แท็ก
กรมสารนิเทศ
กรุงเทพฯ--4 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ ( 3 เมษายน 2545 ) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกระทรวง การต่างประเทศได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม Mid-term Review ของอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 29 เมษายน — 3 พฤษภาคม 2545 ณ อาคารเอสแคป กรุงเทพฯ
วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการปฏิบัติตามปฏิญญาและแผนปฏิบัติการกรุงเทพฯ คาดว่า จะมีผู้เข้าร่วมประชุม Mid-term Review ประมาณ 500 คน ประกอบด้วย ผู้แทนทั้งในระดับรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่อาวุโส และผู้แทนจากองค์การระหว่างประเทศ เช่น อังค์ถัด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก องค์การการค้าโลก ตลอดจน องค์การเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ผู้แทนจากภาควิชาการและภาคประชาสังคมอังค์ถัดเป็นองค์การภายใต้กรอบสหประชาชาติที่มีบทบาทสำคัญ ในการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย และเสนอแนะแนวทางการกำหนดและดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในด้านการเงิน การค้า การลงทุน เทคโนโลยี และการพัฒนา และเป็นเวทีการประชุมเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศ ตลอดจน ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้สามารถจัดการกับกระบวนการโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน อังค์ถัดมีรัฐสมาชิกจำนวน 191 ประเทศจากทุกภูมิภาคของโลก
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในรัฐสมาชิกก่อตั้ง อังค์ถัดประกอบด้วยรัฐสมาชิกจากกลุ่ม 77 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 133 ประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา และรัฐสมาชิกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ด้วยเหตุนี้ จึงถือได้ว่า อังค์ถัดเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีจำนวนรัฐสมาชิกอย่างมาก
รูปแบบของการประชุม จะมีการจัดประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีขึ้น 2 ครั้ง ในหัวข้อ Assessment of Global Economic Developments and its Impact since UNCTAD X: Economic Policy Challenges after Bangkok เพื่อพิจารณาถึงพัฒนาการและผลกระทบของเศรษฐกิจโลกนับตั้งแต่การประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 และในหัวข้อ Development Challenges of the Future: Rethinking Development Strategy, Reshaping Globalization เพื่อพิจารณาถึง สิ่งท้าทายในอนาคต ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นประธาน นอกจากนั้น ยังได้มีการทาบทามเชิญผู้นำที่สำคัญในภูมิภาคมากล่าวคำปราศรัยพิเศษด้วย
นอกจากนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดจะกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุม Mid-term Review ของอังค์ถัด อย่างเป็นทางการในวันที่ 30 เมษายน 2545 และในวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดทำการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (International Institute for Trade and Development - ITD) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและอังค์ถัดในการวิจัยและให้การฝึกอบรมในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้
ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ
1. เป็นการเอื้ออำนวยให้บทบาทของประเทศไทยในระดับโลกเป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยประเทศไทยสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมและผลักดันให้มีการปฏิรูประบบการเงิน การคลัง และการค้าระหว่างประเทศอย่างแข็งขัน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศซึ่งจะอำนวยประโยชน์ให้แก่การดำเนินการและการประสานงานต่างๆ ของประเทศไทยในอนาคต
2. สามารถมีบทบาทในการกำหนดทิศทางและขอบเขตการดำเนินงานและการศึกษาวิจัยของอังค์ถัดได้ อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศไทยในการเสนอให้อังค์ถัดทำการศึกษาและให้การช่วยเหลือเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศ ตลอดจนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎ กติกา ตลอดจนทำให้บุคลากรไทยได้รับการยอมรับในระดับโลกมากขึ้น
3. ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชาติให้แก่ คณะผู้แทนจากต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าบุคคลเหล่านี้ จะได้รับประสบการณ์ที่ดีและจะนำประสบการณ์เหล่านี้ไปเผยแพร่ในประเทศของตนต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ ( 3 เมษายน 2545 ) นายรัฐกิจ มานะทัต อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกระทรวง การต่างประเทศได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม Mid-term Review ของอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 29 เมษายน — 3 พฤษภาคม 2545 ณ อาคารเอสแคป กรุงเทพฯ
วัตถุประสงค์เพื่อทบทวนการปฏิบัติตามปฏิญญาและแผนปฏิบัติการกรุงเทพฯ คาดว่า จะมีผู้เข้าร่วมประชุม Mid-term Review ประมาณ 500 คน ประกอบด้วย ผู้แทนทั้งในระดับรัฐมนตรี เจ้าหน้าที่อาวุโส และผู้แทนจากองค์การระหว่างประเทศ เช่น อังค์ถัด กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก องค์การการค้าโลก ตลอดจน องค์การเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ผู้แทนจากภาควิชาการและภาคประชาสังคมอังค์ถัดเป็นองค์การภายใต้กรอบสหประชาชาติที่มีบทบาทสำคัญ ในการศึกษาวิเคราะห์ วิจัย และเสนอแนะแนวทางการกำหนดและดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในด้านการเงิน การค้า การลงทุน เทคโนโลยี และการพัฒนา และเป็นเวทีการประชุมเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคมระหว่างประเทศ ตลอดจน ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้สามารถจัดการกับกระบวนการโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบัน อังค์ถัดมีรัฐสมาชิกจำนวน 191 ประเทศจากทุกภูมิภาคของโลก
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในรัฐสมาชิกก่อตั้ง อังค์ถัดประกอบด้วยรัฐสมาชิกจากกลุ่ม 77 ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา 133 ประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และลาตินอเมริกา และรัฐสมาชิกจากกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ด้วยเหตุนี้ จึงถือได้ว่า อังค์ถัดเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีจำนวนรัฐสมาชิกอย่างมาก
รูปแบบของการประชุม จะมีการจัดประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีขึ้น 2 ครั้ง ในหัวข้อ Assessment of Global Economic Developments and its Impact since UNCTAD X: Economic Policy Challenges after Bangkok เพื่อพิจารณาถึงพัฒนาการและผลกระทบของเศรษฐกิจโลกนับตั้งแต่การประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 และในหัวข้อ Development Challenges of the Future: Rethinking Development Strategy, Reshaping Globalization เพื่อพิจารณาถึง สิ่งท้าทายในอนาคต ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นประธาน นอกจากนั้น ยังได้มีการทาบทามเชิญผู้นำที่สำคัญในภูมิภาคมากล่าวคำปราศรัยพิเศษด้วย
นอกจากนี้ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดจะกล่าวสุนทรพจน์เปิดการประชุม Mid-term Review ของอังค์ถัด อย่างเป็นทางการในวันที่ 30 เมษายน 2545 และในวันที่ 1 พฤษภาคม 2545 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี มีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีเปิดทำการสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (International Institute for Trade and Development - ITD) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและอังค์ถัดในการวิจัยและให้การฝึกอบรมในเรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคนี้
ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ
1. เป็นการเอื้ออำนวยให้บทบาทของประเทศไทยในระดับโลกเป็นที่ยอมรับมากขึ้น โดยประเทศไทยสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมและผลักดันให้มีการปฏิรูประบบการเงิน การคลัง และการค้าระหว่างประเทศอย่างแข็งขัน เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศซึ่งจะอำนวยประโยชน์ให้แก่การดำเนินการและการประสานงานต่างๆ ของประเทศไทยในอนาคต
2. สามารถมีบทบาทในการกำหนดทิศทางและขอบเขตการดำเนินงานและการศึกษาวิจัยของอังค์ถัดได้ อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศไทยในการเสนอให้อังค์ถัดทำการศึกษาและให้การช่วยเหลือเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของประเทศ ตลอดจนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดกฎ กติกา ตลอดจนทำให้บุคลากรไทยได้รับการยอมรับในระดับโลกมากขึ้น
3. ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ศิลปะ วัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชาติให้แก่ คณะผู้แทนจากต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าบุคคลเหล่านี้ จะได้รับประสบการณ์ที่ดีและจะนำประสบการณ์เหล่านี้ไปเผยแพร่ในประเทศของตนต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-