กรุงเทพฯ--15 พ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
แถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ
รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
ในโอกาสการเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ
ของ ฯพณฯ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
ระหว่างวันที่ 12-15 พฤษภาคม 2545
***********************************************************
ในการเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการของ ฯพณฯ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ 12-15 พฤษภาคม 2545 ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐาลแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือเกี่ยวกับแนวทางในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองและส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความก้าวหน้าร่วมกันทั้งในความร่วมมือทวิภาคีและในระดับภูมิภาค และตกลงที่จะทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่มีอยู่เดิมและร่วมกันแสวงหาหนทางใหม่และสร้างสรรค์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือและผลประโยชน์ระหว่างกันต่อไป
ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นร่วมกันที่มีต่อสันติภาพและความสมบูรณ์พูนสุขระหว่างประเทศ และตกลงที่จะร่วมมือกันในการรณรงค์การต่อต้านการก่อการร้ายในภาพรวม รวมทั้งตกลงที่จะให้มีความร่วมมือกันในด้านนี้อย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านข่าวกรองระหว่างกัน สหราชอาณาจักรแสดงความชื่นชมต่อบทบาทของไทยในภูมิภาค เช่น การเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งที่ประชุมดังกล่าวได้มีเจตน์จำนงค์ทางการเมืองของอาเซียนที่จะร่วมกันต่อสู้กับการก่อการร้ายร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือกันในการบูรณะฟื้นฟูอัฟกานิสถาน และจะคงความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องการรักษาสันติภาพ รัฐบาลสหราชอาณาจักรแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของไทยในติมอร์ตะวันออกที่สามารถผสมผสานภารกิจรักษาสันติภาพกับการส่งเสริมการพัฒนาเข้าด้วยกัน และเห็นว่าประสบการณ์ของไทยดังกล่าวอาจเป็นประโยชน์ในการบูรณะประเทศอัฟกานิสถาน
ทั้งสองฝ่ายยืนยันความมุ่งมั่นที่จะเปิดตลาดสินค้าเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และตกลงที่จะร่วมกันดำเนินการเพื่อให้การเจรจาการค้า พหุภาคีรอบใหม่ซึ่งได้เริ่มขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมาที่เมืองโดฮาประสบความสำเร็จ สหราชอาณาจักรแสดงความพอใจกับบทบาทที่สำคัญของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ทั้งในกรอบอาเซียน และกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย รวมทั้งแสดงความชื่นชมอย่างสูงต่อการที่ไทยยึดมั่นในพันธกรณีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน ทั้งสองฝ่ายยอมรับในความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจของอาเซียน และเห็นว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปกับอาเซียนนับเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาความสัมพันธ์ในกรอบกว้างระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้กระบวนการอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณัฐเกาหลี)
สหราชอาณาจักรยอมรับบทบาทสำคัญของไทยที่ผลักดันให้มีการแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นระหว่างประเทศในเอเชียอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ศักยภาพของภูมิภาคนี้มีสูงมาก และการเป็นหุ้นส่วนกันในอนาคตจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ ยังเห็นว่า การที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์และมีศักยภาพทางธุรกิจเป็นการเสริมสร้างฐานะของไทยที่เป็น จุดรวมหรือประตูของภูมิภาค ประเทศไทยเชิญชวนให้สหราชอาณาจักรพิจารณาให้มีความร่วมมือทางวิชาการแบบสามเส้า ซึ่งสองฝ่ายสามารถที่จะร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของประเทศภายใน ภูมิภาคนี้ต่อไป ทั้งสองฝ่ายย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเพิ่มมากขึ้นซึ่งรวมถึงความร่วมมืออาเซม(ASEM) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า กระบวนการอาเซมยังคงเป็นตัวเชื่อมสำคัญที่มีศักยภาพสูงระหว่างภูมิภาคทั้งสอง และเห็นว่า การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างเอเชียกับยุโรปให้มากขึ้นโดยครอบคลุมประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวางจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน และจะเป็นประโยชน์กับทั้งสองภูมิภาค นายกรัฐมนตรีของประเทศทั้งสองแสดงความยินดีที่การประชุมผู้นำอาเซมครั้งต่อไปจะมีขึ้นที่กรุงโคเปนเฮเกนในเดือนกันยายน ศกนี้
ทั้งสองฝ่ายยังได้ยืนยันความผูกพันที่จะคงความร่วมมือกันในการปราบปราม อาชญากรรมข้ามชาติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีที่จะมีการลงนามในบันทึกความ เข้าใจว่าด้วยโครงการต่อต้านการฟอกเงินภายใต้กรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป(อาเซม) ระหว่างไทย สหราชอาณาจักร และคณะกรรมาธิการยุโรป โดยเห็นว่าโครงการนี้เริ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทางของการประชุมระดับผู้นำอาเซมในหัวข้อเรื่องการก่อการร้าย และ ”ประเด็นความมั่นคงใหม่” ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศหวังว่าประเทศสมาชิกอาเซมอื่นๆ จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในความริเริ่มดังกล่าวด้วย
ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือเกี่ยวกับความพยายามร่วมกันที่จะต่อสู้กับปัญหาการเสพย์และการค้ายาเสพติด สหราชอาณาจักรยืนยันที่จะสนับสนุนความพยายามอย่างแข็งขันของไทยในการรณรงค์ในเรื่องดังกล่าว และชื่นชมในความริเริ่มของไทยที่จะส่งเสริมความร่วมมือสี่ฝ่ายระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในการต่อต้านยาเสพติดให้โทษ ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำถึงความสำคัญของการที่ประเทศในภูมิภาคและประชาคมระหว่างประเทศจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกัน การมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน และการเป็นหุ้นส่วนในการขจัดการแพร่ขยายของยาเสพติดจากแหล่งที่ผลิต ในการนี้ ไทยแสดงความประสงค์ที่จะกระชับความร่วมมือทวิภาคีกับสหราชอาณาจักรในด้านนี้ให้มากขึ้น
ไทยแสดงความยินดีกับบทบาทของสหราชอาณาจักรในฐานะประเทศผู้บริจาคที่สำคัญของโครงการความร่วมมือต่อต้านยาเสพติดของสหประชาชาติและโครงการระหว่างประเทศอื่นๆ ทั้งสองฝ่ายรับทราบถึงความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างโครงการในกรอบสหประชาชาติกับไทย ในโครงการปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่นตามพระราชดำริที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง สหราชอาณาจักรได้รับทราบด้วยความชื่นชมในเจตนารมย์ของไทยที่ประสงค์จะถ่ายทอดความเชี่ยวชาญและความรู้ในการปลูกพืชทดแทนไปถ่ายทอดให้กับประเทศอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในภูมิภาคและที่อยู่ไกลออกไป ซึ่งรวมถึงอัฟกานิสถานด้วย และไทยได้แสดงความสนใจที่จะทำงานร่วมกับสหราชอาณาจักรอย่างใกล้ชิดในเรื่องนี้
รัฐบาลของทั้งสองประเทศยืนยันที่จะส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน นอกจากนี้ ยังได้ตกลงที่จะร่วมกันส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการหารือระหว่างภาคธุรกิจเพื่อขยายการค้า การลงทุน และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
โดยตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมียุทธศาสตร์ใหม่ๆ ในภาวะโลกที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน และโดยคำนึงถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยซึ่งมีบทบาทเพิ่มขึ้นในภารกิจการรักษาสันติภาพ (peacekeeping) รัฐบาลของทั้งสองประเทศจึงแถลงว่า รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและบริษัท BAE SYSTEMS ด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร เห็นชอบที่จะร่วมกันพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนากองทัพไทย ซึ่งในชั้นต้นอาจจะเริ่มด้วยการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้งกองบัญชาการร่วมตีตอบโต้เคลื่อนที่เร็ว (Joint Rapid Reaction Command) ในเรื่องนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะเริ่มทำการเจรจาเกี่ยวกับ “โครงการทดแทนทางเศรษฐกิจ” (Economic Compensation) ซึ่งจะทำให้มีการชดเชยทางเศรษฐกิจด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการลงทุนในประเทศไทย โดยเป็นการลงทุนระยะยาวที่มีมูลค่าสูงจากสหราชอาณาจักรในประเทศไทยในสาขาต่างๆ เช่น การเกษตร สาธารณสุข การศึกษาและการเข้ามามีส่วนร่วมในภาคอุตสาหกรรม ในการนี้ อาจจะเริ่มด้วยโครงการนำร่องที่จะกระตุ้นให้เกิดโครงการทดแทนทางเศรษฐกิจพร้อมไปกับการดำเนินการพัฒนากองทัพไทย ทั้งนี้ นายเจฟฟรี ฮูน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรจะเดินทางเยือนประเทศไทยในเร็วๆ นี้ และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยก็จะเดินทางเยือนสหราชอาณาจักรเป็นการตอบแทน
ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นพ้องกันว่าการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษามีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของประเทศทั้งสอง ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือกันแสวงหาลู่ทางที่มีศักยภาพสำหรับความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต ในด้านความร่วมมือทางวิชาการ การฝึกอบรม และทุนการศึกษา ฝ่ายไทยขอบคุณรัฐบาลสหราชอาณาจักรในเรื่องโครงการให้ทุนเชฟเฟนนิ่ง (Chevenning) ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่กระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักรให้แก่นักศึกษาไทย และมีความยินดีที่สถาบันการศึกษาสหราชอาณาจักรมีแนวโน้มที่จะมาจัดตั้งสถาบันการศึกษาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
โดยที่การติตต่ออย่างใกล้ชิดระหว่างประชาชนกับประชาชน ความร่วมมือทางวัฒนธรรมและและการท่องเที่ยว เป็นสิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างการยอมรับและความเข้าใจอันดีระหว่างสองประเทศ ทั้งสองฝ่ายจึงเห็นชอบที่จะเพิ่มพูนการติดต่อสัมพันธ์ดังกล่าวต่อไปอย่างต่อเนื่อง ไทยยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวสหราชอาณาจักรที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น และย้ำว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะส่งเสริมความเข้าใจด้าน วัฒนธรรมระหว่างกันให้มากขึ้น และยอมรับว่า บริติชเคาน์ซิล และองค์กรเอกชนต่างๆ รวมทั้งเอเชียเฮาส์ มีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
ทั้งสองฝ่ายย้ำว่า ยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่เข้มแข็งทั้งในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและทั้งในแง่ของผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร ทั้งสองฝ่ายรับทราบถึงนโยบายคู่ขนาน (dual-track) ของไทยในการแก้ไขปัญหาอันเป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียเมื่อปี 2540 อันเป็นนโยบายของรัฐบาลไทยที่เปิดประตูรับการลงทุนจากต่างประเทศควบคู่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งสองฝ่ายมุ่งที่จะรักษาปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้คงอยู่ในระดับสูงเช่นนี้ต่อไป โดยเป็นที่น่ายินดีว่า ขณะนี้ สหราชอาณาจักรได้มาลงทุนในประเทศไทยมากเป็นอันดับหนึ่งจากสหภาพยุโรป และทั้งสองฝ่ายตกลงส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันถึงกองทุนร่วม (Matching Funds) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนโดยตรงเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นในกลุ่มนักลงทุนที่มีศักยภาพ
ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่ายังมีโอกาสที่จะขยายความสัมพันธ์ด้านการค้าทวิภาคีได้อีกมาก โดยที่ขณะนี้ ไทยมีความตื่นตัวมากขึ้นในเรื่องมาตรฐานสินค้าว่ามีความสำคัญสำหรับการเป็นคู่ค้ากับต่างประเทศในระยะยาว ไทยจึงได้เชิญชวนให้สหราชอาณาจักรพิจารณามีความร่วมมือกับไทยในการเสริมสร้างขีดความสามารถ รวมทั้งพิจารณาดำเนินการในเรื่องความตกลงว่าด้วยการให้การรับรองมาตรฐานสินค้าระหว่างกัน ทั้งนี้ ไทยย้ำความปรารถนาที่จะรักษาสถานะของไทยในตลาดโลกในฐานะประเทศผู้ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานระหว่างประเทศอันเป็นที่ยอมรับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
แถลงการณ์ร่วมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ
รัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ
ในโอกาสการเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ
ของ ฯพณฯ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย
ระหว่างวันที่ 12-15 พฤษภาคม 2545
***********************************************************
ในการเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการของ ฯพณฯ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ระหว่างวันที่ 12-15 พฤษภาคม 2545 ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐาลแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือเกี่ยวกับแนวทางในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองและส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนเพื่อความก้าวหน้าร่วมกันทั้งในความร่วมมือทวิภาคีและในระดับภูมิภาค และตกลงที่จะทำงานร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่มีอยู่เดิมและร่วมกันแสวงหาหนทางใหม่และสร้างสรรค์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือและผลประโยชน์ระหว่างกันต่อไป
ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำถึงความมุ่งมั่นร่วมกันที่มีต่อสันติภาพและความสมบูรณ์พูนสุขระหว่างประเทศ และตกลงที่จะร่วมมือกันในการรณรงค์การต่อต้านการก่อการร้ายในภาพรวม รวมทั้งตกลงที่จะให้มีความร่วมมือกันในด้านนี้อย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านข่าวกรองระหว่างกัน สหราชอาณาจักรแสดงความชื่นชมต่อบทบาทของไทยในภูมิภาค เช่น การเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งที่ประชุมดังกล่าวได้มีเจตน์จำนงค์ทางการเมืองของอาเซียนที่จะร่วมกันต่อสู้กับการก่อการร้ายร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือกันในการบูรณะฟื้นฟูอัฟกานิสถาน และจะคงความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องการรักษาสันติภาพ รัฐบาลสหราชอาณาจักรแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของไทยในติมอร์ตะวันออกที่สามารถผสมผสานภารกิจรักษาสันติภาพกับการส่งเสริมการพัฒนาเข้าด้วยกัน และเห็นว่าประสบการณ์ของไทยดังกล่าวอาจเป็นประโยชน์ในการบูรณะประเทศอัฟกานิสถาน
ทั้งสองฝ่ายยืนยันความมุ่งมั่นที่จะเปิดตลาดสินค้าเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และตกลงที่จะร่วมกันดำเนินการเพื่อให้การเจรจาการค้า พหุภาคีรอบใหม่ซึ่งได้เริ่มขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมาที่เมืองโดฮาประสบความสำเร็จ สหราชอาณาจักรแสดงความพอใจกับบทบาทที่สำคัญของไทยในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค ทั้งในกรอบอาเซียน และกับประเทศเพื่อนบ้านของไทย รวมทั้งแสดงความชื่นชมอย่างสูงต่อการที่ไทยยึดมั่นในพันธกรณีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน ทั้งสองฝ่ายยอมรับในความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจของอาเซียน และเห็นว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดมากขึ้นระหว่างสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปกับอาเซียนนับเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาความสัมพันธ์ในกรอบกว้างระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้กระบวนการอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และสาธารณัฐเกาหลี)
สหราชอาณาจักรยอมรับบทบาทสำคัญของไทยที่ผลักดันให้มีการแลกเปลี่ยนความ คิดเห็นระหว่างประเทศในเอเชียอย่างใกล้ชิดมากขึ้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า ศักยภาพของภูมิภาคนี้มีสูงมาก และการเป็นหุ้นส่วนกันในอนาคตจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ ยังเห็นว่า การที่ประเทศไทยตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์และมีศักยภาพทางธุรกิจเป็นการเสริมสร้างฐานะของไทยที่เป็น จุดรวมหรือประตูของภูมิภาค ประเทศไทยเชิญชวนให้สหราชอาณาจักรพิจารณาให้มีความร่วมมือทางวิชาการแบบสามเส้า ซึ่งสองฝ่ายสามารถที่จะร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมการพัฒนาของประเทศภายใน ภูมิภาคนี้ต่อไป ทั้งสองฝ่ายย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้มีความร่วมมือระหว่างภูมิภาคเพิ่มมากขึ้นซึ่งรวมถึงความร่วมมืออาเซม(ASEM) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่า กระบวนการอาเซมยังคงเป็นตัวเชื่อมสำคัญที่มีศักยภาพสูงระหว่างภูมิภาคทั้งสอง และเห็นว่า การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างเอเชียกับยุโรปให้มากขึ้นโดยครอบคลุมประเด็นต่างๆ อย่างกว้างขวางจะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน และจะเป็นประโยชน์กับทั้งสองภูมิภาค นายกรัฐมนตรีของประเทศทั้งสองแสดงความยินดีที่การประชุมผู้นำอาเซมครั้งต่อไปจะมีขึ้นที่กรุงโคเปนเฮเกนในเดือนกันยายน ศกนี้
ทั้งสองฝ่ายยังได้ยืนยันความผูกพันที่จะคงความร่วมมือกันในการปราบปราม อาชญากรรมข้ามชาติ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีที่จะมีการลงนามในบันทึกความ เข้าใจว่าด้วยโครงการต่อต้านการฟอกเงินภายใต้กรอบการประชุมเอเชีย-ยุโรป(อาเซม) ระหว่างไทย สหราชอาณาจักร และคณะกรรมาธิการยุโรป โดยเห็นว่าโครงการนี้เริ่มขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกับแนวทางของการประชุมระดับผู้นำอาเซมในหัวข้อเรื่องการก่อการร้าย และ ”ประเด็นความมั่นคงใหม่” ทั้งนี้ ทั้งสองประเทศหวังว่าประเทศสมาชิกอาเซมอื่นๆ จะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในความริเริ่มดังกล่าวด้วย
ทั้งสองฝ่ายได้มีการหารือเกี่ยวกับความพยายามร่วมกันที่จะต่อสู้กับปัญหาการเสพย์และการค้ายาเสพติด สหราชอาณาจักรยืนยันที่จะสนับสนุนความพยายามอย่างแข็งขันของไทยในการรณรงค์ในเรื่องดังกล่าว และชื่นชมในความริเริ่มของไทยที่จะส่งเสริมความร่วมมือสี่ฝ่ายระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในการต่อต้านยาเสพติดให้โทษ ทั้งสองฝ่ายได้ย้ำถึงความสำคัญของการที่ประเทศในภูมิภาคและประชาคมระหว่างประเทศจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกัน การมีส่วนรับผิดชอบร่วมกัน และการเป็นหุ้นส่วนในการขจัดการแพร่ขยายของยาเสพติดจากแหล่งที่ผลิต ในการนี้ ไทยแสดงความประสงค์ที่จะกระชับความร่วมมือทวิภาคีกับสหราชอาณาจักรในด้านนี้ให้มากขึ้น
ไทยแสดงความยินดีกับบทบาทของสหราชอาณาจักรในฐานะประเทศผู้บริจาคที่สำคัญของโครงการความร่วมมือต่อต้านยาเสพติดของสหประชาชาติและโครงการระหว่างประเทศอื่นๆ ทั้งสองฝ่ายรับทราบถึงความร่วมมืออันใกล้ชิดระหว่างโครงการในกรอบสหประชาชาติกับไทย ในโครงการปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่นตามพระราชดำริที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง สหราชอาณาจักรได้รับทราบด้วยความชื่นชมในเจตนารมย์ของไทยที่ประสงค์จะถ่ายทอดความเชี่ยวชาญและความรู้ในการปลูกพืชทดแทนไปถ่ายทอดให้กับประเทศอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในภูมิภาคและที่อยู่ไกลออกไป ซึ่งรวมถึงอัฟกานิสถานด้วย และไทยได้แสดงความสนใจที่จะทำงานร่วมกับสหราชอาณาจักรอย่างใกล้ชิดในเรื่องนี้
รัฐบาลของทั้งสองประเทศยืนยันที่จะส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในระดับสูงเพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่มีความสนใจร่วมกัน นอกจากนี้ ยังได้ตกลงที่จะร่วมกันส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการหารือระหว่างภาคธุรกิจเพื่อขยายการค้า การลงทุน และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
โดยตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมียุทธศาสตร์ใหม่ๆ ในภาวะโลกที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน และโดยคำนึงถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยซึ่งมีบทบาทเพิ่มขึ้นในภารกิจการรักษาสันติภาพ (peacekeeping) รัฐบาลของทั้งสองประเทศจึงแถลงว่า รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและบริษัท BAE SYSTEMS ด้วยการสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักร เห็นชอบที่จะร่วมกันพิจารณาหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนากองทัพไทย ซึ่งในชั้นต้นอาจจะเริ่มด้วยการพิจารณาเกี่ยวกับการจัดตั้งกองบัญชาการร่วมตีตอบโต้เคลื่อนที่เร็ว (Joint Rapid Reaction Command) ในเรื่องนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะเริ่มทำการเจรจาเกี่ยวกับ “โครงการทดแทนทางเศรษฐกิจ” (Economic Compensation) ซึ่งจะทำให้มีการชดเชยทางเศรษฐกิจด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการลงทุนในประเทศไทย โดยเป็นการลงทุนระยะยาวที่มีมูลค่าสูงจากสหราชอาณาจักรในประเทศไทยในสาขาต่างๆ เช่น การเกษตร สาธารณสุข การศึกษาและการเข้ามามีส่วนร่วมในภาคอุตสาหกรรม ในการนี้ อาจจะเริ่มด้วยโครงการนำร่องที่จะกระตุ้นให้เกิดโครงการทดแทนทางเศรษฐกิจพร้อมไปกับการดำเนินการพัฒนากองทัพไทย ทั้งนี้ นายเจฟฟรี ฮูน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหราชอาณาจักรจะเดินทางเยือนประเทศไทยในเร็วๆ นี้ และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยก็จะเดินทางเยือนสหราชอาณาจักรเป็นการตอบแทน
ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นพ้องกันว่าการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษามีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของประเทศทั้งสอง ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะร่วมมือกันแสวงหาลู่ทางที่มีศักยภาพสำหรับความร่วมมือระหว่างกันในอนาคต ในด้านความร่วมมือทางวิชาการ การฝึกอบรม และทุนการศึกษา ฝ่ายไทยขอบคุณรัฐบาลสหราชอาณาจักรในเรื่องโครงการให้ทุนเชฟเฟนนิ่ง (Chevenning) ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่กระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักรให้แก่นักศึกษาไทย และมีความยินดีที่สถาบันการศึกษาสหราชอาณาจักรมีแนวโน้มที่จะมาจัดตั้งสถาบันการศึกษาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการช่วยสนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
โดยที่การติตต่ออย่างใกล้ชิดระหว่างประชาชนกับประชาชน ความร่วมมือทางวัฒนธรรมและและการท่องเที่ยว เป็นสิ่งที่จะช่วยเสริมสร้างการยอมรับและความเข้าใจอันดีระหว่างสองประเทศ ทั้งสองฝ่ายจึงเห็นชอบที่จะเพิ่มพูนการติดต่อสัมพันธ์ดังกล่าวต่อไปอย่างต่อเนื่อง ไทยยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยวสหราชอาณาจักรที่เดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้น และย้ำว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะส่งเสริมความเข้าใจด้าน วัฒนธรรมระหว่างกันให้มากขึ้น และยอมรับว่า บริติชเคาน์ซิล และองค์กรเอกชนต่างๆ รวมทั้งเอเชียเฮาส์ มีบทบาทที่สำคัญในเรื่องนี้
ทั้งสองฝ่ายย้ำว่า ยังคงมีปัจจัยพื้นฐานที่เข้มแข็งทั้งในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและทั้งในแง่ของผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร ทั้งสองฝ่ายรับทราบถึงนโยบายคู่ขนาน (dual-track) ของไทยในการแก้ไขปัญหาอันเป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจเอเชียเมื่อปี 2540 อันเป็นนโยบายของรัฐบาลไทยที่เปิดประตูรับการลงทุนจากต่างประเทศควบคู่ไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ ทั้งสองฝ่ายมุ่งที่จะรักษาปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้คงอยู่ในระดับสูงเช่นนี้ต่อไป โดยเป็นที่น่ายินดีว่า ขณะนี้ สหราชอาณาจักรได้มาลงทุนในประเทศไทยมากเป็นอันดับหนึ่งจากสหภาพยุโรป และทั้งสองฝ่ายตกลงส่งเสริมการลงทุนระหว่างกันต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันถึงกองทุนร่วม (Matching Funds) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างหนึ่งที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนโดยตรงเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นในกลุ่มนักลงทุนที่มีศักยภาพ
ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่ายังมีโอกาสที่จะขยายความสัมพันธ์ด้านการค้าทวิภาคีได้อีกมาก โดยที่ขณะนี้ ไทยมีความตื่นตัวมากขึ้นในเรื่องมาตรฐานสินค้าว่ามีความสำคัญสำหรับการเป็นคู่ค้ากับต่างประเทศในระยะยาว ไทยจึงได้เชิญชวนให้สหราชอาณาจักรพิจารณามีความร่วมมือกับไทยในการเสริมสร้างขีดความสามารถ รวมทั้งพิจารณาดำเนินการในเรื่องความตกลงว่าด้วยการให้การรับรองมาตรฐานสินค้าระหว่างกัน ทั้งนี้ ไทยย้ำความปรารถนาที่จะรักษาสถานะของไทยในตลาดโลกในฐานะประเทศผู้ผลิตสินค้าที่มีมาตรฐานระหว่างประเทศอันเป็นที่ยอมรับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-