บทสรุปผู้บริหาร
ในปี 2544 เศรษฐกิจไทยชะลอตัวตั้งแต่ช่วงต้นปี เนื่องจากภาคการส่งออกได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิลโลก ทั้งปีมูลค่าการส่งออกโดยรวมหดตัวจากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะในหมวดแผงวงจรไฟฟ้าและชิ้นส่วน เช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่มีสัดส่วนการส่งออกสินค้าประเภทนี้สูง
ผลกระทบจากภาคต่างประเทศส่วนหนึ่งถูกชดเชยด้วยแรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี ในปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลขาดดุลเงินสดคิดเป็นร้อยละ 2.1 ของ GDP ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2545 รัฐบาลได้เร่งการเบิกจ่ายทำให้ขาดดุลเงินสดสูงถึงประมาณร้อยละ 1.3 ของ GDP เพื่อค้ำจุนการใช้จ่ายในประเทศ
รัฐบาลได้ออกมาตรการหลายอย่างเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชน เช่น เลื่อนกำหนดเวลาที่จะปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ออกไป รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและ/หรือลดค่าธรรมเนียมแก่ธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ และจากการที่มีปัจจัยเอื้ออำนวยอื่นๆ เสริมได้แก่ ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงมากเทียบกับในช่วงที่เศรษฐกิจร้อนแรงก่อนวิกฤต อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำต่อเนื่อง และความสมัครใจของสถาบันการเงินที่จะปล่อยกู้ให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้มั่นคง เช่น ข้าราชการ เป็นต้น ดังนั้นในช่วงปลายปีความต้องการที่อยู่อาศัย จึงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การลงทุนในภาคก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวและแสดงแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจยังมีข้อจำกัด เพราะภาวะการส่งออกที่ไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับการที่กำลังการผลิตส่วนเกินยังมีอยู่มาก ทำให้ความต้องการลงทุนในเครื่องจักร และอุปกรณ์ยังคงมีน้อย โดยเฉพาะในภาคการผลิตเพื่อการส่งออก ขณะเดียวกันสถาบันการเงินเอง ก็ระมัดระวังการปล่อยกู้ให้แก่ภาคธุรกิจในภาวะที่แนวโน้มธุรกิจยังไม่ดีนัก ส่วนการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน แม้จะยังขยายตัวแต่ก็แผ่วลงกว่าในปีก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาซึ่งลุกลามไปสู่การปราบปรามการก่อการร้าย ทว่าเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงเร็วเกินคาด ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งตกต่ำที่สุดในเดือนกันยายน 2544 ก็เริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี
เหตุการณ์วินาศกรรมทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกซึ่งชะลอตัวอยู่แล้วมีแนวโน้มแย่ลงอีก การชะลอตัวของอุปสงค์ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกในไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 ลดลงจากไตรมาสก่อนๆ มาก ด้วยสาเหตุนี้ ประกอบกับค่าเงินบาทไม่ได้อ่อนลงมากและเศรษฐกิจไทยชะลอตัว เงินเฟ้อในประเทศจึงลดลงตามลำดับ เฉลี่ยทั้งปีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 1.6 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 1.3 ก็อยู่ภายในช่วงเป้าหมายเงินเฟ้อร้อยละ 0 ถึง 3.5 ของนโยบายการเงิน
ภาวะการจ้างงานเป็นเครื่องชี้อีกตัวหนึ่งซึ่งแสดงว่าเสถียรภาพภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ สาขาที่มีการขยายการจ้างงานอยู่ในเกณฑ์ดีตลอดทั้งปี ได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งสะท้อนแนวโน้มการท่องเที่ยวที่ยังคงดีอยู่แม้ว่าจะถูกกระทบบ้างจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ ส่วนการจ้างงานของสาขาก่อสร้างก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงปลายปี สอดคล้องกับภาวะตลาดที่อยู่อาศัยซึ่งดีขึ้น ภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้นนี้น่าจะมีส่วนช่วยให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาดีขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นผู้บริโภคให้มีการใช้จ่ายมากขึ้นด้วย
ไม่เพียงแต่เสถียรภาพภายในประเทศจะดีขึ้นเท่านั้น เสถียรภาพภายนอกประเทศก็ปรับตัวดีขึ้นมากในปี 2544 โดยเฉพาะด้านเงินทุนต่างประเทศ ตลอดช่วง 5 เดือนแรกของปีภาคเอกชนยังคงชำระคืนหนี้ต่างประเทศสูงถึงเฉลี่ยเดือนละ 499 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเพราะในช่วงนั้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของไทยต่ำกว่าของต่างประเทศ ฉะนั้นเพื่อชะลอการไหลออกของเงินทุนและสนับสนุนความมีเสถียรภาพของค่าเงินบาท ธปท.จึงปรับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันจากร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 2.50 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2544 มาตรการดังกล่าวส่งผลชัดเจนในระยะต่อมา กล่าวคือ การไหลออกของเงินทุนชะลอลงจากการชำระคืนหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนที่ลดลงเหลือเฉลี่ยเดือนละ 292 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วง 7 เดือนที่เหลือของปี ขณะที่ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพและเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี
อัตราเงินเฟ้อที่โน้มต่ำลงและเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีเปิดโอกาสให้ ธปท. ดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นในช่วงปลายปี โดย ธปท. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันลงจากร้อยละ 2.50 เหลือร้อยละ 2.25 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2544 อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของนโยบายการเงินอาจมีข้อจำกัดภายใต้กลไกของระบบการเงินในปัจจุบัน ทำให้สินเชื่อขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 (ไม่รวมผลที่เกิดจากการโอนทางบัญชีกับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ขณะที่เงินฝากขยายตัวสูงกว่าในอัตราร้อยละ 4.0 สะท้อนถึงสภาพคล่องในระบบการเงินที่สูง
ในปี 2544 เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.5 หรือสูงกว่าเล็กน้อย แม้จะเป็นอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อนหน้า แต่ก็นับว่าสามารถผ่านภาวการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาไปได้ ที่สำคัญคือความเสี่ยงของเศรษฐกิจภายนอกประเทศทั้งด้านการค้าและการลงทุนมิได้บั่นทองเสถียรภาพของประเทศอย่างที่วิตกกันมากตั้งแต่ช่วงต้นปี การผสมผสานระหว่างนโยบายการเงินและการคลัง รวมทั้งโครงสร้างการผลิตและการส่งออกของประเทศที่มีความหลากหลาย ช่วยทำให้เศรษฐกิจไม่ต้องเผชิญกับภาวะถดถอยถายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกเช่นนี้
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปคงขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ตลอดจนความพร้อมของภาคธุรกิจในการตักตวงประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกดังกล่าว โดยมีทั้งนโยบายการคลังและการเงินเป็นแรงสนับสนุน ทั้งนี้ ธปท. คาดว่าในปี 2545 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 2 ถึง 3 และยังคงไม่มีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ
1. ภาวะเศรษฐกิจปี 2544
การผลิตและการใช้จ่าย
การผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2544 โดยรวมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อน สาเหตุเพราะภาวะการส่งออกที่ไม่ดีทำให้การผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกหดตัวถึงร้อยละ 11.4 เทียบกับที่ขยายตัวได้ดีถึงร้อยละ 20.7 ในปี 2543 โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการลดลงของอุปสงค์ในตลาดโลกได้แก่ สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อไทยไม่รุนแรงเท่าประเทศอื่นในภูมิภาคที่มีสัดส่วนส่งออกสินค้าประเภทนี้เทียบการส่งออกรวมสูงยิ่งกว่าของไทย นอกจากนั้นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศขยายตัวได้ดีตามการใช้จ่ายในประเทศที่พอมีอยู่บ้าง เช่น การผลิตวัสดุก่อสร้าง ที่ขยายตัวได้ตามการเริ่มฟื้นตัวของอุปสงค์การก่อสร้างในประเทศ
ตารางที่ 1 ภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และการท่องเที่ยว
______________________________________________________________________________________
%การเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน 2543 2544 ครึ่งแรก ครึ่งหลัง ไตรมาส3 ไตรมาส4
______________________________________________________________________________________
ดัลนีผลผลิตอุตสาหกรรม 3.3 1.3 1.3 1.3 0.9 1.7
ส่งออก > 60% 20.7 -11.4 -10.6 -12.3 -15.8 -9.2
ส่งออก < 30% -1.1 13.2 11.1 15.3 17.4 13.4
อัตราการใช้กำลังการผลิต 55.9 54.0 53.9 54.1 52.4 55.8
ดัชนีราคาสินค้าเกษตร -3.5 2.6 2.9 2.2 3.2 1.1
ดัชนีราคาพืชผลสำคัญ -5.5 3.2 2.3 4.0 4.9 3.1
ดัชนีราคาปศุสัตว์ -10.3 10.1 7.4 12.7 13.5 11.8
ดัชนีผลผลิตพืชผลสำคัญ 2.2 5.3 7.9 3.4 0.0 5.2
รายได้จากการขายพืชผลสำคัญ -3.4 8.7 10.4 7.5 4.9 8.5
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 10.8 5.7 7.9 3.6 6.0 1.4
อัตราการเข้าพักโรงแรม 58.9 59.2 61.6 56.8 55.6 58.1
ในปี 2544 ภาคเกษตรขยายตัวได้ดี และเกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นทั้งจากผลผลิตพืชผลที่เอื้ออำนวยและจากราคาพืชผลและปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคามันสำปะหลังและไก่เนื่อที่สูงขึ้นตามความต้องการสินค้าจากต่างประเทศ รายได้ที่สูงขึ้นนี้ช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้จ่ายได้มากขึ้น นอกจากนี้ ผลจากนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกรเป็นเวลา 3 ปีของรัฐบาลเป็นแรงเสริมอีกทางที่ช่วยเพิ่มกำลังการใช้จ่ายของเกษตรกร
สำหรับภาคบริการท่องเที่ยวเติบโตดีต่อเนื่องในช่วงก่อนเกิดวินาศกรรมในสหรัฐฯ แต่จากเหตุการณ์นั้นทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศชะลอลงมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่มีการใช้จ่ายต่อวันค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายปีมีนักท่องเที่ยวจากประเทศใกล้เคียงเข้ามามากขึ้น แม้ว่านักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะมีการใช้จ่ายต่อวันไม่สูงนัก แต่ก็สามารถชดเชยรายได้จากการท่องเที่ยวที่สูญเสียไปได้พอสมควร อัตราการเข้าพักเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 59.2 ซึ่งสูงกว่าของปี 2543 ที่ร้อยละ 58.9 ภาพรวมการท่องเที่ยวในปี 2544 จึงยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ และส่งผลให้การจ้างงานในสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับภาคบริการท่องเที่ยวขยายตัวสูง ได้แก่ ธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร และการค้าส่งค้าปลีก
ด้านการใช้จ่าย การอุปโภค บริโภคภาคเอกชนยังเป็นปัจจัยที่ปลักดันให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ ถึงแม้ว่าดัชนีการบริโภคภาคเอกชนจะชะลอลงจากปีก่อน โดยขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับร้อยละ 3.4 ในปี 2543 เพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังไม่ดีนักจากการที่ไม่มีสัญญาณฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ประกอบกับผลกระทบทางจิตวิทยาจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ แต่ก็มีปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือน ได้แก่ (1) รายได้ของเกษตรกรและรายได้เฉลี่ยของผู้มีงานทำที่สูงขึ้น (2) ภาวะการจ้างงานที่ดีขึ้นมากในช่วงครึ่งหลังของปี ส่วนหนึ่งด้วยผลของโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ช่วยเพิ่มโอกาสการมีงานทำแก่ชุมชน โดยเฉพาะผู้ว่างงานและผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงาน และ (3) อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ต่อเนื่องจูงใจให้เกิดการบริโภคสินค้าถาวร เช่น จักรยานยนต์และรถยนต์นั่ง ซึ่งมียอดจำหน่ายทั้งปี ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 16.4 และ 25.8 ตามลำดับ ส่วนการบริโภคสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ แม้จะยังคงหดตัวแต่ก็ส่งผลดีต่อดุลการค้าของไทยจากการที่ปริมาณการนำเข้าลดลงในภาวะที่การส่งออกไม่ดี
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2543 แสดงว่าภาวะการลงทุนโดยรวมยังไม่ฟื้นตัวในปี 2544 สาเหตุหลักเพราะกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่มาก โดยเฉพาะในโรงงานที่ผลิตเพื่อการส่งออก ดังนั้นความต้องการลงทุนเพิ่มในเครื่องจักรและอุปกรณ์จึงมีน้อย ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ก็ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อใหม่เช่นกัน ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าทุนหดตัวลงมาก อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปีเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจนของการลงทุนหมวดก่อสร้าง โดยปริมาณจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศขยายตัวสูงตามการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งได้มาตรการฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐสนับสนุนเป็นสำคัญ
ภาครัฐยังคงดำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยภาครัฐขาดดุลร้อยละ 3.5 ของ GDP ในปีงบประมาณ 2544 และในปีงบประมาณ 2545 คาดว่าจะขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.5 ของ GDP สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนและมาตรการสำคัญของรัฐบาลที่มีความคืบหน้าในการดำเนินการแล้วเป็นส่วนใหญ่ เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การพักชำระหนี้เกษตรกร ธนาคารประชาชน และกองทุนประกันสุขภาพถ้วนหน้า เฉพาะเพียงในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2545 นั้น รัฐบาลเร่งการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 22.0 เทียบกับร้อยละ 21.1 ในช่วงระยะเดียวกันของปีงบประมาณก่อน ทำให้มีการขาดดุลเงินสดถึง 69 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63.9 ของการขาดดุลเงินสดของปีงบประมาณ 2544 ทั้งปี ซึ่งที่ผ่านมานั้น รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้ยืมในประเทศเป็นสำคัญ
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี และภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้นในส่วนของลูกจ้างรัฐบาลและลูกจ้างเอกชน (ตารางที่ 2) ทำให้ฐานภาษีขยายตัว รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีงบประมาณ 2544 ได้มากขึ้นร้อยละ 9.9 และด้วยผลจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตสุราและยาสูบ รายได้รัฐบาลจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยอัตราเพิ่มอยู่ที่ร้อยละ 7.0 ในขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลและอากรขาเข้าที่จัดเก็บได้ชะลอลงจากปีก่อนมาก สะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ยังไม่ดีขึ้นอย่างชัดเจนนัก
ตารางที่ 2 ข้อมูลแรงงาน
__________________________________________________________________________________________
2543 2544
__________________________________________________________________________________________
ผู้มีงานทำ (พันคน) 31,292.6 32,172.8
ลูกจ้างรัฐบาล 2,517.9 2,801.5
ลูกจ้างเอกชน 10,341.4 11,326.2
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม(ล้านคน) 5,810.1 5,865.2
สถานประกอบการเลิกกิจการ(แห่ง) 6,747 5,243
(%การเปลี่ยนแปลง) (20.9%) (-22.3)
ผู้ถูกเลิกจ้าง(คน) 174,174 128,169
(%การเปลี่ยนแปลง) (65.1%) (-26.4)
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
รายจ่ายรัฐบาลในปีงบประมาณ 2544 คิดเป็นร้อยละ 17.3 ของ GDP โดยรายจ่ายประจำมีสัดส่วนที่สูง คิดเป็นร้อยละ 78.1 ของรายจ่ายรวม รายจ่ายประจำมีจำนวนทั้งสิ้น 684.1 พันล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 จากปีงบประมาณก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกหมวด ได้แก่ เงินอุดหนุนและเงินโอน รายจ่ายซื้อสินค้าและบริการ และรายจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างซึ่งมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของรายจ่ายประจำทั้งหมด ส่วนรายจ่ายเงินลงทุนนั้นมีเพียง 191.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.3 จากปีงบประมาณก่อน ส่วนใหญ่เนื่องจากรัฐบาลลดการจัดหาสินทรัพย์ถาวรลงมาก
ตารางที่ 3 ภาคการคลัง
หน่วย : พันล้านบาท ปีงบประมาณ
2542 2543 2544 2545
ไตรมาสแรก
รายได้ 709.9 747.6 765.4 173.4
(%การเปลี่ยนแปลง) (-2.4) (5.3) (2.4) (6.4)
รายจ่าย 821.6 850.6 876.0 257.1
(%การเปลี่ยนแปลง) (-1.7) (3.5) (3.0) (14.5)
ดุลเงินสด -134.4 -116.6 -107.9 -69.0
(%ของ GDP) (-2.9) (-2.4) (-2.1) (-1.3)
อัตราการเบิกจ่าย 85.5 88.0 88.4 22.0
การขาดดุลภาครัฐ -274.3 -215.6 -177.3 -76.6
(%ของ GDP) (-6.0) (-4.5) (-3.5) (-1.5)
หนี้สาธารณะ 2,469.2 2,804.3 2,931.7 n.a.
(%ของ GDP) (53.5) (57.3) (57.6) (n.a.)
ณ สิ้นปีงบประมาณ 2544 หนี้สาธารณะมีจำนวนเท่ากับ 2,931.7 พันล้านบาทหรือเทียบเท่าร้อยละ 57.6 ของ GDP ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 57.3 ของ GDP ในปีงบประมาณ 2543 โดยภาระหนี้ทั้งหมดนี้เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงร้อยละ 24.8 ของ GDP ขณะที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินทั้งที่รัฐบาลค้ำและไม่ค้ำประกันเท่ากับร้อยละ 19.1 ของ GDP ส่วนที่เหลือรอ้ยละ 13.7 ของ GDP เป็นหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)
ภาคต่างประเทศ
ในปี 2544 มูลค่ากรส่งออกลดลงร้อยละ 6.9 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงในอัตราที่น้อยกว่า คือ ร้อยละ 2.8 ทำให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงมากกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม ดุลบริการบริจาคยังคงเกินดุลอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2543 ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 9.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในปีก่อน
ภาวะการส่งออกที่แย่ลงมากจากการหดตัวของสินค้าอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งหดตัวถึงร้อยละ 6.9 โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น แผงวงจรไฟฟ้าและชิ้นส่วน ซึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ลดลง โดยเฉพาะสหรัฐฯ และญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 10.7 และ 2.7 ตามลำดับ อนึ่ง ทั้งสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย และสัดส่วนการส่งออกไปตลาดทั้งสองรวมกันแล้วคิดเป็นกว่าร้อยละ 35 ของการส่งออกทั้งหมด อย่างไร็ตาม สินค้าส่งออกในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนยังคงขยายตัวดี เพราะไทยได้รับเลือกให้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกของรถยนต์หลายยี่ห้อ แม้ว่าในขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญการแข่งขันจากสินค้าเลียนแบบของจีน โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่เข้ามาจำหน่ายในตลาดอาเซียน
ตารางที่ 4 การส่งออก
________________________________________________________________________________
% การเปลี่ยนแปลง 2544
________________________________________________________________________________
ไตรมาส1 ไตรมาส2 ไตรมาส3 ไตรมาส4 ทั้งปี
สินค้าเกษตร -4.0 -0.6 -2.3 -5.3 -3.1
สินค้าประมง 4.7 -11.1 -15.5 -21.5 -11.9
สินค้าอุตสาหกรรม -0.6 -0.2 -12.0 -13.5 -6.9
-ใช้แรงงานสูง 0.4 -1.3 -2.8 -3.4 -1.8
-ใช้เทคโนโลยีสูง 0.1 -1.5 -17.1 -18.3 -9.8
-ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ -4.0 9.5 -2.9 -4.3 -0.7
สินค้าออก(ตามสถิติดุลการชำระเงิน) -1.2 -0.7 -11.0 -13.4 -6.9
การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.2 ในช่วงครึ่งแรกของปี แต่กลับหดตัวลงมากถึงร้อยละ 11.5 ในช่วงครึ่งหลัง ทำให้ทั้งปีหดตัวร้อยละ 2.8 โดยสินค้านำเข้าในหมวดวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบลดลงตามภาวะการส่งออกที่ซบเซา ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุนหดตัวเช่นกัน เนื่องจากความต้องการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตมีน้อย ส่วนการนำเข้าเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ลดลงมากในไตรมาสสุดท้ายของปีตามผลด้านราคาเป็นสำคัญ อัตราการค้า (terms of trade) ในปี 2544 ต่ำกว่าปีก่อนเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคานำเข้าสินค้าทุนในช่วงครึ่งปีแรก ตามการพัฒนาเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับซอฟแวร์ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศ
ตารางที่ 5 การนำเข้า
-------------------------------------------------------------------------------------------------
%การเปลี่ยนแปลง 2544
ไตรมาส1 ไตรมาส2 ไตรมาส3 ไตรมาส4 ทั้งปี
-------------------------------------------------------------------------------------------------
สินค้าอุปโภคบริโภค 8.4 -4.6 -12.0 -12.0 -5.8
วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 2.7 -6.6 -8.1 -10.7 -5.8
สินค้าทุน 10.9 10.7 -12.4 -16.5 -2.9
เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ 27.1 16.7 9.2 26.3 4.3
สินค้าเข้า(ตามสถิติดุลการชำระเงิน) 11.5 2.9 -9.1 -13.9 -2.8
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ดุลบริการบริจาคเกินดุลลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเพราะรายได้จากแรงงานไทยในต่างประเทศลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจไต้หวัน ซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานสำคัญของแรงงานไทย ขณะที่รายรับจากการท่องเที่ยวยังอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบบ้าง จากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ
ในส่วนของเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ มีเงินทุนไหลออกมากในช่วงครึ่งแรกของปี ตามการชำระคืนหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชน อีกทั้งแนวโน้มการอ่อนตัวของค่าเงินบาททำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องเพิ่มสินทรัพย์ต่างประเทศจากการที่ผู้มีภาระเป็นเงินตราต่างประเทศต้องการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน เมื่อเดือนมิถุนายน ประกอบกับอัตราดอกเบี้ย fed funds ลดลงต่อเนื่องตลอดปี ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในและต่างประเทศลดลงและกลับทิศทางในเวลาต่อมา เงินทุนไหลออกจึงชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังของปี ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น และธนาคารพาณิชย์ได้ลดการถือสินทรัพย์ต่างประเทศเพราะความต้องการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงมีน้อยลงด้วย
การไหลออกของเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เป็นหนี้ทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศลดลงจาก 79.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 2543 เหลือ 67.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ณ สิ้นปี 2544 โดยเป็นการลดลงของหนี้ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ในส่วนของหนี้ภาคเอกชนนั้น ลดลงทั้งสิ้น 7.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยส่วนใหญ่เป็นการลดลงของเงินกู้ระยะยาว ขณะที่หนี้ภาครัฐลดลง 5.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเกือบทั้งหมดเป็นหนี้ระยะยาวเช่นกัน ในจำนวนนี้รวมถึงการชำระคืนหนี้ IMF ของ ธปท. จำนวน 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ตารางที่ 6 ดุลการชำระเงิน
หน่วย:ล้านดอลลาร์ สรอ.
--------------------------------------------------------------------------------------------
(ล้านดอลลาร์ สรอ.) 2543 2544 2544
ครึ่งแรก ครึ่งหลัง ไตรมาส1 ไตรมาส2 ไตรมาส3 ไตรมาส4
-------------------------------------------------------------------------------------------
สินค้าออก,เอฟ.โอ.บี. 67,889 63,190 31,654 31,536 16,019 15,635 16,010 15,526
(%การเปลี่ยนแปลง) (19.5) (-6.9) (-1.0) (-12.2) (-1.2) (-.07) (-11.0) (-13.4)
สินค้าเข้า,ซี.ไอ.เอฟ. 62,423 60,665 31,182 29,483 15,949 15,233 15,004 14,479
(%การเปลี่ยนแปลง) (31.3) (-2.8) (7.2) (-11.5) (11.5) (2.9) (-9.1) (-13.9)
ดุลการค้า 5,466 2,525 472 2,053 70 402 1,006 1,047
ดุลบริการ รายได้และเงินโอน 3,862 3,686 1,932 1,754 1,311 621 682 1,072
ดุลบัญชีเดินสะพัด 9,328 6,211 2,404 3,807 1,381 1,023 1,688 2,119
ดุลบัญชีเงินทุน -10,270 -5,533 -3,311 -2,222 -2,490 -821 -840 -1,382
ภาคเอกชน -9,771 -4,540 -2,290 -2,250 -2,190 -100 -113 -2,137
-ธุรกิจธนาคาร -6,606 -2,113 -2,227 114 -1,657 -570 98 16
(ธนาคารพาณิชย์) -2,596 -817 -1,826 1,009 -1,379 -447 725 284
(กิจการวิเทศธนกิจ) -4,010 -1,296 -401 -895 -278 -123 -627 -268
-ธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร -3,165 -2,427 -63 -2,364 -533 470 -211 -2,153
ภาคทางการ -349 -604 -94 -510 -130 36 -410 -100
ธนาคารแห่งประเทศไทย -150 -389 -927 538 -170 -757 -317 855
ความคลาดเคลื่อนสุทธิ -675 639 675 -36 1,358 -683 -693 657
ดุลการชำระเงิน -1,617 1,317 -232 1,549 249 -481 155 1,394
-------------------------------------------------------------------------------------------
แม้ว่าธปท. จะมีการชำระคืนหนี้เป็นจำนวนมาก แต่ดุลการชำระเงินในปีนี้สามารถเกินดุลถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เคยขาดดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2543 และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นปีอยู่ที่ระดับ 33.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อน โดยสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สำหรับฐานะ forward สุทธิ มีจำนวน 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เท่ากับในปี 2543 นับได้ว่าเสถียรภาพภายนอกประเทศของไทยปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2544
ตารางที่ 7 เครื่องชี้เสถียรภาพด้านต่างประเทศ
-------------------------------------------------------------------------------------
ร้อยละ 2543 2544
-------------------------------------------------------------------------------------
ทุนสำรอง / หนี้ระยะสั้น 222.3 251.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด / GDP 7.6 5.4
หนี้ต่างประเทศ (เงินต้นและดอกเบี้ย)ที่จะครบกำหนด
ใน 1 ปี / มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ 15.4 20.5
หนี้ต่างประเทศ / GDP 67.1 56.1
--------------------------------------------------------------------------------------
ภาคการเงิน
ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปี 2544 ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง โดยเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ขณะที่สินเชื่อขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 (ไม่รวมผลที่เกิดจากการโอนทางบัญชีกับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ทั้งนี้เพราะยังไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการจึงมีจำกัด ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังการปล่อยกู้ในภาวะที่แนวโน้มธุรกิจไม่ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการส่งออก ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังคงมีอยู่ รวมถึง NPL re-entry ที่เพิ่มขึ้นบ้างในบางช่วง
ตลอดทั้งปีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์เป้าหมายของนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางปี ธปท.ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันจากร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 2.50 โดยมีเป้าหมายเพื่อชะลอกระแสเงินทุนไหลออก รวมทั้งเสริมสร้างเสถียรภาพค่าเงินบาท และเพื่อแก้ไขความบิดเบือนของโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นภายในประเทศ ต่อมาเมื่อเสถียรภาพภายนอกได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนแล้ว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อโน้มต่ำลงในช่วงปลายปีตามราคาน้ำมันที่ลดลงมากในไตรมาสที่ 4 จึงเป็นโอกาสให้ ธปท.ดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายขึ้น โดยประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน จากร้อยละ 2.50 เหลือร้อยละ 2.25 ในปลายเดือนธันวาคม เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยิ่งขึ้น
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับทรงตัวเกือบทั้งปี โดยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเล็กน้อยเฉพาะในช่วงปลายปี ส่วนการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้นและเริ่มแสดงผลกำไรในปี 2544 ทั้งนี้ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่ (1)การที่ธนาคารพาณิชย์ได้ดำเนินการกันสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญไว้เพียงพอแล้วตั้งแต่ปลายปี 2543 ช่วยทำให้ภาระในการกันสำรองลดลงในปี 2544 (2)รายได้จากดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากที่ ธปท.ได้ดำเนินมาตรการแก้ไขความบิดเบือนของโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในประเทศ และ(3) การโอนหนี้ที่เป็น NPL ไปให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์(บสท.) โดยได้รับตั๋วเงินของ บสท.แทนช่วยเพิ่มรายได้จากดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารพาณิชย์อีกทางหนึ่ง
อนึ่ง การจัดตั้ง บสท.เพื่อรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารพาณิชย์มูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเร่งการปรับปรุงโครงสร้างภาคการเงินของไทย ขณะนี้ บสท.ได้เริ่มบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ได้รับโอนมาแล้ว และมีเป้าหมายเบื้องต้นที่จะบริหารสินทรัพย์ฯ ให้ได้ข้อยุติทั้งหมดภายใน 2 ปี และใช้เวลาในการติดตามผลการปฏิบัติตามสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้และโครงสร้างกิจการหลังจากนั้นเป็นเวลาอีก 3 ปี ทั้งนี้ ทางการคาดว่าการจัดตั้ง บสท.จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างหนี้และทำให้ตลาดมีความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น
2.แนวโน้มปี 2545
ในปี 2545 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 2 ถึง 3 โดยในช่วงครึ่งแรกของปียังคงมีแรงกระตุ้นต่อเนื่องจากภาครัฐ และแนวโน้มการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนจะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดก่อสร้างที่น่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องจากปลายปี 2544 และการบริโภคภาคเอกชนที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นตามรายได้ของเกษตรกรและภาวะการจ้างงานที่ดี ประกอบกับความเชื่อมั่นของธุรกิจและของผู้บริโภคก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวในระยะปานกลางของเศรษฐกิจไทยน่าจะยังคงต้องพึ่งการฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะดีขึ้นในครึ่งหลังของปี 2545 เป็นต้นไป
ผลผลิตอุตสาหกรรมคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นจากปีก่อน โดยเฉพาะหมวดวัสดุก่อสร้างที่มีแนวโน้มแจ่มใส เป็นผลจากมาตรการของรัฐที่ส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งยังมีอุปสงค์จากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐด้วย เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น ส่วนการผลิตในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกคาดว่าจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี เมื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความชัดเจนและแนวโน้มการส่งออกของไทยดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงยังคงมีอยู่บ้างจากแนวโน้มการขยายตลาดส่งออกของคู่แข่งสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่ใช้แรงงานสูง ได้แก่ จีนที่เพิ่งเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกเมื่อปลายปี 2544 และเวียดนามที่ได้บรรลุข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับสหรัฐฯ อันจะมีผลทำให้พิกัดอัตราภาษีศุลกากรของสินค้าส่งออกของเวียดนามที่ไปยังตลาดสหรัฐฯ ลดลงอย่างมาก
ผลผลิตภาคเกษตรน่าจะขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง แม้จะมีความเสี่ยงจากภาวะภัยแล้งเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโนอยู่บ้าง แต่ผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตรของไทยน่าจะน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เนื่องจากไทยมิได้มีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ ดังนั้นหากเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวจริง ราคาสินค้าเกษตรจะปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลดีต่อรายได้เกษตรกรไทย และจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายในประเทศด้วย ส่วนในภาคบริการ คาดว่าภาคการท่องเที่ยวจะปรับตัวดีขึ้นอีก ตามการกลับมาของนักท่องเที่ยวระยะไกล
สำหรับด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นบ้างเพราะมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ (1)ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่องจากที่เคยตกต่ำสุด เมื่อเกิดเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ (2)กำลังซื้อของประชาชนน่าจะเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของรายได้เกษตรกรและภาวะการจ้างงานที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งผลของโครงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจฐานราก และเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และ(3)แรงจูงใจให้เกิดการบริโภคสินค้าถาวรจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำต่อเนื่อง
การลงทุนภาคเอกชนก็น่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2545 แต่การฟื้นตัวอาจไม่เต็มที่ในช่วงต้น โดยเฉพาะในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ เนื่องจากยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก ส่วนภาคการก่อสร้างน่าจะขยายตัวได้ดีต่อไป
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2545 ที่การใช้จ่ายภาคเอกชนและอุปสงค์ต่างประเทศน่าจะยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่นั้น การใช้จ่ายภาครัฐ จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ อย่างไรก็ตามบทบาทของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะปานกลางจะมีจำกัด เพราะรัฐบาลต้องรักษาวินัยการคลังและบริหารหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงเกินไป ดังนั้นนโยบายการเงินจึงต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาวะที่แนวโน้มเงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเสถียรภาพด้านต่างประเทศได้บรรเทาลงมากตั้งแต่ปลายปี 2544
สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2545 การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามหากการฟื้นตัวของการส่งออกนำโดยการฟื้นตัวของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกของไทยน่าจะแสดงการฟื้นตัวที่ช้ากว่าของประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีสัดส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่อสินค้าส่งออกสูงกว่า ส่วนการนำเข้าก็น่าจะฟื้นตัวในปี 2545 ตามการบริโภค การลงทุน และการส่งออก
สภาพคล่องในระบบการเงินคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงครึ่งแรกของปี แต่จะลดลงในช่วงครึ่งหลังตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สินเชื่อน่าจะขยายตัวดีขึ้นเพราะ (1) ความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจน่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อภาคการส่งออกที่ดีขึ้น (2)ธนาคารพาณิชย์มีศักยภาพในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากผลประกอบการแสดงแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ และ(3)ความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องของกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทั้งที่ผ่านคณะกรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) และ บสท. จะช่วยให้ภาคธุรกิจมีความแข็งแรงในระยะต่อไป
ตารางที่ 8 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ
-------------------------------------------------------------------
2544 2545
-------------------------------------------------------------------
สหรัฐฯ 1.0 0.7
ญี่ปุ่น -0.4 -1.0
สหภาพยุโรป 1.7 1.3
จีน 7.3 6.8
อาเซียน-4* 2.3 2.9
-------------------------------------------------------------------
*อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
ที่มา : กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
โดยสรุป การใช้จ่ายภาครัฐและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นได้ในปี 2545 อย่างไรก็ตาม ความพร้อมของภาคธุรกิจในการตักตวงประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ดังนั้น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของภาคธุรกิจ และการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ตลอดจนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าออกไทย จึงยังจำเป็นที่จะต้องดำเนินการต่อไปอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อการฟื้นตัวที่ยั่งยืนในระยะปานกลาง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ในปี 2544 เศรษฐกิจไทยชะลอตัวตั้งแต่ช่วงต้นปี เนื่องจากภาคการส่งออกได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรงจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิลโลก ทั้งปีมูลค่าการส่งออกโดยรวมหดตัวจากปีก่อนหน้า โดยเฉพาะในหมวดแผงวงจรไฟฟ้าและชิ้นส่วน เช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่มีสัดส่วนการส่งออกสินค้าประเภทนี้สูง
ผลกระทบจากภาคต่างประเทศส่วนหนึ่งถูกชดเชยด้วยแรงกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี ในปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลขาดดุลเงินสดคิดเป็นร้อยละ 2.1 ของ GDP ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2545 รัฐบาลได้เร่งการเบิกจ่ายทำให้ขาดดุลเงินสดสูงถึงประมาณร้อยละ 1.3 ของ GDP เพื่อค้ำจุนการใช้จ่ายในประเทศ
รัฐบาลได้ออกมาตรการหลายอย่างเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชน เช่น เลื่อนกำหนดเวลาที่จะปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 10 ออกไป รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีและ/หรือลดค่าธรรมเนียมแก่ธุรกรรมที่เกี่ยวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ และจากการที่มีปัจจัยเอื้ออำนวยอื่นๆ เสริมได้แก่ ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงมากเทียบกับในช่วงที่เศรษฐกิจร้อนแรงก่อนวิกฤต อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำต่อเนื่อง และความสมัครใจของสถาบันการเงินที่จะปล่อยกู้ให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้มั่นคง เช่น ข้าราชการ เป็นต้น ดังนั้นในช่วงปลายปีความต้องการที่อยู่อาศัย จึงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การลงทุนในภาคก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวและแสดงแนวโน้มดีขึ้นตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของเศรษฐกิจยังมีข้อจำกัด เพราะภาวะการส่งออกที่ไม่เอื้ออำนวย ประกอบกับการที่กำลังการผลิตส่วนเกินยังมีอยู่มาก ทำให้ความต้องการลงทุนในเครื่องจักร และอุปกรณ์ยังคงมีน้อย โดยเฉพาะในภาคการผลิตเพื่อการส่งออก ขณะเดียวกันสถาบันการเงินเอง ก็ระมัดระวังการปล่อยกู้ให้แก่ภาคธุรกิจในภาวะที่แนวโน้มธุรกิจยังไม่ดีนัก ส่วนการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน แม้จะยังขยายตัวแต่ก็แผ่วลงกว่าในปีก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาซึ่งลุกลามไปสู่การปราบปรามการก่อการร้าย ทว่าเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงเร็วเกินคาด ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคซึ่งตกต่ำที่สุดในเดือนกันยายน 2544 ก็เริ่มปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี
เหตุการณ์วินาศกรรมทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกซึ่งชะลอตัวอยู่แล้วมีแนวโน้มแย่ลงอีก การชะลอตัวของอุปสงค์ส่งผลให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกในไตรมาสสุดท้ายของปี 2544 ลดลงจากไตรมาสก่อนๆ มาก ด้วยสาเหตุนี้ ประกอบกับค่าเงินบาทไม่ได้อ่อนลงมากและเศรษฐกิจไทยชะลอตัว เงินเฟ้อในประเทศจึงลดลงตามลำดับ เฉลี่ยทั้งปีอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเท่ากับร้อยละ 1.6 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานร้อยละ 1.3 ก็อยู่ภายในช่วงเป้าหมายเงินเฟ้อร้อยละ 0 ถึง 3.5 ของนโยบายการเงิน
ภาวะการจ้างงานเป็นเครื่องชี้อีกตัวหนึ่งซึ่งแสดงว่าเสถียรภาพภายในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ สาขาที่มีการขยายการจ้างงานอยู่ในเกณฑ์ดีตลอดทั้งปี ได้แก่ สาขาโรงแรมและภัตตาคาร ซึ่งสะท้อนแนวโน้มการท่องเที่ยวที่ยังคงดีอยู่แม้ว่าจะถูกกระทบบ้างจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ ส่วนการจ้างงานของสาขาก่อสร้างก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงปลายปี สอดคล้องกับภาวะตลาดที่อยู่อาศัยซึ่งดีขึ้น ภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้นนี้น่าจะมีส่วนช่วยให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับมาดีขึ้นเช่นกัน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นผู้บริโภคให้มีการใช้จ่ายมากขึ้นด้วย
ไม่เพียงแต่เสถียรภาพภายในประเทศจะดีขึ้นเท่านั้น เสถียรภาพภายนอกประเทศก็ปรับตัวดีขึ้นมากในปี 2544 โดยเฉพาะด้านเงินทุนต่างประเทศ ตลอดช่วง 5 เดือนแรกของปีภาคเอกชนยังคงชำระคืนหนี้ต่างประเทศสูงถึงเฉลี่ยเดือนละ 499 ล้านดอลลาร์ สรอ. ส่วนหนึ่งเพราะในช่วงนั้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของไทยต่ำกว่าของต่างประเทศ ฉะนั้นเพื่อชะลอการไหลออกของเงินทุนและสนับสนุนความมีเสถียรภาพของค่าเงินบาท ธปท.จึงปรับอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันจากร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 2.50 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2544 มาตรการดังกล่าวส่งผลชัดเจนในระยะต่อมา กล่าวคือ การไหลออกของเงินทุนชะลอลงจากการชำระคืนหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนที่ลดลงเหลือเฉลี่ยเดือนละ 292 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในช่วง 7 เดือนที่เหลือของปี ขณะที่ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพและเงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี
อัตราเงินเฟ้อที่โน้มต่ำลงและเสถียรภาพด้านต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีเปิดโอกาสให้ ธปท. ดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้นในช่วงปลายปี โดย ธปท. ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันลงจากร้อยละ 2.50 เหลือร้อยละ 2.25 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2544 อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของนโยบายการเงินอาจมีข้อจำกัดภายใต้กลไกของระบบการเงินในปัจจุบัน ทำให้สินเชื่อขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 (ไม่รวมผลที่เกิดจากการโอนทางบัญชีกับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ขณะที่เงินฝากขยายตัวสูงกว่าในอัตราร้อยละ 4.0 สะท้อนถึงสภาพคล่องในระบบการเงินที่สูง
ในปี 2544 เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 1.5 หรือสูงกว่าเล็กน้อย แม้จะเป็นอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อนหน้า แต่ก็นับว่าสามารถผ่านภาวการณ์ของเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาไปได้ ที่สำคัญคือความเสี่ยงของเศรษฐกิจภายนอกประเทศทั้งด้านการค้าและการลงทุนมิได้บั่นทองเสถียรภาพของประเทศอย่างที่วิตกกันมากตั้งแต่ช่วงต้นปี การผสมผสานระหว่างนโยบายการเงินและการคลัง รวมทั้งโครงสร้างการผลิตและการส่งออกของประเทศที่มีความหลากหลาย ช่วยทำให้เศรษฐกิจไม่ต้องเผชิญกับภาวะถดถอยถายใต้ภาวะเศรษฐกิจโลกเช่นนี้
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปคงขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ตลอดจนความพร้อมของภาคธุรกิจในการตักตวงประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกดังกล่าว โดยมีทั้งนโยบายการคลังและการเงินเป็นแรงสนับสนุน ทั้งนี้ ธปท. คาดว่าในปี 2545 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 2 ถึง 3 และยังคงไม่มีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อ
1. ภาวะเศรษฐกิจปี 2544
การผลิตและการใช้จ่าย
การผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2544 โดยรวมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อน สาเหตุเพราะภาวะการส่งออกที่ไม่ดีทำให้การผลิตของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกหดตัวถึงร้อยละ 11.4 เทียบกับที่ขยายตัวได้ดีถึงร้อยละ 20.7 ในปี 2543 โดยสินค้าที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการลดลงของอุปสงค์ในตลาดโลกได้แก่ สินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบต่อไทยไม่รุนแรงเท่าประเทศอื่นในภูมิภาคที่มีสัดส่วนส่งออกสินค้าประเภทนี้เทียบการส่งออกรวมสูงยิ่งกว่าของไทย นอกจากนั้นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศขยายตัวได้ดีตามการใช้จ่ายในประเทศที่พอมีอยู่บ้าง เช่น การผลิตวัสดุก่อสร้าง ที่ขยายตัวได้ตามการเริ่มฟื้นตัวของอุปสงค์การก่อสร้างในประเทศ
ตารางที่ 1 ภาคอุตสาหกรรม การเกษตร และการท่องเที่ยว
______________________________________________________________________________________
%การเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน 2543 2544 ครึ่งแรก ครึ่งหลัง ไตรมาส3 ไตรมาส4
______________________________________________________________________________________
ดัลนีผลผลิตอุตสาหกรรม 3.3 1.3 1.3 1.3 0.9 1.7
ส่งออก > 60% 20.7 -11.4 -10.6 -12.3 -15.8 -9.2
ส่งออก < 30% -1.1 13.2 11.1 15.3 17.4 13.4
อัตราการใช้กำลังการผลิต 55.9 54.0 53.9 54.1 52.4 55.8
ดัชนีราคาสินค้าเกษตร -3.5 2.6 2.9 2.2 3.2 1.1
ดัชนีราคาพืชผลสำคัญ -5.5 3.2 2.3 4.0 4.9 3.1
ดัชนีราคาปศุสัตว์ -10.3 10.1 7.4 12.7 13.5 11.8
ดัชนีผลผลิตพืชผลสำคัญ 2.2 5.3 7.9 3.4 0.0 5.2
รายได้จากการขายพืชผลสำคัญ -3.4 8.7 10.4 7.5 4.9 8.5
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 10.8 5.7 7.9 3.6 6.0 1.4
อัตราการเข้าพักโรงแรม 58.9 59.2 61.6 56.8 55.6 58.1
ในปี 2544 ภาคเกษตรขยายตัวได้ดี และเกษตรกรมีรายได้สูงขึ้นทั้งจากผลผลิตพืชผลที่เอื้ออำนวยและจากราคาพืชผลและปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะราคามันสำปะหลังและไก่เนื่อที่สูงขึ้นตามความต้องการสินค้าจากต่างประเทศ รายได้ที่สูงขึ้นนี้ช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้จ่ายได้มากขึ้น นอกจากนี้ ผลจากนโยบายพักชำระหนี้เกษตรกรเป็นเวลา 3 ปีของรัฐบาลเป็นแรงเสริมอีกทางที่ช่วยเพิ่มกำลังการใช้จ่ายของเกษตรกร
สำหรับภาคบริการท่องเที่ยวเติบโตดีต่อเนื่องในช่วงก่อนเกิดวินาศกรรมในสหรัฐฯ แต่จากเหตุการณ์นั้นทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศชะลอลงมาก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่นที่มีการใช้จ่ายต่อวันค่อนข้างสูง อย่างไรก็ดี ในช่วงปลายปีมีนักท่องเที่ยวจากประเทศใกล้เคียงเข้ามามากขึ้น แม้ว่านักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะมีการใช้จ่ายต่อวันไม่สูงนัก แต่ก็สามารถชดเชยรายได้จากการท่องเที่ยวที่สูญเสียไปได้พอสมควร อัตราการเข้าพักเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 59.2 ซึ่งสูงกว่าของปี 2543 ที่ร้อยละ 58.9 ภาพรวมการท่องเที่ยวในปี 2544 จึงยังอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ และส่งผลให้การจ้างงานในสาขาที่เกี่ยวเนื่องกับภาคบริการท่องเที่ยวขยายตัวสูง ได้แก่ ธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร และการค้าส่งค้าปลีก
ด้านการใช้จ่าย การอุปโภค บริโภคภาคเอกชนยังเป็นปัจจัยที่ปลักดันให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ ถึงแม้ว่าดัชนีการบริโภคภาคเอกชนจะชะลอลงจากปีก่อน โดยขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับร้อยละ 3.4 ในปี 2543 เพราะความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยังไม่ดีนักจากการที่ไม่มีสัญญาณฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ประกอบกับผลกระทบทางจิตวิทยาจากเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ แต่ก็มีปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายของครัวเรือน ได้แก่ (1) รายได้ของเกษตรกรและรายได้เฉลี่ยของผู้มีงานทำที่สูงขึ้น (2) ภาวะการจ้างงานที่ดีขึ้นมากในช่วงครึ่งหลังของปี ส่วนหนึ่งด้วยผลของโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ช่วยเพิ่มโอกาสการมีงานทำแก่ชุมชน โดยเฉพาะผู้ว่างงานและผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงาน และ (3) อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ ต่อเนื่องจูงใจให้เกิดการบริโภคสินค้าถาวร เช่น จักรยานยนต์และรถยนต์นั่ง ซึ่งมียอดจำหน่ายทั้งปี ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 16.4 และ 25.8 ตามลำดับ ส่วนการบริโภคสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ แม้จะยังคงหดตัวแต่ก็ส่งผลดีต่อดุลการค้าของไทยจากการที่ปริมาณการนำเข้าลดลงในภาวะที่การส่งออกไม่ดี
ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2543 แสดงว่าภาวะการลงทุนโดยรวมยังไม่ฟื้นตัวในปี 2544 สาเหตุหลักเพราะกำลังการผลิตส่วนเกินเหลืออยู่มาก โดยเฉพาะในโรงงานที่ผลิตเพื่อการส่งออก ดังนั้นความต้องการลงทุนเพิ่มในเครื่องจักรและอุปกรณ์จึงมีน้อย ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ก็ระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อใหม่เช่นกัน ส่งผลให้การนำเข้าสินค้าทุนหดตัวลงมาก อย่างไรก็ตามในช่วงปลายปีเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวที่ชัดเจนของการลงทุนหมวดก่อสร้าง โดยปริมาณจำหน่ายซีเมนต์ในประเทศขยายตัวสูงตามการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งได้มาตรการฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐสนับสนุนเป็นสำคัญ
ภาครัฐยังคงดำเนินนโยบายการคลังแบบผ่อนคลายเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา โดยภาครัฐขาดดุลร้อยละ 3.5 ของ GDP ในปีงบประมาณ 2544 และในปีงบประมาณ 2545 คาดว่าจะขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.5 ของ GDP สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนและมาตรการสำคัญของรัฐบาลที่มีความคืบหน้าในการดำเนินการแล้วเป็นส่วนใหญ่ เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง การพักชำระหนี้เกษตรกร ธนาคารประชาชน และกองทุนประกันสุขภาพถ้วนหน้า เฉพาะเพียงในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2545 นั้น รัฐบาลเร่งการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 22.0 เทียบกับร้อยละ 21.1 ในช่วงระยะเดียวกันของปีงบประมาณก่อน ทำให้มีการขาดดุลเงินสดถึง 69 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 63.9 ของการขาดดุลเงินสดของปีงบประมาณ 2544 ทั้งปี ซึ่งที่ผ่านมานั้น รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้ยืมในประเทศเป็นสำคัญ
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี และภาวะการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้นในส่วนของลูกจ้างรัฐบาลและลูกจ้างเอกชน (ตารางที่ 2) ทำให้ฐานภาษีขยายตัว รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีงบประมาณ 2544 ได้มากขึ้นร้อยละ 9.9 และด้วยผลจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตสุราและยาสูบ รายได้รัฐบาลจากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจึงเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยอัตราเพิ่มอยู่ที่ร้อยละ 7.0 ในขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลและอากรขาเข้าที่จัดเก็บได้ชะลอลงจากปีก่อนมาก สะท้อนให้เห็นถึงผลประกอบการของภาคธุรกิจที่ยังไม่ดีขึ้นอย่างชัดเจนนัก
ตารางที่ 2 ข้อมูลแรงงาน
__________________________________________________________________________________________
2543 2544
__________________________________________________________________________________________
ผู้มีงานทำ (พันคน) 31,292.6 32,172.8
ลูกจ้างรัฐบาล 2,517.9 2,801.5
ลูกจ้างเอกชน 10,341.4 11,326.2
ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม(ล้านคน) 5,810.1 5,865.2
สถานประกอบการเลิกกิจการ(แห่ง) 6,747 5,243
(%การเปลี่ยนแปลง) (20.9%) (-22.3)
ผู้ถูกเลิกจ้าง(คน) 174,174 128,169
(%การเปลี่ยนแปลง) (65.1%) (-26.4)
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
รายจ่ายรัฐบาลในปีงบประมาณ 2544 คิดเป็นร้อยละ 17.3 ของ GDP โดยรายจ่ายประจำมีสัดส่วนที่สูง คิดเป็นร้อยละ 78.1 ของรายจ่ายรวม รายจ่ายประจำมีจำนวนทั้งสิ้น 684.1 พันล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 จากปีงบประมาณก่อน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกหมวด ได้แก่ เงินอุดหนุนและเงินโอน รายจ่ายซื้อสินค้าและบริการ และรายจ่ายเงินเดือนและค่าจ้างซึ่งมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของรายจ่ายประจำทั้งหมด ส่วนรายจ่ายเงินลงทุนนั้นมีเพียง 191.9 พันล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.3 จากปีงบประมาณก่อน ส่วนใหญ่เนื่องจากรัฐบาลลดการจัดหาสินทรัพย์ถาวรลงมาก
ตารางที่ 3 ภาคการคลัง
หน่วย : พันล้านบาท ปีงบประมาณ
2542 2543 2544 2545
ไตรมาสแรก
รายได้ 709.9 747.6 765.4 173.4
(%การเปลี่ยนแปลง) (-2.4) (5.3) (2.4) (6.4)
รายจ่าย 821.6 850.6 876.0 257.1
(%การเปลี่ยนแปลง) (-1.7) (3.5) (3.0) (14.5)
ดุลเงินสด -134.4 -116.6 -107.9 -69.0
(%ของ GDP) (-2.9) (-2.4) (-2.1) (-1.3)
อัตราการเบิกจ่าย 85.5 88.0 88.4 22.0
การขาดดุลภาครัฐ -274.3 -215.6 -177.3 -76.6
(%ของ GDP) (-6.0) (-4.5) (-3.5) (-1.5)
หนี้สาธารณะ 2,469.2 2,804.3 2,931.7 n.a.
(%ของ GDP) (53.5) (57.3) (57.6) (n.a.)
ณ สิ้นปีงบประมาณ 2544 หนี้สาธารณะมีจำนวนเท่ากับ 2,931.7 พันล้านบาทหรือเทียบเท่าร้อยละ 57.6 ของ GDP ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 57.3 ของ GDP ในปีงบประมาณ 2543 โดยภาระหนี้ทั้งหมดนี้เป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงร้อยละ 24.8 ของ GDP ขณะที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินทั้งที่รัฐบาลค้ำและไม่ค้ำประกันเท่ากับร้อยละ 19.1 ของ GDP ส่วนที่เหลือรอ้ยละ 13.7 ของ GDP เป็นหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF)
ภาคต่างประเทศ
ในปี 2544 มูลค่ากรส่งออกลดลงร้อยละ 6.9 ขณะที่มูลค่าการนำเข้าลดลงในอัตราที่น้อยกว่า คือ ร้อยละ 2.8 ทำให้ดุลการค้าเกินดุลลดลงมากกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม ดุลบริการบริจาคยังคงเกินดุลอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปี 2543 ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับ 9.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ในปีก่อน
ภาวะการส่งออกที่แย่ลงมากจากการหดตัวของสินค้าอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ซึ่งหดตัวถึงร้อยละ 6.9 โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มที่ใช้เทคโนโลยีสูง เช่น แผงวงจรไฟฟ้าและชิ้นส่วน ซึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ลดลง โดยเฉพาะสหรัฐฯ และญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 10.7 และ 2.7 ตามลำดับ อนึ่ง ทั้งสหรัฐฯ และญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย และสัดส่วนการส่งออกไปตลาดทั้งสองรวมกันแล้วคิดเป็นกว่าร้อยละ 35 ของการส่งออกทั้งหมด อย่างไร็ตาม สินค้าส่งออกในกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนยังคงขยายตัวดี เพราะไทยได้รับเลือกให้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกของรถยนต์หลายยี่ห้อ แม้ว่าในขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญการแข่งขันจากสินค้าเลียนแบบของจีน โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่เข้ามาจำหน่ายในตลาดอาเซียน
ตารางที่ 4 การส่งออก
________________________________________________________________________________
% การเปลี่ยนแปลง 2544
________________________________________________________________________________
ไตรมาส1 ไตรมาส2 ไตรมาส3 ไตรมาส4 ทั้งปี
สินค้าเกษตร -4.0 -0.6 -2.3 -5.3 -3.1
สินค้าประมง 4.7 -11.1 -15.5 -21.5 -11.9
สินค้าอุตสาหกรรม -0.6 -0.2 -12.0 -13.5 -6.9
-ใช้แรงงานสูง 0.4 -1.3 -2.8 -3.4 -1.8
-ใช้เทคโนโลยีสูง 0.1 -1.5 -17.1 -18.3 -9.8
-ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ -4.0 9.5 -2.9 -4.3 -0.7
สินค้าออก(ตามสถิติดุลการชำระเงิน) -1.2 -0.7 -11.0 -13.4 -6.9
การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 7.2 ในช่วงครึ่งแรกของปี แต่กลับหดตัวลงมากถึงร้อยละ 11.5 ในช่วงครึ่งหลัง ทำให้ทั้งปีหดตัวร้อยละ 2.8 โดยสินค้านำเข้าในหมวดวัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบลดลงตามภาวะการส่งออกที่ซบเซา ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุนหดตัวเช่นกัน เนื่องจากความต้องการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตมีน้อย ส่วนการนำเข้าเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ลดลงมากในไตรมาสสุดท้ายของปีตามผลด้านราคาเป็นสำคัญ อัตราการค้า (terms of trade) ในปี 2544 ต่ำกว่าปีก่อนเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคานำเข้าสินค้าทุนในช่วงครึ่งปีแรก ตามการพัฒนาเทคโนโลยี ควบคู่ไปกับซอฟแวร์ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศ
ตารางที่ 5 การนำเข้า
-------------------------------------------------------------------------------------------------
%การเปลี่ยนแปลง 2544
ไตรมาส1 ไตรมาส2 ไตรมาส3 ไตรมาส4 ทั้งปี
-------------------------------------------------------------------------------------------------
สินค้าอุปโภคบริโภค 8.4 -4.6 -12.0 -12.0 -5.8
วัตถุดิบและกึ่งวัตถุดิบ 2.7 -6.6 -8.1 -10.7 -5.8
สินค้าทุน 10.9 10.7 -12.4 -16.5 -2.9
เชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ 27.1 16.7 9.2 26.3 4.3
สินค้าเข้า(ตามสถิติดุลการชำระเงิน) 11.5 2.9 -9.1 -13.9 -2.8
-------------------------------------------------------------------------------------------------
ดุลบริการบริจาคเกินดุลลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย ส่วนหนึ่งเพราะรายได้จากแรงงานไทยในต่างประเทศลดลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจไต้หวัน ซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานสำคัญของแรงงานไทย ขณะที่รายรับจากการท่องเที่ยวยังอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบบ้าง จากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ
ในส่วนของเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิ มีเงินทุนไหลออกมากในช่วงครึ่งแรกของปี ตามการชำระคืนหนี้ต่างประเทศของภาคเอกชน อีกทั้งแนวโน้มการอ่อนตัวของค่าเงินบาททำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องเพิ่มสินทรัพย์ต่างประเทศจากการที่ผู้มีภาระเป็นเงินตราต่างประเทศต้องการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน เมื่อเดือนมิถุนายน ประกอบกับอัตราดอกเบี้ย fed funds ลดลงต่อเนื่องตลอดปี ทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในและต่างประเทศลดลงและกลับทิศทางในเวลาต่อมา เงินทุนไหลออกจึงชะลอตัวในช่วงครึ่งหลังของปี ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น และธนาคารพาณิชย์ได้ลดการถือสินทรัพย์ต่างประเทศเพราะความต้องการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงมีน้อยลงด้วย
การไหลออกของเงินทุนเคลื่อนย้ายที่เป็นหนี้ทำให้ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศลดลงจาก 79.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 2543 เหลือ 67.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.ณ สิ้นปี 2544 โดยเป็นการลดลงของหนี้ทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ในส่วนของหนี้ภาคเอกชนนั้น ลดลงทั้งสิ้น 7.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. โดยส่วนใหญ่เป็นการลดลงของเงินกู้ระยะยาว ขณะที่หนี้ภาครัฐลดลง 5.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และเกือบทั้งหมดเป็นหนี้ระยะยาวเช่นกัน ในจำนวนนี้รวมถึงการชำระคืนหนี้ IMF ของ ธปท. จำนวน 3.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ตารางที่ 6 ดุลการชำระเงิน
หน่วย:ล้านดอลลาร์ สรอ.
--------------------------------------------------------------------------------------------
(ล้านดอลลาร์ สรอ.) 2543 2544 2544
ครึ่งแรก ครึ่งหลัง ไตรมาส1 ไตรมาส2 ไตรมาส3 ไตรมาส4
-------------------------------------------------------------------------------------------
สินค้าออก,เอฟ.โอ.บี. 67,889 63,190 31,654 31,536 16,019 15,635 16,010 15,526
(%การเปลี่ยนแปลง) (19.5) (-6.9) (-1.0) (-12.2) (-1.2) (-.07) (-11.0) (-13.4)
สินค้าเข้า,ซี.ไอ.เอฟ. 62,423 60,665 31,182 29,483 15,949 15,233 15,004 14,479
(%การเปลี่ยนแปลง) (31.3) (-2.8) (7.2) (-11.5) (11.5) (2.9) (-9.1) (-13.9)
ดุลการค้า 5,466 2,525 472 2,053 70 402 1,006 1,047
ดุลบริการ รายได้และเงินโอน 3,862 3,686 1,932 1,754 1,311 621 682 1,072
ดุลบัญชีเดินสะพัด 9,328 6,211 2,404 3,807 1,381 1,023 1,688 2,119
ดุลบัญชีเงินทุน -10,270 -5,533 -3,311 -2,222 -2,490 -821 -840 -1,382
ภาคเอกชน -9,771 -4,540 -2,290 -2,250 -2,190 -100 -113 -2,137
-ธุรกิจธนาคาร -6,606 -2,113 -2,227 114 -1,657 -570 98 16
(ธนาคารพาณิชย์) -2,596 -817 -1,826 1,009 -1,379 -447 725 284
(กิจการวิเทศธนกิจ) -4,010 -1,296 -401 -895 -278 -123 -627 -268
-ธุรกิจที่มิใช่ธนาคาร -3,165 -2,427 -63 -2,364 -533 470 -211 -2,153
ภาคทางการ -349 -604 -94 -510 -130 36 -410 -100
ธนาคารแห่งประเทศไทย -150 -389 -927 538 -170 -757 -317 855
ความคลาดเคลื่อนสุทธิ -675 639 675 -36 1,358 -683 -693 657
ดุลการชำระเงิน -1,617 1,317 -232 1,549 249 -481 155 1,394
-------------------------------------------------------------------------------------------
แม้ว่าธปท. จะมีการชำระคืนหนี้เป็นจำนวนมาก แต่ดุลการชำระเงินในปีนี้สามารถเกินดุลถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เคยขาดดุล 1.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในปี 2543 และเงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นปีอยู่ที่ระดับ 33.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อน โดยสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นยังคงปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สำหรับฐานะ forward สุทธิ มีจำนวน 2.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เท่ากับในปี 2543 นับได้ว่าเสถียรภาพภายนอกประเทศของไทยปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของปี 2544
ตารางที่ 7 เครื่องชี้เสถียรภาพด้านต่างประเทศ
-------------------------------------------------------------------------------------
ร้อยละ 2543 2544
-------------------------------------------------------------------------------------
ทุนสำรอง / หนี้ระยะสั้น 222.3 251.7
ดุลบัญชีเดินสะพัด / GDP 7.6 5.4
หนี้ต่างประเทศ (เงินต้นและดอกเบี้ย)ที่จะครบกำหนด
ใน 1 ปี / มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ 15.4 20.5
หนี้ต่างประเทศ / GDP 67.1 56.1
--------------------------------------------------------------------------------------
ภาคการเงิน
ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปี 2544 ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง โดยเงินฝากเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 ขณะที่สินเชื่อขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 (ไม่รวมผลที่เกิดจากการโอนทางบัญชีกับบริษัทบริหารสินทรัพย์) ทั้งนี้เพราะยังไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจน ความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการจึงมีจำกัด ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ยังระมัดระวังการปล่อยกู้ในภาวะที่แนวโน้มธุรกิจไม่ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการส่งออก ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ยังคงมีอยู่ รวมถึง NPL re-entry ที่เพิ่มขึ้นบ้างในบางช่วง
ตลอดทั้งปีอัตราเงินเฟ้ออยู่ในเกณฑ์เป้าหมายของนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตาม ในช่วงกลางปี ธปท.ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันจากร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 2.50 โดยมีเป้าหมายเพื่อชะลอกระแสเงินทุนไหลออก รวมทั้งเสริมสร้างเสถียรภาพค่าเงินบาท และเพื่อแก้ไขความบิดเบือนของโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นภายในประเทศ ต่อมาเมื่อเสถียรภาพภายนอกได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนแล้ว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อโน้มต่ำลงในช่วงปลายปีตามราคาน้ำมันที่ลดลงมากในไตรมาสที่ 4 จึงเป็นโอกาสให้ ธปท.ดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายขึ้น โดยประกาศลดอัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน จากร้อยละ 2.50 เหลือร้อยละ 2.25 ในปลายเดือนธันวาคม เพื่อช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยิ่งขึ้น
อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์อยู่ในระดับทรงตัวเกือบทั้งปี โดยธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเล็กน้อยเฉพาะในช่วงปลายปี ส่วนการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ปรับตัวดีขึ้นและเริ่มแสดงผลกำไรในปี 2544 ทั้งนี้ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่ (1)การที่ธนาคารพาณิชย์ได้ดำเนินการกันสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญไว้เพียงพอแล้วตั้งแต่ปลายปี 2543 ช่วยทำให้ภาระในการกันสำรองลดลงในปี 2544 (2)รายได้จากดอกเบี้ยในตลาดเงินปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากที่ ธปท.ได้ดำเนินมาตรการแก้ไขความบิดเบือนของโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในประเทศ และ(3) การโอนหนี้ที่เป็น NPL ไปให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์(บสท.) โดยได้รับตั๋วเงินของ บสท.แทนช่วยเพิ่มรายได้จากดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารพาณิชย์อีกทางหนึ่ง
อนึ่ง การจัดตั้ง บสท.เพื่อรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของธนาคารพาณิชย์มูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท มีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยเร่งการปรับปรุงโครงสร้างภาคการเงินของไทย ขณะนี้ บสท.ได้เริ่มบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ได้รับโอนมาแล้ว และมีเป้าหมายเบื้องต้นที่จะบริหารสินทรัพย์ฯ ให้ได้ข้อยุติทั้งหมดภายใน 2 ปี และใช้เวลาในการติดตามผลการปฏิบัติตามสัญญาการปรับโครงสร้างหนี้และโครงสร้างกิจการหลังจากนั้นเป็นเวลาอีก 3 ปี ทั้งนี้ ทางการคาดว่าการจัดตั้ง บสท.จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างหนี้และทำให้ตลาดมีความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น
2.แนวโน้มปี 2545
ในปี 2545 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้ประมาณร้อยละ 2 ถึง 3 โดยในช่วงครึ่งแรกของปียังคงมีแรงกระตุ้นต่อเนื่องจากภาครัฐ และแนวโน้มการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชนจะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในหมวดก่อสร้างที่น่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องจากปลายปี 2544 และการบริโภคภาคเอกชนที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นตามรายได้ของเกษตรกรและภาวะการจ้างงานที่ดี ประกอบกับความเชื่อมั่นของธุรกิจและของผู้บริโภคก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวในระยะปานกลางของเศรษฐกิจไทยน่าจะยังคงต้องพึ่งการฟื้นตัวของอุปสงค์ต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะดีขึ้นในครึ่งหลังของปี 2545 เป็นต้นไป
ผลผลิตอุตสาหกรรมคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นจากปีก่อน โดยเฉพาะหมวดวัสดุก่อสร้างที่มีแนวโน้มแจ่มใส เป็นผลจากมาตรการของรัฐที่ส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งยังมีอุปสงค์จากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของรัฐด้วย เช่น สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น ส่วนการผลิตในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกคาดว่าจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี เมื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความชัดเจนและแนวโน้มการส่งออกของไทยดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงยังคงมีอยู่บ้างจากแนวโน้มการขยายตลาดส่งออกของคู่แข่งสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่ใช้แรงงานสูง ได้แก่ จีนที่เพิ่งเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกเมื่อปลายปี 2544 และเวียดนามที่ได้บรรลุข้อตกลงการค้าทวิภาคีกับสหรัฐฯ อันจะมีผลทำให้พิกัดอัตราภาษีศุลกากรของสินค้าส่งออกของเวียดนามที่ไปยังตลาดสหรัฐฯ ลดลงอย่างมาก
ผลผลิตภาคเกษตรน่าจะขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง แม้จะมีความเสี่ยงจากภาวะภัยแล้งเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนิโนอยู่บ้าง แต่ผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตรของไทยน่าจะน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เนื่องจากไทยมิได้มีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ ดังนั้นหากเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวจริง ราคาสินค้าเกษตรจะปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลดีต่อรายได้เกษตรกรไทย และจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายในประเทศด้วย ส่วนในภาคบริการ คาดว่าภาคการท่องเที่ยวจะปรับตัวดีขึ้นอีก ตามการกลับมาของนักท่องเที่ยวระยะไกล
สำหรับด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นบ้างเพราะมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ (1)ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่องจากที่เคยตกต่ำสุด เมื่อเกิดเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐฯ (2)กำลังซื้อของประชาชนน่าจะเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของรายได้เกษตรกรและภาวะการจ้างงานที่มีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งผลของโครงการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจฐานราก และเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และ(3)แรงจูงใจให้เกิดการบริโภคสินค้าถาวรจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำต่อเนื่อง
การลงทุนภาคเอกชนก็น่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2545 แต่การฟื้นตัวอาจไม่เต็มที่ในช่วงต้น โดยเฉพาะในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ เนื่องจากยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่มาก ส่วนภาคการก่อสร้างน่าจะขยายตัวได้ดีต่อไป
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2545 ที่การใช้จ่ายภาคเอกชนและอุปสงค์ต่างประเทศน่าจะยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่นั้น การใช้จ่ายภาครัฐ จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ อย่างไรก็ตามบทบาทของภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะปานกลางจะมีจำกัด เพราะรัฐบาลต้องรักษาวินัยการคลังและบริหารหนี้สาธารณะให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงเกินไป ดังนั้นนโยบายการเงินจึงต้องเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาวะที่แนวโน้มเงินเฟ้อยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเสถียรภาพด้านต่างประเทศได้บรรเทาลงมากตั้งแต่ปลายปี 2544
สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2545 การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การส่งออกปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตามหากการฟื้นตัวของการส่งออกนำโดยการฟื้นตัวของสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ การส่งออกของไทยน่าจะแสดงการฟื้นตัวที่ช้ากว่าของประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีสัดส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่อสินค้าส่งออกสูงกว่า ส่วนการนำเข้าก็น่าจะฟื้นตัวในปี 2545 ตามการบริโภค การลงทุน และการส่งออก
สภาพคล่องในระบบการเงินคาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงในช่วงครึ่งแรกของปี แต่จะลดลงในช่วงครึ่งหลังตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สินเชื่อน่าจะขยายตัวดีขึ้นเพราะ (1) ความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจน่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อภาคการส่งออกที่ดีขึ้น (2)ธนาคารพาณิชย์มีศักยภาพในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากผลประกอบการแสดงแนวโน้มที่ปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ และ(3)ความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องของกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทั้งที่ผ่านคณะกรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) และ บสท. จะช่วยให้ภาคธุรกิจมีความแข็งแรงในระยะต่อไป
ตารางที่ 8 อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ
-------------------------------------------------------------------
2544 2545
-------------------------------------------------------------------
สหรัฐฯ 1.0 0.7
ญี่ปุ่น -0.4 -1.0
สหภาพยุโรป 1.7 1.3
จีน 7.3 6.8
อาเซียน-4* 2.3 2.9
-------------------------------------------------------------------
*อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
ที่มา : กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
โดยสรุป การใช้จ่ายภาครัฐและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นได้ในปี 2545 อย่างไรก็ตาม ความพร้อมของภาคธุรกิจในการตักตวงประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ดังนั้น การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของภาคธุรกิจ และการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ตลอดจนการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าออกไทย จึงยังจำเป็นที่จะต้องดำเนินการต่อไปอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อการฟื้นตัวที่ยั่งยืนในระยะปานกลาง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-