แท็ก
ประธานสภา
สรุปการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
วันพุธที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐
-----------------------------
การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๙/๒๕๕๐ วันพุธที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็น ประธานในการประชุม เมื่อสมาชิกมาครบองค์ประชุมประธานดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ การประชุม ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
๑.๑ รับทราบรายงานผลการปฏิบัติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(กทช.) ประจำปี พ.ศ.๒๕๔๙ (ตามมาตรา ๕๑ (๑๙) และมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์กร
จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๓)
๑.๒ คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อสังเกตของกรรมาธิการเต็มสภาพิจารณาร่างพระราช
บัญญัติว่าด้วยการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปร่วมชันสูตรพลิกศพตามมาตรา ๑๔๘ อนุมาตรา ๓ อนุมาตรา ๔ และอนุมาตรา ๕ แห่งประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. …. ตามที่สภา
ส่งไป เพื่อดำเนินการแล้วและเห็นชอบให้นำเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติที่กรรมาธิการเต็มสภาแก้ไข
เป็นเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติในการประกาศราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ที่ประชุมรับทราบ
๒. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
เรื่องด่วน
๑. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมฯ มีมติรับหลักการในวาระที่ ๒ ให้นำร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ พ.ศ. …. ประกาศเป็นกฎหมายด้วยคะแนนเสียงข้างมาก
๒. ร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว
โดยพลเรือเอก ประเสริฐ บุญทรง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญได้เสนอรายงานการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ตามที่ได้ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๐ เมื่อวันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ เรือไทย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาและมีมติตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณาจำนวน ๑๕ คน บัดนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสร็จแล้ว จึงเสนอต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
จากนั้นที่ประชุมฯ ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ประธานจึงได้ขอมติจากที่ประชุมฯ ว่าเห็นควรเป็นไปตามร่างฯที่กรรมาธิการแก้ไขด้วยคะแนน ๗๕ ต่อ ๓๖ เสียง
ที่ประชุมเห็นชอบ
เรื่องการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
จัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
เหตุผล
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ให้มีเขตตลอดท้องที่อำเภอชุมแพ อำเภอภูผาม่าน อำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู อำเภอหนองเรือ และกิ่งอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในท้องที่อำเภอและกิ่งอำเภอดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ที่ประชุมฯ มีมติรับหลักการพระราชบัญญติฯ
คณะกรรมาธิการเสนอให้ตั้งกรรมาธิการเต็มสภา
ที่ประชุมเห็นชอบ
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
จัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
เหตุผล
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้มีเขตตลอดท้องที่อำเภอเชียงคำ อำเภอจุน และกิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในท้องที่อำเภอและกิ่งอำเภอดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ที่ประชุมฯมีมติรับหลักการพระราชบัญญัติฯ
คณะกรรมาธิการฯเสนอให้ตั้งกรรมาธิการเต็มสภา
ที่ประชุมเห็นชอบ
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
จัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
เหตุผล
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้มีเขตตลอดท้องที่อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน อำเภอศรีเทพและอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในท้องที่อำเภอ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ที่ประชุมฯมีมติรับหลักการพระราชบัญญัติฯ
คณะรัฐมนตรีเสนอตั้งกรรมาธิการเต็มสภา
ที่ประชุมเห็นชอบ
๔. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
จัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เหตุผล
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานีให้มีเขตตลอดท้องที่อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอชัยบุรี อำเภอบ้านนาสาร และอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในท้องที่อำเภอ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ที่ประชุมฯมีมติรับหลักการพระราชบัญญัติฯ
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..)
พ.ศ. …. (ความผิดฐานปลอมหนังสือเดินทาง) ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง (เพิ่มบทนิยามคำว่า “หนังสือเดินทาง”เป็นมาตรา ๑ (๑๕) และเพิ่มหมวด๕ ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางของลักษณะ ๗ ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ในภาค ๒ ความผิด มาตรา ๒๖๙/๘ มาตรา๒๖๙/๙ มาตรา ๒๖๙/๑๐ มาตรา ๒๖๙/๑๑ มาตรา ๒๖๙/๑๒ มาตรา ๒๖๙/๑๓ มาตรา ๒๖๙/๑๔และมาตรา๒๖๙/๑๕ )
(๒) กำหนดให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางนอกราชอาณาจักรต้องรับ
โทษภายในราชอาณาจักร ( เพิ่มมาตรา ๘ ( ๒/๒) )
เหตุผล
โดยที่ปัจจุบันการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติได้ทวีความรุนแรงและมีรูปแบบที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและได้มีการใช้หนังสือเดินทางเป็นเครื่องมือในการกระทำดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศและต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมควรขยายขอบเขตของการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางให้กว้างขวาง และสมควรกำหนดอัตราโทษให้เหมาะสมกับความผิด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สมาชิกฯ ได้อภิปรายถึงประเด็นการปลอมแปลงหนังสือเดินทางอย่างกว้างขวาง จากนั้นประธานขอมติจากที่ประชุม ที่ประชุมเห็นชอบรับหลักการในวาระที่ ๑ และคณะกรรมาธิการเสนอให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ๑๕ คน โดยมีกำหนดแปรญัตติ ๑๐ วัน
๖. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….. (แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำให้สอดคล้องกับหลักการใหม่ตามพระธรรมนูญ
ศาลยุติธรรมและกฎหมายของศาลยุติธรรม) ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวีธีพิจารณาคดีแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดให้สหภาพแรงงานหมายความถึงองค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตาม
กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “สหภาพแรงงาน”
ในมาตรา ๓ )
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำให้สอดคล้องกับหลักการใหม่ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมและกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่าย
ตุลาการศาลยุติธรรม (แก้ไขเพิ่มเติมาตรา ๔ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒และมาตรา ๑๓)
(๓) กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีละเมิดระหว่างลูกจ้างกับ
ลูกจ้างที่เกิดจากการทำงานในทางการที่จ้างและคดีข้อพิพาทแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานขอให้ชี้ขาดตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๘)
(๔) กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจวินิจฉัยว่าคดีใดอยู่ในอำนาจศาลแรงงาน โดย
ไม่ต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัย ในกรณีมีคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาล
แรงงานกลางอยู่แล้ว (เพิ่มมาตรา ๙ วรรคสาม)
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก คุณสมบัติ วาระในการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๔และมาตรา ๑๕ และเพิ่ม
มาตรา ๑๔/๑ มาตรา ๑๔/๒ และมาตรา ๑๔/๓ )
(๖) กำหนดให้บทบัญญัติว่าด้วยการคัดค้านผู้พิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การคัดค้านผู้พิพากษาสมทบโดยอนุโลม โดยถือว่าการคัดค้าน
ผู้พิพากษาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่แล้ว (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๙)
(๗) ปรับปรุงการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานเกี่ยวกับการส่งคำคู่ความหรือ
เอกสารการนั่งพิจารณานอกเวลาราชการ การสืบพยานหลักฐานล่วงหน้าและการส่งสำเนาคำพิพากษา
ไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๘ และ
มาตรา ๕๑ วรรคสอง เพิ่มมาตรา ๓๒/๑ และมาตรา ๓๒/๒)
เหตุผล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ประกาศใช้มาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งได้ปรับโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง โดยกำหนดให้แยกศาลยุติธรรม ออกเป็นสถาบันอิสระมีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมและมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ รวมทั้งในปัจจุบันสภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศและสภาพการจ้างและการทำงานเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ปัญหาทางด้านแรงงานมีความซับซ้อนและมีปริมาณทวีขึ้นเป็นอย่างมาก อันจะเป็นสาเหตุให้ข้อพิพาทแรงงานที่ขึ้นสู่ศาลมีความยุ่งยากและปริมาณมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในทางปฏิบัติ รวมทั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาด้านแรงงานและล้าสมัย สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงไป และให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแต่ยังคงไว้ซึ่งหลักแห่งกฏหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงานที่จะต้องกระทำโดยประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สมาชิกฯได้อภิปรายถึงมาตรา ๘ และมาตรา ๑๔/๓ กันอย่างกว้างขวาง จากนั้นประธานขอมติจากที่ประชุมฯ
ที่ประชุมเห็นชอบรับหลักการในวาระที่ ๑
คณะกรรมาธิการเสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ๑๙ คนโดยกำหนดแปรญัตติภายใน
๑๐ วัน
๗. ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายบัญญัติ จันเสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เหตุผล
เนื่องจากการปฏิรูประบบราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช ๒๕๔๕ให้จัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยมีภารกิจหลักในการดำเนินการป้องกัน บรรเทา ฟื้นฟูสาธารณภัยและอุบัติภัย ซึ่งมีผลทำให้งานด้านสาธารณภัยและงานด้านอุบัติภัย ที่เดิมดำเนินการโดยกองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี มารวมอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียวกัน นอกจากนี้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย รวมทั้งหน่วยงานที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าวก็เป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีอำนวยการและบริหารจัดการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงเห็นสมควรนำกฎหมายว่าด้วยการป้องกันฝ่ายพลเรือนและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย มาบัญญัติไว้รวมกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ซึ่งสมาชิกฯ ได้อภิปรายให้ความสำคัญในปัญหาภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติต่าง ๆ จึงเสนอให้คณะรัฐมนตรีที่เสนอร่างฯ นี้ควรนำเอาไปปรับปรุงเพิ่มเติมศึกษาให้ครอบคลุมเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ต้องใช้หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนทราบว่าปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ภาครัฐที่ตื่นตัวฝ่ายเดียว ประชาชนต้องรู้จากการให้การศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและเตือนภัยทุกระบบว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น เพราะยังไม่มีหน่วยงานใดหรือรัฐบาลพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าเราเตรียมการอะไรบ้าง สำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างแท้จริง
จากนั้นประธานฯ ขอมติจากที่ประชุม โดยที่ประชุมมีมติรับหลักการด้วยคะแนนเสียง ๙๙ เสียง
ที่ประชุมฯ เสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พ.ศ. ….จำนวน ๓๕ คน กำหนดแปรญัตติภายใน ๑๐ วัน
ที่ประชุมเห็นชอบ
๘. ร่างพระราชบัญญติการแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ พ.ศ. ….
ซึ่งนายสมชาย แสวงการ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แถลงถึง หลักการและเหตุผล
ดังนี้
หลักการ
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ
เหตุผล
โดยที่รายการโทรทัศน์และวิทยุที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาประเทศ แต่การจัดทำรายการโทรทัศน์และวิทยุที่มีคุณภาพต้องใช้ต้นทุนในการดำเนินการสูงและมีผลตอบแทนในการดำเนินงานต่ำ จึงทำให้สถานีโทรทัศน์และวิทยุของเอกชนที่ดำเนินการในเชิงพาณิชย์ไม่ผลิตรายการดังกล่าวเท่าที่ควร และทำให้ขาดการพัฒนาผู้ผลิตรายการอิสระที่มุ่งเน้นผลิตรายการที่มีคุณภาพ ในขณะที่สถานีโทรทัศน์และวิทยุของรัฐก็ขาดความเป็นอิสระและถูกแทรกแซงจากฝ่ายต่างๆได้ง่าย ทั้งโดยผ่านกิจกรรมทางธุรกิจ และการแทรกแซงทางการเมือง การแพร่ภาพและกระจายเสียงรายการโทรทัศน์และวิทยุที่ผ่านมาจึงมักละเลยต่อการให้ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน การให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน การธำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ รวมทั้งการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มบุคคลที่มีความแตกต่างกันในสังคมสมควรสนับสนุนให้มีการแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะขึ้น เพื่อให้ มีการแพร่ภาพกระจายเสียงรายการโทรทัศน์และวิทยุที่มีคุณภาพสูงต่อสาธารณะโดยไม่มุ่งเน้นการแสวงหากำไรโดยประกันเสรีภาพในการจัดทำรายการโทรทัศน์และวิทยุและการแพร่ภาพและกระจายเสียงรายการดังกล่าวให้ปลอดจากการแทรกแซงทางธุรกิจและการแทรกแซงทางการเมืองควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบต่อสังคม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
โดยนายสมชาย แสวงการ อภิปรายถึงวาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ว่า สถานี โทรทัศน์ของรัฐต้องมีหน้าที่เผยแพร่สนับสนุนรายการประเภทสาระประโยชน์เพื่อประชาชน อาทิ รายการเพื่อการศึกษารายการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของเวลาการออกอากาศทั้งหมด รายการข่าวที่เน้นความถูกต้องเป็นกลาง เป็นต้น รวมถึงจัดตั้งคณะกรรมการแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะจำนวน ๕ คน โดยการสรรหาจากตัวแทนสื่อและเอกชน มีวาระดำรงตำแหน่ง ๕ ปี มีอำนาจที่วางนโยบาย กำกับดูแลกิจการสถานีโทรทัศน์ของรัฐ จัดทำข้อกำหนด จริยธรรมของวิชาชีพ เกี่ยวกับการผลิตหรือกระจายเสียงรายการที่สำคัญห้ามไม่ให้สถานีโทรทัศน์ของ
รัฐหารายได้จากการโฆษณาแต่อนุญาตให้มีผู้สนับสนุนรายการและเผยแพร่ภาพหรือกระจายเสียง รายการที่มีลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์พรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เว้นแต่กรณีกฎหมายกำหนด นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการตรวจสอบบัญชี จัดทำงบดุล งบการเงิน ส่งให้ผู้สอบบัญชีภายใน ๑๒๐ วันนับแต่วันสิ้นปีและจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภา
จากนั้นนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อภิปรายว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์มากและรัฐบาลจะนำร่างดังกล่าวไปพิจารณาศึกษาก่อนรับหลักการ จากนั้นจะนำกลับมาให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาภายใน ๓๐ วัน
ที่ประชุมเห็นชอบ
๙. ร่างพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งนายกงกฤษ หิรัญกิจ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
นายกงกฤษ หิรัญกิจ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แถลงถึง หลักการและเหตุผล ดังนี้
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๒๒ ดังต่อไปนี้
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “พนักงาน” เพื่อมิให้รวมถึงผู้ว่าการ รวมทั้งเพิ่ม
บทนิยามคำว่า “รัฐมนตรี” เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๕ และ
มาตรา ๑๖)
(๓) แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการและบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้อง
(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๐ และเพิ่มมาตรา ๑๘/๑)
(๔) แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการเพื่อลดปริมาณเรื่องที่ต้องเสนอต่อ
คณะรัฐมนตรี (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๔ และมาตรา ๔๐)
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการพ้นจากตำแหน่งของผู้ว่าการ
และรองผู้ว่าการเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา๒๕ และมาตรา ๒๖)
เหตุผล
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และโดยที่ได้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และกำหนดให้ผู้ว่าการมาจากการจ้าง สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้สอดคล้องกัน รวมทั้งสมควรแก้ไขบทบัญญัติบางประการเพื่อเป็นการลดปริมาณเรื่อง ที่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
คณะรัฐมนตรีขอรับร่างฯ ดังกล่าวไปศึกษาก่อนที่จะรับหลักการและมอบให้สภา
ภายในเวลา ๓๐ วัน ตามข้อบังคับการประชุมฯ
ที่ประชุมเห็นชอบ
๓. กระทู้ถาม
๓.๑ กระทู้ถามสด
กระทู้ถามเรื่อง กรณีปัญหาโครงการวางท่อก๊าซจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ
ไทย-มาเลเซีย ไปใช้สำหรับโรงไฟฟ้าสงขลา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ของนางเตือนใจ
ดีเทศน์ ถามนายกรัฐมนตรี (เป็นเรื่องที่เลื่อนมาจากการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๐ วันพุธที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๐)
ซึ่ง นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยกับ นายปิยสวัสดิ์อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า บริษัทซาน ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซียได้จัดซื้อที่ดิน เพื่อสร้างโรงแยกก๊าซในท้องที่ ต.ตลิ่งชันและต.สกอน อ.จะนะ จ.สงขลา ในขณะเดียวกันพื้นที่ดังกล่าวมีทางสาธารณะประโยชน์แทรกอยู่ ๒ เส้นทาง บริษัทจึงได้ขอโอนแลกเปลี่ยนทางสาธารณะประโยชน์กับที่ดินของบริษัท ซึ่งไม่ได้รับการคัดค้านจากหน่วยงานใด แต่ต่อมากระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้ จ.สงขลาเป็นผู้ถอนสถาพที่ดินทางสาธารณะประโยชน์ตามาตรา ๘ วรรค ๒ (๑) แห่งประมวลกฎหมายที่ดินและให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้จัดหาประโยชน์ โดยแลกเปลี่ยนกับที่ดินของบริษัทได้ ซึ่ง ประชาชนได้คัดค้านเ พราะเป็นที่ดินวากัฟซึ่งตามหลักศาสนาอิสลามได้กำหนดไว้ว่าการจะขาย ให้ หรือรับมรดกไม่ได้ ซึ่งทางสำนักจุฬาราชมนตรีได้วินิจฉัยว่า หากการแลกเปลี่ยนไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนสามารถแลกเปลี่ยนได้ โดยสรุปแล้วโครงการท่อแก๊ส โครงการโรงไฟฟ้า และโครงการโรงแยกก๊าซ เป็นโครงการที่มีเหตุผลและมีการพิจารณาอย่างโปร่งใสและรอบคอบ
๓.๒ กระทู้ถามทั่วไป
๓.๒.๑ กระทู้ถาม เรื่อง การแก้ปัญหาของชาวประมงพื้นบ้าน อำเภอ
ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ของนายแวมาฮาดี แวดาโอะ ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งนายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ถามดังกล่าวว่า ชาวประมงพื้นบ้าน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส มีจำนวน ๑,๕๐๐ ครัวเรือน ๗,๕๐๐ คน ซึ่งได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ชายฝั่งทะเล รัฐบาลมีมาตราการและนโยบายเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก โดยการจัดสวัสดิการสงเคราะห์และบริการทางสังคมที่จำเป็นอย่างทั่วถึงและดูแลโอกาสในการเรียนรู้ การศึกษาตลอดจนการฝึกอาชีพของคนเหล่านี้และลูกหลาน นอกจากนั้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะได้รับการดูแลไม่ให้เกิดผลทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย รัฐบาลได้มีนโยบายชลอการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติโดยสร้างแนวประการังเทียม ที่เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและ มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำทดแทน รวมทั้งจังหวัดได้ประชุมร่วมกับชาวประมงพื้นบ้านของ ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการนี้กระทรวงเกษตรฯยังร่วมมือกับประชาชนที่อยู่ใกล้ทรัพยากรให้มามีส่วนร่วมต่อการบริหารจัดการทรัพยากรโดยเน้นในเรื่องของประมงอาสา โดยกำหนดบทบาทของภาคประชาชนในลักษณะที่เป็นคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะกรรมการประมงท้องถิ่น เพราะฉะนั้นเรามุ่งที่จะร่วมมือกับประชาชนในพื้นที่ ส่วนข้อเสนอเรื่องเรือจะรับไปพิจารณาตรวจสอบอีกครั้ง
๓.๒.๒ กระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่เขต
มีนบุรี กรุงเทพมหานคร ของนายวินัย สะมะอุน ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งนายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ และนายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า ในเขตมีนบุรีนั้นการเคหะได้มีโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเป็นโครงการเคหะชุมชนมีจำนวน ๓ โครงการ และยังมีโครงการแก้ปัญหาชุมชนแออัด โดยจัดทำเป็นโครงการจัดหาที่อยู่ใหม่สำหรับ ผู้ถูกไล่ที่ ถูกไฟไหม้ ฯลฯ ทั้งยังมีโครงการบ้านเอื้ออาทรจำนวนทั้งสิ้น ๓ โครงการ โครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่แล้วเสร็จบรรจุผู้อาศัยแล้ว ๑ โครงการ คือ โครงการมีนบุรี โดยพิจารณาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ ตั้งแต่วันจองโครงการจึงไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ตรงการยื่นขอสินเชื่อธนาคาร สาเหตุจากหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงินต่างๆ ดังนั้นทางรัฐบาลจะหาทางแก้ไขปัญหาส่วนนี้โดยหารือกับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อจะช่วยลดอัตราดอกเบี้ย และในส่วนของน้ำประปานั้น ทาง สำนักงานประปา ได้กำหนดแผนการวางท่อจ่ายน้ำให้กับประชาชนในพื้นที่ เขตมีนบุรี จำนวน ๗ ชุมชน
๘ เส้นทาง ส่วนงบประมาณในการปรับปรุงลานกีฬา ได้รับงบการปรับปรุงจากสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพฯ ซึ่งจะก่อสร้างลานกีฬาเพิ่มเติมตามกำลังงบประมาณ ในส่วนการปรับปรุงถนนมีงบในการปรับปรุงทั้งหมด ๑๐ สาย สำหรับความช่วยเหลือในการปักเสาไฟฟ้าชั่วคราวนั้น เป็นที่ดินของเอกชนไม่เป็นทางสาธารณะซึ่งทางชุมชนได้ประสานงานกับการไฟฟ้า เขตมีนบุรี เพื่อที่จะปักเสาไฟฟ้าเข้าไปในที่อยู่อาศัย โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของงบประมาณด้วย ซึ่งทางสำนักงาน เขตคลองสามวาได้ประสานงานกับสำนักงานการไฟฟ้า เขตมีนบุรี เพื่อจะให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนต่อไป
สำหรับวาระที่เหลือประธานฯ ขอเลื่อนการประชุมไปวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน
๒๕๕๐
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา
----------------------------------------
วันพุธที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐
-----------------------------
การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๙/๒๕๕๐ วันพุธที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๕๐ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๐ นาฬิกา โดยมี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็น ประธานในการประชุม เมื่อสมาชิกมาครบองค์ประชุมประธานดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ การประชุม ดังนี้
๑. เรื่องที่ประธานจะแจ้งต่อที่ประชุม
๑.๑ รับทราบรายงานผลการปฏิบัติของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
(กทช.) ประจำปี พ.ศ.๒๕๔๙ (ตามมาตรา ๕๑ (๑๙) และมาตรา ๗๔ แห่งพระราชบัญญัติองค์กร
จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม
พ.ศ. ๒๕๔๓)
๑.๒ คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อสังเกตของกรรมาธิการเต็มสภาพิจารณาร่างพระราช
บัญญัติว่าด้วยการมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ไปร่วมชันสูตรพลิกศพตามมาตรา ๑๔๘ อนุมาตรา ๓ อนุมาตรา ๔ และอนุมาตรา ๕ แห่งประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ. …. ตามที่สภา
ส่งไป เพื่อดำเนินการแล้วและเห็นชอบให้นำเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติที่กรรมาธิการเต็มสภาแก้ไข
เป็นเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติในการประกาศราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ที่ประชุมรับทราบ
๒. รับรองรายงานการประชุม (ไม่มี)
เรื่องด่วน
๑. ร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการ
วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว
ที่ประชุมฯ มีมติรับหลักการในวาระที่ ๒ ให้นำร่างพระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ พ.ศ. …. ประกาศเป็นกฎหมายด้วยคะแนนเสียงข้างมาก
๒. ร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว
โดยพลเรือเอก ประเสริฐ บุญทรง ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญได้เสนอรายงานการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเรือไทย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ตามที่ได้ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๐ เมื่อวันพุธที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติ เรือไทย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ไว้พิจารณาและมีมติตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณาจำนวน ๑๕ คน บัดนี้คณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสร็จแล้ว จึงเสนอต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาต่อไป
จากนั้นที่ประชุมฯ ได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง ประธานจึงได้ขอมติจากที่ประชุมฯ ว่าเห็นควรเป็นไปตามร่างฯที่กรรมาธิการแก้ไขด้วยคะแนน ๗๕ ต่อ ๓๖ เสียง
ที่ประชุมเห็นชอบ
เรื่องการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
๑. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
จัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
เหตุผล
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นที่อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ให้มีเขตตลอดท้องที่อำเภอชุมแพ อำเภอภูผาม่าน อำเภอภูเวียง อำเภอสีชมพู อำเภอหนองเรือ และกิ่งอำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในท้องที่อำเภอและกิ่งอำเภอดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ที่ประชุมฯ มีมติรับหลักการพระราชบัญญติฯ
คณะกรรมาธิการเสนอให้ตั้งกรรมาธิการเต็มสภา
ที่ประชุมเห็นชอบ
๒. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
จัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
เหตุผล
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ให้มีเขตตลอดท้องที่อำเภอเชียงคำ อำเภอจุน และกิ่งอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในท้องที่อำเภอและกิ่งอำเภอดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ที่ประชุมฯมีมติรับหลักการพระราชบัญญัติฯ
คณะกรรมาธิการฯเสนอให้ตั้งกรรมาธิการเต็มสภา
ที่ประชุมเห็นชอบ
๓. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
จัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
เหตุผล
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ให้มีเขตตลอดท้องที่อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอบึงสามพัน อำเภอศรีเทพและอำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในท้องที่อำเภอ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ที่ประชุมฯมีมติรับหลักการพระราชบัญญัติฯ
คณะรัฐมนตรีเสนอตั้งกรรมาธิการเต็มสภา
ที่ประชุมเห็นชอบ
๔. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พ.ศ. …. ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
จัดตั้งศาลจังหวัดที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เหตุผล
โดยที่เป็นการสมควรจัดตั้งศาลจังหวัดขึ้นที่อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานีให้มีเขตตลอดท้องที่อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา อำเภอชัยบุรี อำเภอบ้านนาสาร และอำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนในท้องที่อำเภอ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ที่ประชุมฯมีมติรับหลักการพระราชบัญญัติฯ
๕. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่..)
พ.ศ. …. (ความผิดฐานปลอมหนังสือเดินทาง) ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฏหมายอาญา ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทาง (เพิ่มบทนิยามคำว่า “หนังสือเดินทาง”เป็นมาตรา ๑ (๑๕) และเพิ่มหมวด๕ ความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางของลักษณะ ๗ ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง ในภาค ๒ ความผิด มาตรา ๒๖๙/๘ มาตรา๒๖๙/๙ มาตรา ๒๖๙/๑๐ มาตรา ๒๖๙/๑๑ มาตรา ๒๖๙/๑๒ มาตรา ๒๖๙/๑๓ มาตรา ๒๖๙/๑๔และมาตรา๒๖๙/๑๕ )
(๒) กำหนดให้ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางนอกราชอาณาจักรต้องรับ
โทษภายในราชอาณาจักร ( เพิ่มมาตรา ๘ ( ๒/๒) )
เหตุผล
โดยที่ปัจจุบันการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติได้ทวีความรุนแรงและมีรูปแบบที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้นและได้มีการใช้หนังสือเดินทางเป็นเครื่องมือในการกระทำดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงภายในประเทศและต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ สมควรขยายขอบเขตของการกระทำความผิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางให้กว้างขวาง และสมควรกำหนดอัตราโทษให้เหมาะสมกับความผิด จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สมาชิกฯ ได้อภิปรายถึงประเด็นการปลอมแปลงหนังสือเดินทางอย่างกว้างขวาง จากนั้นประธานขอมติจากที่ประชุม ที่ประชุมเห็นชอบรับหลักการในวาระที่ ๑ และคณะกรรมาธิการเสนอให้ตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ๑๕ คน โดยมีกำหนดแปรญัตติ ๑๐ วัน
๖. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….. (แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำให้สอดคล้องกับหลักการใหม่ตามพระธรรมนูญ
ศาลยุติธรรมและกฎหมายของศาลยุติธรรม) ซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวีธีพิจารณาคดีแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๒๒ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดให้สหภาพแรงงานหมายความถึงองค์การของลูกจ้างที่จัดตั้งขึ้นตาม
กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ด้วย (แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “สหภาพแรงงาน”
ในมาตรา ๓ )
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำให้สอดคล้องกับหลักการใหม่ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมและกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่าย
ตุลาการศาลยุติธรรม (แก้ไขเพิ่มเติมาตรา ๔ มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒และมาตรา ๑๓)
(๓) กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีละเมิดระหว่างลูกจ้างกับ
ลูกจ้างที่เกิดจากการทำงานในทางการที่จ้างและคดีข้อพิพาทแรงงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานขอให้ชี้ขาดตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๘)
(๔) กำหนดให้ศาลแรงงานมีอำนาจวินิจฉัยว่าคดีใดอยู่ในอำนาจศาลแรงงาน โดย
ไม่ต้องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัย ในกรณีมีคำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาล
แรงงานกลางอยู่แล้ว (เพิ่มมาตรา ๙ วรรคสาม)
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือก คุณสมบัติ วาระในการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของผู้พิพากษาสมทบ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๔และมาตรา ๑๕ และเพิ่ม
มาตรา ๑๔/๑ มาตรา ๑๔/๒ และมาตรา ๑๔/๓ )
(๖) กำหนดให้บทบัญญัติว่าด้วยการคัดค้านผู้พิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับแก่การคัดค้านผู้พิพากษาสมทบโดยอนุโลม โดยถือว่าการคัดค้าน
ผู้พิพากษาอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งอยู่แล้ว (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๙)
(๗) ปรับปรุงการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแรงงานเกี่ยวกับการส่งคำคู่ความหรือ
เอกสารการนั่งพิจารณานอกเวลาราชการ การสืบพยานหลักฐานล่วงหน้าและการส่งสำเนาคำพิพากษา
ไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๕ มาตรา ๒๘ และ
มาตรา ๕๑ วรรคสอง เพิ่มมาตรา ๓๒/๑ และมาตรา ๓๒/๒)
เหตุผล
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ประกาศใช้มาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งได้ปรับโครงสร้างทางการเมืองการปกครอง โดยกำหนดให้แยกศาลยุติธรรม ออกเป็นสถาบันอิสระมีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมและมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ รวมทั้งในปัจจุบันสภาพสังคมและเศรษฐกิจของประเทศและสภาพการจ้างและการทำงานเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ปัญหาทางด้านแรงงานมีความซับซ้อนและมีปริมาณทวีขึ้นเป็นอย่างมาก อันจะเป็นสาเหตุให้ข้อพิพาทแรงงานที่ขึ้นสู่ศาลมีความยุ่งยากและปริมาณมากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ยังมีบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในทางปฏิบัติ รวมทั้งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาด้านแรงงานและล้าสมัย สมควรแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์เปลี่ยนแปลงไป และให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นแต่ยังคงไว้ซึ่งหลักแห่งกฏหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงานที่จะต้องกระทำโดยประหยัด สะดวก รวดเร็วและเที่ยงธรรม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
สมาชิกฯได้อภิปรายถึงมาตรา ๘ และมาตรา ๑๔/๓ กันอย่างกว้างขวาง จากนั้นประธานขอมติจากที่ประชุมฯ
ที่ประชุมเห็นชอบรับหลักการในวาระที่ ๑
คณะกรรมาธิการเสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญ ๑๙ คนโดยกำหนดแปรญัตติภายใน
๑๐ วัน
๗. ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. …. ซึ่ง
คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
นายบัญญัติ จันเสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย แถลงถึง หลักการและ
เหตุผลดังนี้
หลักการ
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เหตุผล
เนื่องจากการปฏิรูประบบราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช ๒๕๔๕ให้จัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขึ้นเป็นส่วนราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยมีภารกิจหลักในการดำเนินการป้องกัน บรรเทา ฟื้นฟูสาธารณภัยและอุบัติภัย ซึ่งมีผลทำให้งานด้านสาธารณภัยและงานด้านอุบัติภัย ที่เดิมดำเนินการโดยกองป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมการ ปกครอง กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี มารวมอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเดียวกัน นอกจากนี้กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย รวมทั้งหน่วยงานที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าวก็เป็นหน่วยงานเดียวกัน เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีอำนวยการและบริหารจัดการเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงเห็นสมควรนำกฎหมายว่าด้วยการป้องกันฝ่ายพลเรือนและกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและระงับอัคคีภัย มาบัญญัติไว้รวมกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
ซึ่งสมาชิกฯ ได้อภิปรายให้ความสำคัญในปัญหาภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติต่าง ๆ จึงเสนอให้คณะรัฐมนตรีที่เสนอร่างฯ นี้ควรนำเอาไปปรับปรุงเพิ่มเติมศึกษาให้ครอบคลุมเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ต้องใช้หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสร้างความตระหนักให้ประชาชนทราบว่าปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นนั้นไม่ใช่ภาครัฐที่ตื่นตัวฝ่ายเดียว ประชาชนต้องรู้จากการให้การศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนและเตือนภัยทุกระบบว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น เพราะยังไม่มีหน่วยงานใดหรือรัฐบาลพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าเราเตรียมการอะไรบ้าง สำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างแท้จริง
จากนั้นประธานฯ ขอมติจากที่ประชุม โดยที่ประชุมมีมติรับหลักการด้วยคะแนนเสียง ๙๙ เสียง
ที่ประชุมฯ เสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พ.ศ. ….จำนวน ๓๕ คน กำหนดแปรญัตติภายใน ๑๐ วัน
ที่ประชุมเห็นชอบ
๘. ร่างพระราชบัญญติการแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ พ.ศ. ….
ซึ่งนายสมชาย แสวงการ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แถลงถึง หลักการและเหตุผล
ดังนี้
หลักการ
ให้มีกฎหมายว่าด้วยการแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะ
เหตุผล
โดยที่รายการโทรทัศน์และวิทยุที่มีคุณภาพเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและการพัฒนาประเทศ แต่การจัดทำรายการโทรทัศน์และวิทยุที่มีคุณภาพต้องใช้ต้นทุนในการดำเนินการสูงและมีผลตอบแทนในการดำเนินงานต่ำ จึงทำให้สถานีโทรทัศน์และวิทยุของเอกชนที่ดำเนินการในเชิงพาณิชย์ไม่ผลิตรายการดังกล่าวเท่าที่ควร และทำให้ขาดการพัฒนาผู้ผลิตรายการอิสระที่มุ่งเน้นผลิตรายการที่มีคุณภาพ ในขณะที่สถานีโทรทัศน์และวิทยุของรัฐก็ขาดความเป็นอิสระและถูกแทรกแซงจากฝ่ายต่างๆได้ง่าย ทั้งโดยผ่านกิจกรรมทางธุรกิจ และการแทรกแซงทางการเมือง การแพร่ภาพและกระจายเสียงรายการโทรทัศน์และวิทยุที่ผ่านมาจึงมักละเลยต่อการให้ข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน การให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน การธำรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะวัฒนธรรมอันดีงามของชาติ รวมทั้งการสร้างความสมานฉันท์ระหว่างกลุ่มบุคคลที่มีความแตกต่างกันในสังคมสมควรสนับสนุนให้มีการแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะขึ้น เพื่อให้ มีการแพร่ภาพกระจายเสียงรายการโทรทัศน์และวิทยุที่มีคุณภาพสูงต่อสาธารณะโดยไม่มุ่งเน้นการแสวงหากำไรโดยประกันเสรีภาพในการจัดทำรายการโทรทัศน์และวิทยุและการแพร่ภาพและกระจายเสียงรายการดังกล่าวให้ปลอดจากการแทรกแซงทางธุรกิจและการแทรกแซงทางการเมืองควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบต่อสังคม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
โดยนายสมชาย แสวงการ อภิปรายถึงวาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ว่า สถานี โทรทัศน์ของรัฐต้องมีหน้าที่เผยแพร่สนับสนุนรายการประเภทสาระประโยชน์เพื่อประชาชน อาทิ รายการเพื่อการศึกษารายการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ ของเวลาการออกอากาศทั้งหมด รายการข่าวที่เน้นความถูกต้องเป็นกลาง เป็นต้น รวมถึงจัดตั้งคณะกรรมการแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะจำนวน ๕ คน โดยการสรรหาจากตัวแทนสื่อและเอกชน มีวาระดำรงตำแหน่ง ๕ ปี มีอำนาจที่วางนโยบาย กำกับดูแลกิจการสถานีโทรทัศน์ของรัฐ จัดทำข้อกำหนด จริยธรรมของวิชาชีพ เกี่ยวกับการผลิตหรือกระจายเสียงรายการที่สำคัญห้ามไม่ให้สถานีโทรทัศน์ของ
รัฐหารายได้จากการโฆษณาแต่อนุญาตให้มีผู้สนับสนุนรายการและเผยแพร่ภาพหรือกระจายเสียง รายการที่มีลักษณะเป็นการประชาสัมพันธ์พรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เว้นแต่กรณีกฎหมายกำหนด นอกจากนี้ยังเสนอให้มีการตรวจสอบบัญชี จัดทำงบดุล งบการเงิน ส่งให้ผู้สอบบัญชีภายใน ๑๒๐ วันนับแต่วันสิ้นปีและจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภา
จากนั้นนายประสิทธิ์ โฆวิไลกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อภิปรายว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์มากและรัฐบาลจะนำร่างดังกล่าวไปพิจารณาศึกษาก่อนรับหลักการ จากนั้นจะนำกลับมาให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาภายใน ๓๐ วัน
ที่ประชุมเห็นชอบ
๙. ร่างพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ซึ่งนายกงกฤษ หิรัญกิจ กับคณะ เป็นผู้เสนอ
นายกงกฤษ หิรัญกิจ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แถลงถึง หลักการและเหตุผล ดังนี้
หลักการ
แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๒๒ ดังต่อไปนี้
(๑) แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า “พนักงาน” เพื่อมิให้รวมถึงผู้ว่าการ รวมทั้งเพิ่ม
บทนิยามคำว่า “รัฐมนตรี” เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
(๒) แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๕ และ
มาตรา ๑๖)
(๓) แก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการและบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้อง
(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ และมาตรา ๒๐ และเพิ่มมาตรา ๑๘/๑)
(๔) แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติบางประการเพื่อลดปริมาณเรื่องที่ต้องเสนอต่อ
คณะรัฐมนตรี (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๔ และมาตรา ๔๐)
(๕) แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและการพ้นจากตำแหน่งของผู้ว่าการ
และรองผู้ว่าการเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา๒๕ และมาตรา ๒๖)
เหตุผล
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการการท่องเที่ยว แห่งประเทศไทยให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และโดยที่ได้มีการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ โดยกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และกำหนดให้ผู้ว่าการมาจากการจ้าง สมควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ ให้สอดคล้องกัน รวมทั้งสมควรแก้ไขบทบัญญัติบางประการเพื่อเป็นการลดปริมาณเรื่อง ที่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
คณะรัฐมนตรีขอรับร่างฯ ดังกล่าวไปศึกษาก่อนที่จะรับหลักการและมอบให้สภา
ภายในเวลา ๓๐ วัน ตามข้อบังคับการประชุมฯ
ที่ประชุมเห็นชอบ
๓. กระทู้ถาม
๓.๑ กระทู้ถามสด
กระทู้ถามเรื่อง กรณีปัญหาโครงการวางท่อก๊าซจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ
ไทย-มาเลเซีย ไปใช้สำหรับโรงไฟฟ้าสงขลา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ของนางเตือนใจ
ดีเทศน์ ถามนายกรัฐมนตรี (เป็นเรื่องที่เลื่อนมาจากการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๐ วันพุธที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๐)
ซึ่ง นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยกับ นายปิยสวัสดิ์อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า บริษัทซาน ไทย-มาเลเซีย (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซียได้จัดซื้อที่ดิน เพื่อสร้างโรงแยกก๊าซในท้องที่ ต.ตลิ่งชันและต.สกอน อ.จะนะ จ.สงขลา ในขณะเดียวกันพื้นที่ดังกล่าวมีทางสาธารณะประโยชน์แทรกอยู่ ๒ เส้นทาง บริษัทจึงได้ขอโอนแลกเปลี่ยนทางสาธารณะประโยชน์กับที่ดินของบริษัท ซึ่งไม่ได้รับการคัดค้านจากหน่วยงานใด แต่ต่อมากระทรวงมหาดไทยมอบหมายให้ จ.สงขลาเป็นผู้ถอนสถาพที่ดินทางสาธารณะประโยชน์ตามาตรา ๘ วรรค ๒ (๑) แห่งประมวลกฎหมายที่ดินและให้อธิบดีกรมที่ดินเป็นผู้จัดหาประโยชน์ โดยแลกเปลี่ยนกับที่ดินของบริษัทได้ ซึ่ง ประชาชนได้คัดค้านเ พราะเป็นที่ดินวากัฟซึ่งตามหลักศาสนาอิสลามได้กำหนดไว้ว่าการจะขาย ให้ หรือรับมรดกไม่ได้ ซึ่งทางสำนักจุฬาราชมนตรีได้วินิจฉัยว่า หากการแลกเปลี่ยนไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนสามารถแลกเปลี่ยนได้ โดยสรุปแล้วโครงการท่อแก๊ส โครงการโรงไฟฟ้า และโครงการโรงแยกก๊าซ เป็นโครงการที่มีเหตุผลและมีการพิจารณาอย่างโปร่งใสและรอบคอบ
๓.๒ กระทู้ถามทั่วไป
๓.๒.๑ กระทู้ถาม เรื่อง การแก้ปัญหาของชาวประมงพื้นบ้าน อำเภอ
ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ของนายแวมาฮาดี แวดาโอะ ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งนายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และนายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ถามดังกล่าวว่า ชาวประมงพื้นบ้าน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส มีจำนวน ๑,๕๐๐ ครัวเรือน ๗,๕๐๐ คน ซึ่งได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ชายฝั่งทะเล รัฐบาลมีมาตราการและนโยบายเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก โดยการจัดสวัสดิการสงเคราะห์และบริการทางสังคมที่จำเป็นอย่างทั่วถึงและดูแลโอกาสในการเรียนรู้ การศึกษาตลอดจนการฝึกอาชีพของคนเหล่านี้และลูกหลาน นอกจากนั้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะได้รับการดูแลไม่ให้เกิดผลทางลบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย รัฐบาลได้มีนโยบายชลอการลดลงของทรัพยากรธรรมชาติโดยสร้างแนวประการังเทียม ที่เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและ มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำทดแทน รวมทั้งจังหวัดได้ประชุมร่วมกับชาวประมงพื้นบ้านของ ๓ จังหวัด ชายแดนภาคใต้เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ในการนี้กระทรวงเกษตรฯยังร่วมมือกับประชาชนที่อยู่ใกล้ทรัพยากรให้มามีส่วนร่วมต่อการบริหารจัดการทรัพยากรโดยเน้นในเรื่องของประมงอาสา โดยกำหนดบทบาทของภาคประชาชนในลักษณะที่เป็นคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติและคณะกรรมการประมงท้องถิ่น เพราะฉะนั้นเรามุ่งที่จะร่วมมือกับประชาชนในพื้นที่ ส่วนข้อเสนอเรื่องเรือจะรับไปพิจารณาตรวจสอบอีกครั้ง
๓.๒.๒ กระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่เขต
มีนบุรี กรุงเทพมหานคร ของนายวินัย สะมะอุน ถามนายกรัฐมนตรี
ซึ่งนายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ และนายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า ในเขตมีนบุรีนั้นการเคหะได้มีโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยเป็นโครงการเคหะชุมชนมีจำนวน ๓ โครงการ และยังมีโครงการแก้ปัญหาชุมชนแออัด โดยจัดทำเป็นโครงการจัดหาที่อยู่ใหม่สำหรับ ผู้ถูกไล่ที่ ถูกไฟไหม้ ฯลฯ ทั้งยังมีโครงการบ้านเอื้ออาทรจำนวนทั้งสิ้น ๓ โครงการ โครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่แล้วเสร็จบรรจุผู้อาศัยแล้ว ๑ โครงการ คือ โครงการมีนบุรี โดยพิจารณาคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ ตั้งแต่วันจองโครงการจึงไม่มีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ตรงการยื่นขอสินเชื่อธนาคาร สาเหตุจากหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงินต่างๆ ดังนั้นทางรัฐบาลจะหาทางแก้ไขปัญหาส่วนนี้โดยหารือกับทางธนาคารอาคารสงเคราะห์เพื่อจะช่วยลดอัตราดอกเบี้ย และในส่วนของน้ำประปานั้น ทาง สำนักงานประปา ได้กำหนดแผนการวางท่อจ่ายน้ำให้กับประชาชนในพื้นที่ เขตมีนบุรี จำนวน ๗ ชุมชน
๘ เส้นทาง ส่วนงบประมาณในการปรับปรุงลานกีฬา ได้รับงบการปรับปรุงจากสำนักวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยว กรุงเทพฯ ซึ่งจะก่อสร้างลานกีฬาเพิ่มเติมตามกำลังงบประมาณ ในส่วนการปรับปรุงถนนมีงบในการปรับปรุงทั้งหมด ๑๐ สาย สำหรับความช่วยเหลือในการปักเสาไฟฟ้าชั่วคราวนั้น เป็นที่ดินของเอกชนไม่เป็นทางสาธารณะซึ่งทางชุมชนได้ประสานงานกับการไฟฟ้า เขตมีนบุรี เพื่อที่จะปักเสาไฟฟ้าเข้าไปในที่อยู่อาศัย โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนของงบประมาณด้วย ซึ่งทางสำนักงาน เขตคลองสามวาได้ประสานงานกับสำนักงานการไฟฟ้า เขตมีนบุรี เพื่อจะให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนต่อไป
สำหรับวาระที่เหลือประธานฯ ขอเลื่อนการประชุมไปวันพฤหัสบดีที่ ๑๙ เมษายน
๒๕๕๐
ปิดประชุมเวลา ๑๙.๐๐ นาฬิกา
----------------------------------------