การประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๒ ปีที่ ๑ ครั้งที่ ๑๓ (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๘ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา ๑๓.๓๖ นาฬิกา โดยมีรองศาสตราจารย์ลลิตา ฤกษ์สำราญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานการประชุม ก่อนที่จะดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ประธานการประชุมได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
๑. รัฐสภาได้จัดการประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย
ประจำปี ๒๕๔๘ รอบชิงชนะเลิศ ในรูปแบบของการประกวดเพลงพื้นบ้าน ๔ ภาค คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๘ ที่สถานีวิทยุ โทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ โดยจะมีการถ่ายทอดสดในเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา
๒. ในวันอาทิตย์ที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๘ เวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา จะมีงานฌาปนกิจศพ
นายอรรคพล สนิทวงศ์ชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคไทยรักไทย ที่จังหวัดอุดรธานี
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้นประธานการประชุมได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายวรงค์ เดชกิจวิกรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การบริหารราชการบุคคลในกระทรวงสาธารณสุข ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล) ได้ตอบกระทู้ว่า การโยกย้ายข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขนั้นเป็นการจัดการทรัพยากรบุคคลให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ความอาวุโส และความประพฤติ และการโยกย้ายปลัดกระทรวง สาธารณสุขนั้น ก็เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องความบกพร่องในหน้าที่กรณีปัญหาการทุจริตโครงการจัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉิน โครงการประมูลคอมพิวเตอร์ และการก่อสร้างโรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร ได้มีความเป็นอิสระในการทำงานและปราศจากอิทธิพลใด ๆ
๒. กระทู้ถามสดของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคชาติไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การแก้ปัญหาวัยรุ่นซิ่งรถจักรยานยนต์และมาตรการรักษา ความปลอดภัยในบริเวณโรงเรียน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า ปัญหาวัยรุ่นซิ่ง รถจักรยานยนต์ในท้องถนนนั้นมีมาเป็นเวลานานแล้ว โดยใช้เป็นที่แสดงออกทั้งการแข่งขัน การชุมนุม
เพื่อแต่งรถ และการจัดให้มีการแข่งขันจักรยานยนต์นั้นก็เพื่อไม่ให้เยาวชนใช้ถนนทางหลวงสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน ซึ่งสาเหตุที่ใช้สนามคลอง ๕ จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานที่เปิดตัวเนื่องจาก ผลวิจัยพบว่า เยาวชนกลุ่มที่ใช้ถนนจะไม่ไปใช้สนามนั้นแน่นอน และเป็นสนามที่ไม่มีความสะดวก อีกทั้งยังห่างไกลด้วย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีเยาวชนอายุระหว่าง ๑๕-๑๘ ปี ประมาณ ๖ แสนคน และเป็นกลุ่มนักเรียนอาชีวะประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ คน โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสำหรับจัด กิจกรรมให้กับเยาวชนกลุ่มนี้ปีละ ๑๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งไม่เพียงพอ ทำให้เยาวชนต้องหากิจกรรม กันเอง ทั้งนี้วัยรุ่นที่ไปใช้ถนนไม่ได้เป็นคนที่แข่งรถทุกคน ส่วนใหญ่ชอบแต่งรถมากกว่า และในบางกรณีเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้เยาวชนเหล่านี้ต้องหาทางออก ซึ่งการแก้ปัญหาของกระทรวงในครั้งนี้คือ การจัดหาสถานที่ให้เยาวชนเหล่านี้ไปรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรม โดยอยู่ในความดูแลของรัฐบาล และได้ชี้แจงว่าสนามคลอง ๕ นั้น ไม่ได้เป็นสนามที่ทางรัฐบาลจัดขึ้น แต่เป็นสนามที่มีมานานแล้ว และจัดแข่งกันเป็นปกติอยู่แล้ว สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาวนั้นรัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ และทางกระทรวงยินดีรับฟังข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้
จากนั้น ดร.รุ่ง แก้วแดง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมตอบกระทู้ว่า เรื่องความปลอดภัยของนักเรียนในบริเวณโรงเรียนนั้น ทางกระทรวงฯ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนทั้ง ๒ แห่งนั้น เป็นเหตุสุดวิสัย และโดยปกติแล้วกระทรวงได้มีมาตรการในการป้องกัน แต่เนื่องจากโรงเรียนเป็นโรงเรียนใหญ่ มีนักเรียนมาก จึงอาจดูแลไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตามทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้เน้นย้ำให้โรงเรียนต่าง ๆ ระมัดระวังกวดขันในเรื่องการดูแลความปลอดภัยของนักเรียนทุกคนอย่างเคร่งครัดแล้ว
๓. กระทู้ถามสดของนายเจริญ จรรย์โกมล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การแก้ไขและป้องกันการระบาดของโรคใบไหม้กับต้นข้าวและหนอนกออ้อย ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลได้สั่งการให้กรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำงบประมาณ ที่ได้รับไปใช้เพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะสนับสนุนและช่วยเหลือ สิ่งที่ประชาชนร้องขออย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ได้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดชัยภูมิจัดสรร งบประมาณเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่โดยเร็วที่สุด และในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่จังหวัด
กาฬสินธุ์นี้จะขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี จำนวน ๓,๒๒๖ ล้านบาท ในการชดใช้ปัญหาภัยธรรมชาติ อีกทั้งจะเร่งรัดให้ส่วนราชการ จังหวัด อำเภอ ได้มีอำนาจในการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๔ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การตั้งอำเภอแห่งใหม่ในจังหวัดชัยภูมิ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุนทรวัฒน์) ได้รับ มอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า หลักการในการตั้งอำเภอนั้นจะต้องเป็นกิ่งอำเภอมาก่อน ซึ่งการตั้งเป็น กิ่งอำเภอนั้นจะต้องมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า ๒๕,๐๐๐ คน และมีตำบลไม่ต่ำกว่า ๔ ตำบล รวมทั้งระยะทางของกิ่งอำเภอที่ตั้งใหม่จะต้องอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมไม่น้อยกว่า ๒๐ กิโลเมตร ทั้งนี้ ในตำบลทั้ง ๔ ตำบล ที่สมาชิกฯ ได้เสนอมานั้นอยู่ในหลักเกณฑ์ของการตั้งเป็นกิ่งอำเภอได้ จึงขอให้เร่งดำเนินการตั้งเป็นกิ่งอำเภอก่อน โดยกระทรวงมหาดไทยกำลังอยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติกิ่งอำเภอที่มีอยู่ขณะนี้ทั้งหมด จำนวน ๘๐ กิ่งอำเภอ ให้ยกฐานะเป็นอำเภอทั้งหมด ซึ่ง จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากขึ้น
๒. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การจัดโครงการบ้านมั่นคงในเขตพระโขนง - เขตวัฒนา ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า นโยบายการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับคนจนเป็นแนวคิดของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้จัดให้มีการเปิดให้ลงทะเบียนคนจนไปเรียบร้อยแล้ว และทำให้ทราบว่าประเทศไทยมีคนจน และไม่มีที่อยู่อาศัยประมาณ ๑.๕ ล้านครัวเรือน และในจำนวนนี้แยกออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่มีบ้านและที่ดิน กลุ่มที่มีบ้านแต่ไม่มีความมั่นคง และกลุ่มที่มีที่ดินแต่ไม่มีบ้าน โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จัดหาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนดังกล่าว โดยแบ่ง ที่อยู่อาศัยออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ดำเนินการผ่านการเคหะแห่งชาติสำหรับประชาชนที่ไม่มีบ้านและที่ดิน จำนวน ๖๐๐,๐๐๐ หน่วย ซึ่งปรากฏว่าเกิดปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับการ ก่อสร้าง คือ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งกำหนดว่าจะต้องมีระยะร่นที่ก่อสร้าง ชิดแนวเขตที่ดินไม่ได้ ทำให้การเคหะแห่งชาติดำเนินการต่อไม่ได้ โดยปัจจุบันได้ประสานไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอยกเว้นกฎกระทรวงดังกล่าว อีกทั้งยังต้องบริหารจัดการกับข้อจำกัดที่รัฐบาลกำหนด คือ รัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนหลังละ ๘๐,๐๐๐ บาท เท่านั้น และห้ามสร้างให้พื้นที่ใช้สอยของประชาชนลดลง อีกทั้งยังห้ามเพิ่มราคาขายด้วย สำหรับโครงการบ้านมั่นคงนั้นเป็นการจัดที่อยู่อาศัยให้ผู้ที่มีบ้านแต่ไม่มีความมั่นคง เช่น อาศัยอยู่ในชุมชน ซึ่งรัฐบาลมีเป้าหมายในการดำเนินการทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐ หน่วย ให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๕๑ โดยดำเนินการไปแล้วกว่า ๒๐,๐๐๐ หน่วย ซึ่งก็มีข้อจำกัดต่าง ๆ มากมายเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ทางกระทรวงฯ ได้เสนอกฎหมายต่อสภา เพื่อขอให้การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่สามารถออกใบอนุญาตก่อสร้างได้เอง ส่วนอีก ๕๐๐,๐๐๐ หน่วยนั้น จะจัดทำโครงการบ้าน
สำเร็จรูปให้กับประชาชนที่มีที่ดินแต่ไม่มีบ้าน ซึ่งอยู่ระหว่างทำความตกลงกับนายกรัฐมนตรีในเรื่องของเงินอุดหนุน
ทั้งนี้นอกจากข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ประสบแล้ว เรื่องของราคาที่ดินก็มีส่วนสำคัญและประชาชนส่วนใหญ่ก็มีความต้องการมีที่ดินเป็นของตนเอง ทำให้ทำเลของที่ดินในการทำโครงการบ้าน เอื้ออาทรจึงอยู่ไกล อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้รับการยกย่องจากสหประชาชาติด้านที่อยู่อาศัยว่า เป็นประเทศต้นแบบของการจัดที่อยู่อาศัยให้กับคนจน ซึ่งคาดว่าในปี ๒๕๕๑ หรือ ๒๕๕๒ จะไม่มีคนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยในประเทศไทย
สำหรับการจัดโครงการบ้านมั่นคงในเขตพระโขนง - เขตวัฒนา นั้น มีเงื่อนไขอยู่ที่ประชาชน ตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้ชี้แจงมาแล้วข้างต้น ซึ่งรัฐบาลจะดำเนินการจัดโครงการให้กับทุกชุมชนในประเทศ โดยประชาชนจะเป็นผู้กำหนดโครงสร้างของสังคมตนเอง และยังคงความเป็นชุมชนดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุดอีกต่อไป
๓. กระทู้ถามของนายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
ขอนแก่น พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ความเดือดร้อนของราษฎรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอถอนกระทู้ถามดังกล่าว ซึ่งกระทำได้ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๓๕
๔. กระทู้ถามของนายนคร มาฉิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรค
ประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาภัยแล้งที่จังหวัดพิษณุโลก ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า ตามที่สมาชิกได้ติดตามการแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยเสนอให้จัดสร้างฝายน้ำล้นนั้น จากการสำรวจพบว่าไม่เหมาะสม เพราะสภาพลำน้ำมีความลาดชันสูงมาก และปริมาณน้ำฝนบริเวณนี้มีปริมาณมากกว่า ๑,๒๐๐ มิลลิลิตร ทำให้น้ำไหลแรงและเร็วจนไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ในปริมาณที่มากพอ ซึ่งกรมชลประทานได้เสนอให้สร้างเป็นอ่างเก็บน้ำในลำน้ำคาน และลำน้ำคานขวาง ซึ่งจะสามารถจุน้ำได้ประมาณ ๗.๕๐ และ ๖.๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ แต่เนื่องจาก อ่างเก็บน้ำทั้งสองนี้อยู่ในเขตคุณภาพน้ำชั้น ๒ และชั้น ๓ รวมทั้งมีบางส่วนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ภูหินล่องกล้า จึงต้องดำเนินการศึกษาถึงผลกระทบต่าง ๆ ให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งนี้จะได้ดำเนินการ อย่างเร่งด่วนต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๓ นาฬิกา
---------------------------------------------------
๑. รัฐสภาได้จัดการประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย
ประจำปี ๒๕๔๘ รอบชิงชนะเลิศ ในรูปแบบของการประกวดเพลงพื้นบ้าน ๔ ภาค คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคใต้ ในวันพฤหัสบดีที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๔๘ ที่สถานีวิทยุ โทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์ โดยจะมีการถ่ายทอดสดในเวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา
๒. ในวันอาทิตย์ที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๘ เวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา จะมีงานฌาปนกิจศพ
นายอรรคพล สนิทวงศ์ชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี พรรคไทยรักไทย ที่จังหวัดอุดรธานี
ที่ประชุมรับทราบ
จากนั้นประธานการประชุมได้ดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระ ดังนี้
กระทู้ถามสด จำนวน ๓ เรื่อง
๑. กระทู้ถามสดของนายวรงค์ เดชกิจวิกรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การบริหารราชการบุคคลในกระทรวงสาธารณสุข ถาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ศ.นพ.สุชัย เจริญรัตนกุล) ได้ตอบกระทู้ว่า การโยกย้ายข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขนั้นเป็นการจัดการทรัพยากรบุคคลให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ ความอาวุโส และความประพฤติ และการโยกย้ายปลัดกระทรวง สาธารณสุขนั้น ก็เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องความบกพร่องในหน้าที่กรณีปัญหาการทุจริตโครงการจัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉิน โครงการประมูลคอมพิวเตอร์ และการก่อสร้างโรงพยาบาลจังหวัดสมุทรสาคร ได้มีความเป็นอิสระในการทำงานและปราศจากอิทธิพลใด ๆ
๒. กระทู้ถามสดของนายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ
พรรคชาติไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การแก้ปัญหาวัยรุ่นซิ่งรถจักรยานยนต์และมาตรการรักษา ความปลอดภัยในบริเวณโรงเรียน ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า ปัญหาวัยรุ่นซิ่ง รถจักรยานยนต์ในท้องถนนนั้นมีมาเป็นเวลานานแล้ว โดยใช้เป็นที่แสดงออกทั้งการแข่งขัน การชุมนุม
เพื่อแต่งรถ และการจัดให้มีการแข่งขันจักรยานยนต์นั้นก็เพื่อไม่ให้เยาวชนใช้ถนนทางหลวงสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน ซึ่งสาเหตุที่ใช้สนามคลอง ๕ จังหวัดปทุมธานี เป็นสถานที่เปิดตัวเนื่องจาก ผลวิจัยพบว่า เยาวชนกลุ่มที่ใช้ถนนจะไม่ไปใช้สนามนั้นแน่นอน และเป็นสนามที่ไม่มีความสะดวก อีกทั้งยังห่างไกลด้วย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีเยาวชนอายุระหว่าง ๑๕-๑๘ ปี ประมาณ ๖ แสนคน และเป็นกลุ่มนักเรียนอาชีวะประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ คน โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณสำหรับจัด กิจกรรมให้กับเยาวชนกลุ่มนี้ปีละ ๑๗,๐๐๐,๐๐๐ บาท ซึ่งไม่เพียงพอ ทำให้เยาวชนต้องหากิจกรรม กันเอง ทั้งนี้วัยรุ่นที่ไปใช้ถนนไม่ได้เป็นคนที่แข่งรถทุกคน ส่วนใหญ่ชอบแต่งรถมากกว่า และในบางกรณีเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้เยาวชนเหล่านี้ต้องหาทางออก ซึ่งการแก้ปัญหาของกระทรวงในครั้งนี้คือ การจัดหาสถานที่ให้เยาวชนเหล่านี้ไปรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรม โดยอยู่ในความดูแลของรัฐบาล และได้ชี้แจงว่าสนามคลอง ๕ นั้น ไม่ได้เป็นสนามที่ทางรัฐบาลจัดขึ้น แต่เป็นสนามที่มีมานานแล้ว และจัดแข่งกันเป็นปกติอยู่แล้ว สำหรับการแก้ไขปัญหาในระยะยาวนั้นรัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่ และทางกระทรวงยินดีรับฟังข้อเสนอแนะต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้
จากนั้น ดร.รุ่ง แก้วแดง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ร่วมตอบกระทู้ว่า เรื่องความปลอดภัยของนักเรียนในบริเวณโรงเรียนนั้น ทางกระทรวงฯ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงเรียนทั้ง ๒ แห่งนั้น เป็นเหตุสุดวิสัย และโดยปกติแล้วกระทรวงได้มีมาตรการในการป้องกัน แต่เนื่องจากโรงเรียนเป็นโรงเรียนใหญ่ มีนักเรียนมาก จึงอาจดูแลไม่ทั่วถึง อย่างไรก็ตามทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้เน้นย้ำให้โรงเรียนต่าง ๆ ระมัดระวังกวดขันในเรื่องการดูแลความปลอดภัยของนักเรียนทุกคนอย่างเคร่งครัดแล้ว
๓. กระทู้ถามสดของนายเจริญ จรรย์โกมล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การแก้ไขและป้องกันการระบาดของโรคใบไหม้กับต้นข้าวและหนอนกออ้อย ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า รัฐบาลได้สั่งการให้กรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนำงบประมาณ ที่ได้รับไปใช้เพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะสนับสนุนและช่วยเหลือ สิ่งที่ประชาชนร้องขออย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ได้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดชัยภูมิจัดสรร งบประมาณเพื่อช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่โดยเร็วที่สุด และในการประชุมคณะรัฐมนตรีที่จังหวัด
กาฬสินธุ์นี้จะขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี จำนวน ๓,๒๒๖ ล้านบาท ในการชดใช้ปัญหาภัยธรรมชาติ อีกทั้งจะเร่งรัดให้ส่วนราชการ จังหวัด อำเภอ ได้มีอำนาจในการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
กระทู้ถามทั่วไป จำนวน ๔ เรื่อง
๑. กระทู้ถามของนายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การตั้งอำเภอแห่งใหม่ในจังหวัดชัยภูมิ ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมชาย สุนทรวัฒน์) ได้รับ มอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า หลักการในการตั้งอำเภอนั้นจะต้องเป็นกิ่งอำเภอมาก่อน ซึ่งการตั้งเป็น กิ่งอำเภอนั้นจะต้องมีจำนวนประชากรไม่น้อยกว่า ๒๕,๐๐๐ คน และมีตำบลไม่ต่ำกว่า ๔ ตำบล รวมทั้งระยะทางของกิ่งอำเภอที่ตั้งใหม่จะต้องอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเดิมไม่น้อยกว่า ๒๐ กิโลเมตร ทั้งนี้ ในตำบลทั้ง ๔ ตำบล ที่สมาชิกฯ ได้เสนอมานั้นอยู่ในหลักเกณฑ์ของการตั้งเป็นกิ่งอำเภอได้ จึงขอให้เร่งดำเนินการตั้งเป็นกิ่งอำเภอก่อน โดยกระทรวงมหาดไทยกำลังอยู่ระหว่างนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติกิ่งอำเภอที่มีอยู่ขณะนี้ทั้งหมด จำนวน ๘๐ กิ่งอำเภอ ให้ยกฐานะเป็นอำเภอทั้งหมด ซึ่ง จะทำให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากขึ้น
๒. กระทู้ถามของนายวัฒนา เซ่งไพเราะ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง การจัดโครงการบ้านมั่นคงในเขตพระโขนง - เขตวัฒนา ถามนายกรัฐมนตรี ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (นายวัฒนา เมืองสุข) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า นโยบายการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับคนจนเป็นแนวคิดของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้จัดให้มีการเปิดให้ลงทะเบียนคนจนไปเรียบร้อยแล้ว และทำให้ทราบว่าประเทศไทยมีคนจน และไม่มีที่อยู่อาศัยประมาณ ๑.๕ ล้านครัวเรือน และในจำนวนนี้แยกออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่มีบ้านและที่ดิน กลุ่มที่มีบ้านแต่ไม่มีความมั่นคง และกลุ่มที่มีที่ดินแต่ไม่มีบ้าน โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์จัดหาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนดังกล่าว โดยแบ่ง ที่อยู่อาศัยออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ดำเนินการผ่านการเคหะแห่งชาติสำหรับประชาชนที่ไม่มีบ้านและที่ดิน จำนวน ๖๐๐,๐๐๐ หน่วย ซึ่งปรากฏว่าเกิดปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับการ ก่อสร้าง คือ พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งกำหนดว่าจะต้องมีระยะร่นที่ก่อสร้าง ชิดแนวเขตที่ดินไม่ได้ ทำให้การเคหะแห่งชาติดำเนินการต่อไม่ได้ โดยปัจจุบันได้ประสานไปยังกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอยกเว้นกฎกระทรวงดังกล่าว อีกทั้งยังต้องบริหารจัดการกับข้อจำกัดที่รัฐบาลกำหนด คือ รัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนหลังละ ๘๐,๐๐๐ บาท เท่านั้น และห้ามสร้างให้พื้นที่ใช้สอยของประชาชนลดลง อีกทั้งยังห้ามเพิ่มราคาขายด้วย สำหรับโครงการบ้านมั่นคงนั้นเป็นการจัดที่อยู่อาศัยให้ผู้ที่มีบ้านแต่ไม่มีความมั่นคง เช่น อาศัยอยู่ในชุมชน ซึ่งรัฐบาลมีเป้าหมายในการดำเนินการทั้งสิ้น ๓๐๐,๐๐๐ หน่วย ให้แล้วเสร็จภายในปี ๒๕๕๑ โดยดำเนินการไปแล้วกว่า ๒๐,๐๐๐ หน่วย ซึ่งก็มีข้อจำกัดต่าง ๆ มากมายเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ทางกระทรวงฯ ได้เสนอกฎหมายต่อสภา เพื่อขอให้การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่สามารถออกใบอนุญาตก่อสร้างได้เอง ส่วนอีก ๕๐๐,๐๐๐ หน่วยนั้น จะจัดทำโครงการบ้าน
สำเร็จรูปให้กับประชาชนที่มีที่ดินแต่ไม่มีบ้าน ซึ่งอยู่ระหว่างทำความตกลงกับนายกรัฐมนตรีในเรื่องของเงินอุดหนุน
ทั้งนี้นอกจากข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ประสบแล้ว เรื่องของราคาที่ดินก็มีส่วนสำคัญและประชาชนส่วนใหญ่ก็มีความต้องการมีที่ดินเป็นของตนเอง ทำให้ทำเลของที่ดินในการทำโครงการบ้าน เอื้ออาทรจึงอยู่ไกล อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้รับการยกย่องจากสหประชาชาติด้านที่อยู่อาศัยว่า เป็นประเทศต้นแบบของการจัดที่อยู่อาศัยให้กับคนจน ซึ่งคาดว่าในปี ๒๕๕๑ หรือ ๒๕๕๒ จะไม่มีคนที่ไม่มีที่อยู่อาศัยในประเทศไทย
สำหรับการจัดโครงการบ้านมั่นคงในเขตพระโขนง - เขตวัฒนา นั้น มีเงื่อนไขอยู่ที่ประชาชน ตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้ชี้แจงมาแล้วข้างต้น ซึ่งรัฐบาลจะดำเนินการจัดโครงการให้กับทุกชุมชนในประเทศ โดยประชาชนจะเป็นผู้กำหนดโครงสร้างของสังคมตนเอง และยังคงความเป็นชุมชนดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุดอีกต่อไป
๓. กระทู้ถามของนายอรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัด
ขอนแก่น พรรคไทยรักไทย เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ความเดือดร้อนของราษฎรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถามนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ถามได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ขอถอนกระทู้ถามดังกล่าว ซึ่งกระทำได้ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๓๕
๔. กระทู้ถามของนายนคร มาฉิม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก พรรค
ประชาธิปัตย์ เป็นผู้ตั้งกระทู้ถาม เรื่อง ปัญหาภัยแล้งที่จังหวัดพิษณุโลก ถามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอดิศร เพียงเกษ) ได้รับมอบหมายให้ตอบกระทู้ว่า ตามที่สมาชิกได้ติดตามการแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยเสนอให้จัดสร้างฝายน้ำล้นนั้น จากการสำรวจพบว่าไม่เหมาะสม เพราะสภาพลำน้ำมีความลาดชันสูงมาก และปริมาณน้ำฝนบริเวณนี้มีปริมาณมากกว่า ๑,๒๐๐ มิลลิลิตร ทำให้น้ำไหลแรงและเร็วจนไม่สามารถเก็บกักน้ำได้ ในปริมาณที่มากพอ ซึ่งกรมชลประทานได้เสนอให้สร้างเป็นอ่างเก็บน้ำในลำน้ำคาน และลำน้ำคานขวาง ซึ่งจะสามารถจุน้ำได้ประมาณ ๗.๕๐ และ ๖.๕๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ แต่เนื่องจาก อ่างเก็บน้ำทั้งสองนี้อยู่ในเขตคุณภาพน้ำชั้น ๒ และชั้น ๓ รวมทั้งมีบางส่วนอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ ภูหินล่องกล้า จึงต้องดำเนินการศึกษาถึงผลกระทบต่าง ๆ ให้รอบคอบเสียก่อน ทั้งนี้จะได้ดำเนินการ อย่างเร่งด่วนต่อไป
ปิดประชุมเวลา ๑๖.๐๓ นาฬิกา
---------------------------------------------------