นายธรรมนูญ เชี่ยวสกุล อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงรายงานผลการใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่ประเทศไทยได้รับจากระบบ GSP CEPT และ GSTP ในช่วงระยะ 10 เดือนแรก (มกราคม — ตุลาคม) ของปี 2544 ซึ่งรวบรวมสถิติจากสำเนาหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าแบบ A แบบ D และ แบบ GSTP ที่กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ออกให้กับผู้ส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกา สรุปได้ว่าการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP CEPT และ GSTP ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2544 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4,703.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2543 มีมูลค่าการส่งออก 5,089.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงร้อยละ 7.58
GSP ประเทศไทยใช้สิทธิฯกับสหภาพยุโรป (อียู) มากที่สุด มูลค่า 2,014.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 42.83 รองลงมาได้แก่ประเทศญี่ปุ่น มูลค่า 1,277.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 27.15 สินค้าที่ใช้สิทธิ GSP อียูที่สำคัญได้แก่ รถบรรทุกชนิดแวนและชนิดปิกอัพ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ รถบรรทุกคนไข้ที่ใช้กับโรงพยาบาล รถนั่งแบบจิ๊ปรวมถึงชนิดสเตชั่นเวกอน เครื่องรับโทรทัศน์สี เครื่องใช้ในบ้านเรือนที่เป็นเซรามิก ส่วนสินค้าที่ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นที่สำคัญได้แก่ กุ้ง เดกซ์ดินและโมดิไฟด์สตาร์ช ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ก ปลาโบนิโต (ชนิดซาร์ดา)บรรจุภาชนะอัดลม กระสอบและถุงทำด้วยพลาสติกชนิด PE
CEPT ประเทศไทยใช้สิทธิฯกับประเทศมาเลเซียมากที่สุด มูลค่า 354.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 7.53 รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 292.43 และ 196.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯตามลำดับ สินค้าที่ใช้สิทธิฯมูลค่าสูงได้แก่ แชมพู ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์ เครื่องยนต์ชนิดที่ใช้ขับเคลื่อนยานบก เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารปรุงแต่ง
GSTP ประเทศไทยใช้สิทธิฯกับประเทศเกาหลีใต้มากที่สุด มูลค่า 31.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.67 รองลงมาได้แก่ โรมาเนีย และอินเดีย มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 8.15 และ 0.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯตามลำดับ สินค้าที่ใช้สิทธิฯมูลค่าสูงได้แก่ น้ำตาลที่ได้จากอ้อย ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ก และปลาโบนีโต (ชนิดซาร์ดา)บรรจุภาชนะอัดลม เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างติดผนัง และสับปะรดกระป๋อง
นายธรรมนูญฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าปัจจุบันประเทศที่ให้สิทธิพิเศษฯต่างๆได้ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าปกติของตนลงตามข้อผูกพัน WTO ทำให้ส่วนต่างระหว่างภาษี MFN กับภาษีภายใต้ระบบสิทธิพิเศษฯต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่มีสินค้าอีกหลายรายการที่มีอัตราภาษีสูงและอยู่ในบัญชีรายการที่ได้รับสิทธิพิเศษฯ ดังนั้นผู้ส่งออกจึงควรใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษฯที่ได้รับให้มากที่สุด โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าให้ถูกตามหลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้าเช่น ปรับปรุงสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ / วัตถุดิบนำเข้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากระบบต่างๆได้อย่างถูกต้องและมากยิ่งขึ้น สำหรับรายละเอียดรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษฯติดต่อได้ที่ กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 0-2547-4872 , 0-2547-4819
--กรมการค้าต่างประเทศ มกราคม 2545--
-อน-
GSP ประเทศไทยใช้สิทธิฯกับสหภาพยุโรป (อียู) มากที่สุด มูลค่า 2,014.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 42.83 รองลงมาได้แก่ประเทศญี่ปุ่น มูลค่า 1,277.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 27.15 สินค้าที่ใช้สิทธิ GSP อียูที่สำคัญได้แก่ รถบรรทุกชนิดแวนและชนิดปิกอัพ ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ รถบรรทุกคนไข้ที่ใช้กับโรงพยาบาล รถนั่งแบบจิ๊ปรวมถึงชนิดสเตชั่นเวกอน เครื่องรับโทรทัศน์สี เครื่องใช้ในบ้านเรือนที่เป็นเซรามิก ส่วนสินค้าที่ส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นที่สำคัญได้แก่ กุ้ง เดกซ์ดินและโมดิไฟด์สตาร์ช ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ก ปลาโบนิโต (ชนิดซาร์ดา)บรรจุภาชนะอัดลม กระสอบและถุงทำด้วยพลาสติกชนิด PE
CEPT ประเทศไทยใช้สิทธิฯกับประเทศมาเลเซียมากที่สุด มูลค่า 354.29 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 7.53 รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 292.43 และ 196.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯตามลำดับ สินค้าที่ใช้สิทธิฯมูลค่าสูงได้แก่ แชมพู ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์ เครื่องยนต์ชนิดที่ใช้ขับเคลื่อนยานบก เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารปรุงแต่ง
GSTP ประเทศไทยใช้สิทธิฯกับประเทศเกาหลีใต้มากที่สุด มูลค่า 31.51 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 0.67 รองลงมาได้แก่ โรมาเนีย และอินเดีย มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 8.15 และ 0.50 ล้านเหรียญสหรัฐฯตามลำดับ สินค้าที่ใช้สิทธิฯมูลค่าสูงได้แก่ น้ำตาลที่ได้จากอ้อย ปลาซาร์ดีน ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ก และปลาโบนีโต (ชนิดซาร์ดา)บรรจุภาชนะอัดลม เครื่องปรับอากาศแบบติดหน้าต่างติดผนัง และสับปะรดกระป๋อง
นายธรรมนูญฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าปัจจุบันประเทศที่ให้สิทธิพิเศษฯต่างๆได้ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าปกติของตนลงตามข้อผูกพัน WTO ทำให้ส่วนต่างระหว่างภาษี MFN กับภาษีภายใต้ระบบสิทธิพิเศษฯต่างกันเพียงเล็กน้อย แต่มีสินค้าอีกหลายรายการที่มีอัตราภาษีสูงและอยู่ในบัญชีรายการที่ได้รับสิทธิพิเศษฯ ดังนั้นผู้ส่งออกจึงควรใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษฯที่ได้รับให้มากที่สุด โดยการปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าให้ถูกตามหลักเกณฑ์แหล่งกำเนิดสินค้าเช่น ปรับปรุงสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ / วัตถุดิบนำเข้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์จากระบบต่างๆได้อย่างถูกต้องและมากยิ่งขึ้น สำหรับรายละเอียดรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษฯติดต่อได้ที่ กองสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร. 0-2547-4872 , 0-2547-4819
--กรมการค้าต่างประเทศ มกราคม 2545--
-อน-