แท็ก
อัตราดอกเบี้ย
1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
- สภาพคล่องในระบบการเงินโดยรวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
- อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินลดลงเล็กน้อย โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปีขณะที่อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.95 ต่อปี
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม มีสภาพคล่องน้อยลงกว่าเดือนที่แล้ว โดยเฉพาะหลังวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน เนื่องจากประชาชนเบิกถอนเงินจากธนาคารพาณิชย์เพื่อใช้จ่ายในช่วงเทศกาล แต่หลังผ่านช่วงเทศกาลไปแล้ว กลับมีเงินไหลกลับเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินน้อย ประกอบกับสถาบันการเงินได้เร่งดำรงเงินสดสำรองให้ได้ตามเกณฑ์ ในช่วงสิ้นปักษ์ ทำให้ตลาดเงินโดยรวมมีสภาพคล่องลดลงจากเดือนที่แล้ว ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินจึงไม่ปรับลดลงมากนักแม้ว่าในปลายเดือนมกราคม ธปท. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.25 ก็ตาม
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย เนื่องจาก ธปท.ได้ปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายลง และประกอบกับการที่ ธปท. ได้ปล่อยเงินเสริมสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.75 และ 1.95 ต่อปีตามลำดับ
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ธนาคารพาณิชย์มีการลงทุนในตลาดซื้อคืนลดลงจากเดือนก่อนตามสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้น โดยฐานะการลงทุนสุทธิลดลงจาก 202 พันล้านบาทเมื่อสิ้นเดือนมกราคม เป็น 167 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2545
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.0 ต่อปี ปรับลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยลงภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท. ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง นั้น ได้มีการปรับลดลงเพียงบางธนาคาร เพราะธนาคารพาณิชย์คงต้องใช้เวลาในการปรับฐานะทางการเงินให้เหมาะสมกับต้นทุนเงินฝาก ทั้งนี้ คาดว่าในอนาคตอันใกล้ ธนาคารพาณิชย์น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงได้อีก ตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่โน้มลดลง ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งอยู่ที่ร้อยละ 7.0625 ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง อัตรา เงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.7และ 6.76 ต่อปี ตามลำดับ
เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
- เงินฝากเพิ่มขึ้นในอัตราที่ทรงตัว ในขณะที่สินเชื่อขยายตัวในระดับต่ำ
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมีเงินไหลกลับสู่ระบบหลังเทศกาลตรุษจีน ในขณะที่ยังคงมีธนาคารพาณิชย์บางแห่งคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไว้ โดยเงินฝาก ณ เดือนกุมภาพันธ์มียอดคงค้าง 5,132.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 38.5 พันล้านบาท
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ มียอดคงค้างอยู่ที่ 5,347.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 4,511.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 75.3 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงการบันทึกบัญชีลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ที่ได้ตัดบัญชีไปแล้ว กลับเข้ามาลงบัญชีใหม่ โดยเป็นไปตามประกาศของธปท. ว่าด้วยสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ฯ ของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2545 สำหรับอย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ยังคงลดลงร้อยละ 4.2
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
- ฐานเงินและปริมาณเงินปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ มียอดคงค้าง 569.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 547.2พันล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนมกราคม โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชน และเงินฝากของสถาบันการเงินที่ธปท. เป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ธปท.ให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร เพื่อรองรับความต้องการใช้เงินในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ปริมาณเงิน M2A และ M3 ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชนและเงินฝากภาคเอกชนที่ระบบธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5,641.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี ขณะที่ยอดคงค้างของปริมาณเงิน M3 เท่ากับ 6,421.6 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ต่อปี
4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง ในเดือนกุมภาพันธ์ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอย่างชัดเจน เนื่องจาก 1) จากความกังวลว่าอัตราผลตอบแทนในตลาดรองอาจปรับสูงขึ้นเนื่องจากการรับรู้กำไรในเดือนกุมภาพันธ์ (February Sell-Off Effects) ทำให้มีแรงทยอยขายพันธบัตรอย่างต่อเนื่องก่อนที่ Yield curve จะปรับสูงขึ้น 2) การเปลี่ยนการลงทุนของนักลงทุนโดยเฉพาะ กองทุนบางแห่งที่ขายพันธบัตรเพื่อนำเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ 3) นักลงทุนคาดว่าความเป็นไปได้ของการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์น่าจะน้อยลง จึงทยอยขายพันธบัตรออกมา รวมทั้ง sentiment ที่ดีของตลาดและ นักลงทุนต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนของ พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือ 5-10 ปี ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือประเภทอายุอื่นๆ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
- สภาพคล่องในระบบการเงินโดยรวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน
- อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงินลดลงเล็กน้อย โดยอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.75 ต่อปีขณะที่อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.95 ต่อปี
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม มีสภาพคล่องน้อยลงกว่าเดือนที่แล้ว โดยเฉพาะหลังวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน เนื่องจากประชาชนเบิกถอนเงินจากธนาคารพาณิชย์เพื่อใช้จ่ายในช่วงเทศกาล แต่หลังผ่านช่วงเทศกาลไปแล้ว กลับมีเงินไหลกลับเข้าสู่ระบบสถาบันการเงินน้อย ประกอบกับสถาบันการเงินได้เร่งดำรงเงินสดสำรองให้ได้ตามเกณฑ์ ในช่วงสิ้นปักษ์ ทำให้ตลาดเงินโดยรวมมีสภาพคล่องลดลงจากเดือนที่แล้ว ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินจึงไม่ปรับลดลงมากนักแม้ว่าในปลายเดือนมกราคม ธปท. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.25 ก็ตาม
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนเล็กน้อย เนื่องจาก ธปท.ได้ปรับลดอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายลง และประกอบกับการที่ ธปท. ได้ปล่อยเงินเสริมสภาพคล่องเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.75 และ 1.95 ต่อปีตามลำดับ
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืนพันธบัตร ธนาคารพาณิชย์มีการลงทุนในตลาดซื้อคืนลดลงจากเดือนก่อนตามสภาพคล่องที่ตึงตัวขึ้น โดยฐานะการลงทุนสุทธิลดลงจาก 202 พันล้านบาทเมื่อสิ้นเดือนมกราคม เป็น 167 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2545
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือน อยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.0 ต่อปี ปรับลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ได้ทยอยปรับอัตราดอกเบี้ยลงภายหลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธปท. ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง นั้น ได้มีการปรับลดลงเพียงบางธนาคาร เพราะธนาคารพาณิชย์คงต้องใช้เวลาในการปรับฐานะทางการเงินให้เหมาะสมกับต้นทุนเงินฝาก ทั้งนี้ คาดว่าในอนาคตอันใกล้ ธนาคารพาณิชย์น่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงได้อีก ตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่โน้มลดลง ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่งอยู่ที่ร้อยละ 7.0625 ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง อัตรา เงินเฟ้อในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.7และ 6.76 ต่อปี ตามลำดับ
เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์
- เงินฝากเพิ่มขึ้นในอัตราที่ทรงตัว ในขณะที่สินเชื่อขยายตัวในระดับต่ำ
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนที่ผ่านมา โดยขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมีเงินไหลกลับสู่ระบบหลังเทศกาลตรุษจีน ในขณะที่ยังคงมีธนาคารพาณิชย์บางแห่งคงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไว้ โดยเงินฝาก ณ เดือนกุมภาพันธ์มียอดคงค้าง 5,132.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 38.5 พันล้านบาท
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ มียอดคงค้างอยู่ที่ 5,347.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ในขณะที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ซึ่งยังคงอยู่ในระดับต่ำ
สำหรับสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ มียอดคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 4,511.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 75.3 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้เนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงการบันทึกบัญชีลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ที่ได้ตัดบัญชีไปแล้ว กลับเข้ามาลงบัญชีใหม่ โดยเป็นไปตามประกาศของธปท. ว่าด้วยสินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ฯ ของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2545 สำหรับอย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ยังคงลดลงร้อยละ 4.2
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
- ฐานเงินและปริมาณเงินปรับเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ มียอดคงค้าง 569.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 547.2พันล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนมกราคม โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชน และเงินฝากของสถาบันการเงินที่ธปท. เป็นสำคัญ
ทั้งนี้ ปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินเพิ่มขึ้น ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อที่ธปท.ให้กู้ยืมแก่สถาบันการเงินผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร เพื่อรองรับความต้องการใช้เงินในช่วงเทศกาลตรุษจีน
ปริมาณเงิน M2A และ M3 ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของเงินสดในมือประชาชนและเงินฝากภาคเอกชนที่ระบบธนาคารพาณิชย์
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5,641.3 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 5.4 ต่อปี ขณะที่ยอดคงค้างของปริมาณเงิน M3 เท่ากับ 6,421.6 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ต่อปี
4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง
- อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง ในเดือนกุมภาพันธ์ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าอย่างชัดเจน เนื่องจาก 1) จากความกังวลว่าอัตราผลตอบแทนในตลาดรองอาจปรับสูงขึ้นเนื่องจากการรับรู้กำไรในเดือนกุมภาพันธ์ (February Sell-Off Effects) ทำให้มีแรงทยอยขายพันธบัตรอย่างต่อเนื่องก่อนที่ Yield curve จะปรับสูงขึ้น 2) การเปลี่ยนการลงทุนของนักลงทุนโดยเฉพาะ กองทุนบางแห่งที่ขายพันธบัตรเพื่อนำเงินไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ 3) นักลงทุนคาดว่าความเป็นไปได้ของการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์น่าจะน้อยลง จึงทยอยขายพันธบัตรออกมา รวมทั้ง sentiment ที่ดีของตลาดและ นักลงทุนต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้อัตราผลตอบแทนของ พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือ 5-10 ปี ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า พันธบัตรที่มีอายุคงเหลือประเภทอายุอื่นๆ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-