วันที่ 5 มีนาคม 2550 นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นของกระบวนการในการกลั่นกรองบุคคลที่เข้ามาสู่อำนาจทางการเมือง ซึ่งเริ่มต้นจากการเลือกตั้ง ดังนั้น คณะกรรมการการเลือกตั้งซึ่งเป็นองค์กรอิสระจึงมีความสำคัญอย่างมากที่จะต้องเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง ไม่ถูกแทรกแซงจากนักการเมือง หรือผู้มีอำนาจทางการเมือง เพราะหากกระบวนการขององค์กรอิสระที่จะเข้ามากลั่นกรองนักการเมืองเป็นองค์กรที่มีปัญหา สามารถถูกแทรกแซงได้ หรือเป็นองค์กรที่ไม่เป็นกลางทางการเมือง ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรมได้ ก็จะเป็นปัญหาอย่างมาก
นายองอาจชี้ว่าปัญหาของการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ที่มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไปแล้ว และไม่สามารถทำให้เป็นการเลือกตั้งที่ถูกต้องได้ จะเห็นว่าเป็นปัญหามาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง จนกระทั่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามา แต่ว่าในรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องมีโครงสร้างของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถูกต้องเหมาะสม และสามารถจัดการเลือกตั้งได้โดยสุจริตและเที่ยงธรรมได้ ดังนั้นทางพรรคประชาธิปัตย์โดยนายองอาจ จึงมีข้อเสนอเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวคือ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ควรประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีก 6 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลดังต่อไปนี้
- ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกา หรืออดีตผู้พิพากษาในศาลฎีกา 2 คน
- ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดเลือกตุลาการศาลปกครอง
- ที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะใหญ่เลือก 2 คน
- คณะบดีคณะรัฐศาสตร์หรือคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัยเลือก 2 คน
ประธานศาลฎีกาเสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 7 คนต่อประธานวุฒิสภาเพื่อเสนอวุฒิสภาให้ความเห็นชอบและนำเสนอพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
- มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และเป็นได้วาระเดียว
- รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง สว. สส. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กกต. อาจมอบอำนาจเด็ดขาดให้ กกต. จังหวัดดำเนินการ ภายใต้การกำกับดูแลของ กกต. ก็ได้
- ให้มีศาลเลือกตั้งกลางโดยคณะกรรมการตุลาการเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้พิพากษามีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และให้เป็นศาลเฉพาะกิจชั่วคราวมีการกำหนดเวลาการพิจารณาคดีให้ชัดเจน และคำพิพากษาถือเป็นอันสิ้นสุด
- ให้มีศาลเลือกตั้งทุกจังหวัดโดยคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) เป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้บริหารท้องถิ่นหรือสภาชิกสภาท้องถิ่น
โดยโฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า พรรคฯ มีความเชื่อมั่นว่า หากการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นไปอย่างที่ได้นำเสนอก็จะมีส่วนอย่างสำคัญให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถทำหน้าที่ได้อย่างสุจริตและเที่ยงธรรม
“แน่นอนที่สุดคงไม่มีกระบวนการสรรหาผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระใดที่จะสมบูรณ์ 100 เปอร์เซนต์ แต่เชื่อว่าวิธีการนี้น่าจะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เกิดความโปร่งใสได้มากที่สุด น่าจะทำให้เกิดการแทรกแซงได้น้อยที่สุด และนี่ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเลือกตั้งในบ้านเมือง ซึ่งเป็นกระบวนการเบื้องต้นในการคัดกรองนักการเมือง ในการคัดกรองผู้คนที่จะเข้าไปสู่อำนาจในทางการเมือง” นายองอาจ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 มี.ค. 2550--จบ--
นายองอาจชี้ว่าปัญหาของการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ที่มีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งไปแล้ว และไม่สามารถทำให้เป็นการเลือกตั้งที่ถูกต้องได้ จะเห็นว่าเป็นปัญหามาจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง จนกระทั่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการชุดใหม่เข้ามา แต่ว่าในรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องมีโครงสร้างของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ถูกต้องเหมาะสม และสามารถจัดการเลือกตั้งได้โดยสุจริตและเที่ยงธรรมได้ ดังนั้นทางพรรคประชาธิปัตย์โดยนายองอาจ จึงมีข้อเสนอเกี่ยวกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวคือ
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ควรประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีก 6 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา จากบุคคลดังต่อไปนี้
- ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา เลือกผู้พิพากษาในศาลฎีกา หรืออดีตผู้พิพากษาในศาลฎีกา 2 คน
- ที่ประชุมใหญ่ศาลปกครองสูงสุดเลือกตุลาการศาลปกครอง
- ที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะใหญ่เลือก 2 คน
- คณะบดีคณะรัฐศาสตร์หรือคณบดีคณะรัฐประศาสนศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัยเลือก 2 คน
ประธานศาลฎีกาเสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการการเลือกตั้งทั้ง 7 คนต่อประธานวุฒิสภาเพื่อเสนอวุฒิสภาให้ความเห็นชอบและนำเสนอพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง
- มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี และเป็นได้วาระเดียว
- รับผิดชอบในการจัดการเลือกตั้ง สว. สส. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กกต. อาจมอบอำนาจเด็ดขาดให้ กกต. จังหวัดดำเนินการ ภายใต้การกำกับดูแลของ กกต. ก็ได้
- ให้มีศาลเลือกตั้งกลางโดยคณะกรรมการตุลาการเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้พิพากษามีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และให้เป็นศาลเฉพาะกิจชั่วคราวมีการกำหนดเวลาการพิจารณาคดีให้ชัดเจน และคำพิพากษาถือเป็นอันสิ้นสุด
- ให้มีศาลเลือกตั้งทุกจังหวัดโดยคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) เป็นผู้แต่งตั้งผู้พิพากษาเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้บริหารท้องถิ่นหรือสภาชิกสภาท้องถิ่น
โดยโฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า พรรคฯ มีความเชื่อมั่นว่า หากการสรรหาคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นไปอย่างที่ได้นำเสนอก็จะมีส่วนอย่างสำคัญให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสามารถทำหน้าที่ได้อย่างสุจริตและเที่ยงธรรม
“แน่นอนที่สุดคงไม่มีกระบวนการสรรหาผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระใดที่จะสมบูรณ์ 100 เปอร์เซนต์ แต่เชื่อว่าวิธีการนี้น่าจะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เกิดความโปร่งใสได้มากที่สุด น่าจะทำให้เกิดการแทรกแซงได้น้อยที่สุด และนี่ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเลือกตั้งในบ้านเมือง ซึ่งเป็นกระบวนการเบื้องต้นในการคัดกรองนักการเมือง ในการคัดกรองผู้คนที่จะเข้าไปสู่อำนาจในทางการเมือง” นายองอาจ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 5 มี.ค. 2550--จบ--