อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2550 มีงานบางกอกเจมส์ แอนด์ จิวเวลรี่ แฟร์ ครั้งที่ 39 ที่ศูนย์
แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่าง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 - 4 มีนาคม 2550 ซึ่งงานนี้จะกระตุ้นให้ประเทศคู่ค้าสนใจในอุตสาหกรรมนี้อัน
จะส่งผลต่อยอดการส่งออกให้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในฮ่องกง ก็ได้มีการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับขึ้นในระหว่างวันที่ 6-10 มีนาคม
2550 ซึ่งใกล้เคียงกับไทย ณ HK Convention and Exhibition Centre, Hong Kong ทำให้ผู้เข้าชมงานในไทยลดลงไปบ้าง แต่งานบางกอก
เจมส์ฯ เน้นแสดงสินค้าระดับกลาง-บน ซึ่งเป็นสินค้าคุณภาพดีจึงยังส่งผลให้มีผู้ซื้อและจำหน่ายได้ตามเป้าหมาย
การผลิต
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาส 1 ปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชร
พลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน การผลิตและการจำหน่ายลดลงร้อยละ 19.50 และ 23.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนซึ่งลดลงมาก แต่หาก
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 พบว่าการผลิตยังมีการขยายตัวคือร้อยละ 11.39 ด้านการจำหน่ายลดลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.82 ด้านดัชนี
สินค้าสำเร็จรูปคงคลังเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.68 แสดงถึงการจำหน่ายลดลงในไตรมาสนี้
ตารางที่ 1 การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน
ดัชนี 2549 2550 อัตราการขยายตัว(%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1* Q1(50)/Q4(49) Q1(50)/Q1(49)
ผลผลิต 60.8 66.3 69.2 84.1 67.7 -19.50 11.39
ส่งสินค้า 64.9 67.0 73.8 84.1 64.4 -23.43 -0.82
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 92.3 89.6 95.0 92.2 100.2 8.68 8.53
ที่มา :ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ฐานเฉลี่ย ปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล
* ตัวเลขเบื้องต้น
การตลาด
เนื่องจากกรมศุลกากรได้นำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์ฉบับปี 2007 มาใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2007 ทำให้การจัดเก็บสถิตินำเข้าส่งออกต้อง
จัดทำโปรแกรมใหม่ทั้งระบบ ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 การผลิต การจำหน่ายลดลง โดยด้านการผลิตหดตัวลดลงร้อยละ
19.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 นับว่าการผลิตยังมีการขยายตัวอยู่บ้าง ด้านการจำหน่ายก็ลดลงร้อย
ละ 23.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 การจำหน่ายมีการหดตัวลงเล็กน้อยคือร้อยละ 0.82
แนวโน้มภาพรวมการผลิต การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จากสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่าในระดับประมาณ 35 บาทต่อ
ดอลล่าร์ จึงคาดได้ว่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวในระดับปานกลาง ประกอบกับการที่ไทยขอใช้สิทธิในการผ่อนผันยกเว้นเพดานการส่งออกหรือไม่ถูก
ตัดสิทธิ์
จีเอสพีจากสหรัฐอเมริกา ในสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ทำจากโลหะ เครื่องรูปพรรณอื่นๆที่ทำด้วยโลหะเงิน ซึ่งคงต้องรอผลการ
พิจารณาต่อไป จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผู้ผลิตที่ส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาผลิตน้อยกว่ากำลังการผลิตที่มี และปัจจุบันจากการที่จีนใช้กลยุทธ์ให้ร้านค้าอัญมณีใน
ประเทศต่างๆ นำ สินค้าเครื่องประดับจีนไปวางขายในร้านก่อน 30-60 วัน จึงค่อยเรียกเก็บเงิน ซึ่งปรากฏว่ากลยุทธ์นี้เป็นที่ถูกใจเจ้าของร้านอัญมณี
จำนวนมาก ส่งผลทำให้ร้านค้าอัญมณีต่างๆ สนใจที่จะรับสินค้าเครื่องประดับจากจีนไปจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้สถานการณ์การส่งออกอาจจะ
ขยายตัวได้ไม่มากเท่าที่ควร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่าง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 - 4 มีนาคม 2550 ซึ่งงานนี้จะกระตุ้นให้ประเทศคู่ค้าสนใจในอุตสาหกรรมนี้อัน
จะส่งผลต่อยอดการส่งออกให้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามในฮ่องกง ก็ได้มีการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับขึ้นในระหว่างวันที่ 6-10 มีนาคม
2550 ซึ่งใกล้เคียงกับไทย ณ HK Convention and Exhibition Centre, Hong Kong ทำให้ผู้เข้าชมงานในไทยลดลงไปบ้าง แต่งานบางกอก
เจมส์ฯ เน้นแสดงสินค้าระดับกลาง-บน ซึ่งเป็นสินค้าคุณภาพดีจึงยังส่งผลให้มีผู้ซื้อและจำหน่ายได้ตามเป้าหมาย
การผลิต
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาส 1 ปี 2550 เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชร
พลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน การผลิตและการจำหน่ายลดลงร้อยละ 19.50 และ 23.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนซึ่งลดลงมาก แต่หาก
เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 พบว่าการผลิตยังมีการขยายตัวคือร้อยละ 11.39 ด้านการจำหน่ายลดลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.82 ด้านดัชนี
สินค้าสำเร็จรูปคงคลังเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.68 แสดงถึงการจำหน่ายลดลงในไตรมาสนี้
ตารางที่ 1 การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน
ดัชนี 2549 2550 อัตราการขยายตัว(%)
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1* Q1(50)/Q4(49) Q1(50)/Q1(49)
ผลผลิต 60.8 66.3 69.2 84.1 67.7 -19.50 11.39
ส่งสินค้า 64.9 67.0 73.8 84.1 64.4 -23.43 -0.82
สินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 92.3 89.6 95.0 92.2 100.2 8.68 8.53
ที่มา :ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ฐานเฉลี่ย ปี 2543 และเป็นดัชนีที่ยังไม่ได้ปรับผลกระทบของฤดูกาล
* ตัวเลขเบื้องต้น
การตลาด
เนื่องจากกรมศุลกากรได้นำพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์ฉบับปี 2007 มาใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2007 ทำให้การจัดเก็บสถิตินำเข้าส่งออกต้อง
จัดทำโปรแกรมใหม่ทั้งระบบ ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1 ปี 2550 การผลิต การจำหน่ายลดลง โดยด้านการผลิตหดตัวลดลงร้อยละ
19.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 นับว่าการผลิตยังมีการขยายตัวอยู่บ้าง ด้านการจำหน่ายก็ลดลงร้อย
ละ 23.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2549 การจำหน่ายมีการหดตัวลงเล็กน้อยคือร้อยละ 0.82
แนวโน้มภาพรวมการผลิต การส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2550 จากสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่าในระดับประมาณ 35 บาทต่อ
ดอลล่าร์ จึงคาดได้ว่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวในระดับปานกลาง ประกอบกับการที่ไทยขอใช้สิทธิในการผ่อนผันยกเว้นเพดานการส่งออกหรือไม่ถูก
ตัดสิทธิ์
จีเอสพีจากสหรัฐอเมริกา ในสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่ทำจากโลหะ เครื่องรูปพรรณอื่นๆที่ทำด้วยโลหะเงิน ซึ่งคงต้องรอผลการ
พิจารณาต่อไป จะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ผู้ผลิตที่ส่งสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาผลิตน้อยกว่ากำลังการผลิตที่มี และปัจจุบันจากการที่จีนใช้กลยุทธ์ให้ร้านค้าอัญมณีใน
ประเทศต่างๆ นำ สินค้าเครื่องประดับจีนไปวางขายในร้านก่อน 30-60 วัน จึงค่อยเรียกเก็บเงิน ซึ่งปรากฏว่ากลยุทธ์นี้เป็นที่ถูกใจเจ้าของร้านอัญมณี
จำนวนมาก ส่งผลทำให้ร้านค้าอัญมณีต่างๆ สนใจที่จะรับสินค้าเครื่องประดับจากจีนไปจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้สถานการณ์การส่งออกอาจจะ
ขยายตัวได้ไม่มากเท่าที่ควร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-