พรรคประชาธิปัตย์ ระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนมากำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ร่วมกับนโยบายวาระประชาชน ขณะที่ผู้อำนวยการ ศอบต. ยอมรับปัญหาภาคใต้มีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ จึงต้องมีระบบราชการที่สอดรับกับความต้องการของประชาชน คาดใช้เวลา 20 ปีในการแก้ไขปัญหา
เมื่อเวลา 09.30. น. ที่โรงแรมเจบี หาดใหญ่ จ.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดให้มีโครงการสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและพัฒนาชายแดนภาคใต้” ในวันที่ 14-15 ก.ค. ซึ่งในช่วงเช้าของวันนี้ได้มีการอภิปรายในหัวข้อ “จากอดีตถึงปัจจุบันกับการแก้ปัญหาชายแดนใต้” โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.ศอ.บต.) และดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ว่าอยู่ที่ไหน หากถามว่าสิ่งใดคือความทุกข์ของคนไทย สิ่งใดคือปัญหาของชาติคำตอบที่ได้คือ ปัญหาความไม่สงบ ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นความทุกข์ ความกังวลใจเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของชาติ แซงปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนจะนึกถึงก่อน เนื่องจากเป็นเรื่องปากท้องของประชาชน เรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่อยู่ในใจคนทั้งชาติ เพราะชีวิตคนที่สูญเสียไปประเมินค่าไม่ได้ เป็นสิ่งที่พรรคการเมืองทุกพรรคควรให้ความสำคัญควบคู่กับปัญหาเศรษฐกิจ การมาจัดสัมมนาครั้งนี้ ทางพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้หวังจะเป็นรัฐบาล เพราะการจะเป็นรัฐบาลหรือไม่เป็นคือ สิ่งที่ประชาชนจะตัดสินเอง แต่เนื่องจากปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้รอคอยไม่ได้ รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นก็ไม่ควรอ้างในการใช้เวลาศึกษา ควรลงมือทำเลย เพราะหลายรัฐบาลต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลนี้ได้มีองค์ความรู้เพียงพอ อยู่ที่การนำมาใช้และเจตนาที่แน่วแน่ในการจะแก้ปัญหานี้มากกว่า
“กระบวนการแก้ปัญหานี้ ถือเป็นกระบวนการทางการเมืองที่จำเป็น ที่จะตอบว่ากระบวนการประชาธิปไตยมีคุณค่า ทุกปัญหาต้องการระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วนมาแก้ วาระประชาชนไม่ใช่นโยบายพรรค แต่ต้องการให้เป็นวาระของประเทศ ตนหวังว่าทุกคนจะสะท้อนมุมมองข้อเท็จจริงอย่างตรงไตรงมา เพื่อหาทางออกของปัญหานี้ได้โดยเร็วที่สุด” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า พรรคประชาธิปัตย์จะชนะเลือกตั้งหรือไม่นั้น ไม่สำคัญเท่ากับแก้ปัญหานี้ได้ หากใครมาแอบฟังแล้วนำนโยบายของพรรคไปแก้ปัญหานี้ได้ ตนจะไม่เสียใจเลย เพราะปัญหานี้ต้องไม่มีเรื่องการช่วงชิง เป็นเรื่องที่ต้องเดินไปด้วยกัน อดีตเราต้องทราบเพื่อเก็บเกี่ยวบทเรียนมาใช้ และมองอดีตด้วยความเข้าใจว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ สิ่งสำคัญคือต้องมองอนาคต วันนี้คือการรบกันด้วยสื่อ และเป็นเรื่องของความคิดและจิตใจ ความคิดคือเรื่องอุดมการณ์ ความรุนแรงมีทั้งปัจจัยทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลต่อความคิด อุดมการณ์ของเด็กรุ่นใหม่ ที่มีตัวปลุกเร้าคือความไม่ยุติธรรม และสิ่งที่ปลุกเร้าให้มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมคือ ความไม่อยุติธรรมของภาครัฐ
“ความรุนแรงอยู่ในจิตใจของเด็กรุ่นใหม่มากขึ้น คนที่ไม่มีความคิดกลายเป็นแนวร่วมเพราะจิตใจมีความกลัว โดยฝ่ายกระทำไม่ได้สนใจ เพียงต้องการให้เกิดความกลัว ให้เดินตาม การหยุดยั้งความรุนแรง ความสูญเสียเป็นเรื่องสำคัญ อย่าถามว่า วันนี้ตายกี่คน หรือโกรธกี่คน เราต้องหยุดเรื่องนี้ให้ได้ เราต้องมีความพยายามป้องกัน และต้องสลายวามรู้สึกที่โกรธแค้นด้วย โดยการเข้าไปดูแล บำบัด สร้างความหวัง ซึ่งจะเป็นตัวหยุดยั้งในระยะยาว” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า การป้องกันในชุมชนมีความสำคัญในการจะแก้ปัญหาได้ทางหนึ่ง เช่น การติดกล้องวงจรปิด นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องทำให้เห็นว่าประชาชนสามารถสร้างระบบการสอดส่อง ดูแลกันเองได้ ให้ความรู้ต่างๆ ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เป็นสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จ ให้เป็นภาพของความหวังและกำลังใจ ส่วนเรื่องการบริหารก็มีความสำคัญ ตนเห็นด้วยกับรัฐบาลที่ได้ส่งสัญญาณที่ถูกต้องบางยุทธศาสตร์ แต่ก็มีบางเรื่องที่ยังทำได้ไม่ดี อย่างเรื่องศอ.บต. เป็นเรื่องดี แต่วันนี้กฎหมายยังไม่ออก และเป็นไปได้ว่าเสร็จสิ้นรัฐบาลนี้ก็ยังไม่ออก ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า เป็นนโยบายของรัฐแต่เกิดไม่ได้ อยากให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผลักดันออกมาให้ได้ ตรงข้ามที่ทำกฎหมายความมั่นคงออกมา อยากจะส่งสัญญาณอะไร อยากจะเพิ่มปัญหาในพื้นที่อีกหรือ เพิ่มขึ้นมาเจ้าหน้าที่จะรู้หรือไม่ว่าตอนจนี้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายใดอยู่ ตนยืนยันว่า การแสดงออกถึงความเป็นเอกภาพของฝ่ายรัฐเองก็ต้องชัดเจน เพราะประชาชนอาจจะคิดว่า จะมั่นใจได้หรือไม่ว่าคนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่จะไปด้วยกันได้ หรืออาจจะคิดว่านโยบายรัฐไม่มีความชัดเจน
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า บรรยากาศของความปรองดอง ต้องสร้างทั้งประเทศ แต่วันนี้บรรยากาศดีขึ้นหรือแย่ลงเราปล่อยให้เป็นอย่างนี้ไม่ได้ ความสมานฉันท์ถูกตีความผิด บิดเบือนไปบ้าง แล้วบรรยากาศความปรองดองจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ตนยังไม่เห็นการกระทำในเชิงรุกที่เพียงพอ ควรให้ความรู้กับชาวบ้านในสภาพความเป็นจริงทุกแง่มุม ส่วนการใช้กำลัง ใช้เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น ซึ่งตนเห็นว่ามีความสำคัญมาก แม้ว่านโยบายภาพรวมถ้อยคำจะใช่ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เกิด หากทำให้ถูกเข้าใจผิดจะเป็นการยากในการแก้ไขปัญหา
“ความขัดแย้งในสังคมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่สถานการณ์จะคลี่คลายลงต้องมีเป้าหมายให้ได้ เป็นเรื่องของการสร้างความหวัง แต่หากบอกว่าจะอยู่กันไปทำไม มันก็ไม่มีพลัง ไม่มีความหวัง ขอให้รัฐบาลมีความตั้งใจจริงในการทำงาน ก็จะเป็นตัวสร้างความหวังให้เกิดขึ้นได้ ตนเห็นความตั้งใจของรัฐบาลเรื่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แต่หากพิเศษจริง ต้องตอบชาวประมง ชาวเกษตรได้ ว่าชาวบ้านจะได้อะไร สิ่งสำคัญคือ ต้องเป็นเศรษฐกิจตามวิถีของชาวบ้านที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต และต้องทำให้ชาวบ้านรู้ว่าเ ป็นเศรษฐกิจของเขาจริงๆ ที่สามารถสร้างโอกาสให้ได้” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวอีกว่า การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่โครงสร้างแต่อยู่ที่ประชาชนรู้ว่า มีอำนาจในการกำหนดอนาคตตัวเองได้ รูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน หัวใจสำคัญคือ ทำอย่างไรให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของจริงๆ สาระอยู่ที่การมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่มากกว่าโครงสร้าง ซึ่งจะทำให้สัมผัสได้จริงว่า อำนาจอยู่ในมือของเขา นอกจากนี้ ตนก็ชื่นชมที่รัฐบาลประสบความสำเร็จพอสมควรในการสร้างสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปณิธานที่ตนได้ตั้งไว้คือ ทำให้พี่น้องประชาชนมีความสงบสุข มีเกียรติ์ มีศักดิ์ศรี มีความหวัง ในการเกิดบนแผ่นดินไทย ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ก.ค. 2550--จบ--
เมื่อเวลา 09.30. น. ที่โรงแรมเจบี หาดใหญ่ จ.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ ได้จัดให้มีโครงการสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและพัฒนาชายแดนภาคใต้” ในวันที่ 14-15 ก.ค. ซึ่งในช่วงเช้าของวันนี้ได้มีการอภิปรายในหัวข้อ “จากอดีตถึงปัจจุบันกับการแก้ปัญหาชายแดนใต้” โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ผอ.ศอ.บต.) และดร.ปณิธาน วัฒนายากร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ว่าอยู่ที่ไหน หากถามว่าสิ่งใดคือความทุกข์ของคนไทย สิ่งใดคือปัญหาของชาติคำตอบที่ได้คือ ปัญหาความไม่สงบ ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นความทุกข์ ความกังวลใจเป็นปัญหาอันดับหนึ่งของชาติ แซงปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนจะนึกถึงก่อน เนื่องจากเป็นเรื่องปากท้องของประชาชน เรื่องดังกล่าวเป็นสิ่งที่อยู่ในใจคนทั้งชาติ เพราะชีวิตคนที่สูญเสียไปประเมินค่าไม่ได้ เป็นสิ่งที่พรรคการเมืองทุกพรรคควรให้ความสำคัญควบคู่กับปัญหาเศรษฐกิจ การมาจัดสัมมนาครั้งนี้ ทางพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้หวังจะเป็นรัฐบาล เพราะการจะเป็นรัฐบาลหรือไม่เป็นคือ สิ่งที่ประชาชนจะตัดสินเอง แต่เนื่องจากปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้รอคอยไม่ได้ รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นก็ไม่ควรอ้างในการใช้เวลาศึกษา ควรลงมือทำเลย เพราะหลายรัฐบาลต่อเนื่องมาถึงรัฐบาลนี้ได้มีองค์ความรู้เพียงพอ อยู่ที่การนำมาใช้และเจตนาที่แน่วแน่ในการจะแก้ปัญหานี้มากกว่า
“กระบวนการแก้ปัญหานี้ ถือเป็นกระบวนการทางการเมืองที่จำเป็น ที่จะตอบว่ากระบวนการประชาธิปไตยมีคุณค่า ทุกปัญหาต้องการระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วนมาแก้ วาระประชาชนไม่ใช่นโยบายพรรค แต่ต้องการให้เป็นวาระของประเทศ ตนหวังว่าทุกคนจะสะท้อนมุมมองข้อเท็จจริงอย่างตรงไตรงมา เพื่อหาทางออกของปัญหานี้ได้โดยเร็วที่สุด” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า พรรคประชาธิปัตย์จะชนะเลือกตั้งหรือไม่นั้น ไม่สำคัญเท่ากับแก้ปัญหานี้ได้ หากใครมาแอบฟังแล้วนำนโยบายของพรรคไปแก้ปัญหานี้ได้ ตนจะไม่เสียใจเลย เพราะปัญหานี้ต้องไม่มีเรื่องการช่วงชิง เป็นเรื่องที่ต้องเดินไปด้วยกัน อดีตเราต้องทราบเพื่อเก็บเกี่ยวบทเรียนมาใช้ และมองอดีตด้วยความเข้าใจว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ สิ่งสำคัญคือต้องมองอนาคต วันนี้คือการรบกันด้วยสื่อ และเป็นเรื่องของความคิดและจิตใจ ความคิดคือเรื่องอุดมการณ์ ความรุนแรงมีทั้งปัจจัยทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีผลต่อความคิด อุดมการณ์ของเด็กรุ่นใหม่ ที่มีตัวปลุกเร้าคือความไม่ยุติธรรม และสิ่งที่ปลุกเร้าให้มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิมคือ ความไม่อยุติธรรมของภาครัฐ
“ความรุนแรงอยู่ในจิตใจของเด็กรุ่นใหม่มากขึ้น คนที่ไม่มีความคิดกลายเป็นแนวร่วมเพราะจิตใจมีความกลัว โดยฝ่ายกระทำไม่ได้สนใจ เพียงต้องการให้เกิดความกลัว ให้เดินตาม การหยุดยั้งความรุนแรง ความสูญเสียเป็นเรื่องสำคัญ อย่าถามว่า วันนี้ตายกี่คน หรือโกรธกี่คน เราต้องหยุดเรื่องนี้ให้ได้ เราต้องมีความพยายามป้องกัน และต้องสลายวามรู้สึกที่โกรธแค้นด้วย โดยการเข้าไปดูแล บำบัด สร้างความหวัง ซึ่งจะเป็นตัวหยุดยั้งในระยะยาว” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า การป้องกันในชุมชนมีความสำคัญในการจะแก้ปัญหาได้ทางหนึ่ง เช่น การติดกล้องวงจรปิด นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องทำให้เห็นว่าประชาชนสามารถสร้างระบบการสอดส่อง ดูแลกันเองได้ ให้ความรู้ต่างๆ ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง เป็นสิ่งที่ต้องทำให้สำเร็จ ให้เป็นภาพของความหวังและกำลังใจ ส่วนเรื่องการบริหารก็มีความสำคัญ ตนเห็นด้วยกับรัฐบาลที่ได้ส่งสัญญาณที่ถูกต้องบางยุทธศาสตร์ แต่ก็มีบางเรื่องที่ยังทำได้ไม่ดี อย่างเรื่องศอ.บต. เป็นเรื่องดี แต่วันนี้กฎหมายยังไม่ออก และเป็นไปได้ว่าเสร็จสิ้นรัฐบาลนี้ก็ยังไม่ออก ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนว่า เป็นนโยบายของรัฐแต่เกิดไม่ได้ อยากให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ผลักดันออกมาให้ได้ ตรงข้ามที่ทำกฎหมายความมั่นคงออกมา อยากจะส่งสัญญาณอะไร อยากจะเพิ่มปัญหาในพื้นที่อีกหรือ เพิ่มขึ้นมาเจ้าหน้าที่จะรู้หรือไม่ว่าตอนจนี้ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายใดอยู่ ตนยืนยันว่า การแสดงออกถึงความเป็นเอกภาพของฝ่ายรัฐเองก็ต้องชัดเจน เพราะประชาชนอาจจะคิดว่า จะมั่นใจได้หรือไม่ว่าคนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่จะไปด้วยกันได้ หรืออาจจะคิดว่านโยบายรัฐไม่มีความชัดเจน
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า บรรยากาศของความปรองดอง ต้องสร้างทั้งประเทศ แต่วันนี้บรรยากาศดีขึ้นหรือแย่ลงเราปล่อยให้เป็นอย่างนี้ไม่ได้ ความสมานฉันท์ถูกตีความผิด บิดเบือนไปบ้าง แล้วบรรยากาศความปรองดองจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ตนยังไม่เห็นการกระทำในเชิงรุกที่เพียงพอ ควรให้ความรู้กับชาวบ้านในสภาพความเป็นจริงทุกแง่มุม ส่วนการใช้กำลัง ใช้เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น ซึ่งตนเห็นว่ามีความสำคัญมาก แม้ว่านโยบายภาพรวมถ้อยคำจะใช่ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่เกิด หากทำให้ถูกเข้าใจผิดจะเป็นการยากในการแก้ไขปัญหา
“ความขัดแย้งในสังคมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่สถานการณ์จะคลี่คลายลงต้องมีเป้าหมายให้ได้ เป็นเรื่องของการสร้างความหวัง แต่หากบอกว่าจะอยู่กันไปทำไม มันก็ไม่มีพลัง ไม่มีความหวัง ขอให้รัฐบาลมีความตั้งใจจริงในการทำงาน ก็จะเป็นตัวสร้างความหวังให้เกิดขึ้นได้ ตนเห็นความตั้งใจของรัฐบาลเรื่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แต่หากพิเศษจริง ต้องตอบชาวประมง ชาวเกษตรได้ ว่าชาวบ้านจะได้อะไร สิ่งสำคัญคือ ต้องเป็นเศรษฐกิจตามวิถีของชาวบ้านที่สอดคล้องกับการดำเนินชีวิต และต้องทำให้ชาวบ้านรู้ว่าเ ป็นเศรษฐกิจของเขาจริงๆ ที่สามารถสร้างโอกาสให้ได้” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวอีกว่า การมีส่วนร่วม การกระจายอำนาจ ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่โครงสร้างแต่อยู่ที่ประชาชนรู้ว่า มีอำนาจในการกำหนดอนาคตตัวเองได้ รูปแบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน หัวใจสำคัญคือ ทำอย่างไรให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นเจ้าของจริงๆ สาระอยู่ที่การมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่มากกว่าโครงสร้าง ซึ่งจะทำให้สัมผัสได้จริงว่า อำนาจอยู่ในมือของเขา นอกจากนี้ ตนก็ชื่นชมที่รัฐบาลประสบความสำเร็จพอสมควรในการสร้างสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปณิธานที่ตนได้ตั้งไว้คือ ทำให้พี่น้องประชาชนมีความสงบสุข มีเกียรติ์ มีศักดิ์ศรี มีความหวัง ในการเกิดบนแผ่นดินไทย ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 14 ก.ค. 2550--จบ--