เป็นวิกฤติภายในของเรา หรือเป็นวิกฤติที่มาจากข้างนอกด้วย วิกฤติภายในของเราเช่น 14 ตุลาคม 16, 6 ตุลา 19 รวมทั้ง 2549 วิกฤติที่สุดในโลกก็เป็นวิกฤติภายใน ผมได้ลำดับเหตุการณ์เฉพาะในช่วงที่เห็นว่าเราได้เห็นด้วยตาเราเอง ทั้งในฐานะคน ๆ หนึ่ง ในฐานะผู้แทนราษฎร ในฐานะรัฐบาล ว่าช่วงระยะเวลา 60 ปีที่ผ่านมานี้ ได้เกิดวิกฤติขึ้นในบ้านเมืองหลายครั้ง และทุกครั้งก็ต้องอาศัยพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการที่จะยุติวิกฤติเหล่านั้นลงไป ไม่ว่า 14 ตุลา 16 หรือพฤษภา 35 แต่ว่าวิกฤติที่มาจากข้างนอกที่รุนแรงมากถึงขั้น เสียบ้านเสียเมืองนั้นก็คือวิกฤติที่เราไม่อยู่ในบัญชีนี้ แต่ว่าเป็นวิกฤติที่เกิดขึ้นมาในภูมิภาคนี้ในอินโดจีน จนเชื่อว่าไทยก็จะเป็นหนึ่งในประเทศที่จะต้องล้มไปตามทฤษฎีโดมิโน ผมเรียนท่านเรื่องนี้เพราะว่าผมมีเพื่อนบางคนที่เชื่อว่าไทยก็ไม่รอดแล้ว ในที่สุดเขาย้ายไปอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เดี๋ยวนี้ยังอยู่ในอเมริกา เรียนธรรมศาสตร์ด้วยกัน เขาประเมินเหตุการณ์ว่าไทยก็จะเหมือนกับลาว เขมร เวียดนาม คืออยู่ไม่ได้ กระแสในช่วงนั้นคนที่เผชิญกับเหตุการณ์ในช่วงนั้นจะตระหนักนะครับว่ามันมีกระแสจากข้างนอกรุนแรงถึงความเปลี่ยนแปลง กระแสสังคมนิยมรุนแรงมาก ปี 2518 การเลือกตั้งคะแนนพรรคสังคมนิยมนั้นขึ้นมากเลยนะครับ ขึ้นมากได้รับเลือกตั้งอย่างมากแล้วก็เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในประเทศอินโดจีน เจ้ามหาชีวิตลาว ก็พ้นไปด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พูดง่าย ๆ สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ล้มไป เวียดนามก็ล้มไป กัมพูชาก็ล้มไป ไทยอยู่ติด ๆ ตรงนี้ เขาเชื่อว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะต้องล้มตามอินโดจีนเหล่านั้น เป็นความเชื่อคนส่วนใหญ่ในเวลานั้น แต่ว่าท่านเชื่อไม๊ครับ ว่าในที่สุดเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นในประเทศอินโดจีน คนไทยถึงได้ตื่น ถึงได้เริ่มตระหนักและมองเห็นกระจ่างชัดได้ว่า อะไรจะเกิดขึ้นต่อบ้านตัวเอง คนไทยส่วนหนึ่งตั้งหลัก ตั้งหลักทบทวนตัวเอง เราวัดได้จากการเลือกตั้งเมื่อปี 2519 คะแนนที่เคยเปลี่ยนแปลงอย่างน่าตกใจในปี 2518 นั้นกลับตรงข้ามหมด พูดง่าย ๆ ว่าจาก 8,000 ก็เหลือ 800 นั่นเพราะมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในอินโดจีน ทำให้คนตกใจ แต่ว่าทั้งหมดนี้เพราะอะไร เพราะพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงสั่งสมให้เกิดความจงรักภักดีเกิดความรู้สึกผูกพันหวงแหนไม่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นมาอยู่ในประเทศนี้ ผมคิดว่าช่วงนั้นบ้านเมืองรอดพ้นเหตุการณ์ปี 18 แม้ปี 19 6 ตุลาคม เกิดเหตุรุนแรงสูญเสียมากมาย แล้วมีคนเข้าป่า 2,000 กว่าคน มีนักศึกษาคนหนุ่มคนสาว 2,000 กว่าคน ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่ผมเองเป็นคนถามในปี 2522 ถามรองผู้บัญชาการทหารบกที่มาชี้แจงกรรมาธิการฝ่ายปกครอง ผมเป็นอยู่ด้วยว่ามีคนเข้าป่าเท่าไหร่ ท่านก็บอกว่าประมาณ 2,000 กว่าคน เข้าไปด้วยความอยากจะเปลี่ยนแปลงเป็นคอมมิวนิสต์ก็มี เข้าไปเพราะถูกกดดัน ถูกใส่ใคร้ เข้าไปเพื่อความอยู่รอดก็มี ผมถ้าเป็นวัยรุ่นก็คงไปแล้วครับ เพราะว่าผมก็ถูกข้อหาคอมมิวนิสต์ต้องหลบหนีอยู่เป็นเดือน หนังสือพิมพ์ก็พาดหัว ชวน โผล่ ล้านช้าง ที่ลาว สวามิภักดิ์ลาวแดง พาดหัวตัวเบ้อเร่อเลยนะครับ แต่ว่าด้วยตระหนักว่าเข้าไปทำอะไรเพื่อมาล้มล้างบ้านเมืองให้เป็นระบบคอมมิวนิสต์เหรอ มันก็รับไม่ได้ รับคณะปฏิวัติไม่ได้แต่ว่าก็รับคอมมิวนิสต์ไม่ได้ แต่ว่าคนส่วนหนึ่งเข้าไปด้วยกระแสความเปลี่ยนแปลง ต้องการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองเป็นระบบโน้น เป็นสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ มีครับ แต่อาจจะไม่ใช่คนส่วนใหญ่ คนหนุ่มสาวส่วนใหญ่นั้นก็คือหนีเพื่อเอาตัวรอด ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อของทหาร ตำรวจ ในขณะนั้น นั่นคือเหตุการณ์เมื่อปี 19 แต่ว่าเหตุการณ์นั้นเองครับ ที่เสี่ยงอย่างยิ่งต่อการสู้รบกับคนไทยด้วยกันเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง เราได้ยินนักกิจกรรมที่มีชื่อเสียงอยู่ในบ้านเมืองเวลานี้หลายคนไปประกาศวิทยุของสถานีวิทยุคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ประกาศจะล้มล้างสถาบันในบ้านเมืองนี้ให้ได้ คนเหล่านั้นเชื่อว่ายังไม่ลืมนะครับ ผมทบทวนตัวเองเหมือนกันว่าเราอยู่ได้อย่างปรกติสุขทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งก็ด้วยพระบารมีปกเกล้าที่ทำให้บ้านเมืองนี้อยู่รอดอยู่ได้ อันนั้นคือวิกฤติที่ผมคิดว่า คนอาจจะไม่นับอยู่ในวิกฤติ แต่ผมถือว่านั่นคือวิกฤติที่ใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประเทศไทย ที่ว่าเราจะอยู่รอดมีการปกครองระบอบนี้หรือเราจะเปลี่ยนไปเป็นระบบสังคมนิยม หรือเป็นคอมมิวนิสต์ นั่นคือเหตุการณ์ครั้งสำคัญครั้งหนึ่งและแน่นอนที่สุดว่าผลพวงจากการแก้ปัญหาด้วยความเข้าอกเข้าใจกันเหตุร้ายก็ค่อย ๆ คลายมาดีขึ้นเป็นลำดับต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนี้
วิกฤติปี 2535 ผมขออนุญาตไม่พูดนะครับ เพราะว่าทุกคนก็จะเข้าใจเรื่องนี้ดีอยู่พอสมควรแล้ว ขอไปวิกฤติปี 2549 ปี 2549 คือเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่าวิกฤติที่สุดในโลก คนส่วนหนึ่งอาจจะตั้งคำถามว่า อะไรคือตัววิกฤติ ฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัคร เป็นตัววิกฤติไม๊ รัฐบาลยุบสภาก่อนกำหนด ผิดคำมั่นสัญญาวิกฤติไม๊ ส่วนนั้นผมคิดว่าไม่ใช่ตัวสาเหตุของวิกฤติทั้งหมดนะครับ ที่จริงแล้ววิกฤติมันเริ่มเกิดตั้งแต่ปี 2544 ที่ผมเรียนเรื่องนี้เพราะว่ามันเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่เคยปรากฎในรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย หรือแม้กระทั่งรัฐบาลในชุดปฏิวัติ รัฐประหาร จะเรียกรัฐบาลทรราช รัฐบาลอะไรก็ตาม ก็ไม่ถึงขนาดนั้น ปี 2544 คือปีที่เราเริ่มเห็นว่าจะมีวิกฤติเกิดขึ้นคือการลอบออกนอกหลักนิติธรรม ที่เขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไว้ในวรรค 2 ของมาตรา 3 การปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม อันนี้ต้องเรียนว่า ในกระบวนการปกครองบ้านเมืองนั้น ที่จริงแล้วเขาไม่ปล่อยให้สถาบันใด สถาบันหนึ่งเข้มแข็งอยู่สถาบันเดียว โดยไม่มีการตรวจสอบคานอำนาจกัน มิฉะนั้นเมื่อสถาบันนั้นพังบ้านเมืองก็พังหมด กระบวนการปกครองในระบบนี้จึงมีการถ่วงดุลอำนาจ คานอำนาจ ซึ่งถือเป็นหัวใจของการปกครองระบบนี้ เพื่อให้คอยตรวจทานซึ่งกันและกัน ฝ่ายนิติบัญญัติ จึงออกกฎหมาย และผู้ใช้กฎหมายคือฝ่ายบริหาร แต่คนที่ตีความกฎหมายว่าเป็นอย่างไรคือ ศาล ในกระบวนการปกครองนั้นมีรัฐบาล และฝ่ายค้าน ในระบบนี้ระหว่างรัฐสภา การคานอำนาจในสภานั้นน้ำหนักไม่ค่อยมากนัก เพราะในระบบนี้เสียงข้างมากถึงจะมาเป็นรัฐบาลได้ และเสียงข้างมากในสภาย่อมจะชนะเสียงข้างน้อยในสภาอันนี้ไม่แปลก อันนี้ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรครับ เพราะระบบนี้มันเป็นอย่างนี้ แต่ว่าการคานอำนาจของฝ่ายตุลาการ ฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ หรือที่เคยมีมาในอดีตนั่นเป็นอีกส่วนหนึ่งตามกฎหมายที่มีการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ฝ่ายบริหารจะทำอะไรตามอำเภอใจ มีองค์กรอิสระที่คอยตรวจสอบอยู่ว่าถ้าทำ ทำผิดอย่างนี้เข้าหลักเกณฑ์อย่างนี้ ท่านต้องขึ้นสู่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญานักการเมือง เดี๋ยวศาลจะตัดสินจำคุกถ้าทำผิดอย่างนี้ มันมีการถ่วงคานกันไม่ให้ทำอะไรอันเป็นการเหิมเกริมละเมิดกฎบัญญัติที่ควรจะปลด แต่ว่าเมื่อสภาเสียงข้างมากเป็นฝ่ายรัฐบาล ซึ่งผมเรียนแล้วไม่ใช่แปลก แต่ว่าเมื่อวันหนึ่งวุฒิสมาชิกซึ่งถือว่าไม่สังกัดพรรค ถูกซื้อไปส่วนหนึ่งในสภานิติบัญญัติก็ต้องถือว่าพังทะลาย หมดที่พึ่ง เสาหลักเสานั้น ถือว่าเป็นเสาเดียวกับฝ่ายบริหารแล้ว การตรวจสอบคานทำไม่ได้แล้ว ทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดมากแล้วก็ยังเหลือสถาบันองค์กรอิสระ มีเวลาน้อยนะครับ ขอเรียนว่าองค์กรอิสระก็ถูกแทรกแซงหมดสิ้น ความจริงแล้วต้องเรียนว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 นั้นรัฐบาลประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลแรกที่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนั้นเพียงแต่การเลือกตั้งมาก่อนรัฐธรรมนูญปี 2540 เท่านั้นเอง องค์กรอิสระสามารถทำงานได้ในสมัยนั้นเพราะรัฐบาลไม่ได้ยุ่งเกี่ยวไม่ได้ไปแทรกแซง เมื่อองค์กรอิสระพังหมด เป็นอัมพฤกต์หมด ปฏิบัติงานไม่ได้เมื่อไหร่ที่มีเรื่องกับฝ่ายการเมืองที่มีอำนาจเหนือ หรือมีบุญคุณกันก็ไม่สามารถที่จะยืนหยัดรักษาความถูกต้องชอบธรรมเอาไว้ได้ ส่วนนี้ก็พังไปแต่มันมีสถาบันราชการ ราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะคอยตรวจคานฝ่ายการเมือง คำสั่งไม่ถูกต้องฝ่ายราชการสามารถที่จะไม่ยอมรับเพื่อคานซึ่งกันและกัน ในที่สุดฝ่ายราชการก็ถูกแทรกแซง ฝ่ายการเมืองมีอำนาจในการโยกย้ายอยู่แล้วครับ อันนี้ไม่แปลกอะไรเลย แต่เมื่อวันหนึ่งการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งทหาร ตำรวจ พลเรือน และอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการแลกเปลี่ยนข้อตกลง ท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนี้ ท่านรับปากได้ไม๊ ว่าท่านไปแล้วจะทำให้พรรคไทยรักไทยชนะ ถ้าท่านไม่รับปากไม่ได้เป็น ไม่ได้เป็นจริง ๆ ผู้ว่าฯ คนหนึ่งบอกกับผมเองเลยครับ ท่านบอกท่านไม่ได้เป็น รัฐมนตรีช่วยเรียกท่านเข้าไปแล้วต่อรอง ขอให้ท่านรับปากว่าจะทำให้ไทยรักไทยชนะประชาธิปัตย์ ท่านบอกมันทำได้ยังไงในภาคใต้คงสู้ยาก ความจริงถ้ารับปากไปก่อนนะครับ ท่านก็ได้เป็น (เสียงหัวเราะจากที่ประชุม) แต่ว่าผมก็ชื่นชมว่าท่านเป็นคนมีคุณธรรมพอที่จะไม่หลอกตัวเอง
นี่คือตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นเองนะครับ ไม่ใช่ทั้งหมด ในที่สุด ผลพวงจากการแทรกแซงฝ่ายราชการนี้ ศาลากลางกลายเป็นที่วางแผนโกงเลือกตั้ง หน่วยทหารกลายเป็นที่ประชุมข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เพื่อหาวิธีโกงเลือกตั้ง ผมเชื่อว่าท่านผู้บัญชาการทหารบกรู้ดี ผมเชื่อครับ เพียงแต่ท่านไม่มีอำนาจในขณะนั้นเฮลิคอปเตอร์ของข้าราชการก็ใช้ลงหน่วยทหารเพื่อเอาผู้ว่าราชการมาประชุมวางแผนเพื่อจะมีเลือกตั้ง เมื่อองค์กรอิสระเหล่านี้พังทลายหมดเหลืออยู่ก็คือ สื่อมวลชน ยังไม่พังนะครับ ถ้าสื่อมวลชนปฏิบัติหน้าที่ตัวเองอย่างเป็นอิสระ แต่ในที่สุดวิทยุ โทรทัศน์ ถูกครอบงำหมด ร้อยละ 99.99 ทิ้งไว้ 1 เผื่อยังเหลืออะไรอยู่บ้าง คลื่นวิทยุเป็นเครื่องมือสำหรับฝ่ายการเมืองถึงขั้นจ้างคนเนี่ยนะครับ ได้เล่าข้อเท็จจริงนะฮะ เช่นคลื่น 96.5 เขาจ้างคนไปเลยไปไว้ด่าฝ่ายค้าน เดือนเดียว 1 ล้านบาท ล้านกว่าบาท ใช้คลื่นนั้นจัด 96.5 ให้ไปทำ แต่บังเอิญคนนั้นก็มีเกียรติพอเป็นนักข่าวต่างประเทศ คนไทยนี่แหละครับ แต่เขามีเกียรติพอที่จะปฏิเสธเงินล้านกว่าบาท อันนี้คือการที่สื่อมวลชนถูกครอบงำหมด เหลือสื่อหนังสือพิมพ์ เหลือซักกี่ฉบับครับ พูดได้อย่างยุติธรรมในขณะนั้น เหลือสักกี่คอลัมน์ที่ไม่เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง ไม่อยู่ภายใต้อำนาจเงินของฝ่ายการเมือง ก็เหลือน้อย เมื่อเป็นเช่นนี้การตรวจสอบทั้งหลายก็เกือบหมดสิ้น เหลือก็คือกระบวนการยุติธรรม ตำรวจไปแล้วใครนึกครับว่าปี 48 เขาก็จะเอาอัยการไปได้ ก็ทำได้ ผมขอเรียนเพื่อปกป้องสถาบันอัยการด้วยครับ ไม่ได้หมายถึงตัวสถาบัน แต่หมายถึงตัวบุคคล เขาทำได้ด้วยการเปลี่ยนกลไก ค.อ. เอาคนของบริษัทมาเป็นประธาน และก็ส่งญาติพี่น้องเข้าไปนั่ง วันหนึ่งยกมือเลือกอัยการสูงสุดก็สามารถเอาคนอาวุโสหลังขึ้นมาได้ ไม่พูดส่วนตัว ส่วนตัวก็ดีกัน อันนี้คือหลักการ บัดนี้จึงเกิดหมดเกือบจะพูดได้ว่าบ้านเมืองไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งพาพิงอิงได้แล้ว หมด เหลือสถาบันตุลาการ เกือบไปครับ เพราะว่าจริง ๆ แล้วเขาก็ใช้ตุลาการเป็นเครื่องมือเช่นของจริงก็คือให้นักการเมืองที่มีคดีย้ายพรรค ถ้าท่านย้ายพรรค คดีของท่านที่อยู่ศาลอุทธรณ์จะมีการวิ่งเต้นให้เรียบร้อยเพราะน้องเขยนายกฯ เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม เอาอย่างนี้กันเลยนะครับ อ้างอย่างนี้กันเลย ท่านจะรู้หรือไม่ก็ตาม อันนี้คือสิ่งที่ปรากฎเกิดวิกฤติขึ้นในปี 49 จนในที่สุดกลายเป็นวิกฤติที่สุดในโลก ด้วยวาระนายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์พูดครั้งที่ 2 อาจารย์ฮะ เรื่องสำคัญอย่างยิ่งอีกเรื่องหนึ่งผมขอไว้ทีหลังนะครับแต่ว่าจะกราบเรียนท่านทั้งหลายถึงสิ่งที่ปรากฎระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 45 และเกิดขึ้นเมื่อปี 48 ประเดี๋ยวผมจะเอาเรื่องสุดท้าย 2 เรื่องนั้นมาให้ท่านได้รับทราบครับ ขอขอบคุณครับ
****************************************************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 พ.ค. 2550--จบ--
วิกฤติปี 2535 ผมขออนุญาตไม่พูดนะครับ เพราะว่าทุกคนก็จะเข้าใจเรื่องนี้ดีอยู่พอสมควรแล้ว ขอไปวิกฤติปี 2549 ปี 2549 คือเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งว่าวิกฤติที่สุดในโลก คนส่วนหนึ่งอาจจะตั้งคำถามว่า อะไรคือตัววิกฤติ ฝ่ายค้านไม่ส่งผู้สมัคร เป็นตัววิกฤติไม๊ รัฐบาลยุบสภาก่อนกำหนด ผิดคำมั่นสัญญาวิกฤติไม๊ ส่วนนั้นผมคิดว่าไม่ใช่ตัวสาเหตุของวิกฤติทั้งหมดนะครับ ที่จริงแล้ววิกฤติมันเริ่มเกิดตั้งแต่ปี 2544 ที่ผมเรียนเรื่องนี้เพราะว่ามันเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่เคยปรากฎในรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย หรือแม้กระทั่งรัฐบาลในชุดปฏิวัติ รัฐประหาร จะเรียกรัฐบาลทรราช รัฐบาลอะไรก็ตาม ก็ไม่ถึงขนาดนั้น ปี 2544 คือปีที่เราเริ่มเห็นว่าจะมีวิกฤติเกิดขึ้นคือการลอบออกนอกหลักนิติธรรม ที่เขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไว้ในวรรค 2 ของมาตรา 3 การปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม อันนี้ต้องเรียนว่า ในกระบวนการปกครองบ้านเมืองนั้น ที่จริงแล้วเขาไม่ปล่อยให้สถาบันใด สถาบันหนึ่งเข้มแข็งอยู่สถาบันเดียว โดยไม่มีการตรวจสอบคานอำนาจกัน มิฉะนั้นเมื่อสถาบันนั้นพังบ้านเมืองก็พังหมด กระบวนการปกครองในระบบนี้จึงมีการถ่วงดุลอำนาจ คานอำนาจ ซึ่งถือเป็นหัวใจของการปกครองระบบนี้ เพื่อให้คอยตรวจทานซึ่งกันและกัน ฝ่ายนิติบัญญัติ จึงออกกฎหมาย และผู้ใช้กฎหมายคือฝ่ายบริหาร แต่คนที่ตีความกฎหมายว่าเป็นอย่างไรคือ ศาล ในกระบวนการปกครองนั้นมีรัฐบาล และฝ่ายค้าน ในระบบนี้ระหว่างรัฐสภา การคานอำนาจในสภานั้นน้ำหนักไม่ค่อยมากนัก เพราะในระบบนี้เสียงข้างมากถึงจะมาเป็นรัฐบาลได้ และเสียงข้างมากในสภาย่อมจะชนะเสียงข้างน้อยในสภาอันนี้ไม่แปลก อันนี้ไม่ใช่เรื่องผิดอะไรครับ เพราะระบบนี้มันเป็นอย่างนี้ แต่ว่าการคานอำนาจของฝ่ายตุลาการ ฝ่ายนิติบัญญัติ และองค์กรอิสระที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ หรือที่เคยมีมาในอดีตนั่นเป็นอีกส่วนหนึ่งตามกฎหมายที่มีการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน ฝ่ายบริหารจะทำอะไรตามอำเภอใจ มีองค์กรอิสระที่คอยตรวจสอบอยู่ว่าถ้าทำ ทำผิดอย่างนี้เข้าหลักเกณฑ์อย่างนี้ ท่านต้องขึ้นสู่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญานักการเมือง เดี๋ยวศาลจะตัดสินจำคุกถ้าทำผิดอย่างนี้ มันมีการถ่วงคานกันไม่ให้ทำอะไรอันเป็นการเหิมเกริมละเมิดกฎบัญญัติที่ควรจะปลด แต่ว่าเมื่อสภาเสียงข้างมากเป็นฝ่ายรัฐบาล ซึ่งผมเรียนแล้วไม่ใช่แปลก แต่ว่าเมื่อวันหนึ่งวุฒิสมาชิกซึ่งถือว่าไม่สังกัดพรรค ถูกซื้อไปส่วนหนึ่งในสภานิติบัญญัติก็ต้องถือว่าพังทะลาย หมดที่พึ่ง เสาหลักเสานั้น ถือว่าเป็นเสาเดียวกับฝ่ายบริหารแล้ว การตรวจสอบคานทำไม่ได้แล้ว ทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดมากแล้วก็ยังเหลือสถาบันองค์กรอิสระ มีเวลาน้อยนะครับ ขอเรียนว่าองค์กรอิสระก็ถูกแทรกแซงหมดสิ้น ความจริงแล้วต้องเรียนว่ารัฐธรรมนูญปี 2540 นั้นรัฐบาลประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลแรกที่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนั้นเพียงแต่การเลือกตั้งมาก่อนรัฐธรรมนูญปี 2540 เท่านั้นเอง องค์กรอิสระสามารถทำงานได้ในสมัยนั้นเพราะรัฐบาลไม่ได้ยุ่งเกี่ยวไม่ได้ไปแทรกแซง เมื่อองค์กรอิสระพังหมด เป็นอัมพฤกต์หมด ปฏิบัติงานไม่ได้เมื่อไหร่ที่มีเรื่องกับฝ่ายการเมืองที่มีอำนาจเหนือ หรือมีบุญคุณกันก็ไม่สามารถที่จะยืนหยัดรักษาความถูกต้องชอบธรรมเอาไว้ได้ ส่วนนี้ก็พังไปแต่มันมีสถาบันราชการ ราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะคอยตรวจคานฝ่ายการเมือง คำสั่งไม่ถูกต้องฝ่ายราชการสามารถที่จะไม่ยอมรับเพื่อคานซึ่งกันและกัน ในที่สุดฝ่ายราชการก็ถูกแทรกแซง ฝ่ายการเมืองมีอำนาจในการโยกย้ายอยู่แล้วครับ อันนี้ไม่แปลกอะไรเลย แต่เมื่อวันหนึ่งการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งทหาร ตำรวจ พลเรือน และอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับการแลกเปลี่ยนข้อตกลง ท่านจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดนี้ ท่านรับปากได้ไม๊ ว่าท่านไปแล้วจะทำให้พรรคไทยรักไทยชนะ ถ้าท่านไม่รับปากไม่ได้เป็น ไม่ได้เป็นจริง ๆ ผู้ว่าฯ คนหนึ่งบอกกับผมเองเลยครับ ท่านบอกท่านไม่ได้เป็น รัฐมนตรีช่วยเรียกท่านเข้าไปแล้วต่อรอง ขอให้ท่านรับปากว่าจะทำให้ไทยรักไทยชนะประชาธิปัตย์ ท่านบอกมันทำได้ยังไงในภาคใต้คงสู้ยาก ความจริงถ้ารับปากไปก่อนนะครับ ท่านก็ได้เป็น (เสียงหัวเราะจากที่ประชุม) แต่ว่าผมก็ชื่นชมว่าท่านเป็นคนมีคุณธรรมพอที่จะไม่หลอกตัวเอง
นี่คือตัวอย่างหนึ่งเท่านั้นเองนะครับ ไม่ใช่ทั้งหมด ในที่สุด ผลพวงจากการแทรกแซงฝ่ายราชการนี้ ศาลากลางกลายเป็นที่วางแผนโกงเลือกตั้ง หน่วยทหารกลายเป็นที่ประชุมข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เพื่อหาวิธีโกงเลือกตั้ง ผมเชื่อว่าท่านผู้บัญชาการทหารบกรู้ดี ผมเชื่อครับ เพียงแต่ท่านไม่มีอำนาจในขณะนั้นเฮลิคอปเตอร์ของข้าราชการก็ใช้ลงหน่วยทหารเพื่อเอาผู้ว่าราชการมาประชุมวางแผนเพื่อจะมีเลือกตั้ง เมื่อองค์กรอิสระเหล่านี้พังทลายหมดเหลืออยู่ก็คือ สื่อมวลชน ยังไม่พังนะครับ ถ้าสื่อมวลชนปฏิบัติหน้าที่ตัวเองอย่างเป็นอิสระ แต่ในที่สุดวิทยุ โทรทัศน์ ถูกครอบงำหมด ร้อยละ 99.99 ทิ้งไว้ 1 เผื่อยังเหลืออะไรอยู่บ้าง คลื่นวิทยุเป็นเครื่องมือสำหรับฝ่ายการเมืองถึงขั้นจ้างคนเนี่ยนะครับ ได้เล่าข้อเท็จจริงนะฮะ เช่นคลื่น 96.5 เขาจ้างคนไปเลยไปไว้ด่าฝ่ายค้าน เดือนเดียว 1 ล้านบาท ล้านกว่าบาท ใช้คลื่นนั้นจัด 96.5 ให้ไปทำ แต่บังเอิญคนนั้นก็มีเกียรติพอเป็นนักข่าวต่างประเทศ คนไทยนี่แหละครับ แต่เขามีเกียรติพอที่จะปฏิเสธเงินล้านกว่าบาท อันนี้คือการที่สื่อมวลชนถูกครอบงำหมด เหลือสื่อหนังสือพิมพ์ เหลือซักกี่ฉบับครับ พูดได้อย่างยุติธรรมในขณะนั้น เหลือสักกี่คอลัมน์ที่ไม่เป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมือง ไม่อยู่ภายใต้อำนาจเงินของฝ่ายการเมือง ก็เหลือน้อย เมื่อเป็นเช่นนี้การตรวจสอบทั้งหลายก็เกือบหมดสิ้น เหลือก็คือกระบวนการยุติธรรม ตำรวจไปแล้วใครนึกครับว่าปี 48 เขาก็จะเอาอัยการไปได้ ก็ทำได้ ผมขอเรียนเพื่อปกป้องสถาบันอัยการด้วยครับ ไม่ได้หมายถึงตัวสถาบัน แต่หมายถึงตัวบุคคล เขาทำได้ด้วยการเปลี่ยนกลไก ค.อ. เอาคนของบริษัทมาเป็นประธาน และก็ส่งญาติพี่น้องเข้าไปนั่ง วันหนึ่งยกมือเลือกอัยการสูงสุดก็สามารถเอาคนอาวุโสหลังขึ้นมาได้ ไม่พูดส่วนตัว ส่วนตัวก็ดีกัน อันนี้คือหลักการ บัดนี้จึงเกิดหมดเกือบจะพูดได้ว่าบ้านเมืองไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งพาพิงอิงได้แล้ว หมด เหลือสถาบันตุลาการ เกือบไปครับ เพราะว่าจริง ๆ แล้วเขาก็ใช้ตุลาการเป็นเครื่องมือเช่นของจริงก็คือให้นักการเมืองที่มีคดีย้ายพรรค ถ้าท่านย้ายพรรค คดีของท่านที่อยู่ศาลอุทธรณ์จะมีการวิ่งเต้นให้เรียบร้อยเพราะน้องเขยนายกฯ เป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม เอาอย่างนี้กันเลยนะครับ อ้างอย่างนี้กันเลย ท่านจะรู้หรือไม่ก็ตาม อันนี้คือสิ่งที่ปรากฎเกิดวิกฤติขึ้นในปี 49 จนในที่สุดกลายเป็นวิกฤติที่สุดในโลก ด้วยวาระนายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์พูดครั้งที่ 2 อาจารย์ฮะ เรื่องสำคัญอย่างยิ่งอีกเรื่องหนึ่งผมขอไว้ทีหลังนะครับแต่ว่าจะกราบเรียนท่านทั้งหลายถึงสิ่งที่ปรากฎระหว่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 45 และเกิดขึ้นเมื่อปี 48 ประเดี๋ยวผมจะเอาเรื่องสุดท้าย 2 เรื่องนั้นมาให้ท่านได้รับทราบครับ ขอขอบคุณครับ
****************************************************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 25 พ.ค. 2550--จบ--