สรุปภาวะการค้าไทย-ญี่ปุ่นปี 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 8, 2007 17:22 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 4 ของโลกในปี 2549 มีมูลค่าการนำเข้า 577,226.792 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.82
2. แหล่งผลิตสำคัญที่ญี่ปุ่นนำเข้า ปี 2549 ได้แก่
- จีน ร้อยละ 20.50 มูลค่า 118,337.754 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.97
- สหรัฐฯ ร้อยละ 11.78 มูลค่า 68,003.056 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.93
- ซาอุดิอาระเบีย ร้อยละ 6.44 มูลค่า 37,185.297 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.01
ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 10 สัดส่วนร้อยละ 2.92 มูลค่า 16,866.723 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.19
3. นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น นายชินโซ อาเบะ กล่าวว่ารัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจญี่ปุ่นว่าจะขยายตัวเกินกว่าร้อยละ 2.2 ตลอด 10 ปีนี้ พร้อมกับให้ความเห็นว่า ญี่ปุ่นจำเป็นต้องคงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองต่อไป ในขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นรายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเครื่องชี้วัดสำคัญของแนวโน้มการลงทุนในประเทศพุ่งสูงทำลายสถิติสูงสุดในรอบ 2 ปี เมื่อเดือนกันยายน 2549 เนื่องจากบริษัทธุรกิจส่วนใหญ่เตรียมขยายฐานการลงทุน ทำให้คาดกันว่าอัตราดอกเบี้ยในญี่ปุ่นจะปรับสูงขึ้นในเร็วๆ นี้
4. ญี่ปุ่นได้ดุลการค้ากับทั่วโลก ปี 2549 มูลค่า 69,285.772 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯเป็นอันดับหนึ่ง มูลค่า 77,503.089 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.70 ฮ่องกงเป็นอันดับ 2 มูลค่า 34,901.370 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.51 และได้เปรียบดุลการค้าให้กับไต้หวันเป็นอันดับ 3 มูลค่า 23,775.702 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.12
5. ปี 2549 ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยโดยมีสัดส่วนส่งออกไปตลาดนี้ ร้อยละ 12.66 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวมของไทย หรือมูลค่า 16,430.57 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.83
6. สินค้าไทยส่งออกไปญี่ปุ่น ปี 2549 มีโครงสร้าง ดังนี้
- สินค้าเกษตรกรรม (กสิกรรม ปศุสัตว์ ประมง) ร้อยละ 13.42
- สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ร้อยละ 8.02
- สินค้าอุตสาหกรรม ร้อยละ 74.13
- สินค้าแร่ เชื้อเพลิง และอื่นๆ ร้อยละ 4.43
จากสถิติโครงสร้างการส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่น จะเห็นว่าทั้งสินค้าแต่ละกลุ่ม มีสถิติเพิ่มขึ้นและลดลงในระดับที่แตกต่างกัน โดยสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.46 เกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.81 และอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.72
7.1 การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมไปญี่ปุ่น ปี 2549 มีมูลค่า 2,205.47.32 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.81 เมื่อเทียบกับ 2,045.72 ของปี 2548 ในช่วงระยะเดียวกัน
สินค้าเกษตรกรรมสำคัญส่งออกไปอินเดีย ได้แก่
- ยางพารา สัดส่วนร้อยละ 45.12
- ไก่ สัดส่วนร้อยละ 15.52
- ปลา สัดส่วนร้อยละ 8.21
- ปลาหมึก สัดส่วนร้อยละ 7.75
- กุ้ง สัดส่วนร้อยละ 7.37
ยางพารา : เป็นสินค้าเกษตร (กสิกรรม) สำคัญอันดับหนึ่งที่ไทยส่งออกไปญี่ปุ่น มูลค่า 995.21ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.10 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้ายางพารา (HS.4001 Rubber Natural) ในประเทศญี่ปุ่น ปี 2549 ซึ่งมีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 55.87 มูลค่า 1,024.614 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.79 รองลงไปเป็นการนำเข้าจาก อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม สัดส่วนร้อยละ 40.39 2.00 และ 1.30 ตามลำดับ
ไก่ : เป็นสินค้าเกษตรสำคัญอันดับที่สองซึ่งไทยส่งออกไปญี่ปุ่น โดยมีมูลค่า 342.31 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.82 และ เมื่อไป ดูสถิติการนำเข้าของญี่ปุ่น ปี 2549 พบว่าญี่ปุ่นนำเข้าไก่ (Hs.020714 CHICK CUTTED OFL,FRZ) จากตลาดโลกเป็นมูลค่า 668.844 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 20.09 มีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 14 มูลค่า 0.051 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 75.41 ส่วนอันดับหนึ่งและอันดับสอง นำเข้าจากบราซิล สหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 93.22 และ 4.72 ตามลำดับ
ปลา : เป็นสินค้าเกษตร (ประมง) สำคัญอันดับ 3 ซึ่งไทยส่งออกไปญี่ปุ่น โดยมีมูลค่า 181.06 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549 ลดลงร้อยละ 16.04 เมื่อเทียบกับ 215.65 ล้านเหรียญสหรัฐ ของปี 2548 ในช่วงระยะเดียวกัน และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าปลา (แช่เย็น แช่แข็ง) HS 0304 FILLET, OTHER FISH MEAT ของญี่ปุ่น พบว่าปี 2549 มีการนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 2,110.143 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 12.96 นำเข้าจากไทยอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 7.95 มูลค่า 167.826 ล้านเหรียญสหรัฐ อันดับหนึ่งและสองนำเข้าจาก จีน ชิลี ในสัดส่วนร้อยละ 21.67 และ 14.31 ตามลำดับ
ปลาหมึก : เป็นสินค้าเกษตร (ประมง) ซึ่งไทยส่งออกไปญี่ปุ่นอันดับที่สี่ มูลค่า 170.84 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2549 ลดลงร้อยละ 5.66 และเมื่อดูจากสถิติการนำเข้าปลาหมึก (HS 030749 SQUID, ET, NLIV/FRSH) ของญี่ปุ่นพบว่า ปี 2549 ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 0.048 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,165.37 มีการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 27.76 มูลค่า 73.316 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 9.52 ในขณะที่นำเข้าจากจีน เวียดนาม เป็นอันดับที่ 2 และ 3 สัดส่วนร้อยละ 25.79 และ 20.38 ตามลำดับ
กุ้ง : เป็นสินค้าเกษตร (ประมง) สำคัญอันดับที่ 5 ซึ่งไทยส่งออกไปญี่ปุ่น โดยมีมูลค่า 162.58 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 11.69 ปี 2549 ในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่นปี 2549 มีการนำเข้ากุ้งจากตลาดโลก (Hs.030613 SHRIMP, PRAWN FROZEN) มูลค่ารวม1,951.268 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.93 มีการนำเข้าจากไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และอินเดีย เป็นหลั โดยการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 5 สัดส่วนร้อยละ 8.01 มูลค่า 156.258 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.32
สินค้าเกษตรที่มีความสำคัญรองลงไปคือ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักสดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง และข้าว เป็นต้น
7.2 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรไปญี่ปุ่นที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
- อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สัดส่วนร้อยละ 32.33
- อาหารสัตว์เลี้ยง สัดส่วนร้อยละ 15.03
- เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ สัดส่วนร้อยละ 12.40
- น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล สัดส่วนร้อยละ 12.27
- ผักกระป๋องและแปรรูป สัดส่วนร้อยละ 6.05
อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 425.92 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2549 ลดลงร้อยละ 7.04 แต่ในด้านสถิติการนำเข้าของญี่ปุ่น มีการนำเข้า
-(HS 1604 FISH AND CAVIAR) ปี 2549 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปจากตลาดโลกมูลค่า 1,431.797 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.75 นำเข้าจากจีน ไทย และอินโดนีเซีย เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 11.22 มูลค่า 160.650 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 15.27
-(HS 1605 CRUSTACEAN, MOLLUSCS) ปู กุ้ง ปลาหมึก บรรจุภาชนะอัดลม (อาหารทะเลแปรรูป) ปี 2549 ญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 1,240.720 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.14 มีการนำเข้าจากจีน ไทย เวียดนาม เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 21.63 มูลค่า 268.309 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.76
อาหารสัตว์เลี้ยง : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่นมูลค่า 197.98 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2549 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.57 และในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น ปี 2549 ในรหัส HS 23 FOODWAST : ANIMAL FEED มีมูลค่า 1,973.998 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.85 มีการนำเข้าจากสหรัฐฯ จีน และไทย เป็นหลัก ในสัดส่วนร้อยละ 29.95 13.01 และ 11.01 ตามลำดับ โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับ 2 สัดส่วนร้อยละ 11.01 มูลค่า 217.275 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.96
เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่น เป็นมูลค่า 163.42 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2549 เทียบกับ 143.56 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงเดียวกันของปี 2548 เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.83 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าในรหัส HS 16 PREPARED MEAT, FISH,ETC ปี 2549 พบว่าญี่ปุ่นนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 4,598.341 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.84 มีการนำเข้าจากจีน ไทย และสหรัฐฯ เป็นหลัก ในสัดส่วนร้อยละ 56.91 20.82 และ 5.71 ตามลำดับ โดยการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 2 สัดส่วนร้อยละ 20.82 มูลค่า 957.400 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.30
น้ำตาลทรายและกากน้ำตาล : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 161.62.77 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.77 ปี 2549 ส่วนในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่นในรหัส HS 1701 CANE/ BEET, SOLID FORM จากตลาดโลกมีมูลค่า 493.227 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.54 ในปี 2549 นำเข้าจากฝรั่งเศส สหรัฐฯ และไทย เป็นหลัก ในสัดส่วนร้อยละ 51.37 22.26 และ 12.89 ตามลำดับ โดยการนำเข้าจากไทย ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ เป็นหลัก โดยการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 1 สัดส่วนร้อยละ 40.94 มูลค่า 201.922 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.22
ผักกระป๋องและแปรรูป : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่นเป็นมูลค่า 79.72 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.85 ในปี 2549 และในด้านการนำเข้าของญี่ปุ่น ปี 2549 ในรหัส HS 2005 OT PREP VEG,NOT FRZEN จากตลาดโลกมีมูลค่า 584.210 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.25 มีการนำเข้าจาก จีน เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ เป็นหลัก ในสัดส่วนร้อยละ 69.58 11.14 และ 10.03 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับ 4 สัดส่วนร้อยละ 3.90 มูลค่า 22.673 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.23
สินค้าเกษตรอุตสาหกรรมที่สำคัญรองลงไปซึ่งไทยส่งไปญี่ปุ่น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ สิ่งปรุงรสอาหาร ข้าวโพดหวาน เป็นต้น
7.3 สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไปอินเดีย 5 อันดับ ได้แก่
- เครื่องใช้ไฟฟ้า สัดส่วนร้อยละ 21.16
- แผงวงจรไฟฟ้า สัดส่วนร้อยละ 9.27
- เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สัดส่วนร้อยละ 8.38
- ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สัดส่วนร้อยละ 8.14
- เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สัดส่วนร้อยละ 3.60
เครื่องใช้ไฟฟ้า : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่นในปี 2549 เป็นมูลค่า 2,576.74 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.46 และเมื่อไปดูสถิติการนำเข้าสินค้าในรหัส HS.85 ELECTRICAL MACHINERY ของประเทศญี่ปุ่นในปี 2549 พบว่ามีการนำเข้าจากตลาดโลกรวม 68,084.830 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.81 นำเข้าจากจีน ไต้หวัน และสหรัฐฯ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 6 สัดส่วนร้อยละ 5.24 มูลค่า 3,565.770 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.36
แผงวงจรไฟฟ้า : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่น ปี 2549 มูลค่า 1,129.43 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.48 ส่วนในด้านการนำเข้าแผงวงจรไฟฟ้าของญี่ปุ่น (HS 8542 INTEGRATED CIRCUITS) ปี 2549 มีการนำเข้าจากตลาดโลกมูลค่า 22,228.549 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.60 โดยการนำเข้าจากไต้หวัน สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทย อยู่ที่อันดับ 9 สัดส่วนร้อยละ 1.81 มูลค่า 402.062 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 23.77
เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : ไทยส่งสินค้านี้ออกไปญี่ปุ่น ปี 2549 เป็นมูลค่า 851.31 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.37 ส่วนในด้านการนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบในตลาดญี่ปุ่น ปี 2549 ในรหัสสินค้า HS 8471 COMPUTERS AND COMPONENTS จากตลาดโลกมีมูลค่า 18,094.547 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.65 โดย นำเข้าจากไทยอันดับที่ 3 สัดส่วนร้อยละ 6.57 มูลค่า 1,189.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.69
ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ : ไทยส่งออกสินค้านี้ไปญี่ปุ่น ปี 2549 มูลค่า 991.37 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 765.16 ล้านเหรียญสหรัฐ ของปี 2548 ในช่วงระยะเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.56 ในด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของญี่ปุ่น ปี 2549 ในรหัสสินค้า HS 87 VEHICLES, NOT RAILWAY มีมูลค่า 14,209.400 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.27 โดยนำเข้าจากเยอรมนี จีน และสหรัฐฯ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 7 สัดส่วนร้อยละ 3.20 มูลค่า 455.285 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.83
เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ : ไทยส่งสินค้านี้ไปญี่ปุ่น ปี 2549 มูลค่า 438.34 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับ 344.71 ของปี 2548 ในช่วงระยะเดียวกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.16 ในด้านการนำเข้าจากตลาดโลกของญี่ปุ่น ปี 2549 ในรหัสสินค้า HS 84 MACHINERY มีมูลค่า 54,711.867 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.48 มีการนำเข้าจากจีน สหรัฐฯ และเกาหลีใต้ เป็นหลัก ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่ในอันดับที่ 4 สัดส่วนร้อยละ 5.41 มูลค่า 2,961.488 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.45
สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกไปอินเดียที่สำคัญรองลงไป ได้แก่ เลนซ์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม ผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
ข้อคิดเห็น
ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่นประจำกรุงเทพฯ และประธานคณะกรรมการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจ หอการค้าญี่ปุ่น (เจซีซี) นายโยอิจิ คาโต้ กล่าวถึงผลสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ไตรมาส ที่ 3 ปี 2549 และประมาณการเศรษฐกิจครึ่งแรกปี 2550 ระบุว่า จากผลสำรวจสภาพธุรกิจโเยใช้เครื่องมือวัดผลที่เรียกว่า “ดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจ” โดยสำรวจโดยการส่งแบบสอบถามไปยังสมาชิกหอการค้าญี่ปุ่นในประเทศไทย จำนวน 341 แห่ง (1,262 บริษัท) พบว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2550 สภาวะของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในไทย น่าจะมีทิศทางทีดีขึ้น
ทั้งนี้ประธานเจโทรให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า นักลงทุนญี่ปุ่นยังคงมีความกังวลในเรื่องค่าเงินบาท ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเมื่อเทียบค่าเงินดอลลาร์อยู่ที่ 33 บาท/ดอลลาร์เมื่อไร ผลที่ตามมาก็คือ บริษัทแม่ในญี่ปุ่นจะต้องยกประเด็นนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นพิจารณาแผนการลงทุนเร่งด่วนทันที เพื่อปรับแผนการลงทุนให้ทันต่อเหตุการณ์
นอกจากนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการ ตัดสินใจของนักลงทุนชาวต่างประเทศในประเทศไทยขณะนี้ คือ ผลสะท้อนที่มาจากการทำสำรวจแนวโน้มเศราฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศเศรษฐกิจสำคัญ 5 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ประจำเดือนมกราคม 2550 พบว่าประเทศไทยมีแนวโน้มเศรษฐกิจติดลบ ส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีสภาพด้อยกว่า 4 ประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับในขณะนี้เวียดนามได้ไต่ระดับเศรษฐกิจขึ้นเหนือไทยแล้ว ปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างประเทศกำลังจับตามองไทยอยู่
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ม.ร.ว ปรีดิยาธร เทวกุล ยืนยันกรอบข้อ
ตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น เป็นสิ่งที่ประเทศไทยได้ประโยชน์สูงสุด และควรดำเนินการต่อเนื่อง ซึ่งในขณะนี้ญี่ปุ่นได้ลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไปแล้วกับหลายประเทศ เช่น เม็กซิโก มาเลเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ และอยู่ระหว่างการเจรจากับอินโดนีเซีย บรูไน ชิลี ออสเตรเลีย ซึ่งล้วนแต่เป็นคู้ค้ากับไทย หากไทยมิทำข้อตกลงดังกล่าวกับญี่ปุ่น จะส่งผลให้ไทยเสียเปรียบและไม่สามารถแข่งขันทางการค้ากับประเทศเหล่านั้นได้
สินค้าไทยที่จะได้รับผลดีจากการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ได้แก่ สินค้าเกษตร สินค้าประมงแปรรูป ไก่ ของปรุงแต่ง สินค้าประเภทไม้ เครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ ปิโตรเลียม สารเคมี อัญมณีและเครื่องประดับ เนื่องจากสินค้าเหล่านี้จะได้รับการลดภาษีมากและได้รับโควตาเพิ่มขึ้น ในขณะที่สินค้าประเภทเหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ นั้นนับว่าเป็นจุดเสี่ยง เนื่องจากตลาดจะปรับตัวสู่การแข่งขันที่รุนแรง ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายย่อยไม่มีโอกาสที่จะเข้าไปแข่งขันในตลาดที่ผลิตเพื่อป้อนให้กับโรงงาน (โออีเอ็ม) อีกต่อไป ทั้งนี้ข้อเสนอต่อรองในการเจรจาของไทยในเรื่องที่เกี่ยวกับสินค้าเหล็กของรัฐบาลไทยยังมิได้รับการตอบสนองอย่างเป็นรูปธรรมจากญี่ปุ่นแต่อย่งใด ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจะต้องพิจารณาและหาทางป้องกันเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ