สรุปการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ
วันอังคารที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๐ เป็นพิเศษ วันอังคารที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๕๕ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุม ประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม (ไม่มี)
๒. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา
พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ (ค้างมาจากการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐)
นายวิชัย รูปขำดี ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้รายงานว่า คณะกรรมาธิการฯ มีหน้าที่หลัก ๓ ประการคือ
๑. กำหนดรูปแบบ วิธีการที่จะรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
๒. ติดต่อและประสานงานจากองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อนำความคิดเห็นเสนอต่อ
สภาร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
๓. จัดทำรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นให้เป็นระบบในรูปของสื่อเอกสารและ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งขณะนี้ได้มีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นในเบื้องต้นไปแล้ว โดยแยกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่ม ๑๑ องค์กร และกลุ่มบุคคลตามรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งได้มีการประมวลไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว
จากนั้น นายชวลิต หมื่นนุช เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ได้รายงานเกี่ยวกับ กระบวนการในการกำหนดกรอบแนวคิดและการจัดเก็บข้อมูลของคณะกรรมาธิการฯ ว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ไปทำการสำรวจความคิดเห็น โดยใช้แบบสำรวจความคิดเห็น และได้ประมวลจากข้อสรุปและ ผลการศึกษาวิจัยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญขององค์กรต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่ได้ทำการศึกษาสำรวจไว้ ซึ่งประกอบด้วย
๑. การรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรและบุคคล
๒. รวบรวมผลการศึกษาวิจัย การประชุมสัมมนา ข้อเสนอในประเด็นเกี่ยวกับการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญจาก ๔ หน่วยงาน คือ สถาบันพระปกเกล้า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๓. นำกรอบแนวทางหลักที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้มาประกอบ
ในการทำแบบสำรวจ โดยส่งไปให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑๒ องค์กร
นายศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น ผู้ช่วยโฆษกคณะกรรมาธิการ และนายชาติชาย แสงสุข คณะกรรมาธิการฯ ได้ร่วมรายงานในส่วนของสถาบันการศึกษาว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์มาช่วยในการจัดทำ โดยเปิดเว็บไซต์ www.c4fclub.net ซึ่งได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากชมรมรักกันเตือนกัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเจ้าหน้าที่จาก IBM เพื่อรวบรวมข้อมูลที่นิสิตนักศึกษาใช้เว็บไซต์ดังกล่าว จากการสำรวจระหว่างวันที่ ๒๗-๓๑ มีนาคม ๒๕๕๐ มีผลสำรวจดังนี้
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๗๕ เห็นด้วยกับการลดจำนวน ส.ส. และ ส.ว. ร้อยละ ๗๔ เห็นด้วยที่ควรมี ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ร้อยละ ๗๑ เห็นด้วยที่ ส.ส. ต้องจบการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ ๗๓ ไม่เห็นด้วยที่ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ ๖๖ เห็นว่า ส.ส. ควรมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ร้อยละ ๗๔ ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดเขตเลือกตั้งเป็นเขตละคน ร้อยละ ๖๗ เห็นว่า ส.ว.ควรมีที่มาจากการสรรหาตัวแทนของภาคส่วนต่าง ๆ ร้อยละ ๗๑ เห็นว่า ส.ว.ที่มาจากการสรรหาควรมีอำนาจถอดถอนนักการเมือง ร้อยละ ๗๕ เห็นควรมีองค์กรหรือฝ่ายตุลาการทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระร้อยละ ๗๖ เห็นว่า นายกรัฐมนตรีควรมาจาก ส.ส. และควรคงสมาชิกภาพ ส.ส. ร้อยละ ๗๗ เห็นว่า นายกรัฐมนตรีควรดำรงตำแหน่งไม่เกิน ๒ วาระติดต่อกันหรือไม่ควรเกิน ๘ ปี ร้อยละ ๗๓ เห็นควรห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีผลประโยชน์ทับซ้อน ร้อยละ ๗๓ เห็นว่า นายกรัฐมนตรีควรถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจและถูกตรวจสอบได้ง่ายขึ้น ร้อยละ ๗๗ เห็นว่า ควรกำหนดให้ชัดเจนกรณีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แม้เป็นเพียงการรอลงอาญา ควรให้พ้นจากตำแหน่ง ร้อยละ ๗๖ เห็นว่าองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญควรปลอดจากอำนาจครอบงำทางการเมือง ร้อยละ ๗๒ เห็นควรให้กำหนดจริยธรรมและคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมือง ร้อยละ ๗๓ ควรกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น โดยมีระบบตรวจสอบที่มี ประสิทธิภาพ และร้อยละ ๗๔ เห็นควรเพิ่มอำนาจและบทบาทให้กับชุมชนในการพัฒนาชุมชนและ การมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
จากนั้นกรรมาธิการฯ ได้รายงานต่อว่า หมวด ๑ บททั่วไป ประเด็นศาสนาประจำชาติ และศาสนาอื่นให้คงไว้ หมวด ๓ สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย เช่น ประเด็นการรับรองสิทธิเสรีภาพ ทางการเมืองและการตรวจสอบอำนาจรัฐ ควรให้ประชาชนมีบทบาทมากขึ้น หมวด ๕ แนวนโยบาย
พื้นฐานแห่งรัฐ เช่น การกำหนดให้รัฐต้องสนับสนุนการพัฒนาประเทศตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การกำหนดมาตรฐานและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หมวด ๖ รัฐสภา เช่น ควรยกเลิก ส.ส. บัญชีรายชื่อ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคอย่างน้อย ๓๐ วัน ส.ส. ต้องจบปริญญาตรี ลดจำนวน ส.ส. เขต เหลือ ๓๐๐ คน และให้ใช้การเลือกแบบเขตละ ๓ คน กำหนดให้ ผู้สมัครที่ได้คะแนนถัดไป เป็น ส.ส. แทนผู้ได้รับใบแดง ใบเหลือง โดยไม่ต้องเลือกตั้งซ่อม ส.ว. ควร ลดเหลือ ๑๐๐ คน และมาจากการสรรหาจากตัวแทนของทุกภาคส่วนในสังคม เพิ่มอำนาจในการ ถอดถอนนักการเมือง แต่ลดอำนาจแต่งตั้งถอดถอนองค์กรอิสระ และการชี้ขาดการเลือกตั้งให้เป็นอำนาจศาล หมวด ๗ คณะรัฐมนตรี เช่น ที่มาของนายกรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งบุคคลที่มาจาก ภายนอกได้ กำหนดวาระของนายกรัฐมนตรีไม่เกิน ๒ วาระติดต่อกัน กำหนดให้รัฐมนตรีจะเป็น ส.ส. ในขณะเดียวกันไม่ได้ หมวด ๘ ศาล เช่น ควรกำหนดที่มาของศาลรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๐ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่น การขยายการแสดงบัญชีทรัพย์สินให้ครอบคลุมถึงผู้ช่วยและเลขานุการ รัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูง
จากนั้นสมาชิกฯ ได้อภิปรายโดยเฉพาะประเด็น
- ควรมีการพิมพ์เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
- ทำอย่างไรจึงสามารถรับฟังความคิดเห็นจาก ๑๑ องค์กร ได้อย่างทั่วถึงและทันเวลา
- ควรไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและเน้นในประเด็นความต้องการของ
ประชาชนให้มากขึ้น
นายวิชัย รูปขำดี ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า มีสถาบันการศึกษาบางสถาบันไม่ทราบว่าตนเองมีบทบาทในการร่วมเสนอความคิดเห็นการร่างรัฐธรรมนูญ ในเรื่อง ดังกล่าวนี้ขอให้มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้สถาบันต่าง ๆ ได้ทราบถึงบทบาทของตนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการร่างรัฐธรรมนูญ
จากนั้นนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่ไปจัดทำแผนงานในการเผยแพร่ให้ทั่วถึงและเกิดประสิทธิผลให้มากที่สุด เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญจะแล้วเสร็จในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๐
เรื่องด่วน
๑. มอบหมายให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการจัดและควบคุมการออกเสียง
ประชามติ
ที่ประชุมรับทราบ
๒. พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการยกร่าง
รัฐธรรมนูญ
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้รายงานผลการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ได้มีการพิจารณาในหมวดของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วน ในหมวดของรัฐสภานั้นจะนำไปประชุมในวันที่ ๖-๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ ที่บางแสน จังหวัดชลบุรี ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ฉบับนี้จะมีจำนวนทั้งสิ้น ๓๑๗ มาตรา และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญสามารถแปรญัตติได้ตั้งแต่วันที่ ๒๗ เมษายน - ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ กรรมาธิการฯ จะชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญกับประชาชนและองค์กรตามรัฐธรรมนูญใน กทม. และต่างจังหวัด ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม - ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ มีการพิจารณาประเด็นการแปรญัตติและความเห็นต่าง ๆ พร้อมแก้ร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ ส่งร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขแล้วให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มพิจารณาหลักการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่จำเป็นสำหรับการเลือกตั้ง ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน - ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ พิจารณาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาในวันที่ ๑๙ หรือ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ และมีการทำประชามติในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ เลือกตั้ง
จากนั้นสมาชิกฯ ได้อภิปรายและเสนอแนะโดยเฉพาะประเด็น
- ควรให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่อยู่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
มีโอกาสเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นในการสัมมนา ณ จังหวัดชลบุรี
- มาตรา ๖๗ ที่เกี่ยวกับการต่อต้านการให้ได้มาซึ่งอำนาจอันไม่ชอบ ในบทบัญญัติ
ดังกล่าวนี้ ได้มีการสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนหรือไม่
- ควรบรรจุความคิดเห็นของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และของประชาชนลงใน
ร่างรัฐธรรมนูญ
- ควรรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนด้านต่างประเทศ โดยใช้หลักสากลเพื่อการ
พัฒนาประเทศให้ทันต่อประเทศเพื่อนบ้าน
- ใช้วิธีประมวลความคิดเห็นของประชาชนอย่างไร เพื่อให้ความคิดเห็นของประชาชน
ได้รับการบรรจุในร่างรัฐธรรมนูญอย่างทั่วถึง
นายปกรณ์ ปรียากร โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ตอบชี้แจงว่า การประชุมสัมมนาเป็นไปอย่างเปิดเผยและได้มีการแถลงผลการประชุมวันละ ๒ ครั้ง รวมทั้งได้มีการประสานกับคณะกรรมาธิการคณะต่าง ๆ ที่ไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของ ความคิดเห็นของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและประชาชนนั้น กรรมาธิการฯ ได้นำข้อมูลต่าง ๆ มาพิจารณาด้วยเช่นกัน สำหรับความคิดเห็น มาตรา ๖๗ นั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป และในประเด็นที่ว่า ควรให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้อยู่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเข้าร่วมแสดง
ความคิดเห็นด้วยนั้น ในเรื่องดังกล่าวนี้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญสามารถเข้าร่วมสัมมนาได้ เนื่องจากเป็นการประชุมโดยเปิดเผย สำหรับการประมวลความคิดเห็นของประชาชนนั้นได้มีการประมวล ทุกสัปดาห์ เพื่อให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้นำบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนข้อมูลของสภาร่าง รัฐธรรมนูญก็ได้มีการรับฟังและรับไปพิจารณาด้วยเช่นกัน ซึ่งการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ได้มีการนำข้อมูลต่าง ๆ ทั้งของประชาชน สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และข้อมูลในเชิงคุณภาพไปบรรจุ ในร่างรัฐธรรมนูญภายหลังจากการกลั่นกรอง และมีการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว และขณะนี้ยังคงเปิดการรับฟังความคิดเห็นอยู่
๔. เรื่องที่เสนอใหม่
๔.๑ รายงานผลการพิจารณาของคณะทำงานเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อสมาชิกให้
ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการและพิจารณากรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ (ตั้งซ่อมกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดสมุทรสาคร แทนตำแหน่ง ที่ว่างลง เพราะนายทองแทน เลิศลัทธภรณ์ ลาออก)
ประธานคณะกรรมาธิการประจำจังหวัดสมุทรสาคร ได้เสนอนายสุนทร ศศิธร เป็น กรรมาธิการฯ แทนตำแหน่งที่ว่าง และในส่วนของกรรมาธิการฯ ประจำจังหวัดชลบุรีนั้น ประธาน คณะกรรมาธิการประจำจังหวัดชลบุรี ได้เสนอให้นายปรีชา ประเสริฐศักดิ์ เป็นกรรมาธิการแทน นายสุชาติ เถาทอง ซึ่งขอลาออก
๔.๒ พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเหนือ
นายวิชัย ศรีขวัญ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่า จากกรณีที่มีการอภิปรายถึง ความไม่โปร่งใสในการใช้งบประมาณของกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือนั้น จากการสอบถามข้อมูลเบื้องต้น รวมทั้งได้เดินทางไปตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการรับฟังความคิดเห็นฯ และการใช้จ่ายงบประมาณ พบว่า กรรมาธิการฯ ได้ดำเนินการตามกรอบและแนวทางที่กำหนดการใช้จ่ายงบประมาณ ไม่มีการจัดเลี้ยง ไม่ได้แจกเสื้อคลุมแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา ตลอดจนการเบิกจ่ายค่าวิทยากรเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงการคลังกำหนดทุกประการ
๕. เรื่องอื่น ๆ (ไม่มี)
ปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๕ นาฬิกา
--------------------------------------------------------
วันอังคารที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๐
การประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๔/๒๕๕๐ เป็นพิเศษ วันอังคารที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๐๙.๕๕ นาฬิกา โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธานการประชุม เมื่อสมาชิกฯ มาครบองค์ประชุม ประธานฯ ได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม (ไม่มี)
๒. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
๓. เรื่องที่ค้างพิจารณา
พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ (ค้างมาจากการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ ๑๓/๒๕๕๐ วันจันทร์ที่ ๒ เมษายน ๒๕๕๐)
นายวิชัย รูปขำดี ประธานคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ได้รายงานว่า คณะกรรมาธิการฯ มีหน้าที่หลัก ๓ ประการคือ
๑. กำหนดรูปแบบ วิธีการที่จะรับฟังความคิดเห็นจากองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
๒. ติดต่อและประสานงานจากองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อนำความคิดเห็นเสนอต่อ
สภาร่างรัฐธรรมนูญ และคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
๓. จัดทำรายงานผลการรับฟังความคิดเห็นให้เป็นระบบในรูปของสื่อเอกสารและ
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งขณะนี้ได้มีการดำเนินการรับฟังความคิดเห็นในเบื้องต้นไปแล้ว โดยแยกเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่ม ๑๑ องค์กร และกลุ่มบุคคลตามรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งได้มีการประมวลไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว
จากนั้น นายชวลิต หมื่นนุช เลขานุการคณะกรรมาธิการฯ ได้รายงานเกี่ยวกับ กระบวนการในการกำหนดกรอบแนวคิดและการจัดเก็บข้อมูลของคณะกรรมาธิการฯ ว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ไปทำการสำรวจความคิดเห็น โดยใช้แบบสำรวจความคิดเห็น และได้ประมวลจากข้อสรุปและ ผลการศึกษาวิจัยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญขององค์กรต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่ได้ทำการศึกษาสำรวจไว้ ซึ่งประกอบด้วย
๑. การรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรและบุคคล
๒. รวบรวมผลการศึกษาวิจัย การประชุมสัมมนา ข้อเสนอในประเด็นเกี่ยวกับการ
แก้ไขรัฐธรรมนูญจาก ๔ หน่วยงาน คือ สถาบันพระปกเกล้า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
๓. นำกรอบแนวทางหลักที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้มาประกอบ
ในการทำแบบสำรวจ โดยส่งไปให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญ จำนวน ๑๒ องค์กร
นายศักดิ์นรินทร์ เขื่อนอ้น ผู้ช่วยโฆษกคณะกรรมาธิการ และนายชาติชาย แสงสุข คณะกรรมาธิการฯ ได้ร่วมรายงานในส่วนของสถาบันการศึกษาว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ใช้สื่ออิเล็กทรอนิคส์มาช่วยในการจัดทำ โดยเปิดเว็บไซต์ www.c4fclub.net ซึ่งได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากชมรมรักกันเตือนกัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเจ้าหน้าที่จาก IBM เพื่อรวบรวมข้อมูลที่นิสิตนักศึกษาใช้เว็บไซต์ดังกล่าว จากการสำรวจระหว่างวันที่ ๒๗-๓๑ มีนาคม ๒๕๕๐ มีผลสำรวจดังนี้
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ ๗๕ เห็นด้วยกับการลดจำนวน ส.ส. และ ส.ว. ร้อยละ ๗๔ เห็นด้วยที่ควรมี ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ร้อยละ ๗๑ เห็นด้วยที่ ส.ส. ต้องจบการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ ๗๓ ไม่เห็นด้วยที่ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ ๖๖ เห็นว่า ส.ส. ควรมีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ ร้อยละ ๗๔ ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดเขตเลือกตั้งเป็นเขตละคน ร้อยละ ๖๗ เห็นว่า ส.ว.ควรมีที่มาจากการสรรหาตัวแทนของภาคส่วนต่าง ๆ ร้อยละ ๗๑ เห็นว่า ส.ว.ที่มาจากการสรรหาควรมีอำนาจถอดถอนนักการเมือง ร้อยละ ๗๕ เห็นควรมีองค์กรหรือฝ่ายตุลาการทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรอิสระร้อยละ ๗๖ เห็นว่า นายกรัฐมนตรีควรมาจาก ส.ส. และควรคงสมาชิกภาพ ส.ส. ร้อยละ ๗๗ เห็นว่า นายกรัฐมนตรีควรดำรงตำแหน่งไม่เกิน ๒ วาระติดต่อกันหรือไม่ควรเกิน ๘ ปี ร้อยละ ๗๓ เห็นควรห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีมีผลประโยชน์ทับซ้อน ร้อยละ ๗๓ เห็นว่า นายกรัฐมนตรีควรถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจและถูกตรวจสอบได้ง่ายขึ้น ร้อยละ ๗๗ เห็นว่า ควรกำหนดให้ชัดเจนกรณีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แม้เป็นเพียงการรอลงอาญา ควรให้พ้นจากตำแหน่ง ร้อยละ ๗๖ เห็นว่าองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญควรปลอดจากอำนาจครอบงำทางการเมือง ร้อยละ ๗๒ เห็นควรให้กำหนดจริยธรรมและคุณธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของนักการเมือง ร้อยละ ๗๓ ควรกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น โดยมีระบบตรวจสอบที่มี ประสิทธิภาพ และร้อยละ ๗๔ เห็นควรเพิ่มอำนาจและบทบาทให้กับชุมชนในการพัฒนาชุมชนและ การมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ
จากนั้นกรรมาธิการฯ ได้รายงานต่อว่า หมวด ๑ บททั่วไป ประเด็นศาสนาประจำชาติ และศาสนาอื่นให้คงไว้ หมวด ๓ สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย เช่น ประเด็นการรับรองสิทธิเสรีภาพ ทางการเมืองและการตรวจสอบอำนาจรัฐ ควรให้ประชาชนมีบทบาทมากขึ้น หมวด ๕ แนวนโยบาย
พื้นฐานแห่งรัฐ เช่น การกำหนดให้รัฐต้องสนับสนุนการพัฒนาประเทศตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง การกำหนดมาตรฐานและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หมวด ๖ รัฐสภา เช่น ควรยกเลิก ส.ส. บัญชีรายชื่อ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคอย่างน้อย ๓๐ วัน ส.ส. ต้องจบปริญญาตรี ลดจำนวน ส.ส. เขต เหลือ ๓๐๐ คน และให้ใช้การเลือกแบบเขตละ ๓ คน กำหนดให้ ผู้สมัครที่ได้คะแนนถัดไป เป็น ส.ส. แทนผู้ได้รับใบแดง ใบเหลือง โดยไม่ต้องเลือกตั้งซ่อม ส.ว. ควร ลดเหลือ ๑๐๐ คน และมาจากการสรรหาจากตัวแทนของทุกภาคส่วนในสังคม เพิ่มอำนาจในการ ถอดถอนนักการเมือง แต่ลดอำนาจแต่งตั้งถอดถอนองค์กรอิสระ และการชี้ขาดการเลือกตั้งให้เป็นอำนาจศาล หมวด ๗ คณะรัฐมนตรี เช่น ที่มาของนายกรัฐมนตรีสามารถแต่งตั้งบุคคลที่มาจาก ภายนอกได้ กำหนดวาระของนายกรัฐมนตรีไม่เกิน ๒ วาระติดต่อกัน กำหนดให้รัฐมนตรีจะเป็น ส.ส. ในขณะเดียวกันไม่ได้ หมวด ๘ ศาล เช่น ควรกำหนดที่มาของศาลรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๐ การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่น การขยายการแสดงบัญชีทรัพย์สินให้ครอบคลุมถึงผู้ช่วยและเลขานุการ รัฐมนตรีและข้าราชการระดับสูง
จากนั้นสมาชิกฯ ได้อภิปรายโดยเฉพาะประเด็น
- ควรมีการพิมพ์เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว
- ทำอย่างไรจึงสามารถรับฟังความคิดเห็นจาก ๑๑ องค์กร ได้อย่างทั่วถึงและทันเวลา
- ควรไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและเน้นในประเด็นความต้องการของ
ประชาชนให้มากขึ้น
นายวิชัย รูปขำดี ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า มีสถาบันการศึกษาบางสถาบันไม่ทราบว่าตนเองมีบทบาทในการร่วมเสนอความคิดเห็นการร่างรัฐธรรมนูญ ในเรื่อง ดังกล่าวนี้ขอให้มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ให้สถาบันต่าง ๆ ได้ทราบถึงบทบาทของตนให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการร่างรัฐธรรมนูญ
จากนั้นนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ ขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการเผยแพร่ไปจัดทำแผนงานในการเผยแพร่ให้ทั่วถึงและเกิดประสิทธิผลให้มากที่สุด เนื่องจากร่างรัฐธรรมนูญจะแล้วเสร็จในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๐
เรื่องด่วน
๑. มอบหมายให้คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ดำเนินการจัดและควบคุมการออกเสียง
ประชามติ
ที่ประชุมรับทราบ
๒. พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการยกร่าง
รัฐธรรมนูญ
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้รายงานผลการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ได้มีการพิจารณาในหมวดของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วน ในหมวดของรัฐสภานั้นจะนำไปประชุมในวันที่ ๖-๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ ที่บางแสน จังหวัดชลบุรี ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ฉบับนี้จะมีจำนวนทั้งสิ้น ๓๑๗ มาตรา และสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญสามารถแปรญัตติได้ตั้งแต่วันที่ ๒๗ เมษายน - ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ กรรมาธิการฯ จะชี้แจงร่างรัฐธรรมนูญกับประชาชนและองค์กรตามรัฐธรรมนูญใน กทม. และต่างจังหวัด ในวันที่ ๒๗ พฤษภาคม - ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ มีการพิจารณาประเด็นการแปรญัตติและความเห็นต่าง ๆ พร้อมแก้ร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ ส่งร่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขแล้วให้สภาร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๕๐ เริ่มพิจารณาหลักการร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่จำเป็นสำหรับการเลือกตั้ง ในวันที่ ๒๐ มิถุนายน - ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๐ พิจารณาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ในวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาในวันที่ ๑๙ หรือ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๐ และมีการทำประชามติในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๐ เลือกตั้ง
จากนั้นสมาชิกฯ ได้อภิปรายและเสนอแนะโดยเฉพาะประเด็น
- ควรให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่อยู่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
มีโอกาสเข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นในการสัมมนา ณ จังหวัดชลบุรี
- มาตรา ๖๗ ที่เกี่ยวกับการต่อต้านการให้ได้มาซึ่งอำนาจอันไม่ชอบ ในบทบัญญัติ
ดังกล่าวนี้ ได้มีการสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนหรือไม่
- ควรบรรจุความคิดเห็นของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และของประชาชนลงใน
ร่างรัฐธรรมนูญ
- ควรรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนด้านต่างประเทศ โดยใช้หลักสากลเพื่อการ
พัฒนาประเทศให้ทันต่อประเทศเพื่อนบ้าน
- ใช้วิธีประมวลความคิดเห็นของประชาชนอย่างไร เพื่อให้ความคิดเห็นของประชาชน
ได้รับการบรรจุในร่างรัฐธรรมนูญอย่างทั่วถึง
นายปกรณ์ ปรียากร โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ตอบชี้แจงว่า การประชุมสัมมนาเป็นไปอย่างเปิดเผยและได้มีการแถลงผลการประชุมวันละ ๒ ครั้ง รวมทั้งได้มีการประสานกับคณะกรรมาธิการคณะต่าง ๆ ที่ไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของ ความคิดเห็นของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและประชาชนนั้น กรรมาธิการฯ ได้นำข้อมูลต่าง ๆ มาพิจารณาด้วยเช่นกัน สำหรับความคิดเห็น มาตรา ๖๗ นั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป และในประเด็นที่ว่า ควรให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้อยู่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเข้าร่วมแสดง
ความคิดเห็นด้วยนั้น ในเรื่องดังกล่าวนี้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญสามารถเข้าร่วมสัมมนาได้ เนื่องจากเป็นการประชุมโดยเปิดเผย สำหรับการประมวลความคิดเห็นของประชาชนนั้นได้มีการประมวล ทุกสัปดาห์ เพื่อให้คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ได้นำบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนข้อมูลของสภาร่าง รัฐธรรมนูญก็ได้มีการรับฟังและรับไปพิจารณาด้วยเช่นกัน ซึ่งการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวนี้ได้มีการนำข้อมูลต่าง ๆ ทั้งของประชาชน สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และข้อมูลในเชิงคุณภาพไปบรรจุ ในร่างรัฐธรรมนูญภายหลังจากการกลั่นกรอง และมีการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว และขณะนี้ยังคงเปิดการรับฟังความคิดเห็นอยู่
๔. เรื่องที่เสนอใหม่
๔.๑ รายงานผลการพิจารณาของคณะทำงานเพื่อพิจารณาเสนอรายชื่อสมาชิกให้
ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการและพิจารณากรอบอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ (ตั้งซ่อมกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดสมุทรสาคร แทนตำแหน่ง ที่ว่างลง เพราะนายทองแทน เลิศลัทธภรณ์ ลาออก)
ประธานคณะกรรมาธิการประจำจังหวัดสมุทรสาคร ได้เสนอนายสุนทร ศศิธร เป็น กรรมาธิการฯ แทนตำแหน่งที่ว่าง และในส่วนของกรรมาธิการฯ ประจำจังหวัดชลบุรีนั้น ประธาน คณะกรรมาธิการประจำจังหวัดชลบุรี ได้เสนอให้นายปรีชา ประเสริฐศักดิ์ เป็นกรรมาธิการแทน นายสุชาติ เถาทอง ซึ่งขอลาออก
๔.๒ พิจารณารายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชน ภาคเหนือ
นายวิชัย ศรีขวัญ ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ชี้แจงว่า จากกรณีที่มีการอภิปรายถึง ความไม่โปร่งใสในการใช้งบประมาณของกรรมาธิการวิสามัญรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนประจำจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือนั้น จากการสอบถามข้อมูลเบื้องต้น รวมทั้งได้เดินทางไปตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการรับฟังความคิดเห็นฯ และการใช้จ่ายงบประมาณ พบว่า กรรมาธิการฯ ได้ดำเนินการตามกรอบและแนวทางที่กำหนดการใช้จ่ายงบประมาณ ไม่มีการจัดเลี้ยง ไม่ได้แจกเสื้อคลุมแก่ผู้เข้าร่วมสัมมนา ตลอดจนการเบิกจ่ายค่าวิทยากรเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงการคลังกำหนดทุกประการ
๕. เรื่องอื่น ๆ (ไม่มี)
ปิดประชุมเวลา ๑๓.๐๕ นาฬิกา
--------------------------------------------------------