ที่รัฐสภา วันที่ 11 มีนาคม 2545 ตัวแทนสมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์
แห่งประเทศไทย นำโดยนายวีระ ประทีปชัยกูร นายกสมาคมฯ ได้เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา โดยนายวีระกล่าวว่า ในรอบปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์
แทรกแซงสื่อเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะล่าสุดกรณี ปปง. ทำหนังสือให้ตรวจสอบบัญชี
ทรัพย์สินสื่อมวลชน เราจำเป็นต้องแสดงจุดยืนเพราะเป็นการคุกคามอย่างชัดแจ้ง ถือเป็นการ
กระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งริดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อและสิทธิส่วนบุคคล อยากเรียกร้อง
ประธานสภาฯ ใช้อำนาจนิติบัญญัติส่งเรื่องให้คณะกรรมาธิการในสภาตรวจสอบ
นายอุทัยกล่าวว่า แม้เป็นประธานสภาต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง
สภาไม่สามารถออกความเห็นในเรื่องนี้ได้ จะไปบอกว่ามันดำหรือแดงไม่ได้ อยากให้เข้าใจถึง
กฎเกณฑ์การทำงานก่อนว่าตนเองไม่มีอำนาจ เช่น ในกรณีที่ประชาชนเข้าชื่อมาให้ถอดถอน
นาย ก. หรือนาย ข. ประธานรัฐสภาก็ไม่มีหน้าที่ถอดถอน แต่เป็นหน้าที่ของ ส.ส. จึงขอแนะนำ
ให้ผู้ยื่นเสนอเรื่องเข้าสู่คณะกรรมาธิการสามัญ เพราะมีหลายกรรมาธิการดูแลอยู่ เช่น
คณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน อยากให้ยื่นจากล่างสู่บนจะดีกว่า
ด้านนายวีระกล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการคุกคามเสรีภาพ แต่เป็นเรื่องของ
ริดรอนเสรีภาพของประชาชนแล้ว หวังว่าประธานควรจะใช้อำนาจแก้ปัญหาตรงนี้หรือสั่งการให้
หน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยตรวจสอบ ซึ่งนายอุทัยกล่าวตอบว่าประธานสภาเสนอเรื่องให้ตรวจสอบ
เองไม่ได้ แต่ตนอาจจะทำหนังสือให้แจ้งยังฝ่ายบริหารว่า ประชาชนรู้สึกเป็นห่วงขอให้รัฐบาลดำเนินการ
โดยเร่งด่วนเพื่อความสงบสุขของทุกคน
จากนั้นนายอุทัยได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนต้องการให้ ส.ส. เป็นผู้ญัตตินี้เอง แค่
5 คน ก็เข้าชื่อเสนอญัตติได้แล้ว อยากให้ของบทบาทของผู้แทนราษฎร 500 คน เพื่อให้มีมติ
อย่างหนึ่งอย่างใดออกมาจะได้ส่งให้รัฐบาลดำเนินการ ผู้สื่อข่าวถามว่าที่ผ่านมาเคยมีคณะบุคคลยื่นเรื่อง
ร้องเรียน ซึ่งประธานสภาได้ส่งเรื่องให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการ แต่ทำไมเรื่องนี้ส่งให้
คณะกรรมาธิการสภาไม่ได้ อย่างไรก็ตามประธานสภาฯ กล่าวอีกว่า ต้องดูว่าเรื่องที่รับจากประชาชน
เป็นเรื่องอะไร ถ้าเป็นเรื่องที่สายงานในสภามีอยู่แล้วก็ต้องยื่นให้ถูกช่อง แต่อยากให้นำมาพูดในสภาดีกว่า
จะได้มีทางออก
---------------------------------------------------
แห่งประเทศไทย นำโดยนายวีระ ประทีปชัยกูร นายกสมาคมฯ ได้เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกต่อ
นายอุทัย พิมพ์ใจชน ประธานรัฐสภา โดยนายวีระกล่าวว่า ในรอบปีที่ผ่านมามีเหตุการณ์
แทรกแซงสื่อเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะล่าสุดกรณี ปปง. ทำหนังสือให้ตรวจสอบบัญชี
ทรัพย์สินสื่อมวลชน เราจำเป็นต้องแสดงจุดยืนเพราะเป็นการคุกคามอย่างชัดแจ้ง ถือเป็นการ
กระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งริดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อและสิทธิส่วนบุคคล อยากเรียกร้อง
ประธานสภาฯ ใช้อำนาจนิติบัญญัติส่งเรื่องให้คณะกรรมาธิการในสภาตรวจสอบ
นายอุทัยกล่าวว่า แม้เป็นประธานสภาต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง
สภาไม่สามารถออกความเห็นในเรื่องนี้ได้ จะไปบอกว่ามันดำหรือแดงไม่ได้ อยากให้เข้าใจถึง
กฎเกณฑ์การทำงานก่อนว่าตนเองไม่มีอำนาจ เช่น ในกรณีที่ประชาชนเข้าชื่อมาให้ถอดถอน
นาย ก. หรือนาย ข. ประธานรัฐสภาก็ไม่มีหน้าที่ถอดถอน แต่เป็นหน้าที่ของ ส.ส. จึงขอแนะนำ
ให้ผู้ยื่นเสนอเรื่องเข้าสู่คณะกรรมาธิการสามัญ เพราะมีหลายกรรมาธิการดูแลอยู่ เช่น
คณะกรรมาธิการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน อยากให้ยื่นจากล่างสู่บนจะดีกว่า
ด้านนายวีระกล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการคุกคามเสรีภาพ แต่เป็นเรื่องของ
ริดรอนเสรีภาพของประชาชนแล้ว หวังว่าประธานควรจะใช้อำนาจแก้ปัญหาตรงนี้หรือสั่งการให้
หน่วยงานที่รับผิดชอบช่วยตรวจสอบ ซึ่งนายอุทัยกล่าวตอบว่าประธานสภาเสนอเรื่องให้ตรวจสอบ
เองไม่ได้ แต่ตนอาจจะทำหนังสือให้แจ้งยังฝ่ายบริหารว่า ประชาชนรู้สึกเป็นห่วงขอให้รัฐบาลดำเนินการ
โดยเร่งด่วนเพื่อความสงบสุขของทุกคน
จากนั้นนายอุทัยได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนต้องการให้ ส.ส. เป็นผู้ญัตตินี้เอง แค่
5 คน ก็เข้าชื่อเสนอญัตติได้แล้ว อยากให้ของบทบาทของผู้แทนราษฎร 500 คน เพื่อให้มีมติ
อย่างหนึ่งอย่างใดออกมาจะได้ส่งให้รัฐบาลดำเนินการ ผู้สื่อข่าวถามว่าที่ผ่านมาเคยมีคณะบุคคลยื่นเรื่อง
ร้องเรียน ซึ่งประธานสภาได้ส่งเรื่องให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการ แต่ทำไมเรื่องนี้ส่งให้
คณะกรรมาธิการสภาไม่ได้ อย่างไรก็ตามประธานสภาฯ กล่าวอีกว่า ต้องดูว่าเรื่องที่รับจากประชาชน
เป็นเรื่องอะไร ถ้าเป็นเรื่องที่สายงานในสภามีอยู่แล้วก็ต้องยื่นให้ถูกช่อง แต่อยากให้นำมาพูดในสภาดีกว่า
จะได้มีทางออก
---------------------------------------------------