(6) ค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนถัง
การออกค่าใช้จ่ายในการซื้อถังใหม่เพื่อเปลี่ยนถังขาว ในเกณฑ์ที่ภาครัฐและเอกชน (ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7) รับผิดชอบค่าใช้จ่ายฝ่ายละ 50% โดยเป็นดังนี้
ถังก๊าซหุงต้มขนาด 4 กก. ราคา 330 บาท รัฐและเอกชนออกฝ่ายละ 165 บาท
ถังก๊าซหุงต้มขนาด 15 กก. ราคา 600 บาท รัฐและเอกชนออกฝ่ายละ 300 บาท
ถังก๊าซหุงต้มขนาด 48 กก. ราคา 1,400 บาท รัฐและเอกชนออกฝ่ายละ 700 บาท
(ถังก๊าซหุงต้มขนาด 11.5 กก. และ 13.5 กก. ไม่มีถังขาว)
(7) วิธีการตรวจสอบและจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ค้าก๊าซฯ
1) คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดฯ ตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนถังก๊าซที่ใช้แลกเปลี่ยนในโครงการ และสรุปจำนวนถังและจำนวนเงินช่วยเหลือจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 มีสิทธิ์ได้รับส่งให้แก่ส่วนกลาง
2) คณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินการขจัดถังก๊าซหุงต้มที่ไม่มีผู้รับผิดชอบดูแลซ่อมบำรุง (ถังขาว) ออกจากตลาด จะเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบและประสานงานการปฏิบัติงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและเป็นผู้เสนอจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ค้าก๊าซ
3) เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน เป็นผู้พิจารณาผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการกำกับฯ และพิจารณาสั่งจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ค้าก๊าซส่งไปยังกรมบัญชีกลาง เพื่อดำเนินการจ่ายเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
4) วิธีการตรวจสอบและควบคุมการรั่วไหล
4.1) จำนวนถังก๊าซใหม่สำหรับการแลกเปลี่ยนถังขาว
กำหนดให้พิมพ์ข้อความ “รัฐช่วยราษฎร์แลกถังขาวฟรี” ไว้บนถังก๊าซ จัดวางตามความเหมาะสมให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ใช้หลักฐานเอกสารการส่งมอบถังใหม่ที่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ต้องมอบไว้ให้โรงบรรจุ
การตรวจนับถังใหม่ของคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัด ในการลงครั้งแรก (รวมที่ลงระหว่างเดือนด้วย) และถังใหม่คงเหลือในสิ้นเดือนที่ 1 และ 2
การตรวจสอบทางบัญชีของจำนวนถังหมุนเวียนในโครงการและถังใหม่ที่ใช้แลกเปลี่ยน ซึ่งจะต้องเท่ากัน
4.2 การตรวจผลการแลกถังขาว
การตรวจนับถังขาวของคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดในสิ้นเดือนที่ 1 และ 2
การจัดทำเครื่องหมายไว้ที่ถังขาวเพื่อป้องกันการนับซ้อนหรือนำถังขาวกลับไปใช้ โดยคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัด อาจใช้การป้ายหรือการพ่นสีลงบนถังขาว
การตรวจสอบทางบัญชีของจำนวนถังหมุนเวียนในโครงการ และถังใหม่ที่ใช้แลกเปลี่ยน ซึ่งจะต้องเท่ากันโรงบรรจุก๊าซและผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ต้องแจ้งการขนส่งถังขาวออกจากโรงบรรจุก๊าซและจุดหมายปลายทางต่อคณะอนุกรรมการกำกับฯ ทุกเดือน
คณะอนุกรรมการกำกับฯ จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจนับถังขาวที่จุดปลายทาง (โรงงานทำลายถังหรือคลังก๊าซของผู้ค้า) เพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนถังที่นับได้จากจุดต้นทาง
5) การเรียกคืนเงินช่วยเหลือ
ในกรณีที่เป็นการตรวจนับ ณ สิ้นเดือนที่ 2 ของโครงการหากจำนวนถังขาวที่แลกทั้งหมดในช่วงเวลา 2 เดือน น้อยกว่าจำนวนถังใหม่ที่รัฐจ่ายเงินช่วยเหลือให้ คณะอนุกรรมการกำกับฯ จะนำไปหักกับเงินช่วยเหลือในพื้นที่ต่อไป
หากมีถังขาวสูญหายระหว่างขนส่งไปทำลาย ณ จุดทำลายถัง ซึ่งตรวจสอบได้จากทางบัญชีและการตรวจสอบจริง คณะอนุกรรมการกำกับฯ จะเรียกคืนเงินช่วยเหลือจากผู้ค้าก๊าซ
ระยะเวลาในการทำลายถังขาวทั้งหมด จะต้องกำหนดให้แน่นอน
การตรวจสอบประเมินจำนวนถังขาวทางบัญชีจะกระทำทุกเดือน เพื่อให้สอดคล้องกับการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเรียกเงินคืนจากผู้ค้าก๊าซในกรณีถังขาวสูญหาย สามารถดำเนินการโดยวิธีหักกลบกับเงินช่วยเหลือที่จะต้องจ่ายให้กับผู้ค้าในพื้นที่ต่อไปได้ โดยอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีหักกลบกับเงินช่วยเหลือได้ทัน เมื่อคณะอนุกรรมการกำกับฯ แจ้งให้ผู้ค้าก๊าซดำเนินการคืนเงินช่วยเหลือ แก่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ผู้ค้าก๊าซดำเนินการภายใน 30 วัน หากพ้นระยะนั้นแล้วไม่ดำเนินการใดๆ คณะอนุกรรมการกำกับฯ จะพิจารณาตัดสิทธิ์ของบริษัทผู้ค้าก๊าซดังกล่าวออกจากโครงการแลกเปลี่ยนถังขาว นอกจากนี้หากเห็นว่าบริษัทผู้ค้าก๊าซมีเจตนาของการทุจริตที่ชัดเจนจะส่งเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการเพื่อให้มีการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
(8) การขนส่งถังขาวและการทำลายถังขาว
การขจัดหรือทำลายถังขาวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนถังแล้ว เป็นความรับผิดชอบของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 โดยผู้ค้าก๊าซจะต้องแจ้งแผนการทำลายให้คณะอนุกรรมการกำกับฯ ทราบ โดยรัฐจะใช้ระบบตรวจสอบทางบัญชี และการส่งทีมไปตรวจสอบ ณ สถานที่ดังกล่าวระหว่างขนส่งและสถานที่ทำลาย เพื่อตรวจสอบว่าถังขาวไม่หายไปจากระบบ และมีการทำลายจริง หากพบว่าถังขาวสูญหายคณะอนุกรรมการกำกับฯ จะเรียกเงินคืนจากผู้ค้าก๊าซ รายละเอียดการควบคุมถังขาวระหว่างขนส่งและทำลายตามข้อ (12)
(9) การห้ามบรรจุก๊าซใส่ถังขาว
ในปี 2544 โรงบรรจุก๊าซทุกรายยังได้รับการผ่อนผันให้บรรจุก๊าซใส่ถังขาวได้โดยไม่ถือเป็นความผิด ทั้งนี้การบรรจุก๊าซยี่ห้ออื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดและมีโทษ การผ่อนผันเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่จะป้องกันไม่ให้ประชาชนที่ใช้ถังขาวเกิดความเดือดร้อนไม่สามารถใช้ถังขาวได้ แต่เมื่อในพื้นที่ใดเริ่มการแลกเปลี่ยนถังขาวแล้ว ในพื้นที่ดังกล่าวจะห้ามการบรรจุก๊าซลงถังขาว โดยหากตรวจพบว่ามีถังขาวที่บรรจุก๊าซจากโรงบรรจุก๊าซของผู้ค้าก๊าซรายใดจะมีการดำเนินคดีกับโรงบรรจุก๊าซและผู้ค้าก๊าซรายนั้น
(10) แนวทางการปฏิบัติของผู้ค้าก๊าซและโรงบรรจุก๊าซหุงต้ม
(10.1) ผู้ค้าก๊าซ
ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะจัดหาถังใหม่สำหรับแลกเปลี่ยนมาไว้ยังโรงบรรจุโดยทุกใบจะต้องมีข้อความว่า “รัฐช่วยราษฎร์แลกถังขาวฟรี” ปรากฏอยู่บนถังก๊าซจัดวางตามความเหมาะสมให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ต้องจัดเตรียมสีสำหรับใช้ทำเครื่องหมายบนถังขาวที่ตรวจนับ โดยกำหนดให้ใช้ “สีขาว” สำหรับทำเครื่องหมายบนถังขาวของผู้ค้าที่แลกไว้ก่อนโครงการ และ “สีเหลือง” สำหรับถังขาวที่แลกในโครงการ
ผู้ค้าก๊าซฯ มีหน้าที่ออกเอกสารเป็นหลักฐานแจ้งจำนวนถังใหม่ที่จัดส่งให้กับโรงบรรจุก๊าซฯ เพื่อแสดงราคาให้แก่คณะอนุกรรมการจังหวัด และใช้ขอเงินช่วยเหลือ รวมทั้งต้องออกเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานการนำถังขาวจากโรงบรรจุก๊าซไปทำลาย
ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะต้องประสานโรงบรรจุก๊าซภายใต้เครื่องหมายการค้าของตน สำหรับการดำเนินการแลกเปลี่ยนถังขาว ให้ดำเนินการตามข้อ (10.2) ข้างล่างนี้
(10.2) โรงบรรจุก๊าซ
จัดเตรียมการตั้งป้ายจุดแลกเปลี่ยนถังขาว กำหนดจุดวางถังใหม่ และกำหนดจุดเก็บถังขาวที่แลกไว้
จัดเจ้าหน้าที่ของโรงบรรจุก๊าซฯ เพื่อช่วยเหลือคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดในการตรวจสอบถังก๊าซหุงต้มที่ไม่มีผู้รับผิดชอบซ่อมบำรุง (ถังขาว) ในการจัดเรียงถังใหม่ และถังขาวที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยน เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจนับ และช่วยทำเครื่องหมายบนถังขาว โดยรัฐจะให้เงินเพื่อเป็นค่าจ้างเจ้าหน้าที่โรงบรรจุผ่านบริษัทที่ สพช. จัดจ้างให้ดูแลเรื่องการตรวจนับถัง
ให้เจ้าหน้าที่โรงบรรจุจัดวางถังขาวที่รับแลกเปลี่ยนไว้แล้ว ให้ง่ายและสะดวกต่อการเข้าตรวจเช็คถังทุกใบ
จัดทำบัญชีรายชื่อร้านค้าขายปลีก และจำนวนถังขาวที่ร้านค้าปลีกนั้นๆ นำมาแลกถังใหม่ ณ โรงบรรจุ โดยให้มอบบัญชีแก่คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดในทุกสิ้นเดือนที่ 1 และ 2
ให้เจ้าหน้าที่โรงบรรจุตรวจเช็คถังขาวที่ร้านค้าปลีกก๊าซฯ นำเข้ามาแลกให้ตรงตามนิยามที่ภาครัฐกำหนด
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดมอบหมาย
(11) แนวทางการปฏิบัติของคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดในการตรวจสอบถังขาวในการตรวจนับถังของโครงการแลกเปลี่ยนถังขาวเพื่อช่วยเหลือประชาชน
สรุปแนวทางการปฏิบัติให้ดูในภาคผนวก 1 และแบบฟอร์มที่ต้องใช้ในภาคผนวก 2 อนึ่งการทำเครื่องหมายบนถังขาวในขั้นตอนปฏิบัติต่อไปนี้ หมายถึง ให้ใช้สีที่ทางผู้ค้าก๊าซจัดหาให้โรงบรรจุก๊าซ โดยทำเป็นเครื่องหมายกากบาททับบนเครื่องหมายการค้าบนถังนั้น โดยใช้”สีขาว” สำหรับถังขาวที่ผู้ค้าแลกไว้ก่อนโครงการ และใช้สี “เหลือง” สำหรับถังขาวที่แลกในโครงการ ขั้นตอนการปฏิบัติเป็น ดังนี้
1) ณ วันก่อนเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนถังขาวในพื้นที่
นัดหมายโรงบรรจุก๊าซในพื้นที่เพื่อไปตรวจนับถัง ก่อนโครงการแลกเปลี่ยนถังขาวในพื้นที่จะดำเนินการ โดยการตรวจนับถังครั้งที่ 1 นี้ควรเป็นช่วง 1-2 วันก่อนเริ่มโครงการ
ตรวจนับถังขาวที่ผู้ค้าก๊าซและโรงบรรจุก๊าซได้แลกไว้ก่อนโครงการจะเริ่มขึ้น แล้วบันทึกจำนวนในแบบฟอร์ม 1-1 โดยทำเครื่องหมายบนถังขาวดังกล่าวด้วยสีขาวและให้แยกเก็บไว้โดยเฉพาะ
ตรวจนับถังใหม่ที่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ได้ลงไว้ ณ โรงบรรจุซึ่งเป็นจุดรับแลกเปลี่ยนถัง แล้วบันทึกจำนวนในแบบฟอร์ม 1-1 พร้อมกันนี้ให้ขอดูหลักฐานการลงถังใหม่ ซึ่งผู้ค้าตามมาตรา 7 จะต้องมอบให้โรงบรรจุก๊าซเก็บไว้ โดยจำนวนถังที่ตรวจนับได้จะต้องมีจำนวนตรงกับจำนวนถังใหม่ที่ปรากฏในหลักฐานดังกล่าว และหากจำนวนใดน้อยกว่าให้ยึดถือจำนวนนั้นเป็นสำคัญ
จัดทำรายงานสรุปการได้รับเงินช่วยเหลือของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ของการตรวจนับถังครั้งที่ 1 ตามแบบฟอร์ม 1-2
ให้บันทึกข้อมูลจำนวนถังใหม่สุทธิจากแบบฟอร์ม 1-1 ลงในแบบฟอร์ม 2-1 และจำนวนเงินช่วยเหลือรวมจากแบบฟอร์ม 1-2 ลงในแบบฟอร์ม 2-2 ด้วย
ให้กรอกรายละเอียดของข้อมูลตามแบบฟอร์ม 1-1 และแบบฟอร์ม 1-2 ลงในแบบฟอร์มส่วนที่เป็นของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 คือแบบฟอร์ม 1-1 (ผู้ค้า) และแบบฟอร์ม 1-2 (ผู้ค้า) และมอบให้กับโรงบรรจุก๊าซเพื่อมอบเป็นหลักฐานให้แก่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ในการนำไปขอรับเงินช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดจะต้องจัดส่งแบบฟอร์ม 1-1 และแบบฟอร์ม 1-2 แก่ สพช. ทางไปรษณีย์ โดยลงทะเบียนเพื่อป้องกันการสูญหาย
2) ณ สิ้นเดือนที่ 1 ของโครงการ
นัดหมายโรงบรรจุก๊าซในพื้นที่เพื่อไปตรวจนับถัง หลังโครงการแลกเปลี่ยนถังดำเนินการครบ 1 เดือน โดยการตรวจนับถังครั้งที่ 2 นี้ ควรดำเนินการภายในช่วง 1-3 วันหลังสิ้นเดือนแรกของโครงการ และการตรวจนับถังในแต่ละโรงบรรจุก๊าซควรกระทำให้เสร็จภายใน 1 วัน ตรวจเช็คถังขาวของผู้ค้าที่แลกมาก่อนโครงการยังอยู่ในบริเวณเฉพาะด้วยจำนวนเดิม
ขอดูหลักฐานการลงถังใหม่เพิ่มเติมภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ซึ่งผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะต้องมอบให้โรงบรรจุก๊าซเก็บไว้ แล้วจดบันทึกจำนวนถังใหม่ที่ลงเพิ่มเติมในแบบฟอร์ม 2-1
ตรวจนับถังใหม่สำหรับแลกเปลี่ยนคงเหลือ ณ โรงบรรจุก๊าซ แล้วบันทึกจำนวนในแบบฟอร์ม 2-1
ตรวจนับถังขาวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในเดือนแรก พร้อมกับการทำเครื่องหมายบนถังขาวดังกล่าว โดยใช้สีเหลืองกากบาททับบนเครื่องหมายการค้า แล้วบันทึกจำนวนถังขาวที่ตรวจนับได้ในแบบฟอร์ม 2-1
จัดทำรายงานสรุปการได้รับเงินช่วยเหลือของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ของการตรวจนับถังครั้งที่ 2 ตามแบบฟอร์ม 2-2
ให้บันทึกข้อมูลจำนวนถังใหม่สุทธิ และจำนวนถังขาวที่ตรวจนับได้จากแบบฟอร์ม 2-1 ลงในแบบฟอร์ม 3-1 และบันทึกยอดเงินช่วยเหลือคงเหลือยกไปเดือนต่อไปจากแบบฟอร์ม 2-2 ลงในแบบฟอร์ม 3-2 ด้วย
ให้กรอกรายละเอียดของข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2-1 และแบบฟอร์ม 2-2 ลงในแบบฟอร์มส่วนที่เป็นของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 คือแบบฟอร์ม 2-1 (ผู้ค้า) และแบบฟอร์ม 2-2 (ผู้ค้า) และมอบให้โรงบรรจุก๊าซ เพื่อมอบเป็นหลักฐานให้แก่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 เพื่อนำไปขอรับเงินช่วยเหลือจาก สพช. คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดจะต้องจัดส่งแบบฟอร์ม 2-1 และแบบฟอร์ม 2-2 แก่ สพช. ทางไปรษณีย์ โดยลงทะเบียนเพื่อป้องกันการสูญหาย
3) ณ สิ้นเดือนที่ 2 ของโครงการ
นัดหมายโรงบรรจุก๊าซในพื้นที่เพื่อไปตรวจนับถัง หลังโครงการแลกเปลี่ยนถังในเดือนที่สอง ดำเนินการครบเดือน ในการตรวจนับถังครั้งที่ 3 ควรดำเนินการภายในช่วง 1-3 วันหลังสิ้นเดือนที่สองของโครงการ และการตรวจนับถังในแต่ละโรงบรรจุก๊าซควรกระทำให้เสร็จภายใน 1 วัน ตรวจเช็คถังขาวของผู้ค้าที่แลกมาก่อนโครงการยังอยู่ในบริเวณเฉพาะด้วยจำนวนเดิม
ขอดูหลักฐานการลงถังใหม่เพิ่มเติมภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ซึ่งผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะต้องมอบให้โรงบรรจุก๊าซเก็บไว้ แล้วจดบันทึกจำนวนถังใหม่ที่ลงเพิ่มเติมในแบบฟอร์ม 3-1
ตรวจนับถังใหม่สำหรับแลกเปลี่ยนคงเหลือ ณ โรงบรรจุก๊าซแล้วบันทึกจำนวนในแบบฟอร์ม 3-1
ตรวจนับถังขาวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในเดือนที่สอง พร้อมกับการทำเครื่องหมายบนถังขาวดังกล่าว โดยใช้สีเหลืองกากบาททับบนเครื่องหมายการค้า แล้วบันทึกจำนวนถังขาวที่ตรวจนับได้ในแบบฟอร์ม 3-1
ขอดูหลักฐานการส่งถังขาวที่ตรวจนับไว้ ณ สิ้นเดือนที่ 1 ที่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ส่งไปยังจุดทำลายถัง แล้วบันทึกจำนวนถังขาวดังกล่าวในแบบฟอร์ม 3-1
จัดทำรายงานสรุปการได้รับเงินช่วยเหลือของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ของการตรวจนับถังครั้งที่ 3 ตามแบบฟอร์ม 3-2
ให้กรอกรายละเอียดของข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3-1 และแบบฟอร์ม 3-2 ลงในแบบฟอร์มส่วนที่เป็นของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 คือแบบฟอร์ม 3-1 (ผู้ค้า) และแบบฟอร์ม 3-2 (ผู้ค้า) และมอบให้กับโรงบรรจุก๊าซเพื่อมอบเป็นหลักฐานให้แก่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 เพื่อนำไปขอรับเงินช่วยเหลือจาก สพช.
คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดจัดส่งแบบฟอร์ม 3-1 และแบบฟอร์ม 3-2 แก่ สพช. ทางไปรษณีย์ โดยลงทะเบียนเพื่อป้องกันการสูญหาย
4) การตรวจนับถังขาวของคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัด อาจกระทำมากกว่า 3 ครั้งดังกล่าว หากมีผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ร้องขอต่อคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัด สำหรับโรงบรรจุในบางพื้นที่ หากจำนวนถังขาวที่แลกมามีเป็นจำนวนมากและมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บ โดยแนวทางปฏิบัติและแบบฟอร์ม ตั้งแต่ครั้งที่ 3 ขึ้นไปเป็นตามข้อ 3)
(12) แนวทางการปฏิบัติของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ในการขอรับเงินช่วยเหลือจากโครงการแลกเปลี่ยนถังขาวเพื่อช่วยเหลือประชาชน
1) ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะต้องรวบรวมเอกสารการตรวจนับถังของคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัด ในการตรวจสอบถังก๊าซหุงต้มที่ไม่มีผู้รับผิดชอบดูแลซ่อมบำรุง (ถังขาว) ในส่วนของผู้ค้าก๊าซ โดยกรอกแบบฟอร์มตามแบบฟอร์มขอเงินช่วยเหลือ-1 พร้อมหลักฐานประกอบตามที่กำหนด ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ภายหลังที่การตรวจนับถังของคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดได้ตรวจนับเรียบร้อยแล้วในแต่ละครั้ง ดังนี้
1.1 ครั้งที่ 1 การตรวจนับก่อนเริ่มโครงการ ผู้ค้าก๊าซจะต้องยื่นเอกสาร
แบบฟอร์ม 1-1 (ผู้ค้า) และแบบฟอร์ม 1-2 (ผู้ค้า) ที่คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดตรวจนับถังพร้อมลงนามรับรองความถูกต้อง
แบบฟอร์ม 1-1 (ผู้ค้า) จะต้องมีหลักฐานการลงถังใหม่ก่อนเริ่มโครงการแนบมาด้วยจึงจะถือว่าสมบูรณ์
1.2 ครั้งที่ 2 การตรวจนับ ณ สิ้นเดือนที่ 1 ของโครงการ ผู้ค้าก๊าซจะต้องยื่นเอกสาร
แบบฟอร์ม 2-1 (ผู้ค้า) และแบบฟอร์ม 2-2 (ผู้ค้า) ที่คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดตรวจนับถังพร้อมลงนามรับรองความถูกต้อง
แบบฟอร์ม 2-1 (ผู้ค้า) จะต้องมีหลักฐานการลงถังใหม่เพิ่มเติมระหว่างเดือน 1 แนบมาด้วย จึงจะถือว่าสมบูรณ์ 1.3 ครั้งที่ 3 การตรวจนับถัง ณ สิ้นเดือนที่ 2 ของโครงการ ผู้ค้าก๊าซจะต้องยื่นเอกสาร
แบบฟอร์ม 3-1 (ผู้ค้า) และแบบฟอร์ม 3-2 (ผู้ค้า) ที่คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดตรวจนับถังพร้อมลงนามรับรองความถูกต้อง
แบบฟอร์ม 3-1 (ผู้ค้า) จะต้องมีหลักฐานการลงถังใหม่เพิ่มเติมระหว่างเดือน 2 และหลักฐานการส่งถังขาวไปยังจุดทำลายในกรณีที่มีการส่งถังขาวที่ตรวจนับแล้วของ สิ้นเดือนที่ 1 ไปทำลาย แนบมาด้วยจึงจะถือว่าสมบูรณ์
2) สพช. ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานการยื่นขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เสนอรองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินการขจัดถังก๊าซหุงต้มที่ไม่มีผู้รับผิดชอบดูแลซ่อมบำรุง (ถังขาว) ออกจากตลาดเพื่อรับรองความถูกต้อง และเสนอเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาอนุมัติสั่งจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ค้าก๊าซไปยังกรมบัญชีกลาง
(3) กรมบัญชีกลางจ่ายเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามหนังสือพร้อมหลักฐานจาก สพช. ให้แก่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7
(13) การควบคุมการขนส่งและการทำลายถังขาว
การขจัดหรือทำลายถังขาวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนถังแล้ว เป็นความรับผิดชอบของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 โดยรัฐต้องการความมั่นใจว่าถังขาวที่แลกเปลี่ยนไปจะไม่กลับเข้ามาในตลาดก๊าซหุงต้มอีก และในการทำลายถังดังกล่าว ผู้ค้าก๊าซจะไม่เอาถังขาวที่ตนแลกไว้ก่อนมานับรวมกับถังขาวของโครงการ ดังนั้น จึงกำหนดวิธีการในการควบคุมการขนส่งและทำลายถังขาว ดังต่อไปนี้
1) ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะต้องแจ้งแผนการทำลายถังขาวที่ตนเองแลกเปลี่ยนมาได้ ให้คณะอนุกรรมการกำกับฯ ทราบ โดยมีความชัดเจนของจำนวนถังและระยะเวลาในการทำลายถังที่แน่นอน เพื่อคณะอนุกรรมการกำกับฯ จะใช้ในการกำกับดูแลการทำลายถังขาวให้เป็นไปตามแผน
2) ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบขนถังขาว ณ จุดแลกเปลี่ยนถัง (โรงบรรจุก๊าซ) ไปยังจุดทำลายถัง โดยอาจมีการพักถังระหว่างการขนส่ง ณ คลังก๊าซของผู้ค้าก๊าซก็ได้ ซึ่งทุกครั้งที่มีการพักถังระหว่างขนส่งจะต้องมีการแจ้งให้คณะอนุกรรมการกำกับฯ ทราบ ถึงปริมาณถังขาวที่เข้าเก็บและสถานที่ของจุดพักถัง และเมื่อมีการเริ่มขนส่งออกจากจุดพักถังจะต้องแจ้งให้ทราบด้วยว่าจะขนส่งไปยังจุดใด และด้วยปริมาณถังเท่าใด โดยใช้แบบฟอร์มทำลายถัง-1 การแจ้งการส่งถังไปทำลายดังกล่าว จะกระทำทั้งถังขาวของผู้ค้าที่ส่งไปทำลายและถังขาวที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนในโครงการโดยให้กระทำในทันที โดยจัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อ สพช. ทางโทรสารและให้ส่งเอกสารตัวจริงตามมาภายหลัง อนึ่ง คณะอนุกรรมการกำกับฯ จะเข้าไปตรวจสอบการพักถังขาว ณ จุดพักถังเป็นระยะๆ
3) เมื่อผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ได้ขนส่งถังไปยังจุดทำลายแล้ว จะต้องแจ้งจำนวนถังขาว ที่ส่งมอบให้แก่ผู้รับทำลายถัง และรายงานให้คณะอนุกรรมการกำกับฯ ทราบทันที ตามแบบฟอร์มทำลายถัง 2 โดยผู้ค้าตามมาตรา 7 จะต้องส่งรายงานดังกล่าวให้ สพช. ทางโทรสารและให้ส่งตัวจริงตามมาภายหลัง
4) ผู้รับทำลายถังจะต้องแยกการเก็บถังขาวก่อนทำลายของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 โดยแยกเก็บสำหรับผู้ค้าก๊าซแต่ละราย และการจัดเก็บต้องสะดวกแก่การตรวจสอบของคณะอนุกรรมการกำกับฯ ที่จะเข้าไปตรวจสอบเป็นระยะๆ
5) ผู้รับทำลายถังขาวจะต้องจัดทำบัญชีแสดงถังขาว ณ จุดทำลายถัง โดยแยกเป็นบัญชีของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 แต่ละรายและรายงานให้คณะอนุกรรมการกำกับฯ ทราบ ทุก 15 วัน ประกอบด้วย จำนวนถังขาวที่รับจากผู้ค้ามาตรา 7 จำนวนถังขาวคงเหลือ ณ สถานที่ทำลาย และจำนวนถังขาวที่ทำลายแล้วตามแบบฟอร์มทำลายถัง 3 โดยส่งรายงานดังกล่าวต่อ สพช. ทางโทรสารก่อนและให้ส่งตัวจริงตามมาภายหลัง
6) ในการจ่ายเงินช่วยเหลือจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ให้แก่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ที่เป็นไปตามมติคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.) จะหมายถึง การช่วยเหลือในการจัดหาถังใหม่ ที่เท่ากับจำนวนถังขาว ที่นำออกจากตลาดก๊าซหุงต้ม ดังนั้น หากตัวเลขทางบัญชีของถังขาวของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ณ สถานที่ทำลายถัง ต่ำกว่าจำนวนถังขาว ที่ตรวจนับได้ ณ จุดแลกเปลี่ยนถัง (โรงบรรจุก๊าซ) คณะอนุกรรมการกำกับฯ ก็จะเรียกคืนเงินช่วยเหลือ จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ไปแล้ว โดยการตรวจสอบจำนวนถังขาวทางบัญชี ณ จุดทำลายถังของคณะอนุกรรมการกำกับฯจะดำเนินการใน 2 จุด ได้แก่
ณ จุดรับถังขาวของศูนย์ทำลายถัง สำหรับผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 แต่ละราย จำนวนถังขาวรวมที่ส่งเข้าจุดทำลายถังจะต้องเท่ากับจำนวนถังขาวรวมที่ผู้ค้าก๊าซ ได้แจ้งการส่งถังขาวไปทำลายไว้ ณ จุดแลกเปลี่ยนถัง (โรงบรรจุก๊าซ) โดยหักจำนวนถังขาวที่อยู่ระหว่างจุดพักถัง ณ จุดสุดท้ายที่มีการทำลายถังแล้ว จำนวนถังขาวที่ทำลายแล้ว จะต้องเท่ากับจำนวนถังขาวที่เข้ามายังศูนย์ทำลายหักด้วยจำนวนถังขาวคงเหลือในศูนย์ทำลายที่ยังไม่ได้ทำลาย
7) การตรวจสอบประเมินจำนวนถังขาวทางบัญชีจะกระทำทุกเดือน เพื่อให้สอดคล้องกับการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเรียกเงินคืนจากผู้ค้าก๊าซในกรณีถังขาวสูญหาย สามารถดำเนินการโดยวิธีหักกลบกับเงินช่วยเหลือที่จะต้องจ่ายให้กับผู้ค้าในพื้นที่ต่อไปได้ โดยอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีหักกลบกับเงินช่วยเหลือได้ทัน เมื่อคณะอนุกรรมการกำกับฯ แจ้งให้ผู้ค้าก๊าซดำเนินการคืนเงินช่วยเหลือแก่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ผู้ค้าก๊าซดำเนินการภายใน 30 วัน หากพ้นระยะนั้นแล้วไม่ดำเนินการใดๆ คณะอนุกรรมการกำกับฯ จะพิจารณาตัดสิทธิ์ของบริษัทผู้ค้าก๊าซดังกล่าวออกจากโครงการแลกเปลี่ยนถังขาว นอกจากนี้ หากเห็นว่าบริษัทผู้ค้าก๊าซมีเจตนาของการทุจริตที่ชัดเจนจะส่งเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมาย เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลน น้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการเพื่อให้มีการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
8) การทำลายถังของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ต้องเป็นไปตามแผนที่แจ้งไว้หากล่าช้าจะต้องชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการกำกับฯ หากอนุกรรมการกำกับฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าการทำลายถังของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 เป็นไปแบบไม่มีประสิทธิภาพ คณะอนุกรรมการกำกับฯ มีสิทธิที่จะเข้าไปจัดการให้ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 รายนั้นดำเนินการตามที่เห็นสมควร
9) เมื่อสิ้นสุดโครงการคณะอนุกรรมการกำกับฯ จะตรวจสอบปริมาณถังขาวที่ทำลายได้ โดยจะคำนึงถึงปริมาณถังขาวของผู้ค้าที่แลกไว้ก่อนหน้าโครงการด้วย ประกอบกันเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ค้าก๊าซจะไม่นำถังขาวจำนวนนั้นมานับรวม
10) เนื่องจากผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 เป็นผู้ได้รับผลกระทบ จากการได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้นผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจัดการให้ผู้รับทำลายถัง มีระบบการป้องกันไม่ให้ถังขาว สูญหายจากจุดทำลาย และอำนวยความสะดวกให้แก่คณะอนุกรรมการฯ ในการเข้าไปตรวจสอบถังขาว ณ สถานที่ทำลายถังขาว
(14) การตรวจสอบแบบประเมินผลโครงการแลกเปลี่ยนถังขาว
1) ทีมเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จะออกตรวจตราโรงบรรจุก๊าซว่า ไม่มีผู้ค้านำถังขาวของตนเอง ที่คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัด ได้แยกไว้ในพื้นที่เฉพาะ ออกไปใช้แลกเปลี่ยนถังในพื้นที่ ที่มีการแลกเปลี่ยนหลังๆ
2) คณะอนุกรรมการกำกับฯ จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ ณ จุดพักถังขาว และศูนย์ทำลายถังขาว เพื่อตรวจสอบจำนวนถังขาวที่อยู่ในสถานีที่เหล่านั้นสอดคล้องตามรายงานหรือไม่ หากมีจำนวนถังขาวที่ปรากฏน้อยกว่าที่รายงานไว้ คณะอนุกรรมการกำกับฯ จะบันทึกจำนวนที่หายไป และนำมาเรียกเงินช่วยเหลือคืนจากผู้ค้าก๊าซมาตรา 7
3) เจ้าหน้าที่ตำรวจทีมงานปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุ่มตรวจตามโรงบรรจุก๊าซ และร้านค้าก๊าซในพื้นที่ที่การแลกเปลี่ยนถังขาวเสร็จสิ้นแล้ว ว่ายังมีถังขาวที่ลักลอบบรรจุและจำหน่ายอยู่หรือไม่ ซึ่งหากปรากฏจะมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย แก่โรงบรรจุและผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ที่เป็นเจ้าของยี่ห้อ
(15) การตรวจสอบและจับกุมการกระทำผิด
1) การปราบปรามการลักลอบบรรจุถังก๊าซหุงต้มของสถานีบริการก๊าซสำหรับรถยนต์ ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ได้ห้ามการอัดบรรจุก๊าซลงถังก๊าซหุงต้ม ในสถานีบริการก๊าซสำหรับรถยนต์ เนื่องจากไม่มีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามยังมีประชาชนที่ขาดความเข้าใจ และสถานีบริการที่ไม่รับผิดชอบ จึงยังมีการลักลอบอัดบรรจุก๊าซหุงต้มในสถานีบริการ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายจากการอัดบรรจุดังกล่าว นอกจากกรมโยธาธิการจะเป็นผู้ตรวจตราตามปกติแล้ว สพช. ได้ขอความร่วมมือจากกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจและจับกุมดำเนินคดีสถานีบริการที่กระทำผิด
2) การปราบปรามถังก๊าซที่ไม่มีตรา มอก. ถังก๊าซหุงต้มที่ไม่มีเครื่องหมาย สมอ. ถือเป็นถังก๊าซที่ผิดกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพราะไม่มีมาตรฐานตามที่กำหนดจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้งาน เจ้าหน้าที่โยธาธิการและเจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกสำรวจตามโรงบรรจุก๊าซ และร้านค้าก๊าซ หากพบว่ามีการบรรจุก๊าซลงถังดังกล่าวจากโรงบรรจุใดที่จะมีการดำเนินคดีอย่างเคร่งครัดกับโรงบรรจุ และผู้ค้าก๊าซเจ้าของยี่ห้อ
3) การป้องกันและปราบปรามการลักลอบผลิตและจำหน่ายถังขาว กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดทีมจากชุดตำรวจงานป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม เพื่อเฝ้าโรงงานผลิตถังเพื่อไม่ให้มีการผลิตถังขาวเข้ามาในตลาด
4) การป้องกันและปราบปรามการลักลอบบรรจุถังขาว เมื่อโครงการแลกเปลี่ยนถังขาวได้ดำเนินการในพื้นที่ใดแล้ว ในพื้นที่นั้นจะห้ามบรรจุก๊าซลงถังขาวทันที ดังนั้น หากมีการบรรจุก๊าซลงถังขาวจะมีความผิดตามกฎหมายกระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่โยธาธิการ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะออกตรวจโรงบรรจุก๊าซ และร้านค้าก๊าซในพื้นที่ หากพบว่ามีการบรรจุก๊าซลงถังขาว จะทำการจับกุมดำเนินคดี โรงบรรจุก๊าซ และผู้ค้าก๊าซเจ้าของยี่ห้อด้วย
5) การปราบปรามการหลอกลวงผู้บริโภคให้จ่ายเงินสำหรับการแลกถัง เมื่อมีผู้บริโภคแจ้งเรื่องการเรียกเก็บเงินจากร้านค้าก๊าซหุงต้ม เพื่อเปลี่ยนถังก๊าซใหม่ ตามปกติจะแก้ปัญหาโดยใช้การบริหารก่อน โดยให้หน่วยงานจังหวัด (โยธาธิการจังหวัด/ทะเบียนการค้าจังหวัด) เจรจากับเจ้าของร้านค้าก๊าซ ถ้าร้านค้าก๊าซดังกล่าวปฏิเสธการแลกเปลี่ยนถัง ให้จัดหาร้านค้าก๊าซรายใหม่สำหรับผู้บริโภค พร้อมกับการดำเนินการ จะมีการประสานสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียม (ร้านค้าปลีก) ให้ช่วยเจรจากับเจ้าของร้านค้าก๊าซที่มีปัญหา อย่างไรก็ตามหากร้านค้าก๊าซอ้างโดยให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เช่น แอบอ้างว่าถังเก่า/บาง/หรือชำรุด โดยที่ถังไม่ได้มีสภาพดังกล่าว เพื่อให้ผู้บริโภคจ่ายค่าเปลี่ยนถัง ในกรณีนี้จะให้ตำรวจดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง กับร้านค้าก๊าซดังกล่าว โดยประชาชนสามารถแจ้งหรือร้องเรียนทางสายด่วนของตำรวจ โทร. 1194
(16) แผนการประชาสัมพันธ์
1) คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.) ในการประชุมครั้งที่ 8/2444 (ครั้งที่ 37) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 ได้มีมติเห็นชอบแผนงานประชาสัมพันธ์การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการใช้ก๊าซหุงต้ม จำนวนเงิน 20 ล้านบาท สำหรับแผนงานประชาสัมพันธ์ฯ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจวิธีสังเกต “ถังขาว” ประชาชนทราบเจตนารมณ์ของภาครัฐในแผนปฏิบัติการแลกเปลี่ยนถังขาวและพร้อมใจให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการนำถังขาวที่อยู่ในมือมาแลกเปลี่ยนตามโครงการแลกเปลี่ยนถัง และที่สำคัญอย่างยิ่ง ประชาชนสามารถรู้วิธีปกป้องผลประโยชน์ของตนเองจากการเอารัดเอาเปรียบจากการบรรจุเนื้อก๊าซไม่ได้มาตรฐาน รู้วิธีการร้องทุกข์และติดต่อหน่วยงานที่รับเรื่องร้องทุกข์ได้สะดวกรวดเร็ว และเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงานรณรงค์ประชาสัมพันธ์และบริหารเครื่องมือสื่อสารและการสื่อสารถึงแต่ละกลุ่มเป้าหมายมีขั้นตอนที่ชัดเจน และเสริมซึ่งกันและกัน
(ยังมีต่อ)
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ--
-ยก-
การออกค่าใช้จ่ายในการซื้อถังใหม่เพื่อเปลี่ยนถังขาว ในเกณฑ์ที่ภาครัฐและเอกชน (ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7) รับผิดชอบค่าใช้จ่ายฝ่ายละ 50% โดยเป็นดังนี้
ถังก๊าซหุงต้มขนาด 4 กก. ราคา 330 บาท รัฐและเอกชนออกฝ่ายละ 165 บาท
ถังก๊าซหุงต้มขนาด 15 กก. ราคา 600 บาท รัฐและเอกชนออกฝ่ายละ 300 บาท
ถังก๊าซหุงต้มขนาด 48 กก. ราคา 1,400 บาท รัฐและเอกชนออกฝ่ายละ 700 บาท
(ถังก๊าซหุงต้มขนาด 11.5 กก. และ 13.5 กก. ไม่มีถังขาว)
(7) วิธีการตรวจสอบและจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ค้าก๊าซฯ
1) คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดฯ ตรวจสอบความถูกต้องของจำนวนถังก๊าซที่ใช้แลกเปลี่ยนในโครงการ และสรุปจำนวนถังและจำนวนเงินช่วยเหลือจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 มีสิทธิ์ได้รับส่งให้แก่ส่วนกลาง
2) คณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินการขจัดถังก๊าซหุงต้มที่ไม่มีผู้รับผิดชอบดูแลซ่อมบำรุง (ถังขาว) ออกจากตลาด จะเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบและประสานงานการปฏิบัติงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและเป็นผู้เสนอจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ค้าก๊าซ
3) เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในฐานะกรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน เป็นผู้พิจารณาผลการดำเนินการของคณะอนุกรรมการกำกับฯ และพิจารณาสั่งจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ค้าก๊าซส่งไปยังกรมบัญชีกลาง เพื่อดำเนินการจ่ายเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
4) วิธีการตรวจสอบและควบคุมการรั่วไหล
4.1) จำนวนถังก๊าซใหม่สำหรับการแลกเปลี่ยนถังขาว
กำหนดให้พิมพ์ข้อความ “รัฐช่วยราษฎร์แลกถังขาวฟรี” ไว้บนถังก๊าซ จัดวางตามความเหมาะสมให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน ใช้หลักฐานเอกสารการส่งมอบถังใหม่ที่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ต้องมอบไว้ให้โรงบรรจุ
การตรวจนับถังใหม่ของคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัด ในการลงครั้งแรก (รวมที่ลงระหว่างเดือนด้วย) และถังใหม่คงเหลือในสิ้นเดือนที่ 1 และ 2
การตรวจสอบทางบัญชีของจำนวนถังหมุนเวียนในโครงการและถังใหม่ที่ใช้แลกเปลี่ยน ซึ่งจะต้องเท่ากัน
4.2 การตรวจผลการแลกถังขาว
การตรวจนับถังขาวของคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดในสิ้นเดือนที่ 1 และ 2
การจัดทำเครื่องหมายไว้ที่ถังขาวเพื่อป้องกันการนับซ้อนหรือนำถังขาวกลับไปใช้ โดยคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัด อาจใช้การป้ายหรือการพ่นสีลงบนถังขาว
การตรวจสอบทางบัญชีของจำนวนถังหมุนเวียนในโครงการ และถังใหม่ที่ใช้แลกเปลี่ยน ซึ่งจะต้องเท่ากันโรงบรรจุก๊าซและผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ต้องแจ้งการขนส่งถังขาวออกจากโรงบรรจุก๊าซและจุดหมายปลายทางต่อคณะอนุกรรมการกำกับฯ ทุกเดือน
คณะอนุกรรมการกำกับฯ จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจนับถังขาวที่จุดปลายทาง (โรงงานทำลายถังหรือคลังก๊าซของผู้ค้า) เพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนถังที่นับได้จากจุดต้นทาง
5) การเรียกคืนเงินช่วยเหลือ
ในกรณีที่เป็นการตรวจนับ ณ สิ้นเดือนที่ 2 ของโครงการหากจำนวนถังขาวที่แลกทั้งหมดในช่วงเวลา 2 เดือน น้อยกว่าจำนวนถังใหม่ที่รัฐจ่ายเงินช่วยเหลือให้ คณะอนุกรรมการกำกับฯ จะนำไปหักกับเงินช่วยเหลือในพื้นที่ต่อไป
หากมีถังขาวสูญหายระหว่างขนส่งไปทำลาย ณ จุดทำลายถัง ซึ่งตรวจสอบได้จากทางบัญชีและการตรวจสอบจริง คณะอนุกรรมการกำกับฯ จะเรียกคืนเงินช่วยเหลือจากผู้ค้าก๊าซ
ระยะเวลาในการทำลายถังขาวทั้งหมด จะต้องกำหนดให้แน่นอน
การตรวจสอบประเมินจำนวนถังขาวทางบัญชีจะกระทำทุกเดือน เพื่อให้สอดคล้องกับการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเรียกเงินคืนจากผู้ค้าก๊าซในกรณีถังขาวสูญหาย สามารถดำเนินการโดยวิธีหักกลบกับเงินช่วยเหลือที่จะต้องจ่ายให้กับผู้ค้าในพื้นที่ต่อไปได้ โดยอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีหักกลบกับเงินช่วยเหลือได้ทัน เมื่อคณะอนุกรรมการกำกับฯ แจ้งให้ผู้ค้าก๊าซดำเนินการคืนเงินช่วยเหลือ แก่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ผู้ค้าก๊าซดำเนินการภายใน 30 วัน หากพ้นระยะนั้นแล้วไม่ดำเนินการใดๆ คณะอนุกรรมการกำกับฯ จะพิจารณาตัดสิทธิ์ของบริษัทผู้ค้าก๊าซดังกล่าวออกจากโครงการแลกเปลี่ยนถังขาว นอกจากนี้หากเห็นว่าบริษัทผู้ค้าก๊าซมีเจตนาของการทุจริตที่ชัดเจนจะส่งเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการเพื่อให้มีการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
(8) การขนส่งถังขาวและการทำลายถังขาว
การขจัดหรือทำลายถังขาวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนถังแล้ว เป็นความรับผิดชอบของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 โดยผู้ค้าก๊าซจะต้องแจ้งแผนการทำลายให้คณะอนุกรรมการกำกับฯ ทราบ โดยรัฐจะใช้ระบบตรวจสอบทางบัญชี และการส่งทีมไปตรวจสอบ ณ สถานที่ดังกล่าวระหว่างขนส่งและสถานที่ทำลาย เพื่อตรวจสอบว่าถังขาวไม่หายไปจากระบบ และมีการทำลายจริง หากพบว่าถังขาวสูญหายคณะอนุกรรมการกำกับฯ จะเรียกเงินคืนจากผู้ค้าก๊าซ รายละเอียดการควบคุมถังขาวระหว่างขนส่งและทำลายตามข้อ (12)
(9) การห้ามบรรจุก๊าซใส่ถังขาว
ในปี 2544 โรงบรรจุก๊าซทุกรายยังได้รับการผ่อนผันให้บรรจุก๊าซใส่ถังขาวได้โดยไม่ถือเป็นความผิด ทั้งนี้การบรรจุก๊าซยี่ห้ออื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดและมีโทษ การผ่อนผันเป็นไปตามนโยบายรัฐบาลที่จะป้องกันไม่ให้ประชาชนที่ใช้ถังขาวเกิดความเดือดร้อนไม่สามารถใช้ถังขาวได้ แต่เมื่อในพื้นที่ใดเริ่มการแลกเปลี่ยนถังขาวแล้ว ในพื้นที่ดังกล่าวจะห้ามการบรรจุก๊าซลงถังขาว โดยหากตรวจพบว่ามีถังขาวที่บรรจุก๊าซจากโรงบรรจุก๊าซของผู้ค้าก๊าซรายใดจะมีการดำเนินคดีกับโรงบรรจุก๊าซและผู้ค้าก๊าซรายนั้น
(10) แนวทางการปฏิบัติของผู้ค้าก๊าซและโรงบรรจุก๊าซหุงต้ม
(10.1) ผู้ค้าก๊าซ
ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะจัดหาถังใหม่สำหรับแลกเปลี่ยนมาไว้ยังโรงบรรจุโดยทุกใบจะต้องมีข้อความว่า “รัฐช่วยราษฎร์แลกถังขาวฟรี” ปรากฏอยู่บนถังก๊าซจัดวางตามความเหมาะสมให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจน
ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ต้องจัดเตรียมสีสำหรับใช้ทำเครื่องหมายบนถังขาวที่ตรวจนับ โดยกำหนดให้ใช้ “สีขาว” สำหรับทำเครื่องหมายบนถังขาวของผู้ค้าที่แลกไว้ก่อนโครงการ และ “สีเหลือง” สำหรับถังขาวที่แลกในโครงการ
ผู้ค้าก๊าซฯ มีหน้าที่ออกเอกสารเป็นหลักฐานแจ้งจำนวนถังใหม่ที่จัดส่งให้กับโรงบรรจุก๊าซฯ เพื่อแสดงราคาให้แก่คณะอนุกรรมการจังหวัด และใช้ขอเงินช่วยเหลือ รวมทั้งต้องออกเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานการนำถังขาวจากโรงบรรจุก๊าซไปทำลาย
ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะต้องประสานโรงบรรจุก๊าซภายใต้เครื่องหมายการค้าของตน สำหรับการดำเนินการแลกเปลี่ยนถังขาว ให้ดำเนินการตามข้อ (10.2) ข้างล่างนี้
(10.2) โรงบรรจุก๊าซ
จัดเตรียมการตั้งป้ายจุดแลกเปลี่ยนถังขาว กำหนดจุดวางถังใหม่ และกำหนดจุดเก็บถังขาวที่แลกไว้
จัดเจ้าหน้าที่ของโรงบรรจุก๊าซฯ เพื่อช่วยเหลือคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดในการตรวจสอบถังก๊าซหุงต้มที่ไม่มีผู้รับผิดชอบซ่อมบำรุง (ถังขาว) ในการจัดเรียงถังใหม่ และถังขาวที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยน เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจนับ และช่วยทำเครื่องหมายบนถังขาว โดยรัฐจะให้เงินเพื่อเป็นค่าจ้างเจ้าหน้าที่โรงบรรจุผ่านบริษัทที่ สพช. จัดจ้างให้ดูแลเรื่องการตรวจนับถัง
ให้เจ้าหน้าที่โรงบรรจุจัดวางถังขาวที่รับแลกเปลี่ยนไว้แล้ว ให้ง่ายและสะดวกต่อการเข้าตรวจเช็คถังทุกใบ
จัดทำบัญชีรายชื่อร้านค้าขายปลีก และจำนวนถังขาวที่ร้านค้าปลีกนั้นๆ นำมาแลกถังใหม่ ณ โรงบรรจุ โดยให้มอบบัญชีแก่คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดในทุกสิ้นเดือนที่ 1 และ 2
ให้เจ้าหน้าที่โรงบรรจุตรวจเช็คถังขาวที่ร้านค้าปลีกก๊าซฯ นำเข้ามาแลกให้ตรงตามนิยามที่ภาครัฐกำหนด
ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดมอบหมาย
(11) แนวทางการปฏิบัติของคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดในการตรวจสอบถังขาวในการตรวจนับถังของโครงการแลกเปลี่ยนถังขาวเพื่อช่วยเหลือประชาชน
สรุปแนวทางการปฏิบัติให้ดูในภาคผนวก 1 และแบบฟอร์มที่ต้องใช้ในภาคผนวก 2 อนึ่งการทำเครื่องหมายบนถังขาวในขั้นตอนปฏิบัติต่อไปนี้ หมายถึง ให้ใช้สีที่ทางผู้ค้าก๊าซจัดหาให้โรงบรรจุก๊าซ โดยทำเป็นเครื่องหมายกากบาททับบนเครื่องหมายการค้าบนถังนั้น โดยใช้”สีขาว” สำหรับถังขาวที่ผู้ค้าแลกไว้ก่อนโครงการ และใช้สี “เหลือง” สำหรับถังขาวที่แลกในโครงการ ขั้นตอนการปฏิบัติเป็น ดังนี้
1) ณ วันก่อนเริ่มโครงการแลกเปลี่ยนถังขาวในพื้นที่
นัดหมายโรงบรรจุก๊าซในพื้นที่เพื่อไปตรวจนับถัง ก่อนโครงการแลกเปลี่ยนถังขาวในพื้นที่จะดำเนินการ โดยการตรวจนับถังครั้งที่ 1 นี้ควรเป็นช่วง 1-2 วันก่อนเริ่มโครงการ
ตรวจนับถังขาวที่ผู้ค้าก๊าซและโรงบรรจุก๊าซได้แลกไว้ก่อนโครงการจะเริ่มขึ้น แล้วบันทึกจำนวนในแบบฟอร์ม 1-1 โดยทำเครื่องหมายบนถังขาวดังกล่าวด้วยสีขาวและให้แยกเก็บไว้โดยเฉพาะ
ตรวจนับถังใหม่ที่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ได้ลงไว้ ณ โรงบรรจุซึ่งเป็นจุดรับแลกเปลี่ยนถัง แล้วบันทึกจำนวนในแบบฟอร์ม 1-1 พร้อมกันนี้ให้ขอดูหลักฐานการลงถังใหม่ ซึ่งผู้ค้าตามมาตรา 7 จะต้องมอบให้โรงบรรจุก๊าซเก็บไว้ โดยจำนวนถังที่ตรวจนับได้จะต้องมีจำนวนตรงกับจำนวนถังใหม่ที่ปรากฏในหลักฐานดังกล่าว และหากจำนวนใดน้อยกว่าให้ยึดถือจำนวนนั้นเป็นสำคัญ
จัดทำรายงานสรุปการได้รับเงินช่วยเหลือของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ของการตรวจนับถังครั้งที่ 1 ตามแบบฟอร์ม 1-2
ให้บันทึกข้อมูลจำนวนถังใหม่สุทธิจากแบบฟอร์ม 1-1 ลงในแบบฟอร์ม 2-1 และจำนวนเงินช่วยเหลือรวมจากแบบฟอร์ม 1-2 ลงในแบบฟอร์ม 2-2 ด้วย
ให้กรอกรายละเอียดของข้อมูลตามแบบฟอร์ม 1-1 และแบบฟอร์ม 1-2 ลงในแบบฟอร์มส่วนที่เป็นของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 คือแบบฟอร์ม 1-1 (ผู้ค้า) และแบบฟอร์ม 1-2 (ผู้ค้า) และมอบให้กับโรงบรรจุก๊าซเพื่อมอบเป็นหลักฐานให้แก่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ในการนำไปขอรับเงินช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดจะต้องจัดส่งแบบฟอร์ม 1-1 และแบบฟอร์ม 1-2 แก่ สพช. ทางไปรษณีย์ โดยลงทะเบียนเพื่อป้องกันการสูญหาย
2) ณ สิ้นเดือนที่ 1 ของโครงการ
นัดหมายโรงบรรจุก๊าซในพื้นที่เพื่อไปตรวจนับถัง หลังโครงการแลกเปลี่ยนถังดำเนินการครบ 1 เดือน โดยการตรวจนับถังครั้งที่ 2 นี้ ควรดำเนินการภายในช่วง 1-3 วันหลังสิ้นเดือนแรกของโครงการ และการตรวจนับถังในแต่ละโรงบรรจุก๊าซควรกระทำให้เสร็จภายใน 1 วัน ตรวจเช็คถังขาวของผู้ค้าที่แลกมาก่อนโครงการยังอยู่ในบริเวณเฉพาะด้วยจำนวนเดิม
ขอดูหลักฐานการลงถังใหม่เพิ่มเติมภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ซึ่งผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะต้องมอบให้โรงบรรจุก๊าซเก็บไว้ แล้วจดบันทึกจำนวนถังใหม่ที่ลงเพิ่มเติมในแบบฟอร์ม 2-1
ตรวจนับถังใหม่สำหรับแลกเปลี่ยนคงเหลือ ณ โรงบรรจุก๊าซ แล้วบันทึกจำนวนในแบบฟอร์ม 2-1
ตรวจนับถังขาวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในเดือนแรก พร้อมกับการทำเครื่องหมายบนถังขาวดังกล่าว โดยใช้สีเหลืองกากบาททับบนเครื่องหมายการค้า แล้วบันทึกจำนวนถังขาวที่ตรวจนับได้ในแบบฟอร์ม 2-1
จัดทำรายงานสรุปการได้รับเงินช่วยเหลือของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ของการตรวจนับถังครั้งที่ 2 ตามแบบฟอร์ม 2-2
ให้บันทึกข้อมูลจำนวนถังใหม่สุทธิ และจำนวนถังขาวที่ตรวจนับได้จากแบบฟอร์ม 2-1 ลงในแบบฟอร์ม 3-1 และบันทึกยอดเงินช่วยเหลือคงเหลือยกไปเดือนต่อไปจากแบบฟอร์ม 2-2 ลงในแบบฟอร์ม 3-2 ด้วย
ให้กรอกรายละเอียดของข้อมูลตามแบบฟอร์ม 2-1 และแบบฟอร์ม 2-2 ลงในแบบฟอร์มส่วนที่เป็นของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 คือแบบฟอร์ม 2-1 (ผู้ค้า) และแบบฟอร์ม 2-2 (ผู้ค้า) และมอบให้โรงบรรจุก๊าซ เพื่อมอบเป็นหลักฐานให้แก่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 เพื่อนำไปขอรับเงินช่วยเหลือจาก สพช. คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดจะต้องจัดส่งแบบฟอร์ม 2-1 และแบบฟอร์ม 2-2 แก่ สพช. ทางไปรษณีย์ โดยลงทะเบียนเพื่อป้องกันการสูญหาย
3) ณ สิ้นเดือนที่ 2 ของโครงการ
นัดหมายโรงบรรจุก๊าซในพื้นที่เพื่อไปตรวจนับถัง หลังโครงการแลกเปลี่ยนถังในเดือนที่สอง ดำเนินการครบเดือน ในการตรวจนับถังครั้งที่ 3 ควรดำเนินการภายในช่วง 1-3 วันหลังสิ้นเดือนที่สองของโครงการ และการตรวจนับถังในแต่ละโรงบรรจุก๊าซควรกระทำให้เสร็จภายใน 1 วัน ตรวจเช็คถังขาวของผู้ค้าที่แลกมาก่อนโครงการยังอยู่ในบริเวณเฉพาะด้วยจำนวนเดิม
ขอดูหลักฐานการลงถังใหม่เพิ่มเติมภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ซึ่งผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะต้องมอบให้โรงบรรจุก๊าซเก็บไว้ แล้วจดบันทึกจำนวนถังใหม่ที่ลงเพิ่มเติมในแบบฟอร์ม 3-1
ตรวจนับถังใหม่สำหรับแลกเปลี่ยนคงเหลือ ณ โรงบรรจุก๊าซแล้วบันทึกจำนวนในแบบฟอร์ม 3-1
ตรวจนับถังขาวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนในเดือนที่สอง พร้อมกับการทำเครื่องหมายบนถังขาวดังกล่าว โดยใช้สีเหลืองกากบาททับบนเครื่องหมายการค้า แล้วบันทึกจำนวนถังขาวที่ตรวจนับได้ในแบบฟอร์ม 3-1
ขอดูหลักฐานการส่งถังขาวที่ตรวจนับไว้ ณ สิ้นเดือนที่ 1 ที่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ส่งไปยังจุดทำลายถัง แล้วบันทึกจำนวนถังขาวดังกล่าวในแบบฟอร์ม 3-1
จัดทำรายงานสรุปการได้รับเงินช่วยเหลือของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ของการตรวจนับถังครั้งที่ 3 ตามแบบฟอร์ม 3-2
ให้กรอกรายละเอียดของข้อมูลตามแบบฟอร์ม 3-1 และแบบฟอร์ม 3-2 ลงในแบบฟอร์มส่วนที่เป็นของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 คือแบบฟอร์ม 3-1 (ผู้ค้า) และแบบฟอร์ม 3-2 (ผู้ค้า) และมอบให้กับโรงบรรจุก๊าซเพื่อมอบเป็นหลักฐานให้แก่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 เพื่อนำไปขอรับเงินช่วยเหลือจาก สพช.
คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดจัดส่งแบบฟอร์ม 3-1 และแบบฟอร์ม 3-2 แก่ สพช. ทางไปรษณีย์ โดยลงทะเบียนเพื่อป้องกันการสูญหาย
4) การตรวจนับถังขาวของคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัด อาจกระทำมากกว่า 3 ครั้งดังกล่าว หากมีผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ร้องขอต่อคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัด สำหรับโรงบรรจุในบางพื้นที่ หากจำนวนถังขาวที่แลกมามีเป็นจำนวนมากและมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บ โดยแนวทางปฏิบัติและแบบฟอร์ม ตั้งแต่ครั้งที่ 3 ขึ้นไปเป็นตามข้อ 3)
(12) แนวทางการปฏิบัติของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ในการขอรับเงินช่วยเหลือจากโครงการแลกเปลี่ยนถังขาวเพื่อช่วยเหลือประชาชน
1) ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะต้องรวบรวมเอกสารการตรวจนับถังของคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัด ในการตรวจสอบถังก๊าซหุงต้มที่ไม่มีผู้รับผิดชอบดูแลซ่อมบำรุง (ถังขาว) ในส่วนของผู้ค้าก๊าซ โดยกรอกแบบฟอร์มตามแบบฟอร์มขอเงินช่วยเหลือ-1 พร้อมหลักฐานประกอบตามที่กำหนด ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ภายหลังที่การตรวจนับถังของคณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดได้ตรวจนับเรียบร้อยแล้วในแต่ละครั้ง ดังนี้
1.1 ครั้งที่ 1 การตรวจนับก่อนเริ่มโครงการ ผู้ค้าก๊าซจะต้องยื่นเอกสาร
แบบฟอร์ม 1-1 (ผู้ค้า) และแบบฟอร์ม 1-2 (ผู้ค้า) ที่คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดตรวจนับถังพร้อมลงนามรับรองความถูกต้อง
แบบฟอร์ม 1-1 (ผู้ค้า) จะต้องมีหลักฐานการลงถังใหม่ก่อนเริ่มโครงการแนบมาด้วยจึงจะถือว่าสมบูรณ์
1.2 ครั้งที่ 2 การตรวจนับ ณ สิ้นเดือนที่ 1 ของโครงการ ผู้ค้าก๊าซจะต้องยื่นเอกสาร
แบบฟอร์ม 2-1 (ผู้ค้า) และแบบฟอร์ม 2-2 (ผู้ค้า) ที่คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดตรวจนับถังพร้อมลงนามรับรองความถูกต้อง
แบบฟอร์ม 2-1 (ผู้ค้า) จะต้องมีหลักฐานการลงถังใหม่เพิ่มเติมระหว่างเดือน 1 แนบมาด้วย จึงจะถือว่าสมบูรณ์ 1.3 ครั้งที่ 3 การตรวจนับถัง ณ สิ้นเดือนที่ 2 ของโครงการ ผู้ค้าก๊าซจะต้องยื่นเอกสาร
แบบฟอร์ม 3-1 (ผู้ค้า) และแบบฟอร์ม 3-2 (ผู้ค้า) ที่คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัดตรวจนับถังพร้อมลงนามรับรองความถูกต้อง
แบบฟอร์ม 3-1 (ผู้ค้า) จะต้องมีหลักฐานการลงถังใหม่เพิ่มเติมระหว่างเดือน 2 และหลักฐานการส่งถังขาวไปยังจุดทำลายในกรณีที่มีการส่งถังขาวที่ตรวจนับแล้วของ สิ้นเดือนที่ 1 ไปทำลาย แนบมาด้วยจึงจะถือว่าสมบูรณ์
2) สพช. ตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานการยื่นขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เสนอรองเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินการขจัดถังก๊าซหุงต้มที่ไม่มีผู้รับผิดชอบดูแลซ่อมบำรุง (ถังขาว) ออกจากตลาดเพื่อรับรองความถูกต้อง และเสนอเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาอนุมัติสั่งจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ค้าก๊าซไปยังกรมบัญชีกลาง
(3) กรมบัญชีกลางจ่ายเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามหนังสือพร้อมหลักฐานจาก สพช. ให้แก่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7
(13) การควบคุมการขนส่งและการทำลายถังขาว
การขจัดหรือทำลายถังขาวที่ได้จากการแลกเปลี่ยนถังแล้ว เป็นความรับผิดชอบของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 โดยรัฐต้องการความมั่นใจว่าถังขาวที่แลกเปลี่ยนไปจะไม่กลับเข้ามาในตลาดก๊าซหุงต้มอีก และในการทำลายถังดังกล่าว ผู้ค้าก๊าซจะไม่เอาถังขาวที่ตนแลกไว้ก่อนมานับรวมกับถังขาวของโครงการ ดังนั้น จึงกำหนดวิธีการในการควบคุมการขนส่งและทำลายถังขาว ดังต่อไปนี้
1) ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะต้องแจ้งแผนการทำลายถังขาวที่ตนเองแลกเปลี่ยนมาได้ ให้คณะอนุกรรมการกำกับฯ ทราบ โดยมีความชัดเจนของจำนวนถังและระยะเวลาในการทำลายถังที่แน่นอน เพื่อคณะอนุกรรมการกำกับฯ จะใช้ในการกำกับดูแลการทำลายถังขาวให้เป็นไปตามแผน
2) ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบขนถังขาว ณ จุดแลกเปลี่ยนถัง (โรงบรรจุก๊าซ) ไปยังจุดทำลายถัง โดยอาจมีการพักถังระหว่างการขนส่ง ณ คลังก๊าซของผู้ค้าก๊าซก็ได้ ซึ่งทุกครั้งที่มีการพักถังระหว่างขนส่งจะต้องมีการแจ้งให้คณะอนุกรรมการกำกับฯ ทราบ ถึงปริมาณถังขาวที่เข้าเก็บและสถานที่ของจุดพักถัง และเมื่อมีการเริ่มขนส่งออกจากจุดพักถังจะต้องแจ้งให้ทราบด้วยว่าจะขนส่งไปยังจุดใด และด้วยปริมาณถังเท่าใด โดยใช้แบบฟอร์มทำลายถัง-1 การแจ้งการส่งถังไปทำลายดังกล่าว จะกระทำทั้งถังขาวของผู้ค้าที่ส่งไปทำลายและถังขาวที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนในโครงการโดยให้กระทำในทันที โดยจัดส่งข้อมูลดังกล่าวต่อ สพช. ทางโทรสารและให้ส่งเอกสารตัวจริงตามมาภายหลัง อนึ่ง คณะอนุกรรมการกำกับฯ จะเข้าไปตรวจสอบการพักถังขาว ณ จุดพักถังเป็นระยะๆ
3) เมื่อผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ได้ขนส่งถังไปยังจุดทำลายแล้ว จะต้องแจ้งจำนวนถังขาว ที่ส่งมอบให้แก่ผู้รับทำลายถัง และรายงานให้คณะอนุกรรมการกำกับฯ ทราบทันที ตามแบบฟอร์มทำลายถัง 2 โดยผู้ค้าตามมาตรา 7 จะต้องส่งรายงานดังกล่าวให้ สพช. ทางโทรสารและให้ส่งตัวจริงตามมาภายหลัง
4) ผู้รับทำลายถังจะต้องแยกการเก็บถังขาวก่อนทำลายของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 โดยแยกเก็บสำหรับผู้ค้าก๊าซแต่ละราย และการจัดเก็บต้องสะดวกแก่การตรวจสอบของคณะอนุกรรมการกำกับฯ ที่จะเข้าไปตรวจสอบเป็นระยะๆ
5) ผู้รับทำลายถังขาวจะต้องจัดทำบัญชีแสดงถังขาว ณ จุดทำลายถัง โดยแยกเป็นบัญชีของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 แต่ละรายและรายงานให้คณะอนุกรรมการกำกับฯ ทราบ ทุก 15 วัน ประกอบด้วย จำนวนถังขาวที่รับจากผู้ค้ามาตรา 7 จำนวนถังขาวคงเหลือ ณ สถานที่ทำลาย และจำนวนถังขาวที่ทำลายแล้วตามแบบฟอร์มทำลายถัง 3 โดยส่งรายงานดังกล่าวต่อ สพช. ทางโทรสารก่อนและให้ส่งตัวจริงตามมาภายหลัง
6) ในการจ่ายเงินช่วยเหลือจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ให้แก่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ที่เป็นไปตามมติคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.) จะหมายถึง การช่วยเหลือในการจัดหาถังใหม่ ที่เท่ากับจำนวนถังขาว ที่นำออกจากตลาดก๊าซหุงต้ม ดังนั้น หากตัวเลขทางบัญชีของถังขาวของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ณ สถานที่ทำลายถัง ต่ำกว่าจำนวนถังขาว ที่ตรวจนับได้ ณ จุดแลกเปลี่ยนถัง (โรงบรรจุก๊าซ) คณะอนุกรรมการกำกับฯ ก็จะเรียกคืนเงินช่วยเหลือ จากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ได้จ่ายให้แก่ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ไปแล้ว โดยการตรวจสอบจำนวนถังขาวทางบัญชี ณ จุดทำลายถังของคณะอนุกรรมการกำกับฯจะดำเนินการใน 2 จุด ได้แก่
ณ จุดรับถังขาวของศูนย์ทำลายถัง สำหรับผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 แต่ละราย จำนวนถังขาวรวมที่ส่งเข้าจุดทำลายถังจะต้องเท่ากับจำนวนถังขาวรวมที่ผู้ค้าก๊าซ ได้แจ้งการส่งถังขาวไปทำลายไว้ ณ จุดแลกเปลี่ยนถัง (โรงบรรจุก๊าซ) โดยหักจำนวนถังขาวที่อยู่ระหว่างจุดพักถัง ณ จุดสุดท้ายที่มีการทำลายถังแล้ว จำนวนถังขาวที่ทำลายแล้ว จะต้องเท่ากับจำนวนถังขาวที่เข้ามายังศูนย์ทำลายหักด้วยจำนวนถังขาวคงเหลือในศูนย์ทำลายที่ยังไม่ได้ทำลาย
7) การตรวจสอบประเมินจำนวนถังขาวทางบัญชีจะกระทำทุกเดือน เพื่อให้สอดคล้องกับการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเรียกเงินคืนจากผู้ค้าก๊าซในกรณีถังขาวสูญหาย สามารถดำเนินการโดยวิธีหักกลบกับเงินช่วยเหลือที่จะต้องจ่ายให้กับผู้ค้าในพื้นที่ต่อไปได้ โดยอัตโนมัติ
อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีหักกลบกับเงินช่วยเหลือได้ทัน เมื่อคณะอนุกรรมการกำกับฯ แจ้งให้ผู้ค้าก๊าซดำเนินการคืนเงินช่วยเหลือแก่กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ผู้ค้าก๊าซดำเนินการภายใน 30 วัน หากพ้นระยะนั้นแล้วไม่ดำเนินการใดๆ คณะอนุกรรมการกำกับฯ จะพิจารณาตัดสิทธิ์ของบริษัทผู้ค้าก๊าซดังกล่าวออกจากโครงการแลกเปลี่ยนถังขาว นอกจากนี้ หากเห็นว่าบริษัทผู้ค้าก๊าซมีเจตนาของการทุจริตที่ชัดเจนจะส่งเรื่องเพื่อให้คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแลกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมาย เพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลน น้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการเพื่อให้มีการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
8) การทำลายถังของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ต้องเป็นไปตามแผนที่แจ้งไว้หากล่าช้าจะต้องชี้แจงต่อคณะอนุกรรมการกำกับฯ หากอนุกรรมการกำกับฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าการทำลายถังของผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 เป็นไปแบบไม่มีประสิทธิภาพ คณะอนุกรรมการกำกับฯ มีสิทธิที่จะเข้าไปจัดการให้ผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 รายนั้นดำเนินการตามที่เห็นสมควร
9) เมื่อสิ้นสุดโครงการคณะอนุกรรมการกำกับฯ จะตรวจสอบปริมาณถังขาวที่ทำลายได้ โดยจะคำนึงถึงปริมาณถังขาวของผู้ค้าที่แลกไว้ก่อนหน้าโครงการด้วย ประกอบกันเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ค้าก๊าซจะไม่นำถังขาวจำนวนนั้นมานับรวม
10) เนื่องจากผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 เป็นผู้ได้รับผลกระทบ จากการได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้นผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบจัดการให้ผู้รับทำลายถัง มีระบบการป้องกันไม่ให้ถังขาว สูญหายจากจุดทำลาย และอำนวยความสะดวกให้แก่คณะอนุกรรมการฯ ในการเข้าไปตรวจสอบถังขาว ณ สถานที่ทำลายถังขาว
(14) การตรวจสอบแบบประเมินผลโครงการแลกเปลี่ยนถังขาว
1) ทีมเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง จะออกตรวจตราโรงบรรจุก๊าซว่า ไม่มีผู้ค้านำถังขาวของตนเอง ที่คณะอนุกรรมการส่วนจังหวัด ได้แยกไว้ในพื้นที่เฉพาะ ออกไปใช้แลกเปลี่ยนถังในพื้นที่ ที่มีการแลกเปลี่ยนหลังๆ
2) คณะอนุกรรมการกำกับฯ จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบ ณ จุดพักถังขาว และศูนย์ทำลายถังขาว เพื่อตรวจสอบจำนวนถังขาวที่อยู่ในสถานีที่เหล่านั้นสอดคล้องตามรายงานหรือไม่ หากมีจำนวนถังขาวที่ปรากฏน้อยกว่าที่รายงานไว้ คณะอนุกรรมการกำกับฯ จะบันทึกจำนวนที่หายไป และนำมาเรียกเงินช่วยเหลือคืนจากผู้ค้าก๊าซมาตรา 7
3) เจ้าหน้าที่ตำรวจทีมงานปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับก๊าซปิโตรเลียมเหลว สุ่มตรวจตามโรงบรรจุก๊าซ และร้านค้าก๊าซในพื้นที่ที่การแลกเปลี่ยนถังขาวเสร็จสิ้นแล้ว ว่ายังมีถังขาวที่ลักลอบบรรจุและจำหน่ายอยู่หรือไม่ ซึ่งหากปรากฏจะมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย แก่โรงบรรจุและผู้ค้าก๊าซตามมาตรา 7 ที่เป็นเจ้าของยี่ห้อ
(15) การตรวจสอบและจับกุมการกระทำผิด
1) การปราบปรามการลักลอบบรรจุถังก๊าซหุงต้มของสถานีบริการก๊าซสำหรับรถยนต์ ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ได้ห้ามการอัดบรรจุก๊าซลงถังก๊าซหุงต้ม ในสถานีบริการก๊าซสำหรับรถยนต์ เนื่องจากไม่มีความปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามยังมีประชาชนที่ขาดความเข้าใจ และสถานีบริการที่ไม่รับผิดชอบ จึงยังมีการลักลอบอัดบรรจุก๊าซหุงต้มในสถานีบริการ เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายจากการอัดบรรจุดังกล่าว นอกจากกรมโยธาธิการจะเป็นผู้ตรวจตราตามปกติแล้ว สพช. ได้ขอความร่วมมือจากกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตรวจและจับกุมดำเนินคดีสถานีบริการที่กระทำผิด
2) การปราบปรามถังก๊าซที่ไม่มีตรา มอก. ถังก๊าซหุงต้มที่ไม่มีเครื่องหมาย สมอ. ถือเป็นถังก๊าซที่ผิดกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เพราะไม่มีมาตรฐานตามที่กำหนดจึงอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้งาน เจ้าหน้าที่โยธาธิการและเจ้าหน้าที่ตำรวจจะออกสำรวจตามโรงบรรจุก๊าซ และร้านค้าก๊าซ หากพบว่ามีการบรรจุก๊าซลงถังดังกล่าวจากโรงบรรจุใดที่จะมีการดำเนินคดีอย่างเคร่งครัดกับโรงบรรจุ และผู้ค้าก๊าซเจ้าของยี่ห้อ
3) การป้องกันและปราบปรามการลักลอบผลิตและจำหน่ายถังขาว กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดทีมจากชุดตำรวจงานป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม เพื่อเฝ้าโรงงานผลิตถังเพื่อไม่ให้มีการผลิตถังขาวเข้ามาในตลาด
4) การป้องกันและปราบปรามการลักลอบบรรจุถังขาว เมื่อโครงการแลกเปลี่ยนถังขาวได้ดำเนินการในพื้นที่ใดแล้ว ในพื้นที่นั้นจะห้ามบรรจุก๊าซลงถังขาวทันที ดังนั้น หากมีการบรรจุก๊าซลงถังขาวจะมีความผิดตามกฎหมายกระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่โยธาธิการ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ จะออกตรวจโรงบรรจุก๊าซ และร้านค้าก๊าซในพื้นที่ หากพบว่ามีการบรรจุก๊าซลงถังขาว จะทำการจับกุมดำเนินคดี โรงบรรจุก๊าซ และผู้ค้าก๊าซเจ้าของยี่ห้อด้วย
5) การปราบปรามการหลอกลวงผู้บริโภคให้จ่ายเงินสำหรับการแลกถัง เมื่อมีผู้บริโภคแจ้งเรื่องการเรียกเก็บเงินจากร้านค้าก๊าซหุงต้ม เพื่อเปลี่ยนถังก๊าซใหม่ ตามปกติจะแก้ปัญหาโดยใช้การบริหารก่อน โดยให้หน่วยงานจังหวัด (โยธาธิการจังหวัด/ทะเบียนการค้าจังหวัด) เจรจากับเจ้าของร้านค้าก๊าซ ถ้าร้านค้าก๊าซดังกล่าวปฏิเสธการแลกเปลี่ยนถัง ให้จัดหาร้านค้าก๊าซรายใหม่สำหรับผู้บริโภค พร้อมกับการดำเนินการ จะมีการประสานสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียม (ร้านค้าปลีก) ให้ช่วยเจรจากับเจ้าของร้านค้าก๊าซที่มีปัญหา อย่างไรก็ตามหากร้านค้าก๊าซอ้างโดยให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เช่น แอบอ้างว่าถังเก่า/บาง/หรือชำรุด โดยที่ถังไม่ได้มีสภาพดังกล่าว เพื่อให้ผู้บริโภคจ่ายค่าเปลี่ยนถัง ในกรณีนี้จะให้ตำรวจดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกง กับร้านค้าก๊าซดังกล่าว โดยประชาชนสามารถแจ้งหรือร้องเรียนทางสายด่วนของตำรวจ โทร. 1194
(16) แผนการประชาสัมพันธ์
1) คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน (กพง.) ในการประชุมครั้งที่ 8/2444 (ครั้งที่ 37) เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 ได้มีมติเห็นชอบแผนงานประชาสัมพันธ์การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการใช้ก๊าซหุงต้ม จำนวนเงิน 20 ล้านบาท สำหรับแผนงานประชาสัมพันธ์ฯ จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเกิดความรู้ความเข้าใจวิธีสังเกต “ถังขาว” ประชาชนทราบเจตนารมณ์ของภาครัฐในแผนปฏิบัติการแลกเปลี่ยนถังขาวและพร้อมใจให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการนำถังขาวที่อยู่ในมือมาแลกเปลี่ยนตามโครงการแลกเปลี่ยนถัง และที่สำคัญอย่างยิ่ง ประชาชนสามารถรู้วิธีปกป้องผลประโยชน์ของตนเองจากการเอารัดเอาเปรียบจากการบรรจุเนื้อก๊าซไม่ได้มาตรฐาน รู้วิธีการร้องทุกข์และติดต่อหน่วยงานที่รับเรื่องร้องทุกข์ได้สะดวกรวดเร็ว และเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนงานรณรงค์ประชาสัมพันธ์และบริหารเครื่องมือสื่อสารและการสื่อสารถึงแต่ละกลุ่มเป้าหมายมีขั้นตอนที่ชัดเจน และเสริมซึ่งกันและกัน
(ยังมีต่อ)
--สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ--
-ยก-