กรุงเทพ--28 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่สหรัฐฯ ได้ต่ออายุการให้สิทธิพิเศษ GSP แก่ประเทศต่าง ๆ ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยเพิ่มหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิ GSP ภายใต้กฎ Competitive need limitation waivers (CNL Waivers) เพื่อกระจายสิทธิประโยชน์ให้ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกไปสหรัฐฯ และให้อำนาจประธานาธิบดีในการใช้ดุลพินิจในการคง/ตัดสิทธิ GSP แก่สินค้าของประเทศต่าง ๆ โดยจะประกาศผลในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 นั้น
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้เผยแพร่รายงานสถิติการนำเข้าของสหรัฐฯ ประจำปี 2549 เพื่อประกอบการพิจารณาขยาย/ตัดสิทธิ GSP แก่สินค้าของประเทศต่าง ๆ โดยมีสินค้าไทยที่อยู่ในข่ายอาจถูกตัดสิทธิจำนวน 4 รายการ ได้แก่ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต ยางรถยนต์ โทรทัศน์สี และสินค้าอัญมณีที่ทำจากทอง
ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ฝ่ายสหรัฐฯ ได้เริ่มกระบวนการทบทวนการต่ออายุ GSP กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้เจรจาโน้มน้าวและผลักดันทางการเมืองกับระดับสูงของทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของสหรัฐฯ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากสิทธิ GSP ของไทย รวมทั้งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกตัดสิทธิ GSP
ผู้แทนระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการฯ ได้ยกเรื่องการต่ออายุ GSP ขึ้นหารือกับฝ่ายสหรัฐฯ รวมทั้งได้มีหนังสือถึง ดร. Condoleezza Rice รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ นาง Susan Schwab ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ นาย Stephen J. Hadley ที่ปรึกษาประธานาธิบดีสหรัฐฯ ด้านความมั่นคง นาย Richard Lugar วุฒิสมาชิกและประธานคณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศ และนาย Christopher “Kit” Bond วุฒิสมาชิกที่มีความใกล้ชิดกับไทย เพื่อชี้ว่า สิทธิพิเศษ GSP มีส่วนสำคัญต่อขยายตัวด้านการส่งออกและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย และการระงับการให้สิทธิพิเศษดังกล่าวจะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศจีน ซึ่งเป็นคู่แข่งที่มีความได้เปรียบไทยในด้านการมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำและได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล
นอกจากนี้ นายเกริกไกร จิระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มีหนังสือถึงนาง Susan Schwab ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ กล่าวถึงประโยชน์ที่ไทยได้รับจาก สิทธิ GSP ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดสหรัฐฯ
เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ในฐานะหัวหน้าทีมประเทศไทย ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในกรุงวอชิงตันในการผลักดันและโน้มน้าวให้ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ พิจารณาสนับสนุนการต่ออายุ GSP ให้ไทย อาทิ นาย Carlos M. Gutierrez รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ นาย Eric John รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ด้านกิจการเอเชียแปซิฟิก นาย Peter Rodman ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และนาย Holly Marrow ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการเอเชียแปซิฟิก สภาความมั่นคงสหรัฐฯ เป็นต้น
ในช่วงที่จะมีการนำร่างกฎหมายการต่ออายุ GSP เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาสหรัฐฯ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันได้มีการหารืออย่างต่อเนื่องกับหน่วยงานและบุคคลฝ่ายสหรัฐที่มีอำนาจตัดสินใจในการพิจารณาทบทวน GSP รวมทั้งได้มีหนังสือถึงสมาชิกรัฐสภาสหรัฐที่มีบทบาทสำคัญและเป็นมิตรกับประเทศไทย เช่น นาย Max Baucus วุฒิสมาชิก นาย Bill Frist วุฒิสมาชิก นาย Charles Grassley วุฒิสมาชิก นาย Bill Thomas สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นาย Harry Reid วุฒิสมาชิก และนาย Charles Rangel สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอรับการสนับสนุนให้มีการคงสิทธิ GSP ให้แก่ไทยอีกทางหนึ่ง โดยย้ำถึงความจำเป็นที่ไทยต้องได้รับสิทธิ GSP ต่อไป เนื่องจากสิทธิ GSP มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการลดช่องว่างทางเศรษฐกิจของประชาชนในประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางในธุรกิจอัญมณีของไทย ซึ่งมีแรงงานส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ในภาคใต้ นอกจากนี้ การคงการให้สิทธิ GSP แก่ไทยต่อไป จะช่วยให้ไทยสามารถรักษาระดับการแข่งขันกับต่างชาติ โดยเฉพาะจีน ซึ่งได้แย่งตลาดของไทยในสหรัฐฯ ไปมากแล้ว
จากการที่ USTR ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน (stakeholders) สามารถชี้แจงและให้ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณากฎเกณฑ์การต่ออายุสิทธิ GSP กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์และสมาคมภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิ GSP มากที่สุด โดยได้มีการจัดให้ภาคเอกชนไทยได้พบหารือกับฝ่ายสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำข้อมูลและข้อคิดเห็นต่าง ๆ (comments) ของภาคเอกชนเพื่อประกอบการพิจารณาของฝ่ายสหรัฐฯ รวมทั้งได้มีการประสานงานในการว่าจ้างบริษัท Preston Gate Ellis เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยผลักดันให้รัฐสภาสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนไทยด้วย
นอกจากนี้ กรมการค้าต่างประเทศ และสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ และกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกรวม 113 ราย ได้ส่งข้อมูลและข้อคิดเห็นไปยัง USTR เพื่อขอให้พิจารณาการต่ออายุ GSP ให้กับไทย สรุปประเด็นที่ปรากฏในเอกสารชี้แจงของไทยจัดทำโดยกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับภาคเอกชน
สำหรับข้อเท็จจริงในการตัดสิทธิ GSP ของสินค้าไทยทั้ง 4 รายการนั้น ทางการสหรัฐฯ สามารถกระทำได้เนื่องจากสินค้าทั้ง 4 รายการของไทยมีมูลค่าส่งออกเกินเพดานที่กำหนดในกฎหมายฉบับใหม่ ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ชี้แจงว่า หากไทยจะถูกตัดสิทธิ GSP ก็จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นอื่นๆ รวมทั้งการใช้มาตรการ CL และการถูกปรับลดสถานะจาก PL เป็น PWL ตามมาตรา 301 พิเศษ
อย่างไรก็ดี โดยที่กฎหมาย GSP ฉบับใหม่ ระบุให้ฝ่ายบริหารต้องหารือกับรัฐสภาเกี่ยวกับความเหมาะสมที่จะตัด GSP สินค้าของประเทศต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดถึงผลการหารือดังกล่าว ว่าจะออกมาในทิศทางใด และขณะนี้ ผู้แทนสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยฯ ได้เดินทางไปกรุงวอชิงตันเพื่อชี้แจงให้ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติทราบถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมอัญมณีหากสินค้าอัญมณีถูกตัด GSP
แม้สหรัฐฯ ได้ต่อสิทธิ GSP ในระดับประเทศให้แก่ไทยออกไปอีก 2 ปี แต่ในอนาคต เมื่อไทยมีระดับการพัฒนาที่สูงขึ้น สหรัฐฯ คงจะทบทวนในเรื่องนี้ ดังนั้น ผู้ประกอบการของไทยจะต้องเร่งปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพสินค้าที่ดีขึ้น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ลดการพึ่งพาระบบ GSP ของสหรัฐฯ รวมทั้งจะต้องมองหาตลาดส่งออกอื่นๆ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
ในการนี้ สินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP ไปแล้ว แต่ประสงค์จะขอรับสิทธิอีก สามารถกระทำได้ โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นขอคืนสิทธิ (redesignation) หรือขอรับการยกเว้น (petition) ภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยจะต้องรอจนกว่ามูลค่าการส่งออกของสินค้ารายการนั้นๆ ลดลงจนต่ำกว่าเพดานตามกฎหมาย GSP หรือ 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนจึงจะสามารถยื่นขอสิทธิได้ ทั้งนี้ บริษัทบริดจ์สโตนของไทยได้ยื่นขอรับการยกเว้นการถูกตัดสิทธิสำหรับสินค้ายางรถยนต์แล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 ซึ่งคาดว่าจะประกาศผลการพิจารณาในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่สหรัฐฯ ได้ต่ออายุการให้สิทธิพิเศษ GSP แก่ประเทศต่าง ๆ ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 โดยเพิ่มหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สิทธิ GSP ภายใต้กฎ Competitive need limitation waivers (CNL Waivers) เพื่อกระจายสิทธิประโยชน์ให้ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ อันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการส่งออกไปสหรัฐฯ และให้อำนาจประธานาธิบดีในการใช้ดุลพินิจในการคง/ตัดสิทธิ GSP แก่สินค้าของประเทศต่าง ๆ โดยจะประกาศผลในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 นั้น
เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้เผยแพร่รายงานสถิติการนำเข้าของสหรัฐฯ ประจำปี 2549 เพื่อประกอบการพิจารณาขยาย/ตัดสิทธิ GSP แก่สินค้าของประเทศต่าง ๆ โดยมีสินค้าไทยที่อยู่ในข่ายอาจถูกตัดสิทธิจำนวน 4 รายการ ได้แก่ โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต ยางรถยนต์ โทรทัศน์สี และสินค้าอัญมณีที่ทำจากทอง
ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2548 ฝ่ายสหรัฐฯ ได้เริ่มกระบวนการทบทวนการต่ออายุ GSP กระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้เจรจาโน้มน้าวและผลักดันทางการเมืองกับระดับสูงของทั้งฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของสหรัฐฯ เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากสิทธิ GSP ของไทย รวมทั้งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงที่อาจเกิดขึ้นจากการถูกตัดสิทธิ GSP
ผู้แทนระดับสูงของกระทรวงการต่างประเทศ โดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการฯ ได้ยกเรื่องการต่ออายุ GSP ขึ้นหารือกับฝ่ายสหรัฐฯ รวมทั้งได้มีหนังสือถึง ดร. Condoleezza Rice รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ นาง Susan Schwab ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ นาย Stephen J. Hadley ที่ปรึกษาประธานาธิบดีสหรัฐฯ ด้านความมั่นคง นาย Richard Lugar วุฒิสมาชิกและประธานคณะกรรมาธิการด้านการต่างประเทศ และนาย Christopher “Kit” Bond วุฒิสมาชิกที่มีความใกล้ชิดกับไทย เพื่อชี้ว่า สิทธิพิเศษ GSP มีส่วนสำคัญต่อขยายตัวด้านการส่งออกและการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทย และการระงับการให้สิทธิพิเศษดังกล่าวจะส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศจีน ซึ่งเป็นคู่แข่งที่มีความได้เปรียบไทยในด้านการมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำและได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล
นอกจากนี้ นายเกริกไกร จิระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มีหนังสือถึงนาง Susan Schwab ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ กล่าวถึงประโยชน์ที่ไทยได้รับจาก สิทธิ GSP ของสหรัฐฯ โดยเฉพาะต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดสหรัฐฯ
เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ในฐานะหัวหน้าทีมประเทศไทย ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในกรุงวอชิงตันในการผลักดันและโน้มน้าวให้ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ พิจารณาสนับสนุนการต่ออายุ GSP ให้ไทย อาทิ นาย Carlos M. Gutierrez รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ นาย Eric John รองผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ด้านกิจการเอเชียแปซิฟิก นาย Peter Rodman ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และนาย Holly Marrow ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการเอเชียแปซิฟิก สภาความมั่นคงสหรัฐฯ เป็นต้น
ในช่วงที่จะมีการนำร่างกฎหมายการต่ออายุ GSP เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาสหรัฐฯ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันได้มีการหารืออย่างต่อเนื่องกับหน่วยงานและบุคคลฝ่ายสหรัฐที่มีอำนาจตัดสินใจในการพิจารณาทบทวน GSP รวมทั้งได้มีหนังสือถึงสมาชิกรัฐสภาสหรัฐที่มีบทบาทสำคัญและเป็นมิตรกับประเทศไทย เช่น นาย Max Baucus วุฒิสมาชิก นาย Bill Frist วุฒิสมาชิก นาย Charles Grassley วุฒิสมาชิก นาย Bill Thomas สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นาย Harry Reid วุฒิสมาชิก และนาย Charles Rangel สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอรับการสนับสนุนให้มีการคงสิทธิ GSP ให้แก่ไทยอีกทางหนึ่ง โดยย้ำถึงความจำเป็นที่ไทยต้องได้รับสิทธิ GSP ต่อไป เนื่องจากสิทธิ GSP มีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและการลดช่องว่างทางเศรษฐกิจของประชาชนในประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลางในธุรกิจอัญมณีของไทย ซึ่งมีแรงงานส่วนใหญ่มาจากพื้นที่ในภาคใต้ นอกจากนี้ การคงการให้สิทธิ GSP แก่ไทยต่อไป จะช่วยให้ไทยสามารถรักษาระดับการแข่งขันกับต่างชาติ โดยเฉพาะจีน ซึ่งได้แย่งตลาดของไทยในสหรัฐฯ ไปมากแล้ว
จากการที่ USTR ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน (stakeholders) สามารถชี้แจงและให้ข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณากฎเกณฑ์การต่ออายุสิทธิ GSP กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์และสมาคมภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากการถูกตัดสิทธิ GSP มากที่สุด โดยได้มีการจัดให้ภาคเอกชนไทยได้พบหารือกับฝ่ายสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำข้อมูลและข้อคิดเห็นต่าง ๆ (comments) ของภาคเอกชนเพื่อประกอบการพิจารณาของฝ่ายสหรัฐฯ รวมทั้งได้มีการประสานงานในการว่าจ้างบริษัท Preston Gate Ellis เพื่อให้คำปรึกษาและช่วยผลักดันให้รัฐสภาสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนไทยด้วย
นอกจากนี้ กรมการค้าต่างประเทศ และสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ และกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติกรวม 113 ราย ได้ส่งข้อมูลและข้อคิดเห็นไปยัง USTR เพื่อขอให้พิจารณาการต่ออายุ GSP ให้กับไทย สรุปประเด็นที่ปรากฏในเอกสารชี้แจงของไทยจัดทำโดยกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับภาคเอกชน
สำหรับข้อเท็จจริงในการตัดสิทธิ GSP ของสินค้าไทยทั้ง 4 รายการนั้น ทางการสหรัฐฯ สามารถกระทำได้เนื่องจากสินค้าทั้ง 4 รายการของไทยมีมูลค่าส่งออกเกินเพดานที่กำหนดในกฎหมายฉบับใหม่ ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ชี้แจงว่า หากไทยจะถูกตัดสิทธิ GSP ก็จะไม่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นอื่นๆ รวมทั้งการใช้มาตรการ CL และการถูกปรับลดสถานะจาก PL เป็น PWL ตามมาตรา 301 พิเศษ
อย่างไรก็ดี โดยที่กฎหมาย GSP ฉบับใหม่ ระบุให้ฝ่ายบริหารต้องหารือกับรัฐสภาเกี่ยวกับความเหมาะสมที่จะตัด GSP สินค้าของประเทศต่าง ๆ ดังนั้น จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดถึงผลการหารือดังกล่าว ว่าจะออกมาในทิศทางใด และขณะนี้ ผู้แทนสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยฯ ได้เดินทางไปกรุงวอชิงตันเพื่อชี้แจงให้ฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติทราบถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมอัญมณีหากสินค้าอัญมณีถูกตัด GSP
แม้สหรัฐฯ ได้ต่อสิทธิ GSP ในระดับประเทศให้แก่ไทยออกไปอีก 2 ปี แต่ในอนาคต เมื่อไทยมีระดับการพัฒนาที่สูงขึ้น สหรัฐฯ คงจะทบทวนในเรื่องนี้ ดังนั้น ผู้ประกอบการของไทยจะต้องเร่งปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพสินค้าที่ดีขึ้น เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขัน ลดการพึ่งพาระบบ GSP ของสหรัฐฯ รวมทั้งจะต้องมองหาตลาดส่งออกอื่นๆ เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อไป
ในการนี้ สินค้าที่ถูกตัดสิทธิ GSP ไปแล้ว แต่ประสงค์จะขอรับสิทธิอีก สามารถกระทำได้ โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นขอคืนสิทธิ (redesignation) หรือขอรับการยกเว้น (petition) ภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี โดยจะต้องรอจนกว่ามูลค่าการส่งออกของสินค้ารายการนั้นๆ ลดลงจนต่ำกว่าเพดานตามกฎหมาย GSP หรือ 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนจึงจะสามารถยื่นขอสิทธิได้ ทั้งนี้ บริษัทบริดจ์สโตนของไทยได้ยื่นขอรับการยกเว้นการถูกตัดสิทธิสำหรับสินค้ายางรถยนต์แล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2549 ซึ่งคาดว่าจะประกาศผลการพิจารณาในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-