กรุงเทพฯ--24 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2545 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ใหัสัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหลังการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน ( ไทย — ลาว — พม่า — กัมพูชา ) ร่วมกับ นายวันมูหะมัดนอร์มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีผู้แทนจากภาคราชการและภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมทางหลวง กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย เป็นต้น
สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหืองระหว่างไทย — ลาว ที่ อ. ท่าลี่ จ. เลย และที่เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยฝ่ายไทยสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง คาดว่า ประมาณ 9 -10 ล้านบาท และฝ่ายลาวสนับสนุนไม้ในการก่อสร้าง ซึ่งการก่อสร้างสะพานครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มพูนการท่องเที่ยวและการค้าระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งหากข้ามสะพานที่ อ. ท่าลี่ และแก่นท้าว ก็จะสามารถเดินทางถึงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ ด้วยระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร
2. การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมทางบกกับพม่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ในวันที่ 6 เมษายน ศกนี้ ตนจะเดินทางไปประชุม 3 ฝ่าย ระหว่าง ไทย — พม่า —อินเดีย ที่กรุงย่างกุ้ง ซึ่งจะมีหารือเกี่ยวกับการสร้างถนนเชื่อมระหว่างประเทศ 3 ประเทศ โดยในเบื้องต้น ประเทศไทยจะช่วยเหลือในรูปเงินกู้ผ่อนปรนระยะยาวแก่พม่า โดยเริ่มจาก อ. แม่สอด — เมียววดี — พะอัน ซึ่งจากพะอันจะมีถนนเชื่อมต่อไปถึงย่างกุ้ง สำหรับเส้นทางตอนเหนือนั้น อินเดียได้สร้างถนนเข้ามาทางพม่า จากย่างกุ้ง — มัณฑะเลย์ ซึ่งการสร้างถนนเชื่อมระหว่าง 3 ประเทศระหว่าง ไทย — พม่า - อินเดียนี้ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังส่งเสริมการค้าระหว่างกันด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งสินค้าไปสู่อินเดีย
ในระหว่างการประชุม ได้มีการพิจารณากันอย่างรอบคอบถึงเส้นทางการคมนาคมทางบกดังกล่าว โดยมีข้อเสนอหลายเส้นทาง เส้นทางแรก คือ เมียววดี — มะละแม่ง หรือ เส้นทางที่สอง เมียววดี - พะอัน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นว่า ทั้งสองเส้นทาง จะมีผลทางด้านเศรษฐกิจไม่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม หากต้องการเชื่อมเส้นทางคมนาคมกับกรุงย่างกุ้ง ซึ่งอยู่ทางเหนือ ก็น่าจะพิจารณาเส้นทาง เมียววดี — พะอัน เพราะเชื่อมต่อกับเมืองหลวงได้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับฝ่ายไทยมากกว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนจะนำผลการประชุมดังกล่าวไปหารือในที่ประชุมระดับรัฐมนตรี 3 ฝ่าย ไทย — พม่า — อินเดีย เรื่องการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมทางบก ซึ่งจะมีการประชุมที่กรุงย่างกุ้ง และ พุกาม ระหว่างวันที่ 5-7 เมษายน ศกนี้ ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2545 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ใหัสัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวหลังการประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งกับประเทศเพื่อนบ้าน ( ไทย — ลาว — พม่า — กัมพูชา ) ร่วมกับ นายวันมูหะมัดนอร์มะทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีผู้แทนจากภาคราชการและภาคเอกชน เข้าร่วมประชุม เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย สภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมทางหลวง กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และหอการค้าไทย เป็นต้น
สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเหืองระหว่างไทย — ลาว ที่ อ. ท่าลี่ จ. เลย และที่เมืองแก่นท้าว แขวงไชยะบุรี สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยฝ่ายไทยสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง คาดว่า ประมาณ 9 -10 ล้านบาท และฝ่ายลาวสนับสนุนไม้ในการก่อสร้าง ซึ่งการก่อสร้างสะพานครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มพูนการท่องเที่ยวและการค้าระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งหากข้ามสะพานที่ อ. ท่าลี่ และแก่นท้าว ก็จะสามารถเดินทางถึงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ ด้วยระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร
2. การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมทางบกกับพม่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ในวันที่ 6 เมษายน ศกนี้ ตนจะเดินทางไปประชุม 3 ฝ่าย ระหว่าง ไทย — พม่า —อินเดีย ที่กรุงย่างกุ้ง ซึ่งจะมีหารือเกี่ยวกับการสร้างถนนเชื่อมระหว่างประเทศ 3 ประเทศ โดยในเบื้องต้น ประเทศไทยจะช่วยเหลือในรูปเงินกู้ผ่อนปรนระยะยาวแก่พม่า โดยเริ่มจาก อ. แม่สอด — เมียววดี — พะอัน ซึ่งจากพะอันจะมีถนนเชื่อมต่อไปถึงย่างกุ้ง สำหรับเส้นทางตอนเหนือนั้น อินเดียได้สร้างถนนเข้ามาทางพม่า จากย่างกุ้ง — มัณฑะเลย์ ซึ่งการสร้างถนนเชื่อมระหว่าง 3 ประเทศระหว่าง ไทย — พม่า - อินเดียนี้ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวแล้ว ยังส่งเสริมการค้าระหว่างกันด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขนส่งสินค้าไปสู่อินเดีย
ในระหว่างการประชุม ได้มีการพิจารณากันอย่างรอบคอบถึงเส้นทางการคมนาคมทางบกดังกล่าว โดยมีข้อเสนอหลายเส้นทาง เส้นทางแรก คือ เมียววดี — มะละแม่ง หรือ เส้นทางที่สอง เมียววดี - พะอัน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นว่า ทั้งสองเส้นทาง จะมีผลทางด้านเศรษฐกิจไม่ต่างกัน อย่างไรก็ตาม หากต้องการเชื่อมเส้นทางคมนาคมกับกรุงย่างกุ้ง ซึ่งอยู่ทางเหนือ ก็น่าจะพิจารณาเส้นทาง เมียววดี — พะอัน เพราะเชื่อมต่อกับเมืองหลวงได้ ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับฝ่ายไทยมากกว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนจะนำผลการประชุมดังกล่าวไปหารือในที่ประชุมระดับรัฐมนตรี 3 ฝ่าย ไทย — พม่า — อินเดีย เรื่องการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมทางบก ซึ่งจะมีการประชุมที่กรุงย่างกุ้ง และ พุกาม ระหว่างวันที่ 5-7 เมษายน ศกนี้ ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-