กรุงเทพฯ--8 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวานนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2545) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีอดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ลงนามในสัญญาขายที่ดินและอาคารเอกอัครราชทูตฯ จำนวน 2 แห่ง ว่า
1. สืบเนื่องจากคดีที่นาย J. Rakker เอกอัครราชทูตชานเนเธอร์แลนด์ได้ยื่นฟ้อง รัฐบาลไทยและฟ้องอดีตเอกอัครราชทูตปรัชญาทวี (สุเสรี) ตะเวทิกุล ต่อศาลเนเธอร์แลนด์เรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารสถานทูตฯ จำนวน 2 แห่งซึ่งตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารทั้งสอง อดีตเอกอัตรราชทูตฯ ได้ลงนามโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลไทย นั้น บัดนี้กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากทนายความของไทยว่า ศาลชั้นต้นของเนเธอร์แลนด์ได้มีคำวินิจฉัยในเบื้องต้นแล้วเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2545 ว่า รัฐบาลไทยไม่มีความคุ้มกันของรัฐ (State immunity) จากอำนาจศาลเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากธุรกรรมที่ฟ้องร้องเป็นธุรกรรมในเชิงพาณิชย์กับเอกชน (commercial nature) ไม่ใช่ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของรัฐบาลต่างประเทศโดยเฉพาะ และอดีตเอกอัครราชทูตฯ ก็ไม่ได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลเนเธอร์แลนด์ด้วยเช่นกัน
2. กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนชี้แจงให้ทราบดังต่อไปนี้
2.1 โดยที่กฎหมายระหว่างประเทศและแนวปฏิบัติระหว่างประเทศในเรื่องความคุ้มกันของรัฐ (State immunity) ยังไม่มีความชัดเจน และแต่ละประเทสก็มีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในของประเทศนั้นๆ ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในกรณีนี้ที่เอกชนได้ฟ้องร้องรัฐบาลไทยและอดีตเอกอัครราชทูตฯ เป็นจำเลยต่อศาลเนเธอร์แลนด์เพื่อให้ปฏิบัติตาม "สัญญาซื้อขาย" ที่โจทก์อ้าง จึงได้ยกประเด็นเรื่องความคุ้มกันของรัฐขึ้นต่อสู้ในศาลเนเธอร์แลนด์ เพื่อให้วินิจฉัยในเบื้องต้นว่า รัฐบาลไทยมีความคุ้มกันของรัฐในกรณีนี้หรือไม่ หรือกล่าวอีกประเด็นหนึ่งคือ ศาลเนเธอร์แลนด์จะมีเขตอำนาจ (jurisdiction) ในการพิจารณาคดีระหว่างเอกชนของคนชาติเนเธอร์แลนด์กับรัฐบาลไทยหรือไม่
2.2 คำวินิจฉัยของศาลฯ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2545 ยังไม่ได้พิจารณาถึง สารัตถะ (merits) ของคดีแต่อย่างใด ดังนั้น ในชั้นนี้ จึงยังไม่สามารถถือได้ว่า ฝ่ายใดเป็นผู้ชนะคดีสำหรับขั้นตอนการดำเนินการต่อไปคือ รัฐบาลไทยจะต่อสู้ใสสารัตถะของคดีในประเด็นความสมบูรณ์แห่งสัญญา การกระทำโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ และกลฉ้อฉลต่อไป โดยยื่นคำโต้แย้งในประเด็นดังกล่าวต่อศาลเนเธอร์แลนด์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2545 และสามารถขยายระยะเวลาเพิ่มเติมได้จนถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2545
ทั้งนี้ ในการดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ รัฐบาลไทยจะดำเนินการทุกวิถีทางในแง่คดีความ โดยคำนึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการ
2.3 ในส่วนที่เกี่ยวกับอดีตเอกอัครราชทูต ฯ ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนการดำเนินการดังนี้ คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรง จึงให้ลงโทษไล่ออกจากราชการ โดยกรมสารนิเทศได้เคยแจ้งให้ทราบแล้วตามข่าวสารนิเทศที่ 288/2544 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2544
นอกจากการดำเนินการข้างต้น กระทรวงการต่างประเทศได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทางละเมิดเมื่อพิจารณาเรียกค่าเสียหายที่รัฐบาลไทยได้รับจากผู้รับผิดชอบตามกฎหมายต่อไปด้วย
ในส่วนที่เกี่ยวกับกับคดีซึ่งอดีตเอกอัครราชทูตฯ ถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลเนเธอร์แลนด์ นั้น กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ดำเนินการสละความคุ้มกันทางการทูตเพื่อให้อดีตเอกอัครราชทูตฯ สามารถไม่ต่อสู้คดีในศาลเนเธอร์แลนด์แล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-นห-
เมื่อวานนี้ (7 กุมภาพันธ์ 2545) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับกรณีอดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ลงนามในสัญญาขายที่ดินและอาคารเอกอัครราชทูตฯ จำนวน 2 แห่ง ว่า
1. สืบเนื่องจากคดีที่นาย J. Rakker เอกอัครราชทูตชานเนเธอร์แลนด์ได้ยื่นฟ้อง รัฐบาลไทยและฟ้องอดีตเอกอัครราชทูตปรัชญาทวี (สุเสรี) ตะเวทิกุล ต่อศาลเนเธอร์แลนด์เรียกร้องให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารสถานทูตฯ จำนวน 2 แห่งซึ่งตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารทั้งสอง อดีตเอกอัตรราชทูตฯ ได้ลงนามโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลไทย นั้น บัดนี้กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากทนายความของไทยว่า ศาลชั้นต้นของเนเธอร์แลนด์ได้มีคำวินิจฉัยในเบื้องต้นแล้วเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2545 ว่า รัฐบาลไทยไม่มีความคุ้มกันของรัฐ (State immunity) จากอำนาจศาลเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากธุรกรรมที่ฟ้องร้องเป็นธุรกรรมในเชิงพาณิชย์กับเอกชน (commercial nature) ไม่ใช่ธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของรัฐบาลต่างประเทศโดยเฉพาะ และอดีตเอกอัครราชทูตฯ ก็ไม่ได้รับความคุ้มกันจากอำนาจศาลเนเธอร์แลนด์ด้วยเช่นกัน
2. กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนชี้แจงให้ทราบดังต่อไปนี้
2.1 โดยที่กฎหมายระหว่างประเทศและแนวปฏิบัติระหว่างประเทศในเรื่องความคุ้มกันของรัฐ (State immunity) ยังไม่มีความชัดเจน และแต่ละประเทสก็มีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับกฎหมายภายในของประเทศนั้นๆ ดังนั้น เพื่อความชัดเจนในกรณีนี้ที่เอกชนได้ฟ้องร้องรัฐบาลไทยและอดีตเอกอัครราชทูตฯ เป็นจำเลยต่อศาลเนเธอร์แลนด์เพื่อให้ปฏิบัติตาม "สัญญาซื้อขาย" ที่โจทก์อ้าง จึงได้ยกประเด็นเรื่องความคุ้มกันของรัฐขึ้นต่อสู้ในศาลเนเธอร์แลนด์ เพื่อให้วินิจฉัยในเบื้องต้นว่า รัฐบาลไทยมีความคุ้มกันของรัฐในกรณีนี้หรือไม่ หรือกล่าวอีกประเด็นหนึ่งคือ ศาลเนเธอร์แลนด์จะมีเขตอำนาจ (jurisdiction) ในการพิจารณาคดีระหว่างเอกชนของคนชาติเนเธอร์แลนด์กับรัฐบาลไทยหรือไม่
2.2 คำวินิจฉัยของศาลฯ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2545 ยังไม่ได้พิจารณาถึง สารัตถะ (merits) ของคดีแต่อย่างใด ดังนั้น ในชั้นนี้ จึงยังไม่สามารถถือได้ว่า ฝ่ายใดเป็นผู้ชนะคดีสำหรับขั้นตอนการดำเนินการต่อไปคือ รัฐบาลไทยจะต่อสู้ใสสารัตถะของคดีในประเด็นความสมบูรณ์แห่งสัญญา การกระทำโดยไม่ได้รับมอบอำนาจ และกลฉ้อฉลต่อไป โดยยื่นคำโต้แย้งในประเด็นดังกล่าวต่อศาลเนเธอร์แลนด์ได้ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2545 และสามารถขยายระยะเวลาเพิ่มเติมได้จนถึงวันที่ 11 มิถุนายน 2545
ทั้งนี้ ในการดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ รัฐบาลไทยจะดำเนินการทุกวิถีทางในแง่คดีความ โดยคำนึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการ
2.3 ในส่วนที่เกี่ยวกับอดีตเอกอัครราชทูต ฯ ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนการดำเนินการดังนี้ คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงปฏิบัติหน้าที่โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการอันเป็นเหตุให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรง จึงให้ลงโทษไล่ออกจากราชการ โดยกรมสารนิเทศได้เคยแจ้งให้ทราบแล้วตามข่าวสารนิเทศที่ 288/2544 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2544
นอกจากการดำเนินการข้างต้น กระทรวงการต่างประเทศได้ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทางละเมิดเมื่อพิจารณาเรียกค่าเสียหายที่รัฐบาลไทยได้รับจากผู้รับผิดชอบตามกฎหมายต่อไปด้วย
ในส่วนที่เกี่ยวกับกับคดีซึ่งอดีตเอกอัครราชทูตฯ ถูกฟ้องเป็นจำเลยในศาลเนเธอร์แลนด์ นั้น กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ดำเนินการสละความคุ้มกันทางการทูตเพื่อให้อดีตเอกอัครราชทูตฯ สามารถไม่ต่อสู้คดีในศาลเนเธอร์แลนด์แล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-นห-