วันนี้ (23 ม.ค. 50) นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิ ปัตย์ แถลงว่า กรณีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้ให้ สัมภาษณ์ว่า คมช.จะสืบทอดอำนาจผ่านพรรคประชาธิปัตย์ โดยกำหนดให้นายกรัฐมนตรี ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง พร้อมทั้งตกลงกับบางพรรคเพื่อให้นำคนนอกมาเป็นนายก รัฐมนตรี นั้น ขอชี้แจงว่า การให้สัมภาษณ์ในลักษณะดังกล่าว เป็นการใส่ร้ายป้าย สีพรรคประชาธิปัตย์ และพยายามที่จะผลักพรรคประชาธิปัตย์ ให้อยู่ฝ่ายเดียวกับ คมช. ซึ่งในความเป็นจริง พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยืนยันมาหลายครั้งแล้วว่า ไม่มีส่วน เกี่ยวข้องกับ คมช. ไม่ว่าจะทางหนึ่งหรือทางใดก็ตาม อะไรที่เห็นว่า คมช.ทำถูก ต้องก็สนับสนุน อะไรที่เห็นว่าไม่ถูกต้อง ก็ได้ท้วงติงและวิพากษ์วิจารณ์มาอย่าง สม่ำเสมอ จึงเป็นไปไม่ได้ที่ คมช.จะมาสืบอำนาจผ่านพรรคประชาธิปัตย์ อยากให้ รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กลับไปดูประวัติศาสตร์การเมืองที่ผ่านมาว่าใคร กันแน่ที่ยอมขายตัวขายวิญญาณเพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการในยุค รสช. และกลับไปตรวจ สอบรายชื่อสมาชิกพรรค ไทยรักไทย ดูว่ายังมีสมาชิกของพรรคไทยรักไทย ใครบ้างที่เคยสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการของ รสช. แต่สำหรับพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ เคยปรากฏว่ามีใครเคยสนับสนุนรัฐบาลเผด็จการแม้แต่คนเดียว พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ยืนหยัดต่อสู้กับเผด็จการทุกรูปแบบมาตลอดระยะเวลา 60 ปี ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการ ทหารหรือเผด็จการทุนนิยมก็ตาม ก็จะไม่ยอมเป็นเครื่องมือ หรือเป็นสะพานให้เผด็จ การเหล่านั้นสืบทอดอำนาจโดยเด็ดขาด
นายเทพไท กล่าวต่อว่าสำหรับการให้สัมภาษณ์ของรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เกี่ยวกับประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีว่า คมช.และพรรคประชา ธิปัตย์เห็นสอดคล้องกันว่านายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง นั้น พรรคประชาธิปัตย์ ขอชี้แจงว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้คัดค้านแนวความคิดนี้ตลอด เวลา แม้กระทั้งเมื่อวานนี้ (22 ม.ค. 50) คณะทำงานด้านการเมืองประกอบด้วยนาย บัญญัติ บรรทัดฐาน นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ได้ มีการปรึกษาหารือนอกรอบเกี่ยวกับประเด็นการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าร่วมรับฟังด้วย ได้พูดถึงกรอบของการร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะนำมาพิจารณาแสดงความคิดเห็นในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหาข้อสรุปเสนอ ต่อ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป สำหรับประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรี นั้นทุกคนเห็นว่าที่มาของนายกรัฐมนตรีนั้น จะต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น ส่วนประเด็นอื่น ๆ จะทยอยชี้แจงและนำเสนอต่อสังคมเป็นระยะ ๆ ต่อไป นายเทพไท กล่าวว่า กรณีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ประกาศ เดินหน้าสร้างพรรคไทยรักไทยให้เป็นพรรคสถาบันแม้ว่าจะไม่มี พ.ต.ท.ทักษิณก็ตาม ก็ขอเอาใจช่วยและสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว แต่เป็นห่วงว่าพรรคไทยรักไทยเป็น พรรคที่มีเจ้าของ คุณจาตุรนต์ อยู่ในฐานะลูกจ้างเป็นผู้เฝ้าทรัพย์สินเท่านั้น หากเจ้าของที่แท้จริงกลับมาเอาพรรคคืน คุณจาตุรนต์ ก็จะผิดหวังไม่ได้เป็นหัว หน้าพรรคตัวจริงอีกต่อไป เพราะฉะนั้นจะขอเตือนคุณจาตุรนต์ว่าไม่ควรที่จะคิดการ ใหญ่อีกแล้ว ก่อนที่จะคิดสร้างพรรคให้เป็นพรรคสถาบัน ก็ขอให้คิดต่อสู้เพื่อ รักษาพรรคให้รอดพ้นจากการพิจารณาคดียุบพรรคของตุลาการรัฐธรรมนูญจะดีกว่า
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 ม.ค. 2550--จบ--
นายเทพไท กล่าวต่อว่าสำหรับการให้สัมภาษณ์ของรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เกี่ยวกับประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรีว่า คมช.และพรรคประชา ธิปัตย์เห็นสอดคล้องกันว่านายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง นั้น พรรคประชาธิปัตย์ ขอชี้แจงว่า พรรคประชาธิปัตย์ ได้คัดค้านแนวความคิดนี้ตลอด เวลา แม้กระทั้งเมื่อวานนี้ (22 ม.ค. 50) คณะทำงานด้านการเมืองประกอบด้วยนาย บัญญัติ บรรทัดฐาน นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฎ์ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ได้ มีการปรึกษาหารือนอกรอบเกี่ยวกับประเด็นการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เข้าร่วมรับฟังด้วย ได้พูดถึงกรอบของการร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะนำมาพิจารณาแสดงความคิดเห็นในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหาข้อสรุปเสนอ ต่อ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญต่อไป สำหรับประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรี นั้นทุกคนเห็นว่าที่มาของนายกรัฐมนตรีนั้น จะต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น ส่วนประเด็นอื่น ๆ จะทยอยชี้แจงและนำเสนอต่อสังคมเป็นระยะ ๆ ต่อไป นายเทพไท กล่าวว่า กรณีนายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ประกาศ เดินหน้าสร้างพรรคไทยรักไทยให้เป็นพรรคสถาบันแม้ว่าจะไม่มี พ.ต.ท.ทักษิณก็ตาม ก็ขอเอาใจช่วยและสนับสนุนแนวความคิดดังกล่าว แต่เป็นห่วงว่าพรรคไทยรักไทยเป็น พรรคที่มีเจ้าของ คุณจาตุรนต์ อยู่ในฐานะลูกจ้างเป็นผู้เฝ้าทรัพย์สินเท่านั้น หากเจ้าของที่แท้จริงกลับมาเอาพรรคคืน คุณจาตุรนต์ ก็จะผิดหวังไม่ได้เป็นหัว หน้าพรรคตัวจริงอีกต่อไป เพราะฉะนั้นจะขอเตือนคุณจาตุรนต์ว่าไม่ควรที่จะคิดการ ใหญ่อีกแล้ว ก่อนที่จะคิดสร้างพรรคให้เป็นพรรคสถาบัน ก็ขอให้คิดต่อสู้เพื่อ รักษาพรรคให้รอดพ้นจากการพิจารณาคดียุบพรรคของตุลาการรัฐธรรมนูญจะดีกว่า
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 ม.ค. 2550--จบ--