วันนี้ (23 มี.ค.) เมื่อเวลา 9.30 น. ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ 1 สมัยสามัญทั่วไป ณ ห้องประชุม อาคารรัฐสภา นายโภคิน พลกุล ประธานรัฐสภา ได้เริ่มเปิดการประชุมรัฐสภา โดยได้แจ้งวาระเพื่อทราบ เกี่ยวกับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งองคมนตรีเพิ่มเติม จากนั้นได้ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาล ต่อมานายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ขึ้นอภิปรายเป็นคนแรก สรุปประเด็นการอภิปรายได้ดังนี้
ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
สภาพของปัญหา
ปัญหาชายแดนภาคใต้มีความเป็นมาที่สลับซับซ้อน ทั้งทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ฯลฯ สถานการณ์ได้เสื่อมถอยลงมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะแนวนโยบายของรัฐบาลที่ ทำลายความไว้วางใจระหว่างรัฐบาลและประชาชนและสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชนด้วยกันเองมากขึ้น ทำให้มีการตอบโต้ใช้ความรุนแรงกันไม่จบไม่สิ้น มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน รวมถึงการทำลายบรรยากาศทางการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน ตลอดจนความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเฉพาะในปี 2547 มีการสูญเสียชีวิต เกือบ 600 ราย อันมีผลโดยตรงต่อภาพพจน์ของประเทศโดยส่วนรวม ซึ่งหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างชัดเจนแล้ว ปัญหาอาจขยายวงกว้าง อันจะนำไปสู่ปัญหาระดับนานาชาติ ดังนั้นจึงจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องมีนโยบายสมานฉันท์โดยเร็วที่สุด
เป้าหมายและหลักสำคัญในการแก้ปัญหา
1. ยอมรับว่ามีกลุ่มคนที่มีความคิดแบ่งแยกดินแดน แต่ต้องดำเนินมาตรการให้มวลชนร่วมมือกับรัฐในการสร้างสันติสุขในพื้นที่
2. มองปัญหาให้ครบทุกมิติ ทั้งในเรื่องของความมั่นคง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมและการต่างประเทศ
3. ใช้แนวทางของความสมานฉันท์ การมีส่วนร่วม และการยอมรับความหลากหลายในวิถีชีวิตและการเคารพสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน
4. หลีกเลี่ยงการสร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่ความแตกแยกทุกรูปแบบ
ข้อเสนอ
1. ส่งสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายในทุกระดับ
2. เลิกความคิดเรื่องการแบ่งสีแบ่งโซนตามอำเภอที่เป็นเงื่อนไขในการได้รับงบประมาณ
3. การกำหนดบทบาทของทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง
-ควรใช้คนในพื้นที่ให้มากที่สุด
-หากมีการตั้งกองพลพัฒนา ควรกำหนดโครงการที่เป็นรูปธรรม เช่น โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยให้กองกำลังดังกล่าวดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมั่นใจและเห็นอย่างเป็นรูปธรรมในบทบาทของการพัฒนา
4. กำหนดโครงสร้างการบริหารพื้นที่ ที่ยึดหลักบูรณาการ การมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย โดยให้ผู้บังคับบัญชาสูงสุดเป็นพลเรือน หรือเป็นผู้บังคับบัญชาร่วมกับฝ่ายความมั่นคงในทุกระดับ
5. เร่งลงทุนในเรื่องการศึกษา และการพัฒนาอาชีพโดยคำนึงถึงวัฒนธรรมของชุมชน
6.ใช้มาตรการทางการทูตเพื่อสร้างความเข้าใจในหมู่ประเทศมุสลิมเพื่อป้องกันการส่งสัญญาณที่ผิดและการยกระดับของปัญหาไปสู่ระดับนานาชาติ
7. การอำนวยความยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายต้องเป็นไปอย่างเคร่งครัด เสมอภาค โดยเฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ละเมิดกฎหมายเอง ต้องมีมาตรการหาผู้รับผิดชอบและเยียวยาอย่างชัดเจน
ปัญหาสึนามิ
สภาพปัญหา
หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่แม้ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชาชน จะได้เข้าช่วยเหลืออย่างท่วมท้นและต่อเนื่องแต่จนถึงทุกวันนี้ยังคงมีปัญหาที่ยังไม่ได้แก้ และยังแก้ไม่แล้วเสร็จตลอดจนผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น
1. ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย เช่นประชาชนที่มีเคยมีบ้านเรือนอยู่อาศัยในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นของตนเองจำนวนร่วมพันครัวเรือน ไม่ได้รับการพิจารณาสร้างบ้านเรือนให้ใหม่ เช่น ผู้อยู่ในที่ดินเช่า ผู้อยู่ในที่ดินสาธารณะ ผู้อยู่ในที่ดินที่มีกรณีพิพาท
2. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิล่าช้าไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึงกระทั่งบัดนี้ประชาชนผู้ประสบภัยสึนามิอีกนับพันครอบครัวที่ยังเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย ยังต้องอาศัยอยู่ในที่พักชั่วคราว
3. ปัญหาเรื่องการฟื้นฟูอาชีพ ราษฎรผู้ประสบภัย ยังไม่มีโครงการฟื้นฟูอาชีพที่ชัดเจนขึ้นมารองรับ เช่นประมง สถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวและการบริการ
4. ปัญหาทางสังคมอันเกิดจากผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ครอบครัว เยาวชน และคนชรา รวมถึงความต่อเนื่องด้านการศึกษา
เป้าหมายและหลักการสำคัญในการแก้ปัญหา
1. สามารถคืนวิถีชีวิตเดิมของประชาชนและชุมชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงที่สุด
2. การบริหารจัดการปัญหา ต้องมีเจ้าภาพชัดเจนและรอบคอบโดยเฉพาะปัญหาผู้ตกหล่นจากการรับความช่วยเหลือของรัฐบาลซึ่งยังคงมีอยู่
3. การรับความช่วยเหลือจากทั้งต่างประเทศและในประเทศ ต้องให้ทั่วถึงและเป็นธรรม โปร่งใส
4. ไม่ลืมการให้ความช่วยเหลือต่อปัญหาอันเป็นผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว นั่นคือ ผลกระทบทางสังคม
ข้อเสนอ
1. ตั้งศูนย์บริการที่ครบวงจรให้ความช่วยเหลือประชาชน
- จิตแพทย์ / - ที่ปรึกษาทางการเงิน / - กรมการจัดหางาน
2. ตั้งองค์กรพิเศษ จับคู่ จะอาสาเป็นผู้ประสานความช่วยเหลือระหว่างภาครัฐกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ชุมชน
3. เร่งคลี่คลายข้อพิพาทในพื้นที่โดยคำนึงถึงวิถีชีวิตเดิมของประชาชนและชุมชนเป็นที่ตั้ง โดยรัฐบาลควรฟังประชาชนในพื้นที่และเอาความคิดประชาชนเป็นที่ตั้งมากกว่าการกำหนดผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจในภาพรวม
4. เร่งสร้างระบบเตือนภัยให้เกิดขึ้นโดยเร็วและมีประสิทธิภาพจริง รวมถึงสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในพื้นที่
วิกฤตการณ์น้ำมัน
สภาพปัญหา
สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกปัจจุบันที่ราคาน้ำมันดิบได้พุ่งสูงขึ้นและอยู่ในระดับสูง กว่า40เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (ราคาน้ำมันดิบที่ดูไบ) โดยไม่มีแนวโน้มจะลดลงในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีข้างหน้าอย่างชัดเจน ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทยที่ยังคงต้องนำเข้าน้ำมัน เกือบทั้งหมดที่ใช้ในประเทศ
รัฐบาลได้ใช้มาตรการตรึงราคาน้ำมันราคาขายปลีกโดยได้กู้เงินธนาคารเพื่อชดเชยให้ผู้ค้าซึ่งเป็นมาตรการที่เหมาะสมในกรณีที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ชั่วคราวเป็นเวลาสั้นๆ มาตรการดังกล่าวคงไม่สามารถดำเนินการได้ต่อไป เนื่องจากขณะนี้กองทุนน้ำมันได้สะสมหนี้สูงถึง กว่า 76,433 ล้านบาท
แนวโน้มที่ราคาน้ำมันในภาคการผลิตและภาคประชาชนต้องใช้จะมีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ค่าครองชีพ และความเชื่อมั่นของประชาชนรวมทั้งนักลงทุนโดยส่วนรวม เมื่อผนวกกับความไม่แน่นอน สืบเนื่องมาจากมาตรการของรัฐบาล ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรวมถึงภาระหนี้ที่ได้ก่อไว้ จึงทำให้การบริหารจัดการในเรื่องนี้มีความจำเป็นเร่งด่วน
เป้าหมายและหลักสำคัญในการแก้ปัญหา
1. ขจัดความไม่แน่นอน และมาตรการแทรกแซงที่จะนำไปสู่การบิดเบือนในกลไกการค้าน้ำมัน
2. ลดภาระของประชาชนให้มากที่สุดในการเลิกมาตรการตรึงราคาน้ำมัน
3. วางระบบในระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน
ข้อเสนอ
1.ประกาศกรอบเวลาที่ชัดเจนในการยกเลิกมาตรการตรึงราคาเพื่อสร้างความแน่นอนและให้กลไกการค้าน้ำมันกลับไปสู่ภาวะปกติ เช่นอาจกำหนดกรอบระยะเวลาไว้ที่ 4- 6เดือน
2. ในส่วนต่างราคาที่จะต้องปรับขึ้นประมาณ 3 บาทต่อลิตร สำหรับน้ำมันดีเซล รัฐบาลควรลดภาระของประชาชนด้วยการประกาศลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตซึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 2.30 บาท / ลิตรโดยกำหนดให้อัตรายืดหยุ่นตามราคาน้ำมันและถือเป็นการใช้มาตรการเฉพาะในช่วงราคาน้ำมันสูงและอาจกำหนดเงื่อนเวลา
3. รัฐบาลควรประกาศมาตรการเฉพาะช่วยเหลือกลุ่มอาชีพที่ต้องพึ่งพาน้ำมันมากเป็นพิเศษเช่นกลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกรที่ต้องใช้น้ำมัน ภาคขนส่ง นอกจากมาตรการในข้อ2
4. รัฐบาลต้องไม่ลดการอุดหนุนในเรื่องก๊าซหุงต้มเพื่อนำมาชดเชยปัญหากองทุนน้ำมัน เพราะจะเป็นการซ้ำเติมผู้บริโภคและครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
5. ภาระหนี้กว่า 76,433 ล้านบาท รัฐบาลควรยอมรับเข้ามาเป็นหนี้ของรัฐโดยตรง และใช้ภาษีที่จัดเก็บเกินเป้าในปีนี้มาชดเชย (33,605 ล้านบาทใน 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ) เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนในอนาคต และไม่ควรใช้ SPV ที่เป็นเพียงการโอนถ่ายหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบหนี้
6. รัฐบาลสามารถใช้กรอบของมาตรการจากข้อ 1- 5 มาประเมินต้นทุนราคาสินค้า เพื่อใช้เป็นดัชนีอ้างอิงในการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และกระทรวงพาณิชย์ต้องบังคับใช้มาตรการให้ได้ผลอย่างจริงจัง
7. ในระยะยาว รัฐบาลต้องส่งเสริมพลังงานทางเลือกเพื่อลดภาระการพึ่งพาน้ำมันของประเทศ และเร่งศึกษารูปแบบการให้ผู้ค้าน้ำมันมีส่วนร่วมในการรับภาระในช่วงน้ำมันแพง
โครงการ 30 บาท
สภาพปัญหา
แม้โครงการ30บาทรักษาทุกโรคจะมีเป้าหมายที่ดีในการสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชน และสามารถทำให้คนไทยได้เข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้มากขึ้น แต่งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรยังไม่เพียงพอมาโดยตลอด ทำให้คุณภาพ และมาตรฐานของการบริการลดลง เกิดปัญหาสมองไหล ซึ่งปัญหานี้นับวันมีแต่จะรุนแรงขึ้น
หากปล่อยให้เป็นอย่างที่ผ่านมา และให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นทั้งผู้ซื้อบริการรักษาพยาบาล และผู้ให้บริการเอง ขาดการแข่งขันและการตรวจสอบที่ดี จะทำให้ระบบสาธารณสุขในภาครัฐเสื่อมถอย ส่งผลให้เกิดระบบ 2 มาตรฐานในการบริการขึ้น และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกปีจะส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังของประเทศ
เป้าหมายและหลักสำคัญในการแก้ปัญหา
1. การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอสำหรับโครงการ
2. มีแนวทางระดมทรัพยากรที่ชัดเจน
3. ปล่อยให้มีการแข่งขันในระบบประกันสุขภาพ
4. แยกผู้ซื้อและผู้ให้บริการออกจากกัน
ข้อเสนอ
1. จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ (อย่างน้อย 1,700 บาทต่อคน ต่อปี)ระดมทรัพยากรโครงการโดย
2.1 เพิ่มภาษี เหล้าบุหรี่และสินค้าที่ทำลายสุขภาพและจัดสรรโครงการ 30 บาท
2.2 ลดค่าใช้จ่ายของกระทรวงสาธารณสุขที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นเช่น สสส.
2.3 แบ่งเบาภาระจากประกันสุขภาพให้โครงการประกันสังคม(ดูข้อ3)
ไม่ควรยุบรวมกองทุนประกันสังคมเพราะเงินสะสมเป็นของนายจ้างและลูกจ้างด้วย แต่ควรให้ผู้เอาประกันตนในระบบประกันสังคมสามารถระบุให้บุคคลอีก1คนได้รับสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่ม (ซื้อ1แถม1) แนวทางนี้ยังทำให้มีการแข่งขันในเรื่องคุณภาพการบริการอีกด้วย
แยกกองทุนและสำนักงาน สปสช. ออกจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อการบริหารจัดการที่ดี และการตรวจสอบประเมินผลที่โปร่งใส
กระจายอำนาจ
สภาพปัญหา
รัฐบาลมีพันธะตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 35
4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลเพิ่มสัดส่วนงบประมาณดังกล่าวเป็นเพียงร้อยละ 22-23 โดยอ้างว่ามีความไม่พร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งมีปัญหาในการถ่ายโอน คน/งาน ไปสู่ท้องถิ่นจึงมีแนวโน้มสูงว่า รัฐบาลจะแก้ไขกฎหมายโดยลดสัดส่วนงบประมาณของท้องถิ่นในกฎหมาย หรือเลื่อนกรอบเวลาออกไป
เป้าหมายและหลักสำคัญในการแก้ปัญหา
1. ยืนยันแนวคิดกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
2. รัฐบาลต้องตระหนักว่า รัฐบาลมีหน้าที่สำคัญในการร่วมสร้างความพร้อมให้ท้องถิ่น
3. รัฐบาลสามารถใช้วิธีการหลากหลายในการกระจายอำนาจ โดยให้ท้องถิ่นมีอำนาจมากขึ้น แต่ประสิทธิภาพ/คุณภาพ ของบริการสาธารณะไม่ลดลง
ข้อเสนอ
1. ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณตามสัดส่วนที่กำหนดโดยกฎหมาย
2. เพื่อให้รัฐบาลสามารถรักษาคุณภาพและประสิทธิภาพของงาน และ เพื่อลดปัญหาการต่อต้านจากข้าราชการสืบเนื่องจากการถ่ายโอน การดำเนินการตามข้อ 1 อาจใช้วิธี
จัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่นอย่างมีเงื่อนไข โดยอาจจะอยู่ในรูปแบบของเงิน อุดหนุนเฉพาะกิจ
ให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าของงบประมาณโดยซื้อบริการจากหน่วยงานของรัฐ ทำให้ไม่มีผลกระทบเรื่องการถ่ายโอนบุคคลากร
สร้างระบบจูงใจการเป็นพนักงานท้องถิ่น เพิ่มความพร้อมให้ท้องถิ่น เพื่อปูทางไปสู่การกระจายอำนาจแบบครบวงจรต่อไป
3. เร่งการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เช่น เกาะสมุย เกาะช้าง และเกาะลันตาให้มีความสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วด้านในพื้นที่ที่เหมาะสม
4.เสริมฐานะให้เมืองหลักในส่วนภูมิภาคเป็นมหานครทัดเทียมเมืองหลวง ของประเทศเพื่อนบ้าน
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
สภาพปัญหา
รัฐวิสาหกิจมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดบริการที่ดีขึ้น ลดภาระของรัฐบาล และสามารถปรับตัวเข้ากับการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงขึ้นได้ รัฐบาลที่ผ่านมามีความเชื่อว่า การแปรรูปโดยวิธีการจดทะเบียนรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัท และขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นแนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายข้างต้นได้
ความเชื่อดังกล่าวนอกจากก่อให้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มต่างๆในสังคมแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสับสนระหว่างผลประโยชน์ขององค์กร (กำไรของผู้ถือหุ้น) กับผลประโยชน์ส่วนรวม (บริการที่ดีสำหรับผู้บริโภค) และยังก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต ในกรณีที่การแปรรูปขาดความโปร่งใสอีกด้วย เพราะการแปรรูปอาจกลายเป็นเพียงการยกอำนาจผูกขาดให้ภาคเอกชน
เป้าหมายและหลักสำคัญในการแก้ปัญหา
1.คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเศรษฐกิจส่วนรวม ไม่ใช่ผลประโยชน์ทางธุรกิจขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง
2. ประสิทธิภาพเกิดขึ้นจากการแข่งขัน ไม่ใช่โครงสร้างความเป็นเจ้าของขององค์กร
3. กิจการส่วนใหญ่ของรัฐวิสาหกิจ ต้องมีการกำกับดูแลเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
ข้อเสนอ
1. ยกเลิกแนวคิดการแปรรูปแบบเหมารวมควรแยกแยะองค์กร/งาน/ทรัพย์สินที่ไม่จำเป็นต้องมีการแปรรูป
สำหรับในกรณีของ กฟผ.ควรแยกระบบสายส่งออกจากหน่วยผลิต ในส่วนของระบบสายส่งให้คงไว้ซึ่งรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ โดยการจัดโครงสร้างเช่นนี้จะทำให้การแข่งขันระหว่างหน่วยผลิต โดยเฉพาะหน่วยผลิตของ กฟผ. เอง มีความโปร่งใสมากขึ้น
2. สำหรับกรณีของ ทศท.และ กสท.ให้พิจารณาแยกรายได้สัมปทานออกจากองค์กรก่อนที่จะทำการระดมทุน เนื่องจากรายได้สัมปทานดังกล่าวเป็นของประชาชนโดยรวมจึงไม่ควรนำรายได้ในส่วนนี้ไปขายให้แก่นักลงทุน
3. ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในกิจการสาธารณะต่างๆ
4. ตรากฎหมาย จัดตั้งองค์กรอิสระ เพื่อกำกับดูแลกิจการที่จะมีการแปรรูป ก่อนดำเนินการกระจายหุ้น
5. ใช้วิธีการระดมทุนที่หลากหลายสำหรับรัฐวิสาหกิจที่ต้องการลงทุน ไม่จำเป็นต้องขายหุ้นอย่างเดียว
6. กำหนดกติกาการออกหุ้นอย่างโปร่งใส เน้นผู้ถือหุ้นที่เป็นประชาชนทั่วไป
เขตการค้าเสรี
สภาพปัญหา
รัฐบาลได้ดำเนินการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และจีน และกำลังเจรจาทำข้อตกลงกับอีกหลายประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้มูลค่าการค้า (การส่งออกและการนำเข้า) ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
นโยบายดังกล่าวมีผลดีในแง่ของการขยายตลาดให้ผู้ส่งออกแต่ขณะเดียวกัน ก็ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกร และผู้ประกอบการที่ต้องแข่งกับสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มูลค่าการค้ากับประเทศที่มีการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีได้เพิ่มขึ้น แต่แนวโน้มดุลการค้า กับประเทศเหล่านี้ คือการขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น กรณีข้อตกลงกับจีนนั้น ยังส่งผลให้ราคาผัก ผลไม้ในประเทศลดลงถึงร้อยละ 25 ขณะที่กระเทียม ราคาลดลงถึงร้อยละ30 หอมแดงลดลงถึงร้อยละ 45 หอมหัวใหญ่ลดลงถึงร้อยละ80 ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเกษตรกร อย่างรุนแรง
หลักสำคัญในการแก้ปัญหา
1. การเจรจาหรือการลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีจะต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ต้องยึดผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญที่สุด
2. เปิดโอกาสให้ทุกภาคมีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นการเจรจา
3. มีการติดตามผลของการเปิดเสรีทางการค้าอย่างต่อเนื่อง
4. มีมาตรการป้องกัน และชดเชยผู้ที่ได้รับผลกระทบในทางลบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ข้อเสนอ
1. กำหนดยุทธศาสตร์และจัดลำดับความสำคัญ ก่อนหลังของการเจรจาและลงนามกับประเทศคู่ค้าต่างๆ ตลอดจนกำหนดเป้าหมายว่าต้องการได้ประโยชน์ในด้านใดจากข้อตกลงกับแต่ละประเทศ เพื่อทบทวนลำดับขั้นตอนการเจรจาที่กำลังดำเนินการอยู่และที่จะมีขึ้นต่อไป
2. ระดมความคิดเห็นจากผู้ประกอบการทุกสาขาและประชาชนทั่วไปก่อนจะมีการลงนามในข้อตกลงทุกกรณีที่กำลังจะลงนามฉบับต่อๆไป
3. ประเมินผลกระทบต่อสาขาการผลิตการค้า บริการ และการลงทุนต่างๆล่วงหน้า ไม่ควรให้มีสาขาใดได้รับผลกระทบทางลบจากข้อตกลงมากเกินไป
4. จัดเตรียมกลไกและจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยแก่ผู้เสียหายโดยให้ผู้ที่ได้รับประโยชน์มีส่วนรับภาระดังกล่าว
5. ติดตามผลกระทบหลังข้อตกลงทางการค้า เพื่อประเมินสำหรับการเจรจาต่อไป ตลอดจนทบทวน แก้ไขข้อตกลงได้อย่างทันท่วงที
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-
ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
สภาพของปัญหา
ปัญหาชายแดนภาคใต้มีความเป็นมาที่สลับซับซ้อน ทั้งทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ฯลฯ สถานการณ์ได้เสื่อมถอยลงมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เพราะแนวนโยบายของรัฐบาลที่ ทำลายความไว้วางใจระหว่างรัฐบาลและประชาชนและสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชนด้วยกันเองมากขึ้น ทำให้มีการตอบโต้ใช้ความรุนแรงกันไม่จบไม่สิ้น มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ บูรณภาพแห่งดินแดน รวมถึงการทำลายบรรยากาศทางการค้า การท่องเที่ยว และการลงทุน ตลอดจนความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเฉพาะในปี 2547 มีการสูญเสียชีวิต เกือบ 600 ราย อันมีผลโดยตรงต่อภาพพจน์ของประเทศโดยส่วนรวม ซึ่งหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายอย่างชัดเจนแล้ว ปัญหาอาจขยายวงกว้าง อันจะนำไปสู่ปัญหาระดับนานาชาติ ดังนั้นจึงจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องมีนโยบายสมานฉันท์โดยเร็วที่สุด
เป้าหมายและหลักสำคัญในการแก้ปัญหา
1. ยอมรับว่ามีกลุ่มคนที่มีความคิดแบ่งแยกดินแดน แต่ต้องดำเนินมาตรการให้มวลชนร่วมมือกับรัฐในการสร้างสันติสุขในพื้นที่
2. มองปัญหาให้ครบทุกมิติ ทั้งในเรื่องของความมั่นคง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมและการต่างประเทศ
3. ใช้แนวทางของความสมานฉันท์ การมีส่วนร่วม และการยอมรับความหลากหลายในวิถีชีวิตและการเคารพสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานแก่ประชาชน
4. หลีกเลี่ยงการสร้างเงื่อนไขที่นำไปสู่ความแตกแยกทุกรูปแบบ
ข้อเสนอ
1. ส่งสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายในทุกระดับ
2. เลิกความคิดเรื่องการแบ่งสีแบ่งโซนตามอำเภอที่เป็นเงื่อนไขในการได้รับงบประมาณ
3. การกำหนดบทบาทของทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง
-ควรใช้คนในพื้นที่ให้มากที่สุด
-หากมีการตั้งกองพลพัฒนา ควรกำหนดโครงการที่เป็นรูปธรรม เช่น โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยให้กองกำลังดังกล่าวดำเนินการเพื่อให้ประชาชนมั่นใจและเห็นอย่างเป็นรูปธรรมในบทบาทของการพัฒนา
4. กำหนดโครงสร้างการบริหารพื้นที่ ที่ยึดหลักบูรณาการ การมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย โดยให้ผู้บังคับบัญชาสูงสุดเป็นพลเรือน หรือเป็นผู้บังคับบัญชาร่วมกับฝ่ายความมั่นคงในทุกระดับ
5. เร่งลงทุนในเรื่องการศึกษา และการพัฒนาอาชีพโดยคำนึงถึงวัฒนธรรมของชุมชน
6.ใช้มาตรการทางการทูตเพื่อสร้างความเข้าใจในหมู่ประเทศมุสลิมเพื่อป้องกันการส่งสัญญาณที่ผิดและการยกระดับของปัญหาไปสู่ระดับนานาชาติ
7. การอำนวยความยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายต้องเป็นไปอย่างเคร่งครัด เสมอภาค โดยเฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นผู้ละเมิดกฎหมายเอง ต้องมีมาตรการหาผู้รับผิดชอบและเยียวยาอย่างชัดเจน
ปัญหาสึนามิ
สภาพปัญหา
หลังจากเกิดเหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่แม้ หน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมทั้งภาคประชาชน จะได้เข้าช่วยเหลืออย่างท่วมท้นและต่อเนื่องแต่จนถึงทุกวันนี้ยังคงมีปัญหาที่ยังไม่ได้แก้ และยังแก้ไม่แล้วเสร็จตลอดจนผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น
1. ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย เช่นประชาชนที่มีเคยมีบ้านเรือนอยู่อาศัยในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นของตนเองจำนวนร่วมพันครัวเรือน ไม่ได้รับการพิจารณาสร้างบ้านเรือนให้ใหม่ เช่น ผู้อยู่ในที่ดินเช่า ผู้อยู่ในที่ดินสาธารณะ ผู้อยู่ในที่ดินที่มีกรณีพิพาท
2. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิล่าช้าไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึงกระทั่งบัดนี้ประชาชนผู้ประสบภัยสึนามิอีกนับพันครอบครัวที่ยังเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย ยังต้องอาศัยอยู่ในที่พักชั่วคราว
3. ปัญหาเรื่องการฟื้นฟูอาชีพ ราษฎรผู้ประสบภัย ยังไม่มีโครงการฟื้นฟูอาชีพที่ชัดเจนขึ้นมารองรับ เช่นประมง สถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวและการบริการ
4. ปัญหาทางสังคมอันเกิดจากผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ ไม่ว่าจะเป็นปัญหา ครอบครัว เยาวชน และคนชรา รวมถึงความต่อเนื่องด้านการศึกษา
เป้าหมายและหลักการสำคัญในการแก้ปัญหา
1. สามารถคืนวิถีชีวิตเดิมของประชาชนและชุมชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงที่สุด
2. การบริหารจัดการปัญหา ต้องมีเจ้าภาพชัดเจนและรอบคอบโดยเฉพาะปัญหาผู้ตกหล่นจากการรับความช่วยเหลือของรัฐบาลซึ่งยังคงมีอยู่
3. การรับความช่วยเหลือจากทั้งต่างประเทศและในประเทศ ต้องให้ทั่วถึงและเป็นธรรม โปร่งใส
4. ไม่ลืมการให้ความช่วยเหลือต่อปัญหาอันเป็นผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว นั่นคือ ผลกระทบทางสังคม
ข้อเสนอ
1. ตั้งศูนย์บริการที่ครบวงจรให้ความช่วยเหลือประชาชน
- จิตแพทย์ / - ที่ปรึกษาทางการเงิน / - กรมการจัดหางาน
2. ตั้งองค์กรพิเศษ จับคู่ จะอาสาเป็นผู้ประสานความช่วยเหลือระหว่างภาครัฐกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ชุมชน
3. เร่งคลี่คลายข้อพิพาทในพื้นที่โดยคำนึงถึงวิถีชีวิตเดิมของประชาชนและชุมชนเป็นที่ตั้ง โดยรัฐบาลควรฟังประชาชนในพื้นที่และเอาความคิดประชาชนเป็นที่ตั้งมากกว่าการกำหนดผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจในภาพรวม
4. เร่งสร้างระบบเตือนภัยให้เกิดขึ้นโดยเร็วและมีประสิทธิภาพจริง รวมถึงสร้างความมั่นใจให้ประชาชนในพื้นที่
วิกฤตการณ์น้ำมัน
สภาพปัญหา
สถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกปัจจุบันที่ราคาน้ำมันดิบได้พุ่งสูงขึ้นและอยู่ในระดับสูง กว่า40เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล (ราคาน้ำมันดิบที่ดูไบ) โดยไม่มีแนวโน้มจะลดลงในช่วงระยะเวลา 1-2 ปีข้างหน้าอย่างชัดเจน ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจไทยที่ยังคงต้องนำเข้าน้ำมัน เกือบทั้งหมดที่ใช้ในประเทศ
รัฐบาลได้ใช้มาตรการตรึงราคาน้ำมันราคาขายปลีกโดยได้กู้เงินธนาคารเพื่อชดเชยให้ผู้ค้าซึ่งเป็นมาตรการที่เหมาะสมในกรณีที่ราคาน้ำมันสูงขึ้น ชั่วคราวเป็นเวลาสั้นๆ มาตรการดังกล่าวคงไม่สามารถดำเนินการได้ต่อไป เนื่องจากขณะนี้กองทุนน้ำมันได้สะสมหนี้สูงถึง กว่า 76,433 ล้านบาท
แนวโน้มที่ราคาน้ำมันในภาคการผลิตและภาคประชาชนต้องใช้จะมีราคาสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ค่าครองชีพ และความเชื่อมั่นของประชาชนรวมทั้งนักลงทุนโดยส่วนรวม เมื่อผนวกกับความไม่แน่นอน สืบเนื่องมาจากมาตรการของรัฐบาล ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงรวมถึงภาระหนี้ที่ได้ก่อไว้ จึงทำให้การบริหารจัดการในเรื่องนี้มีความจำเป็นเร่งด่วน
เป้าหมายและหลักสำคัญในการแก้ปัญหา
1. ขจัดความไม่แน่นอน และมาตรการแทรกแซงที่จะนำไปสู่การบิดเบือนในกลไกการค้าน้ำมัน
2. ลดภาระของประชาชนให้มากที่สุดในการเลิกมาตรการตรึงราคาน้ำมัน
3. วางระบบในระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาความผันผวนของราคาน้ำมัน
ข้อเสนอ
1.ประกาศกรอบเวลาที่ชัดเจนในการยกเลิกมาตรการตรึงราคาเพื่อสร้างความแน่นอนและให้กลไกการค้าน้ำมันกลับไปสู่ภาวะปกติ เช่นอาจกำหนดกรอบระยะเวลาไว้ที่ 4- 6เดือน
2. ในส่วนต่างราคาที่จะต้องปรับขึ้นประมาณ 3 บาทต่อลิตร สำหรับน้ำมันดีเซล รัฐบาลควรลดภาระของประชาชนด้วยการประกาศลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตซึ่งปัจจุบันเก็บอยู่ที่ 2.30 บาท / ลิตรโดยกำหนดให้อัตรายืดหยุ่นตามราคาน้ำมันและถือเป็นการใช้มาตรการเฉพาะในช่วงราคาน้ำมันสูงและอาจกำหนดเงื่อนเวลา
3. รัฐบาลควรประกาศมาตรการเฉพาะช่วยเหลือกลุ่มอาชีพที่ต้องพึ่งพาน้ำมันมากเป็นพิเศษเช่นกลุ่มประมง กลุ่มเกษตรกรที่ต้องใช้น้ำมัน ภาคขนส่ง นอกจากมาตรการในข้อ2
4. รัฐบาลต้องไม่ลดการอุดหนุนในเรื่องก๊าซหุงต้มเพื่อนำมาชดเชยปัญหากองทุนน้ำมัน เพราะจะเป็นการซ้ำเติมผู้บริโภคและครัวเรือนที่มีรายได้น้อย
5. ภาระหนี้กว่า 76,433 ล้านบาท รัฐบาลควรยอมรับเข้ามาเป็นหนี้ของรัฐโดยตรง และใช้ภาษีที่จัดเก็บเกินเป้าในปีนี้มาชดเชย (33,605 ล้านบาทใน 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ) เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชนในอนาคต และไม่ควรใช้ SPV ที่เป็นเพียงการโอนถ่ายหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบหนี้
6. รัฐบาลสามารถใช้กรอบของมาตรการจากข้อ 1- 5 มาประเมินต้นทุนราคาสินค้า เพื่อใช้เป็นดัชนีอ้างอิงในการควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคได้อย่างแม่นยำมากขึ้น และกระทรวงพาณิชย์ต้องบังคับใช้มาตรการให้ได้ผลอย่างจริงจัง
7. ในระยะยาว รัฐบาลต้องส่งเสริมพลังงานทางเลือกเพื่อลดภาระการพึ่งพาน้ำมันของประเทศ และเร่งศึกษารูปแบบการให้ผู้ค้าน้ำมันมีส่วนร่วมในการรับภาระในช่วงน้ำมันแพง
โครงการ 30 บาท
สภาพปัญหา
แม้โครงการ30บาทรักษาทุกโรคจะมีเป้าหมายที่ดีในการสร้างหลักประกันสุขภาพให้แก่ประชาชน และสามารถทำให้คนไทยได้เข้าถึงการบริการสาธารณสุขได้มากขึ้น แต่งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรยังไม่เพียงพอมาโดยตลอด ทำให้คุณภาพ และมาตรฐานของการบริการลดลง เกิดปัญหาสมองไหล ซึ่งปัญหานี้นับวันมีแต่จะรุนแรงขึ้น
หากปล่อยให้เป็นอย่างที่ผ่านมา และให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นทั้งผู้ซื้อบริการรักษาพยาบาล และผู้ให้บริการเอง ขาดการแข่งขันและการตรวจสอบที่ดี จะทำให้ระบบสาธารณสุขในภาครัฐเสื่อมถอย ส่งผลให้เกิดระบบ 2 มาตรฐานในการบริการขึ้น และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทุกปีจะส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังของประเทศ
เป้าหมายและหลักสำคัญในการแก้ปัญหา
1. การจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอสำหรับโครงการ
2. มีแนวทางระดมทรัพยากรที่ชัดเจน
3. ปล่อยให้มีการแข่งขันในระบบประกันสุขภาพ
4. แยกผู้ซื้อและผู้ให้บริการออกจากกัน
ข้อเสนอ
1. จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ (อย่างน้อย 1,700 บาทต่อคน ต่อปี)ระดมทรัพยากรโครงการโดย
2.1 เพิ่มภาษี เหล้าบุหรี่และสินค้าที่ทำลายสุขภาพและจัดสรรโครงการ 30 บาท
2.2 ลดค่าใช้จ่ายของกระทรวงสาธารณสุขที่ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นเช่น สสส.
2.3 แบ่งเบาภาระจากประกันสุขภาพให้โครงการประกันสังคม(ดูข้อ3)
ไม่ควรยุบรวมกองทุนประกันสังคมเพราะเงินสะสมเป็นของนายจ้างและลูกจ้างด้วย แต่ควรให้ผู้เอาประกันตนในระบบประกันสังคมสามารถระบุให้บุคคลอีก1คนได้รับสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล โดยไม่ต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่ม (ซื้อ1แถม1) แนวทางนี้ยังทำให้มีการแข่งขันในเรื่องคุณภาพการบริการอีกด้วย
แยกกองทุนและสำนักงาน สปสช. ออกจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อการบริหารจัดการที่ดี และการตรวจสอบประเมินผลที่โปร่งใส
กระจายอำนาจ
สภาพปัญหา
รัฐบาลมีพันธะตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในการส่งเสริมการกระจายอำนาจ โดยเฉพาะการจัดสรรงบประมาณให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 35
4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลเพิ่มสัดส่วนงบประมาณดังกล่าวเป็นเพียงร้อยละ 22-23 โดยอ้างว่ามีความไม่พร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งมีปัญหาในการถ่ายโอน คน/งาน ไปสู่ท้องถิ่นจึงมีแนวโน้มสูงว่า รัฐบาลจะแก้ไขกฎหมายโดยลดสัดส่วนงบประมาณของท้องถิ่นในกฎหมาย หรือเลื่อนกรอบเวลาออกไป
เป้าหมายและหลักสำคัญในการแก้ปัญหา
1. ยืนยันแนวคิดกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
2. รัฐบาลต้องตระหนักว่า รัฐบาลมีหน้าที่สำคัญในการร่วมสร้างความพร้อมให้ท้องถิ่น
3. รัฐบาลสามารถใช้วิธีการหลากหลายในการกระจายอำนาจ โดยให้ท้องถิ่นมีอำนาจมากขึ้น แต่ประสิทธิภาพ/คุณภาพ ของบริการสาธารณะไม่ลดลง
ข้อเสนอ
1. ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดสรรงบประมาณตามสัดส่วนที่กำหนดโดยกฎหมาย
2. เพื่อให้รัฐบาลสามารถรักษาคุณภาพและประสิทธิภาพของงาน และ เพื่อลดปัญหาการต่อต้านจากข้าราชการสืบเนื่องจากการถ่ายโอน การดำเนินการตามข้อ 1 อาจใช้วิธี
จัดสรรงบประมาณให้ท้องถิ่นอย่างมีเงื่อนไข โดยอาจจะอยู่ในรูปแบบของเงิน อุดหนุนเฉพาะกิจ
ให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าของงบประมาณโดยซื้อบริการจากหน่วยงานของรัฐ ทำให้ไม่มีผลกระทบเรื่องการถ่ายโอนบุคคลากร
สร้างระบบจูงใจการเป็นพนักงานท้องถิ่น เพิ่มความพร้อมให้ท้องถิ่น เพื่อปูทางไปสู่การกระจายอำนาจแบบครบวงจรต่อไป
3. เร่งการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เช่น เกาะสมุย เกาะช้าง และเกาะลันตาให้มีความสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วด้านในพื้นที่ที่เหมาะสม
4.เสริมฐานะให้เมืองหลักในส่วนภูมิภาคเป็นมหานครทัดเทียมเมืองหลวง ของประเทศเพื่อนบ้าน
การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
สภาพปัญหา
รัฐวิสาหกิจมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดบริการที่ดีขึ้น ลดภาระของรัฐบาล และสามารถปรับตัวเข้ากับการแข่งขันทางธุรกิจที่รุนแรงขึ้นได้ รัฐบาลที่ผ่านมามีความเชื่อว่า การแปรรูปโดยวิธีการจดทะเบียนรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัท และขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เป็นแนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายข้างต้นได้
ความเชื่อดังกล่าวนอกจากก่อให้เกิดความขัดแย้งกับกลุ่มต่างๆในสังคมแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความสับสนระหว่างผลประโยชน์ขององค์กร (กำไรของผู้ถือหุ้น) กับผลประโยชน์ส่วนรวม (บริการที่ดีสำหรับผู้บริโภค) และยังก่อให้เกิดปัญหาการทุจริต ในกรณีที่การแปรรูปขาดความโปร่งใสอีกด้วย เพราะการแปรรูปอาจกลายเป็นเพียงการยกอำนาจผูกขาดให้ภาคเอกชน
เป้าหมายและหลักสำคัญในการแก้ปัญหา
1.คำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเศรษฐกิจส่วนรวม ไม่ใช่ผลประโยชน์ทางธุรกิจขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง
2. ประสิทธิภาพเกิดขึ้นจากการแข่งขัน ไม่ใช่โครงสร้างความเป็นเจ้าของขององค์กร
3. กิจการส่วนใหญ่ของรัฐวิสาหกิจ ต้องมีการกำกับดูแลเพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
ข้อเสนอ
1. ยกเลิกแนวคิดการแปรรูปแบบเหมารวมควรแยกแยะองค์กร/งาน/ทรัพย์สินที่ไม่จำเป็นต้องมีการแปรรูป
สำหรับในกรณีของ กฟผ.ควรแยกระบบสายส่งออกจากหน่วยผลิต ในส่วนของระบบสายส่งให้คงไว้ซึ่งรูปแบบของรัฐวิสาหกิจ โดยการจัดโครงสร้างเช่นนี้จะทำให้การแข่งขันระหว่างหน่วยผลิต โดยเฉพาะหน่วยผลิตของ กฟผ. เอง มีความโปร่งใสมากขึ้น
2. สำหรับกรณีของ ทศท.และ กสท.ให้พิจารณาแยกรายได้สัมปทานออกจากองค์กรก่อนที่จะทำการระดมทุน เนื่องจากรายได้สัมปทานดังกล่าวเป็นของประชาชนโดยรวมจึงไม่ควรนำรายได้ในส่วนนี้ไปขายให้แก่นักลงทุน
3. ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในกิจการสาธารณะต่างๆ
4. ตรากฎหมาย จัดตั้งองค์กรอิสระ เพื่อกำกับดูแลกิจการที่จะมีการแปรรูป ก่อนดำเนินการกระจายหุ้น
5. ใช้วิธีการระดมทุนที่หลากหลายสำหรับรัฐวิสาหกิจที่ต้องการลงทุน ไม่จำเป็นต้องขายหุ้นอย่างเดียว
6. กำหนดกติกาการออกหุ้นอย่างโปร่งใส เน้นผู้ถือหุ้นที่เป็นประชาชนทั่วไป
เขตการค้าเสรี
สภาพปัญหา
รัฐบาลได้ดำเนินการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และจีน และกำลังเจรจาทำข้อตกลงกับอีกหลายประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ซึ่งจะทำให้มูลค่าการค้า (การส่งออกและการนำเข้า) ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
นโยบายดังกล่าวมีผลดีในแง่ของการขยายตลาดให้ผู้ส่งออกแต่ขณะเดียวกัน ก็ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเกษตรกร และผู้ประกอบการที่ต้องแข่งกับสินค้านำเข้าที่เพิ่มขึ้น ขณะที่มูลค่าการค้ากับประเทศที่มีการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีได้เพิ่มขึ้น แต่แนวโน้มดุลการค้า กับประเทศเหล่านี้ คือการขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้น กรณีข้อตกลงกับจีนนั้น ยังส่งผลให้ราคาผัก ผลไม้ในประเทศลดลงถึงร้อยละ 25 ขณะที่กระเทียม ราคาลดลงถึงร้อยละ30 หอมแดงลดลงถึงร้อยละ 45 หอมหัวใหญ่ลดลงถึงร้อยละ80 ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเกษตรกร อย่างรุนแรง
หลักสำคัญในการแก้ปัญหา
1. การเจรจาหรือการลงนามในข้อตกลงเขตการค้าเสรีจะต้องมียุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ต้องยึดผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่เป็นสำคัญที่สุด
2. เปิดโอกาสให้ทุกภาคมีส่วนร่วมในการกำหนดประเด็นการเจรจา
3. มีการติดตามผลของการเปิดเสรีทางการค้าอย่างต่อเนื่อง
4. มีมาตรการป้องกัน และชดเชยผู้ที่ได้รับผลกระทบในทางลบที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ข้อเสนอ
1. กำหนดยุทธศาสตร์และจัดลำดับความสำคัญ ก่อนหลังของการเจรจาและลงนามกับประเทศคู่ค้าต่างๆ ตลอดจนกำหนดเป้าหมายว่าต้องการได้ประโยชน์ในด้านใดจากข้อตกลงกับแต่ละประเทศ เพื่อทบทวนลำดับขั้นตอนการเจรจาที่กำลังดำเนินการอยู่และที่จะมีขึ้นต่อไป
2. ระดมความคิดเห็นจากผู้ประกอบการทุกสาขาและประชาชนทั่วไปก่อนจะมีการลงนามในข้อตกลงทุกกรณีที่กำลังจะลงนามฉบับต่อๆไป
3. ประเมินผลกระทบต่อสาขาการผลิตการค้า บริการ และการลงทุนต่างๆล่วงหน้า ไม่ควรให้มีสาขาใดได้รับผลกระทบทางลบจากข้อตกลงมากเกินไป
4. จัดเตรียมกลไกและจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยแก่ผู้เสียหายโดยให้ผู้ที่ได้รับประโยชน์มีส่วนรับภาระดังกล่าว
5. ติดตามผลกระทบหลังข้อตกลงทางการค้า เพื่อประเมินสำหรับการเจรจาต่อไป ตลอดจนทบทวน แก้ไขข้อตกลงได้อย่างทันท่วงที
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 23 มี.ค. 2548--จบ--
-ดท-