นายสมชัย สัจจพงษ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังได้แถลงฐานะ
การคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 สรุปได้ว่า รัฐบาลมี
รายได้นำส่งคลังรวมทั้งสิ้น 800,102 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.9 ในขณะที่รัฐบาลมีการ
ใช้จ่ายเงินทั้งสิ้น 990,363 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.1 ส่งผลให้ดุลเงินงบ
ประมาณในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ขาดดุล 190,261 ล้านบาท โดยขาดดุลเพิ่มขึ้นเมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 60,560 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.7 และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่
ขาดดุลจำนวน 53,852 ล้านบาทแล้ว ทำให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ของรัฐบาลขาดดุลทั้งสิ้น 244,113
ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลโดยการใช้เงินคงคลัง 100,453 ล้านบาท การออกพันธบัตรจำนวน
97,115 ล้านบาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 46,545 ล้านบาท ทั้งนี้ การขาดดุลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึง
บทบาทของนโยบายการคลังในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
1. รายได้นำส่งคลัง ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง
ทั้งสิ้น 800,102 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.9 โดยรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันปีก่อนในอัตราสูงที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเบียร์ ภาษียาสูบ ภาษีสุรา ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา ภาษีน้ำมัน และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม นอกจากนี้รายได้จากรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการอื่นก็
เพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกัน
2. รายจ่ายรัฐบาล ในเดือนพฤษภาคม 2550 รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 137,086 ล้านบาท
โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 90,381 ล้านบาท รายจ่ายลงทุน 40,931 ล้านบาท และรายจ่ายจากงบ
ประมาณปีก่อน 5,775 ล้านบาท (ตารางที่ 1) และในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 การเบิก
จ่ายของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 990,363 ล้านบาท สูงกว่าการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.1
โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 906,609 ล้านบาท อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 57.9 ของวงเงิน
งบประมาณ (1,566,200 ล้านบาท) และรายจ่ายปีก่อน 83,754 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนพฤษภาคมของปีงบประมาณ 2550
หน่วย: ล้านบาท
เดือนพฤษภาคม เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 131,311.65 82,182.80 49,128.85 59.8
1.1 รายจ่ายประจำ 90,380.85 68,971.24 21,409.61 31
1.2 รายจ่ายลงทุน 40,930.80 13,211.56 27,719.24 209.8
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 5,774.68 6,696.00 -921.32 -13.8
3. รายจ่ายรวม (1+2) 137,086.33 88,878.80 48,207.53 54.2
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
ตารางที่ 2 การเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550
หน่วย: ล้านบาท
ช่วง 8 เดือนแรก เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 906,609.25 810,986.42 95,622.83 11.8
1.1 รายจ่ายประจำ 744,786.67 638,513.46 106,273.21 16.6
1.2 รายจ่ายลงทุน 161,822.58 172,472.96 -10,650.38 -6.2
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 83,754.09 96,433.00 -12,678.91 -13.1
3. รายจ่ายรวม (1+2) 990,363.34 907,419.42 82,943.92 9.1
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
3. ดุลการคลังรัฐบาลตามกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ของรัฐบาลข้างต้นส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลทั้งสิ้น 190,261 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบ
ประมาณที่ขาดดุลจำนวน 53,852 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ่ายเงินเหลื่อมจ่ายจากปีงบประมาณ
2549 และการถอนเงินฝากนอกงบประมาณเพื่อโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นจำนวน 31,272 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ขาดดุลทั้งสิ้น 244,113 ล้านบาท
(ตารางที่ 3) โดยรัฐบาลชดเชยการขาดดุลด้วยการใช้เงินคงคลัง 100,453 ล้านบาท การออกพันธบัตรจำนวน
97,115 ล้านบาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 46,545 ล้านบาท
ตารางที่ 3 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกปีงบประมาณ 2550
(ตุลาคม 2549 — พฤษภาคม 2550)
หน่วย: ล้านบาท
8 เดือนแรก เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้นำส่งคลัง 800,102.33 777,718.07 22,384.26 2.9
2. รายจ่าย 990,363.34 907,419.42 82,943.92 9.1
2.1 จากงบประมาณปีปัจจุบัน 906,609.25 810,986.42 95,622.83 11.8
2.2 จากงบประมาณปีก่อน 83,754.09 96,433.00 -12,678.91 -13.1
3. ดุลเงินงบประมาณ -190,261.01 -129,701.35 -60,559.66 46.7
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -53,851.67 56,065.80 -109,917.47 -196.1
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -244,112.68 -73,635.55 -170,477.13 231.5
6. กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 143,660.00 - - -
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -100,452.68 -73,635.55 -26,817.13 36.4
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมบัญชีกลาง
ข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 0-2273-9021 ต่อ 3558
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 48/2550 15 มิถุนายน 50--
การคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 สรุปได้ว่า รัฐบาลมี
รายได้นำส่งคลังรวมทั้งสิ้น 800,102 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.9 ในขณะที่รัฐบาลมีการ
ใช้จ่ายเงินทั้งสิ้น 990,363 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.1 ส่งผลให้ดุลเงินงบ
ประมาณในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 ขาดดุล 190,261 ล้านบาท โดยขาดดุลเพิ่มขึ้นเมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 60,560 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.7 และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่
ขาดดุลจำนวน 53,852 ล้านบาทแล้ว ทำให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ของรัฐบาลขาดดุลทั้งสิ้น 244,113
ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลโดยการใช้เงินคงคลัง 100,453 ล้านบาท การออกพันธบัตรจำนวน
97,115 ล้านบาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 46,545 ล้านบาท ทั้งนี้ การขาดดุลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึง
บทบาทของนโยบายการคลังในการสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
1. รายได้นำส่งคลัง ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง
ทั้งสิ้น 800,102 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.9 โดยรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันปีก่อนในอัตราสูงที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเบียร์ ภาษียาสูบ ภาษีสุรา ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีเงินได้
บุคคลธรรมดา ภาษีน้ำมัน และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม นอกจากนี้รายได้จากรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการอื่นก็
เพิ่มขึ้นมากเช่นเดียวกัน
2. รายจ่ายรัฐบาล ในเดือนพฤษภาคม 2550 รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 137,086 ล้านบาท
โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 90,381 ล้านบาท รายจ่ายลงทุน 40,931 ล้านบาท และรายจ่ายจากงบ
ประมาณปีก่อน 5,775 ล้านบาท (ตารางที่ 1) และในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 การเบิก
จ่ายของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 990,363 ล้านบาท สูงกว่าการเบิกจ่ายในช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.1
โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน 906,609 ล้านบาท อัตราการเบิกจ่ายคิดเป็นร้อยละ 57.9 ของวงเงิน
งบประมาณ (1,566,200 ล้านบาท) และรายจ่ายปีก่อน 83,754 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนพฤษภาคมของปีงบประมาณ 2550
หน่วย: ล้านบาท
เดือนพฤษภาคม เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 131,311.65 82,182.80 49,128.85 59.8
1.1 รายจ่ายประจำ 90,380.85 68,971.24 21,409.61 31
1.2 รายจ่ายลงทุน 40,930.80 13,211.56 27,719.24 209.8
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 5,774.68 6,696.00 -921.32 -13.8
3. รายจ่ายรวม (1+2) 137,086.33 88,878.80 48,207.53 54.2
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
ตารางที่ 2 การเบิกจ่ายงบประมาณในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550
หน่วย: ล้านบาท
ช่วง 8 เดือนแรก เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 906,609.25 810,986.42 95,622.83 11.8
1.1 รายจ่ายประจำ 744,786.67 638,513.46 106,273.21 16.6
1.2 รายจ่ายลงทุน 161,822.58 172,472.96 -10,650.38 -6.2
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 83,754.09 96,433.00 -12,678.91 -13.1
3. รายจ่ายรวม (1+2) 990,363.34 907,419.42 82,943.92 9.1
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
3. ดุลการคลังรัฐบาลตามกระแสเงินสด จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ
ของรัฐบาลข้างต้นส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลทั้งสิ้น 190,261 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบ
ประมาณที่ขาดดุลจำนวน 53,852 ล้านบาท ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจ่ายเงินเหลื่อมจ่ายจากปีงบประมาณ
2549 และการถอนเงินฝากนอกงบประมาณเพื่อโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่นจำนวน 31,272 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลัง (ดุลเงินสด) ขาดดุลทั้งสิ้น 244,113 ล้านบาท
(ตารางที่ 3) โดยรัฐบาลชดเชยการขาดดุลด้วยการใช้เงินคงคลัง 100,453 ล้านบาท การออกพันธบัตรจำนวน
97,115 ล้านบาท และการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน 46,545 ล้านบาท
ตารางที่ 3 ฐานะการคลังตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกปีงบประมาณ 2550
(ตุลาคม 2549 — พฤษภาคม 2550)
หน่วย: ล้านบาท
8 เดือนแรก เปลี่ยนแปลง
ปีงบประมาณ 2550 ปีงบประมาณ 2549 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้นำส่งคลัง 800,102.33 777,718.07 22,384.26 2.9
2. รายจ่าย 990,363.34 907,419.42 82,943.92 9.1
2.1 จากงบประมาณปีปัจจุบัน 906,609.25 810,986.42 95,622.83 11.8
2.2 จากงบประมาณปีก่อน 83,754.09 96,433.00 -12,678.91 -13.1
3. ดุลเงินงบประมาณ -190,261.01 -129,701.35 -60,559.66 46.7
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -53,851.67 56,065.80 -109,917.47 -196.1
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -244,112.68 -73,635.55 -170,477.13 231.5
6. กู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 143,660.00 - - -
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -100,452.68 -73,635.55 -26,817.13 36.4
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมบัญชีกลาง
ข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 0-2273-9021 ต่อ 3558
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 48/2550 15 มิถุนายน 50--