เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่เริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปี 2548 ส่งผลให้ภาคก่อสร้างขยายตัวขึ้นและทำให้ญี่ปุ่นมีความต้องการเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบเพิ่มขึ้นตามมา ขณะเดียวกันการที่ชาวญี่ปุ่นมีรายได้สูงขึ้น ทำให้มีความต้องการปรับเปลี่ยนเฟอร์นิเจอร์เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยมากขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ในญี่ปุ่นมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการผลิตเฟอร์นิเจอร์ของญี่ปุ่นยังไม่เพียงพอต่อ ความต้องการในประเทศ ส่งผลให้ญี่ปุ่นนำเข้าเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 3,703.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2547 เป็น 3,994.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2548 และ 4,135.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2549
ทั้งนี้ ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่นมีดังนี้
* รสนิยมของผู้บริโภค ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นิยมเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่แต่เรียบง่าย (Simply Modern) มีรูปแบบผสมผสานระหว่างวิถีตะวันออกแบบญี่ปุ่นกับวิถีตะวันตก นอกจากนี้ การที่ที่อยู่อาศัยของชาวญี่ปุ่นมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้เฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบให้สามารถ ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายได้รับความนิยมมาก ทั้งนี้ ประเภทของเฟอร์นิเจอร์ที่ตลาดญี่ปุ่นมีความต้องการสูง ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ยางพารา เนื่องจากราคาถูก สวยงาม และง่ายต่อการตกแต่ง แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ไทย และจีน ขณะที่เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ลามิเนตซึ่งได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ส่วนใหญ่นำเข้าจากไต้หวันและเกาหลีใต้เป็นสำคัญ
* ลักษณะเด่นของตลาดเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่น ความต้องการซื้อเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับฤดูกาลเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนของทุกปี ซึ่งความต้องการเฟอร์นิเจอร์จะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเป็นช่วงรอยต่อระหว่างปลายปีงบประมาณเก่าและต้นปีงบประมาณใหม่ของญี่ปุ่น ทำให้หน่วยงานรัฐบาลและองค์กรเอกชนมีความต้องการเปลี่ยนและสำรองเฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้งานในปีงบประมาณถัดไป อีกทั้งในเดือนเมษายนเป็นช่วงเปิดเทอมของญี่ปุ่น ทำให้มีความต้องการเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้เพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นมาก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เก็บของ และชั้นวางหนังสือ นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นยังนิยมซื้อสินค้าจำนวนมากโดยต้องการสินค้าทันที การทำตลาดเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่นจึงจำเป็นต้องสต็อกสินค้าอย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถกระจายสินค้าได้ทันตามกำหนด และที่สำคัญหน่วยงานรัฐบาลและบริษัทเอกชนของญี่ปุ่นมักสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japanese Industry Standard : JIS)
* คู่แข่งของไทยในตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ จีน ซึ่งเป็นแหล่งที่ญี่ปุ่นนำเข้าเฟอร์นิเจอร์มากเป็นอันดับหนึ่งโดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไม้และเฟอร์นิเจอร์โลหะราคาถูก ส่วนใหญ่เป็นสินค้ารับจ้างผลิต อาเซียน เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ผลิตในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม มีจุดเด่นที่คุณภาพคงที่ ทำให้สามารถแข่งขันได้ในญี่ปุ่น อิตาลีเฟอร์นิเจอร์อิตาลีได้รับความนิยม และจัดเป็นเฟอร์นิเจอร์คุณภาพสูงในญี่ปุ่น ด้วยคุณสมบัติด้านการออกแบบที่ล้ำสมัย และมีความประณีต สหรัฐอเมริกา เฟอร์นิเจอร์ที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้และเฟอร์นิเจอร์ที่พร้อมประกอบเอง (Ready-to-Assemble) ซึ่งได้รับความนิยมค่อนข้างมาก เนื่องจากราคาเหมาะสม
* โอกาสและแนวโน้มตลาดเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่น การนำเข้าเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ ของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย และเฉพาะเจาะจงของผู้บริโภคได้ จึงนับเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปเจาะตลาดญี่ปุ่น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับคุณภาพ และการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดญี่ปุ่น ซึ่งประชากรสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรพัฒนารูปแบบและประโยชน์ใช้สอยของเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุด้วย
ในปี 2549 ไทยส่งออกเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบไปญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 289 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงราวร้อยละ 6 จากปี 2548 โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นร้อยละ 7.4 ส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่รับจ้างผลิตให้กับตราสินค้าของญี่ปุ่น ทั้งนี้ ไทยมีจุดเด่นในด้านการควบคุมคุณภาพสินค้า และการรักษาเวลาในการส่งมอบ ทำให้มีความน่าเชื่อถือมากกว่าคู่แข่งสำคัญโดยเฉพาะจีน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2550--
-พห-
ทั้งนี้ ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับตลาดเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่นมีดังนี้
* รสนิยมของผู้บริโภค ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นิยมเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่แต่เรียบง่าย (Simply Modern) มีรูปแบบผสมผสานระหว่างวิถีตะวันออกแบบญี่ปุ่นกับวิถีตะวันตก นอกจากนี้ การที่ที่อยู่อาศัยของชาวญี่ปุ่นมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้เฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบให้สามารถ ใช้ประโยชน์ได้หลากหลายได้รับความนิยมมาก ทั้งนี้ ประเภทของเฟอร์นิเจอร์ที่ตลาดญี่ปุ่นมีความต้องการสูง ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ยางพารา เนื่องจากราคาถูก สวยงาม และง่ายต่อการตกแต่ง แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ไทย และจีน ขณะที่เฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ลามิเนตซึ่งได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ส่วนใหญ่นำเข้าจากไต้หวันและเกาหลีใต้เป็นสำคัญ
* ลักษณะเด่นของตลาดเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่น ความต้องการซื้อเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับฤดูกาลเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายนของทุกปี ซึ่งความต้องการเฟอร์นิเจอร์จะเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากเป็นช่วงรอยต่อระหว่างปลายปีงบประมาณเก่าและต้นปีงบประมาณใหม่ของญี่ปุ่น ทำให้หน่วยงานรัฐบาลและองค์กรเอกชนมีความต้องการเปลี่ยนและสำรองเฟอร์นิเจอร์สำหรับใช้งานในปีงบประมาณถัดไป อีกทั้งในเดือนเมษายนเป็นช่วงเปิดเทอมของญี่ปุ่น ทำให้มีความต้องการเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้เพื่อการศึกษาเพิ่มขึ้นมาก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้เก็บของ และชั้นวางหนังสือ นอกจากนี้ ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นยังนิยมซื้อสินค้าจำนวนมากโดยต้องการสินค้าทันที การทำตลาดเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่นจึงจำเป็นต้องสต็อกสินค้าอย่างเพียงพอ เพื่อให้สามารถกระจายสินค้าได้ทันตามกำหนด และที่สำคัญหน่วยงานรัฐบาลและบริษัทเอกชนของญี่ปุ่นมักสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (Japanese Industry Standard : JIS)
* คู่แข่งของไทยในตลาดญี่ปุ่น ได้แก่ จีน ซึ่งเป็นแหล่งที่ญี่ปุ่นนำเข้าเฟอร์นิเจอร์มากเป็นอันดับหนึ่งโดยเฉพาะเฟอร์นิเจอร์ไม้และเฟอร์นิเจอร์โลหะราคาถูก ส่วนใหญ่เป็นสินค้ารับจ้างผลิต อาเซียน เฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ผลิตในอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม มีจุดเด่นที่คุณภาพคงที่ ทำให้สามารถแข่งขันได้ในญี่ปุ่น อิตาลีเฟอร์นิเจอร์อิตาลีได้รับความนิยม และจัดเป็นเฟอร์นิเจอร์คุณภาพสูงในญี่ปุ่น ด้วยคุณสมบัติด้านการออกแบบที่ล้ำสมัย และมีความประณีต สหรัฐอเมริกา เฟอร์นิเจอร์ที่ญี่ปุ่นนำเข้าจากสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้และเฟอร์นิเจอร์ที่พร้อมประกอบเอง (Ready-to-Assemble) ซึ่งได้รับความนิยมค่อนข้างมาก เนื่องจากราคาเหมาะสม
* โอกาสและแนวโน้มตลาดเฟอร์นิเจอร์ในญี่ปุ่น การนำเข้าเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ ของญี่ปุ่นมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไม่สามารถตอบสนองความต้องการที่หลากหลาย และเฉพาะเจาะจงของผู้บริโภคได้ จึงนับเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปเจาะตลาดญี่ปุ่น ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับคุณภาพ และการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดญี่ปุ่น ซึ่งประชากรสูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรพัฒนารูปแบบและประโยชน์ใช้สอยของเฟอร์นิเจอร์ให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุด้วย
ในปี 2549 ไทยส่งออกเฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบไปญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 289 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงราวร้อยละ 6 จากปี 2548 โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นร้อยละ 7.4 ส่วนใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่รับจ้างผลิตให้กับตราสินค้าของญี่ปุ่น ทั้งนี้ ไทยมีจุดเด่นในด้านการควบคุมคุณภาพสินค้า และการรักษาเวลาในการส่งมอบ ทำให้มีความน่าเชื่อถือมากกว่าคู่แข่งสำคัญโดยเฉพาะจีน
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2550--
-พห-