แท็ก
รัฐมนตรี
กรุงเทพ--12 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ระหว่างวันที่ 2 - 3 พฤศจิกายน 2548 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี — เจ้าพระยา — แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ครั้งที่ 2 และการประชุมที่เกี่ยวเนื่อง โดยในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2548 จะเป็นการประชุมในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ และในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 จะเป็นการประชุมระดับผู้นำ หรือที่เรียกกันว่า ACMECS Summit ที่กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งจะมีผู้นำจากประเทศกัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม และไทย เข้าร่วมการประชุม
ภายหลังที่ประเทศไทยได้ริเริ่มแนวความคิดนี้เมื่อปี 2546 ในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ประเทศไทยได้ผลักดันให้มีการประชุมระดับผู้นำครั้งแรกที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งผู้นำประเทศสมาชิกได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) และเห็นชอบแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการและกิจกรรมความร่วมมือในสาขาต่างๆ
นับจากการประชุมสุดยอดที่พุกาม ความร่วมมือในกรอบ ACMECS ได้ดำเนินไปอย่างเป็นรูปธรรม มีการประชุมในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศจนถึงคณะทำงานในสาขาต่างๆ เพื่อเร่งรัดการดำเนินโครงการในกรอบให้มีความชัดเจน สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่
ปัจจุบัน กรอบความร่วมมือ ACMECS มีความคืบหน้าในหลายด้าน อาทิ โครงการ ACMECS Single Visa เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โครงการ Contract Farming ในสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านและสร้างแหล่งวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมของไทย การให้ทุนการศึกษาของไทยกับประเทศสมาชิก การค้าแบบหักบัญชี การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน การจัดตั้ง ACMECS Business Council และการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมโดยเน้นการสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางในกรอบความร่วมมืออื่นๆ เพื่อเป็นการเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายให้การพัฒนาเส้นทางในภูมิภาคมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
การประชุมระดับผู้นำในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ของกรอบความร่วมมือ ACMECS จะมุ่งเน้นการติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือในสาขาต่างๆ และผลักดันประเด็นที่สืบเนื่องจากการประชุมที่ผ่านมา รวมทั้งพิจารณากิจกรรมความร่วมมือใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกัน และกำหนดแนวทางและกลไกความร่วมมือสำหรับอนาคต เพื่อให้กรอบความร่วมมือ ACMECS บรรลุเป้าประสงค์ในการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งร่วมกันสำหรับภูมิภาคนี้อย่างยั่งยืน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ระหว่างวันที่ 2 - 3 พฤศจิกายน 2548 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี — เจ้าพระยา — แม่โขง (Ayeyawady - Chao Phraya - Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) ครั้งที่ 2 และการประชุมที่เกี่ยวเนื่อง โดยในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2548 จะเป็นการประชุมในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ และในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 จะเป็นการประชุมระดับผู้นำ หรือที่เรียกกันว่า ACMECS Summit ที่กระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งจะมีผู้นำจากประเทศกัมพูชา พม่า ลาว เวียดนาม และไทย เข้าร่วมการประชุม
ภายหลังที่ประเทศไทยได้ริเริ่มแนวความคิดนี้เมื่อปี 2546 ในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อลดช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างกัน ประเทศไทยได้ผลักดันให้มีการประชุมระดับผู้นำครั้งแรกที่เมืองพุกาม สหภาพพม่า เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2546 ซึ่งผู้นำประเทศสมาชิกได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาพุกาม (Bagan Declaration) และเห็นชอบแผนปฏิบัติการ (Plan of Action) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินโครงการและกิจกรรมความร่วมมือในสาขาต่างๆ
นับจากการประชุมสุดยอดที่พุกาม ความร่วมมือในกรอบ ACMECS ได้ดำเนินไปอย่างเป็นรูปธรรม มีการประชุมในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศจนถึงคณะทำงานในสาขาต่างๆ เพื่อเร่งรัดการดำเนินโครงการในกรอบให้มีความชัดเจน สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่
ปัจจุบัน กรอบความร่วมมือ ACMECS มีความคืบหน้าในหลายด้าน อาทิ โครงการ ACMECS Single Visa เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โครงการ Contract Farming ในสาขาเกษตรและอุตสาหกรรมเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านและสร้างแหล่งวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมของไทย การให้ทุนการศึกษาของไทยกับประเทศสมาชิก การค้าแบบหักบัญชี การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมบริเวณชายแดน การจัดตั้ง ACMECS Business Council และการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมโดยเน้นการสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางในกรอบความร่วมมืออื่นๆ เพื่อเป็นการเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายให้การพัฒนาเส้นทางในภูมิภาคมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
การประชุมระดับผู้นำในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ของกรอบความร่วมมือ ACMECS จะมุ่งเน้นการติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือในสาขาต่างๆ และผลักดันประเด็นที่สืบเนื่องจากการประชุมที่ผ่านมา รวมทั้งพิจารณากิจกรรมความร่วมมือใหม่ที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกัน และกำหนดแนวทางและกลไกความร่วมมือสำหรับอนาคต เพื่อให้กรอบความร่วมมือ ACMECS บรรลุเป้าประสงค์ในการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งร่วมกันสำหรับภูมิภาคนี้อย่างยั่งยืน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-