ภาวะปัจจุบัน
1. การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 มีจำนวน 1,207,208 ตัน โดยมีอัตราการ
เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.00 ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตลดลง
มากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบ ลดลงร้อยละ 94.64 ทั้งนี้เนื่องจากมีการนำเข้ามาจาก ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นปริมาณมาก รองลงมา
คือ ท่อเหล็ก ลดลงร้อยละ 25 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เช่น
เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต (Billet) และ เหล็กแท่งใหญ่ (Bloom) เป็นต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.19
สำหรับปริมาณการผลิตในปี 2544 มีจำนวน 5,622,283 ตัน โดยอัตราการเปลี่ยนแปลงมีทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ
12.91 ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตลดลงมากที่สุดคือ ท่อเหล็ก ลดลงร้อยละ 33.33 เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงมี
สต๊อกสินค้าคงเหลือค้างอยู่ รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบ ลดลงร้อยละ 27.77 ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิต
เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.71 เป็นผลมาจากการเริ่มฟื้นตัวของธุรกิจก่อสร้างโดยการผลักดันก่อให้เกิดโครงการใหญ่ๆ
จากภาครัฐบาล รองลงมาคือ เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.98
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
- ปริมาณการใช้
ปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 มีจำนวน 2,423,844 ตัน โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลง
ในทิศทางที่ลดลง คือ ร้อยละ 8.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับปริมาณความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้าโดยรวมในประเทศของปี 2544 มีจำนวน 10,887,294 ตัน โดยมีการ
เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ลดลงเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 2.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
2.2 ตลาดต่างประเทศ
2.2.1 การนำเข้า
ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2544 มีจำนวน 1,568,544 ตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 19,205
ล้านบาท อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยคือ ร้อยละ 1.44 แต่มูลค่าการนำเข้ามีทิศทางที่ลดลง คือ
ร้อยละ 30.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ผลิตเหล็กในแต่ละประเทศต่างๆ มีกำลังการผลิตเกินกว่าการบริโภคในประเทศ
ทำให้เกิดการทุ่มตลาดเหล็กส่วนเกินไปยังประเทศอื่นๆ โดยใช้วิธีลดราคาผลิตภัณฑ์ลง จึงมีผลให้ราคาในช่วงปีนี้ตกต่ำลงมาก ซึ่งเหล็ก
ที่นำเข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กที่ผลิตออกมาไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถขายในประเทศได้ จึงถูกส่งออกไปยังประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่ง
เหล็กประเภทนี้จะเป็นเหล็กที่ไม่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค
ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าลดลงมากที่สุด คือ เหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 38.55 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น
ลดลงร้อยละ 26.70 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นร้อยละ
153.92
สำหรับปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าของปี 2544 มีจำนวน 6,479,145 ตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 73,455 ล้านบาท
อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการนำเข้ามีทิศทางที่ลดลง คือ ร้อยละ 4.31 และ 32.40 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าลดลงมากที่สุด คือ เหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 33.26 เนื่องจากผู้บริโภค
หันมาใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงร้อยละ 24.78 เนื่องจากการชะลอตัวของ
อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กแผ่นรีดเย็นเป็นวัตถุดิบ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มี
อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.36 ทั้งนี้เป็นการนำเข้าเพื่อใช้เป็น
วัตถุดิบในการผลิตเหล็กทรงยาว ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย และเหล็กลวด รองลงมาคือท่อเหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.84 รองลงมาคือ
เหล็กแผ่นเคลือบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.42 แต่มูลค่าการนำเข้ากลับลดลงคือร้อยละ 0.01 เนื่องจากปัญหาปริมาณเหล็กล้นตลาดโลก ทำให้
เกิดการทุ่มตลาดเหล็กส่วนเกินไปยังประเทศที่ต้องนำเข้า ราคาผลิตภัณฑ์ในช่วงปีนี้จึงต่ำลง มีผลทำให้มูลค่าการนำเข้าลดลงด้วย รายละเอียด
ปรากฏตามตารางที่ 2
ตารางที่ 1 : ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าของปี 2544 เทียบกับปี 2543
หน่วย : ตัน
: บาท
ผลิตภัณฑ์ ปี 2544 ปี 2543 อัตราการ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 2,791,060 12,415,693,698 2,736,852 22,137,000,000 1.98 -43.91 รัสเซีย,ยูเครน
(Semi-Finished Products)
-เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต (Billet) 1,044,638 8,825,678,141 602,584 4,525,111,817 73.36 95.04 ยูเครน,จีน
-เหล็กแท่งแบน (Slab) 1,491,697 1,434,719,874 1,818,973 14,998,964,273 -17.99 -90.43 รัสเซีย,บราซิล
-อื่นๆ (Others) 254,725 2,155,295,683 315,295 2,612,923,910 -19.21 -17.51
เหล็กทรงยาว 417,738 6,356,025,405 625,922 16,009,000,000 -33.26 -60.30 ญี่ปุ่น,เกาหลี,ไต้หวัน
(Long Product))
เหล็กแผ่นรีดร้อน 2,077,292 21,953,452,095 2,074,998 32,267,000,000 0.11 -31.96 ญี่ปุ่น,อินเดีย
(Hot-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นรีดเย็น 501,923 12,892,296,194 667,269 17,523,000,000 -24.78 -26.43 ญี่ปุ่น,เกาหลี
(Cold-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นเคลือบ 555,565 14,144,891,404 542,437 14,146,000,000 2.42 -0.01 ญี่ปุ่น,เกาหลี
(Coated Steel Product)
ท่อเหล็ก (Pipe&Fitting) 135,567 5,692,545,641 123,427 6,575,000,000 9.84 -13.42 สหราชอาณาจักรญี่ปุ่น
รวม 6,479,145 73,454,904,437 6,770,945 108,657,000,000 -4.31 -32.40 ญี่ปุ่น,ยูเครนเกาหลี
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
2.2.2 การส่งออก
ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2544 มีจำนวน 351,908 ตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 5,590
ล้านบาท อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่ลดลง คือ ร้อยละ 24.95 และ 38.24 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแท่งเล็ก (Billet) และเหล็กแท่งแบน (Slab) ลดลง
ร้อยละ 100 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงร้อยละ 89.64 เนื่องจากการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกา
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น คือ เหล็กแผ่นเคลือบ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.03 จากการที่ผู้ผลิตต้องหันไป
เน้นตลาดส่งออกมากขึ้นเพื่อชดเชยกับความต้องการในประเทศที่ลดลง รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.26
สำหรับปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าของปี 2544 มีจำนวน 1,254,134 ตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 21,157 ล้านบาท
อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่ลดลง คือ ร้อยละ 41.07 และ 43.46 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยหดตัว รวมถึงปัญหาการทุ่มตลาด
จากต่างประเทศ ก่อให้เกิดการแข่งขันที่สูงทั้งทางด้านราคาและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการที่ประเทศคู่ค้าหลายรายเริ่มใช้มาตรการ
กีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) มากขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแท่งแบน (Slab) ลดลงร้อยละ 100
รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงร้อยละ 85.56 เนื่องมาจากผลกระทบจากการใช้มาตรการ 201 ของสหรัฐอเมริกา โดยมาตรการนี้
จะคุ้มครองอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ ทำให้ผู้ผลิตไทยสามารถส่งออกได้ในปริมาณที่จำกัด รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 3
3. สรุป
ภาวะอุตสาหกรรมเหล็กในช่วงปี 2544 อยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณการผลิตลดลง
ร้อยละ 12.91 ปริมาณการบริโภคในประเทศลดลงร้อยละ 2.31 ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 4.31 และ ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ
41.07 ทั้งนี้ล้วนเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และปัญหาการทุ่มตลาดอุตสาหกรรมเหล็กจากต่างประเทศ รวมถึงการประกาศ
ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดจากประเทศสหรัฐอเมริกา
4. แนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมเหล็กในปี 2545 คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่สำคัญ
มีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากการที่ภาครัฐบาลได้มีมาตรการต่างๆในการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น โครงการ ธอส.-กบข. เพื่อที่อยู่อาศัย
ข้าราชการ รวมทั้งยังได้มีการลงทุนก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และการคาดการณ์การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรม
ต่อเนื่องใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นด้วย รวมถึงการออกมาตรการปกป้องการทุ่มตลาดจากต่างประเทศ โดยการจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ
(Surcharge) ทำให้ผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศสามารถแข่งขันกับการนำเข้าได้ ประกอบกับการที่ผู้ผลิตในประเทศมีการพัฒนาทั้งทางด้านคุณภาพ
และมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องหันมาใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตภายในประเทศเป็นวัตถุดิบมากขึ้น
ตารางที่ 2 : ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าของปี 2544 เทียบกับปี 2543
หน่วย : ตัน
: บาท
ผลิตภัณฑ์ ปี 2544 ปี 2543 อัตราการ ตลาดส่งออกที่สำคัญ
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 9,768 89,682,692 33,191 271,000,000 -70.57 -66.91 จีน
(Semi-Finished Products)
-เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต (Billet) 5,478 44,429,665 25,331 191,820,882 -78.37 -76.84 จีน
-เหล็กแท่งแบน (Slab) - - 11 880,140 -100.00 -100.00 -
-อื่นๆ (Others) 4,290 45,253,027 7,849 78,298,978 -45.34 -42.20
เหล็กทรงยาว 339,022 3,344,987,964 613,719 8,567,000,000 -44.76 -60.95 กัมพูชา,ลาว
(Long Product)
เหล็กแผ่นรีดร้อน 68,286 689,055,932 472,845 5,348,000,000 -85.56 -87.12 สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย
(Hot-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นรีดเย็น 486,566 9,552,411,665 537,192 12,068,000,000 -9.42 -20.85 ฮ่องกง,เวียดนามอินโดนีเซีย
(Cold-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นเคลือบ 121,714 2,353,543,375 132,659 2,525,000,000 -8.25 -6.79 มาเลเซีย,เวียดนามฮ่องกง
(Coated Steel Product)
ท่อเหล็ก (Pipe&Fitting) 228,778 5,126,827,903 338,493 8,640,000,000 -32.41 -40.66 สหรัฐอเมริกา,ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย
รวม 1,254,134 21,156,509,531 2,128,099 37,419,000,000 -41.07 -43.46 ญี่ปุ่น,สหรัฐอเมริกา,ฮ่องกง
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
1. การผลิต
ปริมาณการผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 มีจำนวน 1,207,208 ตัน โดยมีอัตราการ
เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.00 ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตลดลง
มากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบ ลดลงร้อยละ 94.64 ทั้งนี้เนื่องจากมีการนำเข้ามาจาก ประเทศญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นปริมาณมาก รองลงมา
คือ ท่อเหล็ก ลดลงร้อยละ 25 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เช่น
เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต (Billet) และ เหล็กแท่งใหญ่ (Bloom) เป็นต้น เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.19
สำหรับปริมาณการผลิตในปี 2544 มีจำนวน 5,622,283 ตัน โดยอัตราการเปลี่ยนแปลงมีทิศทางที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ
12.91 ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิตลดลงมากที่สุดคือ ท่อเหล็ก ลดลงร้อยละ 33.33 เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงมี
สต๊อกสินค้าคงเหลือค้างอยู่ รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบ ลดลงร้อยละ 27.77 ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการผลิต
เพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.71 เป็นผลมาจากการเริ่มฟื้นตัวของธุรกิจก่อสร้างโดยการผลักดันก่อให้เกิดโครงการใหญ่ๆ
จากภาครัฐบาล รองลงมาคือ เหล็กลวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.98
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
- ปริมาณการใช้
ปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 มีจำนวน 2,423,844 ตัน โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลง
ในทิศทางที่ลดลง คือ ร้อยละ 8.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับปริมาณความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้าโดยรวมในประเทศของปี 2544 มีจำนวน 10,887,294 ตัน โดยมีการ
เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ลดลงเพียงเล็กน้อย ประมาณร้อยละ 2.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
2.2 ตลาดต่างประเทศ
2.2.1 การนำเข้า
ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2544 มีจำนวน 1,568,544 ตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 19,205
ล้านบาท อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยคือ ร้อยละ 1.44 แต่มูลค่าการนำเข้ามีทิศทางที่ลดลง คือ
ร้อยละ 30.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ผลิตเหล็กในแต่ละประเทศต่างๆ มีกำลังการผลิตเกินกว่าการบริโภคในประเทศ
ทำให้เกิดการทุ่มตลาดเหล็กส่วนเกินไปยังประเทศอื่นๆ โดยใช้วิธีลดราคาผลิตภัณฑ์ลง จึงมีผลให้ราคาในช่วงปีนี้ตกต่ำลงมาก ซึ่งเหล็ก
ที่นำเข้ามาส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กที่ผลิตออกมาไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถขายในประเทศได้ จึงถูกส่งออกไปยังประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่ง
เหล็กประเภทนี้จะเป็นเหล็กที่ไม่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค
ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าลดลงมากที่สุด คือ เหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 38.55 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น
ลดลงร้อยละ 26.70 สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นร้อยละ
153.92
สำหรับปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าของปี 2544 มีจำนวน 6,479,145 ตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 73,455 ล้านบาท
อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการนำเข้ามีทิศทางที่ลดลง คือ ร้อยละ 4.31 และ 32.40 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าลดลงมากที่สุด คือ เหล็กทรงยาว ลดลงร้อยละ 33.26 เนื่องจากผู้บริโภค
หันมาใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงร้อยละ 24.78 เนื่องจากการชะลอตัวของ
อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้เหล็กแผ่นรีดเย็นเป็นวัตถุดิบ เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มี
อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 73.36 ทั้งนี้เป็นการนำเข้าเพื่อใช้เป็น
วัตถุดิบในการผลิตเหล็กทรงยาว ได้แก่ เหล็กเส้นกลม เหล็กข้ออ้อย และเหล็กลวด รองลงมาคือท่อเหล็ก เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.84 รองลงมาคือ
เหล็กแผ่นเคลือบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.42 แต่มูลค่าการนำเข้ากลับลดลงคือร้อยละ 0.01 เนื่องจากปัญหาปริมาณเหล็กล้นตลาดโลก ทำให้
เกิดการทุ่มตลาดเหล็กส่วนเกินไปยังประเทศที่ต้องนำเข้า ราคาผลิตภัณฑ์ในช่วงปีนี้จึงต่ำลง มีผลทำให้มูลค่าการนำเข้าลดลงด้วย รายละเอียด
ปรากฏตามตารางที่ 2
ตารางที่ 1 : ปริมาณการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าของปี 2544 เทียบกับปี 2543
หน่วย : ตัน
: บาท
ผลิตภัณฑ์ ปี 2544 ปี 2543 อัตราการ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 2,791,060 12,415,693,698 2,736,852 22,137,000,000 1.98 -43.91 รัสเซีย,ยูเครน
(Semi-Finished Products)
-เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต (Billet) 1,044,638 8,825,678,141 602,584 4,525,111,817 73.36 95.04 ยูเครน,จีน
-เหล็กแท่งแบน (Slab) 1,491,697 1,434,719,874 1,818,973 14,998,964,273 -17.99 -90.43 รัสเซีย,บราซิล
-อื่นๆ (Others) 254,725 2,155,295,683 315,295 2,612,923,910 -19.21 -17.51
เหล็กทรงยาว 417,738 6,356,025,405 625,922 16,009,000,000 -33.26 -60.30 ญี่ปุ่น,เกาหลี,ไต้หวัน
(Long Product))
เหล็กแผ่นรีดร้อน 2,077,292 21,953,452,095 2,074,998 32,267,000,000 0.11 -31.96 ญี่ปุ่น,อินเดีย
(Hot-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นรีดเย็น 501,923 12,892,296,194 667,269 17,523,000,000 -24.78 -26.43 ญี่ปุ่น,เกาหลี
(Cold-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นเคลือบ 555,565 14,144,891,404 542,437 14,146,000,000 2.42 -0.01 ญี่ปุ่น,เกาหลี
(Coated Steel Product)
ท่อเหล็ก (Pipe&Fitting) 135,567 5,692,545,641 123,427 6,575,000,000 9.84 -13.42 สหราชอาณาจักรญี่ปุ่น
รวม 6,479,145 73,454,904,437 6,770,945 108,657,000,000 -4.31 -32.40 ญี่ปุ่น,ยูเครนเกาหลี
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
2.2.2 การส่งออก
ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2544 มีจำนวน 351,908 ตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 5,590
ล้านบาท อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่ลดลง คือ ร้อยละ 24.95 และ 38.24 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแท่งเล็ก (Billet) และเหล็กแท่งแบน (Slab) ลดลง
ร้อยละ 100 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงร้อยละ 89.64 เนื่องจากการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของประเทศสหรัฐอเมริกา
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น คือ เหล็กแผ่นเคลือบ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.03 จากการที่ผู้ผลิตต้องหันไป
เน้นตลาดส่งออกมากขึ้นเพื่อชดเชยกับความต้องการในประเทศที่ลดลง รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.26
สำหรับปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าของปี 2544 มีจำนวน 1,254,134 ตัน มูลค่าโดยรวมประมาณ 21,157 ล้านบาท
อัตราการเปลี่ยนแปลงของปริมาณและมูลค่าการส่งออกมีทิศทางที่ลดลง คือ ร้อยละ 41.07 และ 43.46 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยหดตัว รวมถึงปัญหาการทุ่มตลาด
จากต่างประเทศ ก่อให้เกิดการแข่งขันที่สูงทั้งทางด้านราคาและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการที่ประเทศคู่ค้าหลายรายเริ่มใช้มาตรการ
กีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTBs) มากขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแท่งแบน (Slab) ลดลงร้อยละ 100
รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงร้อยละ 85.56 เนื่องมาจากผลกระทบจากการใช้มาตรการ 201 ของสหรัฐอเมริกา โดยมาตรการนี้
จะคุ้มครองอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศ ทำให้ผู้ผลิตไทยสามารถส่งออกได้ในปริมาณที่จำกัด รายละเอียดปรากฏตามตารางที่ 3
3. สรุป
ภาวะอุตสาหกรรมเหล็กในช่วงปี 2544 อยู่ในเกณฑ์ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากปริมาณการผลิตลดลง
ร้อยละ 12.91 ปริมาณการบริโภคในประเทศลดลงร้อยละ 2.31 ปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 4.31 และ ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ
41.07 ทั้งนี้ล้วนเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และปัญหาการทุ่มตลาดอุตสาหกรรมเหล็กจากต่างประเทศ รวมถึงการประกาศ
ใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดจากประเทศสหรัฐอเมริกา
4. แนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมเหล็กในปี 2545 คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่สำคัญ
มีแนวโน้มที่ดีขึ้น จากการที่ภาครัฐบาลได้มีมาตรการต่างๆในการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น โครงการ ธอส.-กบข. เพื่อที่อยู่อาศัย
ข้าราชการ รวมทั้งยังได้มีการลงทุนก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และการคาดการณ์การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้อุตสาหกรรม
ต่อเนื่องใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นด้วย รวมถึงการออกมาตรการปกป้องการทุ่มตลาดจากต่างประเทศ โดยการจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ
(Surcharge) ทำให้ผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศสามารถแข่งขันกับการนำเข้าได้ ประกอบกับการที่ผู้ผลิตในประเทศมีการพัฒนาทั้งทางด้านคุณภาพ
และมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องหันมาใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตภายในประเทศเป็นวัตถุดิบมากขึ้น
ตารางที่ 2 : ปริมาณการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าของปี 2544 เทียบกับปี 2543
หน่วย : ตัน
: บาท
ผลิตภัณฑ์ ปี 2544 ปี 2543 อัตราการ ตลาดส่งออกที่สำคัญ
เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า ปริมาณ มูลค่า
ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป 9,768 89,682,692 33,191 271,000,000 -70.57 -66.91 จีน
(Semi-Finished Products)
-เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต (Billet) 5,478 44,429,665 25,331 191,820,882 -78.37 -76.84 จีน
-เหล็กแท่งแบน (Slab) - - 11 880,140 -100.00 -100.00 -
-อื่นๆ (Others) 4,290 45,253,027 7,849 78,298,978 -45.34 -42.20
เหล็กทรงยาว 339,022 3,344,987,964 613,719 8,567,000,000 -44.76 -60.95 กัมพูชา,ลาว
(Long Product)
เหล็กแผ่นรีดร้อน 68,286 689,055,932 472,845 5,348,000,000 -85.56 -87.12 สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย
(Hot-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นรีดเย็น 486,566 9,552,411,665 537,192 12,068,000,000 -9.42 -20.85 ฮ่องกง,เวียดนามอินโดนีเซีย
(Cold-Rolled Flat Product)
เหล็กแผ่นเคลือบ 121,714 2,353,543,375 132,659 2,525,000,000 -8.25 -6.79 มาเลเซีย,เวียดนามฮ่องกง
(Coated Steel Product)
ท่อเหล็ก (Pipe&Fitting) 228,778 5,126,827,903 338,493 8,640,000,000 -32.41 -40.66 สหรัฐอเมริกา,ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย
รวม 1,254,134 21,156,509,531 2,128,099 37,419,000,000 -41.07 -43.46 ญี่ปุ่น,สหรัฐอเมริกา,ฮ่องกง
ที่มา : สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--