แท็ก
ญี่ปุ่น
ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นคนที่ประณีตและพิถีพิถัน จึงมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงคุณภาพที่ดีมากกว่าราคาที่ถูกเนื่องจากมีกำลังซื้อสูง สินค้าประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวเป็นหนึ่งในสินค้าที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสำคัญในการเลือกซื้อ โดยในแต่ละปีญี่ปุ่นนำเข้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวที่ทำจากเซรามิกและพอร์ซเลนจากต่างประเทศปีละเกือบ 8 พันล้านบาท ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันชาวญี่ปุ่นนิยมเลือกซื้อภาชนะเครื่องใช้ที่มีลวดลายที่เป็นรูปแบบเฉพาะของแต่ละประเทศ ทำให้สินค้าจากไทยมีลู่ทางในการขยายตลาดในญี่ปุ่นได้อีก
สำหรับข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวในตลาดญี่ปุ่น พอสรุปได้ดังนี้
1. มาตรการทางด้านภาษี ปัจจุบันญี่ปุ่นให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ รวมทั้งไทย ทำให้เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวที่ทำจากเซรามิกและพอร์ซเลนได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าจากอัตราปกติ (General Rate) ที่เก็บร้อยละ 3.4 ของราคาสินค้า และอัตราสำหรับสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ที่เรียกเก็บร้อยละ 2.3 ของราคาสินค้า
2. ระเบียบการนำเข้า ตามกฎหมายสุขอนามัยอาหารของญี่ปุ่น (Food Sanitation Law) จะครอบคลุมถึงเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวด้วย ผู้รับผิดชอบกฎหมายฉบับนี้ คือ กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของญี่ปุ่น ซึ่งได้กำหนดระเบียบในการนำเข้า ดังนี้
= ผู้นำเข้าต้องยื่นเอกสารการนำเข้าที่เรียกว่า “Notification Form for Importation of Foods ” ต่อหน่วยงานของญี่ปุ่น ณ จุดนำเข้า (ท่าเรือหรือท่าอากาศยาน) พร้อมเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ขั้นตอนการผลิต วัตถุดิบและส่วนประกอบ เป็นต้น โดยจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร
= เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นจะสุ่มตรวจสินค้า ณ คลังสินค้า (Cargo) สำหรับสินค้าที่ได้ใบรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานในประเทศผู้ส่งออกหรือหน่วยงานที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การยอมรับ เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นอาจไม่สุ่มตรวจอีก
= หากสินค้าผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานที่กำหนด เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นจะออกใบรับรองที่เรียกว่า“Certificate of Notification Processing ” หรือ “Certificate of Passing Inspection ” โดยผู้นำเข้าต้องนำใบรับรองที่ได้รับไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรของญี่ปุ่น เพื่อแสดงว่าสินค้านั้นไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค (อาทิ ไม่มีสารตะกั่วและแคดเมี่ยมสูงเกินกำหนด) และอนุญาตให้นำเข้าเพื่อวางจำหน่ายในญี่ปุ่นได้ แต่หากสินค้าไม่ผ่านการตรวจสอบ สินค้าดังกล่าวจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรืออาจอนุญาตให้นำเข้าได้แต่ต้องเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นอย่างอื่น
3. การติดฉลากสินค้า กฎหมายญี่ปุ่นไม่มีข้อบังคับให้สินค้าประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวต้องติดฉลากสินค้า อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมักจะติดฉลากด้วยความสมัครใจ เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคในญี่ปุ่นมีความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้านั้น เช่น
= JIS Mark เป็นฉลากสินค้าที่กำหนดโดย Japanese Standards Association เพื่อแสดงคุณสมบัติของสินค้า เช่น เป็นเซรามิกที่ทนความร้อน เป็นต้น
= Ceramic Ware Safety Mark เป็นฉลากสินค้าที่กำหนดโดย Japanese Pottery Manufactures ’ Federation เพื่อแสดงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน
4. รสนิยมการเลือกซื้อ ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้อเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวที่มีคุณภาพและมีความประณีตสูง เช่น ภาชนะเครื่องเคลือบดินเผาเนื้อละเอียด พอร์ซเลนสีขาว ภาชนะเครื่องหินเคลือบและภาชนะเครื่องหินควอตซ์สีต่างๆ ฯลฯ โดยมักเน้นสินค้ายี่ห้อที่มีชื่อเสียง (Brand Name) แต่มีรูปแบบที่เรียบง่าย และสามารถแยกซื้อเป็นชิ้นได้ตามความต้องการของผู้ซื้อ
5. ส่วนแบ่งตลาด แบ่งเป็น 2 กลุ่มสินค้า คือ
= เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวที่ทำจากเซรามิก ในปี 2543 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นราว 5.4% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด สูงเป็นอันดับ 4 รองจากจีน (60.0%) สหราชอาณาจักร (9.2%) และอิตาลี (6.4%)
= เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวที่ทำจากพอร์ซเลน ในปี 2543 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นราว 2.0% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด สูงเป็นอันดับ 5 รองจากสหราชอาณาจักร (40.7%) เยอรมนี (12.8%) จีน (11.6%) และอิตาลี (8.8%)
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2545--
-อน-
สำหรับข้อมูลเบื้องต้นที่น่าสนใจเกี่ยวกับเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวในตลาดญี่ปุ่น พอสรุปได้ดังนี้
1. มาตรการทางด้านภาษี ปัจจุบันญี่ปุ่นให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (Generalized System of Preferences: GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ รวมทั้งไทย ทำให้เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวที่ทำจากเซรามิกและพอร์ซเลนได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าจากอัตราปกติ (General Rate) ที่เก็บร้อยละ 3.4 ของราคาสินค้า และอัตราสำหรับสมาชิกองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ที่เรียกเก็บร้อยละ 2.3 ของราคาสินค้า
2. ระเบียบการนำเข้า ตามกฎหมายสุขอนามัยอาหารของญี่ปุ่น (Food Sanitation Law) จะครอบคลุมถึงเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวด้วย ผู้รับผิดชอบกฎหมายฉบับนี้ คือ กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของญี่ปุ่น ซึ่งได้กำหนดระเบียบในการนำเข้า ดังนี้
= ผู้นำเข้าต้องยื่นเอกสารการนำเข้าที่เรียกว่า “Notification Form for Importation of Foods ” ต่อหน่วยงานของญี่ปุ่น ณ จุดนำเข้า (ท่าเรือหรือท่าอากาศยาน) พร้อมเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ขั้นตอนการผลิต วัตถุดิบและส่วนประกอบ เป็นต้น โดยจะมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร
= เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นจะสุ่มตรวจสินค้า ณ คลังสินค้า (Cargo) สำหรับสินค้าที่ได้ใบรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานในประเทศผู้ส่งออกหรือหน่วยงานที่รัฐบาลญี่ปุ่นให้การยอมรับ เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นอาจไม่สุ่มตรวจอีก
= หากสินค้าผ่านการตรวจสอบตามมาตรฐานที่กำหนด เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นจะออกใบรับรองที่เรียกว่า“Certificate of Notification Processing ” หรือ “Certificate of Passing Inspection ” โดยผู้นำเข้าต้องนำใบรับรองที่ได้รับไปยื่นต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรของญี่ปุ่น เพื่อแสดงว่าสินค้านั้นไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค (อาทิ ไม่มีสารตะกั่วและแคดเมี่ยมสูงเกินกำหนด) และอนุญาตให้นำเข้าเพื่อวางจำหน่ายในญี่ปุ่นได้ แต่หากสินค้าไม่ผ่านการตรวจสอบ สินค้าดังกล่าวจะถูกส่งกลับ ทำลาย หรืออาจอนุญาตให้นำเข้าได้แต่ต้องเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในการใช้งานเป็นอย่างอื่น
3. การติดฉลากสินค้า กฎหมายญี่ปุ่นไม่มีข้อบังคับให้สินค้าประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวต้องติดฉลากสินค้า อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการมักจะติดฉลากด้วยความสมัครใจ เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคในญี่ปุ่นมีความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้านั้น เช่น
= JIS Mark เป็นฉลากสินค้าที่กำหนดโดย Japanese Standards Association เพื่อแสดงคุณสมบัติของสินค้า เช่น เป็นเซรามิกที่ทนความร้อน เป็นต้น
= Ceramic Ware Safety Mark เป็นฉลากสินค้าที่กำหนดโดย Japanese Pottery Manufactures ’ Federation เพื่อแสดงถึงความปลอดภัยในการใช้งาน
4. รสนิยมการเลือกซื้อ ชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่นิยมเลือกซื้อเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวที่มีคุณภาพและมีความประณีตสูง เช่น ภาชนะเครื่องเคลือบดินเผาเนื้อละเอียด พอร์ซเลนสีขาว ภาชนะเครื่องหินเคลือบและภาชนะเครื่องหินควอตซ์สีต่างๆ ฯลฯ โดยมักเน้นสินค้ายี่ห้อที่มีชื่อเสียง (Brand Name) แต่มีรูปแบบที่เรียบง่าย และสามารถแยกซื้อเป็นชิ้นได้ตามความต้องการของผู้ซื้อ
5. ส่วนแบ่งตลาด แบ่งเป็น 2 กลุ่มสินค้า คือ
= เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวที่ทำจากเซรามิก ในปี 2543 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นราว 5.4% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด สูงเป็นอันดับ 4 รองจากจีน (60.0%) สหราชอาณาจักร (9.2%) และอิตาลี (6.4%)
= เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัวที่ทำจากพอร์ซเลน ในปี 2543 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดในญี่ปุ่นราว 2.0% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด สูงเป็นอันดับ 5 รองจากสหราชอาณาจักร (40.7%) เยอรมนี (12.8%) จีน (11.6%) และอิตาลี (8.8%)
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีนาคม 2545--
-อน-