รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีประกาศ ลงวันที่ 29 มีนาคม 2545 ให้ความเห็นชอบ ให้มีการรวมกิจการของธนาคารศรีนครจำกัด (มหาชน) กับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) การรวมกิจการดังกล่าวจะไม่มีการหยุดดำเนินการของธนาคารใดเลย แต่จะให้ธนาคารนครหลวงไทยเป็นแกนหลักเพราะมีขนาดที่ใหญ่กว่า และให้โอนกิจการของธนาคารศรีนคร ให้แก่ธนาคารนครหลวงไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2545 เป็นต้นไป โดยสาขาและสำนักงานทุกแห่งของธนาคารศรีนครเดิมและธนาคารนครหลวงไทย จะเปิดดำเนินการตามปกติในชื่อธนาคารนครหลวงไทย ไปก่อน รวมทั้งพนักงานของธนาคารทั้งสองจะรวมเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า หลังจากที่ธนาคารศรีนครและธนาคารนครหลวงไทย ได้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด เป็นจำนวนสูง สินเชื่อของธนาคารทั้งสองมีจำนวนน้อยลงเหลือประมาณแห่งละ 60,000 ล้านบาทเศษ แม้จะมีคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น แต่ก็จะเผชิญปัญหาการแข่งขันในเชิงธุรกิจในระยะยาว ซึ่งธนาคารที่มีความแข็งแกร่งทั้งด้านขนาด คุณภาพสินทรัพย์ การจัดการบริหารที่ดีจึงมีโอกาสได้เปรียบสูงกว่า ซึ่งแนวโน้มในระดับสากลได้เกิดการรวมตัวของสถาบันการเงิน หรือบริษัทขนาดใหญ่ด้วยกันมากขึ้น เป็นแรงกดดันให้สถาบันการเงินและธุรกิจอื่นของไทยควรเร่งมีการรวมตัวกันให้มากขึ้นและเร็วขึ้นเพื่อพร้อมรับการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
โดยหลักการควบรวมกิจการอาจทำได้หลายรูปแบบ แบบหนึ่งคือ ตั้งธนาคารแห่งใหม่ขึ้นมาแล้วโอนกิจการของธนาคารทั้งสองไปให้ธนาคารใหม่นั้น แต่การปฏิบัติดังกล่าวมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลานานกว่า เช่นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ ต้องขอใบอนุญาตการประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ใหม่ รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการดังกล่าวที่เพิ่มมากขึ้นโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ การดำเนินการใดๆที่ใช้เวลาย่อมก่อให้เกิดความสับสนทำให้ขั้นตอนต่างๆสะดุดลงได้ จึงหันไปใช้แบบที่สอง
ในแบบที่สองการรวมกิจการแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนแรก เป็นขั้นตอนของการรวมทางบัญชี และการบริหาร โดยในวันที่ 1 เมษายน 2545 ธนาคารศรีนครจะโอนสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันทั้งหมดในราคาตามบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2545 ให้ธนาคารนครหลวงไทย รวมทั้งเปลี่ยนสาขาและสำนักงานทั้งหมดเป็นสาขาและสำนักงานธนาคารนครหลวงไทย พนักงานทั้งหมดของธนาคารศรีนครจะรวมเป็นพนักงานธนาคารนครหลวงไทยและปฏิบัติงานทุกอย่างตามปกติ ณ สาขาหรือสำนักงานเดิม แต่ใช้ชื่อธนาคารนครหลวงไทยในการดำเนินธุรกิจขั้นตอนที่สอง เป็นการดำเนินการเชื่อมโยงหรือรวมระบบการปฏิบัติงานต่างๆ ของธนาคารทั้งสองเข้าด้วยกัน เช่น ระบบโอนเงิน ระบบชำระเงิน ระบบบัตรเครดิต และระบบบัญชีหรือข้อมูลจนสามารถปฏิบัติร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งบางระบบสามารถกระทำได้โดยเร็ว และบางระบบต้องใช้เวลา คาดว่ากระบวนการนี้จะเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 1 ปีขั้นตอนที่สาม เป็นการปรับปรุงนโยบายและกลยุทธ์ของการดำเนินธุรกิจรวมทั้งปรับปรุงภาพลักษณ์ใหม่ของธนาคาร ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถเตรียมการควบคู่ไปได้ทันทีในขณะนี้ เพื่อให้พร้อมที่จะปฏิบัติได้ทันทีเมื่อการรวมระบบต่าง ๆ ตามขั้นตอนที่สองคืบหน้าไปมากพอแล้วการรวมกิจการด้วยวิธีนี้ ไม่มีการปิดกิจกรรมหรือหยุดการให้บริการใดๆ ที่ธนาคารศรีนครเคยปฏิบัติอยู่ ลูกค้า ผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่ใช้บริการทั้งจากธนาคารศรีนคร และธนาคารนครหลวงไทย ยังคงสามารถใช้บริการและดำเนินธุรกรรมทางการเงินกับทุกสำนักงานและทุกสาขาของธนาคารศรีนครเดิม และธนาคารนครหลวงไทย ได้เป็นปกติและต่อเนื่องตามเดิมทุกประการ ในชื่อธนาคารนครหลวงไทยไปก่อน สำหรับพนักงานทั้งหมดของธนาคารศรีนครจะรวมเข้าเป็นพนักงานของธนาคารนครหลวงไทย และยังคงปฏิบัติงานต่อเนื่องในสำนักงานหรือสาขาเดิมของธนาคารศรีนครต่อไป รวมทั้งยังคงให้บริการต่อประชาชนเป็นปกติเหมือนเดิม และเมื่อดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนที่สองและขั้นตอนที่สามแล้ว ก็จะพัฒนาขึ้นเป็นธนาคารที่มั่นคง แข็งแรง สำหรับรองรับความเจริญของเศรษฐกิจต่อไปได้
ผลดีของการรวมกิจการ
เมื่อรวมกันแล้วจะกลายเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 5 ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย โดยมีสินทรัพย์รวมประมาณ 490 พันล้านบาท เมื่อประกอบกับการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการจึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถยกระดับการแข่งขันของธนาคารให้ทัดเทียมกับธนาคารอื่นได้
การรวมกิจการจะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การประหยัดต่อขนาด รวมทั้งลดหรือใช้ต้นทุนร่วมกันในการวางระบบงานต่างๆ เช่น การลงทุนด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ทำให้สามารถปรับปรุง หรือ ขยับขยาย และเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น เป็นผลดีแก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการการรวมกิจการมิได้เป็นการปิดกิจการของธนาคารศรีนครเดิม และพนักงานยังคงได้รับการว่าจ้างอยู่ต่อไปโดยรวมเป็นพนักงานของธนาคารนครหลวงไทย จึงไม่มีผลกระทบต่อลูกค้าและผู้ใช้บริการของธนาคารศรีนครเดิมเพราะยังคงใช้บริการหรือติดต่อทำธุรกรรมทางการเงิน ที่ผูกพันกันอยู่ ณ ที่ทำการสาขาหรือสำนักงานทุกแห่งของธนาคารศรีนครเดิมได้ตามปกติเมื่อคุณภาพและประสิทธิภาพดีขึ้น ในอนาคต หากทางการประสงค์จะเปลี่ยนให้เป็นธนาคารของเอกชนอย่างสมบูรณ์ก็จะสามารถหาผู้ร่วมลงทุนได้ง่าย หรือการขายหุ้นที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ถืออยู่ก็จะทำได้ง่ายและเป็นประโยชน์ต่อกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มากขึ้น และช่วยลดภาระของทางการในอนาคตผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้อง
ผู้ฝากเงิน ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ของธนาคารศรีนคร ไม่ได้รับผลกระทบจากการรวมกิจการเพราะยังคงติดต่อดำเนินธุรกรรมทุกอย่างตามปกติโดยใช้บัญชี และวงเงินตามสัญญาเดิมได้กับสาขาหรือสำนักงานเดิมของธนาคารศรีนครเดิมได้ทุกแห่ง ทั้งนี้ หากประสงค์จะย้ายธุรกรรมไปยังสาขา หรือสำนักงานของธนาคารนครหลวงไทยก็สามารถกระทำได้โดยติดต่อกับสาขาหรือสำนักงานของธนาคารศรีนครเดิมที่มีบัญชีอยู่ ภาระผูกพันใดๆที่ธนาคารศรีนครมีอยู่ทั้งภายในและต่างประเทศธนาคารนครหลวงไทยจะเข้ารับผิดชอบตามภาระผูกพันดังกล่าว การใช้เช็คของธนาคารศรีนครเดิมยังคงใช้ได้อยู่เป็นปกติโดยสถาบันการเงินทุกแห่งยังคงรับเช็คธนาคารศรีนครเพื่อเข้าระบบเคลียริ่งหรือระบบการชำระเงินเช่นเดิม อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆจะเปลี่ยนมาใช้อัตราเดียวกันกับของธนาคาร นครหลวงไทยเมื่อครบกำหนดที่ตกลงไว้เดิมผู้ถือหุ้นรายย่อยของธนาคารศรีนคร เนื่องจากธนาคารศรีนครมีผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมกัน 1,818 ราย เป็นจำนวนเงิน 21,660 บาท เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย หากประสงค์จะขายหุ้นที่ถืออยู่ออกไป กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯยินดีรับซื้อหุ้นธนาคารศรีนคร จากผู้ถือหุ้นรายย่อยทุกราย หรือหากประสงค์จะเปลี่ยนเป็นหุ้นของธนาคารนครหลวงไทย ก็สามารถนำหุ้นธนาคารศรีนครที่ถืออยู่ มาแลกหุ้นธนาคารนครหลวงไทยกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ การรับซื้อหรือแลกหุ้นดังกล่าวจะพิจารณาใช้มูลค่าตามบัญชีของธนาคารศรีนคร ณ วันที่ 31 มีนาคม 2545 เป็นเกณฑ์พนักงานของธนาคารศรีนคร รวมเป็นพนักงานของธนาคารนครหลวงไทยทุกคนและปฏิบัติงานทุกอย่างไปตามปกติในชื่อของธนาคารนครหลวงไทยสาขาและสำนักงานธนาคารศรีนครเดิม ยังเปิดให้บริการตามปกติในชื่อธนาคารนครหลวงไทยสรุป
การรวมกิจการของธนาคารศรีนครกับธนาคารนครหลวงไทยเข้าด้วยกันนี้ เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและศักยภาพของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว และเป็นการส่งเสริมการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไทยให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ทัดเทียมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก ซึ่งธุรกิจต่างๆมีแนวโน้มในการรวมตัวกันมากขึ้น เช่นสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่น หรือในยุโรป เป็นต้น สำหรับผู้ฝากเงินทั้งของธนาคารศรีนครเดิม ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารพาณิชย์ไทยทุกแห่งจะไม่มีผลกระทบใดๆ เพราะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ยังคงรับประกันและให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินทุกรายเหมือนเดิม
Hotlines
The Merger of Bangkok Metropolitan Bank and Siam City Bank
The Bank of Thailand
Headquarters (07.30-23.00 hrs. daily)
Telephone: 0-2 356-0060
Facsimile: 0-2 283-5751
E-mail : hotline@bot.or.th
Northern Office (07.30-17.30 hrs. daily)
Telephone: 0-5 393-1101, 0-5 393-1107
0-5 393-1115, 0-5 322-4166
Facsimile: 0-5 393-1103
Northeastern Office (07.30-17.30 hrs. daily)
Telephone: 0-4 333-3587
Southern Office (07.30-17.30 hrs. daily)
Telephone: 0-7 424-5860, 0-7 423-6200 ext. 4391-2
Facsimile: 0-7 423-5914
Siam City Bank Pcl.
Operating hours: 07.00-22.00 hrs. daily
Telephone: 0-2 208-6666
Bangkok Metropolitan Bank Pcl.
Operating hours: 08.30-20.00 hrs. daily
Telephone: 0-2 224-9512, 0-2 226-1629
0-2 224-3723, 0-2 621-6399
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า หลังจากที่ธนาคารศรีนครและธนาคารนครหลวงไทย ได้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด เป็นจำนวนสูง สินเชื่อของธนาคารทั้งสองมีจำนวนน้อยลงเหลือประมาณแห่งละ 60,000 ล้านบาทเศษ แม้จะมีคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น แต่ก็จะเผชิญปัญหาการแข่งขันในเชิงธุรกิจในระยะยาว ซึ่งธนาคารที่มีความแข็งแกร่งทั้งด้านขนาด คุณภาพสินทรัพย์ การจัดการบริหารที่ดีจึงมีโอกาสได้เปรียบสูงกว่า ซึ่งแนวโน้มในระดับสากลได้เกิดการรวมตัวของสถาบันการเงิน หรือบริษัทขนาดใหญ่ด้วยกันมากขึ้น เป็นแรงกดดันให้สถาบันการเงินและธุรกิจอื่นของไทยควรเร่งมีการรวมตัวกันให้มากขึ้นและเร็วขึ้นเพื่อพร้อมรับการแข่งขันทั้งในระดับประเทศและระดับสากล
โดยหลักการควบรวมกิจการอาจทำได้หลายรูปแบบ แบบหนึ่งคือ ตั้งธนาคารแห่งใหม่ขึ้นมาแล้วโอนกิจการของธนาคารทั้งสองไปให้ธนาคารใหม่นั้น แต่การปฏิบัติดังกล่าวมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้เวลานานกว่า เช่นจะต้องดำเนินการจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ ต้องขอใบอนุญาตการประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ใหม่ รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายเพื่อดำเนินการดังกล่าวที่เพิ่มมากขึ้นโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ การดำเนินการใดๆที่ใช้เวลาย่อมก่อให้เกิดความสับสนทำให้ขั้นตอนต่างๆสะดุดลงได้ จึงหันไปใช้แบบที่สอง
ในแบบที่สองการรวมกิจการแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนแรก เป็นขั้นตอนของการรวมทางบัญชี และการบริหาร โดยในวันที่ 1 เมษายน 2545 ธนาคารศรีนครจะโอนสินทรัพย์ หนี้สิน และภาระผูกพันทั้งหมดในราคาตามบัญชี ณ วันที่ 31 มีนาคม 2545 ให้ธนาคารนครหลวงไทย รวมทั้งเปลี่ยนสาขาและสำนักงานทั้งหมดเป็นสาขาและสำนักงานธนาคารนครหลวงไทย พนักงานทั้งหมดของธนาคารศรีนครจะรวมเป็นพนักงานธนาคารนครหลวงไทยและปฏิบัติงานทุกอย่างตามปกติ ณ สาขาหรือสำนักงานเดิม แต่ใช้ชื่อธนาคารนครหลวงไทยในการดำเนินธุรกิจขั้นตอนที่สอง เป็นการดำเนินการเชื่อมโยงหรือรวมระบบการปฏิบัติงานต่างๆ ของธนาคารทั้งสองเข้าด้วยกัน เช่น ระบบโอนเงิน ระบบชำระเงิน ระบบบัตรเครดิต และระบบบัญชีหรือข้อมูลจนสามารถปฏิบัติร่วมเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งบางระบบสามารถกระทำได้โดยเร็ว และบางระบบต้องใช้เวลา คาดว่ากระบวนการนี้จะเสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 1 ปีขั้นตอนที่สาม เป็นการปรับปรุงนโยบายและกลยุทธ์ของการดำเนินธุรกิจรวมทั้งปรับปรุงภาพลักษณ์ใหม่ของธนาคาร ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถเตรียมการควบคู่ไปได้ทันทีในขณะนี้ เพื่อให้พร้อมที่จะปฏิบัติได้ทันทีเมื่อการรวมระบบต่าง ๆ ตามขั้นตอนที่สองคืบหน้าไปมากพอแล้วการรวมกิจการด้วยวิธีนี้ ไม่มีการปิดกิจกรรมหรือหยุดการให้บริการใดๆ ที่ธนาคารศรีนครเคยปฏิบัติอยู่ ลูกค้า ผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่ใช้บริการทั้งจากธนาคารศรีนคร และธนาคารนครหลวงไทย ยังคงสามารถใช้บริการและดำเนินธุรกรรมทางการเงินกับทุกสำนักงานและทุกสาขาของธนาคารศรีนครเดิม และธนาคารนครหลวงไทย ได้เป็นปกติและต่อเนื่องตามเดิมทุกประการ ในชื่อธนาคารนครหลวงไทยไปก่อน สำหรับพนักงานทั้งหมดของธนาคารศรีนครจะรวมเข้าเป็นพนักงานของธนาคารนครหลวงไทย และยังคงปฏิบัติงานต่อเนื่องในสำนักงานหรือสาขาเดิมของธนาคารศรีนครต่อไป รวมทั้งยังคงให้บริการต่อประชาชนเป็นปกติเหมือนเดิม และเมื่อดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนที่สองและขั้นตอนที่สามแล้ว ก็จะพัฒนาขึ้นเป็นธนาคารที่มั่นคง แข็งแรง สำหรับรองรับความเจริญของเศรษฐกิจต่อไปได้
ผลดีของการรวมกิจการ
เมื่อรวมกันแล้วจะกลายเป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 5 ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย โดยมีสินทรัพย์รวมประมาณ 490 พันล้านบาท เมื่อประกอบกับการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการจึงมั่นใจได้ว่าจะสามารถยกระดับการแข่งขันของธนาคารให้ทัดเทียมกับธนาคารอื่นได้
การรวมกิจการจะเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ การประหยัดต่อขนาด รวมทั้งลดหรือใช้ต้นทุนร่วมกันในการวางระบบงานต่างๆ เช่น การลงทุนด้านคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ทำให้สามารถปรับปรุง หรือ ขยับขยาย และเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น เป็นผลดีแก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการการรวมกิจการมิได้เป็นการปิดกิจการของธนาคารศรีนครเดิม และพนักงานยังคงได้รับการว่าจ้างอยู่ต่อไปโดยรวมเป็นพนักงานของธนาคารนครหลวงไทย จึงไม่มีผลกระทบต่อลูกค้าและผู้ใช้บริการของธนาคารศรีนครเดิมเพราะยังคงใช้บริการหรือติดต่อทำธุรกรรมทางการเงิน ที่ผูกพันกันอยู่ ณ ที่ทำการสาขาหรือสำนักงานทุกแห่งของธนาคารศรีนครเดิมได้ตามปกติเมื่อคุณภาพและประสิทธิภาพดีขึ้น ในอนาคต หากทางการประสงค์จะเปลี่ยนให้เป็นธนาคารของเอกชนอย่างสมบูรณ์ก็จะสามารถหาผู้ร่วมลงทุนได้ง่าย หรือการขายหุ้นที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ถืออยู่ก็จะทำได้ง่ายและเป็นประโยชน์ต่อกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มากขึ้น และช่วยลดภาระของทางการในอนาคตผลกระทบต่อผู้เกี่ยวข้อง
ผู้ฝากเงิน ลูกหนี้ และเจ้าหนี้ของธนาคารศรีนคร ไม่ได้รับผลกระทบจากการรวมกิจการเพราะยังคงติดต่อดำเนินธุรกรรมทุกอย่างตามปกติโดยใช้บัญชี และวงเงินตามสัญญาเดิมได้กับสาขาหรือสำนักงานเดิมของธนาคารศรีนครเดิมได้ทุกแห่ง ทั้งนี้ หากประสงค์จะย้ายธุรกรรมไปยังสาขา หรือสำนักงานของธนาคารนครหลวงไทยก็สามารถกระทำได้โดยติดต่อกับสาขาหรือสำนักงานของธนาคารศรีนครเดิมที่มีบัญชีอยู่ ภาระผูกพันใดๆที่ธนาคารศรีนครมีอยู่ทั้งภายในและต่างประเทศธนาคารนครหลวงไทยจะเข้ารับผิดชอบตามภาระผูกพันดังกล่าว การใช้เช็คของธนาคารศรีนครเดิมยังคงใช้ได้อยู่เป็นปกติโดยสถาบันการเงินทุกแห่งยังคงรับเช็คธนาคารศรีนครเพื่อเข้าระบบเคลียริ่งหรือระบบการชำระเงินเช่นเดิม อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆจะเปลี่ยนมาใช้อัตราเดียวกันกับของธนาคาร นครหลวงไทยเมื่อครบกำหนดที่ตกลงไว้เดิมผู้ถือหุ้นรายย่อยของธนาคารศรีนคร เนื่องจากธนาคารศรีนครมีผู้ถือหุ้นรายย่อยรวมกัน 1,818 ราย เป็นจำนวนเงิน 21,660 บาท เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย หากประสงค์จะขายหุ้นที่ถืออยู่ออกไป กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯยินดีรับซื้อหุ้นธนาคารศรีนคร จากผู้ถือหุ้นรายย่อยทุกราย หรือหากประสงค์จะเปลี่ยนเป็นหุ้นของธนาคารนครหลวงไทย ก็สามารถนำหุ้นธนาคารศรีนครที่ถืออยู่ มาแลกหุ้นธนาคารนครหลวงไทยกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ การรับซื้อหรือแลกหุ้นดังกล่าวจะพิจารณาใช้มูลค่าตามบัญชีของธนาคารศรีนคร ณ วันที่ 31 มีนาคม 2545 เป็นเกณฑ์พนักงานของธนาคารศรีนคร รวมเป็นพนักงานของธนาคารนครหลวงไทยทุกคนและปฏิบัติงานทุกอย่างไปตามปกติในชื่อของธนาคารนครหลวงไทยสาขาและสำนักงานธนาคารศรีนครเดิม ยังเปิดให้บริการตามปกติในชื่อธนาคารนครหลวงไทยสรุป
การรวมกิจการของธนาคารศรีนครกับธนาคารนครหลวงไทยเข้าด้วยกันนี้ เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและศักยภาพของการดำเนินธุรกิจในระยะยาว และเป็นการส่งเสริมการปฏิรูประบบสถาบันการเงินไทยให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น ทัดเทียมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก ซึ่งธุรกิจต่างๆมีแนวโน้มในการรวมตัวกันมากขึ้น เช่นสถาบันการเงินในประเทศญี่ปุ่น หรือในยุโรป เป็นต้น สำหรับผู้ฝากเงินทั้งของธนาคารศรีนครเดิม ธนาคารนครหลวงไทย และธนาคารพาณิชย์ไทยทุกแห่งจะไม่มีผลกระทบใดๆ เพราะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ยังคงรับประกันและให้ความคุ้มครองผู้ฝากเงินทุกรายเหมือนเดิม
Hotlines
The Merger of Bangkok Metropolitan Bank and Siam City Bank
The Bank of Thailand
Headquarters (07.30-23.00 hrs. daily)
Telephone: 0-2 356-0060
Facsimile: 0-2 283-5751
E-mail : hotline@bot.or.th
Northern Office (07.30-17.30 hrs. daily)
Telephone: 0-5 393-1101, 0-5 393-1107
0-5 393-1115, 0-5 322-4166
Facsimile: 0-5 393-1103
Northeastern Office (07.30-17.30 hrs. daily)
Telephone: 0-4 333-3587
Southern Office (07.30-17.30 hrs. daily)
Telephone: 0-7 424-5860, 0-7 423-6200 ext. 4391-2
Facsimile: 0-7 423-5914
Siam City Bank Pcl.
Operating hours: 07.00-22.00 hrs. daily
Telephone: 0-2 208-6666
Bangkok Metropolitan Bank Pcl.
Operating hours: 08.30-20.00 hrs. daily
Telephone: 0-2 224-9512, 0-2 226-1629
0-2 224-3723, 0-2 621-6399
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-