นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่าคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ฉบับที่ 3 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. สัญญาความตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน+3 (สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี) ภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น และเป็นส่วนเสริมความช่วยเหลือด้านการเงินที่ได้รับจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ
2. ธนาคารกลางญี่ปุ่นในฐานะตัวแทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น และธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถกู้ระหว่างกันได้ (Two-Way) ในกรณีประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น ในรูปการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลเงินเหรียญ สรอ. กับเงินตราสกุลท้องถิ่น (บาท และเยน) จำนวนวงเงินที่จะเบิก-ถอนระหว่างกันได้สูงสุด จำนวน 6 พันล้านเหรียญ สรอ. ในกรณีที่ประเทศไทยเป็นผู้ขอกู้จากญี่ปุ่น และจำนวน 3 พันล้านเหรียญ สรอ. ในกรณีที่ประเทศญี่ปุ่นขอกู้จากประเทศไทย โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
3. สัญญาความตกลงฉบับใหม่นี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางส่วนที่สำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสำคัญ (Main Principles) ของความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคี ตามมติที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 ณ นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี และครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2549 ณ นครไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย ได้แก่
3.1 ขยายขนาดวงเงินที่จะสามารถเบิกถอนได้ก่อนที่ประเทศผู้ขอกู้จะเข้าโครงการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Non-IMF linked portion) คือจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ20
3.2 ใช้กลไกการเบิก-ถอนในลักษณะ Collective Swap Activation โดยกำหนดให้มีการจัดประชุมระหว่างผู้ให้กู้ทุกรายเพื่อจัดสรรวงเงินที่จะปล่อยกู้ และให้มีมติการจัดสรรวงเงินกู้ภายใน 14 วัน
3.3 ประเทศผู้กู้จะต้องเข้าร่วมการประชุม Economic Review and Policy Dialogue ภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3
4. การจัดทำความตกลงดังกล่าวเป็นการยืนยันและสืบทอดเจตนารมณ์ของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ที่มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ในการเสริมสภาพคล่องระยะสั้นระหว่างกัน และเป็นส่วนเสริมความช่วยเหลือด้านการเงินที่ได้รับจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของไทยในตลาดการเงินระหว่างประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างประเทศว่าประเทศไทยจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากกลุ่มสมาชิกอาเซียน+3 ในกรณีที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น
5. ความตกลงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อมีการลงนามโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือผู้แทน โดยความตกลงจะมีอายุสัญญา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการลงนาม
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 60/2550 10 กรกฎาคม 50--
1. สัญญาความตกลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน+3 (สมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี) ภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น และเป็นส่วนเสริมความช่วยเหลือด้านการเงินที่ได้รับจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ
2. ธนาคารกลางญี่ปุ่นในฐานะตัวแทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังญี่ปุ่น และธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถกู้ระหว่างกันได้ (Two-Way) ในกรณีประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น ในรูปการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลเงินเหรียญ สรอ. กับเงินตราสกุลท้องถิ่น (บาท และเยน) จำนวนวงเงินที่จะเบิก-ถอนระหว่างกันได้สูงสุด จำนวน 6 พันล้านเหรียญ สรอ. ในกรณีที่ประเทศไทยเป็นผู้ขอกู้จากญี่ปุ่น และจำนวน 3 พันล้านเหรียญ สรอ. ในกรณีที่ประเทศญี่ปุ่นขอกู้จากประเทศไทย โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้
3. สัญญาความตกลงฉบับใหม่นี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบางส่วนที่สำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการสำคัญ (Main Principles) ของความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคี ตามมติที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2548 ณ นครอิสตันบูล ประเทศตุรกี และครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2549 ณ นครไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย ได้แก่
3.1 ขยายขนาดวงเงินที่จะสามารถเบิกถอนได้ก่อนที่ประเทศผู้ขอกู้จะเข้าโครงการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Non-IMF linked portion) คือจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ20
3.2 ใช้กลไกการเบิก-ถอนในลักษณะ Collective Swap Activation โดยกำหนดให้มีการจัดประชุมระหว่างผู้ให้กู้ทุกรายเพื่อจัดสรรวงเงินที่จะปล่อยกู้ และให้มีมติการจัดสรรวงเงินกู้ภายใน 14 วัน
3.3 ประเทศผู้กู้จะต้องเข้าร่วมการประชุม Economic Review and Policy Dialogue ภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3
4. การจัดทำความตกลงดังกล่าวเป็นการยืนยันและสืบทอดเจตนารมณ์ของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ที่มุ่งเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ในการเสริมสภาพคล่องระยะสั้นระหว่างกัน และเป็นส่วนเสริมความช่วยเหลือด้านการเงินที่ได้รับจากองค์กรการเงินระหว่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือของไทยในตลาดการเงินระหว่างประเทศ และสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างประเทศว่าประเทศไทยจะได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากกลุ่มสมาชิกอาเซียน+3 ในกรณีที่ประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่องในระยะสั้น
5. ความตกลงฉบับนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อมีการลงนามโดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่นหรือผู้แทน โดยความตกลงจะมีอายุสัญญา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการลงนาม
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 60/2550 10 กรกฎาคม 50--