สหรัฐอเมริกา
- ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมยังคงแสดงการฟื้นตัวที่ดีขึ้นตามลำดับแม้ตัวเลขล่าสุดบางตัวในช่วงต้นเดือนเมษายนแสดงสัญญาณความไม่แน่นอนบ้าง
GDP (advanced) ของสหรัฐฯในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.8 (qoq,annualized) หรือร้อยละ 1.6 (yoy) เทียบกับร้อยละ 1.7 (qoq) และ 0.5 (yoy) ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับลดของสินค้าคงคลังที่ชะลอลง การลงทุนด้านที่อยู่อาศัยและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในขณะที่ nonfarm productivity ในไตรมาสแรกขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 8.6 (qoq, annualized) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2526 โดยเป็นผลจากการปรับโครงสร้างองค์กรของภาคธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นส่งผลให้ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยลดลง ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องให้อัตราการทำกำไรของธุรกิจดีขึ้น และนำไปสู่การลงทุนและการจ้างงานในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ด้านการจ้างงานยังคงอ่อนแอ แม้จะมีการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 43,000 คน ในเดือนเมษายน (จากที่ลดลง 21,000 คนในเดือนมีนาคม) แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้อัตราการว่างงานลดลง ทั้งนี้ อัตราการว่างงานสูงขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในเดือนมีนาคมเป็นร้อยละ 6 ในเดือนเมษายน เนื่องจากธุรกิจยังคงลังเลที่จะจ้างงานเพิ่ม แต่ใช้วิธีจ้างล่วงเวลาแทนไปก่อน นอกจากนี้ ดัชนี Manufacturing ISM ในเดือนเมษายนปรับลดลงเล็กน้อยจากระดับ 55.6 มาอยู่ที่ 53.9 โดยคำสั่งซื้อลดลงจาก 65.3 มาอยู่ที 59.0 อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นระดับที่สูงและยังแสดงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่เป็นการชี้ถึงการขยายตัวที่อาจอ่อนแรงลงบ้าง ส่วนดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภคทั้งของ Conference Board และ University of Michigan ปรับลดลงเล็กน้อยในเดือนนี้เช่นกันสืบเนื่องจากการลดลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาด และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
นักวิเคราะห์เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสที่ 2 จะยังคงขยายตัว (qoq) ได้ดีแต่ไม่น่าจะขยายตัวสูงเท่าในไตรมาสแรก
สำหรับการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ย fed funds ไว้ที่ร้อยละ 1.75 โดยให้เหตุผลไม่แตกต่างไปจากการประชุมในครั้งก่อน กล่าวคือเศรษฐกิจได้รับแรงกระตุ้นจากการลดลงของสินค้าคงคลังที่ช้าลง แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนในการขยายตัวของอุปสงค์ของธุรกิจและผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในไตรมาสถัด ๆ ไป ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เห็นว่า Fed จะไม่รีบร้อนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนการประชุมในวันที่ 13 สิงหาคมนี้ โดยเฉพาะในภาวะที่ไม่มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและคงรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างแน่นอนก่อนโดยเฉพาะการลงทุนภาคธุรกิจและภาวะการจ้างงาน
ยุโรป
- การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโร ยังคงเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในตลาดโลก ซึ่งส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นโดยสะท้อนจากดัชนี Purchasing manager index ทั้งด้านการผลิตและด้านบริการที่ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 50.7 และ 53.3 ในเดือนเมษายนซึ่งสูงกว่าระดับ 50 อันแสดงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการบริโภคภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ -10 ในเดือนเมษายนเทียบกับ -9 ในเดือนมีนาคม เนื่องจากอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูงและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับ -11 เท่ากับในเดือนก่อนหน้า
นาย Wim Duisenberg ประธาน ECB ให้ความเห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรยังมีความไม่แน่นอน รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยความเสี่ยงมาจากการที่สหภาพแรงงานในเยอรมัน (IG Metall Union) ได้เสนอขอปรับค่าจ้างในอัตราค่อนข้างสูงและได้หยุดงานประท้วงเพื่อเรียกร้องการขึ้นค่าจ้างแรงงาน ประกอบกับระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และผลกระทบต่อเนื่องที่สูงกว่าที่คาดไว้จากการนำเงินยูโรออกใช้โดยผู้ประกอบการส่วนหนึ่งปัดเศษเงินจากการแปลงราคาสินค้าเป็นเงินสกุลยูโรขึ้น ซึ่งอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าที่ ECB คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 2 (เป้าของ ECB) โดยล่าสุดอัตราเงินเฟ้อเบื้องต้น (HICP) ในเดือนเมษายนอยู่ที่ร้อยละ 2.4
อย่างไรก็ตาม ประธาน ECB กล่าวเสริมว่าหากเงินยูโรแข็งค่าขึ้นอีกหรือทรงตัวในระดับปัจจุบัน (ประมาณ 0.90 ดอลลาร์สรอ.ต่อยูโร) จะช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากต้นทุนการนำเข้าสินค้าและพลังงานได้
อนึ่ง ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน Refinancing rate ไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปีภายหลังการประชุมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม หลังจากปรับลดลงร้อยละ 0.5 ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งเป็นไปตามที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่าหากอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงต่อเนื่องต่อไปก็มีความเป็นไปได้ที่ ECB อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยก่อนสิ้นสุดฤดูร้อนของยุโรปในเดือนสิงหาคมปีนี้ได้
เอเชียตะวันออก
- เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวแต่ไม่เด่นชัด เนื่องจากอุปสงค์นอกประเทศปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกและสหรัฐฯ ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 55 ของ GDP ยังคงซบเซา ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคา 2545 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามผลผลิตเพื่อการส่งออกที่หดตัวน้อยลง ขณะที่สินค้าคงคลังลดลงไปอยู่ระดับที่นักวิเคราะห์คาดว่าน่าจะต่ำสุดแล้ว และเห็นว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ผลสำรวจ Tankan ล่าสุดในเดือนมีนาคม 2545 ที่แสดงการคาดการณ์ภาวะธุรกิจของบริษัทขนาดใหญ่เริ่มทรงตัวที่ระดับ -38 จากก่อนหน้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับรายงานเศรษฐกิจดีขึ้น จากที่เคยกล่าวว่า เศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอยมาเป็นเศรษฐกิจเริ่มออกจากจุดต่ำสุดแล้ว
อย่างไรก็ดี แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่มั่นคงนัก แม้ว่าอัตราการว่างงานในเดือนมีนาคมจะอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ลดลงจากร้อยละ 5.3 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ แต่นับว่ายังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายบริโภคของภาครัวเรือนลดลงร้อยละ 1.2 (yoy) ในเดือนมีนาคม และการนำเข้าลดลงร้อยละ 12.7 (yoy) ซึ่งลดลงมากกว่าการส่งออกที่ลดลงร้อยละ 3.1 ทำให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 (yoy) เป็น 1.3 ล้านล้านเยน นอกจากนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงตกอยู่ในภาวะเงินฝืด โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 1.2 (yoy) ติดลบต่อเนื่องนานกว่า 2 ปี ขณะที่ Core CPI ลดลงร้อยละ 0.7 (yoy) เนื่องจากราคาสินค้าอาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ในครัวเรือนและค่าบริการติดต่อสื่อสารลดลงมาก นอกจากนี้ภาคธุรกิจยังคงมีแนวโน้มลดการใช้จ่ายลง โดยคำสั่งซื้อเครื่องจักรที่สำคัญของเอกชนในเดือนมีนาคมมีมูลค่าลดลงร้อยละ 6.2 (mom) ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก (-1.1 mom) ยิ่งไปกว่านั้นการขอสินเชื่อยังคงมีอุปสรรคอยู่มาก แม้ว่าจะมีสภาพคล่องในระบบสูง เพราะสถาบันการเงินไม่สามารถปล่อยสินเชื่อออกไปอันเนื่องมาจากปัญหาหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นมาก ทำให้การขยายตัวของสินเชื่อในช่วงไตรมาสแรกติดลบประมาณร้อยละ 3 (yoy)
ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินล่าสุดในวันที่ 30 เมษายน 2545 ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศคงนโยบายการเงินไว้เช่นเดิม
อนึ่ง การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาหนี้เสียในสถาบันการเงินที่ไม่ค่อยมีความคืบหน้าเป็นสาเหตุให้ญี่ปุ่นถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงโดยบริษัท S&P ปรับลด long-term foreign currency credit rating ไปอยู่ที่ AA- เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2545 ขณะที่ Moody's จะประกาศผลการปรับ rating ของญี่ปุ่นภายในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งคาดว่าจะปรับลดลง 1-2 ระดับ จากปัจจุบันที่ Aa3 ไปอยู่ที่ A1 หรือ A2
- เศรษฐกิจจีนไตรมาสแรก ปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 7.6 (yoy) โดยเป็นผลมาจากการเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐ เนื่องจากรัฐบาลต้องการที่จะรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้อยู่ที่ร้อยละ 7 จนถึงปี 2548 และเพื่อให้มีการสร้างงานอย่างน้อยปีละ 10 ล้านตำแหน่งไว้รองรับการว่างงานที่คาดว่าจะสูงขึ้น
ด้านการค้าปลีกในไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 8.7 (yoy) หรือคิดเป็นมูลค่า 121.5 พันล้านดอลลาร์สรอ. ชะลอลงมาจากไตรมาสที่ 4 ปี 2544 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.0 (yoy) เนื่องจากผู้บริโภคยังชะลอการใช้จ่าย เพราะกังวลในเรื่องการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ที่จะส่งผลให้เกิดการปลดพนักงานเป็นจำนวนมาก
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 10.9 (yoy)ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิตในภาคเอกชน
สำหรับภาคการส่งออกซึ่งมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 20 ของ GDP ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 4 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 12 (yoy) หรือคิดเป็นมูลค่า 91.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.8 (yoy) คิดเป็นมูลค่า 83.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้เกินดุลการค้า 8.3 พันล้านดอลลาร์สรอ.
อย่างไรก็ดี จีนยังประสบกับปัญหาเงินฝืด โดยในไตรมาสแรก อัตราเงินเฟ้อติดลบร้อยละ 0.6 ต่อเนื่อง จากไตรมาสที่ 4 ปี 2544 ที่ติดลบร้อยละ 0.1
- เศรษฐกิจฮ่องกงในช่วงที่ผ่านมายังคงเป็นเศรษฐกิจในช่วงขาลง โดยอัตราการว่างงานในประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2545 อยู่ที่ร้อยละ 7.0 ซึ่งนับเป็นระดับการว่างงานที่สูงที่สุดในรอบหลายสิบปี อันเป็นผลจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ และการปรับโครงสร้างภาคธุรกิจในประเทศ โดยเฉพาะในภาคการผลิตและภาคการก่อสร้าง ขณะที่ระดับราคาสินค้าในประเทศยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนมีนาคมติดลบร้อยละ 2.15(yoy) ส่งผลใหฮ่องกงตกอยู่ในภาวะเงินฝืดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 41 แล้ว
สำหรับการบริโภคและการลงทุนยังคงมีแนวโน้มทรงตัวในระยะสั้น ๆ และน่าจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจฮ่องกง ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญ และการเข้าเป็นสมาชิก WTO อย่างเป็นทางการของจีน ซึ่งอาจทำให้ฮ่องกงสูญเสียรายได้จากการเป็นตัวกลางทางการค้าระหว่างจีนกับประเทศอื่น
อนึ่ง ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศล่าสุด ณ สิ้นเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 110.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย โดยฮ่องกงนับเป็นประเทศที่มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน
- เศรษฐกิจไต้หวันเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวดังจะเห็นได้จากการส่งออกที่เริ่มขยายตัว โดยเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 0.3 (yoy) ดีขึ้นจากเดือนมีนาคมที่หดตัวร้อยละ 2.3 อย่างไรก็ดี การนำเข้ากลับหดตัวร้อยละ 7.2 (yoy)เทียบกับเดือนมีนาคมที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
จากปัญหาเศรษฐกิจซบเซาในปี 2544 ทำให้มีการปิดกิจการลงจำนวนมาก และบางแห่งย้ายฐานการผลิตไปจีน ส่งผลให้อัตราการว่างงานของไต้หวันยังคงอยู่ในระดับสูง โดยอยู่ที่ร้อยละ 5.16 ในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.12 ทั้งนี้ ชาวไต้หวันมักเปลี่ยนงานหลังจากได้รับโบนัสในช่วงเทศกาลตรุษจีนแล้ว
อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 (yoy)เทียบกับเดือนมีนาคมที่อยู่ที่ร้อยละ 0.02 เนื่องจากราคายาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ปรับตัวสูงขึ้นทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกส่งผลกระทบต่อไต้หวันบ้าง โดยค่าขนส่งเดือนเมษายน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.48 (yoy) และในขณะนั้ไต้หวันกำลังประสบภาวะแห้งแล้ง จึงอาจส่งผลให้ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต่อไป ทั้งนี้รัฐบาลได้ออกมาตรการจัดสรรน้ำ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสินค้าส่งออกหลักประเทศ
- เศรษฐกิจเกาหลีใต้ส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นหลังจากขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปีที่แล้ว ดังเห็นได้จากตัวเลขดัชนีทางเศรษฐกิจ ดัชนีความเชื่อมั่น (ทั้งในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน) การส่งออกและการนำเข้าที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่เริ่มกลับมาขยายตัวร้อยละ 9.7 (yoy) ในเดือนเมษายน (ครั้งแรกในรอบ 1 ปี) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 12.1 (yoy) สำหรับการบริโภคภาคเอกชนยังคงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งนี้ Moody's ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศ (foreign currency country ceiling for bonds and notes) และเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ (foreign currency ceiling for bank deposits)จากระดับ Baa2 และ Baa3 ตามลำดับเป็น A3 พร้อมทั้งได้ปรับเพิ่ม short-term foreign currency country ceiling จาก Prime-3 เป็น Prime-2 และ local currency rating for government obligations จากระดับ Baa1 เป็น A3 โดยให้แนวโน้มการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศอยู่ที่ระดับ stable
ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย overnight call rate ร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.25 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มครั้งแรกในรอบ 18 เดือน เนื่องจากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น โดยเห็นได้จากการฟื้นตัวของภาคการลงทุน ความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในภาคการบริโภคและภาคการก่อสร้างและเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นผลจากความกังวลในเรื่องสภาพคล่องส่วนเกินที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตจากการขยายตัวของปริมาณเงินเนื่องจากการกู้ยืมภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่ต่ำ
อาเซียน
- เศรษฐกิจฟิลิปปินส์เริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา อันเห็นได้จากเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง และค่าเงินเปโซที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ นอกจากนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของทางการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาก็เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง อนึ่ง อัตราดอกเบี้ย key overnight rate ณ ปัจจุบัน อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี โดยนาย Jose Camacho รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฟิลิปปินส์กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ย ณ ระดับปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับต่ำเพียงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี (อัตราดอกเบี้ย overnight borrowing rate และ lending rate ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ร้อยละ 7.0 และ 9.25 ตามลำดับ) อนึ่ง ทางการฟิลิปปินส์คาดว่า GDP สำหรับไตรมาสแรกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 3.8-4.0 (yoy)
การส่งออกในเดือนมีนาคมปรับตัวดีขึ้น โดยติดลบร้อยละ 0.7 เทียบกับติดลบร้อยละ 6.3 ในเดือนก่อนหน้า รัฐบาลฟิลิปปินส์คาดว่าการส่งออกในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.5 (yoy) เทียบกับที่ติดลบร้อยละ 15.0 ในปีที่ผ่านมา สำหรับการนำเข้าล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์เริ่มขยายตัวแล้ว (ร้อยละ 6.0 yoy) หลังจากที่หดตัวติดต่อกันนานถึง 7 เดือน ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว
อนึ่ง เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor's ได้ปรับเพิ่ม credit outlook ของประเทศฟิลิปปินส์จาก "negative" เป็น "stable" จากฐานะการเงินของรัฐบาล แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น และแนวโน้มการปฏิรูปภาคเศรษฐกิจที่มีความคืบหน้าดี ซึ่งเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะอันใกล้อีกด้วย
- เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสแรกของปี 2545 ปรับตัวดีขึ้นจากในช่วงปลายปีก่อน โดยการส่งออกในเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 4.0 (yoy) ซึ่งเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2544 และขยายตัวเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกจะกลับมาขยายตัวในไตรมาสที่ 2 โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวดีขึ้น และจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก สำหรับการนำเข้าในเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 0.5 (yoy) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเช่นเดียวกันนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2544 ตามการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลาง โดยเฉพาะสินค้าขั้นกลางที่นำมาผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกซึ่งทำให้คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องในระยะต่อไป อย่างไรก็ตามสำหรับตัวเลขการค้าในไตรมาสแรก การส่งออกยังคงหดตัวร้อยละ 4.4 ขณะที่การนำเข้าหดตัวร้อยละ 4.9 และการค้าเกินดุล 13.2 พันล้านดอลลาร์สรอ.
การส่งออกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นประกอบกับการเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่ไหลเข้าจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ล่าสุด ณ สิ้นเดือนเมษายน อยู่ที่ระดับ 32.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 โดยในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ร้อยละ 2.1 (yoy) ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดการขนส่งและสื่อสารเป็นหลัก จากการที่รัฐบาลปรับอัตราค่าโทรศัพท์ของที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0
สำหรับภาคการเงินในไตรมาสแรกของปี 2545 การปรับโครงสร้างหนี้ของภาคเอกชนมีความคืบหน้าโดยล่าสุด Corporate Debt Restructuring Committee (CDRC) สามารถแก้ไขปัญหาหนี้เสียของบริษัทต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นอีก 5 รายซึ่งคิดเป็นยอดหนี้ประมาณ 2.8 พันล้านริงกิต (737 ล้านดอลลาร์สรอ.) สำหรับสัดส่วน NPL Ratio (เกณฑ์ 3 เดือน) ณ สิ้นเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 11.5 ของยอดสินเชื่อรวม ลดลงจากร้อยละ 11.8 ในเดือนมกราคม 2545
- เศรษฐกิจของอินโดนีเซียเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อ Paris Club อนุมัติปรับโครงสร้างหนี้ของกลุ่มเจ้าหนี้จำนวน 5.4 พันล้านดอลลาร์สรอ. เมื่อวันที่ 12 เมษายน และอินโดนีเซียกำลังเตรียมที่จะปรับโครงสร้างหนี้กับ London Club จำนวน 340 ล้านดอลลาร์สรอ. ถึงแม้ว่า Standard & Poor's ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ long term foreign currency sovereign credit rating ของอินโดนีเซียจากระดับ "CCC" เป็น selective default (SD) และ short-term foreign currency sovereign credit rating จากระดับ "CC" เป็น selective default (SD) แต่การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในครั้งนี้เป็นการปรับลดในเชิงเทคนิคซึ่ง S&P กล่าวว่าจะปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือให้อินโดนีเซียใหม่ก็ต่อเมื่อการปรับโครงสร้างหนี้กับ London Club เสร็จสิ้นโดยเจ้าหนี้เห็นชอบแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 25 เมษายน Moody's ได้ปรับเพิ่ม outlook ของอินโดนีเซียจาก stable เป็น positive สำหรับ B3 foreign currency country ceiling for bonds และ Caa1 foreign currency country ceiling for bank deposits โดยได้ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการปรับโครงสร้างหนี้กับ Paris Club รวมทั้งการปรับปรุงความสัมพันธ์กับเจ้าหนี้ต่างประเทศรายอื่นรวมทั้ง IMF ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีความคืบหน้าในการปรับปรุงด้านต่าง ๆ เช่น การที่รัฐบาลลดให้การอุดหนุนราคาน้ำมันภายในประเทศ การเริ่มกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การขายหุ้นธนาคาร Bank Central Asia ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ของเอกชนที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งมีโครงการที่จะขายธนาคารพาณิชย์อื่น และการพัฒนาด้านการตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ การปรับลด credit rating และการปรับเพิ่ม outlook ครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดมากนัก โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่าความเชื่อมั่นได้กลับคืนมาสู่อินโดนีเซียแล้ว สะท้อนจากความคืบหน้าในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลและค่าเงินรูเปียห์ที่มีเสถียรภาพมากขึ้นที่ทำให้นักลงทุนเริ่มเข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีเพราะสถานการณ์การเมืองในประเทศอยู่ในความสงบ
สำหรับ GDP ไตรมาสแรกปี 2545 ของอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 2.47 (yoy) และร้อยละ 2.15 (qoq) ต่ำกว่าที่ธนาคารกลางเคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.2 (yoy) การขยายตัวดังกล่าวเป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศและการใช้จ่ายภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัญ ขณะที่การลงทุนยังคงหดตัว นักวิเคราะห์เชื่อว่าเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นจากปีที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 3.32 โดยทางการคาดว่าเศรษฐกิจทั้งปี 2545 จะขยายตัวร้อยละ 4.0
- เศรษฐกิจสิงคโปร์ไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 1.7 (yoy) แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 7.7 (qoq, annualized) โดยปัจจัยสำคัญมาจากการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในภาคการส่งออกและภาคการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังคงติดลบที่ร้อยละ 0.8 (yoy) ต่อจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งติดลบร้อยละ 0.2 นอกจากนั้น อัตราการว่างงาน (ปรับฤดูกาล) ณ สิ้นไตรมาสแรก อยู่ที่ร้อยละ 4.5 สูงขึ้นจากร้อยละ 4.4 ณ สิ้นปี 2545 และเทียบกับอัตราการว่างงานก่อนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2
ทางการสิงคโปร์ได้ออกมาตรการปรับโครงสร้างทางด้านภาษี โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้านภาษีของคณะกรรมาธิการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (Economic Review Committee) ที่มีนาย Lee Hsien Loong รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน โดยมาตรการที่สำคัญ ได้แก่ การลดเพดานอัตราภาษีสำหรับภาษีธุรกิจและภาษีเงินได้ส่วนบุคคลจากเดิมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 24.5 และร้อยละ 26 ตามลำดับ ลงเหลือเท่ากันที่ร้อยละ 22 ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป และอาจจะพิจารณาปรับลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2547 ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะทางการเมืองและเศรษฐกิจในขณะนั้น นอกจากนี้ เพื่อเป็นการชดเชยรายรับของรัฐที่จะลดลงจากการลดอัตราภาษีดังกล่าว จึงได้ปรับขึ้นอัตราภาษีสินค้าและบริการ (goods and service tax) จากเดิมร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป พร้อมออกมาตรการเสริมมูลค่ารวม 4.1 พันล้านดอลลาร์สรอ. เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการซื้ออัตราภาษีดังกล่าว ซึ่งมาตรการที่สำคัญได้แก่ การจัดสรรหุ้น Economic Restructuring Shares (ERS) ให้ชาวสิงคโปร์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 โดยมีหลักการคล้าย ๆ กับหุ้น New Singapore Shares ที่ได้จัดสรรในมาตรการนอกงบประมาณเมื่อเดือนตุลาคม 2544 ที่ผ่านมา
อนึ่ง ทางการสิงคโปร์ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้จากร้อยละ 1-3 เป็นร้อยละ 2-4 และตั้งเป้าขาดดุลงบประมาณปี 2545 ไว้ที่ 190 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชต-
- ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมยังคงแสดงการฟื้นตัวที่ดีขึ้นตามลำดับแม้ตัวเลขล่าสุดบางตัวในช่วงต้นเดือนเมษายนแสดงสัญญาณความไม่แน่นอนบ้าง
GDP (advanced) ของสหรัฐฯในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.8 (qoq,annualized) หรือร้อยละ 1.6 (yoy) เทียบกับร้อยละ 1.7 (qoq) และ 0.5 (yoy) ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับลดของสินค้าคงคลังที่ชะลอลง การลงทุนด้านที่อยู่อาศัยและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีในขณะที่ nonfarm productivity ในไตรมาสแรกขยายตัวในอัตราสูงถึงร้อยละ 8.6 (qoq, annualized) ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2526 โดยเป็นผลจากการปรับโครงสร้างองค์กรของภาคธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นส่งผลให้ต้นทุนแรงงานต่อหน่วยลดลง ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องให้อัตราการทำกำไรของธุรกิจดีขึ้น และนำไปสู่การลงทุนและการจ้างงานในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ด้านการจ้างงานยังคงอ่อนแอ แม้จะมีการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 43,000 คน ในเดือนเมษายน (จากที่ลดลง 21,000 คนในเดือนมีนาคม) แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้อัตราการว่างงานลดลง ทั้งนี้ อัตราการว่างงานสูงขึ้นจากร้อยละ 5.7 ในเดือนมีนาคมเป็นร้อยละ 6 ในเดือนเมษายน เนื่องจากธุรกิจยังคงลังเลที่จะจ้างงานเพิ่ม แต่ใช้วิธีจ้างล่วงเวลาแทนไปก่อน นอกจากนี้ ดัชนี Manufacturing ISM ในเดือนเมษายนปรับลดลงเล็กน้อยจากระดับ 55.6 มาอยู่ที่ 53.9 โดยคำสั่งซื้อลดลงจาก 65.3 มาอยู่ที 59.0 อย่างไรก็ตาม ยังคงเป็นระดับที่สูงและยังแสดงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่เป็นการชี้ถึงการขยายตัวที่อาจอ่อนแรงลงบ้าง ส่วนดัชนีความมั่นใจของผู้บริโภคทั้งของ Conference Board และ University of Michigan ปรับลดลงเล็กน้อยในเดือนนี้เช่นกันสืบเนื่องจากการลดลงของราคาหลักทรัพย์ในตลาด และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น
นักวิเคราะห์เห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯในไตรมาสที่ 2 จะยังคงขยายตัว (qoq) ได้ดีแต่ไม่น่าจะขยายตัวสูงเท่าในไตรมาสแรก
สำหรับการประชุมนโยบายการเงินเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา FOMC มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ย fed funds ไว้ที่ร้อยละ 1.75 โดยให้เหตุผลไม่แตกต่างไปจากการประชุมในครั้งก่อน กล่าวคือเศรษฐกิจได้รับแรงกระตุ้นจากการลดลงของสินค้าคงคลังที่ช้าลง แต่ยังคงมีความไม่แน่นอนในการขยายตัวของอุปสงค์ของธุรกิจและผู้บริโภค ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในไตรมาสถัด ๆ ไป ทั้งนี้ นักวิเคราะห์เห็นว่า Fed จะไม่รีบร้อนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก่อนการประชุมในวันที่ 13 สิงหาคมนี้ โดยเฉพาะในภาวะที่ไม่มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อและคงรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่างแน่นอนก่อนโดยเฉพาะการลงทุนภาคธุรกิจและภาวะการจ้างงาน
ยุโรป
- การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโร ยังคงเป็นไปอย่างช้า ๆ โดยได้รับผลดีจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในตลาดโลก ซึ่งส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นโดยสะท้อนจากดัชนี Purchasing manager index ทั้งด้านการผลิตและด้านบริการที่ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 50.7 และ 53.3 ในเดือนเมษายนซึ่งสูงกว่าระดับ 50 อันแสดงถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามการบริโภคภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ -10 ในเดือนเมษายนเทียบกับ -9 ในเดือนมีนาคม เนื่องจากอัตราการว่างงานที่ยังอยู่ในระดับสูงและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายนยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับ -11 เท่ากับในเดือนก่อนหน้า
นาย Wim Duisenberg ประธาน ECB ให้ความเห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรยังมีความไม่แน่นอน รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มจะยังคงอยู่ในระดับสูง โดยความเสี่ยงมาจากการที่สหภาพแรงงานในเยอรมัน (IG Metall Union) ได้เสนอขอปรับค่าจ้างในอัตราค่อนข้างสูงและได้หยุดงานประท้วงเพื่อเรียกร้องการขึ้นค่าจ้างแรงงาน ประกอบกับระดับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และผลกระทบต่อเนื่องที่สูงกว่าที่คาดไว้จากการนำเงินยูโรออกใช้โดยผู้ประกอบการส่วนหนึ่งปัดเศษเงินจากการแปลงราคาสินค้าเป็นเงินสกุลยูโรขึ้น ซึ่งอาจทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกว่าที่ ECB คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะลดลงต่ำกว่าร้อยละ 2 (เป้าของ ECB) โดยล่าสุดอัตราเงินเฟ้อเบื้องต้น (HICP) ในเดือนเมษายนอยู่ที่ร้อยละ 2.4
อย่างไรก็ตาม ประธาน ECB กล่าวเสริมว่าหากเงินยูโรแข็งค่าขึ้นอีกหรือทรงตัวในระดับปัจจุบัน (ประมาณ 0.90 ดอลลาร์สรอ.ต่อยูโร) จะช่วยลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากต้นทุนการนำเข้าสินค้าและพลังงานได้
อนึ่ง ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงอัตราดอกเบี้ยมาตรฐาน Refinancing rate ไว้ที่ร้อยละ 3.25 ต่อปีภายหลังการประชุมเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม หลังจากปรับลดลงร้อยละ 0.5 ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2544 ซึ่งเป็นไปตามที่นักลงทุนคาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่าหากอัตราเงินเฟ้อยังคงสูงต่อเนื่องต่อไปก็มีความเป็นไปได้ที่ ECB อาจปรับขึ้นดอกเบี้ยก่อนสิ้นสุดฤดูร้อนของยุโรปในเดือนสิงหาคมปีนี้ได้
เอเชียตะวันออก
- เศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวแต่ไม่เด่นชัด เนื่องจากอุปสงค์นอกประเทศปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจโลกและสหรัฐฯ ในขณะที่อุปสงค์ในประเทศซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 55 ของ GDP ยังคงซบเซา ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมีนาคา 2545 ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ตามผลผลิตเพื่อการส่งออกที่หดตัวน้อยลง ขณะที่สินค้าคงคลังลดลงไปอยู่ระดับที่นักวิเคราะห์คาดว่าน่าจะต่ำสุดแล้ว และเห็นว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ผลสำรวจ Tankan ล่าสุดในเดือนมีนาคม 2545 ที่แสดงการคาดการณ์ภาวะธุรกิจของบริษัทขนาดใหญ่เริ่มทรงตัวที่ระดับ -38 จากก่อนหน้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับรายงานเศรษฐกิจดีขึ้น จากที่เคยกล่าวว่า เศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอยมาเป็นเศรษฐกิจเริ่มออกจากจุดต่ำสุดแล้ว
อย่างไรก็ดี แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่มั่นคงนัก แม้ว่าอัตราการว่างงานในเดือนมีนาคมจะอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ลดลงจากร้อยละ 5.3 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ แต่นับว่ายังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งส่งผลให้การใช้จ่ายบริโภคของภาครัวเรือนลดลงร้อยละ 1.2 (yoy) ในเดือนมีนาคม และการนำเข้าลดลงร้อยละ 12.7 (yoy) ซึ่งลดลงมากกว่าการส่งออกที่ลดลงร้อยละ 3.1 ทำให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 (yoy) เป็น 1.3 ล้านล้านเยน นอกจากนี้เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงตกอยู่ในภาวะเงินฝืด โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 1.2 (yoy) ติดลบต่อเนื่องนานกว่า 2 ปี ขณะที่ Core CPI ลดลงร้อยละ 0.7 (yoy) เนื่องจากราคาสินค้าอาหาร เสื้อผ้า เครื่องใช้ในครัวเรือนและค่าบริการติดต่อสื่อสารลดลงมาก นอกจากนี้ภาคธุรกิจยังคงมีแนวโน้มลดการใช้จ่ายลง โดยคำสั่งซื้อเครื่องจักรที่สำคัญของเอกชนในเดือนมีนาคมมีมูลค่าลดลงร้อยละ 6.2 (mom) ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้มาก (-1.1 mom) ยิ่งไปกว่านั้นการขอสินเชื่อยังคงมีอุปสรรคอยู่มาก แม้ว่าจะมีสภาพคล่องในระบบสูง เพราะสถาบันการเงินไม่สามารถปล่อยสินเชื่อออกไปอันเนื่องมาจากปัญหาหนี้เสียที่เพิ่มขึ้นมาก ทำให้การขยายตัวของสินเชื่อในช่วงไตรมาสแรกติดลบประมาณร้อยละ 3 (yoy)
ทั้งนี้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินล่าสุดในวันที่ 30 เมษายน 2545 ธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศคงนโยบายการเงินไว้เช่นเดิม
อนึ่ง การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาหนี้เสียในสถาบันการเงินที่ไม่ค่อยมีความคืบหน้าเป็นสาเหตุให้ญี่ปุ่นถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงโดยบริษัท S&P ปรับลด long-term foreign currency credit rating ไปอยู่ที่ AA- เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2545 ขณะที่ Moody's จะประกาศผลการปรับ rating ของญี่ปุ่นภายในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งคาดว่าจะปรับลดลง 1-2 ระดับ จากปัจจุบันที่ Aa3 ไปอยู่ที่ A1 หรือ A2
- เศรษฐกิจจีนไตรมาสแรก ปี 2545 ขยายตัวร้อยละ 7.6 (yoy) โดยเป็นผลมาจากการเร่งการใช้จ่ายของภาครัฐ เนื่องจากรัฐบาลต้องการที่จะรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้อยู่ที่ร้อยละ 7 จนถึงปี 2548 และเพื่อให้มีการสร้างงานอย่างน้อยปีละ 10 ล้านตำแหน่งไว้รองรับการว่างงานที่คาดว่าจะสูงขึ้น
ด้านการค้าปลีกในไตรมาสแรกขยายตัวร้อยละ 8.7 (yoy) หรือคิดเป็นมูลค่า 121.5 พันล้านดอลลาร์สรอ. ชะลอลงมาจากไตรมาสที่ 4 ปี 2544 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.0 (yoy) เนื่องจากผู้บริโภคยังชะลอการใช้จ่าย เพราะกังวลในเรื่องการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ที่จะส่งผลให้เกิดการปลดพนักงานเป็นจำนวนมาก
ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 10.9 (yoy)ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 เป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิตในภาคเอกชน
สำหรับภาคการส่งออกซึ่งมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 20 ของ GDP ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 4 เดือนแรก ขยายตัวร้อยละ 12 (yoy) หรือคิดเป็นมูลค่า 91.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.8 (yoy) คิดเป็นมูลค่า 83.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ. ทำให้เกินดุลการค้า 8.3 พันล้านดอลลาร์สรอ.
อย่างไรก็ดี จีนยังประสบกับปัญหาเงินฝืด โดยในไตรมาสแรก อัตราเงินเฟ้อติดลบร้อยละ 0.6 ต่อเนื่อง จากไตรมาสที่ 4 ปี 2544 ที่ติดลบร้อยละ 0.1
- เศรษฐกิจฮ่องกงในช่วงที่ผ่านมายังคงเป็นเศรษฐกิจในช่วงขาลง โดยอัตราการว่างงานในประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2545 อยู่ที่ร้อยละ 7.0 ซึ่งนับเป็นระดับการว่างงานที่สูงที่สุดในรอบหลายสิบปี อันเป็นผลจากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ และการปรับโครงสร้างภาคธุรกิจในประเทศ โดยเฉพาะในภาคการผลิตและภาคการก่อสร้าง ขณะที่ระดับราคาสินค้าในประเทศยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราเงินเฟ้อล่าสุดในเดือนมีนาคมติดลบร้อยละ 2.15(yoy) ส่งผลใหฮ่องกงตกอยู่ในภาวะเงินฝืดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 41 แล้ว
สำหรับการบริโภคและการลงทุนยังคงมีแนวโน้มทรงตัวในระยะสั้น ๆ และน่าจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวม อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจฮ่องกง ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งเป็นคู่ค้าสำคัญ และการเข้าเป็นสมาชิก WTO อย่างเป็นทางการของจีน ซึ่งอาจทำให้ฮ่องกงสูญเสียรายได้จากการเป็นตัวกลางทางการค้าระหว่างจีนกับประเทศอื่น
อนึ่ง ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศล่าสุด ณ สิ้นเดือนเมษายนอยู่ที่ระดับ 110.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าเล็กน้อย โดยฮ่องกงนับเป็นประเทศที่มีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสูงเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากประเทศญี่ปุ่น จีน และไต้หวัน
- เศรษฐกิจไต้หวันเริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวดังจะเห็นได้จากการส่งออกที่เริ่มขยายตัว โดยเดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 0.3 (yoy) ดีขึ้นจากเดือนมีนาคมที่หดตัวร้อยละ 2.3 อย่างไรก็ดี การนำเข้ากลับหดตัวร้อยละ 7.2 (yoy)เทียบกับเดือนมีนาคมที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 ทำให้ดุลการค้าเกินดุล 1.1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
จากปัญหาเศรษฐกิจซบเซาในปี 2544 ทำให้มีการปิดกิจการลงจำนวนมาก และบางแห่งย้ายฐานการผลิตไปจีน ส่งผลให้อัตราการว่างงานของไต้หวันยังคงอยู่ในระดับสูง โดยอยู่ที่ร้อยละ 5.16 ในเดือนมีนาคม เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ที่อยู่ที่ร้อยละ 5.12 ทั้งนี้ ชาวไต้หวันมักเปลี่ยนงานหลังจากได้รับโบนัสในช่วงเทศกาลตรุษจีนแล้ว
อัตราเงินเฟ้อเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 (yoy)เทียบกับเดือนมีนาคมที่อยู่ที่ร้อยละ 0.02 เนื่องจากราคายาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ปรับตัวสูงขึ้นทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกส่งผลกระทบต่อไต้หวันบ้าง โดยค่าขนส่งเดือนเมษายน ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.48 (yoy) และในขณะนั้ไต้หวันกำลังประสบภาวะแห้งแล้ง จึงอาจส่งผลให้ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้นในช่วงต่อไป ทั้งนี้รัฐบาลได้ออกมาตรการจัดสรรน้ำ เพื่อไม่ให้กระทบต่อการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นสินค้าส่งออกหลักประเทศ
- เศรษฐกิจเกาหลีใต้ส่งสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้นหลังจากขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปีที่แล้ว ดังเห็นได้จากตัวเลขดัชนีทางเศรษฐกิจ ดัชนีความเชื่อมั่น (ทั้งในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน) การส่งออกและการนำเข้าที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่เริ่มกลับมาขยายตัวร้อยละ 9.7 (yoy) ในเดือนเมษายน (ครั้งแรกในรอบ 1 ปี) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 12.1 (yoy) สำหรับการบริโภคภาคเอกชนยังคงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทั้งนี้ Moody's ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศ (foreign currency country ceiling for bonds and notes) และเงินฝากสกุลเงินตราต่างประเทศ (foreign currency ceiling for bank deposits)จากระดับ Baa2 และ Baa3 ตามลำดับเป็น A3 พร้อมทั้งได้ปรับเพิ่ม short-term foreign currency country ceiling จาก Prime-3 เป็น Prime-2 และ local currency rating for government obligations จากระดับ Baa1 เป็น A3 โดยให้แนวโน้มการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศอยู่ที่ระดับ stable
ธนาคารกลางเกาหลีใต้ได้ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย overnight call rate ร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.25 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มครั้งแรกในรอบ 18 เดือน เนื่องจากสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้น โดยเห็นได้จากการฟื้นตัวของภาคการลงทุน ความแข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องในภาคการบริโภคและภาคการก่อสร้างและเนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นผลจากความกังวลในเรื่องสภาพคล่องส่วนเกินที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตจากการขยายตัวของปริมาณเงินเนื่องจากการกู้ยืมภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างมากจากอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมที่ต่ำ
อาเซียน
- เศรษฐกิจฟิลิปปินส์เริ่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา อันเห็นได้จากเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง และค่าเงินเปโซที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ นอกจากนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของทางการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาก็เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง อนึ่ง อัตราดอกเบี้ย key overnight rate ณ ปัจจุบัน อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี โดยนาย Jose Camacho รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังฟิลิปปินส์กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ย ณ ระดับปัจจุบันถือว่าอยู่ในระดับต่ำเพียงพอที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี (อัตราดอกเบี้ย overnight borrowing rate และ lending rate ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ร้อยละ 7.0 และ 9.25 ตามลำดับ) อนึ่ง ทางการฟิลิปปินส์คาดว่า GDP สำหรับไตรมาสแรกปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 3.8-4.0 (yoy)
การส่งออกในเดือนมีนาคมปรับตัวดีขึ้น โดยติดลบร้อยละ 0.7 เทียบกับติดลบร้อยละ 6.3 ในเดือนก่อนหน้า รัฐบาลฟิลิปปินส์คาดว่าการส่งออกในปีนี้จะขยายตัวร้อยละ 1.5 (yoy) เทียบกับที่ติดลบร้อยละ 15.0 ในปีที่ผ่านมา สำหรับการนำเข้าล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์เริ่มขยายตัวแล้ว (ร้อยละ 6.0 yoy) หลังจากที่หดตัวติดต่อกันนานถึง 7 เดือน ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว
อนึ่ง เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Standard & Poor's ได้ปรับเพิ่ม credit outlook ของประเทศฟิลิปปินส์จาก "negative" เป็น "stable" จากฐานะการเงินของรัฐบาล แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น และแนวโน้มการปฏิรูปภาคเศรษฐกิจที่มีความคืบหน้าดี ซึ่งเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะอันใกล้อีกด้วย
- เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาสแรกของปี 2545 ปรับตัวดีขึ้นจากในช่วงปลายปีก่อน โดยการส่งออกในเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 4.0 (yoy) ซึ่งเป็นการขยายตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปี 2544 และขยายตัวเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกจะกลับมาขยายตัวในไตรมาสที่ 2 โดยเป็นผลจากการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวดีขึ้น และจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก สำหรับการนำเข้าในเดือนมีนาคมขยายตัวร้อยละ 0.5 (yoy) ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเช่นเดียวกันนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2544 ตามการขยายตัวของการนำเข้าสินค้าทุนและสินค้าขั้นกลาง โดยเฉพาะสินค้าขั้นกลางที่นำมาผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกซึ่งทำให้คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องในระยะต่อไป อย่างไรก็ตามสำหรับตัวเลขการค้าในไตรมาสแรก การส่งออกยังคงหดตัวร้อยละ 4.4 ขณะที่การนำเข้าหดตัวร้อยละ 4.9 และการค้าเกินดุล 13.2 พันล้านดอลลาร์สรอ.
การส่งออกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นประกอบกับการเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่ไหลเข้าจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ล่าสุด ณ สิ้นเดือนเมษายน อยู่ที่ระดับ 32.7 พันล้านดอลลาร์ สรอ.
ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 โดยในเดือนมีนาคมเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ร้อยละ 2.1 (yoy) ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของราคาในหมวดการขนส่งและสื่อสารเป็นหลัก จากการที่รัฐบาลปรับอัตราค่าโทรศัพท์ของที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0
สำหรับภาคการเงินในไตรมาสแรกของปี 2545 การปรับโครงสร้างหนี้ของภาคเอกชนมีความคืบหน้าโดยล่าสุด Corporate Debt Restructuring Committee (CDRC) สามารถแก้ไขปัญหาหนี้เสียของบริษัทต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้นอีก 5 รายซึ่งคิดเป็นยอดหนี้ประมาณ 2.8 พันล้านริงกิต (737 ล้านดอลลาร์สรอ.) สำหรับสัดส่วน NPL Ratio (เกณฑ์ 3 เดือน) ณ สิ้นเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 11.5 ของยอดสินเชื่อรวม ลดลงจากร้อยละ 11.8 ในเดือนมกราคม 2545
- เศรษฐกิจของอินโดนีเซียเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อ Paris Club อนุมัติปรับโครงสร้างหนี้ของกลุ่มเจ้าหนี้จำนวน 5.4 พันล้านดอลลาร์สรอ. เมื่อวันที่ 12 เมษายน และอินโดนีเซียกำลังเตรียมที่จะปรับโครงสร้างหนี้กับ London Club จำนวน 340 ล้านดอลลาร์สรอ. ถึงแม้ว่า Standard & Poor's ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ long term foreign currency sovereign credit rating ของอินโดนีเซียจากระดับ "CCC" เป็น selective default (SD) และ short-term foreign currency sovereign credit rating จากระดับ "CC" เป็น selective default (SD) แต่การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในครั้งนี้เป็นการปรับลดในเชิงเทคนิคซึ่ง S&P กล่าวว่าจะปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือให้อินโดนีเซียใหม่ก็ต่อเมื่อการปรับโครงสร้างหนี้กับ London Club เสร็จสิ้นโดยเจ้าหนี้เห็นชอบแล้ว
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 25 เมษายน Moody's ได้ปรับเพิ่ม outlook ของอินโดนีเซียจาก stable เป็น positive สำหรับ B3 foreign currency country ceiling for bonds และ Caa1 foreign currency country ceiling for bank deposits โดยได้ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะการปรับโครงสร้างหนี้กับ Paris Club รวมทั้งการปรับปรุงความสัมพันธ์กับเจ้าหนี้ต่างประเทศรายอื่นรวมทั้ง IMF ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ อินโดนีเซียยังมีความคืบหน้าในการปรับปรุงด้านต่าง ๆ เช่น การที่รัฐบาลลดให้การอุดหนุนราคาน้ำมันภายในประเทศ การเริ่มกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การขายหุ้นธนาคาร Bank Central Asia ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ของเอกชนที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งมีโครงการที่จะขายธนาคารพาณิชย์อื่น และการพัฒนาด้านการตรวจสอบธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้ การปรับลด credit rating และการปรับเพิ่ม outlook ครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดมากนัก โดยนักวิเคราะห์กล่าวว่าความเชื่อมั่นได้กลับคืนมาสู่อินโดนีเซียแล้ว สะท้อนจากความคืบหน้าในการดำเนินนโยบายของรัฐบาลและค่าเงินรูเปียห์ที่มีเสถียรภาพมากขึ้นที่ทำให้นักลงทุนเริ่มเข้ามาลงทุนในอินโดนีเซียอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีเพราะสถานการณ์การเมืองในประเทศอยู่ในความสงบ
สำหรับ GDP ไตรมาสแรกปี 2545 ของอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 2.47 (yoy) และร้อยละ 2.15 (qoq) ต่ำกว่าที่ธนาคารกลางเคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.2 (yoy) การขยายตัวดังกล่าวเป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศและการใช้จ่ายภาครัฐเป็นปัจจัยสำคัญ ขณะที่การลงทุนยังคงหดตัว นักวิเคราะห์เชื่อว่าเศรษฐกิจของอินโดนีเซียในปีนี้จะปรับตัวดีขึ้นจากปีที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 3.32 โดยทางการคาดว่าเศรษฐกิจทั้งปี 2545 จะขยายตัวร้อยละ 4.0
- เศรษฐกิจสิงคโปร์ไตรมาสแรกหดตัวร้อยละ 1.7 (yoy) แต่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 7.7 (qoq, annualized) โดยปัจจัยสำคัญมาจากการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในภาคการส่งออกและภาคการผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อยังคงติดลบที่ร้อยละ 0.8 (yoy) ต่อจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งติดลบร้อยละ 0.2 นอกจากนั้น อัตราการว่างงาน (ปรับฤดูกาล) ณ สิ้นไตรมาสแรก อยู่ที่ร้อยละ 4.5 สูงขึ้นจากร้อยละ 4.4 ณ สิ้นปี 2545 และเทียบกับอัตราการว่างงานก่อนช่วงวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2
ทางการสิงคโปร์ได้ออกมาตรการปรับโครงสร้างทางด้านภาษี โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจด้านภาษีของคณะกรรมาธิการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (Economic Review Committee) ที่มีนาย Lee Hsien Loong รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน โดยมาตรการที่สำคัญ ได้แก่ การลดเพดานอัตราภาษีสำหรับภาษีธุรกิจและภาษีเงินได้ส่วนบุคคลจากเดิมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 24.5 และร้อยละ 26 ตามลำดับ ลงเหลือเท่ากันที่ร้อยละ 22 ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป และอาจจะพิจารณาปรับลดลงเหลือร้อยละ 20 ในปี 2547 ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะทางการเมืองและเศรษฐกิจในขณะนั้น นอกจากนี้ เพื่อเป็นการชดเชยรายรับของรัฐที่จะลดลงจากการลดอัตราภาษีดังกล่าว จึงได้ปรับขึ้นอัตราภาษีสินค้าและบริการ (goods and service tax) จากเดิมร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2546 เป็นต้นไป พร้อมออกมาตรการเสริมมูลค่ารวม 4.1 พันล้านดอลลาร์สรอ. เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการซื้ออัตราภาษีดังกล่าว ซึ่งมาตรการที่สำคัญได้แก่ การจัดสรรหุ้น Economic Restructuring Shares (ERS) ให้ชาวสิงคโปร์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2546 โดยมีหลักการคล้าย ๆ กับหุ้น New Singapore Shares ที่ได้จัดสรรในมาตรการนอกงบประมาณเมื่อเดือนตุลาคม 2544 ที่ผ่านมา
อนึ่ง ทางการสิงคโปร์ได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีนี้จากร้อยละ 1-3 เป็นร้อยละ 2-4 และตั้งเป้าขาดดุลงบประมาณปี 2545 ไว้ที่ 190 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ชต-