ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยหลังเข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางการพัฒนาด้านการเกษตร ที่ประเทศอิตาลี ซึ่งมีหลายหัวข้อที่น่าสนใจ โดยที่ประชุมให้ความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดีย ที่กลายเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวใหม่ของเอเชีย และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ส่วนไทยยกมือสนับสนุนการขยายบทบาทของ FAO ในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด เพื่อเพิ่มขีดความสามารถรับมือกับการพัฒนาและการค้าของโลก
นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงรายละเอียด ภายหลังการเข้าร่วมประชุม Committee on Commodity Problems ครั้งที่ 66 และ Committee on Agriculture ครั้งที่ 20 เมื่อปลายเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมกว่า 111 ประเทศ ณ สำนักงานใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization : FAO) กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในฐานะผู้แทนประเทศไทยว่า สาระสำคัญของการประชุมคือ แนวทางการพัฒนาด้านการเกษตร เพื่อเพิ่มอาหารให้เพียงพอแก่ประชากรของโลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความร่วมมือขององค์กรต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดในการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถรับมือกับการพัฒนาและการค้าของโลก
โดยที่ประชุมให้ความสำคัญต่อการศึกษาผลกระทบจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดียที่กลายเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวใหม่ของเอเชียและมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในทุกภูมิภาคของโลก และแนวทางการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาการปลูกพืชเชิงเดี่ยวส่งผลให้เกิดการบุกรุกป่า ทำลายทรัพยากรดินและน้ำ เกิดการระบาดของโรคและแมลงทั้งต่อพืชและสัตว์
รวมทั้งปรากฏการณ์โลกร้อนตลอดจนการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก อีกทั้งการเติบโตของอุตสาหกรรมเกษตรที่ส่งผลต่อการผลิตภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรรายย่อยและระบบนิเวศ นอกจากนี้ ได้ให้ความสำคัญต่อการผลิตพืชพลังงานทดแทน เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงจากฟอสซิล แต่อาจส่งผลต่อปริมาณพืชอาหารได้
สำหรับการให้ความช่วยเหลือกับประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดต่าง ๆ FAO จะต้องขยายความช่วยเหลือภายใต้โปรแกรมปกติและโปรแกรม Aid — for — Trade ในด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การเพิ่มศักภาพการวิเคราะห์และการเจรจาภายใต้กรอบต่าง ๆ ของความตกลงการค้าเสรี ส่วน WTO การเพิ่มความยืดหยุ่นด้านนโยบายด้านการเกษตรต่อประเทศกำลังพัฒนา เรื่อง Special Product หรือ SP นั้น FAO ได้นำเสนอแนวคิดในการเลือกเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อคัดเลือกสินค้าให้อยู่ใน SP List ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานะความจำเป็น และความสอดคล้องในข้อตกลงทวิภาคีของแต่ละประเทศ
ในส่วนของประเทศไทยสนับสนุนการขยายบทบาทของ FAO ในการให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ในการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาการค้าและการแข่งขัน รวมถึงผลกระทบจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดียต่อประเทศคู่ค้า สำหรับเรื่อง SP เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร ดังนั้นหากมี SP List มาก จะทำให้ไทยส่งออกสินค้าได้น้อยลง และเห็นว่าควรเข้มงวดกับเกณฑ์การกำหนดและจำนวน SP เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ SP เป็นเครื่องมือในการปกป้องทางการค้า
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางนารีณัฐ รุณภัย ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรและรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงรายละเอียด ภายหลังการเข้าร่วมประชุม Committee on Commodity Problems ครั้งที่ 66 และ Committee on Agriculture ครั้งที่ 20 เมื่อปลายเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมกว่า 111 ประเทศ ณ สำนักงานใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization : FAO) กรุงโรม ประเทศอิตาลี ในฐานะผู้แทนประเทศไทยว่า สาระสำคัญของการประชุมคือ แนวทางการพัฒนาด้านการเกษตร เพื่อเพิ่มอาหารให้เพียงพอแก่ประชากรของโลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความร่วมมือขององค์กรต่าง ๆ ในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดในการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถรับมือกับการพัฒนาและการค้าของโลก
โดยที่ประชุมให้ความสำคัญต่อการศึกษาผลกระทบจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดียที่กลายเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจตัวใหม่ของเอเชียและมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในทุกภูมิภาคของโลก และแนวทางการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาการปลูกพืชเชิงเดี่ยวส่งผลให้เกิดการบุกรุกป่า ทำลายทรัพยากรดินและน้ำ เกิดการระบาดของโรคและแมลงทั้งต่อพืชและสัตว์
รวมทั้งปรากฏการณ์โลกร้อนตลอดจนการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก อีกทั้งการเติบโตของอุตสาหกรรมเกษตรที่ส่งผลต่อการผลิตภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรรายย่อยและระบบนิเวศ นอกจากนี้ ได้ให้ความสำคัญต่อการผลิตพืชพลังงานทดแทน เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงจากฟอสซิล แต่อาจส่งผลต่อปริมาณพืชอาหารได้
สำหรับการให้ความช่วยเหลือกับประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาน้อยที่สุดต่าง ๆ FAO จะต้องขยายความช่วยเหลือภายใต้โปรแกรมปกติและโปรแกรม Aid — for — Trade ในด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การเพิ่มศักภาพการวิเคราะห์และการเจรจาภายใต้กรอบต่าง ๆ ของความตกลงการค้าเสรี ส่วน WTO การเพิ่มความยืดหยุ่นด้านนโยบายด้านการเกษตรต่อประเทศกำลังพัฒนา เรื่อง Special Product หรือ SP นั้น FAO ได้นำเสนอแนวคิดในการเลือกเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อคัดเลือกสินค้าให้อยู่ใน SP List ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานะความจำเป็น และความสอดคล้องในข้อตกลงทวิภาคีของแต่ละประเทศ
ในส่วนของประเทศไทยสนับสนุนการขยายบทบาทของ FAO ในการให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ในการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาการค้าและการแข่งขัน รวมถึงผลกระทบจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนและอินเดียต่อประเทศคู่ค้า สำหรับเรื่อง SP เนื่องจากไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตร ดังนั้นหากมี SP List มาก จะทำให้ไทยส่งออกสินค้าได้น้อยลง และเห็นว่าควรเข้มงวดกับเกณฑ์การกำหนดและจำนวน SP เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ SP เป็นเครื่องมือในการปกป้องทางการค้า
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-