แหล่งเงินทุนจากตลาดการเงิน/ตลาดทุนของภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์
* ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ระดมเงินทุนนอกเหนือจากธนาคารพาณิชย์ ด้วยการออกหุ้นสามัญ และหุ้นกู้ โดยการออกหลักทรัพย์ดังกล่าวเฉพาะของภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในปีนี้เพิ่มขึ้น 183.7 พันล้านบาท หุ้นสามัญที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มทุนของบริษัททีพีไอในการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 66 พันล้านบาท ส่วนหุ้นกู้ที่เพิ่มขึ้นได้แก่หุ้นกู้ของกลุ่มสื่อสารเป็นสำคัญ
* ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปรับตัวด้วยการกู้ยืมจากสถาบันการเงินอื่น และบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ โดยแหล่งเงินกู้ในประเภทนี้ที่สำคัญ ได้แก่ ธุรกิจ Leasing & Factoring ซึ่งภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้เป็นทุนหมุนเวียนระยะสั้น ในปี 2544 ธุรกิจ Leasing & Factoring ดังกล่าวมีการขยายตัวในระดับสูง นอกจากนี้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังได้กู้เงินเพิ่มขึ้นจากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) ถึง 2.2 พันล้านบาท ในปี 2544 เทียบกับปีก่อนที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.61 พันล้านบาท เท่านั้น
* ภาคครัวเรือนได้มีการกู้ยืมจากบริษัทที่ให้สินเชื่อเช่น อิออนฯ และจีอีแคปปิตอล เพื่อใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค
ภาวะตลาดรองตลาดตราสารหนี้
ในปี 2544 การซื้อขายตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 1,592,219.33 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 17.3 การซื้อขายตราสารหนี้ชะลอตัวลง ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 โดยยอดการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 8,072 ล้านบาทในไตรมาสที่ 1 เป็น 6,457 และ 5,411 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 4 การซื้อขายในตลาดรองได้เพิ่มขึ้นจาก 2 ไตรมาสก่อน โดยเฉพาะภายหลังจากการเกิดเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนกันยายน ซึ่งทำให้ยอด การซื้อขายเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นเป็น 5,964 ล้านบาทต่อวัน ทั้งนี้ เนื่องจากการคาดการณ์ว่าประเทศต่างๆ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ของตน นักลงทุนจึงหันมาลงทุนในตราสารหนี้ เพิ่มมากขึ้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในช่วงไตรมาสที่ 2 ปรับตัวสูงขึ้นทุกช่วงอายุ กล่าวคือ อัตราผลตอบแทนระยะสั้น 1-3 ปี ระยะกลาง 5-7 ปี และ ระยะยาว 10ปี ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ถึง 153 basis points (bps) 127 bps และ 104 bps ตามลำดับ เป็น ร้อยละ 3.49-4.44 ร้อยละ 4.92-5.43 และร้อยละ 6.1 ต่อปี ทั้งนี้เนื่องจาก (1) ความกังวลเกี่ยวกับอุปทานพันธบัตรภาครัฐที่จะออกในปี 2545 และ (2) การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในเดือน มิถุนายน 2544 อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาสที่ 4 อัตราผลตอบแทนระยะสั้น กลาง และยาว ได้ปรับตัวลดลง เป็นร้อยละ 2.49-2.79 ร้อยละ 3.37-3.97 และร้อย 4.84 เนื่องจาก (1) การประกาศเลื่อนการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยความสียหายให้แก่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (2) การประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (3) การประกาศลดอัตราดอกเบี้ย Fed fund rate
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
* ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้ระดมเงินทุนนอกเหนือจากธนาคารพาณิชย์ ด้วยการออกหุ้นสามัญ และหุ้นกู้ โดยการออกหลักทรัพย์ดังกล่าวเฉพาะของภาคธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในปีนี้เพิ่มขึ้น 183.7 พันล้านบาท หุ้นสามัญที่เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มทุนของบริษัททีพีไอในการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 66 พันล้านบาท ส่วนหุ้นกู้ที่เพิ่มขึ้นได้แก่หุ้นกู้ของกลุ่มสื่อสารเป็นสำคัญ
* ภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปรับตัวด้วยการกู้ยืมจากสถาบันการเงินอื่น และบริษัทที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ โดยแหล่งเงินกู้ในประเภทนี้ที่สำคัญ ได้แก่ ธุรกิจ Leasing & Factoring ซึ่งภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใช้เป็นทุนหมุนเวียนระยะสั้น ในปี 2544 ธุรกิจ Leasing & Factoring ดังกล่าวมีการขยายตัวในระดับสูง นอกจากนี้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมยังได้กู้เงินเพิ่มขึ้นจากบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) ถึง 2.2 พันล้านบาท ในปี 2544 เทียบกับปีก่อนที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.61 พันล้านบาท เท่านั้น
* ภาคครัวเรือนได้มีการกู้ยืมจากบริษัทที่ให้สินเชื่อเช่น อิออนฯ และจีอีแคปปิตอล เพื่อใช้จ่ายในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค
ภาวะตลาดรองตลาดตราสารหนี้
ในปี 2544 การซื้อขายตราสารหนี้มีมูลค่าทั้งสิ้น 1,592,219.33 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 17.3 การซื้อขายตราสารหนี้ชะลอตัวลง ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 โดยยอดการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันลดลงจาก 8,072 ล้านบาทในไตรมาสที่ 1 เป็น 6,457 และ 5,411 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 และ 3 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามในไตรมาสที่ 4 การซื้อขายในตลาดรองได้เพิ่มขึ้นจาก 2 ไตรมาสก่อน โดยเฉพาะภายหลังจากการเกิดเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนกันยายน ซึ่งทำให้ยอด การซื้อขายเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นเป็น 5,964 ล้านบาทต่อวัน ทั้งนี้ เนื่องจากการคาดการณ์ว่าประเทศต่างๆ จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ของตน นักลงทุนจึงหันมาลงทุนในตราสารหนี้ เพิ่มมากขึ้น
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในช่วงไตรมาสที่ 2 ปรับตัวสูงขึ้นทุกช่วงอายุ กล่าวคือ อัตราผลตอบแทนระยะสั้น 1-3 ปี ระยะกลาง 5-7 ปี และ ระยะยาว 10ปี ปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ถึง 153 basis points (bps) 127 bps และ 104 bps ตามลำดับ เป็น ร้อยละ 3.49-4.44 ร้อยละ 4.92-5.43 และร้อยละ 6.1 ต่อปี ทั้งนี้เนื่องจาก (1) ความกังวลเกี่ยวกับอุปทานพันธบัตรภาครัฐที่จะออกในปี 2545 และ (2) การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นในเดือน มิถุนายน 2544 อย่างไรก็ตามในช่วงไตรมาสที่ 4 อัตราผลตอบแทนระยะสั้น กลาง และยาว ได้ปรับตัวลดลง เป็นร้อยละ 2.49-2.79 ร้อยละ 3.37-3.97 และร้อย 4.84 เนื่องจาก (1) การประกาศเลื่อนการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อชดเชยความสียหายให้แก่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (2) การประกาศลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (3) การประกาศลดอัตราดอกเบี้ย Fed fund rate
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-