แท็ก
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
สาธารณรัฐประชาชนจีน
จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดเชียงราย
หอการค้าไทย
ไอร์แลนด์
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ร่วมกับหอการค้าไทย คณะกรรมการหอการค้าจังหวัด เขต 9-10 เพื่อโครงการ สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ และสถานกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำจังหวัดเชียงใหม่ จะจัดการสัมมนาเรื่อง " เปิดประตูการค้าสู่ยูนนาน " ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2545 ณ โรงแรมดุสิต ไอร์แลนด์ จังหวัดเชียงราย เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความคืบหน้าเกี่ยวกับโอกาสและปัญหาในการขยายการค้าและการลงทุนกับจีน ภายหลังจากที่จีนได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) และการที่จีนและอาเซียนได้เห็นชอบร่วมกันให้เริ่มกระบวนการเจรจา เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้นระหว่างกัน
การสัมมนาประกอบด้วยการอภิปรายในภาคเช้าเรื่อง " นโยบายและลู่ทางการค้ากับยูนนาน" โดยวิทยากรที่จะร่วมอภิปราย คือ อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กงสุลใหญ่จีนประจำจังหวัดเชียงใหม่ รองเลขาธิการคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซีพี ส่วนการอภิปรายในภาคบ่ายเรื่อง " กลยุทธ์การเจาะตลาดยูนนาน" วิทยากรที่จะร่วมอภิปราย ประกอบด้วยผู้แทนจากภาคเอกชนที่มีประสบการณ์ค้าขายกับจีน และกงสุลฝ่ายการพณิชย์ของไทย ณ นครคุนหมิง
การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน และการเริ่มกระบวนการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับจีน จะเป็นกลไกสำคัญในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับจีน ในลักษณะของการร่วมมือกันมากกว่าที่จะ แข่งขันกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะไทยจะได้รับประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางการค้าและ การลงทุนในภูมิภาค และจากนโยบายที่เปิดกว้างในการรองรับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยดึงดูดการค้าและการลงทุนเข้ามาได้มากกว่าหลายๆประเทศในภูมิภาค
การจัดสัมมนาครั้งนี้จะเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลและข้อคิดเห็นจากการสัมมนาจะเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประกอบการตัดสินใจติดต่อ ค้าขาย รวมทั้งขยายการลงทุนกับจีน ภายหลังที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO และก้าวต่อไปที่อาเซียนกับจีนจะจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ขณะเดียวกัน กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์จะนำข้อมูลและข้อคิดเห็นจากที่ประชุมสัมมนามาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางการเจรจาในเวทีการค้าระหว่างประเทศต่อไป
ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามและสมัครเข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ ที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ สำนักวิจัยเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ โทร 02 2826171-9, 2826183, 2826182 ในระหว่างเวลาทำงาน (8.30-17.00 น.) รายละเอียดกำหนดการสัมมนาตามเอกสารแนบ
รับจำนวนจำกัด และไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมสัมมนา
สรุปสถานการณ์การค้าระหว่างไทย-จีน และไทย-ยูนนาน
ปัจจุบันไทยและจีนมีความร่วมมือและประชุมหารือทางการค้าระหว่างกันอย่างใกล้ชิด ทั้งในกรอบ WTO, APEC, ASEAN, GMS และกรอบทวิภาคี โดยการค้าสองฝ่ายมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และในปี 2544 จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ ที่ 5 ของไทย การส่งออกไปจีนมีมูลค่าประมาณปีละ 120,000 ล้านบาท และในด้านการนำเข้า จีนเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 3 ของไทย การนำเข้าจากจีนมีมูลค่าประมาณปีละ 150,000 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า
สินค้าออกสำคัญของไทยไปจีน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก ยางพารา ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เคมีภัณฑ์ ข้าว และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น และสินค้าเข้าสำคัญของไทยจากจีน ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผ้าผืน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น สถิติการค้าสองฝ่ายดังตารางแนบที่ 1-3
ทั้งนี้ การค้าระหว่างไทยกับยูนนาน (จีนตอนใต้) ซึ่งเป็นการค้าผ่านแดน ณ ด่านศุลกากรเชียงแสน จังหวัดเชียงราย คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1 ของมูลค่าการค้าที่ไทยค้ากับจีน โดยในปี 2544 มีมูลค่าประมาณ 2,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 1 เท่าตัวจากปีก่อนหน้า แยกเป็นการส่งออกไปยูนนาน ประมาณ 1,700 ล้านบาท และการนำเข้าจากยูนนาน ประมาณ 400 ล้านบาท
สินค้าออกสำคัญของไทยไปยูนนาน ได้แก่ ลำไยอบแห้ง ยางรถบรรทุก ไก่แช่แข็ง น้ำมันพืช เงาะกระป๋อง ตะพาบน้ำ น้ำอัดลม ขนม ยารักษาโรค ผงชูรส และรองเท้าแตะ เป็นต้น และสินค้าเข้าสำคัญของไทยจากยูนนาน ได้แก่ แอปเปิ้ล สาลี่ เมล็ดทานตะวัน พริกชี้ฟ้า บ๊วย เครื่องปั๊มอากาศตู้ปลา เครื่องเล่นซีวีดี อุปกรณ์ทอผ้า ผ้าทอ เสื้อสำเร็จรูป และด้ายดิบ เป็นต้น
เจ้าหน้าที่ประสานงาน: สินาด โทร 02 2826171-9 ต่อ 1335/ปานจิตต์ ต่อ 3130
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
การสัมมนาประกอบด้วยการอภิปรายในภาคเช้าเรื่อง " นโยบายและลู่ทางการค้ากับยูนนาน" โดยวิทยากรที่จะร่วมอภิปราย คือ อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กงสุลใหญ่จีนประจำจังหวัดเชียงใหม่ รองเลขาธิการคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซีพี ส่วนการอภิปรายในภาคบ่ายเรื่อง " กลยุทธ์การเจาะตลาดยูนนาน" วิทยากรที่จะร่วมอภิปราย ประกอบด้วยผู้แทนจากภาคเอกชนที่มีประสบการณ์ค้าขายกับจีน และกงสุลฝ่ายการพณิชย์ของไทย ณ นครคุนหมิง
การเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน และการเริ่มกระบวนการเจรจาจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับจีน จะเป็นกลไกสำคัญในการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับจีน ในลักษณะของการร่วมมือกันมากกว่าที่จะ แข่งขันกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะไทยจะได้รับประโยชน์จากการเป็นศูนย์กลางการค้าและ การลงทุนในภูมิภาค และจากนโยบายที่เปิดกว้างในการรองรับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยดึงดูดการค้าและการลงทุนเข้ามาได้มากกว่าหลายๆประเทศในภูมิภาค
การจัดสัมมนาครั้งนี้จะเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยข้อมูลและข้อคิดเห็นจากการสัมมนาจะเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชนและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องประกอบการตัดสินใจติดต่อ ค้าขาย รวมทั้งขยายการลงทุนกับจีน ภายหลังที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO และก้าวต่อไปที่อาเซียนกับจีนจะจัดตั้งเขตการค้าเสรีระหว่างกัน ขณะเดียวกัน กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์จะนำข้อมูลและข้อคิดเห็นจากที่ประชุมสัมมนามาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางการเจรจาในเวทีการค้าระหว่างประเทศต่อไป
ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามและสมัครเข้าร่วมการสัมมนาครั้งนี้ ที่กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ สำนักวิจัยเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ โทร 02 2826171-9, 2826183, 2826182 ในระหว่างเวลาทำงาน (8.30-17.00 น.) รายละเอียดกำหนดการสัมมนาตามเอกสารแนบ
รับจำนวนจำกัด และไม่เสียค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมสัมมนา
สรุปสถานการณ์การค้าระหว่างไทย-จีน และไทย-ยูนนาน
ปัจจุบันไทยและจีนมีความร่วมมือและประชุมหารือทางการค้าระหว่างกันอย่างใกล้ชิด ทั้งในกรอบ WTO, APEC, ASEAN, GMS และกรอบทวิภาคี โดยการค้าสองฝ่ายมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และในปี 2544 จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ ที่ 5 ของไทย การส่งออกไปจีนมีมูลค่าประมาณปีละ 120,000 ล้านบาท และในด้านการนำเข้า จีนเป็นแหล่งนำเข้าอันดับที่ 3 ของไทย การนำเข้าจากจีนมีมูลค่าประมาณปีละ 150,000 ล้านบาท โดยไทยเป็นฝ่ายขาดดุลการค้า
สินค้าออกสำคัญของไทยไปจีน ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เม็ดพลาสติก ยางพารา ก๊าซปิโตรเลียมเหลว เคมีภัณฑ์ ข้าว และกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น และสินค้าเข้าสำคัญของไทยจากจีน ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผ้าผืน เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น สถิติการค้าสองฝ่ายดังตารางแนบที่ 1-3
ทั้งนี้ การค้าระหว่างไทยกับยูนนาน (จีนตอนใต้) ซึ่งเป็นการค้าผ่านแดน ณ ด่านศุลกากรเชียงแสน จังหวัดเชียงราย คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 1 ของมูลค่าการค้าที่ไทยค้ากับจีน โดยในปี 2544 มีมูลค่าประมาณ 2,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 1 เท่าตัวจากปีก่อนหน้า แยกเป็นการส่งออกไปยูนนาน ประมาณ 1,700 ล้านบาท และการนำเข้าจากยูนนาน ประมาณ 400 ล้านบาท
สินค้าออกสำคัญของไทยไปยูนนาน ได้แก่ ลำไยอบแห้ง ยางรถบรรทุก ไก่แช่แข็ง น้ำมันพืช เงาะกระป๋อง ตะพาบน้ำ น้ำอัดลม ขนม ยารักษาโรค ผงชูรส และรองเท้าแตะ เป็นต้น และสินค้าเข้าสำคัญของไทยจากยูนนาน ได้แก่ แอปเปิ้ล สาลี่ เมล็ดทานตะวัน พริกชี้ฟ้า บ๊วย เครื่องปั๊มอากาศตู้ปลา เครื่องเล่นซีวีดี อุปกรณ์ทอผ้า ผ้าทอ เสื้อสำเร็จรูป และด้ายดิบ เป็นต้น
เจ้าหน้าที่ประสานงาน: สินาด โทร 02 2826171-9 ต่อ 1335/ปานจิตต์ ต่อ 3130
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-