 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศจะลดลง เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน รวมทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่
ค้าหลักขยายตัวดีขึ้น
- อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนมิถุนายน2550 ประมาณการว่าจะหดตัวเล็กน้อย
ประมาณร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวลดลงของสินค้ากลุ่มเครื่องทำความเย็น ขณะที่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์
ยังคงมีสถานการณ์การผลิตและการขายในภาพรวมที่ดีและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยประมาณการว่าในเดือนมิถุนายน 2550 จะ
ขยายตัวร้อยละ 28
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม)
เม.ย. 50 = 151.15
พ.ค. 50 = 168.15 (ขึ้น)
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนี เพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ
- การผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
เม.ย. 50 = 60.40
พ.ค. 50 = 67.56 (ขึ้น)
โดยอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- การผลิตยานยนต์
- การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ
- การจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ
1.อุตสาหกรรมอาหาร
ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในระยะสั้นสำหรับการจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มลดลง
เนื่องจากประชาชนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
1. การผลิต
ภาวะการผลิตโดยรวม (ไม่รวมน้ำตาล) ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 26.0 และ 6.3 โดยปริมาณสินค้าที่ผลิตเพื่อส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ร้อยละ 35.1 และสับปะรดกระป๋องร้อยละ 12.5 เนื่องจาก
วัตถุดิบออกสู่ตลาดลดลง ในขณะที่สินค้าอื่นๆ มีการผลิตเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เช่น กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ร้อยละ 44.3 ไก่สดแช่เย็นแช่แข็งร้อยละ 14.6 และปลาทูน่ากระป๋อง ร้อยละ 10.1 เนื่องจากผู้ส่งออกยังไม่ปรับราคา จึงยังมีคำสั่งซื้อเข้ามาแม้ว่าปริมาณจะลดลงจากปีก่อนในส่วนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศ สินค้าน้ำมันปาล์มและถั่วเหลืองมีการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 14.9 และ3.6 ตามลำดับ ส่วนอาหารไก่ผลิตลดลงร้อยละ 18.6 สำหรับน้ำตาลทรายอยู่ในช่วงปลายของฤดูกาลผลิต 49/50 โดยจะปิดฤดูกาลหีบอ้อยในสิ้นเดือนพฤษภาคม
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ สินค้าอาหารและเกษตร ไม่รวมน้ำตาล มีปริมาณจำหน่ายลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 26 และเดือนก่อนร้อย
ละ 6.3 เนื่องจากความกังวลในภาวะเศรษฐกิจ และระดับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคชะลอการจับจ่ายใช้สอย
2) ตลาดต่างประเทศ การส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร(ไม่รวมน้ำตาลทรายและมันสำปะหลัง) ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 1.2 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 22.7 เนื่องจากค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น ผู้ส่งออกสามารถรับคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาจากการคาดการณ์ว่า
ราคาจะปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับตลาดหลักสินค้าอาหาร คือ สหรัฐ กำลังปรับการนำเข้าเพื่อผลักดันเศรษฐกิจในเชิงบวก รองรับการประกาศผล
การประกอบการไตรมาสแรก ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าสำคัญๆ ของไทย ได้แก่ ปลาทูน่ากระป๋อง และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งเพิ่มขึ้นจาก
เดือนก่อนร้อยละ 19.2 และ 33.4 ตามลำดับ
3. แนวโน้ม
คาดว่าการผลิตและการส่งออกจะปรับตัวดีขึ้น เป็นผลจากการรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเริ่มมี
เสถียรภาพ ขณะที่การจำหน่ายสินค้าในประเทศมีแนวโน้มลดลงจากเดือนก่อนเนื่องจากประชาชนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันและอื่นๆ
ที่ปรับราคาสูงขึ้น
2.อุตสาหกรรมน้ำตาล (เมษายน)
1. น้ำตาลทราย
1.1 การผลิต
ในเดือนเมษายน 2550 มีการผลิตน้ำตาลทราย จำนวนทั้งสิ้น 239,312.25 ตัน ซึ่งมีบางโรงงานได้นำน้ำตาลทรายดิบไปละลายเพื่อ
แปรสภาพเป็นน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ โดยมีการผลิตน้ำตาลทรายรวมตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2550 (4 เดือน)
จำนวนทั้งสิ้น 5,664,560.37 ตัน ในจำนวนนี้เป็นน้ำตาลทรายดิบจำนวน 2,812,541.20 ตัน หรือ 50% ของผลผลิตน้ำตาลทั้งหมด ส่วนที่
เหลือเป็นน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์
1.2 การบริโภค
ในเดือนเมษายน 2550 มีการบริโภคน้ำตาลทรายในประเทศจำนวน 195,604.19 ตัน ลดลง 7% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งมีการบริโภค จำนวน 210,282.11 ตัน สำหรับการบริโภคโดยรวมตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2550 (4 เดือน) มีจำนวนทั้งสิ้น 756,335.23 ตันลดลง 4% จากในช่วงเดียวกันของปี 2549
1.3 การส่งออก
ในเดือนเมษายน 2550 ประเทศไทยมีการส่งออกน้ำตาลจำนวน 411,640.63 ตัน ลดลง 20% จากเดือนก่อนหน้า ซึ่งส่งออกได้
จำนวน 512,761.37 ตัน โดยปริมาณการส่งออกในเดือนเมษายนของปีนี้เพิ่มขึ้น 61% จากช่วงเดียวกันของปี 2549 การส่งออกน้ำตาลตั้งแต่
เดือนมกราคม-เมษายน 2550 (4 เดือน) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,457,567.62 ตัน เป็นการส่งออกน้ำตาลทรายดิบ 693,710.52 ตัน หรือ 48% ของ
ปริมาณการส่งออกทั้งหมด
1.4 การนำเข้า
ในเดือนเมษายน 2550 ไม่มีการนำเข้าน้ำตาลทรายจากต่างประเทศ ซึ่งปริมาณโควตานำเข้าน้ำตาลภายใต้กรอบ WTO ในปี
2550 จำนวน 13,760 ตัน อัตราภาษีนำเข้าในโควตา 65% ส่วนอัตราภาษีนอกโควตาอยู่ที่ 94%
2. กากน้ำตาล
ในเดือนเมษายน 2550 มีการผลิตกากน้ำตาล จำนวน 165,230.58 ตัน เพิ่มขึ้น 284% จากในช่วงเดียวกันของปี 2549
การส่งออกกากน้ำตาลในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 มีจำนวนทั้งสิ้น 101,300.00 ตัน ส่วนเดือนมีนาคม-เมษายน 2550 ยังไม่ได้รับ
การรายงานจากกรมศุลกากร
3. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
...การส่งออกคาดว่าจะยังมีผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และการแข่งขันจากจีนและเวียดนาม...
1. การผลิต
การผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มโดยรวมมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยสินค้าที่เพิ่มขึ้นได้แก่ การผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน
ผ้าขนหนูและเครื่องนอน เสื้อผ้าสำเร็จรูปผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6, 9.6, 7.0, 34.9 และ 12.1 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อที่มีอยู่ก่อนหน้า ในเดือนที่ผ่านมามีการลดการผลิตลง และในเดือนนี้เป็นการผลิตตามปกติ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การ
ผลิตลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นเพียงเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก
2. การตลาด
ตลาดในประเทศ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์สิ่งทอฯ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภคตลาดต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงในตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ร้อยละ 0.6 และญี่ปุ่นร้อยละ 7.3 ขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่งออกลดลงเล็กน้อยและลดลงใน
ตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริการ้อยละ 3.4 ผลสืบเนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทที่มีอย่างต่อเนื่องจากปลายปีที่แล้ว
3. การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์สิ่งทอเดือนพฤษภาคมมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่เส้นใยที่ใช้ในการทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ตลาดนำเข้าได้แก่ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย ด้ายทอผ้านำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ตลาดนำเข้าได้แก่ จีน และญี่ปุ่น ผ้าผืนนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ตลาดนำเข้าได้แก่ จีนและไต้หวัน ขณะที่การนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 4.9 ซึ่งการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นสินค้าราคาถูกจากจีนและไต้หวัน
4. แนวโน้ม
คาดว่าเดือนกรกฎาคม การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามกลไกการตลาด การส่งออกจะยังมีผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นและการแข่งขันจากจีนและเวียดนาม ขณะที่การจำหน่ายในประเทศมีการใช้จ่ายไม่มากนัก แต่คาดว่าผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์ด้านยอดขายในไตรมาสสุดท้ายหลังจากที่มีการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(JTEPA) ซึ่งจะกระตุ้นต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอไทยคือการลดภาษีเป็นร้อยละ 0 ทันทีที่จะเกิดใน ช่วงเดือนตุลาคม 2550
4. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
ประเทศเวียดนามมีแผนการก่อสร้างโรงงานเหล็กครบวงจรหลายโครงการ ได้แก่ โครงการของบริษัท Tycoon Worldwide, VSC/Tata และ Vinashin/Posco โดยทั้ง 3 โครงการได้รับใบอนุญาตในการดำเนินการแล้ว ซึ่งจากโครงการดังกล่าวนั้น ประเทศเวียดนามกำลังทบทวนความสามารถที่จะดำเนินการและสนับสนุนให้โครงการดังกล่าวสำเร็จลุล่วง ดังนั้น รัฐบาลเวียดนามจึงเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการในโครงการต่างๆ ของประเทศซึ่งโดยพื้นฐานของประเทศแล้วเป็นประเทศที่มีทรัพยากรแรงงานที่ถูกและมีแหล่งแร่เหล็กอุดมสมบูรณ์
1.การผลิต
ภาวะการผลิตเหล็กในช่วงเดือน พ.ค. 50 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.96 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 148.52 เมื่อพิจารณารายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.38 โดยเหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.92 ลวดเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.36 และลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.94 เนื่องจากโรงงานที่ได้หยุดซ่อมบำรุงในช่วงเดือนที่ผ่านมาได้เริ่มเปิดดำเนินการผลิตเต็มที่ในช่วงเดือนนี้ ส่งผลให้เดือนนี้มียอดการผลิตสูงขึ้น ประกอบกับเมื่อเดือนที่ผ่านมามีวันหยุดยาว จึงทำให้การผลิตในเดือนนี้เทียบกับเดือนก่อนขยายตัวขึ้น ขณะที่สถานการณ์การตลาดในประเทศยังคงชะลอตัวอยู่เนื่องจากการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่โครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่เกิดขึ้น ขณะที่สถานการณ์เหล็กทรงแบนการผลิตขยายตัวขึ้น ร้อยละ 11.69 โดย
เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ขยายตัวขึ้น ร้อยละ 30.75 เป็นผลมาจากการที่ผู้ผลิตรายหนึ่งได้เพิ่มปริมาณการผลิตเนื่องจากได้รับคำสั่งซื้อสินค้าชนิดพรีเมี่ยมเกรดเพิ่มมากขึ้น รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ขยายตัวขึ้น ร้อยละ 19.52 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ภาวะการผลิตชะลอตัวลง ร้อยละ 7.68 โดยเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 25.55 และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 24.27
2.ราคาเหล็ก
การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมิถุนายน 2550 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ราคาโดยเฉลี่ยของผลิตภัณฑ์เหล็กแทบทุกตัวปรับตัวลดลง โดย เหล็กเส้น ลดลงจาก 571 เป็น 550 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 3.68 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ลดลงจาก 508 เป็น 490 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 3.45 เหล็กแผ่นรีดร้อนลดลงจาก 564 เป็น 550 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 2.40 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 630 เป็น 615 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 2.38 แต่เหล็กแท่งแบนมีราคาทรงตัวคือ 535 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็นผลมาจากความต้องการที่ซบเซาทั้งในยุโรป สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึงสหรัฐอเมริกา จึงทำให้ไม่มีการสั่งจองสินค้าในช่วงนี้ ประกอบกับราคาเหล็กบางชนิดเช่น เหล็กแผ่นรีดเย็น ตกลงเป็นผลมาจากความต้องการของผู้ผลิตปลายน้ำในประเทศลดลง ประกอบกับตลาดการส่งออกก็ลดลงด้วยเช่นกัน
3. แนวโน้ม
สถานการณ์เหล็กในเดือน มิ.ย. คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยในส่วนของการผลิตเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะยังคงทรงตัว เนื่องจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐยังไม่เกิดขึ้น ขณะที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาคเอกชนยังคงชะลอตัวอยู่ ขณะเหล็กทรงแบน คาดการณ์ว่าทรงตัวเช่นกัน จากตลาดภายในประเทศที่ยังคงชะลอตัวอยู่ จากภาวะทางเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
5. อุตสาหกรรมยานยนต์
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2550 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2549 โดยได้รับผลดีจากการส่งออกที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ตลาดภายในประเทศชะลอตัว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 111,585 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีการผลิต 108,084 คัน ร้อยละ 3.24 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ร้อยละ 34.47
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 51,364 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีการจำหน่าย 55,700 คันร้อยละ 7.78 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ร้อยละ 3.44
- การส่งออกรถยนต์ จำนวน 54,035 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีการส่งออก 43,137 คันร้อยละ 25.26 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ร้อยละ 25.33
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2550 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แบ่งเป็นการ
ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 50 และส่งออกร้อยละ 50
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2550 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2549 ตามสภาพเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว ประกอบกับการปล่อยสินเชื่อของผู้จำหน่ายรายย่อยมีความเข้มงวดมากขึ้น โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม
ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 158,293 คันลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีการผลิต 190,104 คันร้อยละ 16.73 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ร้อยละ46.27
- การจำหน่าย จำนวน 143,367 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีการจำหน่าย 211,365 คัน ร้อยละ 32.17 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ร้อยละ 17.93
- การส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU) มีจำนวน 9,968 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2549 ซึ่งมีการส่งออก 11,178 คัน ร้อยละ 10.82 และลดลงจากเดือนเมษายน 2550 ร้อยละ 21.65 ตลาดส่งออกที่นำเข้ารถจักรยานยนต์จากไทยลดลง ได้แก่ แคนาดา ออสเตรเลีย, สหราชอาณาจักร
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2550 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ประมาณการว่าจะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ประมาณ 150,000 คัน
6.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
“การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศชะลอตัว เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงซบเซา สำหรับการส่งออกเพิ่มขึ้น เนื่องจาก
เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักขยายตัวดีขึ้น
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตปูนซีเมนต์ในเดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 1.81 แต่การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.06 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ลดลงร้อยละ 11.10 และ 10.12 ตามลำดับ เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นผลจากอุปสงค์ในประเทศที่ชะลอตัวจากความไม่แน่นอนจากภาวะเศรษฐกิจ
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์เดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.21 และ 7.10 ตามลำดับ เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศคู่ค้าหลัก คือ สหรัฐอเมริกาเริ่มขยายตัวดีขึ้น และสำหรับตลาดหลักในแถบอาเซียนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องอาเซียนลดลง
3.แนวโน้ม
ในเดือนมิถุนายน และกรกฎาคม 2550 คาดว่าการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศจะลดลงเนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน รวมทั้งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักขยายตัวดี
ขึ้น
7. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤษภาคม 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 258.52 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.54 ขณะที่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.59 เป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.02 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก ได้แก่ HDD
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน พ.ค. 2550
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า CPM CPY
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1,201.91 13.07 2.07
IC 752.66 19.19 26.18
เครื่องปรับอากาศ 322.27 30.75 48.72
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า 122.73 23.79 30.61
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 3,765.25 16.57 9.99
ที่มา : สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
1.การผลิต
ภาพรวม ภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤษภาคม 2550 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 258.52 เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.54 ขณะที่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.59 เป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.02 โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD ขณะที่ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ายังคงหดตัว ร้อยละ 11.53 เป็นผลจากสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกรายการ ได้แก่ สินค้าโทรทัศน์สี < 21 นิ้ว โทรทัศน์สี > 21 นิ้ว พัดลม สายไฟฟ้า และตู้เย็นที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 40.72 17.16 13.28 11.63 และ 5.54 เป็นต้น
2. การตลาด
มูลค่าการส่งออกโดยรวมของสินค้าไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในเดือนพฤษภาคม 2550 พบว่าปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 16.57 ขณะที่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.99 มีมูลค่าส่งออก 3,765.25 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าส่งออก 1,444.08 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.67 และอิเล็กทรอนิกส์มีมูลค่า 2,321.17 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.81 โดยสินค้าที่ทำให้การส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ Integrated Circuit เครื่องปรับอากาศสำหรับที่พักอาศัย โรงงาน มีมูลค่า 1,201.91 752.66 และ 322.27 ล้านเหรียญสหรัฐตลาดส่งออกหลักที่มีมูลค่าและการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค.50 ได้แก่ ตลาดอียูมีมูลค่า 654.23 ล้านเหรียญสหรัฐ มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 27.07%YoY และมีสัดส่วนการส่งออกสูงสุดร้อยละ 17.38
3. แนวโน้ม
แนวโน้มของอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าในเดือนมิ.ย.ปี2550 ประมาณการว่าจะหดตัวเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวลดลงของสินค้ากลุ่มเครื่องทำความเย็น ขณะที่แนวโน้มในไตรมาส 2(เม.ย.-มิ.ย.50) ประมาณการว่าจะหดตัวเช่นกัน ประมาณร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการผลิตสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีที่ชะลอตัว ส่วนในไตรมาส 3 (ก.ค.-ก.ย.50) ประมาณการว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยได้อานิสงค์จากการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจกระเตื้องขึ้น ประกอบกับในช่วงกลางถึงท้ายปีจะเร่งทำการผลิตเพื่อขายปลายปี โดยเฉพาะในกลุ่มภาพและเสียง
ขณะที่ในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ยังคงมีสถานการณ์การผลิตและการขายในภาพรวมที่ดีและมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยประมาณการว่าในเดือนมิ.ย.50 ขยายตัวร้อยละ 28 ขณะที่ ในช่วงไตรมาส 2 (เม.ย.-มิ.ย.) จะขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออก HDD ที่ขยายตัวสูง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากมีการลงทุนเพิ่มของ 2บริษัทที่ผลิตส่วนประกอบนี้ ส่วนในช่วงไตรมาส 3 นั้น ประมาณการว่าจะขยายตัวอย่างน้อยร้อยละ 10 เนื่องจากเศรษฐกิจของตลาดส่งออกที่เป็นคู่ค้าที่สำคัญอย่างกลุ่มอียูขยายตัวดีในปีนี้ ถึงแม้ตลาดสหรัฐจะชะลอตัวเล็กน้อยก็ตาม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในเดือนพฤษภาคม 2550 มีค่า 168.15 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 (151.15) ร้อยละ 11.2 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (162.07) ร้อยละ 3.8
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องแต่งกาย ยกเว้นเครื่องแต่งกายที่ทำจากขนสัตว์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำอุตสาหกรรมการผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรสำนักงาน เครื่องทำบัญชีและเครื่องคำนวณอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาล อุตสาหกรรมการผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม อุตสาหกรรมการผลิตมอลต์ลิกเคอและมอลต์ เป็นต้น
- อัตราการใช้กำลังการผลิตในเดือนพฤษภาคม 2550 มีค่า 67.56 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 (60.40) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน (71.07)
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2550 ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำและ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน ยกเว้นปุ๋ยและสารประกอบไนโตรเจนอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก เป็นต้น
- อุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ อุตสาหกรรมการจัดเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมถึงการทอสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องรับโทรทัศน์และวิทยุ และสินค้าที่เกี่ยวข้อง
อุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากคอนกรีต ซีเมนต์ และปูนปลาสเตอร์ อุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2550
- ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2550 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 357 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 248 รายหรือมากกว่าร้อยละ 43.9 ในส่วนของจำนวนเงินลงทุน มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 8,621.30 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเมษายน 2550 ซึ่งมีการลงทุน 92,330.91 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ -90.7 แต่การจ้างงานรวมมีจำนวน 9,806 คน เพิ่มขึ้น จากเดือนเมษายน 2550 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,072 คน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.7
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ