แท็ก
บัญชี
การหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารทั้งประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งปริมาณและมูลค่า โดยในช่วงไตรมาสแรกปี 2545 มีปริมาณทั้งสิ้น 19.02 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 4,425.9 พันล้านบาท ทั้งปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.5 และ 9.4 ตามลำดับ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นมากในทุกภาคของประเทศ ตามการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเป็นสำคัญ โดยการใช้เช็คในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดมีการเคลื่อนไหว ดังนี้
1. การหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2545 มีปริมาณทั้งสิ้น 14.01 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 3,985.2 พันล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.2 และ 9.1 ตามลำดับ
ในขณะที่เช็คคืนมีปริมาณทั้งสิ้น 340,765 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 36.4 พันล้านบาท โดยสัดส่วนของปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บในไตรมาสนี้ยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 และ 0.9 ตามลำดับ
เช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินมีปริมาณทั้งสิ้น 205,336 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 17.4 พันล้านบาท โดยสัดส่วนของปริมาณและมูลค่าเช็คคืนที่คืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ในระดับร้อยละ 1.5 และ 0.4 ตามลำดับ ทรงตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2544
สำหรับการชำระดุลระหว่างธนาคารสมาชิกในช่วงไตรมาสแรก ปี 2545 มีมูลค่าเฉลี่ยวันละ 9,350.5 ล้านบาท โดยมีการกู้ยืมของธนาคารสมาชิกเพื่อการชำระดุลเฉลี่ยวันละ 1,138.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.2 ของมูลค่าการชำระดุลเฉลี่ยต่อวัน ส่วนการกู้ยืมเพื่อปรับสถานะ ณ สิ้นวันของธนาคารสมาชิกมีมูลค่าเฉลี่ยวันละ 1,466.7 ล้านบาท ลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนถึงร้อยละ 12.7 เนื่องจากสภาพคล่องในระบบ การเงินยังอยู่ในระดับสูง โดยสามารถจำแนกแหล่งเงินกู้ที่สำคัญได้ 2 แหล่ง คือ การกู้ยืมระหว่างธนาคารและการกู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร (R/P) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.9 และ 9.1 ของจำนวนเงินกู้เฉลี่ยต่อวัน ตามลำดับ
2. การหักบัญชีเช็คสำนักหักบัญชีจังหวัดทั่วประเทศ ในช่วงไตรมาสแรกปี 2545 มีปริมาณทั้งสิ้น 5.0 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 440.7 พันล้านบาท โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 และ 11.9 ตามลำดับ เป็นการเพิ่มขึ้นในทุกภาคของประเทศ ในขณะที่เช็คคืนมีปริมาณทั้งสิ้น 0.15 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 10.1 พันล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 และ 7.4 ตามลำดับ โดยสัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงจากไตรมาสก่อน จากร้อยละ 2.6 เหลือร้อยละ 2.3
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. การหักบัญชีเช็คระหว่างธนาคารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2545 มีปริมาณทั้งสิ้น 14.01 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 3,985.2 พันล้านบาท ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.2 และ 9.1 ตามลำดับ
ในขณะที่เช็คคืนมีปริมาณทั้งสิ้น 340,765 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 36.4 พันล้านบาท โดยสัดส่วนของปริมาณและมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บในไตรมาสนี้ยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.4 และ 0.9 ตามลำดับ
เช็คคืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินมีปริมาณทั้งสิ้น 205,336 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 17.4 พันล้านบาท โดยสัดส่วนของปริมาณและมูลค่าเช็คคืนที่คืนด้วยเหตุผลไม่มีเงินต่อเช็คเรียกเก็บอยู่ในระดับร้อยละ 1.5 และ 0.4 ตามลำดับ ทรงตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2544
สำหรับการชำระดุลระหว่างธนาคารสมาชิกในช่วงไตรมาสแรก ปี 2545 มีมูลค่าเฉลี่ยวันละ 9,350.5 ล้านบาท โดยมีการกู้ยืมของธนาคารสมาชิกเพื่อการชำระดุลเฉลี่ยวันละ 1,138.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.2 ของมูลค่าการชำระดุลเฉลี่ยต่อวัน ส่วนการกู้ยืมเพื่อปรับสถานะ ณ สิ้นวันของธนาคารสมาชิกมีมูลค่าเฉลี่ยวันละ 1,466.7 ล้านบาท ลดลงอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนถึงร้อยละ 12.7 เนื่องจากสภาพคล่องในระบบ การเงินยังอยู่ในระดับสูง โดยสามารถจำแนกแหล่งเงินกู้ที่สำคัญได้ 2 แหล่ง คือ การกู้ยืมระหว่างธนาคารและการกู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร (R/P) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.9 และ 9.1 ของจำนวนเงินกู้เฉลี่ยต่อวัน ตามลำดับ
2. การหักบัญชีเช็คสำนักหักบัญชีจังหวัดทั่วประเทศ ในช่วงไตรมาสแรกปี 2545 มีปริมาณทั้งสิ้น 5.0 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 440.7 พันล้านบาท โดยปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.4 และ 11.9 ตามลำดับ เป็นการเพิ่มขึ้นในทุกภาคของประเทศ ในขณะที่เช็คคืนมีปริมาณทั้งสิ้น 0.15 ล้านฉบับ คิดเป็นมูลค่า 10.1 พันล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 และ 7.4 ตามลำดับ โดยสัดส่วนมูลค่าเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงจากไตรมาสก่อน จากร้อยละ 2.6 เหลือร้อยละ 2.3
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-