ความวิตกกังวลถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะส่งผลให้ประเทศพัฒนาแล้ว โดยเฉพาะญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป (European Union: EU) นำมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมาบังคับใช้กับสินค้าที่วางจำหน่ายในประเทศของตนทั้งสินค้าที่ผลิตขึ้นในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อลดผลกระทบอันเกิดจากกระบวนการผลิตหรือการใช้สินค้าที่อาจมีผลต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับมาตรการสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศพัฒนาแล้วกำหนดขึ้นและเกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่
- กฎหมาย Home Appliance Recycling ของญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 กฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณขยะจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดสภาพหรือหมดอายุการใช้งาน โดยกำหนดให้ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายในญี่ปุ่น (ในระยะแรกกำหนดชนิดของเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ 4 ประเภท คือ ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ) ร้านค้าปลีก และผู้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในญี่ปุ่นมีภาระร่วมกันในการจัดการกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานแล้ว เพื่อนำอุปกรณ์ที่ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้กลับมาใช้ใหม่แทนวิธีกำจัดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานที่เดิมนิยมนำมาแยกชิ้นส่วนก่อนและนำไปฝังทำลายซึ่งต้องใช้พื้นที่มากไม่เหมาะกับสภาพพื้นที่ที่หายากในญี่ปุ่นในปัจจุบัน
- ระเบียบว่าด้วยการกำจัดเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste from Electrical and Electronic Equipment: WEEE) ของ EU กำหนดให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อจำหน่ายใน EU ต้องรับผิดชอบต่อซากผลิตภัณฑ์ของตนที่หมดอายุการใช้งาน ด้วยการจัดให้มีระบบการจัดเก็บและจัดการกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อมใน EU โดยจะเริ่มบังคับใช้มาตรการนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 นอกจากนี้ EU ยังกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่ายใน EU ต้องใช้วัสดุที่มิใช่โลหะหนักที่เป็นอันตรายอีกต่อไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551
- สมุดปกเขียวว่าด้วยนโยบายสินค้าครบวงจร (Green Paper on Integrated Product Policy: IPP) ของ EU เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสนับสนุนให้เกิดการผลิตและการใช้สินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Green Product) สาระสำคัญของมาตรการดังกล่าวกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีสินค้าโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ คาดว่ามาตรการนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าของหลายประเทศในด้านการพัฒนาระดับคุณภาพสินค้า ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตที่ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ EU กำหนด สินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่อาจได้รับผลกระทบอย่างมากจากมาตรการนี้ ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องกีฬา ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปมีมติเห็นชอบในหลักการของ IPP เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ที่ผ่านมา โดยคาดว่า EU จะประกาศใช้ IPP ในอีกไม่ช้านี้
- มาตรฐาน GRI (Global Reporting Initiative) เป็นมาตรฐานที่ UNEP (United Nations Environment Programme) และองค์กร CERES (Coalition for Environmentally Responsible Economies) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ไม่มุ่งหวังกำไรภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มและองค์กรในสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม แรงงาน และศาสนา ร่วมกันจัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำรายงานประจำปีด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับรายงานด้านเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรต่างๆ ทั้งที่เป็นของรัฐบาลและเอกชนตามกรอบดัชนีชี้วัดที่กำหนดขึ้น ปัจจุบันการปฏิบัติตามมาตรฐาน GRI เป็นการดำเนินการตามความสมัครใจ ขณะนี้ผู้ประกอบการในประเทศต่างๆ เช่น เยอรมนี แคนาดา ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เริ่มมีการจัดทำรายงานประจำปีด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว โดยเฉพาะในสหรัฐฯ มีผู้ประกอบการในธุรกิจ 4 ประเภท คือ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และเยื่อกระดาษ ได้มีการจัดทำรายงานตามมาตรฐานของ GRI แล้ว และคาดว่าอาจมีการนำมาตรฐาน GRI มาบังคับใช้กับประเทศคู่ค้าเร็วๆ นี้
มาตรการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าวล้วนส่งผลกระทบต่อการทำการค้าระหว่างประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากการปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้จะทำให้ผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าในอนาคตกฎระเบียบใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมจะถูกทยอยนำออกมาใช้อย่างต่อเนื่อง ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษากฎระเบียบเหล่านี้และเตรียมปรับการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรการที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนด ซึ่งนอกจากเป็นการรักษาตลาดส่งออกแล้ว การปรับมาตรฐานการผลิตดังกล่าวและนำมาใช้กับสินค้าที่จำหน่ายในประเทศจะเป็นผลดีต่อทั้งผู้บริโภคคนไทยและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศอีกด้วย อันเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของคนไทยให้ทัดเทียมประเทศพัฒนาแล้วในระยะยาว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2545--
-อน-
- กฎหมาย Home Appliance Recycling ของญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 กฎหมายดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณขยะจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดสภาพหรือหมดอายุการใช้งาน โดยกำหนดให้ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อจำหน่ายในญี่ปุ่น (ในระยะแรกกำหนดชนิดของเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้ 4 ประเภท คือ ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องซักผ้า และเครื่องปรับอากาศ) ร้านค้าปลีก และผู้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในญี่ปุ่นมีภาระร่วมกันในการจัดการกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานแล้ว เพื่อนำอุปกรณ์ที่ยังสามารถใช้ประโยชน์ได้กลับมาใช้ใหม่แทนวิธีกำจัดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานที่เดิมนิยมนำมาแยกชิ้นส่วนก่อนและนำไปฝังทำลายซึ่งต้องใช้พื้นที่มากไม่เหมาะกับสภาพพื้นที่ที่หายากในญี่ปุ่นในปัจจุบัน
- ระเบียบว่าด้วยการกำจัดเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Waste from Electrical and Electronic Equipment: WEEE) ของ EU กำหนดให้ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อจำหน่ายใน EU ต้องรับผิดชอบต่อซากผลิตภัณฑ์ของตนที่หมดอายุการใช้งาน ด้วยการจัดให้มีระบบการจัดเก็บและจัดการกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจมีต่อสิ่งแวดล้อมใน EU โดยจะเริ่มบังคับใช้มาตรการนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2547 นอกจากนี้ EU ยังกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จำหน่ายใน EU ต้องใช้วัสดุที่มิใช่โลหะหนักที่เป็นอันตรายอีกต่อไป ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551
- สมุดปกเขียวว่าด้วยนโยบายสินค้าครบวงจร (Green Paper on Integrated Product Policy: IPP) ของ EU เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสนับสนุนให้เกิดการผลิตและการใช้สินค้าที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (Green Product) สาระสำคัญของมาตรการดังกล่าวกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีสินค้าโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ คาดว่ามาตรการนี้จะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าของหลายประเทศในด้านการพัฒนาระดับคุณภาพสินค้า ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตที่ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่ EU กำหนด สินค้าส่งออกสำคัญของไทยที่อาจได้รับผลกระทบอย่างมากจากมาตรการนี้ ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องกีฬา ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปมีมติเห็นชอบในหลักการของ IPP เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ที่ผ่านมา โดยคาดว่า EU จะประกาศใช้ IPP ในอีกไม่ช้านี้
- มาตรฐาน GRI (Global Reporting Initiative) เป็นมาตรฐานที่ UNEP (United Nations Environment Programme) และองค์กร CERES (Coalition for Environmentally Responsible Economies) ซึ่งเป็นองค์กรเอกชนที่ไม่มุ่งหวังกำไรภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มและองค์กรในสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม แรงงาน และศาสนา ร่วมกันจัดทำขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำรายงานประจำปีด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับรายงานด้านเศรษฐกิจและสังคมขององค์กรต่างๆ ทั้งที่เป็นของรัฐบาลและเอกชนตามกรอบดัชนีชี้วัดที่กำหนดขึ้น ปัจจุบันการปฏิบัติตามมาตรฐาน GRI เป็นการดำเนินการตามความสมัครใจ ขณะนี้ผู้ประกอบการในประเทศต่างๆ เช่น เยอรมนี แคนาดา ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เริ่มมีการจัดทำรายงานประจำปีด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว โดยเฉพาะในสหรัฐฯ มีผู้ประกอบการในธุรกิจ 4 ประเภท คือ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ และเยื่อกระดาษ ได้มีการจัดทำรายงานตามมาตรฐานของ GRI แล้ว และคาดว่าอาจมีการนำมาตรฐาน GRI มาบังคับใช้กับประเทศคู่ค้าเร็วๆ นี้
มาตรการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าวล้วนส่งผลกระทบต่อการทำการค้าระหว่างประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากการปฏิบัติตามมาตรการเหล่านี้จะทำให้ผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าในอนาคตกฎระเบียบใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมจะถูกทยอยนำออกมาใช้อย่างต่อเนื่อง ภาครัฐและภาคเอกชนของไทยที่เกี่ยวข้องจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษากฎระเบียบเหล่านี้และเตรียมปรับการผลิตให้สอดคล้องกับมาตรการที่ประเทศผู้นำเข้ากำหนด ซึ่งนอกจากเป็นการรักษาตลาดส่งออกแล้ว การปรับมาตรฐานการผลิตดังกล่าวและนำมาใช้กับสินค้าที่จำหน่ายในประเทศจะเป็นผลดีต่อทั้งผู้บริโภคคนไทยและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของประเทศอีกด้วย อันเป็นการยกระดับมาตรฐานการดำรงชีวิตของคนไทยให้ทัดเทียมประเทศพัฒนาแล้วในระยะยาว
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มกราคม 2545--
-อน-