วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2545 ที่รัฐสภา นายท้องก้อน วงศ์สมุทร และคณะ
ในฐานะพุทธศาสนิกชน รวบรวมรายชื่อประชาชน จำนวน 611,852 รายชื่อ ส่งมอบให้กับ ประธาน
รัฐสภาเพื่อให้ละเว้นการนำร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ที่เสนอโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
เจ้าอาวาสวัดสระเกศ เข้าสู่กระบวนการการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อความสงบของแผ่นดินไทย
อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา และคืนความชอบธรรมให้แก่พุทธบริษัทสี่ ในการดูแลรักษาพระพุทธศาสนา
ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย และกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฉบับที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เจ้าอาวาส
วัดสระเกศ เสนอต่อรัฐบาล นั้น โดยข้อบัญญัติในร่างฯ ดังกล่าว สนับสนุนการลิดรอนพระราชอำนาจ
ของพระมหากษัตริย์ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ฉบับปี พ.ศ. 2535 มาตรา 7
และจำกัดพระอำนาจในการปกครอง บังคับบัญชา บริหารกิจการคณะสงฆ์ของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็น
องค์สกลมหาสังฆปริณายกจนหมดสิ้น มีข้อบัญญัติขัดต่อพระธรรมวินัย และฝ่าฝืนพระพุทธเจตนารมณ์ของ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ดังกล่าว ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ
มาตรา 2 มาตรา 6 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 11 มาตรา 26 มาตรา 27 มาตรา 38 มาตรา 46
มาตรา 70 และมาตรา 76 อีกด้วย
ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เสนอต่อ
รัฐบาลจึงมิใช่ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ของมหาเถรสมาคม เพราะไม่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของมหาเถรสมาคม
และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการนำเสนอร่าง พ.ร.บ. เพื่อดำเนินกระบวนการตราให้เป็นกฎหมาย
บังคับใช้ไม่ชอบธรรมต่อชาวพุทธ ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เสนอต่อ
รัฐบาลจึงเป็นการโมฆะ ไม่สมควรที่จะพิจารณาให้เป็นกฎหมายบังคับใช้ โดยมิต้องคำนึงถึงว่า ร่าง พ.ร.บ.
คณะสงฆ์ฉบับใหม่นี้สนับสนุนการลิดรอนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ยึดพระอำนาจของสมเด็จพระสังฆราช
ขัดต่อจารีตประเพณีของคณะสงฆ์ และขัดพระธรรมวินัยอย่างรุนแรง
-----------------------------------------
ในฐานะพุทธศาสนิกชน รวบรวมรายชื่อประชาชน จำนวน 611,852 รายชื่อ ส่งมอบให้กับ ประธาน
รัฐสภาเพื่อให้ละเว้นการนำร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ที่เสนอโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
เจ้าอาวาสวัดสระเกศ เข้าสู่กระบวนการการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อความสงบของแผ่นดินไทย
อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา และคืนความชอบธรรมให้แก่พุทธบริษัทสี่ ในการดูแลรักษาพระพุทธศาสนา
ให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย และกฎหมายรัฐธรรมนูญ
ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ฉบับที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เจ้าอาวาส
วัดสระเกศ เสนอต่อรัฐบาล นั้น โดยข้อบัญญัติในร่างฯ ดังกล่าว สนับสนุนการลิดรอนพระราชอำนาจ
ของพระมหากษัตริย์ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ฉบับปี พ.ศ. 2535 มาตรา 7
และจำกัดพระอำนาจในการปกครอง บังคับบัญชา บริหารกิจการคณะสงฆ์ของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็น
องค์สกลมหาสังฆปริณายกจนหมดสิ้น มีข้อบัญญัติขัดต่อพระธรรมวินัย และฝ่าฝืนพระพุทธเจตนารมณ์ของ
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ดังกล่าว ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญ
มาตรา 2 มาตรา 6 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 11 มาตรา 26 มาตรา 27 มาตรา 38 มาตรา 46
มาตรา 70 และมาตรา 76 อีกด้วย
ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เสนอต่อ
รัฐบาลจึงมิใช่ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ของมหาเถรสมาคม เพราะไม่เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติของมหาเถรสมาคม
และไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายในการนำเสนอร่าง พ.ร.บ. เพื่อดำเนินกระบวนการตราให้เป็นกฎหมาย
บังคับใช้ไม่ชอบธรรมต่อชาวพุทธ ร่าง พ.ร.บ. คณะสงฆ์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เสนอต่อ
รัฐบาลจึงเป็นการโมฆะ ไม่สมควรที่จะพิจารณาให้เป็นกฎหมายบังคับใช้ โดยมิต้องคำนึงถึงว่า ร่าง พ.ร.บ.
คณะสงฆ์ฉบับใหม่นี้สนับสนุนการลิดรอนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ยึดพระอำนาจของสมเด็จพระสังฆราช
ขัดต่อจารีตประเพณีของคณะสงฆ์ และขัดพระธรรมวินัยอย่างรุนแรง
-----------------------------------------