รัฐธรรมนูญใหม่: จะแก้หรือสร้างวิกฤติ?
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
www.abhisit.org
การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น ตกเป็นข่าวและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้เกิดความตื่นตัวในหมู่ประชาชน เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจ และการเตรียมพร้อมสำหรับการกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในอนาคตอันใกล้
อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเมืองก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะความขัดแย้งในสังคมยังคงมีอยู่สูง รัฐธรรมนูญและกระบวนการฟื้นฟูประชาธิปไตยจึงต้องทำหน้าที่ในการคลี่คลายวิกฤติทางการเมืองให้ได้ มิฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จะกลายเป็นรัฐประหารที่มีแต่สร้างต้นทุนให้กับสังคมไทย หลายฝ่ายเริ่มวิตกกังวลว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับอาจจะไม่ง่าย โดยเฉพาะจะต้องมีการทำประชามติหากร่างรัฐรัฐธรรมนูญผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกระบวนการใหม่สำหรับสังคมไทย
แท้ที่จริงแล้ว การจะคลี่คลายวิกฤติไม่ได้เป็นเรื่องยาก เพียงแต่ทุกฝ่ายที่ทำหน้าที่จะต้องยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ หลักประชาธิปไตย กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญก็เช่นเดียวกัน จำเป็นจะต้องเคารพหลักการนี้ ในทุกขั้นตอน และแง่มุมดังต่อไปนี้
๑. การรับฟังทุกฝ่ายรวมทั้งนักการเมืองโดยปราศจากอคติ การมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งในการได้เนื้อหาสาระที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในการสร้างความชอบธรรมผ่านการยอมรับของประชาชน
ปัจจุบันสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดให้มีกระบวนการรับฟังและการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ แต่สิ่งซึ่งเป็นปัญหามาโดยตลอดทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร คือ อคติที่มีต่อนักการเมือง และพรรคการเมือง อย่างน้อยที่สุดในครั้งนี้สมาชิกพรรคการเมืองไม่ต่ำกว่า ๒๕ ล้านคน ก็ไม่สามารถเข้าไปเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ และเมื่อคำสั่ง คปค. ฉบับที่ ๑๕ และ ๒๗ ยังมีผลบังคับใช้อยู่ การเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบของพรรคการเมืองในการสะท้อนความคิดเห็นในเรื่องนี้ก็มีข้อจำกัดอยู่
ผมยอมรับว่าในวงการเมืองมีนักการเมืองและพรรคการเมืองที่เลว และนักการเมืองก็มีส่วนสร้างปัญหาต่างๆอยู่ไม่น้อย แต่ไม่ได้หมายความว่านักการเมืองทุกคน พรรคการเมืองทุกพรรคจะเลวไปหมด ผู้ร่างรัฐธรรมนูญสามารถที่จะใช้วิจารณญาณแยกแยะความเห็น หรือ ข้อเสนอต่างๆของพรรคการเมืองตามเหตุและผลได้ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์ส่วนรวม
ผู้ร่างรัฐธรรมนูญควรใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติและขจัดอคติที่ยังมีอยู่ที่บางคนถึงกับเข้าใจว่า หากเสนออะไรที่นักการเมืองค้านกันมากๆ แปลว่า เป็นเรื่องที่ดี โดยคิดเพียงว่า คงจะไปขัดผลประโยชน์ของนักการเมือง ทั้งๆที่การคัดค้านอาจมาจากเจตนาที่บริสุทธิ์ และการเล็งเห็นที่เกิดจากข้อเสนอโดยอาศัยประสบการณ์ทางการเมือง
การรับฟังทุกฝ่ายอย่างแท้จริงจะช่วยลดการเผชิญหน้าหรือความขัดแย้งเกี่ยวกับประเด็นรัฐธรรมนูญได้มาก แม้ว่าบทบัญญัติแต่ละมาตราคงไม่สามารถทำให้ทุกฝ่ายพอใจได้ แต่การมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนและหาข้อยุติด้วยเหตุและผล จะทำให้เกิดความยอมรับได้ระดับหนึ่ง
๒. ทำให้การประชามติสร้างความชอบธรรมให้รัฐธรรมนูญ การกำหนดให้มีการประชามติในการจัดทำรัฐธรรมนูญคงมีเป้าหมายนี้อยู่แล้ว เพราะคณะรัฐประหารคงตระหนักดีว่ารัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไปเป็นรัฐธรรมนูญที่มีกระบวนการร่างในบรรยากาศประชาธิปไตย ในขณะที่รัฐธรรมนูญใหม่จะเป็นรัฐธรรมนูญหลังการรัฐประหาร แต่กระบวนการประชามติจะสร้างความชอบธรรมได้ ก็ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
๒.๑ มีการให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน การประชามติจะไม่มีความหมายใดๆ หากผู้ไปลงประชามติไม่รู้ว่าตนกำลังตัดสินใจในเรื่องอะไร และ ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ดังนั้น การปูทางให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่จำเป็นมากและต้องทำอย่างเข้มข้น เพราะรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องซับซ้อน และเวลามีจำกัด
๒.๒ ต้องมีบรรยากาศของเสรีภาพ การแสวงหามติของประชาชนจะมีความหมายก็ต่อเมื่อประชาชนมีทางเลือก ฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านจะต้องสามารถนำเสนอข้อมูลและความเห็นของฝ่ายตนได้อย่างเท่าเทียมกัน หากการประชามติมีแต่การนำเสนอให้ประชาชน “ต้องรับ” หรือ “ไม่รับ” การประชามติก็เป็นเพียงการให้ประชาชนเป็นตรายางของผู้นำเสนอข้อมูลฝ่ายเดียว สภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงต้องเร่งจัดทำกฎหมายว่าด้วยการประชามติเพื่อสร้างหลักประกันในข้อนี้
๒.๓ การประชามติต้องสุจริต เที่ยงธรรม ในทางปฏิบัติ การจัดทำประชามติแทบไม่ต่างอะไรจากการเลือกตั้ง ซึ่งหมายถึง การทุจริต การซื้อเสียง การใช้กลไกของรัฐสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบย่อมเกิดขึ้นได้ กฎหมายประชามติจะต้องมีบทบัญญัติ ป้องกัน และกำหนดโทษ ไม่ให้เกิดการบิดเบือนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชนได้
แต่ที่สำคัญที่สุด การประชามติจะสร้างความชอบธรรมได้นั้น ประชาชนต้องรู้ล่วงหน้าว่าหากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว จะได้รัฐธรรมนูญฉบับใดมา เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้อำนาจไว้กับคมช. และรัฐบาลที่จะหยิบยกรัฐธรรมนูญเก่าฉบับใดก็ได้ และแก้ไขปรับปรุงได้ด้วย รัฐบาลและคมช.ต้องประกาศจุดยืนให้ชัดว่า จะตัดสินใจอย่างไร เช่น จะหยิบรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๐โดยแก้ไขเฉพาะเรื่องที่มาขององค์กรอิสระ เป็นต้น การให้ประชาชนไปลงประชามติโดยให้คาดเดา ทางเลือก ไม่อาจสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐธรรมนูญได้ ตรงกันข้ามหากทางเลือกชัดเจน และ ประชาชนยอมรับกระบวนการที่เป็นไปตามเงื่อนไขทั้งหมดนี้แล้ว การประชามติจะสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ไม่ว่าผลการประชามติจะออกมาทางใด
๓. เหนือสิ่งอื่นใด สาระของรัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาธิปไตย ที่สุดแล้วการเมืองไทยจะก้าวพ้นวิกฤติได้ก็ต่อเมื่อเรามีรัฐธรรมนูญที่ทำให้ประชาธิปไตยไทยเดินต่อไปได้ แม้จะไม่สมบูรณ์ แต่สภาที่มาจากการเลือกตั้งที่ชอบธรรมก็จะสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ในอนาคต ตรงกันข้ามรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเสี่ยงต่อการสร้างวิกฤติใหม่ขึ้นมา ตั้งแต่ขั้นตอนการร่าง การทำประชามติ หรือ ปัญหาการเผชิญหน้าที่อาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเลือกตั้ง
ดังนั้นผู้ร่างรัฐธรรมนูญจึงต้องคำนึงถึงสิ่งนี้มากที่สุด จะเห็นได้ว่าช่วงที่มีข้อเสนอว่า นายกฯอาจไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง การเมืองจะมีความอึมครึม และตึงเครียดขึ้นมาทันที แต่เมื่อมีแนวโน้มว่าจะไม่มีประเด็นนี้ บรรยากาศก็ผ่อนคลายลง เช่นเดียวกันข้อเสนอใดๆที่ไปบั่นทอนการให้ประชาชนแสดงเจตนารมณ์ผ่านการเลือกตั้งและพรรคการเมืองก็จะสร้างปัญหาขึ้นมา เช่น แนวคิดที่จะให้ประชาชนใช้สิทธิเลือก สส.ได้ ๑ คน ในเขตเลือกตั้งที่มีสส. ได้หลายคน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสภาพเบี้ยหัวแตก และความแตกแยกของพรรคการเมือง ทำให้ความเป็นประชาธิปไตยของรัฐธรรมนูญถดถอยไปทันที
ที่จริงแล้ว การหลีกเลี่ยงปัญหาไม่ยาก หากมุ่งแก้ไขเฉพาะจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว เช่น การเสริมความแข็งแกร่งของการตรวจสอบ การแก้ปัญหาธุรกิจการเมืองเป็นหลัก แทนที่จะไปคิดค้นอะไรมาทดลองกันอีก
เราต้องยอมถอยมา ๑ ก้าวจากการรัฐประหารแล้ว เราควรจะได้รัฐธรรมนูญใหม่ที่ทำให้ประชาธิปไตย และบ้านเมืองเดินหน้าไปอย่างน้อย ๒ ก้าว เพื่อหลุดพ้นจากวิกฤติที่บั่นทอนความผาสุกของประชาชนมานานนับปี
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ก.พ. 2550--จบ--
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
www.abhisit.org
การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น ตกเป็นข่าวและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้เกิดความตื่นตัวในหมู่ประชาชน เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจ และการเตรียมพร้อมสำหรับการกลับเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในอนาคตอันใกล้
อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเมืองก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะความขัดแย้งในสังคมยังคงมีอยู่สูง รัฐธรรมนูญและกระบวนการฟื้นฟูประชาธิปไตยจึงต้องทำหน้าที่ในการคลี่คลายวิกฤติทางการเมืองให้ได้ มิฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จะกลายเป็นรัฐประหารที่มีแต่สร้างต้นทุนให้กับสังคมไทย หลายฝ่ายเริ่มวิตกกังวลว่าการจัดทำรัฐธรรมนูญให้เป็นที่ยอมรับอาจจะไม่ง่าย โดยเฉพาะจะต้องมีการทำประชามติหากร่างรัฐรัฐธรรมนูญผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกระบวนการใหม่สำหรับสังคมไทย
แท้ที่จริงแล้ว การจะคลี่คลายวิกฤติไม่ได้เป็นเรื่องยาก เพียงแต่ทุกฝ่ายที่ทำหน้าที่จะต้องยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ หลักประชาธิปไตย กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญก็เช่นเดียวกัน จำเป็นจะต้องเคารพหลักการนี้ ในทุกขั้นตอน และแง่มุมดังต่อไปนี้
๑. การรับฟังทุกฝ่ายรวมทั้งนักการเมืองโดยปราศจากอคติ การมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องสำคัญ ทั้งในการได้เนื้อหาสาระที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในการสร้างความชอบธรรมผ่านการยอมรับของประชาชน
ปัจจุบันสภาร่างรัฐธรรมนูญจัดให้มีกระบวนการรับฟังและการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ แต่สิ่งซึ่งเป็นปัญหามาโดยตลอดทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร คือ อคติที่มีต่อนักการเมือง และพรรคการเมือง อย่างน้อยที่สุดในครั้งนี้สมาชิกพรรคการเมืองไม่ต่ำกว่า ๒๕ ล้านคน ก็ไม่สามารถเข้าไปเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้ และเมื่อคำสั่ง คปค. ฉบับที่ ๑๕ และ ๒๗ ยังมีผลบังคับใช้อยู่ การเคลื่อนไหวอย่างเป็นระบบของพรรคการเมืองในการสะท้อนความคิดเห็นในเรื่องนี้ก็มีข้อจำกัดอยู่
ผมยอมรับว่าในวงการเมืองมีนักการเมืองและพรรคการเมืองที่เลว และนักการเมืองก็มีส่วนสร้างปัญหาต่างๆอยู่ไม่น้อย แต่ไม่ได้หมายความว่านักการเมืองทุกคน พรรคการเมืองทุกพรรคจะเลวไปหมด ผู้ร่างรัฐธรรมนูญสามารถที่จะใช้วิจารณญาณแยกแยะความเห็น หรือ ข้อเสนอต่างๆของพรรคการเมืองตามเหตุและผลได้ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือประโยชน์ส่วนรวม
ผู้ร่างรัฐธรรมนูญควรใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติและขจัดอคติที่ยังมีอยู่ที่บางคนถึงกับเข้าใจว่า หากเสนออะไรที่นักการเมืองค้านกันมากๆ แปลว่า เป็นเรื่องที่ดี โดยคิดเพียงว่า คงจะไปขัดผลประโยชน์ของนักการเมือง ทั้งๆที่การคัดค้านอาจมาจากเจตนาที่บริสุทธิ์ และการเล็งเห็นที่เกิดจากข้อเสนอโดยอาศัยประสบการณ์ทางการเมือง
การรับฟังทุกฝ่ายอย่างแท้จริงจะช่วยลดการเผชิญหน้าหรือความขัดแย้งเกี่ยวกับประเด็นรัฐธรรมนูญได้มาก แม้ว่าบทบัญญัติแต่ละมาตราคงไม่สามารถทำให้ทุกฝ่ายพอใจได้ แต่การมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนและหาข้อยุติด้วยเหตุและผล จะทำให้เกิดความยอมรับได้ระดับหนึ่ง
๒. ทำให้การประชามติสร้างความชอบธรรมให้รัฐธรรมนูญ การกำหนดให้มีการประชามติในการจัดทำรัฐธรรมนูญคงมีเป้าหมายนี้อยู่แล้ว เพราะคณะรัฐประหารคงตระหนักดีว่ารัฐธรรมนูญที่ถูกยกเลิกไปเป็นรัฐธรรมนูญที่มีกระบวนการร่างในบรรยากาศประชาธิปไตย ในขณะที่รัฐธรรมนูญใหม่จะเป็นรัฐธรรมนูญหลังการรัฐประหาร แต่กระบวนการประชามติจะสร้างความชอบธรรมได้ ก็ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
๒.๑ มีการให้ข้อมูลข่าวสารที่ครบถ้วน การประชามติจะไม่มีความหมายใดๆ หากผู้ไปลงประชามติไม่รู้ว่าตนกำลังตัดสินใจในเรื่องอะไร และ ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ดังนั้น การปูทางให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่จำเป็นมากและต้องทำอย่างเข้มข้น เพราะรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องซับซ้อน และเวลามีจำกัด
๒.๒ ต้องมีบรรยากาศของเสรีภาพ การแสวงหามติของประชาชนจะมีความหมายก็ต่อเมื่อประชาชนมีทางเลือก ฝ่ายสนับสนุนและคัดค้านจะต้องสามารถนำเสนอข้อมูลและความเห็นของฝ่ายตนได้อย่างเท่าเทียมกัน หากการประชามติมีแต่การนำเสนอให้ประชาชน “ต้องรับ” หรือ “ไม่รับ” การประชามติก็เป็นเพียงการให้ประชาชนเป็นตรายางของผู้นำเสนอข้อมูลฝ่ายเดียว สภานิติบัญญัติแห่งชาติจึงต้องเร่งจัดทำกฎหมายว่าด้วยการประชามติเพื่อสร้างหลักประกันในข้อนี้
๒.๓ การประชามติต้องสุจริต เที่ยงธรรม ในทางปฏิบัติ การจัดทำประชามติแทบไม่ต่างอะไรจากการเลือกตั้ง ซึ่งหมายถึง การทุจริต การซื้อเสียง การใช้กลไกของรัฐสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบย่อมเกิดขึ้นได้ กฎหมายประชามติจะต้องมีบทบัญญัติ ป้องกัน และกำหนดโทษ ไม่ให้เกิดการบิดเบือนเจตนารมณ์ที่แท้จริงของประชาชนได้
แต่ที่สำคัญที่สุด การประชามติจะสร้างความชอบธรรมได้นั้น ประชาชนต้องรู้ล่วงหน้าว่าหากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว จะได้รัฐธรรมนูญฉบับใดมา เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวให้อำนาจไว้กับคมช. และรัฐบาลที่จะหยิบยกรัฐธรรมนูญเก่าฉบับใดก็ได้ และแก้ไขปรับปรุงได้ด้วย รัฐบาลและคมช.ต้องประกาศจุดยืนให้ชัดว่า จะตัดสินใจอย่างไร เช่น จะหยิบรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๐โดยแก้ไขเฉพาะเรื่องที่มาขององค์กรอิสระ เป็นต้น การให้ประชาชนไปลงประชามติโดยให้คาดเดา ทางเลือก ไม่อาจสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐธรรมนูญได้ ตรงกันข้ามหากทางเลือกชัดเจน และ ประชาชนยอมรับกระบวนการที่เป็นไปตามเงื่อนไขทั้งหมดนี้แล้ว การประชามติจะสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ไม่ว่าผลการประชามติจะออกมาทางใด
๓. เหนือสิ่งอื่นใด สาระของรัฐธรรมนูญต้องเป็นประชาธิปไตย ที่สุดแล้วการเมืองไทยจะก้าวพ้นวิกฤติได้ก็ต่อเมื่อเรามีรัฐธรรมนูญที่ทำให้ประชาธิปไตยไทยเดินต่อไปได้ แม้จะไม่สมบูรณ์ แต่สภาที่มาจากการเลือกตั้งที่ชอบธรรมก็จะสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ในอนาคต ตรงกันข้ามรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นประชาธิปไตยเสี่ยงต่อการสร้างวิกฤติใหม่ขึ้นมา ตั้งแต่ขั้นตอนการร่าง การทำประชามติ หรือ ปัญหาการเผชิญหน้าที่อาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังเลือกตั้ง
ดังนั้นผู้ร่างรัฐธรรมนูญจึงต้องคำนึงถึงสิ่งนี้มากที่สุด จะเห็นได้ว่าช่วงที่มีข้อเสนอว่า นายกฯอาจไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง การเมืองจะมีความอึมครึม และตึงเครียดขึ้นมาทันที แต่เมื่อมีแนวโน้มว่าจะไม่มีประเด็นนี้ บรรยากาศก็ผ่อนคลายลง เช่นเดียวกันข้อเสนอใดๆที่ไปบั่นทอนการให้ประชาชนแสดงเจตนารมณ์ผ่านการเลือกตั้งและพรรคการเมืองก็จะสร้างปัญหาขึ้นมา เช่น แนวคิดที่จะให้ประชาชนใช้สิทธิเลือก สส.ได้ ๑ คน ในเขตเลือกตั้งที่มีสส. ได้หลายคน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดสภาพเบี้ยหัวแตก และความแตกแยกของพรรคการเมือง ทำให้ความเป็นประชาธิปไตยของรัฐธรรมนูญถดถอยไปทันที
ที่จริงแล้ว การหลีกเลี่ยงปัญหาไม่ยาก หากมุ่งแก้ไขเฉพาะจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้ว เช่น การเสริมความแข็งแกร่งของการตรวจสอบ การแก้ปัญหาธุรกิจการเมืองเป็นหลัก แทนที่จะไปคิดค้นอะไรมาทดลองกันอีก
เราต้องยอมถอยมา ๑ ก้าวจากการรัฐประหารแล้ว เราควรจะได้รัฐธรรมนูญใหม่ที่ทำให้ประชาธิปไตย และบ้านเมืองเดินหน้าไปอย่างน้อย ๒ ก้าว เพื่อหลุดพ้นจากวิกฤติที่บั่นทอนความผาสุกของประชาชนมานานนับปี
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 18 ก.พ. 2550--จบ--