Is Abhisit Vejjajiva Thailand's Next Leader?
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะได้เป็นผู้นำประเทศไทยคนต่อไปหรือไม่
By HANNAH BEECH/BANGKOK
บทความโดย ฮันนาห์ บีช ผู้สื่อข่าวนิตยสารไทม์ประจำประเทศไทย
October 1973: a 9-year-old boy, cloistered in a Bangkok compound, flips on the television. No cartoons for him. Instead, the box broadcasts images of Thai students and workers flooding nearby streets to protest the autocratic generals ruling their nation. The boy finds the scenes enthralling, sparking a political awakening unusual in any kid, much less the scion of a privileged Thai-Chinese family. Just three years later, a violent military crackdown would bring this brief experiment in Thai democracy to an end. But by that point, the boy, Abhisit Vejjajiva, was studying overseas in Britain. "I experienced the optimism of the 1973 democratic revolution, but I wasn't there for the disillusionment of the 1976 massacre," recalls Abhisit, who at age 27 was voted in as one of Thailand's youngest-ever parliamentarians. "Maybe that's what made me believe in the power of politics."
เดือนตุลาคม 2516 เด็กชายอายุ 9 ขวบคนหนึ่งผู้มีชีวิตอย่างเงียบสงบในกรุงเทพฯ ได้เปิดโทรทัศน์ดู สิ่งที่เขาได้เห็นในครั้งนั้นไม่ใช่รายการการ์ตูน แต่เป็นภาพขบวนการนักศึกษาและผู้ใช้แรงงานชุมนุมประท้วงอำนาจเผด็จการที่ยึดครองประเทศในขณะนั้น ภาพเหตุการณ์ในวันนั้นตราตรึงอยู่ในใจและได้จุดประกายให้เด็กชายผู้นั้นสนใจการเมือง ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่ธรรมดาสำหรับเด็กทั่วไปโดยเฉพาะลูกหลานตระกูลชาวไทยเชื้อสายจีนผู้มีฐานะ สามปีต่อมาฝ่ายทหารก็ได้ใช้อำนาจเข้าทำลายกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยในเมืองไทยในตอนนั้นลงจนสิ้น
ขณะนั้น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เด็กชายที่เรากล่าวถึงกำลังศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ อภิสิทธิ์ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกรัฐสภาที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทยด้วยวัย 27 ปี กล่าวถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นไว้ว่าแม้เขาจะได้ซึมซับความหวังที่จะเห็นประเทศไทยก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยภายหลังจากเหตุการณ์ในปี 2516 แต่เขาไม่ได้อยู่ในเมืองไทยขณะที่ความหวังดังกล่าวถูกทำลายลงในเหตุการณ์มหาวิปโยคเมื่อปี 2519 และนั่นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อภิสิทธิ์เชื่อมั่นในพลังอำนาจของการเมือง
Meet the idealist who may well become Thailand's next Prime Minister. As head of Thailand's oldest political party, the Democrats, Abhisit has emerged as an early front-runner in elections slated for December. Yet history has taken an ironic twist for the now 43-year-old politician. The upcoming polls are the handiwork of the very military whose overthrow spurred Abhisit's political passions more than three decades ago. After deposing Prime Minister Thaksin Shinawatra in a bloodless army coup last September, Thailand's ruling junta promised to restore democracy by the end of this year. Now that the new constitution overseen by the generals has won a 58% approval rating in a referendum on Aug. 19, the junta appears committed to carrying out its pledge to hold elections by year's end. But Thaksin, who has been charged with corruption, is in exile, living mostly in London, while top members of his Thai Rak Thai Party have been banned from politics after a junta-appointed tribunal convicted them of electoral fraud in May. That leaves the Democrats in their strongest position since losing power to Thaksin back in 2001. Hardly a cocky politician, Abhisit is predicting success in December. "I believe that democracy will reward the Democrats," he says with a bashful grin. "Of course, you could say the same about the Democrats in America, too. Maybe we'll have both dreams come true."
ขอเชิญท่านทำความรู้จักกับนักอุดมการณ์ผู้อาจได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของประเทศไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อันเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เป็นหนึ่งในตัวเก็งที่อาจชนะการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนธันวาคม กระนั้นก็ดูเหมือนว่าประวัติศาสตร์กำลังจะเล่นตลกกับนักการเมืองหนุ่มวัย 43 ปีผู้นี้ เนื่องจากการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นนี้เป็นผลจากความพยายามของฝ่ายทหารผู้เคยถูกล้มล้างอำนาจเมื่อกว่าสามทศวรรษที่ผ่านมาอันเป็นสิ่งจุดประกายการเมืองให้กับอภิสิทธิ์ โดยภายหลังจากที่คณะปฏิวัติได้ยึดอำนาจจากอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้วโดยปราศจากความรุนแรง รัฐบาลที่นำโดยฝ่ายทหารก็ได้ให้สัญญาว่าจะคืนประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนภายในสิ้นปีนี้ และเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านการลงประชามติ ด้วยคะแนนเห็นชอบร้อยละ 58 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม รัฐบาลก็ได้ทำตามที่ได้ลั่นวาจาไว้โดยพยายามจัดการเลือกตั้งขึ้นภายในสิ้นปีนี้ และเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกตั้งข้อหาจากรัฐบาลในเรื่องการทุจริต ยังคงต้องลี้ภัยอยู่ในลอนดอนโดยไม่สามารถกลับเข้าประเทศได้ ประกอบกับเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้แกนนำพรรคไทยรักไทยถูกเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมืองจากการมีส่วนพัวพันกับการทุจริตการเลือกตั้ง ทำให้พรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นพรรคการเมืองที่เข้มแข็งที่สุดในขณะนี้นับตั้งแต่พ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคไทยรักไทยเมื่อปี 2544 เป็นต้นมา แม้แต่อภิสิทธิ์ผู้ที่ปกติไม่ใช่คนโอ้อวดก็ยังคาดหวังว่าจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
อภิสิทธิ์เชื่อว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์ในประเทศไทยและพรรคเดโมแครตในสหรัฐฯ กำลังจะได้รับรางวัลตอบแทนจากระบอบประชาธิปไตย และยังหวังว่าความฝันของทั้งสองพรรคกำลังจะเป็นจริงได้ในไม่ช้า
With his youthful charm, Oxford University pedigree and policy geek's exuberance for subjects as esoteric as tapioca-derived alternative fuel and campaign-finance reform, Abhisit resembles a certain heavyweight from the U.S. Democratic Party. But there's one big difference: unlike Bill Clinton, Abhisit didn't grow up in trailer-park country. Although the patrician Thai Democrat can count on support from the urban middle class, as well as residents of Thailand's largely Muslim south, Abhisit will have a tougher time convincing the rural masses that he feels their pain. Thailand's agrarian northeast, in particular, was the voting bloc that delivered a huge mandate to Prime Minister Thaksin in 2001, after he campaigned on an avowedly populist platform. Indeed, on Aug. 19, 62% of northeastern Thais voted against the draft constitution, a rejection not only of the charter but of the generals who ousted the man they still consider their champion. "Bridging this [urban-rural
] divide is Abhisit's biggest challenge," says Chaiwat Satha-Anand, a political scientist at Bangkok's Thammasat University. Even Abhisit, who is trying to court farmers with promises of free education and low-cost health care, acknowledges an old Thai proverb: "Rural voters elect governments; urban voters get rid of them."
ด้วยเสน่ห์แบบคนหนุ่ม ดีกรีระดับศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและความมุ่งมั่นที่จะผลักดันความฝันที่อาจเข้าใจยากสำหรับคนทั่วไปให้เป็นจริงไม่ว่าจะเป็นการใช้มันสำปะหลังเป็นพลังงานทางเลือกและการปฏิรูประบบการใช้เงินเพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง
กล่าวได้ว่าอภิสิทธิ์มีส่วนคล้ายคลึงกับ บิล คลินตัน แห่งพรรคเดโมแครตของสหรัฐฯ มากทีเดียว ข้อแตกต่างเพียงประการเดียวเห็นจะได้แก่การที่อภิสิทธิ์ไม่ได้เติบโตขึ้นมาในประเทศที่นิยมใช้รถเทรลเลอร์กันอย่างแพร่หลายดังเช่นคลินตัน และแม้พรรคประชาธิปัตย์จะได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นกลางในเมืองหลวงรวมถึงชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ของประเทศ แต่อภิสิทธิ์คงต้องใช้ความพยายามอย่างสูงเพื่อชนะใจชาวชนบทแม้ว่าเขาจะเข้าใจถึงความยากลำบากของคนเหล่านั้นเป็นอย่างดีก็ตาม โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและเคยพร้อมใจกันเทคะแนนให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ชูนโยบายประชานิยมในการหาเสียงอย่างชัดเจนในการเลือกตั้งเมื่อปี 2544 และยังเป็นภูมิภาคที่ผู้มาใช้สิทธิถึงร้อยละ 62 ลงประชามติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม อันแสดงให้เห็นว่าชาวอีสานไม่เพียงแต่ปฏิเสธรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ที่ใช้อำนาจขับไล่ผู้นำอันเป็นที่รักยิ่งของพวกตนอีกด้วย
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงกับเคยกล่าวว่าความท้าทายอันใหญ่หลวงประการหนึ่งสำหรับอภิสิทธิ์ได้แก่การเชื่อมโยงความแตกต่างทางความคิดระหว่างชาวเมืองและชาวชนบทเข้าด้วยกัน และแม้จะพยายามชนะใจชาวชนบทด้วยการให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีการศึกษาแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและการดูแลรักษาสุขภาพราคาต่ำ แต่อภิสิทธิ์เองก็ต้องยอมรับคำกล่าวที่ว่า "คนบ้านนอกตั้งรัฐบาล คนกรุงล้มรัฐบาล" ด้วยเช่นกัน
Complicating matters is Thailand's perennial wild card: the military. Shortly after seizing power, coup leader General Sonthi Boonyaratglin reiterated that he had no interest in remaining in politics after elections were held. Earlier this summer, however, a junta aide hinted that perhaps Sonthi might throw his hat in the ring. The general hasn't committed so far. Still, after casting his yes vote in the constitutional referendum in the province of Lop Buri, Sonthi did let slip that if he were to run, this military stronghold where he was once posted as major-general would be the place he'd like to represent. But if Sonthi does enter the race, he could end up delivering the election to the very forces he tried to suppress with last year's coup. "No one who supported Thaksin is going to vote for the general," says Sunai Phasuk, Thailand consultant for New York City-based Human Rights Watch. "So if Sonthi is going to steal votes from any camp, it could be from Abhisit's base." The possible beneficiaries of an army candidacy? Refugees from Thaksin's now dissolved party who have banded together with an unlikely coalition of ultraconservatives and democracy activists to form the People's Power Party.
ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งได้แก่ท่าทีของฝ่ายทหารอันเป็นผู้ทรงอิทธิพลในประเทศไทยมายาวนาน โดยแม้ว่าพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิวัติ จะเคยประกาศไว้ภายหลังการเข้ายึดอำนาจว่าตนจะไม่เข้าสู่แวดวงการเมืองภายหลังจากการเลือกตั้ง แต่เมื่อต้นฤดูร้อนนี้เองกลับมีการเปิดเผยจากรัฐบาลทหารว่าพลเอกสนธิอาจลงเล่นการเมือง แม้จะยังไม่ยืนยันข่าวดังกล่าวก็ตาม แต่พลเอกสนธิก็ได้กล่าวเป็นนัยว่าหากตนจะเล่นการเมืองก็อาจลงรับสมัครเลือกตั้งในจังหวัดลพบุรีอันถือได้ว่าจะกลายเป็นฐานเสียงสำคัญหลังจากที่เสียงส่วนใหญ่ของจังหวัดเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ และหากพลเอกสนธิตัดสินใจลงเล่นการเมืองจริง อาจกลายเป็นว่ากลุ่มอำนาจที่ตนเคยขับไล่ในการรัฐประหารเมื่อปีก่อนจะกลายเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งก็เป็นได้
ดังที่สุณัย ผาสุข ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch ประจำประเทศไทยกล่าวไว้ว่าคงจะไม่มีผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ คนใดที่จะลงคะแนนให้พลเอกสนธิ ดังนั้นแล้วทางเลือกเดียวสำหรับพลเอกสนธิก็คือการเรียกคะแนนจากกลุ่มผู้สนับสนุนอภิสิทธิ์ และผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการที่พลเอกสนธิลงเล่นการเมืองก็คงหนีไม่พ้นอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยกลุ่มซ้ายจัดที่ขณะนี้ได้หันไปร่วมมือกับกลุ่มขวาจัดในนามพรรคพลังประชาชนนั่นเอง
Even if Abhisit wins in December, he won't wield as much power as did Thaksin. When the generals seized control of Thailand last year, they ripped up the previous constitution. The replacement rolls back the executive branch's influence and calls for nearly half the senate to be appointed instead of elected as before. The military is also given certain supervisory powers over the democratically elected leader. The upshot: Thailand could soon return to days when weak coalition governments rose and fell with the predictability of the monsoons.
แม้จะชนะการเลือกตั้งในเดือนธันวาคมได้ก็ตาม แต่อภิสิทธิ์ก็คงไม่อาจใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่ดังเช่น พ.ต.ท.ทักษิณจากการที่ฝ่ายทหารได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ลงในการเข้ายึดอำนาจเมื่อปีก่อน และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ได้ลดอำนาจของฝ่ายบริหารลงรวมถึงกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบครึ่งหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง นอกจากนี้ฝ่ายทหารยังมีอำนาจตรวจสอบนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งได้อย่างเต็มที่อีกด้วย ซึ่งในที่สุดอาจส่งผลให้ประเทศไทยกลับกลายไปเป็นเหมือนเมื่อครั้งที่รัฐบาลผสมที่อ่อนแอเรืองอำนาจขึ้นแล้วกลับเสื่อมลงด้วยอุปสรรคอันเป็นที่คาดเดาได้ก็เป็นได้
Abhisit proposes to fix that by amending the constitution should he assume the PM post. That could mean yet another referendum. "I have faith that the electorate will do what's right," he says, surprising words perhaps for a Bangkok patrician whose party was overwhelmed by Thaksin's populist tactics six years ago. Whatever happens, at least one former Prime Minister is confident about Thailand's future. "We're good at improvising," says Anand Panyarachun, who steered the nation during two separate stints in the early 1990s. "We may not be as systematic as some other countries in our democracy, but we'll figure out a way forward." A certain candidate, remembering his political awakening as a 9-year-old boy, would no doubt agree.
การที่อภิสิทธิ์เสนอว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวหากตนได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทำให้มองได้ว่าอาจต้องมีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่อีกครั้ง คำกล่าวของอภิสิทธิ์ที่ว่าตนเชื่อว่าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงจะเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องถือเป็นคำกล่าวที่น่าประหลาดใจยิ่งสำหรับหัวหน้าพรรคการเมืองที่เคยแพ้นโยบายประชานิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณเมื่อหกปีก่อน แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามอย่างน้อยก็ยังคงมีอดีตนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งที่ยังคงเชื่อมั่นในอนาคตของประเทศไทย ดังที่อานันท์ ปันยารชุน ผู้เคยเป็นผู้นำประเทศในช่วงที่เกิดความแตกแยกขึ้นเมื่อทศวรรษที่ 2530 กล่าวไว้ว่าคนไทยมีทักษะสูงในการรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อน และแม้คนไทยจะไม่ค่อยมีระเบียบเหมือนกับประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ แต่คนไทยก็ยังคงหาหนทางเพื่อเดินไปข้างหน้าต่อไปได้
ซึ่งตัวเก็งในการเลือกตั้งผู้ได้รับการจุดประกายทางการเมืองเมื่ออายุ 9 ขวบผู้นั้นก็คงจะเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้เช่นเดียวกัน
— with reporting by Robert Horn/Bangkok
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 ส.ค. 2550--จบ--
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะได้เป็นผู้นำประเทศไทยคนต่อไปหรือไม่
By HANNAH BEECH/BANGKOK
บทความโดย ฮันนาห์ บีช ผู้สื่อข่าวนิตยสารไทม์ประจำประเทศไทย
October 1973: a 9-year-old boy, cloistered in a Bangkok compound, flips on the television. No cartoons for him. Instead, the box broadcasts images of Thai students and workers flooding nearby streets to protest the autocratic generals ruling their nation. The boy finds the scenes enthralling, sparking a political awakening unusual in any kid, much less the scion of a privileged Thai-Chinese family. Just three years later, a violent military crackdown would bring this brief experiment in Thai democracy to an end. But by that point, the boy, Abhisit Vejjajiva, was studying overseas in Britain. "I experienced the optimism of the 1973 democratic revolution, but I wasn't there for the disillusionment of the 1976 massacre," recalls Abhisit, who at age 27 was voted in as one of Thailand's youngest-ever parliamentarians. "Maybe that's what made me believe in the power of politics."
เดือนตุลาคม 2516 เด็กชายอายุ 9 ขวบคนหนึ่งผู้มีชีวิตอย่างเงียบสงบในกรุงเทพฯ ได้เปิดโทรทัศน์ดู สิ่งที่เขาได้เห็นในครั้งนั้นไม่ใช่รายการการ์ตูน แต่เป็นภาพขบวนการนักศึกษาและผู้ใช้แรงงานชุมนุมประท้วงอำนาจเผด็จการที่ยึดครองประเทศในขณะนั้น ภาพเหตุการณ์ในวันนั้นตราตรึงอยู่ในใจและได้จุดประกายให้เด็กชายผู้นั้นสนใจการเมือง ซึ่งถือเป็นเรื่องไม่ธรรมดาสำหรับเด็กทั่วไปโดยเฉพาะลูกหลานตระกูลชาวไทยเชื้อสายจีนผู้มีฐานะ สามปีต่อมาฝ่ายทหารก็ได้ใช้อำนาจเข้าทำลายกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยในเมืองไทยในตอนนั้นลงจนสิ้น
ขณะนั้น อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เด็กชายที่เรากล่าวถึงกำลังศึกษาอยู่ในประเทศอังกฤษ อภิสิทธิ์ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกรัฐสภาที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทยด้วยวัย 27 ปี กล่าวถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นไว้ว่าแม้เขาจะได้ซึมซับความหวังที่จะเห็นประเทศไทยก้าวไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยภายหลังจากเหตุการณ์ในปี 2516 แต่เขาไม่ได้อยู่ในเมืองไทยขณะที่ความหวังดังกล่าวถูกทำลายลงในเหตุการณ์มหาวิปโยคเมื่อปี 2519 และนั่นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อภิสิทธิ์เชื่อมั่นในพลังอำนาจของการเมือง
Meet the idealist who may well become Thailand's next Prime Minister. As head of Thailand's oldest political party, the Democrats, Abhisit has emerged as an early front-runner in elections slated for December. Yet history has taken an ironic twist for the now 43-year-old politician. The upcoming polls are the handiwork of the very military whose overthrow spurred Abhisit's political passions more than three decades ago. After deposing Prime Minister Thaksin Shinawatra in a bloodless army coup last September, Thailand's ruling junta promised to restore democracy by the end of this year. Now that the new constitution overseen by the generals has won a 58% approval rating in a referendum on Aug. 19, the junta appears committed to carrying out its pledge to hold elections by year's end. But Thaksin, who has been charged with corruption, is in exile, living mostly in London, while top members of his Thai Rak Thai Party have been banned from politics after a junta-appointed tribunal convicted them of electoral fraud in May. That leaves the Democrats in their strongest position since losing power to Thaksin back in 2001. Hardly a cocky politician, Abhisit is predicting success in December. "I believe that democracy will reward the Democrats," he says with a bashful grin. "Of course, you could say the same about the Democrats in America, too. Maybe we'll have both dreams come true."
ขอเชิญท่านทำความรู้จักกับนักอุดมการณ์ผู้อาจได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของประเทศไทย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อันเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย เป็นหนึ่งในตัวเก็งที่อาจชนะการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในเดือนธันวาคม กระนั้นก็ดูเหมือนว่าประวัติศาสตร์กำลังจะเล่นตลกกับนักการเมืองหนุ่มวัย 43 ปีผู้นี้ เนื่องจากการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นนี้เป็นผลจากความพยายามของฝ่ายทหารผู้เคยถูกล้มล้างอำนาจเมื่อกว่าสามทศวรรษที่ผ่านมาอันเป็นสิ่งจุดประกายการเมืองให้กับอภิสิทธิ์ โดยภายหลังจากที่คณะปฏิวัติได้ยึดอำนาจจากอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้วโดยปราศจากความรุนแรง รัฐบาลที่นำโดยฝ่ายทหารก็ได้ให้สัญญาว่าจะคืนประชาธิปไตยให้แก่ประชาชนภายในสิ้นปีนี้ และเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านการลงประชามติ ด้วยคะแนนเห็นชอบร้อยละ 58 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม รัฐบาลก็ได้ทำตามที่ได้ลั่นวาจาไว้โดยพยายามจัดการเลือกตั้งขึ้นภายในสิ้นปีนี้ และเมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ถูกตั้งข้อหาจากรัฐบาลในเรื่องการทุจริต ยังคงต้องลี้ภัยอยู่ในลอนดอนโดยไม่สามารถกลับเข้าประเทศได้ ประกอบกับเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้แกนนำพรรคไทยรักไทยถูกเพิกถอนสิทธิ์ทางการเมืองจากการมีส่วนพัวพันกับการทุจริตการเลือกตั้ง ทำให้พรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นพรรคการเมืองที่เข้มแข็งที่สุดในขณะนี้นับตั้งแต่พ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคไทยรักไทยเมื่อปี 2544 เป็นต้นมา แม้แต่อภิสิทธิ์ผู้ที่ปกติไม่ใช่คนโอ้อวดก็ยังคาดหวังว่าจะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
อภิสิทธิ์เชื่อว่าทั้งพรรคประชาธิปัตย์ในประเทศไทยและพรรคเดโมแครตในสหรัฐฯ กำลังจะได้รับรางวัลตอบแทนจากระบอบประชาธิปไตย และยังหวังว่าความฝันของทั้งสองพรรคกำลังจะเป็นจริงได้ในไม่ช้า
With his youthful charm, Oxford University pedigree and policy geek's exuberance for subjects as esoteric as tapioca-derived alternative fuel and campaign-finance reform, Abhisit resembles a certain heavyweight from the U.S. Democratic Party. But there's one big difference: unlike Bill Clinton, Abhisit didn't grow up in trailer-park country. Although the patrician Thai Democrat can count on support from the urban middle class, as well as residents of Thailand's largely Muslim south, Abhisit will have a tougher time convincing the rural masses that he feels their pain. Thailand's agrarian northeast, in particular, was the voting bloc that delivered a huge mandate to Prime Minister Thaksin in 2001, after he campaigned on an avowedly populist platform. Indeed, on Aug. 19, 62% of northeastern Thais voted against the draft constitution, a rejection not only of the charter but of the generals who ousted the man they still consider their champion. "Bridging this [urban-rural
] divide is Abhisit's biggest challenge," says Chaiwat Satha-Anand, a political scientist at Bangkok's Thammasat University. Even Abhisit, who is trying to court farmers with promises of free education and low-cost health care, acknowledges an old Thai proverb: "Rural voters elect governments; urban voters get rid of them."
ด้วยเสน่ห์แบบคนหนุ่ม ดีกรีระดับศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดและความมุ่งมั่นที่จะผลักดันความฝันที่อาจเข้าใจยากสำหรับคนทั่วไปให้เป็นจริงไม่ว่าจะเป็นการใช้มันสำปะหลังเป็นพลังงานทางเลือกและการปฏิรูประบบการใช้เงินเพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง
กล่าวได้ว่าอภิสิทธิ์มีส่วนคล้ายคลึงกับ บิล คลินตัน แห่งพรรคเดโมแครตของสหรัฐฯ มากทีเดียว ข้อแตกต่างเพียงประการเดียวเห็นจะได้แก่การที่อภิสิทธิ์ไม่ได้เติบโตขึ้นมาในประเทศที่นิยมใช้รถเทรลเลอร์กันอย่างแพร่หลายดังเช่นคลินตัน และแม้พรรคประชาธิปัตย์จะได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นกลางในเมืองหลวงรวมถึงชาวไทยมุสลิมในภาคใต้ของประเทศ แต่อภิสิทธิ์คงต้องใช้ความพยายามอย่างสูงเพื่อชนะใจชาวชนบทแม้ว่าเขาจะเข้าใจถึงความยากลำบากของคนเหล่านั้นเป็นอย่างดีก็ตาม โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรและเคยพร้อมใจกันเทคะแนนให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ผู้ชูนโยบายประชานิยมในการหาเสียงอย่างชัดเจนในการเลือกตั้งเมื่อปี 2544 และยังเป็นภูมิภาคที่ผู้มาใช้สิทธิถึงร้อยละ 62 ลงประชามติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม อันแสดงให้เห็นว่าชาวอีสานไม่เพียงแต่ปฏิเสธรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้ที่ใช้อำนาจขับไล่ผู้นำอันเป็นที่รักยิ่งของพวกตนอีกด้วย
ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงกับเคยกล่าวว่าความท้าทายอันใหญ่หลวงประการหนึ่งสำหรับอภิสิทธิ์ได้แก่การเชื่อมโยงความแตกต่างทางความคิดระหว่างชาวเมืองและชาวชนบทเข้าด้วยกัน และแม้จะพยายามชนะใจชาวชนบทด้วยการให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีการศึกษาแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและการดูแลรักษาสุขภาพราคาต่ำ แต่อภิสิทธิ์เองก็ต้องยอมรับคำกล่าวที่ว่า "คนบ้านนอกตั้งรัฐบาล คนกรุงล้มรัฐบาล" ด้วยเช่นกัน
Complicating matters is Thailand's perennial wild card: the military. Shortly after seizing power, coup leader General Sonthi Boonyaratglin reiterated that he had no interest in remaining in politics after elections were held. Earlier this summer, however, a junta aide hinted that perhaps Sonthi might throw his hat in the ring. The general hasn't committed so far. Still, after casting his yes vote in the constitutional referendum in the province of Lop Buri, Sonthi did let slip that if he were to run, this military stronghold where he was once posted as major-general would be the place he'd like to represent. But if Sonthi does enter the race, he could end up delivering the election to the very forces he tried to suppress with last year's coup. "No one who supported Thaksin is going to vote for the general," says Sunai Phasuk, Thailand consultant for New York City-based Human Rights Watch. "So if Sonthi is going to steal votes from any camp, it could be from Abhisit's base." The possible beneficiaries of an army candidacy? Refugees from Thaksin's now dissolved party who have banded together with an unlikely coalition of ultraconservatives and democracy activists to form the People's Power Party.
ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งได้แก่ท่าทีของฝ่ายทหารอันเป็นผู้ทรงอิทธิพลในประเทศไทยมายาวนาน โดยแม้ว่าพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าคณะปฏิวัติ จะเคยประกาศไว้ภายหลังการเข้ายึดอำนาจว่าตนจะไม่เข้าสู่แวดวงการเมืองภายหลังจากการเลือกตั้ง แต่เมื่อต้นฤดูร้อนนี้เองกลับมีการเปิดเผยจากรัฐบาลทหารว่าพลเอกสนธิอาจลงเล่นการเมือง แม้จะยังไม่ยืนยันข่าวดังกล่าวก็ตาม แต่พลเอกสนธิก็ได้กล่าวเป็นนัยว่าหากตนจะเล่นการเมืองก็อาจลงรับสมัครเลือกตั้งในจังหวัดลพบุรีอันถือได้ว่าจะกลายเป็นฐานเสียงสำคัญหลังจากที่เสียงส่วนใหญ่ของจังหวัดเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ และหากพลเอกสนธิตัดสินใจลงเล่นการเมืองจริง อาจกลายเป็นว่ากลุ่มอำนาจที่ตนเคยขับไล่ในการรัฐประหารเมื่อปีก่อนจะกลายเป็นผู้ชนะการเลือกตั้งก็เป็นได้
ดังที่สุณัย ผาสุข ผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch ประจำประเทศไทยกล่าวไว้ว่าคงจะไม่มีผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ คนใดที่จะลงคะแนนให้พลเอกสนธิ ดังนั้นแล้วทางเลือกเดียวสำหรับพลเอกสนธิก็คือการเรียกคะแนนจากกลุ่มผู้สนับสนุนอภิสิทธิ์ และผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการที่พลเอกสนธิลงเล่นการเมืองก็คงหนีไม่พ้นอดีตสมาชิกพรรคไทยรักไทยกลุ่มซ้ายจัดที่ขณะนี้ได้หันไปร่วมมือกับกลุ่มขวาจัดในนามพรรคพลังประชาชนนั่นเอง
Even if Abhisit wins in December, he won't wield as much power as did Thaksin. When the generals seized control of Thailand last year, they ripped up the previous constitution. The replacement rolls back the executive branch's influence and calls for nearly half the senate to be appointed instead of elected as before. The military is also given certain supervisory powers over the democratically elected leader. The upshot: Thailand could soon return to days when weak coalition governments rose and fell with the predictability of the monsoons.
แม้จะชนะการเลือกตั้งในเดือนธันวาคมได้ก็ตาม แต่อภิสิทธิ์ก็คงไม่อาจใช้อำนาจได้อย่างเต็มที่ดังเช่น พ.ต.ท.ทักษิณจากการที่ฝ่ายทหารได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ลงในการเข้ายึดอำนาจเมื่อปีก่อน และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ได้ลดอำนาจของฝ่ายบริหารลงรวมถึงกำหนดให้สมาชิกวุฒิสภาเกือบครึ่งหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง นอกจากนี้ฝ่ายทหารยังมีอำนาจตรวจสอบนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งได้อย่างเต็มที่อีกด้วย ซึ่งในที่สุดอาจส่งผลให้ประเทศไทยกลับกลายไปเป็นเหมือนเมื่อครั้งที่รัฐบาลผสมที่อ่อนแอเรืองอำนาจขึ้นแล้วกลับเสื่อมลงด้วยอุปสรรคอันเป็นที่คาดเดาได้ก็เป็นได้
Abhisit proposes to fix that by amending the constitution should he assume the PM post. That could mean yet another referendum. "I have faith that the electorate will do what's right," he says, surprising words perhaps for a Bangkok patrician whose party was overwhelmed by Thaksin's populist tactics six years ago. Whatever happens, at least one former Prime Minister is confident about Thailand's future. "We're good at improvising," says Anand Panyarachun, who steered the nation during two separate stints in the early 1990s. "We may not be as systematic as some other countries in our democracy, but we'll figure out a way forward." A certain candidate, remembering his political awakening as a 9-year-old boy, would no doubt agree.
การที่อภิสิทธิ์เสนอว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวหากตนได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทำให้มองได้ว่าอาจต้องมีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญกันใหม่อีกครั้ง คำกล่าวของอภิสิทธิ์ที่ว่าตนเชื่อว่าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงจะเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องถือเป็นคำกล่าวที่น่าประหลาดใจยิ่งสำหรับหัวหน้าพรรคการเมืองที่เคยแพ้นโยบายประชานิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณเมื่อหกปีก่อน แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามอย่างน้อยก็ยังคงมีอดีตนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งที่ยังคงเชื่อมั่นในอนาคตของประเทศไทย ดังที่อานันท์ ปันยารชุน ผู้เคยเป็นผู้นำประเทศในช่วงที่เกิดความแตกแยกขึ้นเมื่อทศวรรษที่ 2530 กล่าวไว้ว่าคนไทยมีทักษะสูงในการรับมือกับสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อน และแม้คนไทยจะไม่ค่อยมีระเบียบเหมือนกับประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ แต่คนไทยก็ยังคงหาหนทางเพื่อเดินไปข้างหน้าต่อไปได้
ซึ่งตัวเก็งในการเลือกตั้งผู้ได้รับการจุดประกายทางการเมืองเมื่ออายุ 9 ขวบผู้นั้นก็คงจะเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้เช่นเดียวกัน
— with reporting by Robert Horn/Bangkok
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 29 ส.ค. 2550--จบ--