ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. ปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็น 2.5-3.5% ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ใหม่ โดยคาดว่าจีดีพีในปี 45 จะอยู่ที่
ระดับ 2.5-3.5% จากประมาณการเดิมที่ระดับ 2-3% โดยมีความเป็นไปได้ 73.6% และคาดว่าในปี 46 จะอยู่ที่ระดับ 2-4% ซึ่งมีความเป็น
ไปได้ 80% ทั้งนี้ เงินเฟ้อพื้นฐานในปี 45 จะอยู่ที่ระดับ 0.5-1% โอกาสเป็นไปได้ 73.6% และในปี 46 จะอยู่ที่ระดับ 1-2% โอกาสเป็น
ไปได้ 90.4% ซึ่งถือเป็นระดับเงินเฟ้อที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (ไทยรัฐ, เดลินิวส์ 1)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน มี.ค. 45 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน มี.ค. 45 ว่า ดัชนีฯ ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 53.5
จากระดับ 49.9 ในเดือน ก.พ. 45 ซึ่งเพิ่มขึ้นเกินระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน เนื่องจากนักธุรกิจมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ
และคำสั่งซื้อที่ปรับตัวสูงขึ้น (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. เงินเฟ้อในช่วง 4 เดือนแรกของปี 45 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค
ทั่วไปในเดือน เม.ย. 45 ว่า ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 104.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค. 45 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.7 และดัชนีฯ
เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปี 45 อยู่ที่ระดับ 103.7 ปรับตัวสูงขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 44(เดลินิวส์, โลกวันนี้)
4. ภาระหนี้ต่างประเทศในเดือน มี.ค. 45 ลดลง 500 ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า
ภาระหนี้ต่างประเทศ ณ เดือน มี.ค. 45 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6.53 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อน 500 ล.ดอลลาร์ สรอ.
ซึ่งเป็นผลมาจากการคืนหนี้ภาคเอกชน 300 ล.ดอลลาร์ สรอ. และหนี้ภาครัฐ 200 ล.ดอลลาร์ สรอ. (ไทยโพสต์, สยามรัฐ)
5. กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ช่วง 6 เดือนแรกของปี งปม. 45 ได้เกินเป้าหมาย รองอธิบดีกรมสรรพสามิตในฐานะโฆษกกรม
สรรพสามิต เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในช่วง 6 เดือนแรกของปี งปม. 45 ว่า จัดเก็บได้จำนวน 100,048 ล.บาท
สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 14,515 ล.บาท คิดเป็น 16.97% และสูงกว่าเป้าหมาย 7,260 ล.บาท คิดเป็น 7.82% เนื่องจากภาวะ
เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง (ไทยโพสต์, โลกวันนี้)
6. ฐานะกองทุนฟื้นฟูฯ ปรับตัวดีขึ้นภายหลังรับชำระหนี้จาก ปรส. ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ฐานะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินปิดบัญชีงวด มี.ค. 45 ขาดทุนสะสมลดลงเหลือ 2.35 แสน ล.บาท
จากงวดเดือน ก.ย. 44 ที่ขาดทุนสะสม 2.49 แสน ล.บาท เนื่องจากได้รับเงินชำระหนี้คืนจากการขายสินทรัพย์ขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบ
สถาบันการเงินมาชดเชยส่วนหนึ่ง (ผู้จัดการรายวัน,มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ชะลอตัวในเดือน เม.ย. 45 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 1 พ.ค. 45 Institute
for Supply Management เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 45 ดัชนีภาคอุตสาหกรรมการผลิต อยู่ที่ระดับ 53.9 ชะลอลงจากระดับ 55.6 ใน
เดือน มี.ค. 45 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 55.2 แต่ดัชนีฯ ดังกล่าวยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ที่แสดงว่าภาวะ
การผลิตขยายตัว และเติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รายงานครั้งนี้ กำลังส่งสัญญาณว่าภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลง และ
ส่งผลให้ ธ. กลางมีเวลามากขึ้นก่อนที่จะตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ในเดือน เม.ย. 45 การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้าง ก็ลดลงด้วย
นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ชี้ถึงสัญญาณการเติบโตที่ชะลอตัว Conrad DeQuadros นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Bear Stearns กล่าวว่า ขณะนี้
เศรษฐกิจ สรอ. ยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะไม่มากเหมือนที่เคยเติบโตอย่างรุนแรงในไตรมาสแรกของปีนี้(รอยเตอร์ 1)
2. การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างโดยรวมของ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือน มี.ค. 45 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
1 พ.ค. 45 ก. พาณิชย์ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างโดยรวมของ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือน มี.ค. 45 (เทียบต่อเดือน)
ซึ่งเป็นการลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 44 ทั้งนี้ จำแนกเป็นการก่อสร้างสาธารณะลดลงถึงร้อยละ 5.6 ขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่ม
ขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.7 และการก่อสร้างที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย เช่น โรงงาน, อาคารสำนักงาน, โรงแรม ฯลฯ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3
เทียบต่อเดือน (รอยเตอร์ 30)
3. อัตราการว่างงานของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในเดือน มี.ค. 45 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 30 เม.ย. 45 รัฐบาล
สิงคโปร์เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานหลังปรับฤดูกาลในเดือน มี.ค. 45 เพิ่มขึ้นร้อยละ4.5 เทียบกับร้อยละ 4.4 เมื่อเดือน ธ.ค. 44
นับเป็นตัวเลขการว่างงานที่สูงสุดในรอบ 3 ปี และคาดว่าจะยังคงสูงต่อไปเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก อย่างไร
ก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะฟื้นตัวได้อย่างแข็งแรง และคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจจะเติบโตได้ในอัตราร้อยละ 1-3 เนื่องจาก
รัฐบาลสิงคโปร์มีนโยบายกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการสร้างงาน การลดภาษีบุคคลและภาษีธุรกิจลงโดยเป้าหมายในระยะเวลา 3 ปี
ให้เหลือเพียงร้อยละ 20 เพื่อช่วยภาคธุรกิจให้มีศักยภาพในการแข่งขัน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า การผลิตสินค้าให้หลากหลายแทน
การเน้นการผลิตสินค้าเทคโนโลยีสูงเพียงอย่างเดียว(รอยเตอร์ 30)
4. ราคาน้ำมันดิบของ สรอ. ซึ่งจะส่งมอบในเดือน มิ.ย. 45 ปิดลดลง 54 เซนต์ที่บาร์เรลละ 26.75 ดอลลาร์ รายงานจาก
นิวยอร์ก เมื่อ 1 พ.ค. 45 Mercantile Exchange รายงานว่า วันพุธที่ 1 พ.ค. 45 ราคาน้ำมันดิบของ สรอ. ที่จะส่งมอบในเดือน
มิ.ย. 45 ปิดลดลง 54 เซนต์ ที่ระดับ 26.75 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เป็นการปรับลดลงภายหลังจากราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นเมื่อสัปดาห์
ก่อน (รอยเตอร์ 1)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2-May-45 30-Apr-45 28-Dec-44 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/US$) - 43.234 44.227 ธปท.
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยซื้อ/ขายตั๋วเงินของ ธพ. (Bht/US$) - 43.0489/43.3489 44.0836/44.3597 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ.ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) - 2.0000-2.0625 2.250-2.375(ตัวเลข ณ 3 ม.ค.45) รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) - 371.42/6.77 303.85/16.07 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 6,250/6,350 6,300/6,400 5,800/5,900 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 24.35 25.45 19.04 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.09/13.49 16.09/13.49 13.89/11.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. ปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็น 2.5-3.5% ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. ปรับเพิ่มประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ใหม่ โดยคาดว่าจีดีพีในปี 45 จะอยู่ที่
ระดับ 2.5-3.5% จากประมาณการเดิมที่ระดับ 2-3% โดยมีความเป็นไปได้ 73.6% และคาดว่าในปี 46 จะอยู่ที่ระดับ 2-4% ซึ่งมีความเป็น
ไปได้ 80% ทั้งนี้ เงินเฟ้อพื้นฐานในปี 45 จะอยู่ที่ระดับ 0.5-1% โอกาสเป็นไปได้ 73.6% และในปี 46 จะอยู่ที่ระดับ 1-2% โอกาสเป็น
ไปได้ 90.4% ซึ่งถือเป็นระดับเงินเฟ้อที่เอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (ไทยรัฐ, เดลินิวส์ 1)
2. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน มี.ค. 45 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 14 เดือน ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจในประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือน มี.ค. 45 ว่า ดัชนีฯ ปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 53.5
จากระดับ 49.9 ในเดือน ก.พ. 45 ซึ่งเพิ่มขึ้นเกินระดับ 50 เป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือน เนื่องจากนักธุรกิจมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ
และคำสั่งซื้อที่ปรับตัวสูงขึ้น (ไทยรัฐ, ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ)
3. เงินเฟ้อในช่วง 4 เดือนแรกของปี 45 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6% อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีราคาผู้บริโภค
ทั่วไปในเดือน เม.ย. 45 ว่า ดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 104.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค. 45 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 103.7 และดัชนีฯ
เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปี 45 อยู่ที่ระดับ 103.7 ปรับตัวสูงขึ้น 0.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 44(เดลินิวส์, โลกวันนี้)
4. ภาระหนี้ต่างประเทศในเดือน มี.ค. 45 ลดลง 500 ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า
ภาระหนี้ต่างประเทศ ณ เดือน มี.ค. 45 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6.53 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนก่อน 500 ล.ดอลลาร์ สรอ.
ซึ่งเป็นผลมาจากการคืนหนี้ภาคเอกชน 300 ล.ดอลลาร์ สรอ. และหนี้ภาครัฐ 200 ล.ดอลลาร์ สรอ. (ไทยโพสต์, สยามรัฐ)
5. กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ช่วง 6 เดือนแรกของปี งปม. 45 ได้เกินเป้าหมาย รองอธิบดีกรมสรรพสามิตในฐานะโฆษกกรม
สรรพสามิต เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในช่วง 6 เดือนแรกของปี งปม. 45 ว่า จัดเก็บได้จำนวน 100,048 ล.บาท
สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 14,515 ล.บาท คิดเป็น 16.97% และสูงกว่าเป้าหมาย 7,260 ล.บาท คิดเป็น 7.82% เนื่องจากภาวะ
เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง (ไทยโพสต์, โลกวันนี้)
6. ฐานะกองทุนฟื้นฟูฯ ปรับตัวดีขึ้นภายหลังรับชำระหนี้จาก ปรส. ผู้ช่วยผู้ว่าการสายจัดการกองทุน ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ฐานะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินปิดบัญชีงวด มี.ค. 45 ขาดทุนสะสมลดลงเหลือ 2.35 แสน ล.บาท
จากงวดเดือน ก.ย. 44 ที่ขาดทุนสะสม 2.49 แสน ล.บาท เนื่องจากได้รับเงินชำระหนี้คืนจากการขายสินทรัพย์ขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบ
สถาบันการเงินมาชดเชยส่วนหนึ่ง (ผู้จัดการรายวัน,มติชน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. ชะลอตัวในเดือน เม.ย. 45 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 1 พ.ค. 45 Institute
for Supply Management เปิดเผยว่า เดือน เม.ย. 45 ดัชนีภาคอุตสาหกรรมการผลิต อยู่ที่ระดับ 53.9 ชะลอลงจากระดับ 55.6 ใน
เดือน มี.ค. 45 และต่ำกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ระดับ 55.2 แต่ดัชนีฯ ดังกล่าวยังคงอยู่เหนือระดับ 50 ที่แสดงว่าภาวะ
การผลิตขยายตัว และเติบโตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 รายงานครั้งนี้ กำลังส่งสัญญาณว่าภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจอาจจะชะลอตัวลง และ
ส่งผลให้ ธ. กลางมีเวลามากขึ้นก่อนที่จะตัดสินใจเพิ่มอัตราดอกเบี้ย นอกจากนี้ ในเดือน เม.ย. 45 การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้าง ก็ลดลงด้วย
นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ชี้ถึงสัญญาณการเติบโตที่ชะลอตัว Conrad DeQuadros นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ Bear Stearns กล่าวว่า ขณะนี้
เศรษฐกิจ สรอ. ยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่จะไม่มากเหมือนที่เคยเติบโตอย่างรุนแรงในไตรมาสแรกของปีนี้(รอยเตอร์ 1)
2. การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างโดยรวมของ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือน มี.ค. 45 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ
1 พ.ค. 45 ก. พาณิชย์ เปิดเผยว่า การใช้จ่ายเพื่อการก่อสร้างโดยรวมของ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.9 ในเดือน มี.ค. 45 (เทียบต่อเดือน)
ซึ่งเป็นการลดลงต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 44 ทั้งนี้ จำแนกเป็นการก่อสร้างสาธารณะลดลงถึงร้อยละ 5.6 ขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนเพิ่ม
ขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.7 และการก่อสร้างที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย เช่น โรงงาน, อาคารสำนักงาน, โรงแรม ฯลฯ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.3
เทียบต่อเดือน (รอยเตอร์ 30)
3. อัตราการว่างงานของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในเดือน มี.ค. 45 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 30 เม.ย. 45 รัฐบาล
สิงคโปร์เปิดเผยว่า อัตราการว่างงานหลังปรับฤดูกาลในเดือน มี.ค. 45 เพิ่มขึ้นร้อยละ4.5 เทียบกับร้อยละ 4.4 เมื่อเดือน ธ.ค. 44
นับเป็นตัวเลขการว่างงานที่สูงสุดในรอบ 3 ปี และคาดว่าจะยังคงสูงต่อไปเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก อย่างไร
ก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์เชื่อว่าเศรษฐกิจสิงคโปร์จะฟื้นตัวได้อย่างแข็งแรง และคาดว่าปีนี้เศรษฐกิจจะเติบโตได้ในอัตราร้อยละ 1-3 เนื่องจาก
รัฐบาลสิงคโปร์มีนโยบายกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการสร้างงาน การลดภาษีบุคคลและภาษีธุรกิจลงโดยเป้าหมายในระยะเวลา 3 ปี
ให้เหลือเพียงร้อยละ 20 เพื่อช่วยภาคธุรกิจให้มีศักยภาพในการแข่งขัน การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า การผลิตสินค้าให้หลากหลายแทน
การเน้นการผลิตสินค้าเทคโนโลยีสูงเพียงอย่างเดียว(รอยเตอร์ 30)
4. ราคาน้ำมันดิบของ สรอ. ซึ่งจะส่งมอบในเดือน มิ.ย. 45 ปิดลดลง 54 เซนต์ที่บาร์เรลละ 26.75 ดอลลาร์ รายงานจาก
นิวยอร์ก เมื่อ 1 พ.ค. 45 Mercantile Exchange รายงานว่า วันพุธที่ 1 พ.ค. 45 ราคาน้ำมันดิบของ สรอ. ที่จะส่งมอบในเดือน
มิ.ย. 45 ปิดลดลง 54 เซนต์ ที่ระดับ 26.75 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรล เป็นการปรับลดลงภายหลังจากราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นเมื่อสัปดาห์
ก่อน (รอยเตอร์ 1)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 2-May-45 30-Apr-45 28-Dec-44 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/US$) - 43.234 44.227 ธปท.
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยซื้อ/ขายตั๋วเงินของ ธพ. (Bht/US$) - 43.0489/43.3489 44.0836/44.3597 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ.ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) - 2.0000-2.0625 2.250-2.375(ตัวเลข ณ 3 ม.ค.45) รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) - 371.42/6.77 303.85/16.07 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 6,250/6,350 6,300/6,400 5,800/5,900 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 24.35 25.45 19.04 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.09/13.49 16.09/13.49 13.89/11.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-