อุตสาหกรรมเซรามิกเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญ เนื่องจากใช้วัตถุดิบและแรงงานในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ภาครัฐโดยสำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และศูนย์พัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาลำปาง ได้เห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ จึงได้จัดโครงการ "เชื่อมโยง
การผลิตสู่ท้องถิ่น จับคู่การผลิตสู่การผลิต" ผลักดันให้จังหวัดลำปางเป็นเมืองเซรามิก เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม และการส่งออก เซรามิกของ
ประเทศและของโลก โดยจะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในลักษณะการเชื่อมโยงการผลิตกับผู้ส่งออกหรือโรงงานใหญ่ที่มีศักยภาพสูง ในกิจการผลิต
เครื่องเคลือบดินเผาประเภทสโตนแวร์ พอร์ชเลน และโบนไชน่า กิจการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาเซรามิก รวมไปถึงกิจการเหมืองแร่
(ยกเว้นดีบุก) โครงการนี้จะครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมเซรามิกใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิประโยชน์ของสำนักงานฯ
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และหากโครงการนี้ดำเนินการสำเร็จจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้ปีละหลายพันล้านบาท
1. การผลิต
การผลิตเซรามิกเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดในประเทศ ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์เป็นสำคัญ
โดยไตรมาสที่ 1 ปี 2545 การผลิตกระเบื้องปูพื้นบุผนัง มีประมาณ 23.2 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกัน
ของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.41 และ 30.46 ตามลำดับ เครื่องสุขภัณฑ์ มีประมาณ 1.5 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.70 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 5.23 (ตารางที่ 1)
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีประมาณ 26.8 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.03 และ 32.49 ตามลำดับ เครื่องสุขภัณฑ์ มี
ประมาณ 785,000 ชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.41 และ23.94
ตามลำดับ (ตารางที่ 1)
ตลาดการจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น ตามการขยายตัวของ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยตลาดหลักจะเป็นการลงทุน ในโครงการก่อสร้างบ้านใหม่ รวมถึงบ้านเก่าที่ต้องปรับปรุงและซ่อมแซมอีกจำนวนมาก
สำหรับการแข่งขันของตลาดในประเทศ จะไม่เน้นการแข่งขันด้านราคา แต่จะเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาคุณภาพและผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มมากขึ้น
อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า นอกจากนี้ จะส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าและเพิ่ม
ยอดจำหน่าย โดยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การขายสินค้าเป็นชุดในราคาพิเศษ การส่งพนักงานแนะนำสินค้าไปประจำร้านค้าตัวแทนจำหน่าย
รายใหญ่ ๆ การอบรมความรู้แก่พนักงานเพื่อให้คำแนะนำแก่ลูกค้า การปรับปรุงร้านค้าตัวแทนจำหน่าย การพัฒนาระบบการบริหารจัดการของ
ร้านผู้แทนจำหน่าย เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับลูกค้า และการเข้าร่วม ออกงานแสดงสินค้าต่าง ๆ เป็นต้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกของไทย ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของชำร่วยเครื่องประดับ
ลูกถ้วยไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในไตรมาส ที่ 1 ปี 2545 มีมูลค่ารวม 116.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของ
ปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.43 (ตารางที่ 2) โดยเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จะเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญกับการส่งออกมากที่สุด ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
ออสเตรเลีย ฮ่องกง เกาหลีใต้ เยอรมนีและประเทศในกลุ่มอาเซียน
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีเพียง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เพียงผลิตภัณฑ์
เดียวที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ถึงร้อยละ 42.98 โดยมีสัดส่วนการส่งออกและขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก สำหรับผลิตภัณฑ์
อื่นจะมีอัตราการขยายตัวลดลง ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก และต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งในด้านคุณภาพและราคา
โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะการรับจ้างผลิตตามรูปแบบ (OEM) จะมีการแข่งขันรุนแรงมาก เพราะผู้สั่งผลิตสามารถว่าจ้างผู้ผลิตรายใดก็ได้
ซึ่งจีนถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญประเทศหนึ่ง
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก คาดว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม
สหรัฐอเมริกาจะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สำหรับสินค้าเซรามิกของไทย เนื่องจาก มีการส่งออกสินค้าเกินกว่าร้อยละ 30 ของ
มูลค่านำเข้าสินค้าในสหรัฐอเมริกา ดังนั้น ผู้ผลิตจึงต้องเตรียมรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยลดต้นทุนการผลิต ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์
ทั้งในด้านคุณภาพและการออกแบบให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และเป็นสินค้าในตลาดระดับบน และเร่งขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ
ให้มากขึ้น
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 มีมูลค่า 26.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการ
ขยายตัวลดลง ร้อยละ 19.57 (ตารางที่ 3) การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ (พิกัด 6902 และ 6903)
ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ (พิกัด 6909) และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง (พิกัด 6907 และ 6908) เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ
และผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่จะนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง และไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ สำหรับกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ผู้ผลิตกระเบื้องรายใหญ่หลายรายได้นำเข้ากระเบื้องพอร์ชเลนขัดเงาขนาดใหญ่ จากจีนมาจำหน่ายในประเทศ เนื่องจาก ต้นทุนการนำเข้าต่ำกว่า
การผลิตในประเทศ การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย เยอรมนี อิตาลี สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์
สเปน ไต้หวัน และอินโดนีเซีย
4. สรุป
การผลิตเซรามิกเพื่อจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นตามการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของการส่งออกยังคงได้รับ
ผลกระทบโดยตรงจากเศรษฐกิจโลก และต้องแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งในด้านคุณภาพและราคา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะการรับจ้างผลิตตาม
รูปแบบ (OEM) เพราะผู้สั่งผลิตสามารถว่าจ้างผู้ผลิตรายใดก็ได้ ซึ่งจีนถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญประเทศหนึ่ง การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก คาดว่าจะ
มีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาจะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP)
สำหรับสินค้าเซรามิกของไทย เนื่องจาก มีการส่งออกสินค้าเกินกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่านำเข้าสินค้าในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้อง
เตรียมรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยลดต้นทุนการผลิต ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งในด้านคุณภาพและการออกแบบให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่า
เพิ่มสูง และเป็นสินค้าในตลาดระดับบน และเร่งขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ให้มากขึ้น
ตารางที่ 1 การผลิต จำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น)
ช่วงเวลา ผลิต จำหน่ายในประเทศ ผลิต จำหน่ายในประเทศ
ไตรมาสที่ 1/2544 17,820,908 20,235,525 1,614,404 633,847
ไตรมาสที่ 4/2544 21,849,903 24,366,131 1,357,508 611,806
ไตรมาสที่ 1/2545 23,249,845 26,809,612 1,529,971 785,596
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 6.41 10.03 12.70 28.41
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 30.46 32.49 -5.23 23.94
ที่มา: ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ: 1.จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 13 โรงงาน เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
2. ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส อัตราการขยายตัว(ร้อยละ)
ช่วงเวลา 1/2544 1/2545
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 11.4 16.3 42.98
เครื่องสุขภัณฑ์ 18.7 16.6 -11.23
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 35.1 34.8 -0.85
ของชำร่วยเครื่องประดับ 7.2 7.3 1.39
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.5 2.0 -63.64
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 40.7 39.9 -1.97
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 118.6 116.9 -1.43
ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือกรมศุลกากร
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส อัตราการขยายตัว(ร้อยละ)
ช่วงเวลา 1/2544 1/2545
ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ 32.7 26.3 -19.57
ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และศูนย์พัฒนาเครื่องเคลือบดินเผาลำปาง ได้เห็นความสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ จึงได้จัดโครงการ "เชื่อมโยง
การผลิตสู่ท้องถิ่น จับคู่การผลิตสู่การผลิต" ผลักดันให้จังหวัดลำปางเป็นเมืองเซรามิก เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม และการส่งออก เซรามิกของ
ประเทศและของโลก โดยจะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในลักษณะการเชื่อมโยงการผลิตกับผู้ส่งออกหรือโรงงานใหญ่ที่มีศักยภาพสูง ในกิจการผลิต
เครื่องเคลือบดินเผาประเภทสโตนแวร์ พอร์ชเลน และโบนไชน่า กิจการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาเซรามิก รวมไปถึงกิจการเหมืองแร่
(ยกเว้นดีบุก) โครงการนี้จะครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมเซรามิกใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิทธิประโยชน์ของสำนักงานฯ
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และหากโครงการนี้ดำเนินการสำเร็จจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้ปีละหลายพันล้านบาท
1. การผลิต
การผลิตเซรามิกเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดในประเทศ ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของอสังหาริมทรัพย์เป็นสำคัญ
โดยไตรมาสที่ 1 ปี 2545 การผลิตกระเบื้องปูพื้นบุผนัง มีประมาณ 23.2 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกัน
ของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.41 และ 30.46 ตามลำดับ เครื่องสุขภัณฑ์ มีประมาณ 1.5 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน
มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.70 และเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 5.23 (ตารางที่ 1)
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศ ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีประมาณ 26.8 ล้านตารางเมตร เมื่อเทียบกับไตรมาส
ก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการ ขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.03 และ 32.49 ตามลำดับ เครื่องสุขภัณฑ์ มี
ประมาณ 785,000 ชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 28.41 และ23.94
ตามลำดับ (ตารางที่ 1)
ตลาดการจำหน่ายเซรามิกในประเทศ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น ตามการขยายตัวของ
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยตลาดหลักจะเป็นการลงทุน ในโครงการก่อสร้างบ้านใหม่ รวมถึงบ้านเก่าที่ต้องปรับปรุงและซ่อมแซมอีกจำนวนมาก
สำหรับการแข่งขันของตลาดในประเทศ จะไม่เน้นการแข่งขันด้านราคา แต่จะเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม พัฒนาคุณภาพและผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มมากขึ้น
อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้า นอกจากนี้ จะส่งเสริมการขายในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสินค้าและเพิ่ม
ยอดจำหน่าย โดยการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การขายสินค้าเป็นชุดในราคาพิเศษ การส่งพนักงานแนะนำสินค้าไปประจำร้านค้าตัวแทนจำหน่าย
รายใหญ่ ๆ การอบรมความรู้แก่พนักงานเพื่อให้คำแนะนำแก่ลูกค้า การปรับปรุงร้านค้าตัวแทนจำหน่าย การพัฒนาระบบการบริหารจัดการของ
ร้านผู้แทนจำหน่าย เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับลูกค้า และการเข้าร่วม ออกงานแสดงสินค้าต่าง ๆ เป็นต้น
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกของไทย ได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ของชำร่วยเครื่องประดับ
ลูกถ้วยไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ ในไตรมาส ที่ 1 ปี 2545 มีมูลค่ารวม 116.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของ
ปีก่อน มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 1.43 (ตารางที่ 2) โดยเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เครื่องสุขภัณฑ์ และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จะเป็น
ผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญกับการส่งออกมากที่สุด ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร
ออสเตรเลีย ฮ่องกง เกาหลีใต้ เยอรมนีและประเทศในกลุ่มอาเซียน
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีเพียง กระเบื้องปูพื้น บุผนัง เพียงผลิตภัณฑ์
เดียวที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ถึงร้อยละ 42.98 โดยมีสัดส่วนการส่งออกและขยายตัวเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก สำหรับผลิตภัณฑ์
อื่นจะมีอัตราการขยายตัวลดลง ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก และต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งในด้านคุณภาพและราคา
โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะการรับจ้างผลิตตามรูปแบบ (OEM) จะมีการแข่งขันรุนแรงมาก เพราะผู้สั่งผลิตสามารถว่าจ้างผู้ผลิตรายใดก็ได้
ซึ่งจีนถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญประเทศหนึ่ง
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก คาดว่าจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม
สหรัฐอเมริกาจะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) สำหรับสินค้าเซรามิกของไทย เนื่องจาก มีการส่งออกสินค้าเกินกว่าร้อยละ 30 ของ
มูลค่านำเข้าสินค้าในสหรัฐอเมริกา ดังนั้น ผู้ผลิตจึงต้องเตรียมรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยลดต้นทุนการผลิต ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์
ทั้งในด้านคุณภาพและการออกแบบให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง และเป็นสินค้าในตลาดระดับบน และเร่งขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ
ให้มากขึ้น
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 มีมูลค่า 26.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน มีอัตราการ
ขยายตัวลดลง ร้อยละ 19.57 (ตารางที่ 3) การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกที่สำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ (พิกัด 6902 และ 6903)
ผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ (พิกัด 6909) และกระเบื้องปูพื้น บุผนัง (พิกัด 6907 และ 6908) เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ
และผลิตภัณฑ์เซรามิกที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ส่วนใหญ่จะนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง และไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ สำหรับกระเบื้องปูพื้น บุผนัง
ผู้ผลิตกระเบื้องรายใหญ่หลายรายได้นำเข้ากระเบื้องพอร์ชเลนขัดเงาขนาดใหญ่ จากจีนมาจำหน่ายในประเทศ เนื่องจาก ต้นทุนการนำเข้าต่ำกว่า
การผลิตในประเทศ การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย เยอรมนี อิตาลี สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์
สเปน ไต้หวัน และอินโดนีเซีย
4. สรุป
การผลิตเซรามิกเพื่อจำหน่ายในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นตามการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของการส่งออกยังคงได้รับ
ผลกระทบโดยตรงจากเศรษฐกิจโลก และต้องแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งในด้านคุณภาพและราคา โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะการรับจ้างผลิตตาม
รูปแบบ (OEM) เพราะผู้สั่งผลิตสามารถว่าจ้างผู้ผลิตรายใดก็ได้ ซึ่งจีนถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญประเทศหนึ่ง การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก คาดว่าจะ
มีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาจะตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP)
สำหรับสินค้าเซรามิกของไทย เนื่องจาก มีการส่งออกสินค้าเกินกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่านำเข้าสินค้าในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้อง
เตรียมรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยลดต้นทุนการผลิต ใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งในด้านคุณภาพและการออกแบบให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่า
เพิ่มสูง และเป็นสินค้าในตลาดระดับบน และเร่งขยายฐานการส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ ให้มากขึ้น
ตารางที่ 1 การผลิต จำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น)
ช่วงเวลา ผลิต จำหน่ายในประเทศ ผลิต จำหน่ายในประเทศ
ไตรมาสที่ 1/2544 17,820,908 20,235,525 1,614,404 633,847
ไตรมาสที่ 4/2544 21,849,903 24,366,131 1,357,508 611,806
ไตรมาสที่ 1/2545 23,249,845 26,809,612 1,529,971 785,596
% D เทียบกับไตรมาสก่อน 6.41 10.03 12.70 28.41
% D เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน 30.46 32.49 -5.23 23.94
ที่มา: ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ: 1.จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 13 โรงงาน เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
2. ไตรมาสที่ 1 ปี 2545 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส อัตราการขยายตัว(ร้อยละ)
ช่วงเวลา 1/2544 1/2545
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 11.4 16.3 42.98
เครื่องสุขภัณฑ์ 18.7 16.6 -11.23
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 35.1 34.8 -0.85
ของชำร่วยเครื่องประดับ 7.2 7.3 1.39
ลูกถ้วยไฟฟ้า 5.5 2.0 -63.64
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 40.7 39.9 -1.97
รวมผลิตภัณฑ์เซรามิก 118.6 116.9 -1.43
ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือกรมศุลกากร
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิกส์
มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลิตภัณฑ์ ไตรมาส อัตราการขยายตัว(ร้อยละ)
ช่วงเวลา 1/2544 1/2545
ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ 32.7 26.3 -19.57
ที่มา: สำนักบริหารสารสนเทศการพาณิชย์ โดยความร่วมมือกรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--