กรุงเทพฯ--13 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจาก สถานเอกอัครราชทูตฯ ณ กรุงธากา ว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวโดยสำนักข่าว AP และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของบังคลาเทศ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2545 ว่า มีนักโทษไทย 79 คน และนักโทษพม่า 473 คน ในคุกแห่งหนึ่ง ที่เมือง Bandarban ประเทศบังกลาเทศ ก่อเหตุประท้วงโดยการอดอาหาร และรายงานข่าวเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2545 ว่าได้มีการเคลื่อนย้ายนักโทษดังกล่าวไปที่คุก Comilla เพื่อรอการส่งตัวกลับประเทศไทย ซึ่งต่อมาสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับการสอบถามจากหลายฝ่ายรวมทั้งสำนักข่าว BBC ด้วยนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วปรากฏว่านักโทษดังกล่าว ไม่ใช่นักโทษไทยแต่อย่างใด ดังมีรายละเอียดดังนี้
1. ภายหลังรายงานข่าวดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้สอบถามไปยังกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ ซึ่งต่อมาในวันที่ 13 เมษายน 2545 กระทรวงการการต่างประเทศ บังกลาเทศได้ส่งรายชื่อนักโทษจำนวน 81 คน (ที่เข้าใจว่าเป็นคนไทย) ไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯ และขอเชิญเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ไทยไปร่วมหารือเรื่องการส่งตัวนักโทษดังกล่าวกลับประเทศไทยกับเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยบังกลาเทศ ในวันที่ 16 เมษายน 2545
2. นายพิทักษ์ พรหมบุปผา เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงธากา พร้อมด้วยนายธวัช ขวัญจิตร เลขานุการโท ได้ไปร่วมในการหารือกับเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยในวันดังกล่าว และได้รับแจ้งว่านักโทษดังรายชื่อที่กระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ ส่งให้กับสถานเอกอัครราชทูตฯ นั้น เป็นผู้ที่ถูกจับกุมในหลายๆ โอกาส ในข้อหาลักลอบจับปลาในน่านน้ำบังกลาเทศ พร้อมกับเรือหาปลาของไทยหลายๆ ลำ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการรอส่งตัวกลับประเทศไทย เนื่องจากได้รับการลงโทษครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลบังกลาเทศแล้ว จึงขอให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ออกเอกสารเดินทางให้กับนักโทษไทยเหล่านี้และรับตัวเดินทางกลับประเทศไทย ต่อไปซึ่งเอกอัครราชทูต ได้แจ้งว่าหากสามารถพิสูจน์ได้ว่านักโทษเหล่านั้นเป็นคนไทย สถานเอก อัครราชทูตก็ยินดีช่วยเหลือส่งตัวกลับประเทศไทยให้ จึงขอให้ทางการบังกลาเทศส่งแบบสอบถามเพื่อพิสูจน์สัญชาติที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จัดเตรียมไว้ให้นักโทษไทยทุกคนกรอกข้อความเป็นภาษาไทย และจัดส่งคืนให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ไทยเพื่อเตรียมการเรื่องเอกสารเดินทางต่อไป และขอให้เจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้พบกับนักโทษเหล่านั้นก่อนด้วย
3. ในวันที่ 29 เมษายน 2545 เอกอัครราชทูต ณ กรุงธากาและเจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปที่คุก Comilla ปรากฏว่าผู้บัญชาการเรือนจำได้แจ้งให้ทราบว่า ไม่มีนักโทษคนใดจากทั้ง 81 คนนั้นสามารถเขียนภาษาไทยได้ และทุกคนได้ยอมรับแล้วว่า ไม่ได้เป็นคนไทยจริงแต่เป็นคนพม่า เอกอัครราชทูตฯ จึงขอพบกับนักโทษเหล่านั้น เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีคนไทย ในคุกนี้ ผู้บัญชาการเรือนจำ Comilla จึงได้นำนักโทษดังกล่าวจำนวนประมาณ 10 คน มาให้ เอกอัครราชทูตสอบถามผ่านล่าม ทำให้ทราบว่า นักโทษเหล่านี้เป็นชาวพม่าที่เคยลักลอบเข้าไปทำงานในประเทศไทยและได้รับการว่าจ้างจากคนไทยให้ทำงานเป็นลูกเรือกับเรือประมงไทยเข้ามาทำการจับปลาในน่านน้ำบังกลาเทศจนถูกเจ้าหน้าที่บังกลาเทศจับกุมดำเนินคดีและถูกศาลตัดสินจำคุกคนละประมาณ 3 ปี ขณะนี้พ้นโทษแล้ว และรอการส่งตัวออกนอกประเทศอยู่ เหตุที่ต้องแจ้งให้ทางการบังกลาเทศลงทะเบียนว่าเป็นคนไทย ก็เนื่องจากไต้ก๋งซึ่งเป็นคนไทยได้ แนะนำไว้ว่า หากถูกจับกุมและแจ้งว่าเป็นคนไทยก็จะได้รับการปฏิบัติจากผู้คุมดีกว่ายอมรับว่าเป็นคนพม่า
4. สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้ข้อสังเกตว่า ยังไม่ทราบว่านักโทษพม่าเหล่านี้จะสามารถเดินทางกลับประเทศพม่าได้หรือไม่และยังมีนักโทษพม่าอีกจำนวนมากที่ถูกจำคุกอยู่ในบังกลาเทศ ดังนั้น จึงเป็นที่น่าเวทนาเป็นอย่างมากที่คนเหล่านี้จะต้องตกอยู่ในสภาพที่ยากลำบากในคุกของบังกลาเทศไม่รู้ว่าจะอีกนานเท่าใดจะได้รับอิสระ ด้วยสาเหตุจากคนไทยกลุ่มหนึ่งที่จ้างให้ผู้ยากไร้ด้อยโอกาสดังกล่าวให้เข้าไปลักลอบจับปลาในน่านน้ำของบังกลาเทศจนถูกจับกุมคุมขังจนเสียอิสรภาพเป็นเวลานาน และยังไม่สามารถกลับบ้านเกิดเมืองนอนได้
กระทรวงการต่างประเทศจึงขอประชาสัมพันธ์เตือนผู้ประกอบการเรือประมงไทยให้หลีกเลี่ยงการไปลักลอบจับปลาในน่านน้ำบังกลาเทศเพื่อไม่ให้เกิดเหตุน่าเวทนาแก่ลูกเรือ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในกรณีดังกล่าวอีก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ด้วยกระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจาก สถานเอกอัครราชทูตฯ ณ กรุงธากา ว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวโดยสำนักข่าว AP และหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของบังคลาเทศ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2545 ว่า มีนักโทษไทย 79 คน และนักโทษพม่า 473 คน ในคุกแห่งหนึ่ง ที่เมือง Bandarban ประเทศบังกลาเทศ ก่อเหตุประท้วงโดยการอดอาหาร และรายงานข่าวเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2545 ว่าได้มีการเคลื่อนย้ายนักโทษดังกล่าวไปที่คุก Comilla เพื่อรอการส่งตัวกลับประเทศไทย ซึ่งต่อมาสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รับการสอบถามจากหลายฝ่ายรวมทั้งสำนักข่าว BBC ด้วยนั้น สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วปรากฏว่านักโทษดังกล่าว ไม่ใช่นักโทษไทยแต่อย่างใด ดังมีรายละเอียดดังนี้
1. ภายหลังรายงานข่าวดังกล่าว สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้สอบถามไปยังกระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ ซึ่งต่อมาในวันที่ 13 เมษายน 2545 กระทรวงการการต่างประเทศ บังกลาเทศได้ส่งรายชื่อนักโทษจำนวน 81 คน (ที่เข้าใจว่าเป็นคนไทย) ไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯ และขอเชิญเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ไทยไปร่วมหารือเรื่องการส่งตัวนักโทษดังกล่าวกลับประเทศไทยกับเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยบังกลาเทศ ในวันที่ 16 เมษายน 2545
2. นายพิทักษ์ พรหมบุปผา เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงธากา พร้อมด้วยนายธวัช ขวัญจิตร เลขานุการโท ได้ไปร่วมในการหารือกับเจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยในวันดังกล่าว และได้รับแจ้งว่านักโทษดังรายชื่อที่กระทรวงการต่างประเทศบังกลาเทศ ส่งให้กับสถานเอกอัครราชทูตฯ นั้น เป็นผู้ที่ถูกจับกุมในหลายๆ โอกาส ในข้อหาลักลอบจับปลาในน่านน้ำบังกลาเทศ พร้อมกับเรือหาปลาของไทยหลายๆ ลำ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการรอส่งตัวกลับประเทศไทย เนื่องจากได้รับการลงโทษครบถ้วนตามคำพิพากษาของศาลบังกลาเทศแล้ว จึงขอให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ออกเอกสารเดินทางให้กับนักโทษไทยเหล่านี้และรับตัวเดินทางกลับประเทศไทย ต่อไปซึ่งเอกอัครราชทูต ได้แจ้งว่าหากสามารถพิสูจน์ได้ว่านักโทษเหล่านั้นเป็นคนไทย สถานเอก อัครราชทูตก็ยินดีช่วยเหลือส่งตัวกลับประเทศไทยให้ จึงขอให้ทางการบังกลาเทศส่งแบบสอบถามเพื่อพิสูจน์สัญชาติที่สถานเอกอัครราชทูตฯ จัดเตรียมไว้ให้นักโทษไทยทุกคนกรอกข้อความเป็นภาษาไทย และจัดส่งคืนให้สถานเอกอัครราชทูตฯ ไทยเพื่อเตรียมการเรื่องเอกสารเดินทางต่อไป และขอให้เจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้พบกับนักโทษเหล่านั้นก่อนด้วย
3. ในวันที่ 29 เมษายน 2545 เอกอัครราชทูต ณ กรุงธากาและเจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปที่คุก Comilla ปรากฏว่าผู้บัญชาการเรือนจำได้แจ้งให้ทราบว่า ไม่มีนักโทษคนใดจากทั้ง 81 คนนั้นสามารถเขียนภาษาไทยได้ และทุกคนได้ยอมรับแล้วว่า ไม่ได้เป็นคนไทยจริงแต่เป็นคนพม่า เอกอัครราชทูตฯ จึงขอพบกับนักโทษเหล่านั้น เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีคนไทย ในคุกนี้ ผู้บัญชาการเรือนจำ Comilla จึงได้นำนักโทษดังกล่าวจำนวนประมาณ 10 คน มาให้ เอกอัครราชทูตสอบถามผ่านล่าม ทำให้ทราบว่า นักโทษเหล่านี้เป็นชาวพม่าที่เคยลักลอบเข้าไปทำงานในประเทศไทยและได้รับการว่าจ้างจากคนไทยให้ทำงานเป็นลูกเรือกับเรือประมงไทยเข้ามาทำการจับปลาในน่านน้ำบังกลาเทศจนถูกเจ้าหน้าที่บังกลาเทศจับกุมดำเนินคดีและถูกศาลตัดสินจำคุกคนละประมาณ 3 ปี ขณะนี้พ้นโทษแล้ว และรอการส่งตัวออกนอกประเทศอยู่ เหตุที่ต้องแจ้งให้ทางการบังกลาเทศลงทะเบียนว่าเป็นคนไทย ก็เนื่องจากไต้ก๋งซึ่งเป็นคนไทยได้ แนะนำไว้ว่า หากถูกจับกุมและแจ้งว่าเป็นคนไทยก็จะได้รับการปฏิบัติจากผู้คุมดีกว่ายอมรับว่าเป็นคนพม่า
4. สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ให้ข้อสังเกตว่า ยังไม่ทราบว่านักโทษพม่าเหล่านี้จะสามารถเดินทางกลับประเทศพม่าได้หรือไม่และยังมีนักโทษพม่าอีกจำนวนมากที่ถูกจำคุกอยู่ในบังกลาเทศ ดังนั้น จึงเป็นที่น่าเวทนาเป็นอย่างมากที่คนเหล่านี้จะต้องตกอยู่ในสภาพที่ยากลำบากในคุกของบังกลาเทศไม่รู้ว่าจะอีกนานเท่าใดจะได้รับอิสระ ด้วยสาเหตุจากคนไทยกลุ่มหนึ่งที่จ้างให้ผู้ยากไร้ด้อยโอกาสดังกล่าวให้เข้าไปลักลอบจับปลาในน่านน้ำของบังกลาเทศจนถูกจับกุมคุมขังจนเสียอิสรภาพเป็นเวลานาน และยังไม่สามารถกลับบ้านเกิดเมืองนอนได้
กระทรวงการต่างประเทศจึงขอประชาสัมพันธ์เตือนผู้ประกอบการเรือประมงไทยให้หลีกเลี่ยงการไปลักลอบจับปลาในน่านน้ำบังกลาเทศเพื่อไม่ให้เกิดเหตุน่าเวทนาแก่ลูกเรือ ดังเช่นที่เกิดขึ้นในกรณีดังกล่าวอีก
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-