สหรัฐอเมริกา
ดัชนีเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนแสดงการชะลอตัวของภาคการผลิต การบริโภค การจ้างงาน และความมั่นใจของผู้บริโภคและผู้ผลิต ส่งผลให้ในวันที่ 11 ธันวาคม 2544 Fed ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงอีกร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 1.75 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 - 0.50 และยังคงดำรงนโยบาย Easing Bias ต่อไปในไตรมาสแรกของปี 2545
Real GDP เบื้องต้นประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 หดตัวลงในอัตราร้อยละ 0.4 (qoq) แต่ขยายตัวร้อยละ 0.8 (yoy) เนื่องจากการบริโภคภาครัฐฯและการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ส่วนดัชนีผลการสำรวจความมั่นใจของผู้บริโภค (Consumer Confidence) ในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 82.2 ลดลงจากระดับ 85.3 ในเดือนตุลาคม และเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 7 ปี และดัชนียอดขายปลีก (Retail Sales) ในเดือนพฤศจิกายนหดตัวร้อยละ 3.7 (mom) หรือขยายตัวร้อยละ 3.5 (yoy) ซึ่งลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 (mom) หรือร้อยละ 6.9 (yoy) ในเดือนตุลาคม ส่วนในภาคการผลิต ดัชนีการสำรวจความ คิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (NAPM Purchasing Manager Index) ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 44.5 จากระดับ 39.8 ในเดือนตุลาคม โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากยอดสั่งซื้อสินค้าและระดับการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงความไม่มั่นใจของผู้ผลิต
ยุโรป
Real GDP ของกลุ่มประเทศยูโรชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ชะลอลงเหลือร้อยละ 1.3 ต่อปีจากระดับร้อยละ 1.7 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวซึ่งมีผลทำให้อุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.0 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 เป็นร้อยละ 0.4 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 และภาคการลงทุนยังคงลดลงต่อเนื่อง
การผลิตภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศยูโรหดตัวร้อยละ 0.6 ต่อปีในเดือนกันยายน หลังจากได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนสิงหาคม ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 3 เดือน
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ -18 ในเดือนพฤศจิกายนเทียบกับ -16 ในเดือนตุลาคมและ -11 ในเดือนกันยายนซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ -12 ในเดือนพฤศจิกายนเทียบกับ -10 ในเดือนตุลาคมและ -9 ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน ทั้งนี้เป็นผลจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง การว่างงานที่สูงขึ้น และการส่งออกที่ลดลง
อัตราเงินเฟ้อของยุโรปปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงจากร้อยละ 2.5 ต่อปีในเดือนกันยายนเป็นร้อยละ 2.4 ต่อปีในเดือนตุลาคมซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับจากเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยเป็นการลดลงของราคาพลังงานเป็นส่วนใหญ่ (อย่างไรก็ตาม ยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 2 ต่อปีเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน) ส่วน Core Inflation ซึ่งไม่นับรวมราคาพลังงานและอาหารที่ยังไม่ได้แปรรูปปรับเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 2.3 ต่อปีจากระดับร้อยละ 2.2 ต่อปีในเดือนกันยายน
ธนาคารกลางยุโรปยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3.25 ในช่วงที่ผ่านมา หลังจากปรับลดลง ร้อยละ 0.50 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544
เอเชียตะวันออก
เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังแสดงสัญญาณของภาวะ ถดถอย Real GDP ในไตรมาสที่ 3 หดตัวจากไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ร้อยละ 0.5 ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่วนใหญ่เป็นผลจากการบริโภคภาคเอกชนที่ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 1.7 อย่างไรก็ตาม การบริโภคและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 0.1 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ จึงทำให้ GDP ไม่หดตัวมากนัก
การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ภาวะตลาดแรงงานอยู่ในภาวะซบเซาและยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น แม้ว่าการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นบ้าง แต่ยังเร็วเกินไปที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่นยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากความกังวลในการแก้ปัญหาหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบการเงิน นอกจากนี้ ยังคงมีการคาดการณ์ว่าธุรกิจในกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มส่งออกจะยังคงมีผลประกอบการที่ลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อไป
อนึ่ง ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนและต้นเดือนธันวาคม สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ ได้แก่ S&P และ Fitch ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นจาก AA+ เป็น AA และ Moody ’s ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นจาก Aa2 เป็น Aa3 โดยให้เหตุผลถึงข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายการคลัง และการดำเนินนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ไร้ประสิทธิผลของญี่ปุ่น
สำหรับผลการประชุม BOJ Policy Board Meeting เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม BOJ ได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม โดยประกาศที่จะเพิ่มปริมาณ Current Account ที่สถาบันการเงินต่างๆ มีกับ BOJ จากระดับปัจจุบันที่เกินกว่า 6 ล้านล้านเยน เป็นปริมาณมากกว่า 10-15 ล้านล้านเยน นอกจากนี้ BOJ ยังเพิ่มเป้าหมายการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (Rinban Operation) จาก 6 แสนล้านเยนต่อเดือนเป็น 8 แสนล้านเยนต่อเดือน
การผ่อนคลายนโยบายการเงินดังกล่าวเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมายืนยันประมาณการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง (Real GDP growth) ในปีงบประมาณ 2544-2545 ที่ -1.0% และในปีงบประมาณ 2545-2546 ที่ 0%
เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกในเดือนพฤศจิกายนมีมูลค่า 24 พันล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 (yoy) ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งได้รับผลดีจากนโยบายสนับสนุนผู้ส่งออกของทางการจีน และส่วนหนึ่งจากการเลื่อนส่งสินค้าลงเรือมาออกในเดือนพฤศจิกายนภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯเมื่อวันที่ 11 กันยายน ประกอบกับฐานคำนวณในปีที่แล้วต่ำ ทำให้ตัวเลขการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 (yoy) และคาดว่าการส่งออกทั้งปี 2544 จะขยายตัวได้ตามเป้าที่ทางการตั้งไว้ที่ร้อยละ 5 ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 20.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.7 (yoy) เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศเริ่มลดลง ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในช่วง 11 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่า 41.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 (yoy) และการลงทุนโดยตรงตามมูลค่าสัญญาที่เป็นตัวชี้การไหลเข้าของเงินลงทุนจาก ต่างประเทศในช่วง 12 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้นเป็น 60.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 24.4 (yoy) โดยมีปัจจัยดึงดูดจากการที่จีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2544 ทำให้จีนต้องเปิดเสรีการค้าการลงทุนมากขึ้น และจีนยังมีอุปสงค์ที่เข้มแข็งแม้ว่าภาวะตลาดโลกซบเซา ดังจะเห็นได้จากมูลค่าค้าปลีกในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.1 (yoy)
อย่างไรก็ตามปัญหาภาวะเงินฝืดยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน โดยล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงร้อยละ 0.3 (yoy) ทำให้เกิดกระแสเรียกร้องจากนักวิชาการจีนให้ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินหยวนลง แต่ ผู้ว่าการธนาคารกลางจีนได้กล่าวยืนยันที่จะคงอัตรา ดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในปีนี้ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของนักวิเคราะห์ต่างประเทศบางส่วน เนื่องจากการลดลงของดัชนีราคาผู้บริโภคในปัจจุบันเกิดจากราคาสินค้าที่ปรับตัวลดลงเป็นหลัก มิใช่เกิดจากอุปสงค์ที่ลดลง อย่างเช่นในประเทศอื่น
เศรษฐกิจฮ่องกงในช่วงไตรมาสที่ 3 ปีนี้ หดตัวร้อยละ 0.3 (yoy) ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และขยายตัวร้อยละ 0.4 (qoq) ส่งผลให้เศรษฐกิจในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีหดตัวร้อยละ 1.0 (yoy) ทั้งนี้ ทางการฮ่องกงคาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 จะหดตัวสูงถึงร้อยละ 2.5 (yoy)
นอกจากนี้ ทางการฮ่องกงยังได้ปรับลดอัตราคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2544 เป็นไม่มีการขยายตัว จากเดิมซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 (yoy) รวมทั้งได้ปรับลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับปีนี้จากติดลบร้อยละ 1.3 เป็นติดลบร้อยละ 1.6 อีกด้วย ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าภาวะเงินฝืดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับประเทศซึ่งมีค่าเงินที่แข็งในกรณีของฮ่องกง
สำหรับอัตราการว่างงานในฮ่องกงยังคงมี แนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราการว่างงานของฮ่องกงจะสูงขึ้นไปถึงร้อยละ 6.5 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
อนึ่ง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2544 ธนาคารกลางฮ่องกงได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานสำหรับการให้กู้ยืมแก่ธนาคารพาณิชย์ประเภทข้ามคืน (base rate) ลงอีกร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 3.50 เป็นร้อยละ 3.25 ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งนับเป็นการปรับลดครั้งที่ 11 ของฮ่องกงนับจากต้นปี 2544
เศรษฐกิจไต้หวันยังคงซบเซาต่อเนื่อง โดย GDP ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้หดตัวร้อยละ 4.2 (yoy) ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 2.4 (yoy) เนื่องจากอุปสงค์ทั้งในและนอกประเทศชะลอลง โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงมากถึงร้อยละ 36.8 (yoy) และการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงเหลือเพียงร้อยละ 0.7 (yoy) จากร้อยละ 1 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกลดลงร้อยละ 18.3 (yoy) และชะลอตัวต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤศจิกายนที่ลดลงร้อยละ 19.7 (yoy) ด้านการนำเข้าในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ลดลงร้อยละ 33.5 (yoy) ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.24 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นทำสถิติใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนตุลาคม 2544 ที่ร้อยละ 5.33 สำหรับอัตราเงินเฟ้อติดลบร้อยละ 1.13 ในเดือนพฤศจิกายน
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรของไต้หวันในวันที่ 1 ธันวาคม 2544 ซึ่งพรรครัฐบาลเป็นพรรคที่มีจำนวนผู้แทนได้รับเลือกเข้าไปมากที่สุด ทำให้การบริหารงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีแนวโน้มราบรื่นมากขึ้น และส่งผลดีต่อตลาดหุ้น โดยดัชนีหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับเฉลี่ยที่ 4,000 จุดในเดือนพฤศจิกายน 2544 ไปอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 5,000 จุดในเดือนธันวาคม ส่งผลให้ธนาคารกลางไต้หวันตัดสินใจไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงตามการปรับลดของอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ของสหรัฐฯ ครั้งล่าสุดในวันที่ 11 ธันวาคม 2544 ที่ผ่านมา เนื่องจากเกรงว่าการผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้นอีก จะทำให้ตลาดหุ้นร้อนแรงเกินไป
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 1.8 (yoy) หรือร้อยละ 1.2 (qoq) โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุน (โดยภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวสูงช่วยชดเชยการหดตัวของภาคการลงทุนจากการชะลอตัวของภาคการส่งออกในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์) รวมถึงการใช้จ่ายของภาครัฐบาลที่เร่งขึ้นมาก โดยในไตรมาสที่ 3 นี้การใช้จ่ายของภาครัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 51.3 ของ GDP (เทียบกับร้อยละ 16.7 ของ GDP ในไตรมาสที่ 2)
การส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญยังคงชะลอลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ (สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป) ทั้งนี้การส่งออกและนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ได้หดตัวอย่างต่อเนื่องโดยการส่งออกหดตัวร้อยละ 19.7 (yoy) และการนำเข้าหดตัวร้อยละ 15.5 (yoy) ซึ่งล่าสุดการส่งออกและนำเข้าในเดือนพฤศจิกายนได้หดตัวร้อยละ 16.3 (yoy) และ 18.3 (yoy) ตามลำดับ
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 3 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.3 โดยล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ตามการลดลงในราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตร ขณะที่อัตราการว่างงานปรับตัวดีขึ้นโดยล่าสุดในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.1 เทียบกับระดับสูงสุดในปีนี้ที่ร้อยละ 5.0 ในเดือนกุมภาพันธ์
ทั้งนี้ทางการเกาหลีใต้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2544 ที่ร้อยละ 2.5 และในปี 2545 ที่ร้อยละ 4.0 — 5.0 ในขณะที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้คาดไว้ที่ร้อยละ 2.8 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3 ในปี 2545 (ลดลงจากร้อยละ 4.3 ในปีนี้) ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation) จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.2 (ลดลงจากร้อยละ 4.2 ในปีนี้)
อาเซียน
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 2.9 (yoy) ดีกว่าที่ทางการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และขยายตัวร้อยละ 0.7 (qoq) โดยเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของภาคบริการและการบริโภคภาคเอกชน ทั้งนี้ ทางการฟิลิปปินส์ได้ออกมาแถลงยืนยันว่า ฟิลิปปินส์จะไม่ตกอยู่ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์และไต้หวันอย่างแน่นอน พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในปี 2544 จะขยายตัวร้อยละ 3.3 (yoy) ตามที่ตั้งเป้าไว้อีกด้วย
สำหรับการนำเข้าล่าสุดในเดือนกันยายนหดตัวร้อยละ 15.9 (yoy) ขณะที่การส่งออกหดตัวร้อยละ 22.0 ส่งผลให้ดุลการค้าในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้เกินดุล ทั้งสิ้น 936 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 4.4 (yoy) ซึ่งนับเป็นระดับเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 เดือน สำหรับการขาดดุลงบประมาณในช่วง 10 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 133.3 พันล้านเปโซ ต่ำกว่าเป้าสำหรับ 10 เดือนซึ่งตั้งไว้ที่ 137.3 พันล้านเปโซ ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่การขาดดุลงบประมาณในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 145 พันล้านเปโซ (2.79 พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
อนึ่ง ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลางฟิลิปปินส์ได้ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 2 ครั้งรวมร้อยละ 0.5 ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย overnight borrowing rate และ overnight lending rate ณ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 7.75 และ 10.0 ตามลำดับ ซึ่งนับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี (ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้งรวมร้อยละ 5.75 นับตั้งแต่ต้นปี 2544) รวมทั้งปรับลด bank ’s liquidity reserve requirements ลงอีกร้อยละ 2.0 เหลือร้อยละ 9.0 และคง statutory reserve requirements ไว้ที่ร้อยละ 9.0 เช่นเดิม
GDP ของมาเลเซียในไตรมาสที่ 3 ปี 2544 หดตัวร้อยละ 1.3 (yoy) เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี และหดตัวสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ (ที่ Reuters สำรวจความคิดเห็น) คาดการณ์ไว้ที่เฉลี่ยติดลบร้อยละ 0.7 โดย GDP ที่หดตัวดังกล่าวเป็นผลจากการส่งออก(โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์)ที่ลดลงเป็นสำคัญ ส่งผลให้ทางการมาเลเซียปรับลดอัตราคาดการณ์การขยายตัวของ GDP สำหรับทั้งปี 2544 ลงจากร้อยละ 1.0 - 2.0 เหลือร้อยละ 0.5 -1.0
ปัจจุบัน ทางการมาเลเซียยังคงพึ่งพาการใช้จ่ายด้านการคลังเป็นหลักในการลดผลกระทบด้านการชะลอตัวของการส่งออกต่อเศรษฐกิจ ส่วนด้านนโยบายการเงินนั้น ธนาคารกลางมาเลเซียลดอัตราดอกเบี้ย intervention rate ระยะ 3 เดือนครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2544 โดยลดลงร้อยละ 0.5 เหลือร้อยละ 5.0 หลังจากสหรัฐฯและประเทศอื่นๆลดดอกเบี้ยหลังเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ (เป็นการลดครั้งแรกของมาเลเซียนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2542) แต่นักวิเคราะห์เห็นว่ามาเลเซียน่าจะยังสามารถลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯอยู่ในระดับต่ำ มาเลเซียไม่มีแรงกดดันด้าน เงินเฟ้อ (อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 1.5 ในเดือนพฤศจิกายน และร้อยละ 1.4 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี) กอปรกับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (อยู่ที่ 30.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2544) ธนาคารกลางมาเลเซียจึงน่าจะมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินในอนาคต
การส่งออกของมาเลเซียในเดือนตุลาคมดีขึ้นเล็กน้อย โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 (mom) หลังจากจากลดลงร้อยละ 1.0 (mom) ในเดือนกันยายน (ลดลงร้อยละ 12.7 (yoy) ในเดือนตุลาคม เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.0 (yoy) ในเดือนกันยายน) ทั้งนี้ การส่งออกที่ดีขึ้นส่วนหนึ่งจะเป็นผลจากฐานที่ต่ำในเดือนกันยายน สืบเนื่องจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซียยังคงเผชิญภาวะเงินเฟ้อในระดับค่อนข้างสูงที่ร้อยละ 12.9 ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล โดยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 ทางการอินโดนีเซียคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงปลายปีจะปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากได้รับแรงกดดันจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเทศกาล Ramadan ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน เทศกาล Eid al-Fitr ในช่วงกลางเดือนธันวาคมและต่อเนื่องกับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 บริษัท Fitch ได้ปรับลดภาพพจน์ outlook ของประเทศอินโดนีเซียจากบวก (positive) เป็นคงตัว (stable) เนื่องจากความกังวลต่อการปรับโครงสร้างหนี้ของอินโดเซียกับ Paris Club แต่ Fitch ยังคงอันดับ longterm foreign currency และ long-term local currency ไว้ที่ B- และ short-term foreign currency ไว้ที่ B
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2544 ADB แถลงว่าได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 400 ล้านดอลลาร์ สรอ. แก่อินโดนีเซีย วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 จะขยายตัวร้อยละ 3.3-3.5 และคาดว่าเศรษฐกิจทั้งปี 2544 จะขยายตัวร้อยละ 3.5-4.0
ภาวะเศรษฐกิจสิงคโปร์ในเดือนตุลาคมยังคงซบเซาต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยสถานการณ์การตอบโต้ผู้ก่อการร้ายของสหรัฐฯเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ ประกอบกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างแท้จริง สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 21.4 (yoy) ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนซึ่งหดตัวร้อยละ 22.3 (yoy) ทั้งนี้ การผลิตในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 โดยลดลงร้อยละ 36 (yoy) ขณะที่การผลิตในอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากยังมีคำสั่งซื้อเข้ามาจากสหภาพยุโรป
การส่งออกในเดือนตุลาคมมีมูลค่า 10.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 19.9 (yoy) และการนำเข้ามีมูลค่า 10 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 18.3 (yoy) ส่งผลให้ดุลการค้ายังคงเกินดุล 477 ล้านดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ ภาวะซบเซาในภาคการผลิตและการส่งออก ตลอดจนอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัว ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.2 (yoy) ลดลงจากในเดือนกันยายนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.5 (yoy) และมีแนวโน้มลดลงอีกไปจนถึงสิ้นปี โดยธนาคารกลางสิงคโปร์
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ย 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้จะไม่เกินร้อยละ 0.5 (yoy) และทั้งปี 2544 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.0-1.5
นอกจากนี้ ภายหลังจากที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 ว่าจะใช้นโยบายขยายช่วงความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันให้กว้างขึ้นกว่าเดิม กอปรกับแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินเยน ตลอดจนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สรอ. อันเนื่องมาจากความคืบหน้าของปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ในการตอบโต้ผู้ก่อการร้ายมีส่วนทำให้ตลาดมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในอนาคตอันใกล้ ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง จากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในเดือนกันยายนที่ระดับ 1.7486 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อดอลลาร์ สรอ. มาอยู่ที่ 1.8102 ดอลลาร์ สิงคโปร์ต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนตุลาคม และได้อ่อนค่าลงไปที่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 11 ปีที่ 1.8410 ดอลลาร์ สิงคโปร์ต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ในขณะที่ดัชนี Straits Times ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจาก ณ สิ้นเดือนกันยายนที่ระดับ1,319.53 จุดสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1,367.84 จุดและ 1,478.54 จุดในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ดัชนีเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายนแสดงการชะลอตัวของภาคการผลิต การบริโภค การจ้างงาน และความมั่นใจของผู้บริโภคและผู้ผลิต ส่งผลให้ในวันที่ 11 ธันวาคม 2544 Fed ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ลงอีกร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 1.75 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า Fed จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกร้อยละ 0.25 - 0.50 และยังคงดำรงนโยบาย Easing Bias ต่อไปในไตรมาสแรกของปี 2545
Real GDP เบื้องต้นประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 หดตัวลงในอัตราร้อยละ 0.4 (qoq) แต่ขยายตัวร้อยละ 0.8 (yoy) เนื่องจากการบริโภคภาครัฐฯและการบริโภคภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ส่วนดัชนีผลการสำรวจความมั่นใจของผู้บริโภค (Consumer Confidence) ในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ 82.2 ลดลงจากระดับ 85.3 ในเดือนตุลาคม และเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 7 ปี และดัชนียอดขายปลีก (Retail Sales) ในเดือนพฤศจิกายนหดตัวร้อยละ 3.7 (mom) หรือขยายตัวร้อยละ 3.5 (yoy) ซึ่งลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.4 (mom) หรือร้อยละ 6.9 (yoy) ในเดือนตุลาคม ส่วนในภาคการผลิต ดัชนีการสำรวจความ คิดเห็นของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (NAPM Purchasing Manager Index) ภาคอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 44.5 จากระดับ 39.8 ในเดือนตุลาคม โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากยอดสั่งซื้อสินค้าและระดับการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีดังกล่าวยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 50 ซึ่งแสดงถึงความไม่มั่นใจของผู้ผลิต
ยุโรป
Real GDP ของกลุ่มประเทศยูโรชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ชะลอลงเหลือร้อยละ 1.3 ต่อปีจากระดับร้อยละ 1.7 ต่อปีในไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวซึ่งมีผลทำให้อุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลงจากร้อยละ 1.0 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 เป็นร้อยละ 0.4 ต่อปีในไตรมาสที่ 3 และภาคการลงทุนยังคงลดลงต่อเนื่อง
การผลิตภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มประเทศยูโรหดตัวร้อยละ 0.6 ต่อปีในเดือนกันยายน หลังจากได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ในเดือนสิงหาคม ลดลงเป็นเดือนที่ 2 ในรอบ 3 เดือน
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ -18 ในเดือนพฤศจิกายนเทียบกับ -16 ในเดือนตุลาคมและ -11 ในเดือนกันยายนซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ -12 ในเดือนพฤศจิกายนเทียบกับ -10 ในเดือนตุลาคมและ -9 ในเดือนกันยายน ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน ทั้งนี้เป็นผลจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง การว่างงานที่สูงขึ้น และการส่งออกที่ลดลง
อัตราเงินเฟ้อของยุโรปปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงจากร้อยละ 2.5 ต่อปีในเดือนกันยายนเป็นร้อยละ 2.4 ต่อปีในเดือนตุลาคมซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับจากเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ โดยเป็นการลดลงของราคาพลังงานเป็นส่วนใหญ่ (อย่างไรก็ตาม ยังคงสูงกว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 2 ต่อปีเป็นเดือนที่ 17 ติดต่อกัน) ส่วน Core Inflation ซึ่งไม่นับรวมราคาพลังงานและอาหารที่ยังไม่ได้แปรรูปปรับเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 2.3 ต่อปีจากระดับร้อยละ 2.2 ต่อปีในเดือนกันยายน
ธนาคารกลางยุโรปยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 3.25 ในช่วงที่ผ่านมา หลังจากปรับลดลง ร้อยละ 0.50 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544
เอเชียตะวันออก
เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังแสดงสัญญาณของภาวะ ถดถอย Real GDP ในไตรมาสที่ 3 หดตัวจากไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ร้อยละ 0.5 ใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ส่วนใหญ่เป็นผลจากการบริโภคภาคเอกชนที่ลดลงจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 1.7 อย่างไรก็ตาม การบริโภคและการลงทุนภาครัฐเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 0.1 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ จึงทำให้ GDP ไม่หดตัวมากนัก
การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ภาวะตลาดแรงงานอยู่ในภาวะซบเซาและยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น แม้ว่าการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นบ้าง แต่ยังเร็วเกินไปที่จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม
ตลาดหลักทรัพย์ญี่ปุ่นยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากความกังวลในการแก้ปัญหาหนี้เสียของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของระบบการเงิน นอกจากนี้ ยังคงมีการคาดการณ์ว่าธุรกิจในกลุ่มเทคโนโลยีและกลุ่มส่งออกจะยังคงมีผลประกอบการที่ลดลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อไป
อนึ่ง ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนและต้นเดือนธันวาคม สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆ ได้แก่ S&P และ Fitch ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นจาก AA+ เป็น AA และ Moody ’s ได้ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของญี่ปุ่นจาก Aa2 เป็น Aa3 โดยให้เหตุผลถึงข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายการคลัง และการดำเนินนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่ไร้ประสิทธิผลของญี่ปุ่น
สำหรับผลการประชุม BOJ Policy Board Meeting เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม BOJ ได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม โดยประกาศที่จะเพิ่มปริมาณ Current Account ที่สถาบันการเงินต่างๆ มีกับ BOJ จากระดับปัจจุบันที่เกินกว่า 6 ล้านล้านเยน เป็นปริมาณมากกว่า 10-15 ล้านล้านเยน นอกจากนี้ BOJ ยังเพิ่มเป้าหมายการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (Rinban Operation) จาก 6 แสนล้านเยนต่อเดือนเป็น 8 แสนล้านเยนต่อเดือน
การผ่อนคลายนโยบายการเงินดังกล่าวเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ในตลาดการเงินส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมายืนยันประมาณการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง (Real GDP growth) ในปีงบประมาณ 2544-2545 ที่ -1.0% และในปีงบประมาณ 2545-2546 ที่ 0%
เศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกในเดือนพฤศจิกายนมีมูลค่า 24 พันล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.4 (yoy) ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งได้รับผลดีจากนโยบายสนับสนุนผู้ส่งออกของทางการจีน และส่วนหนึ่งจากการเลื่อนส่งสินค้าลงเรือมาออกในเดือนพฤศจิกายนภายหลังเหตุการณ์ก่อการร้ายในสหรัฐฯเมื่อวันที่ 11 กันยายน ประกอบกับฐานคำนวณในปีที่แล้วต่ำ ทำให้ตัวเลขการส่งออกในช่วง 11 เดือนแรกปีนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 (yoy) และคาดว่าการส่งออกทั้งปี 2544 จะขยายตัวได้ตามเป้าที่ทางการตั้งไว้ที่ร้อยละ 5 ด้านการนำเข้ามีมูลค่า 20.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 3.7 (yoy) เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศเริ่มลดลง ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในช่วง 11 เดือนแรกปีนี้มีมูลค่า 41.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 (yoy) และการลงทุนโดยตรงตามมูลค่าสัญญาที่เป็นตัวชี้การไหลเข้าของเงินลงทุนจาก ต่างประเทศในช่วง 12 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้นเป็น 60.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 24.4 (yoy) โดยมีปัจจัยดึงดูดจากการที่จีนได้เข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2544 ทำให้จีนต้องเปิดเสรีการค้าการลงทุนมากขึ้น และจีนยังมีอุปสงค์ที่เข้มแข็งแม้ว่าภาวะตลาดโลกซบเซา ดังจะเห็นได้จากมูลค่าค้าปลีกในเดือนพฤศจิกายนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 10.1 (yoy)
อย่างไรก็ตามปัญหาภาวะเงินฝืดยังคงเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน โดยล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนดัชนีราคาผู้บริโภคลดลงร้อยละ 0.3 (yoy) ทำให้เกิดกระแสเรียกร้องจากนักวิชาการจีนให้ธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินหยวนลง แต่ ผู้ว่าการธนาคารกลางจีนได้กล่าวยืนยันที่จะคงอัตรา ดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมในปีนี้ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของนักวิเคราะห์ต่างประเทศบางส่วน เนื่องจากการลดลงของดัชนีราคาผู้บริโภคในปัจจุบันเกิดจากราคาสินค้าที่ปรับตัวลดลงเป็นหลัก มิใช่เกิดจากอุปสงค์ที่ลดลง อย่างเช่นในประเทศอื่น
เศรษฐกิจฮ่องกงในช่วงไตรมาสที่ 3 ปีนี้ หดตัวร้อยละ 0.3 (yoy) ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และขยายตัวร้อยละ 0.4 (qoq) ส่งผลให้เศรษฐกิจในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีหดตัวร้อยละ 1.0 (yoy) ทั้งนี้ ทางการฮ่องกงคาดว่าเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 จะหดตัวสูงถึงร้อยละ 2.5 (yoy)
นอกจากนี้ ทางการฮ่องกงยังได้ปรับลดอัตราคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2544 เป็นไม่มีการขยายตัว จากเดิมซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.0 (yoy) รวมทั้งได้ปรับลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อสำหรับปีนี้จากติดลบร้อยละ 1.3 เป็นติดลบร้อยละ 1.6 อีกด้วย ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์เห็นว่าภาวะเงินฝืดเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับประเทศซึ่งมีค่าเงินที่แข็งในกรณีของฮ่องกง
สำหรับอัตราการว่างงานในฮ่องกงยังคงมี แนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอัตราการว่างงานของฮ่องกงจะสูงขึ้นไปถึงร้อยละ 6.5 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี
อนึ่ง เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2544 ธนาคารกลางฮ่องกงได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานสำหรับการให้กู้ยืมแก่ธนาคารพาณิชย์ประเภทข้ามคืน (base rate) ลงอีกร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 3.50 เป็นร้อยละ 3.25 ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งนับเป็นการปรับลดครั้งที่ 11 ของฮ่องกงนับจากต้นปี 2544
เศรษฐกิจไต้หวันยังคงซบเซาต่อเนื่อง โดย GDP ในไตรมาสที่ 3 ปีนี้หดตัวร้อยละ 4.2 (yoy) ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 2.4 (yoy) เนื่องจากอุปสงค์ทั้งในและนอกประเทศชะลอลง โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลงมากถึงร้อยละ 36.8 (yoy) และการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงเหลือเพียงร้อยละ 0.7 (yoy) จากร้อยละ 1 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกลดลงร้อยละ 18.3 (yoy) และชะลอตัวต่อเนื่องจนถึงเดือนพฤศจิกายนที่ลดลงร้อยละ 19.7 (yoy) ด้านการนำเข้าในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ลดลงร้อยละ 33.5 (yoy) ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 2.24 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนอัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้นทำสถิติใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนตุลาคม 2544 ที่ร้อยละ 5.33 สำหรับอัตราเงินเฟ้อติดลบร้อยละ 1.13 ในเดือนพฤศจิกายน
อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรของไต้หวันในวันที่ 1 ธันวาคม 2544 ซึ่งพรรครัฐบาลเป็นพรรคที่มีจำนวนผู้แทนได้รับเลือกเข้าไปมากที่สุด ทำให้การบริหารงานของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมีแนวโน้มราบรื่นมากขึ้น และส่งผลดีต่อตลาดหุ้น โดยดัชนีหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับเฉลี่ยที่ 4,000 จุดในเดือนพฤศจิกายน 2544 ไปอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 5,000 จุดในเดือนธันวาคม ส่งผลให้ธนาคารกลางไต้หวันตัดสินใจไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานลงตามการปรับลดของอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ของสหรัฐฯ ครั้งล่าสุดในวันที่ 11 ธันวาคม 2544 ที่ผ่านมา เนื่องจากเกรงว่าการผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้นอีก จะทำให้ตลาดหุ้นร้อนแรงเกินไป
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวร้อยละ 1.8 (yoy) หรือร้อยละ 1.2 (qoq) โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักมาจากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนและการลงทุน (โดยภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวสูงช่วยชดเชยการหดตัวของภาคการลงทุนจากการชะลอตัวของภาคการส่งออกในสินค้าอิเล็กทรอนิกส์) รวมถึงการใช้จ่ายของภาครัฐบาลที่เร่งขึ้นมาก โดยในไตรมาสที่ 3 นี้การใช้จ่ายของภาครัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 51.3 ของ GDP (เทียบกับร้อยละ 16.7 ของ GDP ในไตรมาสที่ 2)
การส่งออกสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญยังคงชะลอลงอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าสำคัญ (สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป) ทั้งนี้การส่งออกและนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ได้หดตัวอย่างต่อเนื่องโดยการส่งออกหดตัวร้อยละ 19.7 (yoy) และการนำเข้าหดตัวร้อยละ 15.5 (yoy) ซึ่งล่าสุดการส่งออกและนำเข้าในเดือนพฤศจิกายนได้หดตัวร้อยละ 16.3 (yoy) และ 18.3 (yoy) ตามลำดับ
อัตราเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 3 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.3 โดยล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 ตามการลดลงในราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตร ขณะที่อัตราการว่างงานปรับตัวดีขึ้นโดยล่าสุดในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.1 เทียบกับระดับสูงสุดในปีนี้ที่ร้อยละ 5.0 ในเดือนกุมภาพันธ์
ทั้งนี้ทางการเกาหลีใต้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2544 ที่ร้อยละ 2.5 และในปี 2545 ที่ร้อยละ 4.0 — 5.0 ในขณะที่ธนาคารกลางเกาหลีใต้คาดไว้ที่ร้อยละ 2.8 และร้อยละ 3.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3 ในปี 2545 (ลดลงจากร้อยละ 4.3 ในปีนี้) ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation) จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.2 (ลดลงจากร้อยละ 4.2 ในปีนี้)
อาเซียน
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 2.9 (yoy) ดีกว่าที่ทางการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ และขยายตัวร้อยละ 0.7 (qoq) โดยเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของภาคบริการและการบริโภคภาคเอกชน ทั้งนี้ ทางการฟิลิปปินส์ได้ออกมาแถลงยืนยันว่า ฟิลิปปินส์จะไม่ตกอยู่ในภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์และไต้หวันอย่างแน่นอน พร้อมแสดงความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจในปี 2544 จะขยายตัวร้อยละ 3.3 (yoy) ตามที่ตั้งเป้าไว้อีกด้วย
สำหรับการนำเข้าล่าสุดในเดือนกันยายนหดตัวร้อยละ 15.9 (yoy) ขณะที่การส่งออกหดตัวร้อยละ 22.0 ส่งผลให้ดุลการค้าในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้เกินดุล ทั้งสิ้น 936 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนอัตราเงินเฟ้อยังคงมีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ร้อยละ 4.4 (yoy) ซึ่งนับเป็นระดับเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 เดือน สำหรับการขาดดุลงบประมาณในช่วง 10 เดือนแรกปีนี้อยู่ที่ 133.3 พันล้านเปโซ ต่ำกว่าเป้าสำหรับ 10 เดือนซึ่งตั้งไว้ที่ 137.3 พันล้านเปโซ ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่การขาดดุลงบประมาณในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 145 พันล้านเปโซ (2.79 พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
อนึ่ง ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารกลางฟิลิปปินส์ได้ตัดสินใจปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 2 ครั้งรวมร้อยละ 0.5 ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ Fed ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย overnight borrowing rate และ overnight lending rate ณ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 7.75 และ 10.0 ตามลำดับ ซึ่งนับเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี (ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยไปแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้งรวมร้อยละ 5.75 นับตั้งแต่ต้นปี 2544) รวมทั้งปรับลด bank ’s liquidity reserve requirements ลงอีกร้อยละ 2.0 เหลือร้อยละ 9.0 และคง statutory reserve requirements ไว้ที่ร้อยละ 9.0 เช่นเดิม
GDP ของมาเลเซียในไตรมาสที่ 3 ปี 2544 หดตัวร้อยละ 1.3 (yoy) เป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี และหดตัวสูงกว่าที่นักวิเคราะห์ (ที่ Reuters สำรวจความคิดเห็น) คาดการณ์ไว้ที่เฉลี่ยติดลบร้อยละ 0.7 โดย GDP ที่หดตัวดังกล่าวเป็นผลจากการส่งออก(โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์)ที่ลดลงเป็นสำคัญ ส่งผลให้ทางการมาเลเซียปรับลดอัตราคาดการณ์การขยายตัวของ GDP สำหรับทั้งปี 2544 ลงจากร้อยละ 1.0 - 2.0 เหลือร้อยละ 0.5 -1.0
ปัจจุบัน ทางการมาเลเซียยังคงพึ่งพาการใช้จ่ายด้านการคลังเป็นหลักในการลดผลกระทบด้านการชะลอตัวของการส่งออกต่อเศรษฐกิจ ส่วนด้านนโยบายการเงินนั้น ธนาคารกลางมาเลเซียลดอัตราดอกเบี้ย intervention rate ระยะ 3 เดือนครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2544 โดยลดลงร้อยละ 0.5 เหลือร้อยละ 5.0 หลังจากสหรัฐฯและประเทศอื่นๆลดดอกเบี้ยหลังเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ (เป็นการลดครั้งแรกของมาเลเซียนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2542) แต่นักวิเคราะห์เห็นว่ามาเลเซียน่าจะยังสามารถลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯอยู่ในระดับต่ำ มาเลเซียไม่มีแรงกดดันด้าน เงินเฟ้อ (อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 1.5 ในเดือนพฤศจิกายน และร้อยละ 1.4 ในช่วง 11 เดือนแรกของปี) กอปรกับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (อยู่ที่ 30.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2544) ธนาคารกลางมาเลเซียจึงน่าจะมีแนวโน้มที่จะผ่อนคลายนโยบายการเงินในอนาคต
การส่งออกของมาเลเซียในเดือนตุลาคมดีขึ้นเล็กน้อย โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 (mom) หลังจากจากลดลงร้อยละ 1.0 (mom) ในเดือนกันยายน (ลดลงร้อยละ 12.7 (yoy) ในเดือนตุลาคม เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 21.0 (yoy) ในเดือนกันยายน) ทั้งนี้ การส่งออกที่ดีขึ้นส่วนหนึ่งจะเป็นผลจากฐานที่ต่ำในเดือนกันยายน สืบเนื่องจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ
ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซียยังคงเผชิญภาวะเงินเฟ้อในระดับค่อนข้างสูงที่ร้อยละ 12.9 ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาล โดยเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 ทางการอินโดนีเซียคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในช่วงปลายปีจะปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากได้รับแรงกดดันจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงเทศกาล Ramadan ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน เทศกาล Eid al-Fitr ในช่วงกลางเดือนธันวาคมและต่อเนื่องกับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 บริษัท Fitch ได้ปรับลดภาพพจน์ outlook ของประเทศอินโดนีเซียจากบวก (positive) เป็นคงตัว (stable) เนื่องจากความกังวลต่อการปรับโครงสร้างหนี้ของอินโดเซียกับ Paris Club แต่ Fitch ยังคงอันดับ longterm foreign currency และ long-term local currency ไว้ที่ B- และ short-term foreign currency ไว้ที่ B
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2544 ADB แถลงว่าได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 400 ล้านดอลลาร์ สรอ. แก่อินโดนีเซีย วัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 จะขยายตัวร้อยละ 3.3-3.5 และคาดว่าเศรษฐกิจทั้งปี 2544 จะขยายตัวร้อยละ 3.5-4.0
ภาวะเศรษฐกิจสิงคโปร์ในเดือนตุลาคมยังคงซบเซาต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยสถานการณ์การตอบโต้ผู้ก่อการร้ายของสหรัฐฯเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ ประกอบกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ยังไม่ฟื้นตัวอย่างแท้จริง สำหรับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 21.4 (yoy) ดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนกันยายนซึ่งหดตัวร้อยละ 22.3 (yoy) ทั้งนี้ การผลิตในภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 โดยลดลงร้อยละ 36 (yoy) ขณะที่การผลิตในอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ยังขยายตัวได้ดี เนื่องจากยังมีคำสั่งซื้อเข้ามาจากสหภาพยุโรป
การส่งออกในเดือนตุลาคมมีมูลค่า 10.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 19.9 (yoy) และการนำเข้ามีมูลค่า 10 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 18.3 (yoy) ส่งผลให้ดุลการค้ายังคงเกินดุล 477 ล้านดอลลาร์สรอ. ทั้งนี้ ภาวะซบเซาในภาคการผลิตและการส่งออก ตลอดจนอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัว ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.2 (yoy) ลดลงจากในเดือนกันยายนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.5 (yoy) และมีแนวโน้มลดลงอีกไปจนถึงสิ้นปี โดยธนาคารกลางสิงคโปร์
คาดว่าอัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ย 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้จะไม่เกินร้อยละ 0.5 (yoy) และทั้งปี 2544 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.0-1.5
นอกจากนี้ ภายหลังจากที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ได้ประกาศเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 ว่าจะใช้นโยบายขยายช่วงความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนในปัจจุบันให้กว้างขึ้นกว่าเดิม กอปรกับแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินเยน ตลอดจนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สรอ. อันเนื่องมาจากความคืบหน้าของปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ในการตอบโต้ผู้ก่อการร้ายมีส่วนทำให้ตลาดมีความเชื่อมั่นต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในอนาคตอันใกล้ ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สิงคโปร์อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง จากอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยในเดือนกันยายนที่ระดับ 1.7486 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อดอลลาร์ สรอ. มาอยู่ที่ 1.8102 ดอลลาร์ สิงคโปร์ต่อดอลลาร์ สรอ. ในเดือนตุลาคม และได้อ่อนค่าลงไปที่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 11 ปีที่ 1.8410 ดอลลาร์ สิงคโปร์ต่อดอลลาร์ สรอ. ในวันที่ 19 พฤศจิกายน ในขณะที่ดัชนี Straits Times ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจาก ณ สิ้นเดือนกันยายนที่ระดับ1,319.53 จุดสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1,367.84 จุดและ 1,478.54 จุดในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-