ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนธันวาคม 2549 โดยรวมขยายตัวเล็กน้อย แต่ภาคบริการขยายตัวชัดเจนตามฤดูกาลท่องเที่ยวและการจัดงานพืชสวนโลก โดยด้านอุปทาน รายได้ของเกษตรกรขยายตัวจากปัจจัยด้านราคา ผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราชะลอลง ส่วนภาคบริการเร่งตัวตามฤดูกาลประกอบกับได้รับผลดีจากงานราชพฤกษ์ 2549 ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคขยายตัวจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ขณะที่การส่งออกลดลงจากการชะลอลงของการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า และการย้ายพิธีการส่งออกไปส่วนกลาง แต่การนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตเพิ่มขึ้น การลงทุนยังคงลดลงแต่ปรับตัว ดีขึ้นจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอตัว ส่วนเงินฝากและสินเชื่อทรงตัว
ปี 2549 ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยด้านอุปทาน เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชหลักเป็นสำคัญ ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวดีทั้งการผลิตเพื่อการส่งออกและบริโภคภายในประเทศโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และน้ำตาล ขณะที่ภาคบริการขยายตัวจากการจัดงานพืชสวนโลก ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอลง แต่กระเตื้องขึ้นในช่วงปลายปีตามภาคบริการ ด้านการส่งออกและนำเข้าชะลอตัว ส่วนการลงทุนหดตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับปีก่อน สำหรับเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวในอัตราชะลอลง
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 เป็นผลจากราคาพืชสำคัญที่สูงขึ้นร้อยละ 11.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาข้าวเปลือกเหนียวนาปีเมล็ดยาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.8 เนื่องจากอุปสงค์จากต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ประกอบกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 ตามความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีและมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 5.8 และร้อยละ 19.5 ตามลำดับ ด้านผลผลิตพืชหลักลดลงร้อยละ 2.2 เนื่องจากแหล่งเพาะปลูกสำคัญประสบปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะข้าวนาปี ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.9 ขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 4.6 เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่น เช่น มันสำปะหลัง ส่วนอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 จากการขยายเนื้อที่เพาะปลูกของเกษตรกรตามแรงจูงใจด้านราคา
ปี 2549 รายได้ของเกษตรกรในภาคเหนือขยายตัวร้อยละ 11.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ปีก่อน เนื่องจากการเร่งตัวของราคาพืชสำคัญที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 ได้แก่ ราคาข้าวเปลือกเหนียวนาปีเมล็ดยาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 จากความต้องการของตลาดจีนเป็นสำคัญ ราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาขั้นสุดท้าย ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ตามราคาตลาดโลก และราคาลำไยเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 เนื่องจากผลผลิตลดลงประกอบกับการดำเนินการ ที่ดีในการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตในช่วงกระจุกตัว ขณะที่ราคามันสำปะหลังและสับปะรดโรงงานลดลงร้อยละ 15.3 และร้อยละ 29.9 ตามลำดับ จากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก ทางด้านผลผลิตพืชสำคัญลดลงร้อยละ 1.5 โดยข้าวนาปีประสบปัญหาน้ำท่วมในแหล่งเพาะปลูกสำคัญทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.9 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 4.6 จากการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นโดยเฉพาะมันสำปะหลัง ลำไยลดลงร้อยละ 37.6 เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตประกอบกับได้รับความเสียหายจากฤดูฝนที่มาเร็วกว่าปกติอีกทั้งมีการส่งเสริมการผลิตนอกฤดู และกระเทียมลดลงร้อยละ 23.0 จากนโยบายของรัฐให้ลดพื้นที่เพาะปลูก อย่างไรก็ตาม ข้าวนาปรังและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 และร้อยละ 23.6 ตามลำดับ เนื่องจากราคาปีก่อนสูงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิต
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอลง โดยมูลค่าการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 เป็น 154.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากร้อยละ 16.3 เดือนก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 0.4 ชะลอตัวเมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 24.3 เดือนก่อน โดยสินค้า ส่งออกสำคัญลดลง ได้แก่ Glass Magnetic Disk ลดลงร้อยละ 12.4 การผลิตวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.7 ด้านการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 272.2 พันเมตริกตัน ตามผลผลิตอ้อยที่เพิ่มมากจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกและโรงงานน้ำตาลเปิดหีบในปี 2549/50 เร็วขึ้น
ปี 2549 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่เร่งตัวจากปีก่อน ตามการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.0 เป็น 1,951.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 7.8 ในปีก่อน ตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดโลกโดยเฉพาะ Glass Magnetic Disk ด้านผลผลิตน้ำตาลในภาคเหนือปี 2549 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.7 เป็น 1,593.1 พันเมตริกตัน เนื่องจากการผลิตอ้อยปี 2549 ไม่ประสบปัญหาภัยแล้งเช่นปี 2548 อย่างไรก็ดี การผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.1 ตามการก่อสร้างและการลงทุนของภาครัฐและเอกชนที่ซบเซา ประกอบกับได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในช่วงไตรมาส 2 และ 3
3. ภาคบริการ ยังคงเร่งตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากแรงสนับสนุนของฤดูกาลท่องเที่ยวและการจัดงานพืชสวนโลก โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าชมงานในเดือนธันวาคม 2549 จำนวน 1,446,183 คน ส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงขยายตัว เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ อัตราการเข้าพักปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 87.6 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อนเป็น 1,164.6 บาทต่อห้องต่อวัน จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานสำคัญในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.5 เป็นจำนวน 500,366 คน โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ที่มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาก จากการผ่านของเที่ยวบินในประเทศและต่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.7 และร้อยละ 26.5 ตามลำดับ ด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน
อย่างไรก็ดี แม้การจัดงานพืชสวนโลกจะส่งผลในเชิงบวก โดยได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นจำนวนมาก ความต้องการห้องพักที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ห้องพักโรงแรมระดับกลางไม่เพียงพอรองรับลูกค้าประเภท Inbound จากต่างประเทศโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ที่มีสัดส่วนการใช้จ่ายต่อคนต่อวันสูงกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย
ปี 2549 แม้ว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองและค่าครองชีพที่สูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือในไตรมาสที่ 3 แต่จากการขยายตัวของภาคบริการในช่วงไตรมาสแรกของปี กอปรกับการเร่งตัวในไตรมาสสุดท้ายซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวและมีการจัดงานพืชสวนโลก ส่งผลให้ภาคบริการในปี 2549 ขยายตัวเมื่อเทียบกับปี 2548 โดยเครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เป็น 942.8 บาทต่อห้องต่อวัน
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องโดยได้รับผลดีจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ตลอดจนการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการโดยลดราคาสินค้าเพื่อกระตุ้นยอดขายโดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ พิจารณาจากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.9 ส่วนการใช้จ่ายกิจกรรมสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.2 และปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.5
ปี 2549 การอุปโภคบริโภคของภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี การจัดงานพืชสวนโลกที่จังหวัดเชียงใหม่ในไตรมาส 4 ปี 2549 ช่วยกระตุ้นภาคการใช้จ่ายของเอกชนได้ระดับหนึ่ง โดยยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 ปีก่อน ส่วนกิจกรรม การใช้จ่ายสำคัญ ได้แก่ การจดทะเบียนรถยนต์ลดลงร้อยละ 6.3 และการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 4.8
5. การลงทุนภาคเอกชน ยังคงลดลงต่อเนื่องแต่ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.4 เดือนก่อน เป็นผลจากความต้องการใช้เพื่อก่อสร้างในโครงการต่อเนื่อง ด้านพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.3 โดยลดลงมากในประเภทบริการและขนส่ง และอาคารพาณิชย์ แต่ประเภทที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 ส่วนการลงทุนในกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนสี่เท่าตัว
ปี 2549 ภาวะการลงทุนภาคเอกชนในภาคเหนืออยู่ในเกณฑ์ซบเซาเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยทำให้ต้นทุนสูงขึ้นประกอบกับขาดความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุน พิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญ ได้แก่ ปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 5.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 ปีก่อน พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 16.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ปีก่อน ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงร้อยละ 7.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ปีก่อน สำหรับการลงทุนในกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนลดลงร้อยละ 39.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 26.3 ปีก่อน
6. การค้าต่างประเทศ การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 เหลือ 210.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนชะลอตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 เป็น 154.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งตลาดสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 0.3 และร้อยละ 10.4 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปจีนขยายตัวร้อยละ 10.1 ด้านการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 18.4 เหลือ 8.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากผู้ส่งออกบางรายย้ายการทำพิธีการส่งออกของสินค้าประเภทใบยาสูบไปที่ส่วนกลาง ประกอบกับสินค้าเซรามิกส์ส่งออกลดลงร้อยละ 15.4 ทางด้านการส่งออกผ่านด่านชายแดนลดลงร้อยละ 11.4 เหลือ 47.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการลดลงของการส่งออกไปพม่าที่ลดลงร้อยละ 19.7 เหลือ 30.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการส่งออกไปลาว ที่ลดลงร้อยละ 26.4 ส่วนการส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4
การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็น 146.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 8.9 เดือนก่อน โดยการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนลดลงร้อยละ 2.1 เหลือ 128.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.2 เดือนก่อน สินค้านำเข้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ เครื่องจักรกลและชิ้นส่วนที่ใช้ในอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 44.6 และเคมีภัณฑ์และพลาสติกลดลงร้อยละ 31.1 ขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ด้านการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 7.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากเดือนก่อน โดยสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ แก้วและอุปกรณ์ที่ทำด้วยแก้วเพื่อการทดลอง และส่วนประกอบเครื่องยนต์ สำหรับการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 เป็น 10.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากเดือนก่อนเช่นกัน จากการนำเข้าของพม่าและลาวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.8 และร้อยละ 73.9 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 11.4
ดุลการค้าในเดือนธันวาคม 2549 เกินดุล 64.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนที่เกินดุล 75.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 91.0 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ปี 2549 การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เป็น 2,648.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายย้ายการทำพิธีการส่งออกไปส่วนกลางประกอบกับทางการพม่าเข้มงวดการนำเข้าสินค้าชายแดน โดยการส่งออกผ่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.0 สูงกว่าร้อยละ 8.5 ปีก่อน เป็น 1,951.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภท Glass Magnetic Disk และ Semiconductor ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.4 ร้อยละ 3.6 และร้อยละ 24.6 ตามลำดับ ด้านการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 17.5 เหลือ 161.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ชุดสายไฟ ผักสดแช่แข็ง เซรามิกส์ และเครื่องประดับอัญมณี ทั้งนี้การส่งออกลดลงมากในช่วงครึ่งหลังของปีเนื่องจากมีผู้ประกอบการย้ายการทำพิธีการส่งออกสินค้าประเภทใบยาสูบและพืชผักถนอมอาหารไปที่ส่วนกลาง ทางด้านการส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนลดลงร้อยละ 4.7 เหลือ 535.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการลดลงของการส่งออกไปพม่าและลาว ที่ลดลงร้อยละ 7.2 และ 6.9 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เป็น 1,715.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.4 ตามการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เป็น 1,543.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 โดยมูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนแผงวงจรรวม ลดลงร้อยละ 5.2 และร้อยละ 15.7 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าแผงวงจรรวมและอัญมณีเงินแท่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 และร้อยละ 36.5 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 70.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าเพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทชุดสายไฟฟ้า วัตถุดิบของอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ ทางด้านการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 เป็น 102.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเพิ่มขึ้นของพม่า ลาว และจีนตอนใต้ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.1 ร้อยละ 38.9 และร้อยละ 5.3 ตามลำดับ
ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในปี 2549 เกินดุล 932.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนที่เกินดุล 935.4 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เดือนก่อน ตามราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เดือนก่อน เนื่องจากสินค้าประเภทผัก ผลไม้ และข้าวเหนียวยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง สำหรับราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เดือนก่อน เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร ได้แก่ ค่าโดยสารสาธารณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เดือนก่อน
ปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ใกล้เคียงกับปีก่อน แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงและการลอยตัวราคาน้ำมันของทางการ แต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอตัวลงจากฐานการคำนวณที่สูงตามการลอยตัวของราคาน้ำมันช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2548 และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ปีก่อน จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาผัก ผลไม้ และข้าว ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.2 และร้อยละ 5.4 ตามลำดับ ส่วนสินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ชะลอลงเล็กน้อยตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 ปีก่อน ด้านราคาสินค้าหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อย จากการปรับเพิ่มของภาษีสรรพสามิต สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เร่งตัวเล็กน้อยจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ปีก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนพฤศจิกายน 2549 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.73 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.60 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.1 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ภาคเกษตรมีแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เป็นจำนวน 3.27 ล้านคน ส่วนนอกภาคเกษตรมีแรงงานจำนวน 3.36 ล้านคน ทรงตัวกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจ้างงานในสาขาการขายส่ง/ปลีก ขยายตัวร้อยละ 6.2 แต่การจ้างงานในสาขาการผลิตและการก่อสร้างลดลงร้อยละ 7.0 และร้อยละ 8.7 ตามลำดับ ด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.10 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวกับระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่อยู่ในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น ในเดือนธันวาคม 2549 มีจำนวน 0.59 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3
9. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2549 มีทั้งสิ้น 335,616 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.9 จากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ส่วนราชการและบริษัทในนิคมอุตสาหกรรม โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และน่าน ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 271,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.6 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากความต้องการใช้สินเชื่อในกลุ่มโรงสีข้าว ค้าพืชไร่ ฟาร์มสุกร หอพักในมหาวิทยาลัย และสหกรณ์ออมทรัพย์ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 81.1 ระยะเดียวกันปีก่อน อยู่ที่ร้อยละ 80.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
ปี 2549 ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือขยายตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยด้านอุปทาน เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาพืชหลักเป็นสำคัญ ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวดีทั้งการผลิตเพื่อการส่งออกและบริโภคภายในประเทศโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และน้ำตาล ขณะที่ภาคบริการขยายตัวจากการจัดงานพืชสวนโลก ด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนชะลอลง แต่กระเตื้องขึ้นในช่วงปลายปีตามภาคบริการ ด้านการส่งออกและนำเข้าชะลอตัว ส่วนการลงทุนหดตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับปีก่อน สำหรับเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวในอัตราชะลอลง
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.7 เป็นผลจากราคาพืชสำคัญที่สูงขึ้นร้อยละ 11.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยราคาข้าวเปลือกเหนียวนาปีเมล็ดยาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.8 เนื่องจากอุปสงค์จากต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ประกอบกับราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 ตามความต้องการใช้ทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีและมันสำปะหลังลดลงร้อยละ 5.8 และร้อยละ 19.5 ตามลำดับ ด้านผลผลิตพืชหลักลดลงร้อยละ 2.2 เนื่องจากแหล่งเพาะปลูกสำคัญประสบปัญหาน้ำท่วมโดยเฉพาะข้าวนาปี ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.9 ขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 4.6 เนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่น เช่น มันสำปะหลัง ส่วนอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 จากการขยายเนื้อที่เพาะปลูกของเกษตรกรตามแรงจูงใจด้านราคา
ปี 2549 รายได้ของเกษตรกรในภาคเหนือขยายตัวร้อยละ 11.6 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 ปีก่อน เนื่องจากการเร่งตัวของราคาพืชสำคัญที่ขยายตัวร้อยละ 13.1 ได้แก่ ราคาข้าวเปลือกเหนียวนาปีเมล็ดยาวเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 จากความต้องการของตลาดจีนเป็นสำคัญ ราคาอ้อยโรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7 ตามการปรับเพิ่มขึ้นของราคาขั้นสุดท้าย ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 ตามราคาตลาดโลก และราคาลำไยเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.8 เนื่องจากผลผลิตลดลงประกอบกับการดำเนินการ ที่ดีในการกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตในช่วงกระจุกตัว ขณะที่ราคามันสำปะหลังและสับปะรดโรงงานลดลงร้อยละ 15.3 และร้อยละ 29.9 ตามลำดับ จากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก ทางด้านผลผลิตพืชสำคัญลดลงร้อยละ 1.5 โดยข้าวนาปีประสบปัญหาน้ำท่วมในแหล่งเพาะปลูกสำคัญทำให้ผลผลิตลดลงร้อยละ 3.9 ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลดลงร้อยละ 4.6 จากการปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นโดยเฉพาะมันสำปะหลัง ลำไยลดลงร้อยละ 37.6 เนื่องจากราคาปีก่อนไม่จูงใจให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตประกอบกับได้รับความเสียหายจากฤดูฝนที่มาเร็วกว่าปกติอีกทั้งมีการส่งเสริมการผลิตนอกฤดู และกระเทียมลดลงร้อยละ 23.0 จากนโยบายของรัฐให้ลดพื้นที่เพาะปลูก อย่างไรก็ตาม ข้าวนาปรังและมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 และร้อยละ 23.6 ตามลำดับ เนื่องจากราคาปีก่อนสูงจูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิต
2. ภาคอุตสาหกรรม ผลผลิตอุตสาหกรรมชะลอลง โดยมูลค่าการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 เป็น 154.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากร้อยละ 16.3 เดือนก่อน โดยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 0.4 ชะลอตัวเมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 24.3 เดือนก่อน โดยสินค้า ส่งออกสำคัญลดลง ได้แก่ Glass Magnetic Disk ลดลงร้อยละ 12.4 การผลิตวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.7 ด้านการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 272.2 พันเมตริกตัน ตามผลผลิตอ้อยที่เพิ่มมากจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกและโรงงานน้ำตาลเปิดหีบในปี 2549/50 เร็วขึ้น
ปี 2549 ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่เร่งตัวจากปีก่อน ตามการผลิตเพื่อส่งออกในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือผ่านด่านศุลกากรลำพูนที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.0 เป็น 1,951.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 7.8 ในปีก่อน ตามความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของตลาดโลกโดยเฉพาะ Glass Magnetic Disk ด้านผลผลิตน้ำตาลในภาคเหนือปี 2549 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 28.7 เป็น 1,593.1 พันเมตริกตัน เนื่องจากการผลิตอ้อยปี 2549 ไม่ประสบปัญหาภัยแล้งเช่นปี 2548 อย่างไรก็ดี การผลิตวัสดุก่อสร้างลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.1 ตามการก่อสร้างและการลงทุนของภาครัฐและเอกชนที่ซบเซา ประกอบกับได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในช่วงไตรมาส 2 และ 3
3. ภาคบริการ ยังคงเร่งตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากแรงสนับสนุนของฤดูกาลท่องเที่ยวและการจัดงานพืชสวนโลก โดยมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าชมงานในเดือนธันวาคม 2549 จำนวน 1,446,183 คน ส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงขยายตัว เครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ อัตราการเข้าพักปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 87.6 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน ราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 จากระยะเดียวกันปีก่อนเป็น 1,164.6 บาทต่อห้องต่อวัน จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานสำคัญในภาคเหนือขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.5 เป็นจำนวน 500,366 คน โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ที่มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมาก จากการผ่านของเที่ยวบินในประเทศและต่างประเทศ ที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 28.7 และร้อยละ 26.5 ตามลำดับ ด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 โดยเพิ่มขึ้นมากในจังหวัดท่องเที่ยวสำคัญ อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน
อย่างไรก็ดี แม้การจัดงานพืชสวนโลกจะส่งผลในเชิงบวก โดยได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นจำนวนมาก ความต้องการห้องพักที่อยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ห้องพักโรงแรมระดับกลางไม่เพียงพอรองรับลูกค้าประเภท Inbound จากต่างประเทศโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากประเทศญี่ปุ่นและเกาหลี ที่มีสัดส่วนการใช้จ่ายต่อคนต่อวันสูงกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย
ปี 2549 แม้ว่าได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองและค่าครองชีพที่สูงขึ้นในไตรมาสที่ 2 ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของภาคเหนือในไตรมาสที่ 3 แต่จากการขยายตัวของภาคบริการในช่วงไตรมาสแรกของปี กอปรกับการเร่งตัวในไตรมาสสุดท้ายซึ่งเป็นฤดูกาลท่องเที่ยวและมีการจัดงานพืชสวนโลก ส่งผลให้ภาคบริการในปี 2549 ขยายตัวเมื่อเทียบกับปี 2548 โดยเครื่องชี้ภาคบริการที่สำคัญ ได้แก่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคารเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.9 อัตราการเข้าพักของโรงแรมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 และราคาห้องพักเฉลี่ยของโรงแรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เป็น 942.8 บาทต่อห้องต่อวัน
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวต่อเนื่องโดยได้รับผลดีจากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยว ตลอดจนการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการโดยลดราคาสินค้าเพื่อกระตุ้นยอดขายโดยเฉพาะสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ พิจารณาจากยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 22.9 ส่วนการใช้จ่ายกิจกรรมสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.2 และปริมาณการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.5
ปี 2549 การอุปโภคบริโภคของภาคเหนือขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี การจัดงานพืชสวนโลกที่จังหวัดเชียงใหม่ในไตรมาส 4 ปี 2549 ช่วยกระตุ้นภาคการใช้จ่ายของเอกชนได้ระดับหนึ่ง โดยยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.4 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 ปีก่อน ส่วนกิจกรรม การใช้จ่ายสำคัญ ได้แก่ การจดทะเบียนรถยนต์ลดลงร้อยละ 6.3 และการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 4.8
5. การลงทุนภาคเอกชน ยังคงลดลงต่อเนื่องแต่ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยปริมาณการจำหน่ายวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.4 เดือนก่อน เป็นผลจากความต้องการใช้เพื่อก่อสร้างในโครงการต่อเนื่อง ด้านพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 24.3 โดยลดลงมากในประเภทบริการและขนส่ง และอาคารพาณิชย์ แต่ประเภทที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.6 ส่วนการลงทุนในกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนสี่เท่าตัว
ปี 2549 ภาวะการลงทุนภาคเอกชนในภาคเหนืออยู่ในเกณฑ์ซบเซาเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยทำให้ต้นทุนสูงขึ้นประกอบกับขาดความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุน พิจารณาจากเครื่องชี้สำคัญ ได้แก่ ปริมาณจำหน่ายวัสดุก่อสร้างลดลงร้อยละ 5.7 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.8 ปีก่อน พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลลดลงร้อยละ 16.8 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ปีก่อน ค่าธรรมเนียมขายและขายฝากที่ดินลดลงร้อยละ 7.4 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ปีก่อน สำหรับการลงทุนในกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนลดลงร้อยละ 39.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 26.3 ปีก่อน
6. การค้าต่างประเทศ การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.0 เหลือ 210.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. และลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 โดยการส่งออกผ่านด่านศุลกากรลำพูนชะลอตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.9 เป็น 154.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ซึ่งตลาดสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ มีมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 0.3 และร้อยละ 10.4 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปจีนขยายตัวร้อยละ 10.1 ด้านการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนร้อยละ 18.4 เหลือ 8.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. เนื่องจากผู้ส่งออกบางรายย้ายการทำพิธีการส่งออกของสินค้าประเภทใบยาสูบไปที่ส่วนกลาง ประกอบกับสินค้าเซรามิกส์ส่งออกลดลงร้อยละ 15.4 ทางด้านการส่งออกผ่านด่านชายแดนลดลงร้อยละ 11.4 เหลือ 47.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการลดลงของการส่งออกไปพม่าที่ลดลงร้อยละ 19.7 เหลือ 30.3 ล้านดอลลาร์ สรอ. และการส่งออกไปลาว ที่ลดลงร้อยละ 26.4 ส่วนการส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.4
การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน เป็น 146.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลงร้อยละ 8.9 เดือนก่อน โดยการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนลดลงร้อยละ 2.1 เหลือ 128.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 12.2 เดือนก่อน สินค้านำเข้าสำคัญที่ลดลง ได้แก่ เครื่องจักรกลและชิ้นส่วนที่ใช้ในอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 44.6 และเคมีภัณฑ์และพลาสติกลดลงร้อยละ 31.1 ขณะที่การนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ด้านการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 7.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากเดือนก่อน โดยสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ แก้วและอุปกรณ์ที่ทำด้วยแก้วเพื่อการทดลอง และส่วนประกอบเครื่องยนต์ สำหรับการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรตามแนวชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.2 เป็น 10.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. เร่งตัวจากเดือนก่อนเช่นกัน จากการนำเข้าของพม่าและลาวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 94.8 และร้อยละ 73.9 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าจากจีนตอนใต้ลดลงร้อยละ 11.4
ดุลการค้าในเดือนธันวาคม 2549 เกินดุล 64.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนที่เกินดุล 75.8 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 91.0 ล้านดอลลาร์ สรอ.
ปี 2549 การส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เป็น 2,648.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 เนื่องจากผู้ประกอบการบางรายย้ายการทำพิธีการส่งออกไปส่วนกลางประกอบกับทางการพม่าเข้มงวดการนำเข้าสินค้าชายแดน โดยการส่งออกผ่านศุลกากรลำพูนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 14.0 สูงกว่าร้อยละ 8.5 ปีก่อน เป็น 1,951.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ประเภท Glass Magnetic Disk และ Semiconductor ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ โดยตลาดส่งออกญี่ปุ่น สิงคโปร์ และจีน มูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 0.4 ร้อยละ 3.6 และร้อยละ 24.6 ตามลำดับ ด้านการส่งออกผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่ลดลงร้อยละ 17.5 เหลือ 161.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ชุดสายไฟ ผักสดแช่แข็ง เซรามิกส์ และเครื่องประดับอัญมณี ทั้งนี้การส่งออกลดลงมากในช่วงครึ่งหลังของปีเนื่องจากมีผู้ประกอบการย้ายการทำพิธีการส่งออกสินค้าประเภทใบยาสูบและพืชผักถนอมอาหารไปที่ส่วนกลาง ทางด้านการส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนลดลงร้อยละ 4.7 เหลือ 535.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการลดลงของการส่งออกไปพม่าและลาว ที่ลดลงร้อยละ 7.2 และ 6.9 ตามลำดับ ส่วนการส่งออกไปจีนตอนใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3
การนำเข้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เป็น 1,715.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.4 ตามการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรลำพูนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เป็น 1,543.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ชะลอตัวจากปีก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 โดยมูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้าประเภทชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนแผงวงจรรวม ลดลงร้อยละ 5.2 และร้อยละ 15.7 ตามลำดับ ส่วนการนำเข้าแผงวงจรรวมและอัญมณีเงินแท่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 และร้อยละ 36.5 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว เป็น 70.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าเพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทชุดสายไฟฟ้า วัตถุดิบของอุตสาหกรรมเครื่องยนต์ ทางด้านการนำเข้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.8 เป็น 102.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. จากการนำเข้าเพิ่มขึ้นของพม่า ลาว และจีนตอนใต้ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.1 ร้อยละ 38.9 และร้อยละ 5.3 ตามลำดับ
ดุลการค้าผ่านด่านศุลกากรในปี 2549 เกินดุล 932.7 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงเล็กน้อยจากปีก่อนที่เกินดุล 935.4 ล้านดอลลาร์ สรอ.
7. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เดือนก่อน ตามราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เดือนก่อน เนื่องจากสินค้าประเภทผัก ผลไม้ และข้าวเหนียวยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง สำหรับราคาสินค้าในหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เดือนก่อน เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าหมวดพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร ได้แก่ ค่าโดยสารสาธารณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ทางด้านดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.8 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เดือนก่อน
ปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคเหนือเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ใกล้เคียงกับปีก่อน แม้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงและการลอยตัวราคาน้ำมันของทางการ แต่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคชะลอตัวลงจากฐานการคำนวณที่สูงตามการลอยตัวของราคาน้ำมันช่วงปลายไตรมาส 2 ปี 2548 และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 ปีก่อน จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาผัก ผลไม้ และข้าว ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.2 และร้อยละ 5.4 ตามลำดับ ส่วนสินค้าหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 ชะลอลงเล็กน้อยตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 ชะลอลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 ปีก่อน ด้านราคาสินค้าหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เร่งตัวขึ้นเล็กน้อย จากการปรับเพิ่มของภาษีสรรพสามิต สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เร่งตัวเล็กน้อยจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ปีก่อน
8. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนพฤศจิกายน 2549 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.73 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.60 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 98.1 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ภาคเกษตรมีแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 เป็นจำนวน 3.27 ล้านคน ส่วนนอกภาคเกษตรมีแรงงานจำนวน 3.36 ล้านคน ทรงตัวกับระยะเดียวกันปีก่อน โดยการจ้างงานในสาขาการขายส่ง/ปลีก ขยายตัวร้อยละ 6.2 แต่การจ้างงานในสาขาการผลิตและการก่อสร้างลดลงร้อยละ 7.0 และร้อยละ 8.7 ตามลำดับ ด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.10 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 1.5 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวกับระยะเดียวกันปีก่อน สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่อยู่ในสถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนั้น ในเดือนธันวาคม 2549 มีจำนวน 0.59 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.3
9. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2549 มีทั้งสิ้น 335,616 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.9 จากการเพิ่มขึ้นของเงินฝากสหกรณ์ออมทรัพย์ ส่วนราชการและบริษัทในนิคมอุตสาหกรรม โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และน่าน ส่วนเงินให้สินเชื่อมียอดคงค้าง 271,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.6 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากความต้องการใช้สินเชื่อในกลุ่มโรงสีข้าว ค้าพืชไร่ ฟาร์มสุกร หอพักในมหาวิทยาลัย และสหกรณ์ออมทรัพย์ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครสวรรค์ และเพชรบูรณ์ สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 81.1 ระยะเดียวกันปีก่อน อยู่ที่ร้อยละ 80.9
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--