ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ยืนยันไม่แทรกแซงค่าเงินบาท ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนลงที่ระดับ
42.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 21 พ.ค.45 เกิดจากการซื้อขายในตลาดการเงินและเป็นการเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ซึ่ง ธปท.
ไม่จำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินหรือเข้าแทรกแซงแต่อย่างใด (ไทยโพสต์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. กมธ.มีมติให้ ธปท.กำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย รองผู้ว่าการ (เสถียรภาพสถาบันการเงิน) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (กมธ.) ได้ข้อยุติเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดเพดานส่วนต่าง
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก โดยมอบหมายให้ ธปท.เป็นผู้มีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสมแต่
ละสถานการณ์ โดยหากสถาบันการเงินใดมีอัตราส่วนต่างเกินกว่าที่ ธปท.กำหนด ต้องนำส่งเงินส่วนต่างที่เกินบวกค่าปรับจำนวนเท่ากับส่วน
ต่างเป็นรายได้ของแผ่นดิน (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน, สยามรัฐ)
3. คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ มีมติลดสัดส่วนการถือหุ้น ธ.ไทยธนาคารเหลือ 48% นายพันธ์ สุริยพร กรรมการกองทุนเพื่อ
การฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ มีมติให้กองทุนฟื้นฟูฯ ลดสัดส่วนการถือหุ้น
ธ.ไทยธนาคาร จากปัจจุบันที่ถืออยู่ประมาณ 99% เหลือ 48% ตามนโยบายแปรรูปธนาคารรัฐวิสาหกิจ โดยมอบหมายให้ธนาคารไปแต่งตั้ง
ที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนการขายหุ้น โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการขายได้ภายในปี 45 (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
4. เอ็นพีแอลของ ธพ. ณ สิ้นเดือน เม.ย.45 ส่วนใหญ่ยังคงเพิ่มขึ้น รายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า
ธพ. 9 แห่งได้รายงานจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ณ สิ้นเดือน เม.ย.45 โดย ธพ. 5 แห่งมีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น ได้แก่
ธ.กรุงเทพ, ธ.ไทยพาณิชย์, ธ.เอเชีย, ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ยูโอบีรัตนสิน ส่วน ธพ.ที่มีเอ็นพีแอลลดลง ได้แก่ ธ.กสิกรไทย,
ธ.กรุงศรีอยุธยา, ธ.ทหารไทย และ ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นครธน (แนวหน้า, สยามรัฐ)
5. ช่วง 4 เดือนแรกปี 45 การลงทุนเพิ่มขึ้น 86.27% จากช่วงเดียวกันปี 44 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ภาวะการลงทุนในช่วง 4 เดือนแรกปี 45 มีโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 238 โครงการ
คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนรวม 66,500 ล.บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 44 คิดเป็น 86.27% โดยอุตสาหกรรมหมวดโลหะ เครื่องจักร
อุปกรณ์ขนส่ง หมวดเกษตรกรรม และผลผลิตจากการเกษตร เป็นหมวดที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุด (มติชน)
6. ผู้ส่งออกส่วนใหญ่มีความเห็นว่าค่าเงินบาทที่ระดับ 42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.อยู่ในระดับที่รับได้ รมช. พาณิชย์ เปิดเผยว่า
จากการสอบถามตัวแทนผู้ส่งออกและผู้ประกอบการไทยถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.นั้น
ส่วนใหญ่ระบุว่าเป็นระดับที่รับภาระได้ แต่หากแข็งค่าที่ระดับ 38-39 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.คงจะไม่สามารถรับภาระได้ (บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีภาคบริการของญี่ปุ่นเดือน มี.ค. 45 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา รายงานจากโตเกียวเมื่อ
22 พ.ค. 45 ก. เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน มี.ค. 45 ดัชนีภาคบริการ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลัก
ของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 หลังจากลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.พ. 45 นับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ
4 เดือนและเพิ่มขึ้นสูงที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 44 ยิ่งชี้ให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นว่าญี่ปุ่นกำลังหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซายาวนานถึง 50 ปี
ขณะเดียวกัน ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.พ. 45 รายงานครั้งนี้สะท้อนถึงการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสแรกปีนี้ด้วย ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนส่วนใหญ่จากการส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจของ สรอ. และ
เอเชียพื้นตัว ในวันเดียวกันรัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจเดือน มี.ค. 45 เป็นร้อยละ 81.8 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ
80.0(รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเสนอเรื่องการจัดเก็บภาษีเหล็กกล้าที่ไม่เป็นธรรมของ สรอ. ต่อองค์การการค้าโลก รายงานจากเจนีวา เมื่อ
21 พ.ค. 45 รมว. เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับสหภาพยุโรป เสนอเรื่องการจัดเก็บภาษีเหล็กกล้า
ที่ไม่เป็นธรรมของ สรอ. ต่อองค์กรการค้าโลก โดยญี่ปุ่นได้จัดให้มีการประชุมก่อนการประชุมองค์การการค้าโลก เพื่อรับฟังความเห็นจาก
15 ชาติในกลุ่มสหภาพยุโรป เพื่อร่วมมือกันเกี่ยวกับ กฎเกณฑ์การค้าโลก อย่างไรก็ตาม เกาหลีใต้ รวมทั้ง บราซิล และโซวาเนีย ต่างก็
พร้อมที่จะให้ความร่วมมือด้วย (รอยเตอร์21)
3. ธ. กลางญี่ปุ่นยังคงรักษานโยบายการเงินไว้ตามกรอบเดิม รายงานจากโตเกียว เมื่อ 21 พ.ค. 45 ธ. กลางญี่ปุ่น
เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ. กลางญี่ปุ่นตัดสินใจไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินไปจากกรอบเดิม แม้ว่าตลาดจะส่ง
สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นหลายประการแล้วก็ตาม โดยคณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงเป้าหมายเงินสดสำรองของ ธพ.
ไว้ที่ 10-15 ล้านล้านเยน (79.75-119.6 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) และซื้อพันธบัตรรัฐบาลรายเดือนในมูลค่า 1 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็น
ส่วนหนึ่งของการดำรงนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละศูนย์ (รอยเตอร์21)
4. ไอเอ็มเอฟยินดีให้ความช่วยเหลืออาร์เจนตินาในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 21 พ.ค. 45 ไอเอ็มเอฟ
เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของไอเอ็มเอฟ (Horst Koehler) ได้เจรจาร่วมกับ รมว. คลังของอาร์เจนตินาที่มาขอรับความช่วยเหลือ
ทางการเงินจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาการล่มสลายทางการเงินของประเทศ ซึ่งไอเอ็มเอฟยินดีให้ความช่วย
เหลืออย่างเต็มที่เพื่อให้เศรษฐกิจของอาร์เจนตินาสามารถฟื้นตัวอย่างยั่งยืนในอนาคต นอกจากนี้คณะกรรมการไอเอ็มเอฟได้อนุมัติให้รัฐบาล
อาร์เจนตินาเลื่อนการชำระคืนเงินกู้จำนวนประมาณ 136 ล. ดอลลาร์ สรอ. ที่ครบกำหนดในวันนี้ (22 พ.ค. 45) ออกไปก่อนได้ ปัจจุบัน
อาร์เจนตินากำลังเผชิญกับปัญหาทุนสำรองทางการลดลง ขณะเดียวกันก็มีกำหนดชำระคืนเงินกู้ให้แก่เจ้าหนี้หลายราย ในปีนี้อาร์เจนตินามีหนี้สิน
กับไอเอ็มเอฟจำนวนรวม 5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. จากหนี้สินทั้งหมด 15 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์21)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22-May-45 21-May-45 28-Dec-44 แหล่งข้อมู
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/US$) - 42.692 44.227 ธปท.
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยซื้อ/ขายตั๋วเงินของ ธพ. (Bht/US$) - 42.4945/42.8038 44.0836/44.3597 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ.ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) - 2.0000-2.0625 2.250-2.375 (ตัวเลข ณ 3 ม.ค. 45) รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) - 385.64/10.01 303.85/16.07 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 6,300/6,400 6,300/6,400 5,800/5,900 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 24.56 25.36 19.04 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.09/13.49 16.09/13.49 13.89/11.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.ยืนยันไม่แทรกแซงค่าเงินบาท ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทที่อ่อนลงที่ระดับ
42.73 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ วันที่ 21 พ.ค.45 เกิดจากการซื้อขายในตลาดการเงินและเป็นการเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด ซึ่ง ธปท.
ไม่จำเป็นต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินหรือเข้าแทรกแซงแต่อย่างใด (ไทยโพสต์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. กมธ.มีมติให้ ธปท.กำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย รองผู้ว่าการ (เสถียรภาพสถาบันการเงิน) ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา (กมธ.) ได้ข้อยุติเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดเพดานส่วนต่าง
อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก โดยมอบหมายให้ ธปท.เป็นผู้มีหน้าที่และอำนาจในการกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสมแต่
ละสถานการณ์ โดยหากสถาบันการเงินใดมีอัตราส่วนต่างเกินกว่าที่ ธปท.กำหนด ต้องนำส่งเงินส่วนต่างที่เกินบวกค่าปรับจำนวนเท่ากับส่วน
ต่างเป็นรายได้ของแผ่นดิน (กรุงเทพธุรกิจ, มติชน, สยามรัฐ)
3. คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ มีมติลดสัดส่วนการถือหุ้น ธ.ไทยธนาคารเหลือ 48% นายพันธ์ สุริยพร กรรมการกองทุนเพื่อ
การฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ มีมติให้กองทุนฟื้นฟูฯ ลดสัดส่วนการถือหุ้น
ธ.ไทยธนาคาร จากปัจจุบันที่ถืออยู่ประมาณ 99% เหลือ 48% ตามนโยบายแปรรูปธนาคารรัฐวิสาหกิจ โดยมอบหมายให้ธนาคารไปแต่งตั้ง
ที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนการขายหุ้น โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการขายได้ภายในปี 45 (มติชน, กรุงเทพธุรกิจ)
4. เอ็นพีแอลของ ธพ. ณ สิ้นเดือน เม.ย.45 ส่วนใหญ่ยังคงเพิ่มขึ้น รายงานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า
ธพ. 9 แห่งได้รายงานจำนวนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ณ สิ้นเดือน เม.ย.45 โดย ธพ. 5 แห่งมีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น ได้แก่
ธ.กรุงเทพ, ธ.ไทยพาณิชย์, ธ.เอเชีย, ธ.นครหลวงไทย และ ธ.ยูโอบีรัตนสิน ส่วน ธพ.ที่มีเอ็นพีแอลลดลง ได้แก่ ธ.กสิกรไทย,
ธ.กรุงศรีอยุธยา, ธ.ทหารไทย และ ธ.สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด นครธน (แนวหน้า, สยามรัฐ)
5. ช่วง 4 เดือนแรกปี 45 การลงทุนเพิ่มขึ้น 86.27% จากช่วงเดียวกันปี 44 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ภาวะการลงทุนในช่วง 4 เดือนแรกปี 45 มีโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 238 โครงการ
คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนรวม 66,500 ล.บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 44 คิดเป็น 86.27% โดยอุตสาหกรรมหมวดโลหะ เครื่องจักร
อุปกรณ์ขนส่ง หมวดเกษตรกรรม และผลผลิตจากการเกษตร เป็นหมวดที่นักลงทุนให้ความสนใจมากที่สุด (มติชน)
6. ผู้ส่งออกส่วนใหญ่มีความเห็นว่าค่าเงินบาทที่ระดับ 42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.อยู่ในระดับที่รับได้ รมช. พาณิชย์ เปิดเผยว่า
จากการสอบถามตัวแทนผู้ส่งออกและผู้ประกอบการไทยถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 42 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.นั้น
ส่วนใหญ่ระบุว่าเป็นระดับที่รับภาระได้ แต่หากแข็งค่าที่ระดับ 38-39 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.คงจะไม่สามารถรับภาระได้ (บ้านเมือง)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ดัชนีภาคบริการของญี่ปุ่นเดือน มี.ค. 45 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา รายงานจากโตเกียวเมื่อ
22 พ.ค. 45 ก. เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า เดือน มี.ค. 45 ดัชนีภาคบริการ ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลัก
ของดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 หลังจากลดลงร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.พ. 45 นับเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ
4 เดือนและเพิ่มขึ้นสูงที่สุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 44 ยิ่งชี้ให้เห็นเด่นชัดยิ่งขึ้นว่าญี่ปุ่นกำลังหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซายาวนานถึง 50 ปี
ขณะเดียวกัน ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวม ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ก.พ. 45 รายงานครั้งนี้สะท้อนถึงการ
ขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสแรกปีนี้ด้วย ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนส่วนใหญ่จากการส่งออก เนื่องจากเศรษฐกิจของ สรอ. และ
เอเชียพื้นตัว ในวันเดียวกันรัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มดัชนีชี้นำภาวะเศรษฐกิจเดือน มี.ค. 45 เป็นร้อยละ 81.8 จากตัวเลขเบื้องต้นที่ร้อยละ
80.0(รอยเตอร์)
2. ญี่ปุ่นเสนอเรื่องการจัดเก็บภาษีเหล็กกล้าที่ไม่เป็นธรรมของ สรอ. ต่อองค์การการค้าโลก รายงานจากเจนีวา เมื่อ
21 พ.ค. 45 รมว. เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับสหภาพยุโรป เสนอเรื่องการจัดเก็บภาษีเหล็กกล้า
ที่ไม่เป็นธรรมของ สรอ. ต่อองค์กรการค้าโลก โดยญี่ปุ่นได้จัดให้มีการประชุมก่อนการประชุมองค์การการค้าโลก เพื่อรับฟังความเห็นจาก
15 ชาติในกลุ่มสหภาพยุโรป เพื่อร่วมมือกันเกี่ยวกับ กฎเกณฑ์การค้าโลก อย่างไรก็ตาม เกาหลีใต้ รวมทั้ง บราซิล และโซวาเนีย ต่างก็
พร้อมที่จะให้ความร่วมมือด้วย (รอยเตอร์21)
3. ธ. กลางญี่ปุ่นยังคงรักษานโยบายการเงินไว้ตามกรอบเดิม รายงานจากโตเกียว เมื่อ 21 พ.ค. 45 ธ. กลางญี่ปุ่น
เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินของ ธ. กลางญี่ปุ่นตัดสินใจไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินไปจากกรอบเดิม แม้ว่าตลาดจะส่ง
สัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นหลายประการแล้วก็ตาม โดยคณะกรรมการฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงเป้าหมายเงินสดสำรองของ ธพ.
ไว้ที่ 10-15 ล้านล้านเยน (79.75-119.6 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) และซื้อพันธบัตรรัฐบาลรายเดือนในมูลค่า 1 ล้านล้านเยน ซึ่งเป็น
ส่วนหนึ่งของการดำรงนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละศูนย์ (รอยเตอร์21)
4. ไอเอ็มเอฟยินดีให้ความช่วยเหลืออาร์เจนตินาในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ รายงานจากวอชิงตัน เมื่อ 21 พ.ค. 45 ไอเอ็มเอฟ
เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ระดับสูงของไอเอ็มเอฟ (Horst Koehler) ได้เจรจาร่วมกับ รมว. คลังของอาร์เจนตินาที่มาขอรับความช่วยเหลือ
ทางการเงินจำนวนหลายพันล้านดอลลาร์ สรอ. เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาการล่มสลายทางการเงินของประเทศ ซึ่งไอเอ็มเอฟยินดีให้ความช่วย
เหลืออย่างเต็มที่เพื่อให้เศรษฐกิจของอาร์เจนตินาสามารถฟื้นตัวอย่างยั่งยืนในอนาคต นอกจากนี้คณะกรรมการไอเอ็มเอฟได้อนุมัติให้รัฐบาล
อาร์เจนตินาเลื่อนการชำระคืนเงินกู้จำนวนประมาณ 136 ล. ดอลลาร์ สรอ. ที่ครบกำหนดในวันนี้ (22 พ.ค. 45) ออกไปก่อนได้ ปัจจุบัน
อาร์เจนตินากำลังเผชิญกับปัญหาทุนสำรองทางการลดลง ขณะเดียวกันก็มีกำหนดชำระคืนเงินกู้ให้แก่เจ้าหนี้หลายราย ในปีนี้อาร์เจนตินามีหนี้สิน
กับไอเอ็มเอฟจำนวนรวม 5 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. จากหนี้สินทั้งหมด 15 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์21)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 22-May-45 21-May-45 28-Dec-44 แหล่งข้อมู
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/US$) - 42.692 44.227 ธปท.
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยซื้อ/ขายตั๋วเงินของ ธพ. (Bht/US$) - 42.4945/42.8038 44.0836/44.3597 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ.ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) - 2.0000-2.0625 2.250-2.375 (ตัวเลข ณ 3 ม.ค. 45) รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) - 385.64/10.01 303.85/16.07 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 6,300/6,400 6,300/6,400 5,800/5,900 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 24.56 25.36 19.04 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) 16.09/13.49 16.09/13.49 13.89/11.29 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-