ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. เผย ปี 45 ระบบ ธพ. แข็งแกร่ง โดยผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ควรอยู่ที่ระดับ 1% ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ระบบ ธพ.ปี 45 มีความแข็งแกร่งกว่าปี 44 โดย ธพ.ทุกแห่งมีผลกำไรทุกเดือน แต่ระดับที่เหมาะสมคือ ผลตอบแทนต่อ
สินทรัพย์ควรจะอยู่ที่ 1% เพื่อความสามารถในการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น และรองรับการขยายธุรกิจให้เติบโตต่อไป ทั้งนี้ ปัจจุบันผลตอบแทน
ต่อสินทรัพย์ของ ธพ.อยู่ที่ 0.6-0.7% ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลา 2-3 ปี จึงจะสามารถปรับให้อยู่ในระดับ 1% ได้ (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ)
2. ธปท.สามารถจัดการดูแล ธ.นครหลวงไทยภายหลังควบรวมกับ ธ.ศรีนคร ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิด
เผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าภายหลังจากการควบรวมกิจการระหว่าง ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยแล้ว ฐานะทางการเงินในปี 45-46 จะ
ขาดทุนรวมถึงกว่า 1 หมื่น ล.บาท และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สูงถึง 23-25% ว่า ธปท.มีวิธีการจัดการดูแลให้ธนาคารมีความ
แข็งแกร่งและมั่นคงในอนาคต โดยจะมีแผนการดำเนินธุรกิจและกลยุทธ์อย่างละเอียดออกมาในเดือน มิ.ย.นี้ พร้อมทั้งยืนยันว่าจะไม่มีการปลด
พนักงานจำนวน 7 พันคน รวมทั้งปฏิเสธกระแสข่าวการควบรวมบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) กับ ธ.นครหลวงไทย (โลกวันนี้,
ข่าวสด, บ้านเมือง)
3. ผลการดำเนินงานของ บสท.ไตรมาสแรกปี 45 เป็นไปตามเป้าหมาย กรรมการผู้จัดการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)
แถลงผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปี 45 ว่า สามารถดำเนินการบริหารหนี้ที่รับโอนมาจนมีข้อยุติแล้ว 177 ราย คิดเป็นมูลค่าตามบัญชี
100,216.14 ล.บาท เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 1 แสน ล.บาท และคาดหมายว่าในไตรมาสที่ 2 จะสามารถเร่งรัดดำเนินงานและ
ปรับโครงสร้างหนี้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เช่นกัน (โลกวันนี้, แนวหน้า, ไทยรัฐ)
4. คณะกรรมการ บสท.เห็นชอบจัดตั้งบริษัทร่วมลงทุนเพื่อบริหารสินทรัพย์ ประธานกรรมการบริหารบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(บสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งบริษัทร่วมลงทุนระหว่างเอกชนและ บสท. เพื่อร่วมกันบริหารสินทรัพย์ที่เป็น
ผลมาจากการปรับโครงสร้างหนี้ของ บสท. และเป็นการเพิ่มบทบาทเชิงพาณิชย์ของ บสท.ให้เต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น โดยจะใช้วิธีการให้เอกชน
ประมูลเพื่อเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งในหลักการจะแบ่งประเภทของสินทรัพย์ที่ บสท.มีอยู่ออกเป็นกองๆ และตั้งบริษัทร่วมทุนเข้ามาเป็นผู้บริหาร
(โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ)
5. ธ.กสิกรไทยพิจารณาลดทุนจดทะเบียนเพื่อล้างขาดทุนสะสม กรรมการผู้จัดการ ธ.กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
ธ.กสิกรอยู่ระหว่างการเร่งดำเนินการล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่กว่า 87,000 ล.บาท โดยแนวทางหนึ่งที่จะดำเนินการคือ การลดทุนจดทะเบียนด้วย
วิธีการลดราคาพาร์ลงเพื่อนำส่วนเกินมาล้างขาดทุนสะสม ซึ่งคงต้องพิจารณาข้อจำกัดในเรื่องของหุ้นบุริมสิทธิ์ควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (สลิปส์) ที่ออกไป
แล้วจำนวน 40,000 ล.บาท ซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในอีก 2 ปีข้างหน้า (โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. อยู่ที่ระดับ 57.3 ในเดือน มี.ค. 45 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 3 เม.ย. 45
Institute for Supply Management (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ซึ่งใช้วัดภาคบริการของระบบ
เศรษฐกิจ ลดลงที่ระดับ 57.3 ในเดือน มี.ค. 45 จากระดับ 58.7 ในเดือน ก.พ. 45 แต่ดัชนีฯ ยังอยู่เหนือระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือน
ที่ 2 ซึ่งชี้ถึงภาวะธุรกิจที่ขยายตัว และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 57.0(รอยเตอร์ 3)
2. เศรษฐกิจในเขตยูโรกระเตื้องขึ้นในเดือน มี.ค.45 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 3 เม.ย. 45 คณะกรรมการเขตยูโร
รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจในเขตยูโรเพิ่มขึ้นที่ระดับ 99.5 ในเดือน มี.ค. 45 จากระดับ 99.3 ในเดือน ก.พ. 45
นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ดัชนีฯ ดังกล่าวใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ
99.6 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ เป็นผลจากภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มสดใสขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.45 เพิ่มขึ้นที่
ระดับ -11 จากระดับ -14 ในเดือน ก.พ. 45 (รอยเตอร์ 3)
3. ดัชนีภาคอุตสาหกรรม (PMI)ของสิงคโปร์เพิ่มสูงขึ้นในเดือน มี.ค. 45 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 4 เม.ย. 45 The
Singapore s institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยว่า Singapore s Purchasing Managers Index
(PMI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม ในเดือน มี.ค. 45 อยู่ที่ระดับ 52.4 เพิ่มสูงขึ้น 2.8 จุดจากเดือนก่อนที่ระดับ 49.6
(ตัวเลขสูงกว่าระดับ 50 แสดงถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัว) ซึ่งเป็นการเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่ลดลงต่อเนื่องมาเป็นเดือนที่ 13
การเพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวเป็นการขยายตัวของภาคการส่งออก โดยภาคอุตสาหกรรมมีการผลิตมากขึ้นส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการผลิตสินค้าอิเล็ก
ทรอนิกส์ ประกอบกับมีการสต๊อกสินค้าเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์ 4)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนไว้ที่ร้อยละ 4 รายงานจากโซล เมื่อ 4 เม.ย. 45 ธ.กลางเกาหลีใต้
เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนในเดือน เม.ย.45 ไว้ที่ ร้อยละ 4 นับเป็น
เดือนที่ 7 ที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ เศรษฐกิจเกาหลีใต้กำลังฟื้นตัวและความกดดันด้านราคามีมากขึ้น (รอยเตอร์ 4)
5. มูดี้ส์ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรและเงินฝากธนาคารที่เป็นเงินตราต่างประเทศของมาเลเซีย รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 3 เม.ย. 45 มูดี้ส์ได้ประกาศปรับอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่เป็นเงินตราต่างประเทศของมาเลเซียอยู่ที่ Baa2 และเงินฝาก
ธนาคารที่เป็นเงินตราต่างประเทศอยู่ที่ Baa3 มูดี้ส์มีความเห็นว่า แม้ว่าการส่งออกของมาเลเซียในปีที่ผ่านมาจะลดลงเนื่องจากอุปสงค์จากต่าง
ประเทศลดลง แต่มาเลเซียยังคงเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และเงินสำรองระหว่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์ 3)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4-Apr-45 3-Apr-45 28-Dec-44 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/US$) - 43.714 44.227 ธปท.
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยซื้อ/ขายตั๋วเงินของ ธพ. (Bht/US$) - 43.5516/43.8386 44.0836/44.3597 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ.ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) - 2.125 - รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) - 364.11/6.90 303.85/16.07 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 6,150/6,250 6,250/6,350 5,800/5,900 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 25.79 24.3 19.04 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 15.79/13.19 15.79/13.19 13.89/11.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. เผย ปี 45 ระบบ ธพ. แข็งแกร่ง โดยผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ควรอยู่ที่ระดับ 1% ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ระบบ ธพ.ปี 45 มีความแข็งแกร่งกว่าปี 44 โดย ธพ.ทุกแห่งมีผลกำไรทุกเดือน แต่ระดับที่เหมาะสมคือ ผลตอบแทนต่อ
สินทรัพย์ควรจะอยู่ที่ 1% เพื่อความสามารถในการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น และรองรับการขยายธุรกิจให้เติบโตต่อไป ทั้งนี้ ปัจจุบันผลตอบแทน
ต่อสินทรัพย์ของ ธพ.อยู่ที่ 0.6-0.7% ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลา 2-3 ปี จึงจะสามารถปรับให้อยู่ในระดับ 1% ได้ (ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ)
2. ธปท.สามารถจัดการดูแล ธ.นครหลวงไทยภายหลังควบรวมกับ ธ.ศรีนคร ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิด
เผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวว่าภายหลังจากการควบรวมกิจการระหว่าง ธ.ศรีนครและ ธ.นครหลวงไทยแล้ว ฐานะทางการเงินในปี 45-46 จะ
ขาดทุนรวมถึงกว่า 1 หมื่น ล.บาท และมีหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) สูงถึง 23-25% ว่า ธปท.มีวิธีการจัดการดูแลให้ธนาคารมีความ
แข็งแกร่งและมั่นคงในอนาคต โดยจะมีแผนการดำเนินธุรกิจและกลยุทธ์อย่างละเอียดออกมาในเดือน มิ.ย.นี้ พร้อมทั้งยืนยันว่าจะไม่มีการปลด
พนักงานจำนวน 7 พันคน รวมทั้งปฏิเสธกระแสข่าวการควบรวมบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) กับ ธ.นครหลวงไทย (โลกวันนี้,
ข่าวสด, บ้านเมือง)
3. ผลการดำเนินงานของ บสท.ไตรมาสแรกปี 45 เป็นไปตามเป้าหมาย กรรมการผู้จัดการบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.)
แถลงผลการดำเนินงานไตรมาสแรกปี 45 ว่า สามารถดำเนินการบริหารหนี้ที่รับโอนมาจนมีข้อยุติแล้ว 177 ราย คิดเป็นมูลค่าตามบัญชี
100,216.14 ล.บาท เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 1 แสน ล.บาท และคาดหมายว่าในไตรมาสที่ 2 จะสามารถเร่งรัดดำเนินงานและ
ปรับโครงสร้างหนี้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เช่นกัน (โลกวันนี้, แนวหน้า, ไทยรัฐ)
4. คณะกรรมการ บสท.เห็นชอบจัดตั้งบริษัทร่วมลงทุนเพื่อบริหารสินทรัพย์ ประธานกรรมการบริหารบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย
(บสท.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งบริษัทร่วมลงทุนระหว่างเอกชนและ บสท. เพื่อร่วมกันบริหารสินทรัพย์ที่เป็น
ผลมาจากการปรับโครงสร้างหนี้ของ บสท. และเป็นการเพิ่มบทบาทเชิงพาณิชย์ของ บสท.ให้เต็มรูปแบบมากยิ่งขึ้น โดยจะใช้วิธีการให้เอกชน
ประมูลเพื่อเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งในหลักการจะแบ่งประเภทของสินทรัพย์ที่ บสท.มีอยู่ออกเป็นกองๆ และตั้งบริษัทร่วมทุนเข้ามาเป็นผู้บริหาร
(โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน, ไทยรัฐ)
5. ธ.กสิกรไทยพิจารณาลดทุนจดทะเบียนเพื่อล้างขาดทุนสะสม กรรมการผู้จัดการ ธ.กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า
ธ.กสิกรอยู่ระหว่างการเร่งดำเนินการล้างขาดทุนสะสมที่มีอยู่กว่า 87,000 ล.บาท โดยแนวทางหนึ่งที่จะดำเนินการคือ การลดทุนจดทะเบียนด้วย
วิธีการลดราคาพาร์ลงเพื่อนำส่วนเกินมาล้างขาดทุนสะสม ซึ่งคงต้องพิจารณาข้อจำกัดในเรื่องของหุ้นบุริมสิทธิ์ควบหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (สลิปส์) ที่ออกไป
แล้วจำนวน 40,000 ล.บาท ซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในอีก 2 ปีข้างหน้า (โลกวันนี้, ไทยรัฐ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. อยู่ที่ระดับ 57.3 ในเดือน มี.ค. 45 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 3 เม.ย. 45
Institute for Supply Management (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ซึ่งใช้วัดภาคบริการของระบบ
เศรษฐกิจ ลดลงที่ระดับ 57.3 ในเดือน มี.ค. 45 จากระดับ 58.7 ในเดือน ก.พ. 45 แต่ดัชนีฯ ยังอยู่เหนือระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือน
ที่ 2 ซึ่งชี้ถึงภาวะธุรกิจที่ขยายตัว และสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 57.0(รอยเตอร์ 3)
2. เศรษฐกิจในเขตยูโรกระเตื้องขึ้นในเดือน มี.ค.45 รายงานจากบรัสเซลส์ เมื่อ 3 เม.ย. 45 คณะกรรมการเขตยูโร
รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจในเขตยูโรเพิ่มขึ้นที่ระดับ 99.5 ในเดือน มี.ค. 45 จากระดับ 99.3 ในเดือน ก.พ. 45
นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ดัชนีฯ ดังกล่าวใกล้เคียงกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ
99.6 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของดัชนีฯ เป็นผลจากภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มสดใสขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมในเดือน มี.ค.45 เพิ่มขึ้นที่
ระดับ -11 จากระดับ -14 ในเดือน ก.พ. 45 (รอยเตอร์ 3)
3. ดัชนีภาคอุตสาหกรรม (PMI)ของสิงคโปร์เพิ่มสูงขึ้นในเดือน มี.ค. 45 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 4 เม.ย. 45 The
Singapore s institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยว่า Singapore s Purchasing Managers Index
(PMI) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม ในเดือน มี.ค. 45 อยู่ที่ระดับ 52.4 เพิ่มสูงขึ้น 2.8 จุดจากเดือนก่อนที่ระดับ 49.6
(ตัวเลขสูงกว่าระดับ 50 แสดงถึงการผลิตภาคอุตสาหกรรมฟื้นตัว) ซึ่งเป็นการเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกหลังจากที่ลดลงต่อเนื่องมาเป็นเดือนที่ 13
การเพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวเป็นการขยายตัวของภาคการส่งออก โดยภาคอุตสาหกรรมมีการผลิตมากขึ้นส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของการผลิตสินค้าอิเล็ก
ทรอนิกส์ ประกอบกับมีการสต๊อกสินค้าเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์ 4)
4. ธ.กลางเกาหลีใต้ยังคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนไว้ที่ร้อยละ 4 รายงานจากโซล เมื่อ 4 เม.ย. 45 ธ.กลางเกาหลีใต้
เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของเกาหลีใต้ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนในเดือน เม.ย.45 ไว้ที่ ร้อยละ 4 นับเป็น
เดือนที่ 7 ที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ข้ามคืนอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ เศรษฐกิจเกาหลีใต้กำลังฟื้นตัวและความกดดันด้านราคามีมากขึ้น (รอยเตอร์ 4)
5. มูดี้ส์ปรับอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรและเงินฝากธนาคารที่เป็นเงินตราต่างประเทศของมาเลเซีย รายงานจากโตเกียว
เมื่อ 3 เม.ย. 45 มูดี้ส์ได้ประกาศปรับอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรที่เป็นเงินตราต่างประเทศของมาเลเซียอยู่ที่ Baa2 และเงินฝาก
ธนาคารที่เป็นเงินตราต่างประเทศอยู่ที่ Baa3 มูดี้ส์มีความเห็นว่า แม้ว่าการส่งออกของมาเลเซียในปีที่ผ่านมาจะลดลงเนื่องจากอุปสงค์จากต่าง
ประเทศลดลง แต่มาเลเซียยังคงเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และเงินสำรองระหว่างประเทศยังคงเพิ่มขึ้น (รอยเตอร์ 3)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4-Apr-45 3-Apr-45 28-Dec-44 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/US$) - 43.714 44.227 ธปท.
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยซื้อ/ขายตั๋วเงินของ ธพ. (Bht/US$) - 43.5516/43.8386 44.0836/44.3597 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ.ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) - 2.125 - รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) - 364.11/6.90 303.85/16.07 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 6,150/6,250 6,250/6,350 5,800/5,900 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 25.79 24.3 19.04 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 15.79/13.19 15.79/13.19 13.89/11.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-