สศอ.เผยการผลิตน้ำตาล ฤดูกาล 49/50 คึกคัก ปริมาณอ้อยป้อนโรงงานดีเกินคาด หลังเกษตรได้รับแรงหนุนขยายพื้นที่ปลูก ส่งดัชนีอุตฯธ.ค.49 พุ่งร้อยละ 7 จากปีก่อน ชี้อุตฯหลักคอมฯ-การผลิตเม็ดพลาสติก เป็นแรงเสริม
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงทิศทางการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม จากการจัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2549 ที่ผ่านมาว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.17 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีอุตสาหกรรมหลักหนุนการขยายตัวที่สำคัญ คือ การผลิตน้ำตาล การผลิตคอมพิวเตอร์ และการผลิตเม็ดพลาสติก สำหรับอัตราการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี 2549 ทั้งปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.58
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตน้ำตาล นับตั้งแต่ วันที่ 1 ธ.ค. 2549 เป็นต้นมา เป็นการเริ่ม ฤดูการผลิต ปี 2549/2550 ซึ่งฤดูกาลนี้มีปริมาณอ้อยเข้าสู่กระบวนการผลิตมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเกษตรกรได้รับการส่งเสริมให้ขยายพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น และปีนี้มีโรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัว โดยคาดว่าปริมาณอ้อยที่เข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำตาลปีนี้ จะมีประมาณ 60 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 สามารถผลิตเป็นน้ำตาลได้กว่า 6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 28-30 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน(2548/2549) ที่มีปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงาน 46.7 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลได้ 4.8 ล้านตัน
สำหรับภาวะการผลิตน้ำตาลจนถึงสิ้นเดือน ธ.ค.มีปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงานทั้งสิ้น 11,545,873.64 ตัน เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 104.9 ซึ่งสามารถผลิตเป็นน้ำตาลรวม 1,019,436.36 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 116. 4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 720,437.25 ตัน น้ำตาลทรายขาว 297,735.07 ตัน และน้ำตาลทรายชนิดอื่นๆ 1,264.04 ตัน
การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่ม คือ การผลิต Hard Disk ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 และจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7 เนื่องจากความต้องการของตลาดยังมีสูง โดยเฉพาะ Hard Disk ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถสนองความต้องการใช้งาน
ได้หลากหลาย ขนาดเล็กลงบรรจุข้อมูลได้มาก ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิต Hard Disk ขนาด 1.8 นิ้ว เก็บข้อมูลได้มากถึง 100 กิกะไบต์ ซึ่งถือเป็นการเปิดมิติใหม่ด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะโน้ตบุคที่จะมีขนาดเล็กและน้ำหนักลดลง แต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
การผลิตเม็ดพลาสติก ทั้งปี 2549 มีการผลิตและจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญได้แก่ PE ที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 โดยในประเทศจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 20.3 เนื่องจากผู้ผลิตต้องเร่งผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบยังตลาดยุโรป ก่อนที่จะมีมาตรการภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดถุงพลาสติก PE จากไทยและจีน เมื่อเดือนตุลาคม 2549 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติกในปี 2550 คาดว่าจะยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศแถบเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญในสินค้าของกลุ่มนี้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์จะขยายตัวได้ดีเพื่อทดแทนบรรจุภัณฑ์เดิมที่เป็นแบบโลหะ
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า ในเดือนธ.ค. 49 ที่ผ่านมามีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญได้แก่ การผลิตดอกไม้ประดิษฐ์และเครื่องประดับเทียม การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
โดย การผลิตดอกไม้ประดิษฐ์และเครื่องประดับเทียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ถือว่าได้รับผลกระทบมากทำให้การผลิตและจำหน่ายไม่ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ได้รับเงินกลับมาไม่ได้ตามที่คาดการณ์ไว้ โดยแนวโน้มอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ ในปี 2550 ถือว่ายังจะได้รับผลกระทบหนักอยู่อีก เนื่องจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน การแข็งค่าของเงินบาท และที่สำคัญคือสินค้าจากจีนเข้ามาแข่งขันด้านราคา จนทำให้ลูกค้าบางกลุ่มลังเลในการสั่งซื้อสินค้า
การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งการผลิตและจำหน่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะการเมืองและเศรษฐกิจ และการแข่งขันที่รุนแรง โดยคู่แข่งที่สำคัญคือ จีนและเวียดนาม สามารถผลิตสินค้าในจำนวนที่มากกว่าด้วยต้นทุนต่ำกว่า และสามารถส่งมอบสินค้าได้ ตามที่ลูกค้าต้องการ
สำหรับตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2549 จากการรวบรวมทั้งสิ้น 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมผู้ประกอบการ 2,121 โรงงาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 164.13 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.17 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 165.82 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.61 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 168.85 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.87 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 171.00 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.77 ดัชนีแรงงานแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 114.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.61 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 138.31 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.39 ขณะที่ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 137.58 ลดลงร้อยละ 68.06 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 64.55
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงทิศทางการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม จากการจัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2549 ที่ผ่านมาว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7.17 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีอุตสาหกรรมหลักหนุนการขยายตัวที่สำคัญ คือ การผลิตน้ำตาล การผลิตคอมพิวเตอร์ และการผลิตเม็ดพลาสติก สำหรับอัตราการขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี 2549 ทั้งปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.58
ดร.อรรชกา กล่าวว่า การผลิตน้ำตาล นับตั้งแต่ วันที่ 1 ธ.ค. 2549 เป็นต้นมา เป็นการเริ่ม ฤดูการผลิต ปี 2549/2550 ซึ่งฤดูกาลนี้มีปริมาณอ้อยเข้าสู่กระบวนการผลิตมากเป็นพิเศษ เนื่องจากเกษตรกรได้รับการส่งเสริมให้ขยายพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น และปีนี้มีโรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัว โดยคาดว่าปริมาณอ้อยที่เข้าสู่กระบวนการผลิตน้ำตาลปีนี้ จะมีประมาณ 60 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 30 สามารถผลิตเป็นน้ำตาลได้กว่า 6 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 28-30 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน(2548/2549) ที่มีปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงาน 46.7 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลได้ 4.8 ล้านตัน
สำหรับภาวะการผลิตน้ำตาลจนถึงสิ้นเดือน ธ.ค.มีปริมาณอ้อยเข้าสู่โรงงานทั้งสิ้น 11,545,873.64 ตัน เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 104.9 ซึ่งสามารถผลิตเป็นน้ำตาลรวม 1,019,436.36 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 116. 4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยแยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 720,437.25 ตัน น้ำตาลทรายขาว 297,735.07 ตัน และน้ำตาลทรายชนิดอื่นๆ 1,264.04 ตัน
การผลิตคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดยผลิตภัณฑ์หลักในกลุ่ม คือ การผลิต Hard Disk ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7 และจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.7 เนื่องจากความต้องการของตลาดยังมีสูง โดยเฉพาะ Hard Disk ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถสนองความต้องการใช้งาน
ได้หลากหลาย ขนาดเล็กลงบรรจุข้อมูลได้มาก ซึ่งปัจจุบันสามารถผลิต Hard Disk ขนาด 1.8 นิ้ว เก็บข้อมูลได้มากถึง 100 กิกะไบต์ ซึ่งถือเป็นการเปิดมิติใหม่ด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะโน้ตบุคที่จะมีขนาดเล็กและน้ำหนักลดลง แต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
การผลิตเม็ดพลาสติก ทั้งปี 2549 มีการผลิตและจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญได้แก่ PE ที่มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 โดยในประเทศจำหน่ายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 การส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 20.3 เนื่องจากผู้ผลิตต้องเร่งผลิตสินค้าเพื่อส่งมอบยังตลาดยุโรป ก่อนที่จะมีมาตรการภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดถุงพลาสติก PE จากไทยและจีน เมื่อเดือนตุลาคม 2549 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตเม็ดพลาสติกในปี 2550 คาดว่าจะยังคงมีความต้องการเพิ่มขึ้น จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศแถบเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญในสินค้าของกลุ่มนี้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์จะขยายตัวได้ดีเพื่อทดแทนบรรจุภัณฑ์เดิมที่เป็นแบบโลหะ
ดร.อรรชกา ยังกล่าวอีกว่า ในเดือนธ.ค. 49 ที่ผ่านมามีอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่สำคัญได้แก่ การผลิตดอกไม้ประดิษฐ์และเครื่องประดับเทียม การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ
โดย การผลิตดอกไม้ประดิษฐ์และเครื่องประดับเทียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ถือว่าได้รับผลกระทบมากทำให้การผลิตและจำหน่ายไม่ได้ตามเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้ได้รับเงินกลับมาไม่ได้ตามที่คาดการณ์ไว้ โดยแนวโน้มอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ ในปี 2550 ถือว่ายังจะได้รับผลกระทบหนักอยู่อีก เนื่องจากปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน การแข็งค่าของเงินบาท และที่สำคัญคือสินค้าจากจีนเข้ามาแข่งขันด้านราคา จนทำให้ลูกค้าบางกลุ่มลังเลในการสั่งซื้อสินค้า
การเตรียมและการปั่นเส้นใยสิ่งทอรวมทั้งการทอสิ่งทอ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทั้งการผลิตและจำหน่ายลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะการเมืองและเศรษฐกิจ และการแข่งขันที่รุนแรง โดยคู่แข่งที่สำคัญคือ จีนและเวียดนาม สามารถผลิตสินค้าในจำนวนที่มากกว่าด้วยต้นทุนต่ำกว่า และสามารถส่งมอบสินค้าได้ ตามที่ลูกค้าต้องการ
สำหรับตัวเลขดัชนีอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2549 จากการรวบรวมทั้งสิ้น 53 กลุ่มอุตสาหกรรม 215 ผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมผู้ประกอบการ 2,121 โรงงาน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปี 2548 ดัชนีผลผลิต(มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 164.13 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.17 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 165.82 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.61 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 168.85 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.87 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 171.00 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.77 ดัชนีแรงงานแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 114.88 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.61 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 138.31 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.39 ขณะที่ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 137.58 ลดลงร้อยละ 68.06 โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 64.55
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-