สรุปการสัมมนาวิชาการเวทีสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (FPO Forum) ภายใต้โครงการขยายบทบาทสำนักงานเศรษฐกิจการคลังสู่ภูมิภาค ณ จังหวัดพิษณุโลก
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้กล่าวเปิดการสัมมนาวิชาการภายใต้โครงการขยายบทบาท สศค. สู่ภูมิภาค ณ จังหวัดพิษณุโลก ในวันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2550 ณ ห้องวังธารา โรงแรมอมรินทร์ ลากูน จังหวัดพิษณุโลก และได้บรรยายเรื่อง “การพัฒนาเศรษฐกิจภาคเหนือ: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก” ดังนี้
ในไตรมาสแรกของปี 2550 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 4.3 เท่ากับไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการเกษตร ภาคการบริการบางสาขา และภาคการส่งออก อย่างไรก็ดี การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนมีการชะลอตัวและหดตัวลงมาก ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น โจทย์ในระดับมหภาค (Macro) ของรัฐบาลคือการใช้นโยบายการคลังและการเงินเพื่อการฟื้นตัวของ การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ควบคู่ไปกับการรักษาเป้าหมายการส่งออก
จากสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมา สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะใกล้หรือผ่านจุดต่ำสุดของปีมาแล้ว สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง มีปัจจัยบวก ได้แก่ ความชัดเจนทางการเมือง การใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจครึ่งปีหลังดีกว่าครึ่งปีแรก โดยการบริโภคและการลงทุนคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐบาล ธุรกิจ และประชาชน อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอันประกอบด้วย ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวลง ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่าขึ้น จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมา สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2550 น่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.8 — 4.3 โดยมีการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ
สำหรับประเด็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจมหภาคสู่ระดับภูมิภาคนั้น โจทย์ในระดับจุลภาค (Micro) ของจังหวัดพิษณุโลกคือการสร้างการเจริญเติบโตอย่างสมดุล ทั้งภาคบริการ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ทั้งนี้ แนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลกอย่างสมดุล ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม แบ่งได้เป็น 3 แนวทาง ได้แก่ การพัฒนาสาขาการผลิตอื่นๆ ในภาคบริการให้มากขึ้น การเพิ่มบทบาทของภาคอุตสาหกรรมใน GPP และการเพิ่มความหลากหลายของผลผลิตทางการเกษตร โดยในส่วนของ สศค. ได้สนับสนุนการพัฒนาของท้องถิ่นผ่านการบริหารนโยบายการคลัง รวมถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยเฉพาะการวางแผนจัดสรรภาษีและเงินอุดหนุนให้ท้องถิ่น
ในช่วงต่อมา เป็นการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลก” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายพงศ์นคร โภชากรณ์ ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นายรุ่งชัย แพศย์ศกล คลังจังหวัดพิษณุโลก นายวิเศษ วชิราศรีศิริกุล ประธานสภาหอการค้าจังหวัดพิษณุโลก และผศ. ดร. มนตรี กรรพุมมาลย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยผลการเสวนา สรุปได้ว่า เศรษฐกิจโดยรวมของภาคเหนือ เมื่อพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค (GRP) แล้ว พบว่าภาคการบริการเป็นภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รองลงมาได้แก่ ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมตามลำดับ ซึ่งปัจจัยสำคัญของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ การขยายตัวของภาคการค้าส่งค้าปลีก การบริการของภาครัฐ และการบริการด้านสุขภาพ เป็นหลัก ในส่วนของเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลก พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภาคบริการเริ่มมีบทบาทในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทลดลง ดังนั้น แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดในอนาคตจึงควรเน้นการเพิ่มบทบาทของภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมการขยายตัวของภาคบริการให้ส่งผลดีต่อการขยายตัวในเศรษฐกิจภาคอื่นๆ ด้วย
ทั้งนี้ จังหวัดพิษณุโลกยังได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดในอนาคตโดยอาศัยความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ ในการพัฒนาไปสู่การเป็น “สี่แยกอินโดจีน” (ย่างกุ้ง- พิษณุโลก, คุณหมิง — พิษณุโลก, กัวลาลัมเปอร์ — พิษณุโลก และ ดานัง — พิษณุโลก) ซึ่งจะสามารถเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าจากประเทศจีนตอนใต้ไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาค รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าระหว่างประเทศพม่าและเวียดนาม ซึ่งการจะพัฒนาไปสู่เป้าหมายดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยแนวทางการพัฒนาที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคต่างๆ เช่น ภาครัฐควรมีการเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อกำหนดเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาจังหวัด ภาคการเมืองท้องถิ่นในระดับต่างๆ ควรมีการร่วมมือกันในการกำหนดแนวทางดำเนินการ ภาคการศึกษาซึ่งควรเพิ่มบทบาทในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความสามารถด้านภาษาเพื่อรองรับการให้บริการแก่ประเทศอื่นๆ ในขณะที่ภาคธุรกิจก็จะต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นนอกจากนี้ จังหวัดพิษณุโลกยังมีศักยภาพในการพัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางในด้านอื่นๆ ได้แก่ การเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการเกษตร และด้านสุขภาพ
สำหรับมุมมองของภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดนั้น เห็นว่า ควรเน้นการสร้างรายได้ประจำให้ประชาชนในภาคเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เศรษฐกิจจังหวัด และการพัฒนาไปสู่ “สี่แยก อินโดจีน” นั้น ควรเน้นการเพิ่มบทบาทของประชาชนในจังหวัดให้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในการเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย
สำหรับผลสรุปจากการประชุมในครั้งนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาเศรษฐกิจของภาคเหนือและพิษณุโลก ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะดำเนินการพิจารณาและศึกษาต่อ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคต่อไป
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0-2273-9020 ต่อ 3547,3558
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 57/2550 6 กรกฎาคม 50--
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้กล่าวเปิดการสัมมนาวิชาการภายใต้โครงการขยายบทบาท สศค. สู่ภูมิภาค ณ จังหวัดพิษณุโลก ในวันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม 2550 ณ ห้องวังธารา โรงแรมอมรินทร์ ลากูน จังหวัดพิษณุโลก และได้บรรยายเรื่อง “การพัฒนาเศรษฐกิจภาคเหนือ: กรณีศึกษาจังหวัดพิษณุโลก” ดังนี้
ในไตรมาสแรกของปี 2550 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 4.3 เท่ากับไตรมาสที่ 4 ของปีก่อน เนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการเกษตร ภาคการบริการบางสาขา และภาคการส่งออก อย่างไรก็ดี การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนมีการชะลอตัวและหดตัวลงมาก ซึ่งถือว่าต่ำสุดในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา ดังนั้น โจทย์ในระดับมหภาค (Macro) ของรัฐบาลคือการใช้นโยบายการคลังและการเงินเพื่อการฟื้นตัวของ การบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน ควบคู่ไปกับการรักษาเป้าหมายการส่งออก
จากสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมา สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะใกล้หรือผ่านจุดต่ำสุดของปีมาแล้ว สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง มีปัจจัยบวก ได้แก่ ความชัดเจนทางการเมือง การใช้นโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจครึ่งปีหลังดีกว่าครึ่งปีแรก โดยการบริโภคและการลงทุนคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐบาล ธุรกิจ และประชาชน อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงอันประกอบด้วย ภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจชะลอตัวลง ราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นต่อเนื่อง และค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่าขึ้น จากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมา สศค. คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2550 น่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.8 — 4.3 โดยมีการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ
สำหรับประเด็นการเชื่อมโยงเศรษฐกิจมหภาคสู่ระดับภูมิภาคนั้น โจทย์ในระดับจุลภาค (Micro) ของจังหวัดพิษณุโลกคือการสร้างการเจริญเติบโตอย่างสมดุล ทั้งภาคบริการ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม ทั้งนี้ แนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลกอย่างสมดุล ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้การบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม แบ่งได้เป็น 3 แนวทาง ได้แก่ การพัฒนาสาขาการผลิตอื่นๆ ในภาคบริการให้มากขึ้น การเพิ่มบทบาทของภาคอุตสาหกรรมใน GPP และการเพิ่มความหลากหลายของผลผลิตทางการเกษตร โดยในส่วนของ สศค. ได้สนับสนุนการพัฒนาของท้องถิ่นผ่านการบริหารนโยบายการคลัง รวมถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น โดยเฉพาะการวางแผนจัดสรรภาษีและเงินอุดหนุนให้ท้องถิ่น
ในช่วงต่อมา เป็นการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลก” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย นายพงศ์นคร โภชากรณ์ ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นายรุ่งชัย แพศย์ศกล คลังจังหวัดพิษณุโลก นายวิเศษ วชิราศรีศิริกุล ประธานสภาหอการค้าจังหวัดพิษณุโลก และผศ. ดร. มนตรี กรรพุมมาลย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยผลการเสวนา สรุปได้ว่า เศรษฐกิจโดยรวมของภาคเหนือ เมื่อพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภาค (GRP) แล้ว พบว่าภาคการบริการเป็นภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รองลงมาได้แก่ ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมตามลำดับ ซึ่งปัจจัยสำคัญของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ การขยายตัวของภาคการค้าส่งค้าปลีก การบริการของภาครัฐ และการบริการด้านสุขภาพ เป็นหลัก ในส่วนของเศรษฐกิจจังหวัดพิษณุโลก พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ภาคบริการเริ่มมีบทบาทในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีบทบาทลดลง ดังนั้น แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดในอนาคตจึงควรเน้นการเพิ่มบทบาทของภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมการขยายตัวของภาคบริการให้ส่งผลดีต่อการขยายตัวในเศรษฐกิจภาคอื่นๆ ด้วย
ทั้งนี้ จังหวัดพิษณุโลกยังได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดในอนาคตโดยอาศัยความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ ในการพัฒนาไปสู่การเป็น “สี่แยกอินโดจีน” (ย่างกุ้ง- พิษณุโลก, คุณหมิง — พิษณุโลก, กัวลาลัมเปอร์ — พิษณุโลก และ ดานัง — พิษณุโลก) ซึ่งจะสามารถเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าจากประเทศจีนตอนใต้ไปสู่ประเทศอื่นในภูมิภาค รวมถึงเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าระหว่างประเทศพม่าและเวียดนาม ซึ่งการจะพัฒนาไปสู่เป้าหมายดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยแนวทางการพัฒนาที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคต่างๆ เช่น ภาครัฐควรมีการเชื่อมโยงแผนยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อกำหนดเป็นแผนแม่บทในการพัฒนาจังหวัด ภาคการเมืองท้องถิ่นในระดับต่างๆ ควรมีการร่วมมือกันในการกำหนดแนวทางดำเนินการ ภาคการศึกษาซึ่งควรเพิ่มบทบาทในการสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพและมีความสามารถด้านภาษาเพื่อรองรับการให้บริการแก่ประเทศอื่นๆ ในขณะที่ภาคธุรกิจก็จะต้องปรับตัวเพื่อรองรับกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นนอกจากนี้ จังหวัดพิษณุโลกยังมีศักยภาพในการพัฒนาจังหวัดให้เป็นศูนย์กลางในด้านอื่นๆ ได้แก่ การเป็นศูนย์กลางท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการเกษตร และด้านสุขภาพ
สำหรับมุมมองของภาคเอกชนในการพัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดนั้น เห็นว่า ควรเน้นการสร้างรายได้ประจำให้ประชาชนในภาคเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เศรษฐกิจจังหวัด และการพัฒนาไปสู่ “สี่แยก อินโดจีน” นั้น ควรเน้นการเพิ่มบทบาทของประชาชนในจังหวัดให้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในการเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคด้วย
สำหรับผลสรุปจากการประชุมในครั้งนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับการ พัฒนาเศรษฐกิจของภาคเหนือและพิษณุโลก ทางสำนักงานเศรษฐกิจการคลังจะดำเนินการพิจารณาและศึกษาต่อ เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาคต่อไป
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0-2273-9020 ต่อ 3547,3558
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 57/2550 6 กรกฎาคม 50--