เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2544 ปรับตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 3.7 จากปีก่อนซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.3 เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญคือ การใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากปีก่อน พิจารณาจาก ยอดจำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม มูลค่าการซื้อขายที่ดิน การจดทะเบียนธุรกิจตั้งใหม่ ตลอดจนปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคฯ เพิ่มขึ้น (ทั้งหมวดที่อยู่อาศัย และหมวดธุรกิจและอุตสาหกรรม) นอกจากนี้ การเกินดุลการค้าชายแดนไทย-ลาว การให้สินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (ธ.ก.ส. บรรษัทฯ และ บอย.) ขยายตัว ประกอบกับ เงินโอนของแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาเพิ่มขึ้นจากปีก่อน รวมทั้งภาครัฐยังคงใช้นโยบายการขาดดุลงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
สำหรับปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ สถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจรายใหม่ และปัญหาการว่างงานยังมีอยู่สูง
การผลิตภาคการเกษตร ผลผลิตโดยรวมของภาคฯ ทรงตัวจากปีก่อน โดยผลผลิตข้าว และมันสำปะหลัง ลดลง ขณะที่ผลผลิตอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น ด้านราคาผลผลิตที่สำคัญในภาคฯส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า 10 % อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนมันสำปะหลังราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
การผลิตนอกภาคการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.6 เนื่องจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยปริมาณการซื้อขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.5 และร้อยละ 22.9 ตามลำดับ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 มูลค่าการซื้อ-ขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าในธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมทั้งยอดการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่จำนวนรายและจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 และร้อยละ 9.0 ตามลำดับ
ภาคการก่อสร้าง ทรงตัวจากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยซึ่งยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น รวมทั้งแรงจูงใจจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำ ทั้งนี้เป็นความต้องการที่อยู่อาศัยของกลุ่มข้าราชการและครอบครัวของแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศเป็นสำคัญ ส่วนการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ยังไม่กระเตื้อง สำหรับการก่อสร้างภาครัฐชะลอตัวลง เนื่องจากการตัดงบประมาณด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯลดลงจากปีก่อนร้อยละ 15.4
อัตราเงินเฟ้อ วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปปีนี้ สูงขึ้นร้อยละ 1.2 เป็นผลจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.0 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.1
ภาคการเงิน ณ สิ้นปี 2544 ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มียอดเงินฝากคงค้าง 251,636.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.4 เนื่องจากผู้ฝากเงินยังคงมีความมั่นใจในการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มากกว่าการลงทุนในด้านอื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้าง 178,232.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.5 อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 80.8 ในปีก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 70.8 ในปีนี้
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.0 ร้อยละ 1.3 ร้อยละ 3.9 และร้อยละ 301.2 ตามลำดับ
สำหรับเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯของปีนี้ มีปริมาณเงินโอนกลับทั้งสิ้น 34,658.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่เงินบาทอ่อนค่าลง
ด้านการจ้างงาน ในปีนี้มีความต้องการแรงงานในภาคฯ 72,954 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 จากปีก่อน โดยมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 13,843 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 สำหรับแรงงานที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศมี 110,325 คน ลดลงร้อยละ 10.5 จากปีก่อน ทั้งนี้เป็นแรงงานจากจังหวัดอุดรธานีมากที่สุด รองลงมาคือ นครราชสีมา และขอนแก่น ตามลำดับ
ภาคการคลัง ในปีนี้รัฐบาลจัดเก็บรายได้ 13,563.8 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.4 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากและภาษีสุราลดลงเป็นสำคัญ ด้านรายจ่าย 153,716.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินหมวดอุดหนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เงินในงบประมาณขาดดุล 140,152.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.8
การค้าชายแดนไทย-ลาว มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวปีนี้ 18,480.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.8 โดยเป็นการส่งออก 14,589.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า และวัสดุก่อสร้าง และเป็นการนำเข้า 3,891.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 สินค้านำเข้าที่สำคัญคือไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาวถึง 10,698.2 ล้านบาท
แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2545 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจในภาคฯ จะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน โดย :-
ภาคการเกษตรจะขยายตัวเล็กน้อย เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรโดยรวมจะดีขึ้น จากการที่รัฐบาลมีมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการผลิตและการตลาด เช่น มาตรการการรับจำนำข้าว และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ความต้องการใช้มันสำปะหลังของทั้งในและต่างประเทศยังมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ราคามันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านการลงทุนภาคเอกชนจะทรงตัว เนื่องจากนักลงทุนยังรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมที่ยังมีลู่ทางที่ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งวัตถุดิบทางการเกษตรที่สำคัญ มีแรงงานฝีมือจำนวนมาก และภาครัฐมีนโยบายการสนับสนุนการลงทุนในภูมิภาคที่ชัดเจน นอกจากนี้ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ยังมีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของบริษัทรถยนต์รายใหญ่ที่มาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย
สำหรับแนวโน้มการค้าชายแดนไทย-ลาว ปี 2545 คาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ และน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอัตราการขยายตัวสูงในปี 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกไทยอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่สูงขึ้น เช่น สิงคโปร์ เวียดนาม ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าผ่านแดนไทยเข้าไปลาว ในสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าและวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ขณะที่การนำเข้าสินค้าจาก สปป.ลาว มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นภายหลังคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักเกณฑ์และรายการสินค้าที่จะให้สิทธิประโยชน์ทางศุลกากร (GSP) แก่ สปป.ลาว จำนวน 24 รายการ เช่น กระวาน ถั่วลิสง ไม้จำพวกสน ไม้อัดพลายวูด เมล็ดละหุ่ง หนังสัตว์ และปอกระเจา โดยลดอากรขาเข้าให้เหลือร้อยละ 0-5 เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอีกหลายประการ ได้แก่ การเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในภาค อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจมีแนวโน้มดีขึ้น รวมทั้งภาครัฐมีนโยบายกระตุ้นการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-
สำหรับปัจจัยที่ยังน่าเป็นห่วง ได้แก่ สถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อแก่ธุรกิจรายใหม่ และปัญหาการว่างงานยังมีอยู่สูง
การผลิตภาคการเกษตร ผลผลิตโดยรวมของภาคฯ ทรงตัวจากปีก่อน โดยผลผลิตข้าว และมันสำปะหลัง ลดลง ขณะที่ผลผลิตอ้อยโรงงานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพิ่มขึ้น ด้านราคาผลผลิตที่สำคัญในภาคฯส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า 10 % อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่วนมันสำปะหลังราคาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
การผลิตนอกภาคการเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.6 เนื่องจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน โดยปริมาณการซื้อขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.5 และร้อยละ 22.9 ตามลำดับ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.4 มูลค่าการซื้อ-ขายที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งการใช้ไฟฟ้าเพื่อที่อยู่อาศัยและการใช้ไฟฟ้าในธุรกิจและอุตสาหกรรม รวมทั้งยอดการจดทะเบียนธุรกิจประกอบกิจการใหม่จำนวนรายและจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 และร้อยละ 9.0 ตามลำดับ
ภาคการก่อสร้าง ทรงตัวจากปีก่อน ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยซึ่งยังมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง โดยสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น รวมทั้งแรงจูงใจจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต่ำ ทั้งนี้เป็นความต้องการที่อยู่อาศัยของกลุ่มข้าราชการและครอบครัวของแรงงานที่เดินทางไปทำงานต่างประเทศเป็นสำคัญ ส่วนการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ยังไม่กระเตื้อง สำหรับการก่อสร้างภาครัฐชะลอตัวลง เนื่องจากการตัดงบประมาณด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในภาคฯลดลงจากปีก่อนร้อยละ 15.4
อัตราเงินเฟ้อ วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปปีนี้ สูงขึ้นร้อยละ 1.2 เป็นผลจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่น ๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.0 ขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.1
ภาคการเงิน ณ สิ้นปี 2544 ธนาคารพาณิชย์ในภาคฯ มียอดเงินฝากคงค้าง 251,636.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.4 เนื่องจากผู้ฝากเงินยังคงมีความมั่นใจในการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์มากกว่าการลงทุนในด้านอื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า ขณะที่ยอดสินเชื่อคงค้าง 178,232.5 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 8.5 อัตราส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากลดลงจากร้อยละ 80.8 ในปีก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 70.8 ในปีนี้
สถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยมีการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 7.0 ร้อยละ 1.3 ร้อยละ 3.9 และร้อยละ 301.2 ตามลำดับ
สำหรับเงินโอนจากแรงงานไทยในต่างประเทศกลับภูมิลำเนาในภาคฯของปีนี้ มีปริมาณเงินโอนกลับทั้งสิ้น 34,658.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่เงินบาทอ่อนค่าลง
ด้านการจ้างงาน ในปีนี้มีความต้องการแรงงานในภาคฯ 72,954 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 จากปีก่อน โดยมีผู้ได้รับการบรรจุงาน 13,843 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 สำหรับแรงงานที่เดินทางไปทำงานในต่างประเทศมี 110,325 คน ลดลงร้อยละ 10.5 จากปีก่อน ทั้งนี้เป็นแรงงานจากจังหวัดอุดรธานีมากที่สุด รองลงมาคือ นครราชสีมา และขอนแก่น ตามลำดับ
ภาคการคลัง ในปีนี้รัฐบาลจัดเก็บรายได้ 13,563.8 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.4 เนื่องจากการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากและภาษีสุราลดลงเป็นสำคัญ ด้านรายจ่าย 153,716.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินหมวดอุดหนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำให้เงินในงบประมาณขาดดุล 140,152.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.8
การค้าชายแดนไทย-ลาว มูลค่าการค้าชายแดนไทย-ลาวปีนี้ 18,480.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 6.8 โดยเป็นการส่งออก 14,589.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภคในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า และวัสดุก่อสร้าง และเป็นการนำเข้า 3,891.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 สินค้านำเข้าที่สำคัญคือไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ไทยยังคงเกินดุลการค้าลาวถึง 10,698.2 ล้านบาท
แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2545 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจในภาคฯ จะปรับตัวดีขึ้นจากปีก่อน โดย :-
ภาคการเกษตรจะขยายตัวเล็กน้อย เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรโดยรวมจะดีขึ้น จากการที่รัฐบาลมีมาตรการให้ความช่วยเหลือด้านการผลิตและการตลาด เช่น มาตรการการรับจำนำข้าว และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะมีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น นอกจากนี้ความต้องการใช้มันสำปะหลังของทั้งในและต่างประเทศยังมีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ราคามันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ดี ด้านการลงทุนภาคเอกชนจะทรงตัว เนื่องจากนักลงทุนยังรอดูสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจของโลกที่ชะลอตัวลง โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของประเทศ สำหรับอุตสาหกรรมที่ยังมีลู่ทางที่ดี ได้แก่ อุตสาหกรรมเกษตรและแปรรูปผลิตผลทางการเกษตร และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งวัตถุดิบทางการเกษตรที่สำคัญ มีแรงงานฝีมือจำนวนมาก และภาครัฐมีนโยบายการสนับสนุนการลงทุนในภูมิภาคที่ชัดเจน นอกจากนี้ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ยังมีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะในจังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการของบริษัทรถยนต์รายใหญ่ที่มาตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย
สำหรับแนวโน้มการค้าชายแดนไทย-ลาว ปี 2545 คาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องโดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ และน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอัตราการขยายตัวสูงในปี 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกไทยอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่สูงขึ้น เช่น สิงคโปร์ เวียดนาม ฯลฯ ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าผ่านแดนไทยเข้าไปลาว ในสินค้าต่าง ๆ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าและวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ขณะที่การนำเข้าสินค้าจาก สปป.ลาว มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นภายหลังคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักเกณฑ์และรายการสินค้าที่จะให้สิทธิประโยชน์ทางศุลกากร (GSP) แก่ สปป.ลาว จำนวน 24 รายการ เช่น กระวาน ถั่วลิสง ไม้จำพวกสน ไม้อัดพลายวูด เมล็ดละหุ่ง หนังสัตว์ และปอกระเจา โดยลดอากรขาเข้าให้เหลือร้อยละ 0-5 เท่านั้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอีกหลายประการ ได้แก่ การเพิ่มการใช้จ่ายของภาครัฐในโครงการต่าง ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในภาค อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีแนวโน้มลดลง ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจมีแนวโน้มดีขึ้น รวมทั้งภาครัฐมีนโยบายกระตุ้นการฟื้นตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--
-ยก-