ท่ามกลางปัญหาที่รุมเร้าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ หมอกควันในภาคเหนือ หรือ แม่น้ำเจ้าพระยาเน่าเสียในภาคกลาง อย่างน้อยเราได้เห็นสัญญาณที่ดีในการปรับแนวทางการทำงานของรัฐบาลในหลายๆด้าน
เราได้เห็นการประกาศมาตรการในเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาภาคใต้
เราได้เห็นรองนายกรัฐมนตรีไพบูลย์ฯ แสดงความกระตือรือร้นในการลงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาหมอกควัน
เราได้เห็นนายกรัฐมนตรี เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการทบทวน ประเมินการทำงานต่างๆอย่างกว้างขวาง
การดำเนินการเหล่านี้มีส่วนช่วยให้สภาพความเสื่อมถอยในความเชื่อมั่นลดลงได้บ้าง
แต่สิ่งที่ยังขาดหายไป คือ การเรียกความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ
เมื่อครั้งที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ๆ ผมได้เปิดแถลงข่าวกับรองเลขาธิการพรรคฯ คุณกรณ์ จาติกวณิช โดยได้ย้ำว่า นอกจากการได้ผู้มีความรู้ความสามารถมารับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจแล้ว จะต้องมีการปรับนโยบายด้านเศรษฐกิจด้วย โดยได้เสนอประเด็นหลักๆ ไว้ ๔ ประเด็น ซึ่งผมจะขยายความเพิ่มเติมดังนี้
๑. การยกเลิกมาตรการ ๓๐ % ของธนาคารแห่งประเทศไทย ผมได้เคยทักท้วงการใช้
มาตรการนี้ตั้งแต่ต้นว่า จะเป็นมาตรการที่ส่งสัญญาณผิด กระทบต่อการลงทุน จะเป็นมาตรการที่บังคับใช้ได้ยาก และในที่สุด ก็จะต้องผ่อนปรนไปเรื่อยๆจนไม่ได้ผล แม้จะเป็นความตั้งใจดีของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตาม
มาถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า ค่าเงินบาทก็ยังคงแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมาตรการนี้ก็มีการผ่อนปรนมาโดยลำดับ แต่สถานการณ์ที่ประเทศไทยยังคงเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง และผลตอบแทนในการถือเงินบาทยังสูงกว่าการถือเงินสกุลอื่น ประกอบกับการมีช่องว่างให้มีการค้าเงินทำกำไร โดยผ่านตลาดหุ้น หรือ การที่อัตราแลกเปลี่ยนมีส่วนต่างระหว่างตลาดเงินบาทในประเทศกับนอกประเทศ จึงน่าจะเป็นเวลาเหมาะสมที่จะยกเลิกมาตรการนี้ โดยอาศัยมาตรการอื่นแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็ได้นำเอามาตรการให้ผู้นำเงินเข้าต้องทำประกันความเสี่ยงอย่างเต็มที่แล้ว หากจะมีการยกเลิกมาตรการ ๓๐ % และดำเนินการลดดอกเบี้ย (ดูรายละเอียดที่ข้อ ๒) รวมไปถึงการผ่อนคลายระเบียบเกี่ยวกับการนำเงินออกนอกประเทศ และหากรัฐบาลเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม ก็จะทำให้ภาวะอัตราแลกเปลี่ยนเข้าสู่จุดสมดุลเร็วขึ้น หยุดยั้งปัญหาการเก็งกำไร ขณะที่รัฐบาลควรหามาตรการอื่นๆในการสนับสนุนผู้ส่งออก
เพราะในที่สุด เราคงไม่สามารถหลีกหนีสัจธรรมที่ว่า
เงินจะไหลไปที่ๆผลตอบแทนสูง
ค่าเงินจะแข็งขึ้น หากประเทศมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล
ที่สำคัญ หากยังต้องการให้เศรษฐกิจได้รับประโยชน์จากการลงทุนจากต่างประเทศ เราจะกำหนดราคาของเงิน หรือ อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยตามใจชอบไม่ได้
๒. ลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และ ลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศขณะนี้ ต้องการแรงกระตุ้นทั้งในเรื่องการบริโภค และการลงทุน เพื่อประคับประคองไม่ให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงไปมากกว่านี้
การลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรงและรวดเร็ว (อาจมากกว่าร้อยละ ๑) ไม่น่ามีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน จึงไม่เป็นการเสียวินัยทางการเงินแต่ประการใด ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีความยืดหยุ่นในการตอบสนองเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่จำเป็นตามสถานการณ์ด้วย
ผมเชื่อว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ ก็ปรารถนาที่จะผลักดันแนวทางนี้ แต่กังวลกับปัญหาว่าจะก้าวล่วงความเป็นอิสระของธนาคารกลางหรือไม่ การหารือจึงเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่ก็ต้องชัดเจนว่า กรณีที่ถกเถียงอยู่ขณะนี้ไม่ได้เป็นการไปก้าวล่วงบทบาทของธนาคารกลาง ในด้านการกำกับดูแลสถาบันการเงินและหากไม่มีผลกระทบต่อเป้าหมายเงินเฟ้อแล้ว ก็ไม่กระทบต่อความน่าเชื่อถือ ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยในการดำเนินนโยบายทางการเงินแต่ประการใด ผมเชื่อมั่นว่าจะไม่มีปฏิกิริยาในเชิงลบจากนักลงทุนในประเด็นนี้ ในสถานการณ์ปัจจุบัน
๓. การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากปีนี้ การประกาศใช้กฎหมายงบประมาณล่าช้า จึงทำให้ต้องมีกระบวนการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณเป็นพิเศษ ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติและภัยธรรมชาติต่างๆ ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากรัฐ ประกอบกับการมีรูปธรรมของมาตรการ/โครงการที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนที่เคยชินกับนโยบายประชานิยมเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายคาดหวัง รัฐบาลคงจะปล่อยให้กลไกราชการใช้งบประมาณไปตามปกติไม่ได้ มิฉะนั้นจะเกิดทั้งปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาการเมือง
๔. การทบทวนปัญหาการแก้กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ผมเคยจัดทำข้อเสนออย่างละเอียดผ่านเว็บไซด์ นี้ไปแล้วครั้งหนึ่ง (ดูบทความ / ประเด็นร้อน เรื่อง ข้อเสนอต่อปัญหากฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๐ ในเว็บไซด์ www.abhisit.org) จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะเดินเรื่องนี้ต่ออย่างไร สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลได้นำร่างกฎหมายที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอกลับมาพิจารณาก่อน เนื่องจากเนื้อหาสาระของร่างกฎหมายแตกต่างจากร่างของรัฐบาล แต่ยังไม่มีกำหนดกรอบเวลาและทิศทางที่ชัดในการตัดสินใจในเรื่องนี้
รัฐบาลน่าจะตระหนักได้แล้วว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องเร่งรัดเรื่องนี้ จากปัญหาของบริษัทกุหลาบแก้ว เพราะกรณีนั้นเป็นปัญหาของการกระทำผิดกฎหมายเดิมในเรื่องการถือหุ้นแทน แต่หากจะปรับคำนิยามในเรื่องการออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหุ้น ก็จะต้องมีมาตรการรองรับผู้ประกอบการเดิมในทุกๆเรื่อง เช่น การถือครองที่ดิน และ โดยข้อเท็จจริงแล้ว ควรมีการทบทวนบัญชีท้ายกฎหมายในลักษณะผ่อนคลายและปรับปรุง การขออนุญาตให้กระชับ รวดเร็ว และโปร่งใสด้วย
นอกจากปัญหา ๔ ข้อนี้แล้ว ยังมีปมประเด็นการถกเถียงทางเศรษฐกิจอีกหลายเรื่อง เช่น การเจรจาการค้ากับญี่ปุ่นเพื่อทำข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) กฎหมายกำกับดูแลการค้าปลีก ปัญหาการบังคับใช้สิทธิบัตรยา ซึ่งรัฐบาลต้องระมัดระวังอย่างยิ่งว่า ได้ยึดถือ หลักของความโปร่งใส การมีส่วนร่วม และความสอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อให้การตัดสินใจในเรื่องยากๆเหล่านี้ ไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวม
หลายฝ่ายอาจจะมองว่า ปัญหาทางการเมือง เช่น ปัญหา ITV ปัญหารัฐธรรมนูญกำลังเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อความเชื่อมั่นโดยรวม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหากเศรษฐกิจถดถอย ประชาชนไม่มั่นใจเรื่องปากท้องแล้ว ปัญหาอื่นๆก็จะแก้ยากขึ้น เพราะรัฐบาลจะขาดการสนับสนุนจากประชาชนที่มองว่ารัฐบาลไม่แก้ไขปัญหาพื้นฐานที่สุดของเขา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 มี.ค. 2550--จบ--
เราได้เห็นการประกาศมาตรการในเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาภาคใต้
เราได้เห็นรองนายกรัฐมนตรีไพบูลย์ฯ แสดงความกระตือรือร้นในการลงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหาหมอกควัน
เราได้เห็นนายกรัฐมนตรี เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ เพื่อเปิดโอกาสให้มีการทบทวน ประเมินการทำงานต่างๆอย่างกว้างขวาง
การดำเนินการเหล่านี้มีส่วนช่วยให้สภาพความเสื่อมถอยในความเชื่อมั่นลดลงได้บ้าง
แต่สิ่งที่ยังขาดหายไป คือ การเรียกความเชื่อมั่นด้านเศรษฐกิจ
เมื่อครั้งที่มีการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ๆ ผมได้เปิดแถลงข่าวกับรองเลขาธิการพรรคฯ คุณกรณ์ จาติกวณิช โดยได้ย้ำว่า นอกจากการได้ผู้มีความรู้ความสามารถมารับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจแล้ว จะต้องมีการปรับนโยบายด้านเศรษฐกิจด้วย โดยได้เสนอประเด็นหลักๆ ไว้ ๔ ประเด็น ซึ่งผมจะขยายความเพิ่มเติมดังนี้
๑. การยกเลิกมาตรการ ๓๐ % ของธนาคารแห่งประเทศไทย ผมได้เคยทักท้วงการใช้
มาตรการนี้ตั้งแต่ต้นว่า จะเป็นมาตรการที่ส่งสัญญาณผิด กระทบต่อการลงทุน จะเป็นมาตรการที่บังคับใช้ได้ยาก และในที่สุด ก็จะต้องผ่อนปรนไปเรื่อยๆจนไม่ได้ผล แม้จะเป็นความตั้งใจดีของธนาคารแห่งประเทศไทยก็ตาม
มาถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า ค่าเงินบาทก็ยังคงแข็งขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมาตรการนี้ก็มีการผ่อนปรนมาโดยลำดับ แต่สถานการณ์ที่ประเทศไทยยังคงเกินดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง และผลตอบแทนในการถือเงินบาทยังสูงกว่าการถือเงินสกุลอื่น ประกอบกับการมีช่องว่างให้มีการค้าเงินทำกำไร โดยผ่านตลาดหุ้น หรือ การที่อัตราแลกเปลี่ยนมีส่วนต่างระหว่างตลาดเงินบาทในประเทศกับนอกประเทศ จึงน่าจะเป็นเวลาเหมาะสมที่จะยกเลิกมาตรการนี้ โดยอาศัยมาตรการอื่นแทน
ธนาคารแห่งประเทศไทยเองก็ได้นำเอามาตรการให้ผู้นำเงินเข้าต้องทำประกันความเสี่ยงอย่างเต็มที่แล้ว หากจะมีการยกเลิกมาตรการ ๓๐ % และดำเนินการลดดอกเบี้ย (ดูรายละเอียดที่ข้อ ๒) รวมไปถึงการผ่อนคลายระเบียบเกี่ยวกับการนำเงินออกนอกประเทศ และหากรัฐบาลเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสม ก็จะทำให้ภาวะอัตราแลกเปลี่ยนเข้าสู่จุดสมดุลเร็วขึ้น หยุดยั้งปัญหาการเก็งกำไร ขณะที่รัฐบาลควรหามาตรการอื่นๆในการสนับสนุนผู้ส่งออก
เพราะในที่สุด เราคงไม่สามารถหลีกหนีสัจธรรมที่ว่า
เงินจะไหลไปที่ๆผลตอบแทนสูง
ค่าเงินจะแข็งขึ้น หากประเทศมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล
ที่สำคัญ หากยังต้องการให้เศรษฐกิจได้รับประโยชน์จากการลงทุนจากต่างประเทศ เราจะกำหนดราคาของเงิน หรือ อัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ยตามใจชอบไม่ได้
๒. ลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และ ลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท สถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศขณะนี้ ต้องการแรงกระตุ้นทั้งในเรื่องการบริโภค และการลงทุน เพื่อประคับประคองไม่ให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงไปมากกว่านี้
การลดดอกเบี้ยอย่างรุนแรงและรวดเร็ว (อาจมากกว่าร้อยละ ๑) ไม่น่ามีผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อในปัจจุบัน จึงไม่เป็นการเสียวินัยทางการเงินแต่ประการใด ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องมีความยืดหยุ่นในการตอบสนองเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่จำเป็นตามสถานการณ์ด้วย
ผมเชื่อว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ ก็ปรารถนาที่จะผลักดันแนวทางนี้ แต่กังวลกับปัญหาว่าจะก้าวล่วงความเป็นอิสระของธนาคารกลางหรือไม่ การหารือจึงเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่ก็ต้องชัดเจนว่า กรณีที่ถกเถียงอยู่ขณะนี้ไม่ได้เป็นการไปก้าวล่วงบทบาทของธนาคารกลาง ในด้านการกำกับดูแลสถาบันการเงินและหากไม่มีผลกระทบต่อเป้าหมายเงินเฟ้อแล้ว ก็ไม่กระทบต่อความน่าเชื่อถือ ของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยในการดำเนินนโยบายทางการเงินแต่ประการใด ผมเชื่อมั่นว่าจะไม่มีปฏิกิริยาในเชิงลบจากนักลงทุนในประเด็นนี้ ในสถานการณ์ปัจจุบัน
๓. การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากปีนี้ การประกาศใช้กฎหมายงบประมาณล่าช้า จึงทำให้ต้องมีกระบวนการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณเป็นพิเศษ ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติและภัยธรรมชาติต่างๆ ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากรัฐ ประกอบกับการมีรูปธรรมของมาตรการ/โครงการที่เกิดประโยชน์ต่อประชาชนที่เคยชินกับนโยบายประชานิยมเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายคาดหวัง รัฐบาลคงจะปล่อยให้กลไกราชการใช้งบประมาณไปตามปกติไม่ได้ มิฉะนั้นจะเกิดทั้งปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาการเมือง
๔. การทบทวนปัญหาการแก้กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ผมเคยจัดทำข้อเสนออย่างละเอียดผ่านเว็บไซด์ นี้ไปแล้วครั้งหนึ่ง (ดูบทความ / ประเด็นร้อน เรื่อง ข้อเสนอต่อปัญหากฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๐ ในเว็บไซด์ www.abhisit.org) จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีความชัดเจนว่ารัฐบาลจะเดินเรื่องนี้ต่ออย่างไร สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐบาลได้นำร่างกฎหมายที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเสนอกลับมาพิจารณาก่อน เนื่องจากเนื้อหาสาระของร่างกฎหมายแตกต่างจากร่างของรัฐบาล แต่ยังไม่มีกำหนดกรอบเวลาและทิศทางที่ชัดในการตัดสินใจในเรื่องนี้
รัฐบาลน่าจะตระหนักได้แล้วว่า ไม่มีความจำเป็นใดๆที่จะต้องเร่งรัดเรื่องนี้ จากปัญหาของบริษัทกุหลาบแก้ว เพราะกรณีนั้นเป็นปัญหาของการกระทำผิดกฎหมายเดิมในเรื่องการถือหุ้นแทน แต่หากจะปรับคำนิยามในเรื่องการออกเสียงลงคะแนนของผู้ถือหุ้น ก็จะต้องมีมาตรการรองรับผู้ประกอบการเดิมในทุกๆเรื่อง เช่น การถือครองที่ดิน และ โดยข้อเท็จจริงแล้ว ควรมีการทบทวนบัญชีท้ายกฎหมายในลักษณะผ่อนคลายและปรับปรุง การขออนุญาตให้กระชับ รวดเร็ว และโปร่งใสด้วย
นอกจากปัญหา ๔ ข้อนี้แล้ว ยังมีปมประเด็นการถกเถียงทางเศรษฐกิจอีกหลายเรื่อง เช่น การเจรจาการค้ากับญี่ปุ่นเพื่อทำข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) กฎหมายกำกับดูแลการค้าปลีก ปัญหาการบังคับใช้สิทธิบัตรยา ซึ่งรัฐบาลต้องระมัดระวังอย่างยิ่งว่า ได้ยึดถือ หลักของความโปร่งใส การมีส่วนร่วม และความสอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อให้การตัดสินใจในเรื่องยากๆเหล่านี้ ไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจโดยรวม
หลายฝ่ายอาจจะมองว่า ปัญหาทางการเมือง เช่น ปัญหา ITV ปัญหารัฐธรรมนูญกำลังเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อความเชื่อมั่นโดยรวม แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหากเศรษฐกิจถดถอย ประชาชนไม่มั่นใจเรื่องปากท้องแล้ว ปัญหาอื่นๆก็จะแก้ยากขึ้น เพราะรัฐบาลจะขาดการสนับสนุนจากประชาชนที่มองว่ารัฐบาลไม่แก้ไขปัญหาพื้นฐานที่สุดของเขา
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 มี.ค. 2550--จบ--