ปชป.แจง “อภิรักษ์” เปิดแอล/ซีตามสัญญา - ยึดกรอบกม.เคร่งครัด
เมื่อวันที่ 4 มีนาคมนี้ นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรณีน.ต.ศิธา ทิวารี รักษาการโฆษกพรรคไทยรักไทย ท้าทายนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้ระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์อนุญาตให้เปิดแอล/ซี หรือหนังสือรับรองทางการเงินสำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า ตามสัญญาจัดซื้อรถดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ของกทม.หรือไม่นั้น เป็นความพยายามที่จะบ่อนเซาะให้เกิดความแตกแยกระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับผู้บริหารกทม. ขอชี้แจงว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีอำนาจหน้าที่ไปอนุญาตหรือไม่อนุญาตเรื่องใดๆในการบริหารกิจการของกทม. พรรคไม่เคยเข้าไปบงการ หรือครอบงำการบริหารงานใดๆของนายอภิรักษ์และคณะผู้บริหารของกทม. บทบาทของพรรคที่ผ่านมาคือการผลักดัน ตรวจสอบการดำเนินงานให้เป็นไปตามตามนโยบายที่ให้ไว้เป็นสัญญาประชาคมในการหาเสียงเลือกตั้ง ส่วนการที่น.ต.ศิธาจะออกมาเปิดเผยเรื่องการแก้ไขแอล/ซี นั้น เป็นสิทธิของน.ต.ศิธา ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ไม่มีอะไรปิดบังซ่อนเร้น อีกทั้งมีผู้เกี่ยวข้องชี้แจงเป็นที่กระจ่างชัดหลายครั้งหลายหนแล้ว ทั้งในส่วนของผู้บริหารกทม.และธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อไปว่า กรณีการเปิดแอล/ซี ของนายอภิรักษ์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 นั้น นายอภิชาต กล่าวว่า หากผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ได้ศึกษาความเป็นมาของเรื่องให้ละเอียดโดยปราศจากอคติและวาระซ่อนเร้นแล้วจะเห็นว่า การเปิดแอล/ซี เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ในสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรีย หรือ เอโอยู. (Agreement of Understanding ) ที่นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงนามเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 และข้อตกลงซื้อขายที่ นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนก่อน ลงนามตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2547 ซึ่งการดำเนินการเปิดแอล/ซี ไม่ได้ทำให้ข้อตกลงเรื่องราคาสินค้า เรื่องตัวบริษัทผู้ขาย รวมทั้งภาษีอากรที่กำหนดไว้ในข้อตกลงมาแต่เดิมนั้นเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด
นายอภิชาต ระบุว่า ก่อนที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน จะเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2547 นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนก่อน ได้มีหนังสือลงวันที่ 31 สิงหาคม 2547 แจ้งธนาคารกรุงไทย ฯ ขอดำเนินการเปิดแอล/ซีมาแล้ว แต่นายอภิรักษ์ เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ได้ชะลอการเปิดแอล/ซีไปก่อน พร้อมกับดำเนินการให้มีการทบทวน โดยมีหนังสือไปที่กระทรวงมหาดไทย 2 ครั้ง และกระทรวงพาณิชย์ 1 ครั้ง ขอให้มีการตรวจสอบเรื่องการทำสัญญาการค้าต่างตอบแทน ขอให้มีการเปรียบเทียบราคา และขอให้ทบทวนเนื่องมาจากมีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แต่ได้รับคำยืนยันจากทั้งสองกระทรวงว่าได้มีการดำเนินการโครงการอย่างถูกต้องแล้ว
โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น มีหนังสือถึงกรุงเทพมหานคร 4 ฉบับ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2547, วันที่ 7 ตุลาคม 2547, วันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 และ 16 ธันวาคม 2547 เร่งรัดให้กรุงเทพมหานครต้องรีบดำเนินการเปิดแอล/ซี โดยเฉพาะในหนังสือลงวันที่ 16 ธันวาคม 2547 ได้ระบุชัดเจนว่าการที่กรุงเทพมหานครยังไม่เปิดแอล/ซี นั้น กระทรวงมหาดไทยซึ่งต้องรับผิดชอบการดำเนินการในโครงการนี้ เห็นว่า อาจเป็นมูลเหตุให้ความสัมพันธ์อันดีของสองประเทศต้องกระทบกระเทือน กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้สัมพันธภาพระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลออสเตรียเป็นไปด้วยดี และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน กรุงเทพมหานครต้องดำเนินการตามเงื่อนไขใน เอโอยู. คือการเปิดแอล/ซี โดยทันที
นอกจากจะถูกเร่งรัดโดยกระทรวงมหาดไทยแล้ว ยังมีทูตพาณิชย์ของสถานทูตออสเตรียประจำประจำประเทศไทย และบริษัท สไตเออร์ฯได้มีหนังสือหลายครั้ง เร่งรัดให้กรุงเทพมหานครต้องรีบเปิดแอล/ซี เช่นกัน โดยเฉพาะหนังสือของบริษัท สไตเออร์ฯ ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2547 ระบุว่า หากมีค่าเสียหายใด กรุงเทพมหานครจะต้องรับผิดชอบ
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ระบุต่อไปว่า กรณีที่มีการกล่าวอ้างว่า นายอภิรักษ์ ได้พยายามเปิดแอล/ซี หลายครั้งหลายหนนั้น ขอเรียนว่าแอล/ซี ตามสัญญานี้ เป็นชนิดเพิกถอนไม่ได้ จึงเปิดได้เพียงครั้งเดียว แต่การเปิดแอล/ซี ซึ่งก็คือการขอทำธุรกรรมทางการเงินคล้ายกับการขอสินเชื่อต่อธนาคาร มีกระบวนการหลายขั้นตอน ตั้งแต่การทำหนังสือขอ การที่ต้องนำเข้าคณะกรรมการของธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งการยืนยันเรื่องวงเงิน เป็นต้น ปรากฏว่าในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนนั้น มีข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นเป็นคราว ๆ ทำให้นายอภิรักษ์ ต้องแจ้งธนาคารกรุงไทย ฯ ขอชะลอขั้นตอนในบางขั้นตอนเพื่อตรวจสอบความชัดเจน แต่ทุกครั้งจะมีหนังสือจากกระทรวงมหาดไทยเร่งรัดมา ทำให้ในที่สุดนายอภิรักษ์ฯ ต้องมีหนังสือขอให้ธนาคารกรุงไทย ฯ ทำตามขั้นตอนต่อไป
สำหรับเรื่องการแก้ไขข้อความในแอล/ซี เพื่อให้ผู้ขายสามารถส่งเรือดับเพลิงในประเทศไทยได้นั้น ขอเรียนว่า ข้อความที่กล่าวอ้างคือ ข้อความว่า “...ผู้ขายสามารถส่งของจากท่าเรือ หรือท่าอากาศยานในยุโรป และหรือสถานที่ใดในประเทศไทย...” ซึ่งได้ระบุไว้ในภาคผนวก 3.4 ของข้อตกลงซื้อขายฉบับลงวันที่ 27 สิงหาคม 2547 อยู่แล้ว แต่ในการเปิดแอล/ซี เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 ข้อความคำว่า “และหรือสถานที่ใดในประเทศไทย” ตกหล่นไป ทางผู้ขายได้แจ้งมาที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ขอให้ดำเนินการแก้ไข และธนาคารกรุงไทย ฯ แจ้ง กรุงเทพมหานครมา จึงต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามข้อสัญญาดังกล่าว โดยการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2548 ห่างจากหนังสือเปิดแอล/ซีครั้งแรกเพียง 10 วัน ซึ่งไม่ได้เป็นการจงใจเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทผู้ผลิตตามที่มีการกล่าวหาแต่อย่างใด และหลังจากมีการเปิดแอลซีแล้ว กทม.โดยนายอภิรักษ์ก็ได้ใช้ความพยายามในการตรวจสอบความถูกต้องของขั้นตอน รายละเอียดต่างๆสัญญาเรื่อยมา เพื่อรักษาผลประโยชน์ของราชการและประชาชน จนเกิดประเด็นเรื่องการจะยกเลิกสัญญาได้หรือไม่ ดังปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนเป็นระยะๆตลอดมา
“การดำเนินงานทั้งปวงของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสุจริต ภายใต้กรอบกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยยืดถือประโยชน์ของส่วนรวมเหนือสิ่งอื่นใดตลอดมา อีกทั้งเมื่อจะต้องพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, ดีเอสไอ, ป.ป.ช., อัยการสูงสุด รวมทั้งคตส. นายอภิรักษ์ได้ให้ความร่วมมืออย่างไม่มีเงื่อนไข ขณะเดียวกันก็ได้พยายามดำเนินการทุกวิถีทางที่จะหาทางออกเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนอย่างดีที่สุด” นายอภิชาต กล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 มี.ค. 2550--จบ--
เมื่อวันที่ 4 มีนาคมนี้ นายอภิชาต ศักดิเศรษฐ์ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า กรณีน.ต.ศิธา ทิวารี รักษาการโฆษกพรรคไทยรักไทย ท้าทายนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้ระบุว่าพรรคประชาธิปัตย์อนุญาตให้เปิดแอล/ซี หรือหนังสือรับรองทางการเงินสำหรับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า ตามสัญญาจัดซื้อรถดับเพลิงและอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัย ของกทม.หรือไม่นั้น เป็นความพยายามที่จะบ่อนเซาะให้เกิดความแตกแยกระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับผู้บริหารกทม. ขอชี้แจงว่า พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีอำนาจหน้าที่ไปอนุญาตหรือไม่อนุญาตเรื่องใดๆในการบริหารกิจการของกทม. พรรคไม่เคยเข้าไปบงการ หรือครอบงำการบริหารงานใดๆของนายอภิรักษ์และคณะผู้บริหารของกทม. บทบาทของพรรคที่ผ่านมาคือการผลักดัน ตรวจสอบการดำเนินงานให้เป็นไปตามตามนโยบายที่ให้ไว้เป็นสัญญาประชาคมในการหาเสียงเลือกตั้ง ส่วนการที่น.ต.ศิธาจะออกมาเปิดเผยเรื่องการแก้ไขแอล/ซี นั้น เป็นสิทธิของน.ต.ศิธา ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ไม่มีอะไรปิดบังซ่อนเร้น อีกทั้งมีผู้เกี่ยวข้องชี้แจงเป็นที่กระจ่างชัดหลายครั้งหลายหนแล้ว ทั้งในส่วนของผู้บริหารกทม.และธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน)
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อไปว่า กรณีการเปิดแอล/ซี ของนายอภิรักษ์ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 นั้น นายอภิชาต กล่าวว่า หากผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้ได้ศึกษาความเป็นมาของเรื่องให้ละเอียดโดยปราศจากอคติและวาระซ่อนเร้นแล้วจะเห็นว่า การเปิดแอล/ซี เป็นขั้นตอนที่กำหนดไว้ในสัญญาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลออสเตรีย หรือ เอโอยู. (Agreement of Understanding ) ที่นายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงนามเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2547 และข้อตกลงซื้อขายที่ นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนก่อน ลงนามตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2547 ซึ่งการดำเนินการเปิดแอล/ซี ไม่ได้ทำให้ข้อตกลงเรื่องราคาสินค้า เรื่องตัวบริษัทผู้ขาย รวมทั้งภาษีอากรที่กำหนดไว้ในข้อตกลงมาแต่เดิมนั้นเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด
นายอภิชาต ระบุว่า ก่อนที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน จะเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2547 นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนก่อน ได้มีหนังสือลงวันที่ 31 สิงหาคม 2547 แจ้งธนาคารกรุงไทย ฯ ขอดำเนินการเปิดแอล/ซีมาแล้ว แต่นายอภิรักษ์ เมื่อเข้ารับตำแหน่ง ได้ชะลอการเปิดแอล/ซีไปก่อน พร้อมกับดำเนินการให้มีการทบทวน โดยมีหนังสือไปที่กระทรวงมหาดไทย 2 ครั้ง และกระทรวงพาณิชย์ 1 ครั้ง ขอให้มีการตรวจสอบเรื่องการทำสัญญาการค้าต่างตอบแทน ขอให้มีการเปรียบเทียบราคา และขอให้ทบทวนเนื่องมาจากมีการร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แต่ได้รับคำยืนยันจากทั้งสองกระทรวงว่าได้มีการดำเนินการโครงการอย่างถูกต้องแล้ว
โดยเฉพาะกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น มีหนังสือถึงกรุงเทพมหานคร 4 ฉบับ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2547, วันที่ 7 ตุลาคม 2547, วันที่ 5 พฤศจิกายน 2547 และ 16 ธันวาคม 2547 เร่งรัดให้กรุงเทพมหานครต้องรีบดำเนินการเปิดแอล/ซี โดยเฉพาะในหนังสือลงวันที่ 16 ธันวาคม 2547 ได้ระบุชัดเจนว่าการที่กรุงเทพมหานครยังไม่เปิดแอล/ซี นั้น กระทรวงมหาดไทยซึ่งต้องรับผิดชอบการดำเนินการในโครงการนี้ เห็นว่า อาจเป็นมูลเหตุให้ความสัมพันธ์อันดีของสองประเทศต้องกระทบกระเทือน กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อให้สัมพันธภาพระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลออสเตรียเป็นไปด้วยดี และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน กรุงเทพมหานครต้องดำเนินการตามเงื่อนไขใน เอโอยู. คือการเปิดแอล/ซี โดยทันที
นอกจากจะถูกเร่งรัดโดยกระทรวงมหาดไทยแล้ว ยังมีทูตพาณิชย์ของสถานทูตออสเตรียประจำประจำประเทศไทย และบริษัท สไตเออร์ฯได้มีหนังสือหลายครั้ง เร่งรัดให้กรุงเทพมหานครต้องรีบเปิดแอล/ซี เช่นกัน โดยเฉพาะหนังสือของบริษัท สไตเออร์ฯ ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2547 ระบุว่า หากมีค่าเสียหายใด กรุงเทพมหานครจะต้องรับผิดชอบ
รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ระบุต่อไปว่า กรณีที่มีการกล่าวอ้างว่า นายอภิรักษ์ ได้พยายามเปิดแอล/ซี หลายครั้งหลายหนนั้น ขอเรียนว่าแอล/ซี ตามสัญญานี้ เป็นชนิดเพิกถอนไม่ได้ จึงเปิดได้เพียงครั้งเดียว แต่การเปิดแอล/ซี ซึ่งก็คือการขอทำธุรกรรมทางการเงินคล้ายกับการขอสินเชื่อต่อธนาคาร มีกระบวนการหลายขั้นตอน ตั้งแต่การทำหนังสือขอ การที่ต้องนำเข้าคณะกรรมการของธนาคารเพื่อพิจารณาอนุมัติ รวมทั้งการยืนยันเรื่องวงเงิน เป็นต้น ปรากฏว่าในระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอนนั้น มีข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นเป็นคราว ๆ ทำให้นายอภิรักษ์ ต้องแจ้งธนาคารกรุงไทย ฯ ขอชะลอขั้นตอนในบางขั้นตอนเพื่อตรวจสอบความชัดเจน แต่ทุกครั้งจะมีหนังสือจากกระทรวงมหาดไทยเร่งรัดมา ทำให้ในที่สุดนายอภิรักษ์ฯ ต้องมีหนังสือขอให้ธนาคารกรุงไทย ฯ ทำตามขั้นตอนต่อไป
สำหรับเรื่องการแก้ไขข้อความในแอล/ซี เพื่อให้ผู้ขายสามารถส่งเรือดับเพลิงในประเทศไทยได้นั้น ขอเรียนว่า ข้อความที่กล่าวอ้างคือ ข้อความว่า “...ผู้ขายสามารถส่งของจากท่าเรือ หรือท่าอากาศยานในยุโรป และหรือสถานที่ใดในประเทศไทย...” ซึ่งได้ระบุไว้ในภาคผนวก 3.4 ของข้อตกลงซื้อขายฉบับลงวันที่ 27 สิงหาคม 2547 อยู่แล้ว แต่ในการเปิดแอล/ซี เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2548 ข้อความคำว่า “และหรือสถานที่ใดในประเทศไทย” ตกหล่นไป ทางผู้ขายได้แจ้งมาที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ขอให้ดำเนินการแก้ไข และธนาคารกรุงไทย ฯ แจ้ง กรุงเทพมหานครมา จึงต้องดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามข้อสัญญาดังกล่าว โดยการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมีขึ้นในวันที่ 20 มกราคม 2548 ห่างจากหนังสือเปิดแอล/ซีครั้งแรกเพียง 10 วัน ซึ่งไม่ได้เป็นการจงใจเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทผู้ผลิตตามที่มีการกล่าวหาแต่อย่างใด และหลังจากมีการเปิดแอลซีแล้ว กทม.โดยนายอภิรักษ์ก็ได้ใช้ความพยายามในการตรวจสอบความถูกต้องของขั้นตอน รายละเอียดต่างๆสัญญาเรื่อยมา เพื่อรักษาผลประโยชน์ของราชการและประชาชน จนเกิดประเด็นเรื่องการจะยกเลิกสัญญาได้หรือไม่ ดังปรากฏเป็นข่าวทางสื่อมวลชนเป็นระยะๆตลอดมา
“การดำเนินงานทั้งปวงของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสุจริต ภายใต้กรอบกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยยืดถือประโยชน์ของส่วนรวมเหนือสิ่งอื่นใดตลอดมา อีกทั้งเมื่อจะต้องพิสูจน์ในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน, ดีเอสไอ, ป.ป.ช., อัยการสูงสุด รวมทั้งคตส. นายอภิรักษ์ได้ให้ความร่วมมืออย่างไม่มีเงื่อนไข ขณะเดียวกันก็ได้พยายามดำเนินการทุกวิถีทางที่จะหาทางออกเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศและประชาชนอย่างดีที่สุด” นายอภิชาต กล่าวในที่สุด
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 มี.ค. 2550--จบ--